พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร

    [​IMG]

    เนื่องในวันออกพรรษา คาบใบลานผ่านลานพระขอนำคำอรรถาธิบายถึงความสำคัญของ อานาปานสติภาวนามัย ที่ พระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ได้เรียบเรียงไว้มาเสนอ...
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
    หมายเหตุ : เนื่องจากวันที่ 23 ต.ค.เป็นวันออกพรรษา ซึ่งจะเป็นช่วงที่พุทธศาสนิกชนจะได้ประกอบบุญกฐิน แต่นอกจากทำบุญทำทานแล้ว บุญที่ได้มากที่สุดคือ บุญจากการปฏิบัติภาวนาก็เป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นจึงขอนำคำอรรถาธิบายถึงความสำคัญของ อานาปานสติภาวนามัย ที่ พระอาจารย์ลี ธัมมธโร วัดอโศการาม ได้เรียบเรียงไว้จาก "ตามที่ได้สังเกตปฏิบัติมา" และ ท่านได้เรียบเรียงไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในทางสมาธิภาวนา มาเสนอดังนี้
    ขอท่านพุทธบริษัทอย่าได้สงสัยลังเลไปเอาอย่างโน้นอย่างนี้ให้ยุ่งไป ขอให้ตั้งใจจริงๆ จับเอาลมหายใจแหล่งนี้จนให้ถึงที่สุดแห่งลม ต่อจากนั้นก็จะเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ก็จะลุล่วงเข้าถึงนามธรรมคือ จิตเมื่อถึงที่สุด พุทธก็เกิด นั้นแลจะเป็นผู้เข้าถึงคุณธรรมที่แน่นอนคือ ปล่อยลมตามสภาแห่งลม ปล่อยจิตตามสภาพแห่งจิต ผลประโยชน์ในการปฏิบัติก็จะเป็นที่สมหวังของท่านทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัย
    จริงอยู่ธรรมดาจิตใจของคนเรา ถ้าไม่ดัดแปลงแก้ไขแล้ว ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ทุกข์ที่ชั่ว ฉะนั้นผู้หวังความสุขให้แก่ตนที่มีหลักแหล่ง ก็ควรจะต้องหาธรรมะมาฝึกตน
    คนเราถ้าไม่มีธรรมะในใจ ไม่มีสมาธิเป็นที่อยู่แล้ว ก็เท่ากับคนที่ไม่มีบ้านอยู่ฉะนั้น ธรรมดาคนที่ไม่มีบ้านอยู่ย่อมได้รับความทุกข์ตลอดกาล แดด ลม ฝน และละอองธุลีต่างๆ ย่อมเปรอะเปื้อนบุคคลชนิดนั้น เพราะไม่มีเครื่องกั้นปิดบัง คนที่ฝึกหัดสมาธิเท่ากับสร้างบ้านให้ตนอยู่
    ขณิกสมาธิ ก็เท่ากับบ้านที่มีหลังคามุงด้วยจาก
    อุปจารสมาธิ ก็เท่ากับบ้านที่มุงด้วยกระเบื้อง
    อัปปนาสมาธิ เท่ากับตึก

    เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าท่านมีทรัพย์ท่านก็จะเก็บไว้ได้อย่างปลอดภัย ทรัพย์เหล่านั้นก็มิได้บังคับใจท่านให้ไปนอนเฝ้านั่งเฝ้าทนทุกข์ต่างๆ เหมือนคนมีทรัพย์ที่ไม่มีบ้านเก็บ ต้องไปนอนตากแดดตากฝนเฝ้าทรัพย์อยู่กลางแจ้งฉะนั้น ถึงกระนั้นทรัพย์เหล่านั้นก็ยังไม่ได้รับความปลอดภัยแน่นหนา ในด้านพระศาสนาก็ฉันนั้น
    ในที่ไม่มีสมาธิ ไปแสวงหาความดีในทางอื่น ปล่อยจิตใจให้เที่ยวไปในสัญญาอารมณ์ต่างๆ แม้จะเป็นอารมณ์ที่ดีก็ตาม ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปลอดภัยอยู่นั้นเอง เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มาก เช่น ทองเพชรนิลจินดาต่างๆ เมื่อน้อมนำมาประดับร่างกายแล้วเที่ยวเร่ร่อนไปในสถานที่ต่างๆ ย่อมไม่ปลอดภัย อาจถึงแก่ความตายด้วยทรัพย์ของตนเองนั้นก็ได้ นี้ฉันใด จิตของพุทธบริษัท เมื่อไม่ได้รับอบรมในทางภาวนาเพื่อสร้างความสงบขึ้นในตนแล้ว แม้ความดีที่ตนทำได้ก็เสื่อมง่าย เพราะยังไม่เก็บเข้าฝังในดวงจิตดวงใจของตนจริงๆ
    ถ้าใครฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตของตนให้ได้รับความสงบระงับ ก็เท่ากับเก็บทรัพย์ ของตนเข้าไว้ในตู้ในหีบฉะนั้น
    เหตุนั้น คนเราโดยมากทำดีจึงไม่ได้ผลดี เพราะปล่อยใจของตัวให้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ต่างๆ อารมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นข้าศึกศัตรู บางครั้งอาจที่จะทำให้ความดีที่มีอยู่แล้วเสื่อมไปก็ได้ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่กำลังบาน ถ้ามีลมและแมลงต่างๆ มารบกวนเข้าแล้วอาจจะไม่มีโอกาสเกิดลูกเกิดผลขึ้นได้
    ดอกไม้นั้นได้แก่มรรคจิต (จิตสงบ)
    ส่วนผลไม้นั้นได้แก่ผลจิต (ความสุข)
    เมื่อมีมรรคจิต ผลจิตประจำใจของตัวอยู่อย่างนี้ ก็มีโอกาสจะได้รับความดี ซึ่งพุทธบริษัททั้งหลายปรารถนาอยู่ คือ สารธรรม
    ความดีอย่างอื่นนั้นก็เปรียบเหมือนยอดไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ต้นไม้
    ถ้าเราไม่ได้อบรมทางจิตใจ เราก็จะได้รับความดีเสมอส่วนภายนอกนั้น หากภายในจิตเป็นของบริสุทธิ์ดี ภายนอกก็ย่อมดีไปตามกันหมด เช่น มือเราสะอาด เมื่อเราจับสิ่งใด ของเหล่านั้นก็ไม่เลอะ แต่ถ้ามือเราสกปรก แม้จะไปจับผ้าที่สะอาด ผ้านั้นก็พลอยให้เสียไป ด้วยอำนาจแห่งความเปื้อนเปรอะของมือฉะนั้น เมื่อจิตเศร้าหมองเสียอย่างเดียวมันเศร้าหมองไปหมดทั้งสิ้น
    แม้ทำความดี ความดีนั้นก็ยังเศร้าหมองอยู่ เพราะอำนาจสูงสุดในโลกที่ดี จะชั่ว จะสุข จะทุกข์ ทั้งมวล มันสำเร็จอยู่ที่จิตใจอันเดียวเท่านั้น
    จิตใจนี้เท่ากับพระเจ้าองค์หนึ่ง ทุกข์ สุข ดี ชั่ว ล้วนสำเร็จมาจากดวงจิตนั้น ควรจะสมมติเรียกได้ว่าพระเจ้าสร้างโลกได้องค์หนึ่งเหมือนกัน เพราะโลกจะตั้งอยู่ได้ด้วยสันติก็ด้วยอำนาจแห่งจิตใจนี้เอง โลกที่จะอันตรธานสูญไปก็ด้วยอำนาจแห่งจิตใจนี้เอง
    ฉะนั้น จึงควรที่จะอบรมส่วนสำคัญของโลกทั่วๆ ไป คือ จิตให้เป็นสมาธิ เพื่อให้เป็นหลักทรัพย์ไว้ในใจ คือ สมาธิ อันเป็นเครื่องสะสมไว้ซึ่งธาตุต่างๆ ที่เรียกว่า กุศลธาตุ คือความดี เมื่อธาตุเหล่านี้ได้ผสมกันถูกส่วนดีแล้ว ก็จะเป็นกำลังของท่าน เพื่อเป็นเครื่องทำลายซึ่งข้าศึกศัตรูต่างๆ กล่าวคือ กิเลส และบาปธรรมทั้งปวง
    ท่านมีปัญญาที่ได้ศึกษาไว้แล้ว ฉลาดรอบรู้ในทางโลกและทางธรรม ในทางดีและทางชั่ว ปัญญาของท่านเหล่านั้นก็เท่ากับดินระเบิด แต่ท่านมิได้อัดเข้าไปในลูกกระสุน คือ สมาธิ จิต ดินระเบิดของท่านนั้นเก็บไว้นานมันจะขึ้น และขึ้นราไปถ้าท่านเผลอ ไฟร่วงใส่ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำแล้วขณะใดมันก็จะไหม้ดินระเบิดของท่าน แล้วมันก็จะลามถึงตัวท่านนั่นเอง
    ฉะนั้น ให้รีบอัดเข้าไปไว้ในลูกกระสุนหรือลูกระเบิดนั้นเสีย ถึงคราวข้าศึกศัตรูมารุกรานเข้าเมื่อไร ก็จะวางหรือยังซึ่งระเบิดเหล่านั้น เพื่อสังหารศัตรูคือความชั่วได้ในทันที
    ผู้ฝึกหัดสมาธิย่อมได้ที่พึ่งของตน
    สมาธิเปรียบเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะ
    ปัญญาเปรียบเหมือนอาวุธ
    ทำสมาธิเปรียบเหมือนอัดดินเข้าในกระสุน หรือฝังตัวอยู่ในป้อม
    ฉะนั้น สมาธินี้เป็นสิ่งสำคัญและมีคุณานิสงส์มากทีเดียว ศีลอันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยยากเท่าไหร่นัก ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคต้องพยายามหน่อย เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงกันในด้านจิตใจ
    จริงอยู่การทำสมาธินั้น เปรียบเหมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำย่อมเป็นสิ่งลำบาก แต่เมื่อปักลงได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญา ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างโน้น แต่ถ้าเสากลางคือ “สมาธิ” ท่านไม่ปักแล้วท่านจะทอดสะพานข้ามแม่น้ำ คือ โอฆะสงสารไปได้อย่างไร

