WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    คู่มือการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง


    การคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น

    1.คาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น (3-7 วัน) ดูจากอะไร ?

    “ดูจากแผนที่ลม และ แผนที่ฝน”

    แผนที่ลม: ลมเป็นกระบวนการหลักในการเกิดฝน ลมหอบเอาความชื้นในทะเลมาก่อตัวเป็นเมฆฝน และพัดเข้าสู่ฝั่ง แผนที่ลมแสดงการพยากรณ์ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งจะบอกถึงบริเวณที่น่าจะเกิดพายุ ลมกระโชกแรง และมีฝน (ดูเกณฑ์ความเร็วลมที่ภาคผนวก ก)

    แผนที่ฝน: ฝนเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศเป็นหยดน้ำ เนื่องจากแนวปะทะของลมร้อนและลมเย็น ลมปะทะภูเขา อากาศร้อนลอยตัวสูงจนไอน้ำกลั่นตัว หรือ เนื่องจากมลพิษในอากาศ แผนที่ฝนบอกว่าจะมีฝนตกที่ใดบ้าง และจะตกหนักมากน้อยแค่ไหน (ดูเกณฑ์ปริมาณฝนที่ภาคผนวก ก)

    2.ดูแผนที่ลมและแผนที่ฝนอย่างไร? ข้อมูลมาจากที่ไหน?

    2.1แผนที่ฝนคาดการณ์ 7 วัน จาก Hamweather.net สามารถบ่งบอกได้ว่าในอีก 7 วันข้างหน้าจะมีฝนตกที่ใดบ้าง และจะตกหนักมากน้อยแค่ไหน ดังภาพที่ 1 โดยแถบสีที่เรียงจากสีเขียวไปหาสีชมพูที่อยู่ด้านบนของภาพบอกถึงปริมาณฝนที่ตก ตัวเลขที่อยู่บนแถบสีหมายถึง ปริมาณฝนที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านล่างแถบสีหมายถึง ปริมาณฝนที่มีหน่วยเป็นนิ้ว ตัวเลขที่แสดงวันที่และเวลาที่อยู่ใต้แถบสี เป็นเวลา UTC ซึ่งหมายถึง เวลาสากลที่ใช้กันทั่วโลก หากต้องการเวลาของประเทศไทย จะต้องบวกเพิ่มไปอีก 7 ชั่วโมง

    ยกตัวอย่างจากภาพที่ 1 ซึ่งเป็นวันที่ 28/03/2011 0000UTC – 29/03/2011 0000UTC ถ้าแปลงเป็นเวลาของประเทศไทย จะเท่ากับ 28/03/2554 0700 – 29/03/2554 0700 โดยคำนวณจากสูตร

    การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ.

    พ.ศ. = ค.ศ. + 543 เช่น 2554 = 2011 + 543

    การแปลงเวลาสากลเป็นเวลาประเทศไทย

    เวลาประเทศไทย = เวลาสากล + 7 ชั่วโมง เช่น 07.00 = 00.00 + 7


    [​IMG]

    ภาพที่ 1แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวัน โดย Hamweather




    2.2แผนที่ลมและแผนที่ฝนคาดการณ์ 3 - 5 วัน
    แสดงถึงข้อมูลทิศทางและความเร็วลม และข้อมูลปริมาณฝนที่จะตกในอีก 3-5 วันข้างหน้า (ดังภาพที่ 2 และ 3 ตามลำดับ) ความละเอียดระดับจังหวัด เลือกดูได้ทั้งข้อมูลรายวัน และรายชั่วโมง


    [​IMG]

    ภาพที่ 2แผนภาพคาดการณ์ลม โดย สสนก.


    [​IMG]

    ภาพที่ 3แผนภาพคาดการณ์ฝน โดย สสนก.



    การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน

    การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน ติดตามได้จากข้อมูลหลักๆ คือ สถานการณ์พายุ สภาพเมฆฝน แผนที่อากาศ คลื่นทะเล และสถานการณ์ฝน หรือสภาพอากาศอื่นๆ ที่ตรวจวัดด้วยสถานีภาคพื้นดิน

    1)ภาพเส้นทางพายุ แสดงการเคลื่อนที่ และความแรงของพายุ รวมถึงวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของพายุที่มีความเร็วตั้งแต่ 34 นอต (17.5 เมตรต่อวินาที) หรือพายุโซนร้อนขึ้นไป (ภาพที่ 4) ซึ่งระบุวันและเวลาการก่อตัวเป็นพายุ และเวลาที่คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวไปถึงจุดต่างๆ


    [​IMG]

    ภาพที่ 4ภาพเส้นทางพายุ โดย มหาวิทยาลัยฮาวาย

    2)ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 แสดงกลุ่มเมฆบริเวณประเทศไทย (ภาพที่ 5) หากมีกลุ่มเมฆกระจุกตัวกันอย่างหนาแน่นมากบริเวณใด โอกาสที่จะเกิดฝนในบริเวณนั้นก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย


    [​IMG]

    ภาพที่ 5ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 โดย Kochi University

    3)ภาพแผนที่อากาศ แสดงแนวความกดอากาศสูง หรือแสดงตัว “H” ซึ่งบ่งบอกถึงความหนาวเย็นและอากาศแห้ง และแนวความกดอากาศต่ำ หรือแสดงตัว “L” ซึ่งบ่งบอกถึงความร้อนและอากาศชื้น (ภาพที่ 6) แสดงเวลาเป็น GMT


    [​IMG]

    ภาพที่ 6ภาพแผนที่อากาศ

    4)แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล แสดงความสูงและทิศทางของคลื่นในทะเลบริเวณต่างๆ (ภาพที่ 7) โดยบริเวณใดที่มีกลุ่มคลื่นสูงต่างจากบริเวณใกล้เคียง บริเวณนั้นมักจะมีฝนฟ้าคะนองหรือพายุเกิดขึ้น


    [​IMG]

    ภาพที่ 7แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล โดย Ocean Weather inc.


