ไม่ใช่นะครับที่มักกล่าวว่า “สมถะเหมือนการหลบภัย วิปัสสนาเหมือนการผจญภัย”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 26 พฤษภาคม 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ที่คิดว่า ไม่หลง แต่จริงๆ แล้วหลง
    ประเด็นอยุ่ที่ หลงแล้วชวนคนอื่นหลง
    ประเด็นอยู่ที่ การสร้างความสับสน ให้คนยิ่งหลง
    คุณต้องดูนะครับว่า ทางที่ถูกและ วิธีการที่ถูก ทำอย่างไร ไม่ใช่ว่า ทำแบบนี้แหละ ไม่หลงหรอก
    ผมไม่ได้ทะเลาะกับ คนที่เขาทำอย่างไร แต่ผมทะเลาะกับ คนที่ ไม่รุ้แต่เอามาบอกคนอื่นผิดๆ
    ผมทะเลาะกับ คนที่เอามาบอกคนอื่นผิดๆ แล้วยังตำหนิคนที่ถูก
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    รู้กอง ลมเข้า ลมออก เป็นวิตก ลมเข้ายาว ออกยาว เป็นวิจารณ์
     
  3. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ว้าว........ แว๊ดก็เพิ่งรู้
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณนานาคอน นาดูครับ คุณพูดว่า "เรากำลังซ่อมแซมความโง่"
    เมื่อคุณซ่อมแซมเสร็จแล้ว มันหายโง่
    หรือยังเป็นความโง่อยู่เหมือนแต่ทรงเครื่งใหม่ครับ???
    ในเมื่อมันยังเป็นความโง่อยู่ดี ถึงจะมีร่างใหม่ที่ดูดีขึ้นก็จริง
    แต่ก็ไม่ช่วยให้หายโง่ได้นิครับ

    ในเมื่อรู้อย่างี้ ทำไม ทำไม ทำไม ไม่หาอุบายเพื่อสลัดความโง่ออกไปล่ะครับ???

    ถ้ามันคลี่คลายตัวมันเองได้แล้ว ปัจจุบันคนโง่น่าจะหมดไปได้เองสิครับ(สาธุ ความโง่จงเจริญ)