    พุทธบริษัททั้ง 4 ผู้จะเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยถูกต้องแล้ว มีหนทางช่องเดียวเท่านั้น คือ ภาวนา
    เมื่อภาวนาจนจิตสงบเป็นสมาธิได้แล้ว ย่อมเกิดปัญญา
    ปัญญาในที่นี้ไม่ใช่ปัญญาธรรมดา ปัญญาที่เกิดขึ้นเฉพาะในการทำจิต เช่น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
    ญาณ ทั้ง 3 นี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติในทางจิตใจ เรียกว่า ญาณจักขุ คือ ตาใจ ส่วนพุทธบริษัทเหล่าใด ที่ยังศึกษาวิชาอยู่ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระคนกันอยู่ ก็เท่ากับศึกษาวิชาอยู่กับพวกครูทั้งหก ยังไม่สามารถ ที่จะรู้แจ้งเห็นจริงได้ดังพระพุทธเจ้าที่ไปเรียนวิชาอยู่กับครูทั้งหก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมได้ พระองค์จึงได้หวนมาระลึกในทางจิตใจ ได้ดำเนินปฏิบัติไปด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยการตั้งสติกำหนดอานาปาน์ฯ เป็นเบื้องต้นจนได้บรรลุถึงที่สุด

    พุทธบริษัททั้งหลายเมื่อยังแสวงหาวิชาอยู่ในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เท่ากับศึกษาวิชาอยู่กับพวกครูทั้งหก
    ฉะนั้น ตราบใดมาตั้งใจระลึกถึงลมหายใจของตน ซึ่งมีปรากฏอยู่ทุกรูปทุกนาม จนกว่าจิตสงบลงเป็นสมาธินั่นแล จะมีโอกาสได้พบของจริง คือ พุทธะ คนบางพวกยังเข้าใจไปต่างๆ อยู่ เช่น เข้าใจว่าสมาธิไม่ต้องทำ ทำปัญญาเลยทีเดียว เรียกว่าปัญญาวิมุติ การเข้าใจเช่นนี้ ไม่ถูกความจริง ปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติสองประการนี้ ย่อมมีสมาธิเป็นรากฐานจึงเป็นไปได้ต่างกันแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น
    คือ ลักษณะของปัญญาวิมุตินั้น ครั้งแรกต้องมีการไตร่ตรองพินิจพิจารณาเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ เสียก่อน จิตจึงค่อยสงบ เมื่อจิตสงบแล้วเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ เป็นลักษณะของปัญญาวิมุติ
    ส่วนเจโตวิมุตินั้น ไม่ต้องมีการพินิจพิจารณาเท่าไรนัก เป็นแต่ข่มจิตให้สงบลงไปถ่ายเดียว จนกว่าเป็นอัปปนาสมาธิ วิปัสสนาสมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้นในที่นั้น และได้รู้เห็นจริงตามความเป็นจริง
    ที่เรียกว่า เจโตวิมุติ คือ ได้เจริญสมาธิก่อนแล้ว จึงค่อยเกิดปัญญาภายหลัง
    วิมุติทั้งสองมีความหมายต่างกันดังนี้
    ปัญญาอันใดที่พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียนรอบรู้ในพุทธวจนะพร้อมทั้งอรรถ และพยัญชนะโดยสมบูรณ์แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อันกว้างขวาง สามารถที่จะชี้แจงอรรถาธิบายในข้ออรรถข้อธรรมได้โดยเรียบร้อยชัดเจน แต่ไม่บำเพ็ญสมาธิ ให้เกิดมีขึ้นในตน ก็เปรียบประหนึ่ง บุคคลที่ขับขี่เครื่องบินไปในอากาศ สามารถจะมองเห็นเมฆและเดือนดาวได้โดยชัดเจน แต่เครื่องบินที่ตนขับขี่อยู่นั้นได้เที่ยวเร่ร่อนไปในอากาศจนลืมสนามที่จะ ร่อนลง ก็น่าลำบากใจอยู่
    ถ้าร่อนขึ้นไปข้างบนก็จะหมดอากาศหายใจ มัวแต่ร่อนไปร่อนมาอยู่ น้ำมันอันเป็นเชื้อเพลิง ก็จะหมดสิ้นไป ในที่สุดก็เผ่นลงมาด้วยอำนาจแห่งความหมดกำลังของตน เผ่นลงมาบนเขา เผ่นลงมาในป่า เผ่นลงในทะเล ซึ่งไม่ใช่สนามบินย่อมได้รับโทษ เช่น คนบางพวกที่มีความรู้สูง แต่มีความประพฤติเหมือนคนป่าคนดง คนเขาคนทะเล ซึ่งเป็นชาวประมงอย่างนี้ก็มี นี่ก็เพราะว่าเพลินอยู่ในอากาศ
    นักปราชญ์บัณฑิตผู้ติดอยู่ในความรู้ ความคิดความเห็นของตัวว่าเป็นของสูงอยู่แล้ว ไม่ก่อสร้างบำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้น ถือเสียว่าสมาธิเป็นขั้นต่ำ ควรเจริญปัญญาวิมุติทีเดียว ย่อมจะได้รับโทษ เหมือนคนขับขี่เครื่องบิน ที่ร่อนอยู่ในอากาศไม่แลเห็นสนามฉะนั้น
    ผู้บำเพ็ญสมาธิก็เท่ากับเป็นผู้สร้างสนามบินไว้อย่างดี เมื่อมีปัญญาก็จะถึงวิมุติอันปลอดภัย อีกนัยหนึ่ง เช่นเดียวกับคนเดินทาง ย่อมเดินขาเดียวไม่ได้ฉะนั้น แต่จะหนักไปในทางใด ก็สุดแท้แต่นิสัยวาสนาของบุคคลผู้นั้นต่างหาก
    ฉะนั้น พุทธบริษัทควรจะบำเพ็ญในศีล สมาธิ และปัญญา ให้ครบถ้วนจึงจะเป็นผู้สมบูรณ์ในการนับถือพระพุทธศาสนา มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้รู้อริยสัจจ์ 4 ได้อย่างไร เช่น มรรค ก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาจึงจะเรียกว่ามรรคสัจจ์ เมื่อไม่ทำให้เกิดขึ้นในตน ก็ย่อมไม่รู้ เมื่อไม่รู้จะละได้อย่างไร โดยมากธรรมดาคนเรามักชอบแต่ผลไม่ชอบเหตุ เช่น ต้องการความดีความบริสุทธิ์ แต่เหตุแห่งความดี ความบริสุทธิ์ไม่ทำให้สมบูรณ์ก็ย่อมจนกันเรื่อยไป
    ตัวอย่างในทางโลก คนที่ชอบเงิน แต่ไม่ชอบทำงาน คนเช่นนั้นจะเป็นพลเมืองที่ดีมีทรัพย์ได้ที่ไหน เมื่อความจนบังคับแล้วย่อมทำทุจริตโจรกรรมได้ ฉันใด พุทธบริษัทไม่ชอบเหตุแต่มุ่งผล ก็ย่อมจนอยู่ร่ำไปเช่นนั้น เมื่อใจจนแล้วย่อมแสวงหาความมืดในทางอื่น เช่น โลภ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นอามิสอยู่ในโลก มันย่อมเป็นไปทั้งที่รู้ๆ นั่นแหละ
    นี่ก็เพราะไม่รู้จริง รู้ไม่จริง ก็คือทำไม่จริงนั่นเอง
    มรรคสัจจ์ซึ่งเป็นของจริงนั้นย่อมมีอยู่ตามธรรมดา ศีลก็มีจริง สมาธิก็มีจริง ปัญญามีจริง วิมุติก็มีจริง แต่คนเราไม่จริงจึงไม่เห็นของจริง บำเพ็ญศีลก็ไม่จริง สมาธิก็ไม่จริง ปัญญาก็ไม่จริง เมื่อเราทำไม่จริง ก็ได้ของไม่จริง จะได้ของเทียมของปลอมกันเท่านั้น เมื่อใช้ของเทียมของปลอมย่อมได้รับโทษ
    ฉะนั้น พวกเราควรที่จะต้องแสดงความจริงให้ปรากฏขึ้นในใจของตนเอง
    เมื่อความจริงปรากฏก็จะได้ดื่มรสของธรรม รสของธรรมย่อมชนะรสของโลกทั้งหมด


    อานาปานสติภาวนามัย พระอาจารย์ลี ธัมมธโร




    .




    .




    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • lee.jpg
      lee.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.6 KB
      เปิดดู:
      280
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รู้เอง อิ่มเอง คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม

    [​IMG]

    ในช่วงรอยต่อของช่วงกึ่งพุทธกาลนั้น นอกจากวงพระกรรมฐานจะแตกแขนงกันอย่างคึกคักแล้ว การปรากฏขึ้นของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ก็เป็นหลักไมล์อันสำคัญของดอกผลแห่งการภาวนาฝ่ายอุบาสิกา....
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
    ในช่วงรอยต่อของช่วงกึ่งพุทธกาลนั้น นอกจากวงพระกรรมฐานจะแตกแขนงกันอย่างคึกคักแล้ว การปรากฏขึ้นของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ก็เป็นหลักไมล์อันสำคัญของดอกผลแห่งการภาวนาฝ่ายอุบาสิกา
    ณ เวลานั้น คุณแม่บุญเรือนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังในการใช้ฤทธิ์รักษาโรคให้หมู่ชน
    ณ วันนี้ ท่านละขันธ์ไปตั้งแต่ปี 2507 น่นแล้ว แต่ตลอดระยะ 46 ปีที่ผ่านมา พระพุทโธน้อยที่ท่านสร้างขึ้นยังแสดงพุทธานุภาพให้ผู้ที่มีศรัทธาได้ ประจักษ์ไม่เว้นวาย ทุกวันนี้มีผู้แสวงหาพระพุทโธน้อยมากขึ้นแต่ไม่ค่อยมีคนค้นว่า คุณแม่บุญเรือนทำอย่างไร พระท่านถึงศักดิ์สิทธิ์ ทำไมคุณแม่บุญเรือนจึงมีฤทธิ์รักษาโรคได้ ถ้าพบว่า ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นจากความสำเร็จในธรรม เราย่อมจะมีคำถามว่า แล้วเราเองจะขวนขวายปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองได้ประสบมรรคผลเช่นนั้นได้หรือไม่
    การศึกษาประวัติคุณแม่บุญเรือนจึงเป็นเรื่องน่าสนใจ เพราะถ้าใจมีพุทธเสียแล้ว พระพุทโธก็อาจจะไม่จำเป็น