    5)ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานีภาคพื้นดิน ได้แก่ ข้อมูลจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ของ สสนก. แสดงข้อมูลปริมาณฝน 24 ชม. และข้อมูลย้อนหลัง (ภาพที่ 8) และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงข้อมูลปริมาณฝนอุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม (ภาพที่ 9)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ติดตามสภาพอากาศ ผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net

    หลังจากที่ทราบหลักการใช้ข้อมูลแต่ละประเภทในการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้ว หากจะใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net ก็สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนี้

    การเข้าสู่หน้าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

    1.ไปที่หน้า http://www.thaiwater.net ดังภาพที่ 10

    2.Click ที่ “ >> ” เพื่อเปิดหรือปิดเมนู ชั้นข้อมูล

    3.หากต้องการใช้แผนที่ขนาดใหญ่ ให้ Click ที่ Full map เพื่อเข้าสู่หน้า Thai Flood Watch:IGIS จะทำให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ดังแสดงผลตามภาพที่ 11


    [​IMG]

    ภาพที่ 10หน้าหลักของเว็บไซต์ http://www.thaiwater.net


    [​IMG]

    ภาพที่ 11หน้าเว็บไซต์ Thai Flood Watch:IGIS

    1.เมนูชั้นข้อมูล ซึ่งสามารถ click ที่ “+” เพื่อแสดงรายละเอียดของชั้นข้อมูลย่อย โดยเมนูชั้นข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลหลัก 7 ชั้นข้อมูล ได้แก่

    1)แผนที่พื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผลของแผนที่ในแต่ละประเภท เช่น แสดงผลในรูปแบบภาพถ่ายจากดาวเทียม การแบ่งเขตลุ่มน้ำ การแบ่งเขตจังหวัด เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 12 แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite ส่วนภาพที่ 11 แสดงผลในรูปแบบ Thailand


    [​IMG]

    ภาพที่ 12แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite

    2)โครงสร้างพื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้แสดงโครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ เช่น ถนน ทางน้ำ ทางรถไฟ ลุ่มน้ำ ขอบเขตการปกครอง จากตัวอย่างในภาพที่ 13 เป็นการเลือกข้อมูลทางน้ำ และลุ่มน้ำ


    [​IMG]

    ภาพที่ 13การเลือกข้อมูลในชั้นของโครงสร้างพื้นฐาน

    3)พื้นที่เสี่ยงภัย เป็นเมนูที่ใช้เลือกเพื่อแสดงผลบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 14 เป็นการเลือกแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในภาคเหนือและภาคใต้


    [​IMG]

    ภาพที่ 14การเลือกข้อมูลในชั้นของพื้นที่เสี่ยงภัย

    4)ชลประทาน เป็นเมนูที่แสดงผลพื้นที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน เช่น ข้อมูลน้ำท่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง เขตชลประทาน เป็นต้น โดยสามารถ click ที่สัญลักษณ์ที่แสดงในแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติม ดังภาพที่ 15


    [​IMG]

    ภาพที่ 15แสดงรายละเอียดของสถานีตรวจวัดน้ำท่าของกรมชลประทาน

    5)สถานีตรวจวัด เป็นเมนูที่ใช้แสดงผลข้อมูลจากสถานีตรวจวัดปริมาณฝนในหลายรูปแบบ เช่น ปริมาณฝนวันนี้ ปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วัน ปริมาณฝนย้อนหลัง 3 วัน เป็นต้น โดยมีการแสดงผลจากสถานีตรวจวัดของกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา และ AIS และสามารถ click สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดของแต่ละสถานีได้เหมือนกับกรณีข้อมูลสถานีวัดน้ำท่า ดังภาพที่ 15

    จากตัวอย่างในภาพที่ 16 เป็นการเลือกข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วัน จากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา และ click ที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงปริมาณฝนที่สถานีแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย โดยเป็นปริมาณฝนของวันที่ 31 พฤษภาคม 2554


    [​IMG]

    ภาพที่ 16เลือกแสดงผลข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา

    6)ติดตามสถานการณ์น้ำ เป็นเมนูที่ใช้แสดงข้อมูลสำหรับใช้ประกอบการวิเคราะห์เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลความชื้นในดิน แผนที่ลม สภาพเมฆ เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 17 แสดงข้อมูลความชื้นในดิน โดยเป็นภาพจากหน่วยงาน WMO


    [​IMG]

    ภาพที่ 17แสดงค่าความชื้นในดิน

    7)ข้อมูลน้ำในเขื่อน เป็นเมนูที่ใช้แสดงตำแหน่งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง โดยเป็นข้อมูลจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถ click ที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม จากตัวอย่างในภาพที่ 18 แสดงข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยมีการ click ที่สัญลักษณ์ในแผนที่ ซึ่งแสดงรายละเอียดปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บปัจจุบันอยู่ที่ 6,926 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 51% เมื่อเทียบกับระดับกักเก็บ


    [​IMG]

    ภาพที่ 18แสดงข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

    2.เครื่องมือสำหรับเลื่อนแผนที่ สามารถเลื่อนจากซ้ายไปขวา และจากบนไปล่าง


    [​IMG]

    ภาพที่ 19แสดงเครื่องมือการใช้งานแผนที่

    3.เครื่องมือสำหรับย่อขยายแผนที่ อาจเลือกใช้เครื่องมือบนแผนที่หรือใช้การเลื่อน scroll ที่เมาส์ก็ได้


    [​IMG]

    ภาพที่ 20ภาพก่อนและหลังการใช้เครื่องมือย่อขยายแผนที่

    4.เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ โดยนำเมาส์ไปวางในบริเวณกรอบสีแดง click เมาส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนเมาส์แบบอิสระ แผนที่จะเคลื่อนย้ายตามการเคลื่อนย้ายเมาส์


    [​IMG]

    ภาพที่ 21การใช้เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ

    ตัวอย่างการใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล

    จากภาพที่ 22 เป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากสถานีตรวจวัดของกรมชลประทาน และ AIS กับข้อมูลภาพเมฆจากเมนูชั้นข้อมูลติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อใช้วิเคราะห์ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณเมฆที่เกิดขึ้น ช่วยในการสอบยันว่าฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่


    [​IMG]

    ภาพที่ 22การใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล



    หน่วยงานและแหล่งข้อมูลเตือนภัย

    ภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายเลขติดต่อ แหล่งข้อมูล
    แผ่นดินไหว
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 0 2142 1230 USGS Earthquake Hazard Program
    Earthquake Hazards Program
    Pacific Disaster Center
    Global Hazards Atlas
    กรมอุตุนิยมวิทยา

