เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30










     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30












     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30










     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30












     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    ข้อถกเถียงที่เกิดในโลกมนุษย์ที่ส่งผลหลัก คือเรื่องธรรมทั้งมวล เหตุการ์ณในโลกมนุษย์ย่อมสงผลถึงโลกธาตุอื่นด้วย ทั้งในสวรรค์และนรก เมื่อถกเถียงจึงวุ่นวายหาข้อยุติมิได้ โดยเฉพาะในเรื่องพระสัทธรรมและอสัทธรรม เมื่อพระสัทธรรมเริ่มเลือนลางไปจากใจของหมู่สัตว์ในโลกธาตุ

    หากเมื่อใดโลกบังเกิดอลัชชีสรรเสริญแต่งเติมซึ่งสัทธรรมปฎิรูปย่ำยีเสียแล้วซึ่งพระสัทธรรมก้าวล่วงเป็นใหญ่ในสังฆปริมณฑล ทุกภพภูมินรกสวรรค์จึงเกิดวิปริตแปรปรวนมากขึ้น จากที่เป็นอยู่ธรรมดาที่ไม่เที่ยงอย่างนั้นและอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ย่อมเกิดภัยพิบัติแก่โลกมนุษย์นั้นด้วย เมื่อไร้ซึ่งพระสัทธรรม อสัทธรรมจึงโชติช่วง โลกาย่อมวินาศ ณ ครานั้น

    เมื่ออสัทธรรมกล้าแข็งถึงที่สุด เมื่อโลกธาตุทั้งหลายสั่นไหว บุคคลทั้งหลายปราถนาพระสัทธรรม จึงจะมีการถือกำเนิดจุติธรรมเป็นอิทัปปัจยตา แม้ผู้รู้แล้วยังทำได้แค่อยากและปราถนาก็ได้พึ่งธรรมพึ่งตนเฝ้าคอย เพียงเท่านั้น

    ผู้ใดเล่าหนอจะมาไถพรวนผืนดินถิ่นธรรมนี้ให้ราบลุ่มเขียวขจี



    58CA1DB2-5438-4BE8-81A0-8421148C4A5C.jpeg



    ความปรารถนาและการรอคอย ยังคงมีอยู่เสมอๆ

    ขอให้สมปรารถนาในสักวันหนึ่งข้างหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2022
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    69FF1403-8F33-4D6B-B7F3-39E73D9E135F.gif

    พุทธลักษณะ หรือบุคลิกภาพของพระพุทธองค์ผู้นำอารยันของชาวพุทธ สรุปได้คร่าว ๆ ทรงเป็นผู้เสียสละอย่างยิ่ง พระองค์ไม่ใช่อวตารหรือเกิดจากคำสั่งของเทพ ทรงค้นพบสัจธรรมด้วยพระองค์เอง(สมฺมาสมฺพุทฺโธ) ไม่ใช่เพราะมีเทพเจ้าดลบันดาลให้พบ ทรงเป็นผู้ชี้ทางดำเนินชีวิตให้ (อกฺขาตาโรตถาคตา) พระองค์ไม่บังคับให้ใครเชื่อ ไม่ผูกขาดความเป็นพุทธะไว้แต่เพียงผู้เดียว คำสอนไม่มีนัยเร้นลับไม่มีเงื่อนงำ (อาจริยมุฏฺฐิ) สอนแต่สิ่งที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติได้จริงในชีวิต ไม่มุ่งหวังอยากได้ศิษย์(เช่น กรณีสีหเสนาบดี) สอนไม่ให้ติดยึดบุคคล (เช่นกรณีพระวักกลิ) ทรงมุ่งความสำเร็จประโยชน์ของผู้ปฏิบัติเป็นประมาณ

    นี้เป็นลักษณะเด่นของผู้มีพระนามว่า พุทธะ




    พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ ; “พระสมณโคดมเป็นศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยตระกูล…มีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้วทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”


    ทรงแสดงเป็นตัวอย่างในการเข้าถึงให้แล้ว บุรุษและสตรีผู้สมควรฝึกทั้งหลาย จงมีความหมั่นเพียร ร่ำเรียนเอา เหล่าปฎิสัมภิทา ผู้ดูแล ปกป้องพระสัทธรรม ทั้งหลายฯ