    คุณแม่บุญเรือน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มี.ค. 2437 ในครอบครัว นายยิ้ม และ นางสวน กลิ่นผกา ชาวสวนผู้ยากจนย่านคลองสามวา อ.มีนบุรี กทม. ซึ่งต่อมาได้อพยพพาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ ต.บางปะกอก อ.ราษฎร์บูรณะ
    นอกจากจะมีความรู้เรื่องการบ้านการเรือนเยี่ยงสุภาพสตรีในยุคนั้นจะพึงมี อาทิ ปรุงอาหารโอชารส เย็บจักรตัดเสื้อผ้าได้ ฯลฯ แล้ว ท่านยังมีความสามารถพิเศษในเรื่องการนวดเพราะได้รับครอบวิชาและตำราหมอนวดมา จากปู่ สามารถใช้ความรู้นี้นวดรักษาผู้มีโรคภัยไข้เจ็บมาตั้งแต่ยังสาว
    ท่านแต่งงานกับ ส.ต.ท.จ้อย โตงบุญเติม ตำรวจประจำ สน.สัมพันธวงศ์ ไม่มีบุตร-ธิดาด้วยกัน หากแต่ได้รับธิดาบุญธรรมไว้เลี้ยงดูผู้หนึ่ง
    ขณะ ที่ครองชีวิตคู่กับสามีโดยพักอยู่ที่บ้านพักตำรวจ สน.สัมพันธวงศ์นั้น ท่านประกอบอาชีพรับตัดเสื้อผ้า ส่วนการนวดรักษาโรคนั้นทำเป็นกุศลไม่รับค่าจ้าง