    1182
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    สึนามิ
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 0 2142 1230 Pacific Tsunami Warning Center
    http://ptwc.weather.gov/
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    น้ำท่วม

    กรมอุตุนิยมวิทยา 1182 การพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    กรมอุตุนิยมวิทยา
    การวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน
    http://water.rid.go.th/wmsc/
    กรมชลประทาน

    1460
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    ดินโคลนถล่ม กรมทรัพยากรธรณี
    0 2202 3600
    กรมทรัพยากรธรณี
    http://www.dmr.go.th
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)


    ภาคผนวก ก: เกณฑ์และความหมายของข้อมูลอุตุนิยมวิทยา





    เกณฑ์จำนวนเมฆในท้องฟ้า โดยแบ่งท้องฟ้าเป็น 10 ส่วน

    ท้องฟ้าแจ่มใส (Fine): ไม่มีเมฆหรือมีแต่น้อยกว่า 1 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้าโปร่ง (Fair): มีเมฆตั้งแต่ 1 ส่วน ถึง 3 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน (Partly Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 3 ส่วน ถึง 5 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆเป็นส่วนมาก (Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 5 ส่วน ถึง 8 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆมาก (Very Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 8 ส่วน ถึง 9 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆเต็มท้องฟ้า (Overcast Sky): มีเมฆเกินกว่า 9 ส่วน ถึง 10 ส่วนของท้องฟ้า

    เกณฑ์อากาศร้อน ใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อน

    อากาศร้อน (Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส
    อากาศร้อนจัด (Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป

    เกณฑ์อากาศหนาว ใช้อุณหภูมิต่ำสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูหนาว

    อากาศเย็น (Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
    อากาศค่อนข้างหนาว (Moderately Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
    อากาศหนาว (Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
    อากาศหนาวจัด (Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป

    เกณฑ์คลื่นในทะเล

    ทะเลสงบ (Calm) ความสูงของคลื่น 0.0 เมตร ถึง 0.10 เมตร
    ทะเลเรียบ (Smooth) ความสูงของคลื่น 0.10 เมตร ถึง 0.50 เมตร
    ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย (Slight) ความสูงของคลื่น 0.50 เมตร ถึง 1.25 เมตร
    ทะเลมีคลื่นปานกลาง (Moderate) ความสูงของคลื่น 1.25 เมตร ถึง 2.50 เมตร
    ทะเลมีคลื่นจัด (Rough) ความสูงของคลื่น 2.50 เมตร ถึง 4.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นจัดมาก (Very Rough) ความสูงของคลื่น 4.00 เมตร ถึง 6.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่ (High) ความสูงของคลื่น 6.00 เมตร ถึง 9.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่มาก (Very High) ความสูงของคลื่น 9.00 เมตร ถึง 14.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่และจัดมาก (ทะเลบ้า – Phenomenal) ความสูงของคลื่นมากกว่า 14 เมตร

    บริเวณความกดอากาศสูง (High Pressure Area หรือ High)

    บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลม หรือเป็นวงรีรูปไข่ล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศสูง นั่นคือ บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงขึ้นจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนเช่นนี้ เรียกว่า Anticyclonic Circulation

    โดยทั่วไปในบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนลมอ่อน และลมมักสงบในบริเวณใกล้ศูนย์กลาง มีเมฆเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีเมฆมากกับมีฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูง หรือ แอนติไซโคลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศ ในซีกโลกเหนือ ทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน อากาศจะเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Cold High ส่วนทางด้านตะวันตก อากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นลมฝ่ายใต้พัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Warm High บริเวณความกดอากาศสูงหรือ แอนติไซโคลนชนิด Cold High แผ่ลงมาเมื่อไร อากาศจะหนาวเย็น ส่วน Warm High อากาศจะร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก จะทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางครั้งเรียกว่า คลื่นความร้อน (Heat Wave)

    บริเวณความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area หรือ Low)

    บริเวณความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำ จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย บริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

    1.Cold Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะต่ำกว่าภายนอก และเกิดในแถบละติจูดสูงๆ ที่อากาศเย็น เมื่อเกิดขึ้นแล้วการหมุนเวียนจะต่อเนื่องกัน ความชันของความกดจะเพิ่มมากขึ้นตามความสูงซึ่งสัมพันธ์กับกระแสลม นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Cold Core จะมีลมพัดแรงขึ้นตามความสูง และมักมีแนวปะทะอากาศเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ

    2.Warm Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะร้อนกว่าภายนอก การหมุนเวียนจะเหมือนกับชนิด Cold Core และมีเฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น เนื่องจากแกนกลางร้อน ฉะนั้น อากาศที่เย็นกว่าจะพัดเข้าแทนที่จมเข้าหาศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระแสลมพัดเวียนเป็นก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง ขณะเดียวกันอากาศตรงกลางจะลอยตัวขึ้น ความชันของความกดตามระดับความสูงจะลดลง นั่นคือ ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางรอบบริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Warm Core ความเร็วลมจะลดลงตามความสูง พายุจะรุนแรงที่สุดที่ผิวพื้นเท่านั้น สูงขึ้นไปลมกำลังอ่อนลง

    โดยบริเวณความกดอากาศต่ำทั้ง 2 ชนิด เกิดฝนตกหนักเท่าๆ กัน แต่ความเร็วลมจะต่างกัน

    ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา



    ภาคผนวก ข: กรณีตัวอย่างจากบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม

    ตัวอย่างที่ 1 น้ำท่วมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากพายุมินดอลเล ช่วงปลายเดือนสิงหาคมปี 2553

    สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2553)
    พื้นที่ประสบภัย 14 จังหวัด 43 อำเภอ 156 ตำบล 740 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร มุกดาหาร สระบุรี และจังหวัดนครนายก ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 28,882 ครัวเรือน 81,723 คน อพยพ 116 ครัวเรือน
    461 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 87,414 ไร่ ผู้เสียชีวิต 1 ราย
    ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ

    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-1ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-1 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะในวันที่ 24 สิงหาคม จะมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร และนครพนม โดยมีปริมาณฝนประมาณ 75-100 มิลลิเมตร