    ความรู้นี้ไม่มีในเรา ไม่มีในกายเน่าๆของเรา นี่ไม่ใช่เรา !
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    รายนี่ก็อาการหนักหน่อย! เพราะไม่รู้จักปฎิปทาของ อาจารย์ ที่ท่านได้ นำมาแสดงในกถา “ มุตโตทัย “ เครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์ หรือ การทำให้ถึงการตรัสรู้ พระสัทธรรม เรียกตามตรง ก็คือ “ปฎิสัมภิทาน้อย”

    แหละนี้ คือ ปฎิสัมภิทาใหญ่

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ
    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค
    ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์
    ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ



    ปฏิสัมภิทามรรค

    " ผู้ที่มีจิตไม่มั่นคง ไม่ทราบพระสัทธรรม
    มีความเลื่อมใสรวนเร ย่อมมีปัญญาบริบูรณ์
    ไม่ได้"


    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=659&p=1


    เพราะ ไม่รู้จักพิจารณาธรรม จากอาจารย์ ให้ดี แต่เอาอาจารย์ที่ตนอวดอ้างมาบัพสกิล อวดเลเวลอัพของตนเอง

    คนแบบนี้มีอยู่มากที่หลงทาง

    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทย์อธิกรณ์ได้
    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ



    สังเกตุไหม? ว่า ทำไมบุคคลเหล่านี้ ถึงถูกคืนหอกปักอก ทั้งหมด
    61A69B3C-74FD-49CA-B9F6-FB6A651F64B3.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    E6E158EB-01F7-4DE9-AAF3-200355B540F9.jpeg



    https://palungjit.org/threads/พร่องในศีล-ไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย-ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ-แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้.548335/page-8
    E82A02E9-562F-41CC-8FC4-EEAA7CF86877.jpeg


    ถ้ายังติดตามอ่านอยู่ ก็จงพิจารณาตามที่ได้ ปุจฉาวิสัชนาไป

    นี่เป็นการ แสดงเรื่อง วิมุตติ ๕ จนไปถึง เจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบ

    มันต้องมีเหตุผล ให้แสดง ต้องมีเหยื่อ!

    แต่ขอหยุดไว้ที่หน้าประตู ไม่เข้าไป


    9CC6AF2B-5FA8-4375-80C6-34039DB19CF3.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    พระธรรม ๒ ลักษณะ อมตธรรม และ ทรงวินิจฉัย

    ชื่อว่าย่อมเห็นด้วยปัญญาจักษุ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้เป็นเหมือนคนบางพวกแม้ถือเอาสิ่งวิปริตรู้อยู่ ก็ย่อมไม่รู้ แม้เห็นก็ย่อมไม่เห็น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือตามสภาพที่เป็นจริง ทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ ทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่าทรงมีจักษุ เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้นำในการเห็น. ชื่อว่าทรงมีญาณ เพราะอรรถว่ามีความเป็นผู้ทรงรู้แจ้งเป็นต้น. ชื่อว่าทรงมีธรรม เพราะอรรถว่ามีสภาพไม่วิปริต หรือสำเร็จด้วยธรรมที่พระองค์ทรงคิดด้วยพระทัย แล้วทรงเปล่งด้วยพระวาจา เพราะทรงชำนาญทางปริยัติธรรม. ชื่อว่าทรงมีพรหม เพราะอรรถว่าทรงเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
    อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทรงมีจักษุ เพราะทรงเป็นดุจจักษุ. ชื่อว่าทรงมีญาณ เพราะทรงเป็นดุจญาณ. ชื่อว่าทรงมีธรรม เพราะทรงเป็นดุจธรรม. ชื่อว่าทรงมีพรหม เพราะทรงเป็นดุจพรหม.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอก เพราะตรัสบอกพระธรรมหรือเพราะยังพระธรรมให้เป็นไป. ตรัสบอกทั่ว เพราะตรัสบอกโดยประการต่างๆ หรือให้เป็นไปโดยประการต่างๆ. ทรงนำอรรถออก เพราะทรงนำอรรถออกแล้วจึงทรงแนะนำ. ทรงประทานอมตธรรม เพราะทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุอมตธรรม หรือเพราะทรงให้บรรลุอมตธรรมด้วยการแสดงธรรมประกาศอมตธรรม. ทรงเป็นธรรมสามี เพราะทรงให้เกิดโลกุตรธรรมด้วยการประทานโลกุตรธรรมตามความสุขโดยสมควรแก่เวไนยสัตว์ และทรงเป็นอิสระในธรรมทั้งหลาย.