    ความใฝ่ใจในทางธรรมของท่านเกิดขึ้นจากการได้รับการชี้แนะจาก หลวงตาพริ้ง ผู้เป็นลุง ซึ่งท่านได้นำภัตตาหารไปถวายอยู่เนืองๆ เมื่อแต่งงานมาอยู่กับสามีแล้วก็ได้ไปถือศีล สวดมนต์ ฟังธรรมที่วัดสัมพันธวงศ์ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับสถานีตำรวจอยู่เป็นประจำ โดยมี พระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิทเทสกเถระ) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นอาจารย์สอนวิปัสสนากรรมฐานให้
    พึงเข้าใจว่า ยุคนั้นวัดสัมพันธวงศ์เป็นศูนย์รวมของพระกรรมฐานจากภาคอีสานและภาคเหนือ ถ้ามีพ่อแม่ครูอาจารย์ผ่านมา กทม. ก็ต้องเป็นพำนักที่วัดสัมพันธวงศ์ เหมือนกับยุคนี้ที่จะไปพำนักที่วัดปทุมฯ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน วัดใหม่เสนานิคม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้พระมหารัชมังคลาจารย์ซึ่งเป็นทั้งนักบริหารคณะสงฆ์และเป็นนัก ปฏิบัติภาวนาจึงมีความคุ้นเคยอย่างดีกับเหล่าพระกรรมฐาน
    พระมหารัชมังคลาจารย์ เคยกล่าวถึงศิษย์อุบาสิกาท่านนี้ไว้ว่า เป็นทั้งศิษย์ เป็นทั้งกัลยาณมิตรธรรม
    ท่านว่า อุบาสิกาบุญเรือนเป็นคนมีศรัทธา หาโอกาสบริจาคทาน รักษาศีล มาฟังธรรมอยู่เป็นนิตย์ เมื่อเข้าใจธรรมวินัยกว้างขวางขึ้นก็พยายามปฏิบัติถึงขั้นสมถวิปัสสนาร่วม กับคณะอุบาสิกาที่มาฟังธรรมยามค่ำและได้ซักถามอุบายที่เป็นอุปการแก่การ ปฏิบัติธรรม พอแนะนำสั่งสอนนานเข้า อุบาสิกาบุญเรือนก็สามารถแสดงธรรมได้ละเอียดขึ้นตามลำดับ จากสมถภาวนา เป็นวิปัสสนาภาวนา
    “ในบรรดานักศึกษาธรรมที่ประชุมในยุคนั้น รู้สึกว่าอุบาสิกาบุญเรือนเป็นผู้ที่เข้าใจเนื้อความของธรรมได้ดี และเป็นผู้กล้าหาญ กล้าตอบ กล้าพูด มีปฏิภาณได้ถ้อยได้ความ ถือเอาอรรถรสได้...”
    เมื่อปฏิบัติหนักเข้า อุบาสิกาบุญเรือนก็ได้มาบวชเป็นแม่ขาวถือศีลภาวนาที่วัดอยู่หลายปี แล้วลาสิกขาไปอยู่กับสามีที่บ้านพักตำรวจ ระหว่างนั้นก็ยังมาทำบุญฟังธรรมอยู่เป็นประจำ
    หลังสามีเสียชีวิตเพราะเป็นลมขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบเหตุอัคคีภัย อุบาสิกาบุญเรือนได้หวนกลับมาบวชเป็นแม่อยู่อีกหนหนึ่งแล้วก็ลาสิกขาไป แต่พระมหารัชมังคลาจารย์ ว่า ยิ่งอุบาสิกาบุญเรือนมีอายุมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งมีความเพียรมากขึ้น ไม่ได้ละทิ้งการปฏิบัติเลย กลับมีความรู้ความสามารถกว้างขวาง เป็นที่เคารพของคนทั่วไปตามลำดับ จนสามารถชักนำให้ผู้คนจำนวนมากหันมาสนใจในพระพุทธศาสนา
    ศรัทธาของผู้คนเหล่านั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการช่วยเหลือสงเคราะห์ให้พวกเขาหายป่วยหายไข้ หายโรคหายภัย
    มีบันทึกจากผู้คนทั่วสารทิศที่เคยได้พึ่งบุญญาธิการของท่านในด้านนี้
    วิธีการที่คุณแม่บุญเรือนใช้คือ การอธิษฐานธรรม
    การอธิษฐานธรรมของท่านมีอยู่ 3 ลักษณะ 1.อธิษฐานด้วยวาจา เช่น อธิษฐานให้หายโรค ให้ปลอดภัยจากภยันตราย ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ อธิษฐานให้มะม่วงออกช่อมีผลผิดฤดูกาล อธิษฐานให้ฝนตก ให้ฝนหยุด อธิษฐานดอกไม้ที่เหี่ยวเฉาให้เบ่งบานสดชื่นขึ้นมาอีก ฯลฯ
    2.อธิษฐานสิ่งของทั่วไป เช่น อธิษฐาน น้ำ ปูน ไพล สาคู ผลไม้ โดยเฉพาะปูนแดงให้เป็นยาทิพย์สามารถใช้รักษาโรคได้นานาชนิด ไม่ว่า โรคมะเร็ง วัณโรค ไส้ติ่งอักเสบ โรคเรื้อน โรคไต บาดแผลทุกชนิด
    3.อธิษฐานของพิเศษเป็นครั้งคราว เช่น อธิษฐานก้อนหิน ศิลาน้ำ ฯลฯ ไว้ใช้แช่น้ำเพื่อให้น้ำนั้นมีสรรพคุณเช่นดั่งที่ท่านอธิษฐานเองยามมีชีวิต อยู่
    คุณแม่บุญเรือนได้ชื่อว่า เป็นผู้มีฤทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้นในทันที แค่สั่งให้โรคหายก็หายได้ในทันทีเช่น คนปากเบี้ยวตาค้างหลับไม่ลงน้ำตาคลออยู่ตลอดแต่ไม่ไหลมาหา ท่านก็สั่งว่า “หลับลงๆ” ปรากฏว่าเขาก็หลับลงทันที ปากก็หายเบี้ยวทันที คนอาการวิปลาส ญาติเอาปูนแดงไปทาก็หาย กระดูกงอกไม่ต้องผ่าตัดเอาปูนไปทาปูนก็ตัดกระดูกนั้นให้หลุดออกมาเองได้
    คนจำนวนมากมีประสบการณ์ตรงว่า ฝนตกท่านก็ไม่เปียก หนึ่งในนั้นคือ คุณอุษา ไวคะกุล ซึ่งบันทึกไว้ว่า เย็นหนึ่งนัดคุณแม่บุญเรือนเอาไว้ตอนหกโมงเย็น ถึงเวลาฝนตกหนักก็คิดว่าไม่มาแล้วเลยปิดประตูบ้านแต่พอถึงเวลาเป๊ะ ก็มีเสียงเคาะประตูเรียก พอไปเปิดประตูเจอคุณแม่บุญเรือนยืนอยู่หน้าบ้าน ตัวคุณอุษาเอง รวมทั้งเด็กที่ไปช่วยเปิดประตูนั้นถูกฝนสาดใส่จนเปียกแต่คุณแม่บุญเรือนซึ่ง ยืนอยู่หน้าประตูนั้นไม่เปียกแม้แต่นิด พอเสร็จธุระกันแล้ว คุณอุษาบอกให้เด็กเอาร่มมาให้ท่านเพราะฝนยังตกหนาเม็ดอยู่ แต่ท่านว่า “มาได้ต้องไปได้” ว่าแล้วก็กลับไปโดยไม่ถือร่มติดไปด้วยเลย
    นอกจากนี้ ท่านยังระลึกชาติได้ ทราบเรื่องที่คนอื่นพูดกันในที่ไกลๆ รู้เห็นสิ่งต่างๆ ราวกับไปดูด้วยตาได้ยินกับหูมาด้วยตัวท่านเอง ฯลฯ
    “หนังสือเผยแพร่ธรรมะของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม” ระบุไว้ว่า เรื่องอภินิหารซึ่งมีเล่าไว้เป็นปึกๆ นั้นเป็นดอกผลของการสำเร็จในฌาน 4 อภิญญา 6
    ฌาน 4 คือ ปฐมฌาน ทุติฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน
    อภิญญา 6 คือ 1.อิทธิวิธี-แสดงฤทธิ์ได้ 2.ทิพโสต-หูทิพย์ 3.เจโตปริยฌาน-รู้จักกำหนดใจของผู้อื่น 4.บุพเพนิวาสานุสสติ-ระลึกชาติได้ 5.ทิพจักษุ-ตาทิพย์ 6.อาสวักขยญาน-รู้จักทำอาสาวะให้สิ้น
    มีบันทึกไว้ว่า คุณแม่บุญเรือนอธิษฐานเป็นผลทางอิทธิฤทธิ์ครั้งแรกเมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2470 คืนนั้นท่านเห็นสามีและบุตรบุญธรรมนอนกัดฟันและกรนแล้วเกิดธรรมสังเวช นึกเบื่อจึงตั้งสัตย์อธิษฐานขอเข้าไปอยู่ในศาลาวัดสัมพันธวงศ์ ปรากฏว่า ท่านไปปรากฏตัวในศาลาจริงๆ โดยไม่รู้ว่าไปได้อย่างไร เข้าทางไหน