    2.ภาพเส้นทางพายุ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-2ภาพเส้นทางพายุมินดอลเลช่วงวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-2 พบว่า ในวันที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 น. พายุโซนร้อน “มินดอนเล” (Mindulle) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ห่างออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประมาณ 180 กิโลเมตร โดยได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันที่ 24 สิงหาคม 2553 และคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณประเทศลาวในวันที่ 25 สิงหาคม 2553 โดยส่งผลให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

    3.ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-3ภาพเมฆจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-3 พบว่า มีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณตอนบนของประเทศ เนื่องจากอิทธิพลของพายุมินดอลเล และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    4.ภาพแผนที่อากาศ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-4ภาพแผนที่อากาศ ช่วงวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-4 พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    เปรียบเทียบกับเหตุการณ์จริงในอดีต

    จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2553 เนื่องจากอิทธิพลของพายุมินดอลเล โดยส่งผลให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งจากข้อมูลคาดการณ์ฝนและติดตามสภาพอากาศ แสดงให้เห็นว่าจะมีฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาโดย สสนก. และสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา (ภาพที่ ข-5 และ ข-6 ตามลำดับ) พบว่า มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจริงสอดคล้องกับผลการคาดการณ์


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-5ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 โดย สสนก.

    ภาพที่ ข-6ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศ ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

    ตัวอย่างที่ 2 น้ำท่วมภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง ช่วงเดือนตุลาคม 2553

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ
    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-7ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-7 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคกลาง โดยเฉพาะในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางตอนล่าง โดยมีปริมาณฝนประมาณ 50-100 มิลลิเมตร และในวันที่ 18 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางตอนบน โดยมีปริมาณฝนประมาณ 50-100 มิลลิเมตร

    2.ภาพถ่ายดาวเทียม GOES9


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-8ภาพเมฆจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-8 พบว่า มีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณตอนกลางของประเทศตลอดช่วง เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ภาคกลางมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่

    3.ภาพแผนที่อากาศ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-9ภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-9 พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    เปรียบเทียบกับเหตุการณ์จริงในอดีต

    จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลางเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2553 เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ประกอบกับน้ำเหนือที่ไหลลงมาสู่ภาคกลางก่อนหน้านี้ ซึ่งจากข้อมูลคาดการณ์ฝนและติดตามสภาพอากาศ แสดงให้เห็นว่าจะมีฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาโดย สสนก. และสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา (ภาพที่ ข-10 และ ข-11 ตามลำดับ) พบว่า มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคกลางจริงสอดคล้องกับผลการคาดการณ์


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-10ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553 โดย สสนก.

    ภาพที่ ข-11ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศ ช่วงวันที่ 15 - 18 ต.ค. 2553 โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

    ตัวอย่างที่ 3 น้ำท่วมภาคใต้ จากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ช่วงปลายเดือนมีนาคมปี 2554

    สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 6 เมษายน 2554)
    พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส 100 อําเภอ 650 ตําบล 5,378 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 603,486 ครัวเรือน จำนวน 2,021,131 คน
    ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ
    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-12ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-12 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะในวันที่ 28 และ 29 มีนาคม บริเวณจังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง กระบี่ และพัทลุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจังหวัดพังงา อาจมีปริมาณฝนตกสูงถึง 150 มิลลิเมตร

    2.ภาพคาดการณ์ลมและฝน


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-13ภาพคาดการณ์ลมจากแบบจำลอง WRF ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-14ภาพคาดการณ์ฝนจากแบบจำลอง WRF ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-13 และ ข-14 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554 จะมีลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตลอดช่วง ซึ่งสอดคล้องกับภาพคาดการณ์ฝนจาก Hamweather (ภาพที่ ข-12)

    3.ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-15ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-15 พบว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณภาคใต้ตลอดช่วง เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก และจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    4.ภาพแผนที่อากาศ


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-16ภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-16 พบว่า มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    5.ภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-17ภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554


    จากภาพที่ ข-17 พบว่าบริเวณฝั่งอ่าวไทยมีคลื่นแรงตลอดช่วง โดยทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และพัดเข้าฝั่งตลอดช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    1784 (24 ชม.)


    .
     
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    คู่มือการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง


    ไฟล์ PDF Download



    .
     
  3. Soul Collector

    Soul Collector เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2011
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +610
    ฝนตกที่สามพรานแทบจะทุกวันเลยหายร้อนไปเยอะเลย>.<
     
  4. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    หน้าเวบ Global Hazards Atlas ดูเข้าใจง่าย

    เอาเม้าส์จิ้มที่ icon ต่างๆ...ก็จะทราบรายละเอียด

    Global Hazards Atlas



    [​IMG]
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 000.jpg
      000.jpg
      ขนาดไฟล์:
      180.4 KB
      เปิดดู:
      1,336
  5. ironman

    ironman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +508
    WHO เตือนสาธารณสุขทั่วโลกเฝ้าระวัง “ไวรัสคล้ายซาร์ส” ชี้มีโอกาสแพร่ระบาด

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 มิถุนายน 2556 11:39 น.

    [​IMG]

    รอยเตอร์ - องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกประเทศเฝ้าระวังคนไข้ที่มีอาการคล้ายติดเชื้อโคโรนาไวรัสตะวันออกกลาง (Middle East Syndrome Coronavirus - MERS) ซึ่งมีโอกาสแพร่กระจายจนอาจถึงขั้นเป็น “โรคระบาด” วานนี้ (10)

    WHO ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ออกคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดต่างๆ โดยระบุว่า ทุกประเทศควรเฝ้าระวังการติดเชื้อโคโรนาไวรัสตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับเมื่อไข้หวัดนก H5N1 แพร่ระบาดเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมถึงไวรัส H7N9 ซึ่งพบผู้ป่วยรายแรกในจีนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    “เราพยายามหาข้อมูลเท่าที่จะทำได้ และรู้สึกเป็นกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสเหล่านี้” แอนดรูว์ ฮาร์เปอร์ ที่ปรึกษาพิเศษของ WHO ว่าด้วยความมั่นคงสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เผยต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เชื้อ MERS จะกลายสภาพเป็นโรคระบาด

    แนวทางปฏิบัติเบื้องต้นซึ่งจะร่างเสร็จภายในสิ้นปีนี้ยังเอ่ยถึงบทเรียนจากการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมู H1N1 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 200,000 ราย ในช่วงปี 2009-2010