    คุณภาวนาในตัวเองได้ คุณใช้อะไรป็นองค์ภาวนาครับ???
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คำว่า วิจาร ซึ่งมีอยู่ใน รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจารนั้น ท่านตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า อารมฺมเณ เตนจิตตํ วิจรตีติ วิจาโร วิจรณํ วา วิจาโร อณสญจรนนฺติ วุตฺตํ โหติ แปลว่า จิตย่อมเที่ยวไปในอารมร์ด้วยความนึกนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า วิจาร อีกอย่างหนึ่งว่า ความเที่ยวไป ชื่อว่า วิจาร อธิบายว่า ได้แก่ความสัญจรไปเนืองๆ ดังนี้ ได้ใจความตามคำของท่านนี้ว่า วิจารนั้น แปลว่า ความเที่ยวไปแห่งจิต ความสัญจรไปเนืองๆแห่งจิต ดังนี้ แต่ในภาษาของเราไม่มีคำที่พูดกันอย่างนี้ ไม่มีใครเคยพูดกันว่า ความเที่ยวไปแห่งจิต ความสัญจรไปเนืองๆแห่งจิต เพราะฉะนั้น คำว่า วิจาร จึงนิยมแปลกันว่า ความตรอง ซึ่งไม่ถูกกับความหมายแห่งคำเดิมแท้ ถ้าจะให้ถูกกับความหมายคำเดิมแท้ ก็ต้องแปลว่า ความเที่ยวไป แต่คำว่าเที่ยวไปนี้เราหมมายความกันว่า เป็นการเที่ยวไปด้วยเท้าของคนและสัตว์นั้นๆ ไม่ได้หมายถึงการเที่ยวไปแห่งใจ ความจริงนั้นไม่ได้เที่ยวไปด้วยเท้าเท่านั้น ใจก็เที่ยวไปด้วย ใจยิ่งเที่ยวมากกว่าเท้า ม้แต่ชั่วเราหายใจออก หายใจเข้า ใจก็เที่ยวไปหลายแห่งแล้ว ที่เที่ยวไปของใจนั้นก็ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ใจย่อมเที่ยวไปในสิ่งเหล่านั้นเพราะฉะนั้น ถ้าจะแปลให้ถูกตามความหมายเดิม ควรแปลว่า ความเที่ยวไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คือ รูปวิจารนั้น ควรแปลว่า ความเที่ยวไปในรูป สัททวิจาร ความเที่ยวไปในเสียง คนธวิจาร ความเที่ยวไปในกลิ่น รสวิจาร ความเที่ยวไปในรส โผฏฐัพพวิจาร ความเที่ยวไปในโผฏฐัพพะ ธรรมวิจาร ความเที่ยวไปในธรรมมารมณ์ สัญญา คือ ความจำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารมณ์ สัญเจตนา คือ ความจงใจใน รุป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมมารม์ วิตก คือ ความนึกในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ วิจาร คือ ความตรองในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐํพพะ ธรรมมารมณ์ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า เป็นของควรรู้ด้วยปํญญาอันยิ่งทั้งนั้น ถึงธาตุ 6 กสิณ 10 ก็เป็นที่ควรรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งทั้งนั้น ดังนี้ สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้ ........
    ที่มาพระสุตตันตปิฎก...
    หากพิมผิดกราบขอขมาพระรัตนไตร
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    คำว่า วิตก ซึ่งมีอยู่ใน คำว่า รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตกนั้น ท่านตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า วิตกฺเกตีติ
    วิตกโกวิตกกฺนํ วา วิตกฺโก แปลว่า สิ่งใดนึก สิ่งนั้นชื่อว่า วิตก อีกอย่างนึงว่าความนึกชื่อว่า วิตก ดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า วิตก จึงแปลได้2 อย่าง คือ แปลว่า ผู้นึก1 ความนึก1 แต่ที่แปลว่าผู้นึกนั้น หมายความถึงคนและสัตว์ซึ่งป็นเจ้าของ คำว่า ความนึกนั้น หมายถึงอาการแห่งจิตใจ เพราะฉะนั้น คำว่า รูปวิตก จึงแปลว่า ความนึกในรูป สัททวิตก ความนึกในเสียง คันธวิตก ความนึกในกลิ่น รสวิตก ความนึกในรส โผฏฐัพพวิตก ความนึกในโผฏฐัพพะ ธัมมวิตก ความนึกในธรรม ดังนี้รวมความว่า ความนึกซึ่งรียกว่าวิตกนี้ หมายความนึกในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐํพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นความนึกดีก็มี นึกไม่ดีก็มี นึกกลางๆก็มี ถ้าเป็นความนึกอยากได้หรือนึกเกลียด นึกโกรธ
    ก็เป็นความนึกไม่ดี เรียกว่าอกุศลวิตก ถ้าเป็นความนึกประกอบด้วย เมตตา กรุณณา หรือเป็นความนึกอยากพรากจิตใจออกจากความรักในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เป็นความนึกที่ดี เรียกว่า กุศลวิตก ถ้าเป็นความนึกเฉยๆ คือไม่นึกดีใจเสียใจ ไม่นึกรักนึกเกลียดอย่างไร เป็นความนึกกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วอันใด ไม่เป็นกศลอกุศลอย่างไร เพราะฉะนั้น จงเข้าใจเถิดว่า วิตก คือ ความนึกในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพ ธรรมารมณ์นั้น เป็นได้ทั้งดีทั้งชั่วและกลางๆดังนี้..



    ที่มา พระสุตตันตปิฎก....



    หากพิมผิดกราบขอขมาพระรัตนไตร
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่เห็นเหรอ ว่าอะไรเกิดก่อนโทสะ ทำให้เห็นไม่ได้เหรอ ^-^
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณนานาคอน นาดูครับ คุณเป็นสัตวแพทย์ คุณน่าจะรู้ดีอยู่แล้วนิว่า
    ไม่ว่าคนหรือสัตว์ คุณหรือใครๆ ลองมีหางดูสิครับว่า
    เวลาถ่ายต้องยกหางขึ้มมามั้ย???

    คุณเคยดูกายในกายหรือยังครับ???
    ใช้อะไรดู??? เมื่อจิตจดจ่ออยู่ที่กายที่ใคที่หนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง
    จิตคุณต้องตั้งมั่นอยู่ตรงนั้นใช่มั้ยครับ??? ถ้าใช่

    มันเสียหายตรงไหนครับ? มีแต่ได้กับได้เท่านั้น?
    เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(ปัญญา)
    ต้องเสริมอาหารไปเพื่ออะไร???