    ต่อมามีเพื่อนอุบาสิกาขอให้ท่านทดลองให้ดูเพราะไม่เชื่อเรื่องที่เกิด ขึ้น โดยพากันไปรออยู่ในศาลาแล้วลงกลอนประตูหน้าต่างศาลาให้มิดชิด ตัวท่านเองไปอยู่ที่บ้านพักตำรวจ การทดลองในคืนวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีเดียวนั้นก็ได้ผลเช่นเดียวกันไม่ผิดเพี้ยน หลังจากนั้นท่านก็มิได้แสดงฤทธิ์อะไรที่เป็นไปในลักษณะการแสดงให้คนชมอีกเลย เว้นแต่อยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็น แม้จะมีพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่พระองค์หนึ่งได้เชิญท่านไปสนทนาธรรมแล้วขอให้ท่าน แสดงฤทธิ์ให้ดู คุณแม่บุญเรือนก็ว่า แสดงให้ทอดพระเนตรไม่ได้เพราะจะเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม
    ไม่ว่าท่านจะบรรลุฌาน 4 อภิญญา 6 หรือไม่ก็ตามแต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ คุณแม่บุญเรือนระบุเองว่า เราหายตัวได้เพราะไม่ได้ยึดว่าตัวตนเป็นของเรา เพราะรู้เท่าสมมติ
    “จะอธิบายในเรื่องหายตัวได้สักหน่อย สมมติว่า ใครจะด่าเรา ใครจะนินทาเรา โดยโลกธรรม 8 ก็ไม่มีตัวตนที่จะเข้าไปรับสมมติเหล่านั้นจึงเรียกว่า หายตัวได้...”
    สมกับที่ครูอาจารย์ของท่านคือ พระมหารัชมังคลาจารย์ ระบุว่า ฤทธิ์เดชความอัศจรรย์จูงให้เกิดความเชื่อมั่นได้ก็จริงแต่หาใช่ข้อมุ่งหมาย แท้จริงทางพระพุทธศาสนาไม่เพราะพระพุทธศาสนานั้นมุ่งสอนให้ปฏิบัติเพื่อหลุด พ้นจากทุกข์ต่างหาก
    คำเทศน์สอนของคุณแม่บุญเรือนเน้นไปที่การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรม
    ท่านบอกถึงหนทางของการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมไว้ว่า ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมต้องเชื่อมั่นในความตรัสรู้จริงของพระพุทธเจ้า การจะทำสมาธิลุล่วงตามแบบพระพุทธองค์นั้นต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์ด้วย ถ้าศีลไม่วิสุทธิ์ก็จะเสียเวลาเปล่า
    ท่านว่า กายวาจาใจทั้ง 3 อย่างนี้ฝึกไม่ยาก วิธีง่ายๆ คือ พิจารณาว่าสังขารร่างกายของเรามีอะไรน่ารักบ้าง ดูให้ละเอียด พิจารณา ผม ขน เล็บ หนัง ฟัน หู จมูก ให้เกิดธรรมสังเวช
    ถ้าเกิดธรรมสังเวชเมื่อไหร่ให้เร่งรีบเพ่งดูให้ชัด
    การรักษาศีลนั้นต้องสังวรในอินทรีย์ 5 เช่น ตาเห็นรูปก็ไม่ยินดีในรูป ได้กลิ่นของหอมก็รู้ทันว่านี่ของหอม ถ้าได้กลิ่นเหม็นก็ควรพิจารณาตนในตน ไม่ติชมเรื่องอาหาร จืดมีน้ำปลาก็เติมได้ ไม่มีก็ไม่ต้องเรียกร้องเอา บริโภคตามมีตามเกิด
    การจะรักษาศีลให้มั่นเพื่อเข้าถึงคุณพระรัตนตรัยต้องมีสัจจะเป็นรากฐาน
    “มีศีลแล้วจะไม่ล่วงศีลโดยการทุศีล ต้องรักษาโดยความไม่ประมาทหมดจด ไม่ลักลั่นสับสนด้วยจิตเมตตา ไม่ฆ่าสัจจะของตนโดยความไม่ประมาทหมดจด ไม่ลักลั่นสับสนด้วยจิตแผ่เมตตา ไม่ฆ่าสัจจะของตนด้วยความมั่นคงไม่ท้อถอย”
    ท่านว่า ถ้ามีศรัทธาบารมีอันแก่กล้าโดยสัจจะจะเจตนาวิรัติให้เด็ดขาด อาจเข้าถึงพุทธธรรมที่แท้ได้โดยง่าย
    ง่ายเพราะผู้ที่รักษาศีลได้ต้องมีทิฏฐิเห็นตรงต่อองค์มรรคเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว และการรักษาศีลได้ก็ต้องมีความเพียรในอิริยาบถ ทั้ง 4 ซึ่งต้องมีสติกำกับอยู่
    ถ้าสำรวม กาย วาจา ใจ ได้ก็ย่อมขัดเกลาความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ และถ้าทำความดีให้เต็มรอบ ละโลภ โกรธ หลง ให้เด็ดขาดได้เมื่อไหร่ก็จะเป็นไทแก่ตัวเมื่อนั้น
    คุณแม่บุญเรือนนิยมทำสมาธิแบบลืมตา มากกว่าหลับตาเพราะท่านว่า การเจริญกรรมฐาน 40 หรือ พุทโธ อรหัง อานาปานสตินั้นเรียนยาก ไม่เหมือนกับเรียนแค่สติปัฏฐาน 4
    ท่านว่า การภาวนานั้นมีอารมณ์เจือปนอยู่ด้วย ถ้าจิตยังไม่ตกกระแสธรรมจะหลงไปตามมโนภาพที่เห็นโน่นนี่หรือเห็นแสง หลับตาระลึกมากๆ เข้าก็ตกเป็นทาสของอารมณ์ แต่ถ้าลืมตาทำสมาธิโดยใช้สติปัฏฐาน 4 หรืออานาปา
    “เพียงแต่กำหนดให้เอาใจไว้ในกาย ทำใจให้รู้ว่า หายใจได้อยู่เท่านั้น พอจิตส่องไปรับอารมณ์ภายนอกเข้ามาก็ให้รู้เท่าว่าจิตออกนอกกาย ให้มีสติกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ
    ถ้าจะทำกรรมฐานอย่างสมัยใหม่ ต้องรู้เท่าว่า ลืมตาเห็นรูป ก็ให้จิตอยู่ในกาย ไม่ให้รับอารมณ์ที่ส่องเข้ามาภายใน
    พยายามทำสมาธิด้วยจิตที่มีศีล เป็นประดุจนายบ้านที่มีประตูกั้นแข็งแรงและมีกระดิ่งอาณัติสัญญาณ เครื่องหมายเปิดประตู เหตุภายนอกเหมือนคนที่กดกริ่ง อารมณ์เหมือนเสียงกระดิ่งที่แล่นมาตามสายหรือกระดิ่งไฟฟ้า เป็นต้น สติสัมปชัญญะเป็นประดุจนายบ้านที่มีสมาธิอยู่ในตัว อาจรู้เท่าว่า ใครคนดีหรือคนชั่วที่จะเข้ามาในบ้านนั้นเพราะเห็นก่อนที่จะเปิดประตูให้ ถ้าคนร้ายก็ไม่ยอมเปิดรับ ผู้ทำสมาธิก็เช่นกัน จะเป็นเหตุดีหรือเหตุชั่วก็อาจรู้ได้โดยความเห็นด้วยปัญญาต้องเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ขั้นต้นยังแยกกันไม่ได้ ต้องมีสติ ขันติ สมาธิ จึงจะมั่น พอสมาธิมั่นใจก็จะมีแสงสว่าง ประดุจแสงไฟฟ้าหรือแสงจันทร์จึงจะป้องกันอารมณ์ภายนอกได้...”
    ท่านว่า จะทำสมาธิหลับตา หรือลืมตาก็แล้วแต่จริตแต่กุศลของการทำสมาธิไม่ว่าหลับตาหรือลืมตาทั้ง 2 ประการนี้ถ้าเพียรจริงๆ ก็คงข้ามโอฆกันดารคือ ทิฏฐิ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน สิ้นชาติ สิ้นกันดาร มีพระนิพพานเป็นที่ไปได้เหมือนพระพุทธองค์
    ท่านว่า “พระนิพพานไม่ใช่ไกล ถ้าค้นพบ จะเห็นเอง เพราะรู้ว่าผู้ใดรับประทาน ผู้นั้นต้องอิ่มเอง”
    คุณแม่บุญเรือนจากไป เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2507 ท่านจะรู้และอิ่มเอมเพียงไร ไม่มีใครทราบ มีแต่ท่านเท่านั้นที่รู้เอง อิ่มเอง