    “ทุกประเทศต่างกังวลเรื่องการระบาดของไวรัสชนิดนี้ เพราะมีความเป็นไปได้ที่มันจะแพร่กระจายไปทั่วโลก เราพบตัวอย่างหลายกรณีที่ไวรัสแพร่จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่งผ่านผู้ที่เดินทาง”

    ไวรัส MERS ได้แพร่จากตะวันออกกลางไปยังอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี และอิตาลี และยังพบผู้ติดเชื้อในจอร์แดน, กาตาร์, ตูนิเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ด้วย

    “ดังนั้น ขอให้ทุกประเทศย้ำเตือนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ตระหนักถึงการมีอยู่ของไวรัสชนิดนี้ รวมถึงอาการป่วยที่จะเกิดขึ้นเมื่อคนไข้ได้รับเชื้อ และหากพบผู้ป่วยที่มีอาการปอดบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ขอให้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากไวรัส MERS”

    โคโรนาไวรัสตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นไวรัสในตระกูลเดียวกับซาร์ส (SARS) เริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อปีที่แล้ว หลังพบผู้ป่วยรายแรกในซาอุดีอาระเบีย ล่าสุดมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวม 55 ราย ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเสียชีวิตแล้ว 31 ราย

    แม้ต้นตอของไวรัสชนิดนี้จะยังเป็นปริศนา แต่การที่ผู้ป่วยมักเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน หรืออยู่ในสถานบริการสาธารณสุขแห่งเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเชื้อยังสามารถแพร่กระจายอยู่ในวงจำกัดเท่านั้น

    WHO เตือนให้กลุ่มประเทศตะวันออกกลางยกระดับการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส MERS แต่ยังไม่ออกคำแนะนำใดๆ สำหรับชาวมุสลิมที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในเตือนตุลาคมนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2013
  6. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    ศูนย์ประมวลวิเตราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน

    Thailand: Royal Golden Jubilee Celebration 1996 by Royal Irrigation Department

    เมนูด้านซ้าย

    - คลิ๊กที่ รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน

    - คลิ๊กที่ สรุปสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์

    เพื่ออ่านรายงานประจำวัน-ประจำสัปดาห์ (ไฟล์ pdf)

    เมนูอื่นๆก็มีข้อมูลอีกเพียบ


    [​IMG]

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0z0.jpg
      0z0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.8 KB
      เปิดดู:
      1,095
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  7. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0z1.jpg
      0z1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.6 KB
      เปิดดู:
      1,091
  8. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0z2.jpg
      0z2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.1 KB
      เปิดดู:
      1,104
    • 0z3.jpg
      0z3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.8 KB
      เปิดดู:
      1,092
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  9. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สำหรับท่านที่ต้องการดู...แบบภาพรวม

    สำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.)

    ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการบริหารน้ำ

    http://npmwf.com/onwfindex/databank/datalink.htm



    [​IMG]



    เวบหลัก สบอช.

    http://www.waterforthai.go.th/

    [​IMG]



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0z4.jpg
      0z4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      158.9 KB
      เปิดดู:
      1,078
    • 0z5.jpg
      0z5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.7 KB
      เปิดดู:
      1,127
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  10. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0z6.jpg
      0z6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      195.8 KB
      เปิดดู:
      1,098
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  11. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม

    ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)

    โดย ที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกุกและปริมาณน้ำฝนสูง จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมอยู่ในหลายพื้นที่เกือบทุกภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตกห่วงใยในปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ มา และทรงวิเคราะหืลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและทรงคำนึง ถึงการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้อที่และสมรรถนะของกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ตลอดจนงบ ประมาณค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย

    วิธีการต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ

    1. การก่อสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมซึ่งเป็นวิธีการดั้งเดิมแต่ครั้งโบราณโดยการก่อสร้างคัน ดินกั้นน้ำขนาดที่เหมาะสมขนานไปตามลำน้ำห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่างๆ ด้านใน เช่น คันกั้นน้ำโครงการมูโนะ และโครงการปิเหล็งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

    2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมท้นให้ออกไป โดยการก่อสร้างทางผันน้ำหรือขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับลำน้ำที่มีปัญหาน้ำ ท่วมโดยให้น้ำไหลไปตามทางผันน้ำที่ขุดขึ้นใหม่ไปลงลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเลตามความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินการสนองพระราชดำริวิธีนี้ ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ในการแก้ไขปัญหาจากแม่น้ำโก-ลก เข้ามาท่วมไร่นาของราษฎรเสียหายหลายหมื่นไร่ทุกปี การขุดคลองมูโนะได้ช่วยบรรเทาลงได้เป็นอย่างดี

    3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวกหรือช่วยให้กระแสน้ำไหล เร็วยิ่งขึ้น อันเป็นการบรรเทาความเสียหายจากน้ำท่วมขังได้ โดยใช้วิธีการดังนี้


    ขุดลอกลำน้ำตื้นเขินให้น้ำไหลสะดวกขึ้น

    ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ

    กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น

    หากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก

    การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเป็นมาตรการป้องกันน้ำท่วมที่สำคัญประการหนึ่งใน

    การกักเก็บน้ำที่ไหลท่วมล้นในฤดูน้ำหลาก โดย เก็บไว้ทางด้านเหนือเขื่อนในลักษณะอ่างเก็บน้ำซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามพระ ราชดำริมากมายหลายแห่งในประเทศไทย และการป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในระดับประเทศนั้น ขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างดำเนินการหลายจุด คือ

    - โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    - โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    - โครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบนจังหวัดนครนายก

    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ แก้มลิง

    จาก สภาพธรรมชาติดั้งเดิมของกรุงเทพมหานครมีลักษณะลุ่มต่ำทำให้มีการระบายน้ำยาม เกิดภาวะน้ำท่วมให้ออกจากพื้นที่เป็นไปอย่างล่าช้า คูคลองจำนวนมากมีความลาดเทน้อยอีกทั้งมีจำนวนหลายคลองที่ลำน้ำตื้นเขน มีวัชพืชปกคลุมกีดขวางทางน้ำไหล ทำให้เกิดเป็นสาเหตุในหลายปัจจัยของการเกิดน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานครและเขต ปริมณฑลเป็นระยะเวลายาวนาน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวพระราชดำริให้มีระบบการบริหารจัดการด้านน้ำท่วม ในวิธีการที่ตรัสว่า แก้มลิง ซึ่ได้พระราชทานพระราชอรรถาธิบายว่า

    ...ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกแล้วเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บไว้ที่แก้มลิงจะเอากล้วยเข้า ไปไว้ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปไว้ที่แก้มก่อนแล้วจึงนำมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง...