    4342E9D6-AD5F-4164-BC0F-81B56CC0DAFC.jpeg
     
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    “ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา “

    ตรงที่สุดแล้ว! ไม่ได้เป็นไปในทางอื่น เป็น แม่บท แห่ง ธรรมทั้งหลายฯ

    แต่ส่วนที่เหลือ ในปฎิสัมภิทา ๑๖ ทั้งหลาย ยังคงไว้ให้ พระสาวกบารมีญาน เพียง ๑-๑๔ เท่านั้น

    ระดับสูงกว่านี้เป็นที่ประดับบารมีญาน

    แบบซุปเปอร์ทวีคูณxxxxxxxxx84,000

    ๑๕ พระปัจเจกพุทธเจ้า


    แบบอินฟินิตี้

    ๑๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรมแสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรม
    ทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความแทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ

    9808A011-C145-493B-86AF-6330EE0BECCD.jpeg
     
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    ก่อนจะเข้าถึง มรรค


    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย
    ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ

    เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ

    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐มีญาณ ๒๔๐ ฯ

    56215989-C969-4AF1-BE90-1B9042F9990D.jpeg



    ปฏิสัมภิทาย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ เป็นไฉน?
    ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ด้วยอธิคม, ด้วยปริยัติ, ด้วยสวนะ, ด้วยปริปุจฉา, ด้วยปุพพโยคะ.
    ในเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น การบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าอธิคม. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บรรลุพระอรหัต ย่อมผ่องใส.
    พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้เรียนพระพุทธพจน์นั้น ย่อมผ่องใส.
    การฟังพระสัทธรรม ชื่อว่าสวนะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้สนใจเรียนธรรมโดยเคารพ ย่อมผ่องใส.
    กถาเป็นเครื่องวินิจฉัย คัณฐีบทและอรรถบท ในพระบาลีและอรรถกถาเป็นต้น ชื่อว่าปริปุจฉา. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้ที่สอบสวนอรรถในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีพระบาลีเป็นต้นที่ตนเรียนแล้ว ย่อมผ่องใส.
    การบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานอยู่เนืองๆ จนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณอันเป็นที่ใกล้อนุโลมญาณและโคตรภูญาณ เพราะความที่การบำเพ็ญวิปัสสนานั้น อันพระโยคาวจรเคยปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่ามาในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ชื่อว่าปุพพโยคะ. ก็ปฏิสัมภิทาของผู้บำเพ็ญเพียรมาแล้วในปางก่อน ย่อมผ่องใส.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2022
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
    เราเจริญแล้ว ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง
    มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น
    วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร
    จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้
    คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    แทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
    แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม
    ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม
    เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
    ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
    แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ-
    *ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ
    นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
    ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
    โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕
    ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ
    พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้
    ฯลฯ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
    เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน
    ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือ
    การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐
    มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    [๖๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ
    และปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธาน
    สังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา
    ไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร
    นี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ
    [๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
    ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้
    ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    สว่างไสว ... ฯ
    จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธาน
    สังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท
    ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ
    ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ
    ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท
    ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    [๖๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม
    ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
    พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
    พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ-
    ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐
    มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระ-
    *โคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ
    ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ
    ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ


    https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=31&A=8833
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2022
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยากเป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลง สู่ความตรึก ละเอียดเป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง
    ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้
    เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
    หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ นี้ก็แสนยากที่จะเห็นได้
    ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา
    ข้อนั้นจะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา
    จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา”

    “ท่านต้องการให้พระโพธิสัตว์ ทั้งหลายฯ อันมี พระธรรมิกราช พระโพธิสัตว์ว่าที่พระศรีอารยเมตไตรย พระจักรพรรดิ หรือพระโพธิสัตว์ท่านอื่นๆ เป็นต้น ชี้แนะแนวทาง สั่งสอนในสิ่งอันใดกับท่าน” ในห้วงกึ่งพุทธกาลนี้! และอนาคตกาลต่อๆไป

    ต้องการอะไร? สิ่งใดกันแน่! พึงพิจารณาถามหาความปรารถนาของตนนั้นให้ดี

    เราเคยแจ้งไปแล้ว! ว่ายุคนี้ ต้องพึ่ง ปาฏิหาริย์ ๓ เท่านั้น!