    ปล. อย่าลืมขอขมาพระรัตนไตยบ้างล่ะ

    ;aa24
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อืม... ^-^
     
  10. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ก็พยายามกระตุ้นความรู้สึกตัวเองให้อยู่กับปัจจุบันจริง ๆ ให้ได้ อย่าไปหลงอดีต อดีตคือสัญญา (ความจำได้) ทั้งหมด อย่าไปหลงอนาคต อนาคตคือสังขาร (ความปรุงแต่ง) ปรุงไปข้างหน้า ปัจจุบันก็ให้รู้ตามความเป็นจริง ไม่ให้หลงคิด เผลอแล้วให้รู้ตัวบ่อย ๆ อย่าจมแช่ลงไปในเรื่องราว อย่าเพลิน กระตุ้นตัวเองบ่อย ๆ อาจจะใช้วิธีสูดลมหายใจเข้าให้ลึก ๆ ให้ทั่วท้อง แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมออกมาช้า ๆ สักสองสามเที่ยวก็ได้ สมองจะปรอดโปร่งขึ้นทันตาเห็น สติจะอยู่กับปัจจุบันจริง ๆ ก็ฝึกอย่างนี้ให้ช่ำชอง ให้มีกำลัง ทำให้ได้ต่อเนื่อง ถ้าจะให้ดีฝึกทำสมาธิในรูปแบบบ้าง ให้ได้ทุกวัน ให้จิตมันสงบบ้างวันละนิดละหน่อยก็ยังดี เป็นการ reset ตัวเอง ฝึกให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออก แล้วจะทำให้การควบคุมอารมณ์ในระหว่างวันดีขึ้น เพราะบางทีเราก็จำเป็นต้องใช้สมถะเข้ามาข่ม การทำงานบางทีก็มีกระทบกระทั่งกัน เราก็จะได้ดับได้ ควบคุมอารมณ์ได้

    ทำกายให้สัปปายยะ ทำใจให้สัปปายยะเข้าไว้ สร้างบารมีด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ไม่เบียดเบียนสมมุติผู้อื่น รู้จักความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือแบ่งบัน จิตของเราก็จะเป็นสุข มีความปรอดโปร่งโล่งใจขึ้น มีปิติ มีความสุข รู้จักอดทน ขยันหมั่นเพียร พวกนี้จะกลายเป็นกำลังไปเสริมในด้านจิตใจให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ๆ ถ้าจิตใจของเราปรอดโปร่ง สมองปรอดโปร่ง การเห็นธรรมก็จะชัดเจนมากขึ้น จิตปกติเป็นเช่นไร เรารู้จักวิเคราะห์พิจารณา รู้จักทำความเข้าใจ เมื่อทุกข์เกิดขึ้น อาการของจิตเป็นอย่างไร เราก็หมั่นสังเกต ทำความเข้าใจไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งเมื่อบารมีถึงพร้อม เราก็จะเข้าใจอย่างชัดเจนได้ เราก็จะเห็นหนทางข้างหน้า ก็จะรู้จักและเข้าใจโดยไม่ต้องถามใครอีกเลย..


    สาธุ ขอให้โชคดีนะครับ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อันนี้กล่าวแบบ ขั้นธรรมดาเพื่อให้คนเข้าใจหรือเปล่าครับ

    มีลึกซึ้งกว่านี้ไหม
     
  12. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    คุณนานาคอน นาดูครับ คุณพูดว่า "เรากำลังซ่อมแซมความโง่"
    เมื่อคุณซ่อมแซมเสร็จแล้ว มันหายโง่
    หรือยังเป็นความโง่อยู่เหมือนแต่ทรงเครื่งใหม่ครับ??? การซ่อมแซมความโง่ คุณเห็นเป็นการทรงเครื่องเหรอ แต่นานามองเป็นการละลายเหลือนะ เห็นไม่เหมือนกันจริง
    ในเมื่อมันยังเป็นความโง่อยู่ดี ถึงจะมีร่างใหม่ที่ดูดีขึ้นก็จริง
    แต่ก็ไม่ช่วยให้หายโง่ได้นิครับ
    อันนี้เราไม่ตอบท่านนะ ไม่รู้ตอบแล้วได้ประโยชน์อะไร
    ในเมื่อรู้อย่างี้ ทำไม ทำไม ทำไม ไม่หาอุบายเพื่อสลัดความโง่ออกไปล่ะครับ???
    หาอุบาย สลัดความโง่เหรอคะ ทำไม ทำไม ทำไมต้องหา ความโง่นี่เป็นครูชั้นดี
    เพราะมันไม่ทำให้เรานึกว่า นึกว่า นึกว่า ตัวเองฉลาด

    ถ้ามันคลี่คลายตัวมันเองได้แล้ว ปัจจุบันคนโง่น่าจะหมดไปได้เองสิครับ(สาธุ ความโง่จงเจริญ)อันนี้ ไม่รู้ไม่ได้มองคนอื่น