    เปรียบ เทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้มรวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็นบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเลเมื่อปริมาณน้ำทะเลลดลง

    ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

    1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลอง พักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล เช่น คลองชายทะเลของฝั่งตะวันออก ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ คือ แก้มลิง ต่อไป
    2. เมื่อ ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
    3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ แก้มลิง นี้ ให้ระบายออกในระดับต่ำที่สุดออกสู่ทะเล เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลาส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
    4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันมิให้น้ำย้อนกลับ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว(One Way Flow)

    หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ

    1.การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
    2.เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
    3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง

    จาก หลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติ หรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำแหล่งน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักและ ระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแล้วสามารถแบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ

    โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำการรับน้ำในพื้นที่ฝั่ง

    ตะวัน ออกของแม่น้ำเจ้าพระยา นับตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่างๆ โดยใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ และพิจารณาหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าตามความเหมาะสม เป็นบ่อพักน้ำเพิ่มเติมโดยใช้คลองธรรมชาติในแนวเหนือ-ใต้ เช่น คลองพระองค์ไชยนุชิต คลองบางปลา คลองด่าน คลองบางปิ้ง คลองตำหรุ คลองชายทะเล เป็นแหล่งระบายน้ำเข้าและออกจากบ่อพักน้ำ


    โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำใน

    พื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่เจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปคลองมหาชัย-สนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร

    นอก จากสภาพพื้นที่ทั่วไปแถบนั้นยังไม่มีคันกั้นน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาและคันกั้น น้ำขนานกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลแล้ว คลองต่างๆ ที่มีทางน้ำไหลเชื่อมต่อกับชายทะเลก็ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นจึงหมุนไม่ให้น้ำจืดไหลออกจากทะเลหรือไหล ออกทะเบได้ช้ามากก่อให้เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงหรือท่วมขังนานวัน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีต่างๆ คือ

    โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ซึ่งใช้หลักในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ ปิดกั้นไม่ให้น้ำจากด้านท้ายน้ำไหลรุกล้ำเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเลมีระดับ สูง ถือเป็นโครงการอเนกประสงค์ที่สำคัญยิ่งในอนาคตด้วย นอก จากช่วยบรรเทาอุทกภัยให้กับพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ตอนใต้ทางรถไฟสายใต้มาแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปในแม่น้ำท่าจีนช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม โดยสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโคบริโภคได้อีกด้วย

    โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง จะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ

    โครงการแก้มลิง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ประกอบด้วย
    ประตูระบายน้ำ ค.ส.ล. ปิดกั้นน้ำแม่น้ำท่าจีน
    ประตูเรือสัญจร
    ทำนบดินปิดลำน้ำเดิม
    บันไดปลา
    สถานีสูบน้ำขนาดใหญ่
    โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย
    ดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้าง
    ประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่างๆ คือ
    ประตูระบายน้ำคลองสหกรณ์สาย 3
    ประตูระบายน้ำคลองเจ็ก
    ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม
    ประตูระบายน้ำคลองแสมดำ
    ประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้
    พื้นที่ทั้งหมดนี้จะทำหน้าที่รับน้ำและน้ำท่วมขังจากพื้นที่ตอนบนมาเก็บไว้

    พร้อม กับระบายลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น-ลงของระดับน้ำทะเลโดยอาศัยแรงโน้ม ถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน โดยจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบายน้ำตามคูคลองธรรมชาติต่างๆ ในช่วงฤดูฝน และช่วยป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่ การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย
    โครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ประกอบด้วย
    ประตูปิดกั้นคลองสุนัขหอน พร้อมอาคาร ประกอบด้วย
    สถานีสูบน้ำออกจากคลองสุนัขหอน
    โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจาก

    ทุกข์ ภัย ที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ว่า ...ได้ ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงใน อนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่....


    ที่มา... ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  12. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    แนวพระราชดำริ “แก้มลิง”

    แนวพระราชดำริแก้มลิง เป็นแนวทางบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยจัดหาพื้นที่รองรับและกักเก็บน้ำในช่วงฝนตกมีน้ำมาก และระบายออกในช่วงที่น้ำลดลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำลักษณะการเก็บอาหารของลิง เมื่อส่งกล้วยให้จะนำใส่ปากเคี้ยว และเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม ก่อนนำออกมากลืนกินภายหลัง แนวพระราชดำรินี้เกิดขึ้นในช่วงกรุงเทพมหานครเผชิญปัญหาน้ำท่วมเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘

    [​IMG]

    กรุงเทพมหานครประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ และเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วงระหว่างพุทธศักราช ๒๕๑๘-๒๕๒๖ ครั้งหลังสุดนี้มีน้ำท่วมขังยาวนาน ๔ เดือน โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกของเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดตามความเดือดร้อนของราษฎรจากข่าวสารและข้าราชบริพาร ทรงคิดค้นวิธีบรรเทาปัญหาหลายรูปแบบ เช่น เร่งระบายน้ำ ทำคันกั้นและเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘ ได้มีแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำในลักษณะที่ทรงเรียกว่า แก้มลิง พร้อมทรงอธิบายว่าเมื่อส่งกล้วยให้ ลิงจะรับแล้วปอกเปลือกส่งเข้าปากเคี้ยวเก็บไว้ที่กระพุ้งแก้ม จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้มจึงค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง ทรงเปรียบเทียบกับการหาพื้นที่เก็บน้ำในช่วงน้ำมาก ทรงวาดรูปประกอบและกำหนดสถานที่ลงในแผนที่ เพื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องอื่นๆ หาแหล่งกักเก็บน้ำ มีพระราชปรารภว่าแก้มลิงหรือแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติลดลงเพราะการปลูกสร้างอาคารเพิ่มขึ้น บางแห่งสร้างขวางทางน้ำ ทำให้ระบายออกได้ลำบาก จึงเกิดน้ำท่วมขัง บางครั้งเครื่องสูบน้ำที่ราชการมีอยู่ไม่สามารถสูบน้ำได้ทัน การเตรียมแก้มลิงหรือคลองขุดและบ่อพัก เพื่อชักน้ำมารวมไว้ช่วยลดปริมาณน้ำท่วมชุมชนที่พักอาศัยและย่านการค้า เมื่อระดับน้ำท่วมลดลงจึงระบายน้ำลงทะเล นอกจากนี้ แก้มลิงยังสามารถทำหน้าที่เป็นบึงพักน้ำและบำบัดน้ำเสียก่อนผันสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ

    [​IMG]

    แก้มลิงหรือแหล่งพักน้ำแบ่งเป็น ๓ ขนาดได้แก่

    ๑. แก้มลิงขนาดใหญ่ คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำหรือฝาย เช่น โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย ส่วนที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร กักเก็บน้ำ ๖,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสียที่ฝั่งธนบุรีและปริมณฑล และบึงหนองบอนกักเก็บน้ำได้ ๕,๐๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตพระโขนงและเขตประเวศ
    ๒. แก้มลิงขนาดกลาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ธรรมชาติ เช่น หนอง บึง คลอง เช่น บึงกุ่ม กักเก็บน้ำได้ ๑๔๘,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมบริเวณหมู่บ้านเสรีนครพัฒนา หมู่บ้านทวีสุข เขตบึงกุ่ม และบึงสนามกอล์ฟรถไฟ กักเก็บน้ำได้ ๑๐๗,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตบางซื่อ
    ๓. แก้มลิงขนาดเล็ก คือ พื้นที่สาธารณะ เช่น สนามเด็กเล่น ลานจอดรถ หรือสนามในบ้าน ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบระบายน้ำหรือคลอง ได้แก่ บึงข้างโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร (โรงพยาบาลรถไฟมักกะสัน) กักเก็บน้ำได้ ๑๒,๘๐๐ ลูกบาศก์เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมเขตราชเทวี และบึงพระราม ๙ กักเก็บน้ำได้ ๑๐,๘๗๕ ลูกบาศก์เมตร บรรเทาปัญหาน้ำท่วมถนนพระราม ๙

    โครงการแก้มลิงที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่

    ๑. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ใช้คลองชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำเข้าร่วมกับหนองบึงหรือพื้นที่ว่างเปล่าอื่นๆ
    ๒. โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย-สนามชัย และแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
    นอกจากนี้ ยังมีโครงการแก้มลิงนอกเขตกรุงเทพมหานครที่ทำงานเอื้อประโยชน์กับในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่
    ๑. โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
    ๒. โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-สนามชัย
    ๓. โครงการแก้มลิงคลองสุนัขหอน

    ปัจจุบันในกรุงเทพมหานครมีบึงรับน้ำในลักษณะแก้มลิง ๒๑ แห่ง บางแห่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร บางแห่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงานราชการอื่นๆ หรือเอกชน ในภูมิภาคมีโครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น


    ที่มา... http://job.haii.or.th/wiki84new/index.php/ก-แก้มลิง


    โครงการแก้มลิง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    …ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง… เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ
    “โครงการแก้มลิง” น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ “แก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้…”

    พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘

    “โครงการแก้มลิง” เป็น ส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนว พระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและ ก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่าน เสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
    คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจากที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภายหลัง เช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิงสำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อเวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไป


    [​IMG]


    แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ

    ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
    ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
    ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
    ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
    ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม “โครงการพระราชดำริแก้มลิง” โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น


    [​IMG]


    การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ ”แก้มลิง” มีลักษณะและวิธีการดังนี้

    ๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
    ๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
    ๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ “แก้มลิง” นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
    ๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำโดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว (One Way Flow)

    หลักการ ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ การพิจรณา

    ๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
    ๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
    ๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

    “โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา” ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน
    “โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา” ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิโครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง”ซึ่งใช้หลักการ ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ

    โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ

    ๑. โครงการแก้มลิง “แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
    ๒. โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-คลองสนามชัย”
    ๓. โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”
    โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย
    ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า

    …ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคต
    จะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่…”

    ที่มา... http://witayanun.wordpress.com/2012/08/01/โครงการแก้มลิง/


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  13. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สารคดีโครงการแก้มลิง

    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/VmE15OY0E7U?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    โครงการแก้มลิง “คลองมหาชัย-คลองสนามชัย”

    [​IMG]

    ที่มา... โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย


    [​IMG]

    ที่มา... Untitled Document


    โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"

    [​IMG]

    ที่มา... พระปรีชาญานในการบูรณาการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ


    โครงการแก้มลิง “คลองสุนัขหอน”

    [​IMG]

    ที่มา... http://web.rid.go.th/ffd/Upsecond/SWP/page/page33.htm


    โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/-cbR2KAuQ0Y?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>



    Nation bird eyes view นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง (15 ต.ค. 2011)

    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/5yqy2M0doF8?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    Nation bird eyes view นิคมอุตสาหกรรมนวนคร (17 ต.ค. 2011)

    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/z4bt7draZck?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    Nation bird eyes view คลองหกวา แนวกันน้ำแรกของกทม (18 ต.ค. 2011)


    <iframe width="640" height="360" src="http://www.youtube.com/embed/a5JUklPOPoQ?feature=player_detailpage" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>


    .

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2013
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปภ.เตือน 4 อำเภอ จ.ระนอง รับมือฝนตกหนัก

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2556 13:00 น.