    โดยเฉพาะ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นตัวดึงให้ มาสนใจ
    ที่เหลือ ก็พึ่ง อนุสาสนียปาฏิหาริย์ และพึ่งบุญกุศลบารมีญานที่เขาสั่งสมมา

    ให้ผู้มีการบรรลุตาม และต้อง บรรลุ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตามได้ด้วย

    ยุคนี้หรือ เป็นยุคที่

    “ ต่อให้มี พระสัทธรรมแท้ๆ ปรากฎอยู่ตรงหน้า ก็มองไม่เห็น ไม่เห็นค่า “


    ว่าด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ
    พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นยกญาณอันทั่วไปแก่พระสาวก ๖๗ ญาณขึ้นแสดงตามลำดับอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงญาณอันมีเฉพาะพระตถาคตเจ้าเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย จึงได้ยกอสาธารณญาณ ๖ มีอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดง ณ บัดนี้.

    แม้บรรดาอสาธารณญาณทั้ง ๖ นั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเมื่อจะทรงตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับพระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจดูด้วยพุทธจักษุ. อินทริยปโรปริยัตตญาณและอาสยานุสยญาณทั้ง ๒ นี้เท่านั้น ชื่อว่าพุทธจักษุ.

    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑-
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลกด้วย
    พุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
    บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลี
    คือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
    บางพวกมีอินทรีย์อ่อน ดังนี้เป็นต้น.
    ____________________________
    ๑- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๙

    และเมื่อตรวจดูสัตว์โลกทั้งหลาย ก็ทรงตรวจดูความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ในสันดานของสัตว์ก่อน. ครั้นทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์แล้ว ต่อแต่นั้นก็ทรงตรวจดูอาสยานุสัยและจริต เพื่อแสดงธรรมตามสมควรแก่อาสยะเป็นต้น, แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยกอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดงก่อน, ในลำดับต่อจากนั้นก็ยกอาสยานุสยญาณขึ้นแสดง.

    “ ก็เมื่อจะทรงแสดงธรรม ย่อมทรงกระทำปาฏิหาริย์แก่ผู้ควรแนะนำด้วยปาฏิหาริย์, เพราะเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกญาณในยมกปาฏิหาริย์ขึ้นแสดงในลำดับต่อจากอาสยานุสยญาณ, เพื่อจะแสดงเหตุแห่งญาณทั้ง ๓ เหล่านี้จึงยกมหากรุณาญาณขึ้นแสดง แล้วยกสัพพัญญุตญาณขึ้นแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์แห่งมหากรุณาญาณ. “

    พึงทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกอนาวรณญาณขึ้นแสดงในลำดับแห่งสัพพัญญุตญาณนั้น เพื่อแสดงความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็นญาณที่เนื่องด้วยการระลึกถึงธรรมทั้งปวง และเพื่อแสดงความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็นอนาวริยภาพ คือไม่มีอะไรขัดข้อง.


    เชื่อว่ามี แต่ไม่เคยได้รู้ได้เห็น แต่ก็ยังอยากจะมี !

    “ อยากได้แต่ ในสิ่งที่ ไม่เคยพบเห็น ไม่เคยเจอ แต่ก็อยากได้ อยากรู้อยากเห็นในสิ่งนั้น “

    แต่พอพบแล้ว ไม่เป็นอย่างที่คิด ! ก็เลยไม่อยากได้อยากมี เลยต้องเอากิเลสอย่างละเอียดอันเป็นทิพย์เข้าล่อ! แล้วค่อยปล่อยวางทิ้ง ในภายหลัง!

    “งมงาย”




    5474B070-C05A-4E1F-B21C-6C51B685B0E9.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    “ ห้ามอกุศลอันเป็น ปฎิปักษ์ “ คือ เริ่มนับหนึ่ง เรียนตั้งแต่ อันเชิญพระธรรมคัมภีร์ลงมาประดิษฐานเลย ต่อด้วยการเรียนจากพระสาวกแก้วอันนับแต่ครั้งสังคายนาพระธรรมด้วย พระอริยะเจ้าผู้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน

    ปฏิสัมภิทามรรคปกรณ์นี้นั้นสมบูรณ์ด้วยอรรถะ, พยัญชนะ, ลึกซึ้ง, มีอรรถลึกซึ้ง, ประกาศโลกุตระ, ประกอบด้วยสุญญตา, ให้สำเร็จผลวิเศษในการปฏิบัติ, ห้ามอกุศลอันเป็นปฏิปักษ์, เป็นรตนากร บ่อเกิดแห่งญาณอันประเสริฐของพระโยคาวจร, เป็นเหตุอันวิเศษในการเยื้องกรายธรรมกถาของพระธรรมกถึกทั้งหลาย, เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ของผู้กลัวภัยในสังสารวัฏ, มีประโยชน์ในการยังความชุ่มชื่นให้เกิดเพราะเห็นอุบายในการออกจากทุกข์นั้น, และมีประโยชน์ในการทำลายอกุศลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อนิสสรณธรรม๔- นั้น และมีประโยชน์ให้เกิดความยินดีในหทัยแก่กัลยาณชน โดยการเปิดเผยอรรถแห่งบทพระสูตรมีเนื้อความอันลึกซึ้งมิใช่น้อย อันท่านพระสารีบุตรผู้ธรรมเสนาบดีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ธรรมราชาภาษิตแล้ว เมื่อประทีปดวงใหญ่กล่าวคือพระสัทธรรม รุ่งเรืองแล้วด้วยแสงประทีปดวงใหญ่คือพระสัพพัญญุตญาณที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วโดยไม่ขัดข้อง ส่องสว่างกระจ่างไปทั่วทุกสถาน มีพระทัยสนิทเสน่หา ประกอบไปด้วยพระมหากรุณาแผ่กว้างไปในปวงชน เพื่อกำจัดความมืดมนอนธการกล่าวคือกิเลส ด้วยพระมหากรุณาในเวไนยชน ด้วยการยกพระสัทธรรมนั้นขึ้นอธิบายให้กระจ่างแจ้งแก่ปวงชน ด้วยความเสน่หา ปรารถนาความรุ่งเรืองแห่งพระสัทธรรมไปตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระพรรษา ผู้มีเจตจำนงค้ำจุนโลกตามเยี่ยงอย่างพระศาสดา อันท่านพระอานันทเถระสดับภาษิตนั้นแล้วยกขึ้นรวบรวมไว้ในคราวทำปฐมมหาสังคีติ ตามที่ได้สดับมาแล้วนั่นแล.



    8A224D09-3A46-4596-BA44-C137DE024D4F.png
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ( หลังจากอัญเชิญพระสัทธรรมด้วยความเคารพพึ่งพิงด้วยการตรัสรู้ด้วยพระองค์เองแล้ว เมื่อครั้งพิจารณาดอกบัว ) ต่อมาจึงทรงแสดงเพื่อให้สงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ ได้มีโอกาส ได้ ดวงตาเห็นธรรม เป็นครั้งแรก




    ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
    [๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒
    ประการเป็นไฉน คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็น
    ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้อง
    ส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์
    รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไป
    เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไป
    เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
    [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด
    ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์
    ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์
    และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
    อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้
    เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุ
    ให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ
    ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ
    ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
    [๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง
    เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยัง
    ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนด
    รู้แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
    เราละได้แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ
    [๖๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ
    ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด
    เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
    และมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ
    ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจดดีแล้ว
    เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง
    เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา
    และมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้
    มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล
    เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
    ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
    เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯ
    ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศ
    ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์
    เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า
    อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของ
    ภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดา
    ชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศ
    ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา
    มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า
    อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ
    เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไป
    จนตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง
    แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ
    ของเทวดาทั้งหลาย ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
    โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ
    อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ
    [๖๐๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่าง
    เกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไร
    คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ
    อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น
    เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
    แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรม
    ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร
    ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
    เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรม
    ทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
    แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ
    ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่าน
    จึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ
    นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
    ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
    โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ
    ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม
    เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจร
    ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ
    [๖๐๓] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ
    เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น
    แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ
    คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น
    เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณ
    ทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    [๖๐๔] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย
    ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ
    เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ
    เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ
    ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา
    เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕
    มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    [๖๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว
    การพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้
    ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ
    เราเจริญแล้ว ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง
    มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น
    ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น
    วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร
    จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้
    คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    แทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ
    จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม
    แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม
    ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม
    เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน
    ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ
    ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ
    แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์
    และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา
    อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ-
    *ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ
    การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ
    นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร
    ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น
    โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ
    ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕
    ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา
    ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น
    เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ
    พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐
    การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้
    ฯลฯ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
    เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน
    ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือ
    การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐
    มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐
    มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    [๖๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ
    และปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธาน
    สังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา
    ไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร
    นี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล
    ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ
    [๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้
    ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้
    ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า
    สว่างไสว ... ฯ
    จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธาน
    สังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท
    ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ
    ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา
    ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็
    อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ
    ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ
    ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท
    ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ
    [๖๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย
    ที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง
    มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม
    ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่
    พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ
    พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม
    ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ-
    ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐
    มีญาณ ๔๐ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระ-
    *โคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า
    นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ
    ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ
    ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ
    ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ
    [๖๐๙] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่ง
    แห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถ
    ว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง
    ภาวนา ฯลฯ ฯ
    จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา
    รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง
    แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ
    ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ
    ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕
    มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ
    [๖๑๐] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง
    แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ
    อรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม
    ทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว
    ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัย
    ไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุง
    แต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน
    อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่า
    บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย
    ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี
    นิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ
    [๖๑๑] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา
    อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก
    แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ
    แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ
    อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
    ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา
    ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐
    มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มี
    ญาณ ๔๐๐ ฯ
    [๖๑๒] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน
    อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก
    ต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มี
    ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง
    เกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความ
    แตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่ง
    ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง
    แล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้ว
    ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕
    มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐
    มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ ฯ
    [๖๑๓] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ
    เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย
    ปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ใน
    อินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐
    จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของ
    สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณ-
    *ญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมด
    ด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณ-
    *ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน
    พุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุติ ๓๐๐ มีญาณ
    ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุติ ๑๗๐๐
    มีญาณ ๓๔๐๐ ฉะนี้แล ฯ
    จบปฏิสัมภิทากถา
    D3A7DA37-56DD-43C5-85ED-C9C9798CD495.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2022
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    แปลกๆไหม? ว่า อันเชิญพระไตรปิฏกลงมาประดิษฐาน ได้ด้วยก็เพราะ ปฎิสัมภิทาญาน แต่ ปฎิสัมภิทาญาน กลับ เป็น คุณลักษณะธรรม ที่หายไปและถูกทิ้งขว้างเป็นอันดับแรก !

    จริงๆ ควรจะมีบทสวด เฉพาะกาลที่สำคัญเป็นการประกาศคุณ ว่าด้วย “ ปฎิสัมภิทา “ต่อเนื่องลงมา

    คาถา พระอรหันต์ปฎิสัมภิทาปฐมสังคายนา 500 รูป

    หรือ

    คาถา ดวงตาเห็นธรรม ด้วย จักษุ 5 ประการ

    และ

    คาถา บรรลุธรรมและตรวจสอบคุณสมบัติธรรมของผู้บรรลุ

    และ คาถา คุณสมบัติของผู้เป็นครูอาจารย์ที่สามารถสั่งสอนธรรมชั้นลึกประกอบโลกุตรธรรม 3

    อนุชนรุ่นหลัง จะได้ไม่หลงทาง หลงผิด





    # โดนพระยามาร บังตาเอา เฮ้อ! มันเครียดใจจะขาดตั้งแต่ กระทำสังคายนาครั้งแรกแล้ว ที่เข้าไปเป็น วิสภาคไม่ได้ ถูกพระอรหันต์มหาเถระเจ้ากำหนดจิต ล้อมเกราะแก้วไว้อีก

    ไม่ต้องแปลกใจ ที่ครั้งพระเจ้าอโศก ท่านพระอุปคุตมหาเถระจึงมาช่วยปราบมาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2022
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    386
    ค่าพลัง:
    +30
    9C60EF84-2C71-4344-9141-55D15143B9D9.png
    {0} คุณสมบัติการเข้าถึงพิเศษเฉพาะเหล่าปฎิสัมภิทา {0}
    อยากให้เห็นจริงๆ พระไตรปิฏก เพียง ผูกเดียว แต่ มี 84,000 พระธรรมขันธ์ สามารถนมัสการ อ่านได้ในโลกทิพย์ สังคีตบรรเลง ประกอบ จังหวะทำนองของบท และสูตรนั้นๆ แปรเปลี่ยนไปตาม อักษรและภาษาศาตร์ตามที่ปรารถนา เวลาเป็นทิพย์ ยาวนาน แต่ในโลกมนุษย์เร็ว 5 นาทีในแดนทิพย์ ประมาณ 2 ชั่วโมงในโลกมนุษย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...