    คุณภาวนาในตัวเองได้ คุณใช้อะไรป็นองค์ภาวนาครับ?
    คำภาวนานะเหรอ ดูลม ดูการการเคลื่อนไหว ดูสิ่งที่มากระทบ
     
  13. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่มีหรอกลึกซึ้งกว่านี้ วิตก ก็รู้ลม วิจารณ์ รู้ภาวะลม คุณจะให้มันขั้นลึกซึ้งอะไร
     
  14. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    การเสพอาหาร คุณเอกวีร์ จะบอกว่า ที่คล้อยตามนี้เพราะไปรับอารมณ์มาใช่ไหม
    บอกว่าใช่ ๆ คือรับมาพิจารณาให้รู้สึก แล้วค่อยไป ฝึกให้ชิน จะได้รู้ทางหนี
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    คำภาวนานะเหรอ ดูลม ดูการการเคลื่อนไหว ดูสิ่งที่มากระทบ
    แล้วมีต่อ ....ตามดูใจเมื่อกระทบไปเรื่อยๆ....เหมือนผมเล๊ย...[​IMG]
     
  16. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    แล้วเห็นพระบางรูปที่ทรมารร่างกายล่ะ
    เคยเห็นเหมือนกัน ท่านจะไม่พูดกับใคร ฉันมื้อเดียว บางทีไม่นอน แบบนี้คือสมถะใช่ไหม เคยติดสมาธิ ได้เห็นรสชาด ไม่ขอพูดดีกว่าบาป
    แต่ไม่ได้ทรมารกาย เพราะคิดว่าไม่น่าจะใช่ทางสายกลาง
     
  17. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    รู้สึกถ้าภาวนาแบบนี้แล้ว สิ่งภายนอกเงียบ และช้าลง แต่ภายในเรามันกัลับเคลื่อนไหว อย่างรวดเร็วน่ะ พี่ณุ
     
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้างั้น จบ

    ว่าแต่ว่า พี่ภูติ จะมีอะไรกล่าวเสริมไหม
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    นานากร ภาวนาเข้าเป้าแล้วล่ะ ไปเรื่อยๆ จะยิ่งเห็นสิ่งที่อยู่ในกายในใจชัด ด้วยความรู้สึกแจ้งขึ้นเรื่อยๆ...อนุโมทนาด้วยนะ [​IMG]
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ม่ายช่ายม่ายช่าย ให้ระลึกสภาวะที่ปราณีตกว่านั้น

    บรรยายอย่างไรดีหว่า มันเป็นการสั่นๆ จะไปให้ได้ มันจะกลับไปตรึกให้ได้

    พอเราถอนจากหน้าจอ ไปทำกิจอื่น มันจะมีอะไรบางอย่างสั่นในจิต
    ก่อน(เกิดวิตก) สมมติว่าตอนนั้นในสมถะ หรือ ความฝุ้งซ่านกั้น(คิดงานอื่น)
    ไว้ สภาพสั่นๆนั้นปรากฏอยู่ มันดึงๆอยู่ จะให้กลับไป พอเราชำเลืองไปใน
    สภาวะสั่นๆนั้น(วิจารไปและ) ก็จะเกิดเป็นความจำได้หมายรู้ว่า มันอยากไป
    ทำอะไรสักอย่างหนึ่งแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร(สัญญารอบแรก) พอเราปล่อย
    ชำเลืองอีกก็จะเกิดการให้ค่า(สัญญารอบที่สองทำงาน) ก็จะจำได้ว่า สภาวะ
    นี้คือความอยากมานั่งหน้าคอมฯ ..ตรงนี้ยังยั้งได้อยู่ แต่ถ้าปล่อยอีกคราวนี้
    นิมิตเสียงพูดในกระทู้มั่นจะลั่น จะมีเสียงแทนตัวคนนั้นคนนี้ในแบบต่างๆที่
    เราสร้างเอาไว้ รวมทั้งเรื่องราวที่ค้างคา ไหลมาเต็มไปหมด

    สภาวะอาหาร หรือ การหิวอารมณ์ของจิตนั้น เกิดขึ้นก่อน วิตก วิจาร ...

    หากระลึกตรงนั้นทันก็จะแจ่ม ภาวนาพ้นจิตคิดได้

    ซึ่งจะไม่ใช่การดับนะ เป็นการเห็น

    เดี๋ยวลองรอให้คุณ TBoon อธิบายในอีกลักษณะหนึ่งดูก่อน เพื่อผมบรรยายพลาด

    หรือไม่ก็รอ พี่ณุ พี่จินนี่ ก็น่าจะอธิบายได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...