    รู้เอง อิ่มเอง คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม
    .



    .



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • boonrean.jpg
      boonrean.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.7 KB
      เปิดดู:
      276
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2010
  3. Pinkcivil

    Pinkcivil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    425
    ค่าพลัง:
    +1,644
    vbvb กลับมาด้วยความรวดเร็วครับ ไปส่งแฟนไป LAX อ่ะครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949

    หลวงปู่บุดดาถาวโร รัตตัญญู ผู้แก่มรรคผลนิพพาน

    [​IMG]

    มีพระสุปฏิปันโนหลายรูปเคยพูดถึง หลวงปู่บุดดา ถาวโร เสียงนั้นล้วนเป็นไปในทางเดียว.....
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
    มีพระสุปฏิปันโนหลายรูปเคยพูดถึง หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    เสียงนั้นล้วนเป็นไปในทางเดียว
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กล่าวไว้ว่า “...หลวงพ่อบุดดานี่เป็นพระสำคัญอยู่นะ ทางด้านจิตใจสำคัญอยู่...พอเชื่อแน่ในใจแล้ว ผู้เฒ่านี่เป็นพระสำคัญ ในสำนวนโวหารพูดอะไรออกมามันก็แปลกๆ อยู่ มันแปลกมาจากใจนั่นละ จะแปลกมาจากไหน ใจไม่แปลกมันก็ไม่แปลกถ้าใจแปลก มันแปลกทั้งนั้น กิริยาแสดงออกมามันแปลก มันแปลกออกมาจากหัวใจ ผู้เฒ่าสำคัญอยู่องค์หนึ่ง...”
    ที่สรุปไว้อย่างรวบรัด ชัดเจนที่สุดมาจาก หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    “ยอดเยี่ยมที่หนึ่งเลย แก่ทั้งอายุ แก่ทั้งพรรษา แก่ทั้งมรรคผลนิพพาน”
    ที่ว่าแก่ทั้งอายุ เพราะสิริรวมอายุมากถึง 100 ปี 7 วัน
    แก่ทั้งพรรษา เพราะนับได้ 73 พรรษา
    แก่ทั้งมรรคผลนิพพาน เพราะท่านบรรลุมรรคผลนิพพานมาตั้งแต่ยังหนุ่ม