    นายชวลิต นิฒรรัตน์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทาง ปภ.ระนอง ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.สุขสำราญ อ.กะเปอร์ อ.เมือง และ อ.กระบุรี ให้เตรียมพร้อมบุคคลากร อุปกรณ์ ตามแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หลังจากที่ ปภ.ระนองได้รับแจ้งจากสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดระนองว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีกำลังอ่อนในระยะนี้จะมีกำลังแรงขึ้นในระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคมนี้ ส่งผลให้ จ.ระนอง มีฝนตกหนักกระจายครอบคลุมร้อยละ 60 ของพื้นที่
    ฉะนั้นจึงได้เร่งแจ้งเตือนชาวบ้านและหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย การเกิดดินเลื่อนไหลปิดทับเส้นทางคมนาคม เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และบรรเทาความเดือดร้อนของราษฏรเป็นการเฉพาะกิจได้ โดยให้ยึดหลักการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุป้องกันและแกไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคนถล่ม
    ทาง ปภ.ระนอง ได้ออกประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงภัยใน 4 อำเภอ ให้ระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักช่วงวันที่ 14-16 กรกฎาคมนี้ เนื่องจาก จ.ระนอง ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ จ.ระนอง เกิดฝนตกหนัก และยังมีปริมาณฝนตกสะสม โดยเฉพาะ อ.กะเปอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำและที่ลุ่ม เสี่ยงที่จะเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันได้

    Manager Online -
     
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ไต้หวันยกเลิกเที่ยวบิน-จีนเตรียมรับมือไต้ฝุ่นซูลิค

    13 กรกฎาคม 2556

    [​IMG]

    ไต้หวัน ยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ อพยพประชาชนกว่า 1,000 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยตามแนวชายฝั่ง จากอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่นซูลิค ขณะ จีน เตรียมการรับมือเช่นกัน


    สำนักข่าวเอพี รายงานว่า ทางการไต้หวัน ประกาศยกเลิกเที่ยวบินระหว่างประเทศ และอพยพประชาชนกว่า 1,000 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย ตามแนวชายฝั่ง ขณะไต้ฝุ่นกำลังแรงใกล้เข้ามาจะทำให้เกิดลมแรงและฝนตกหนักในไต้หวัน

    ส่วนที่จีนต้องเตรียมการรับมือไต้ฝุ่นซูลิกเช่นกัน นับเป็นไต้ฝุ่นลูกแรกที่จะกระหน่ำในพื้นที่ดังกล่าว ศูนย์พยากรณ์อากาศไต้หวันเตือนว่า ไต้ฝุ่น มีกำลังลม 173 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ห่างไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองอี๋เหลียน ราว 320 กิโลเมตร โดยมีฝนตกแล้วที่กรุงไทเป และมีฝนตกหนักทางภาคเหนือและพายุฝนทางภาคใต้ของไต้หวัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ต้องประกาศเตือนให้ระงับการเดินเรือทั้งหมดชั่วคราว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

    ไต้หวันยกเลิกเที่ยวบิน-จีนเตรียมรับมือไต้ฝุ่นซูลิค
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชาวนากำแพงเพชรเดือดร้อน หลังฝนตกหนักท่วมนาข้าว

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    13 กรกฎาคม 2556 17:10 น.

    ชาวนา ต.ท่าพุทรา อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เร่งกรอกกระสอบทรายเพื่อนำไปทำผนังกั้นน้ำ ไม่ให้น้ำจากคลองเอ่อล้นไหลเข้าท่วมนาข้าวที่ปลูกไว้ หลังฝนที่ตกหนักตลอดหลายวัน ทำให้ระดับน้ำในคลองเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่บางจุดน้ำเข้าท่วมนาข้าว ชาวนาต้องเร่งใช้เครื่องสูบน้ำออกโดยเร็ว ก่อนที่ข้าวจะเน่าตาย
    นางเกสร เรืองคุ้ม ชาวนา อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า ข้าวถูกน้ำท่วมสูงเกือบมิดยอดข้าว กินพื้นที่เป็นวงกว้าง แม้จะใช้เครื่องสูบน้ำสูบตลอด 24 ชั่วโมง แต่ยังไม่มั่นใจว่าสามารถรักษานาข้าวทั้งหมดเอาไว้ได้หรือไม่ และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก
    ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพราะระยะนี้ยังมีฝนตกลงมาต่อเนื่อง กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใตฝั่งอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง และทำให้ภาคเหนือมีฝนกระจาย

    Manager Online -
     
  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    Today's Topics:

    1. Government shut down and the NASA SMD Research Program (HQ-Senior Advisor for Research and Analysis)

    ----------------------------------------------------------------------

    Message: 1
    Date: Mon, 30 Sep 2013 20:38:55 +0000
    From: HQ-Senior Advisor for Research and Analysis <HQ-SARA@nasa.gov>
    Subject: [r-and-a-update] Government shut down and the NASA SMD

    Research Program
    To: "r-and-a-update@hq.nasa.gov" <r-and-a-update@hq.nasa.gov>
    Message-ID: <CE6F4403.36732%hq-SARA@mail.nasa.gov>
    Content-Type: text/plain; charset="windows-1252"

    Dear Colleagues,

    This letter is all about the ways in which a US Government shutdown would affect the Research program in NASA's Science Mission Directorate.

    If the US Government shuts down, only research that requires access to government labs or participation of NASA personnel must halt. Most grants at universities and other non-NASA facilities will continue. I have been told that the Department of Health and Human Services? Payment Management System will continue to operate, though with reduced staff presence, so that those grantees who can continue work will be able to continue drawing funds during shutdown.

    If a Government shutdown occurs and continues, proposal due dates will be delayed to permit Government institutions and other affected offerors time to submit proposals after they return to work. We have already posted notices of our intentions on the NSPIRES pages of MDAP (due 10/4), H-GCR (due 10/11), and PMDAP (due 10/11), but official amendments delaying due dates will not go out until closer to those due dates and if the government remains shut down.

    If the Government shuts down ROSES proposal peer review panels will be rescheduled, as appropriate, as the shutdown continues.

    The Mars 2020 AO may be affected in a number of ways, if the Government is shut down for some duration. The preproposal conference, scheduled for 10/8, may be rescheduled and the due date for NOIs (currently 10/15) could be delayed, if the government is still shut down closer to those dates.

    Since NASA civil servants have been strictly and sternly warned against even volunteering any time, the program officers will not be able to respond to email or voicemail messages if the government is shutdown. This includes SARA.

    Finally, I have been told that in the even of a Government shutdown the NASA websites will not just become stale, but will not be available. If a Government shutdown occurs please visit NSPIRES - NASA Research Opportunities Online for the latest on due dates associated with our solicitations.

    SARA

    SARA@nasa.gov
     

แชร์หน้านี้

Loading...