    ชีวิตของหลวงปู่บุดดาเป็นชีวิตที่เหมือนเส้นตรง กล่าวคือ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2437 พออายุ 21 ปี เข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์สังกัดทหารบกปืน 3 จังหวัดลพบุรี อยู่ 2 ปี แล้วกลับมาทำไร่ทำนาอยู่ 4 ปี ก่อนอุปสมบท ขณะอายุได้ 28 ปี จากนั้นก็เจริญวัย เจริญธรรม มาอย่างยาวนาน ก่อนละขันธ์ในวันที่ 12 ม.ค. 2537
    ดูเหมือนว่าเส้นตรงเส้นนี้มิได้เริ่มจากจุดแรกที่การถือกำเนิดในครอบครัว ชาวนาของนายน้อย-นางอึ่ง มงคลทอง เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ม.ค. 2437 ที่บ้านหนองเต่า ต.พุดา อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี แต่เริ่มต้นมาไกลกว่านั้นมาก เพราะอายุ 10 ปีก็ระลึกชาติได้ แต่ไม่ว่าใครจะสนใจในสิ่งที่เด็ก 10 ขวบพูดหรือไม่ก็ตาม สิ่งนั้นก็คงอยู่ในใจของหลวงปู่บุดดาเรื่อยมา เพราะหากวิเคราะห์จากคำพูดของท่านที่มีต่อสาวที่เข้ามาติดพันในช่วงที่ท่าน เป็นทหารหนุ่มนั้น แสดงให้เห็นว่า ชายหนุ่มผู้นี้ตรึกอยู่ในธรรมอย่างชัดแจ้ง
    “กลับไปเถอะ ฉันเป็นทหารตัวเมีย ไม่ชอบผู้หญิง ถ้าไปเจอทหารตัวผู้คนอื่นเข้าจะลำบาก...” หนุ่มบุดดาบอกกับสาวๆ
    ท่านเดินเข้าโบสถ์อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเนินยาว ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2465 โดยมี พระครูธรรมขันธ์สุนทร (ม.ร.ว.เอี่ยม) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไพล เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เพราะรอการเริ่มต้นชีวิตในสมณเพศมานาน หลังจากอุปสมบทท่านจึงเริ่มต้นฝึกกรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์อย่างเอาจริงเอาจัง สิ้นพรรษาแรกแล้วจึงเริ่มออกธุดงค์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 40 ปี ก่อนจะรับนิมนต์ หลวงปู่เย็น ทานรโต มาอยู่จำพรรษาด้วยกันที่วัดกลางชูศรีเจริญสุข ต.บ้านพักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2523 และอยู่จำพรรษา ณ วัดแห่งนี้เรื่อยมาจนถึงอวสานแห่งชีวิต
    มีสองเหตุการณ์ที่กลายเป็นหลักไมล์สำคัญแห่งการภาวนาของหลวงปู่บุดดา
    เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นหลังจากออกธุดงค์ครั้งแรกจากลพบุรีไปยังหนองคายแล้ว ย้อนกลับมาจำพรรษาที่วัดผดุงธรรม จ.ลพบุรี ณ ที่นี่เอง ที่พิษแห่งราคะได้กำเริบอย่างหนัก แม้จะหาทางระงับอย่างไรก็ดูท่าจะเอาไม่อยู่ สุดท้ายไม่รู้จะทำอย่างไร เลยคว้าบริขารออกเดินเข้าป่าลึกแถบ จ.เพชรบุรี
    วันหนึ่งในกลางป่านั่นเอง ท่านได้ปรารภกับตัวเองว่า “ราคะเอ๋ย เราอยู่วัดก็ห้ามเจ้าไม่ฟัง ห้ามหัวค่ำมาเช้ามืด ห้ามเช้ามืดมาหัวค่ำ เอ๊า...บัดนี้เจ้าอยู่ที่ไหนรีบมาซะ ประเดี๋ยวเสือจะมากินเราแล้ว...” ว่าแล้วก็เข้ากลดนั่งภาวนาอยู่ ไม่นานนักได้ยินเสียงเสือคำรามขึ้นลั่นป่า แล้วมีเสียงสิ่งมีชีวิตเคลื่อนตรงเข้ามาหาทุกขณะ สุดท้ายเจ้าสิ่งนั้นเหมือนกับมาหยุดอยู่ที่เบื้องหน้า
    “ตอนนั้นอาตมานึกแต่ว่า ราคะเอ๋ย เจ้าตายวันนี้แหละ แต่แปลกราคะมันไม่ยอมโผล่มาให้เห็นอีกเลย จิตมันนิ่งสงบ มีแต่ความรู้สึกที่เบาสบายเหมือนตัวจะลอยอย่างงั้นแหละ กระทั่งรุ่งเช้าคลายออกจากสมาธิ จึงรู้ว่า...เรานั่งอยู่นี่ ไม่ได้ลอยไปไหน อ๊าว...เสือก็หาย ราคะก็หาย โอ้...ไอ้ราคะของเรานี่มันกลัวเสือ มันเปิดหายไปเลยนับแต่นั้น...”
    ราคะเปิดหายไปตั้งแต่รอยต่อพรรษาที่ 2
    จากนั้นมาท่านก็ออกธุดงค์ไปเรื่อย ย้อนกลับไปที่หนองคายอีกครั้งข้ามไปฝั่งลาว ทะลุไปเขมร เลยไปถึงไซง่อน ประเทศเวียดนาม กลับมาเมืองไทยฝ่าเขา ลงห้วย เรื่อยไป
    เหตุการณ์ที่สอง เกิดขึ้นเมื่อได้พบกับ หลวงพ่อสงฆ์ พระหมสระ แล้วออกธุดงค์ด้วยกันจนจบกิจด้วยกันทั้งคู่
    ท่านพูดถึงบุคลิกของหลวงพ่อสงฆ์กัลยาณมิตรธรรมผู้สูงวัยกว่าท่าน 10 ปีว่า “ติดตำรา ถือลูกประคำห้อยคอ...”
    วันหนึ่งท่านทั้งสองพากันจาริกมากระทั่งถึงถ้ำภูคา อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ณ สถานที่แห่งนี้เองที่คืนหนึ่งทั้งสองรูปได้สนทนาธรรม โดยหลวงพ่อสงฆ์ได้ถามหลวงปู่บุดดาขึ้นว่า “...ยังถือวินัยอยู่หรือ”
    “...ไม่ถือวินัยได้ไง ถ้าเราจะเดินผ่านต้นไม้-ของเขียวก็ต้องระวัง...มันจึงเป็นอุปาทานทำความ เนิ่นนานต้องช้ามาถึง 4 พรรษา” หลวงปู่บุดดา ตอบ
    หลวงพ่อสงฆ์ว่า “วินัยมันมีสัตว์-มีคนรึ”
    “มีตัวซี ถ้าไม่มีตัวจะถือวินัยได้ยังไง...วินัยก็ผู้ถือนั่นเอง ...เสขิยวัตร 75 เป็นตัวไม่ได้หรอก ...เนื้อหนัง กระดูก ตับไต ไส้พุง มันไม่ใช่ตัวถือวินัย...ตัวถือวินัยเป็นธรรมนี่”
    ...ฯลฯ...
    ระหว่างถามตอบกันอยู่นั้น จู่ๆ หลวงปู่บุดดาก็นิ่งเงียบ แต่ตาค้างเบิกโพลงอยู่อย่างนั้นนานประมาณ 2 ชั่วโมง ถึงกลับมาพูดได้อีกครั้ง
    ช่วง 2 ชั่วโมงนั้น เริ่มจาก “พอปัญญา-บารมีเกิดขึ้นตกลงกันได้ว่า เอ๊ะ! ไม่มีจริงๆ เน้อ ...ผู้ถือไม่มี มีแต่ระเบียบของธรรมเท่านั้น ไปถือมั่น-ยึดมั่นไม่ได้นี่”
    และแล้ว...
    “มันรู้สึกสว่างแจ้งไปหมด รู้สึกว่าไม่มีตัวตน เห็นชัดทุกอย่างรอบตัวว่า เป็นปรมัตถธรรม สิ่งสมมติขึ้นมา ทุกอย่างเป็นธรรมหมด ไม่ใช่ของใคร สัพพัญญูพุทธะ ปัจเจกพุทธะ สาวกพุทธะ มันไม่มีตัวมีตน ธรรมต่างหากที่ทรงไว้ คงอยู่ในจิตของตนเอง พูดกันแต่เรื่องปริยัติ ปฏิบัติ ไม่มีใครชนะใครหรอก มันติดอยู่ในสมมติบัญญัติต่างหาก
    “รู้อดีต ปัจจุบัน อนาคตของตัวเอง ไม่ใช่ไปเรียนพระพุทธเจ้าเป็นใคร ไปนิพพานอย่างไร นั่นเขาเรียกนิพพานในอนาคต รู้ตัวเองดีกว่า ให้รู้ว่า กายกับจิตมันเนื่องกันอย่างไร คนขับรถต้องนำรถไป ไม่ใช่ให้รถมันนำพาไป ถ้าไม่รู้ทางก็เข้าป่าเข้ารก”
    “สัพพัญญูพุทธะ?” มีความหมายว่าอย่างไร?
    “ถ้าเรารู้ว่าธรรมภายในไม่เกิดไม่ตาย ธรรมภายนอกก็ไม่เกิดไม่ตาย ปริยัติก็เป็นธรรม ปฏิบัติก็เป็นธรรม ปฏิเวธก็เป็นธรรมที่ศีลเป็นธรรม สมาธิเป็นธรรม ปัญญาตรัสรู้แล้วเป็นธรรมหมด นี้เรียกว่า ทางตรัสรู้ สิ้นไปแห่งอาสวะ สิ้นไปแห่งอวิชชาทั้งหมด อวิชชาสังโยชน์ไม่มี อวิชชานุสัยไม่มีใช้ได้ เรียกว่าเป็นผู้เจริญในพุทธศาสนา เจริญตัวเองนี่เอง เจริญตัวเองเรียกว่า สัพพัญญูพุทธะก็ได้ตามพระพุทธเจ้า
    “พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูพุทธะตรัสรู้ก่อนเพื่อน ปัจเจกพุทธตรัสรู้ สาวกพุทธตรัสรู้ ตรัสรู้อริยสัจเหมือนกัน คือ รู้ทุกข์เกิดกับจิตนั่นเอง สมุทัยก็เกิดกับจิตนั่นเอง มรรคสัจก็เกิดกับจิต นิโรธสัจเหนือนาม เหนือรูปนิโรคสัจรู้แจ้งแล้วไม่เกิดไม่ตายนั่นเอง
    “มรรคสัจก็เกิดกับจิต นิโรธสัจเหนือนาม เหนือรูป นิโรธสัจรู้แจ้งแล้วไม่เกิดไม่ตาย...เป็นผู้หมดทุกข์ หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย ไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ ไม่ใครเจ็บ ไม่มีใครตาย นั่นแหละเป็นแก่นศาสนา...”
    หลวงปู่บุดดาบรรลุธรรมเมื่ออายุ 32 ปี
    หลายสิบปีต่อมาหลวงปู่พูดถึงเหตุการณ์ในคืนนั้นว่า “จบกลางคืนต่อหน้าท่าน (หลวงพ่อสงฆ์)”
    3 วันต่อมาหลวงพ่อสงฆ์ก็ “จบ” เช่นเดียวกัน
    “เช้ามาท่านก็ไปถาม เอ๊ะ ทำไมไม่มีสัตว์ไปนรกไปสวรรค์ล่ะ ไม่มีคนล่ะ หลวงปู่อุทาน “โอ๊ย มันไม่มีมาแต่ไรแล้ว ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเทศน์ปฐมเทศนามาแล้ว นรกสัตว์สร้างเอาเอง สวรรค์สัตว์สร้างเอาเอง ไม่มีสัตว์สร้างสัตว์จะไปสวรรค์ นรก ได้อย่างไร...ท่านก็บอกว่า ท่านไม่ถือนาม ถือรูป ไม่มีถือธาตุ ถือขันธ์อะไรแล้ว หลงนาม หลงรูป มันก็หลงเกิด หลงตายอีกซิ...”
    ก่อนจะแยกกันที่ถ้ำภูคาในปี พ.ศ. 2470 นั้น หลวงพ่อสงฆ์และหลวงปู่บุดดาได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้ที่ถ้ำภูคาองค์หนึ่ง
    ความ ที่หลวงปู่บุดดาเป็นผู้แก่ทั้งอายุ แก่ทั้งพรรษานี่เอง ท่านจึงเป็นรัตตัญญูได้มีโอกาสได้พบได้เห็นได้รู้จักได้สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัยหลายรูป อาทิ

    พระครูมุณีอ่อน ซึ่งท่านว่าเป็น “รุ่นเก่า...ใช้เรือแจวเทศน์ตั้งแต่กรุงเทพฯ ไปถึงราชบุรี จากกรุงเทพฯ ไปถึงปราจีนบุรี” หลวง พ่อเงิน พุทธโชติ หรือหลวงพ่อเงิน บางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบาง นมโค จ.สุพรรณบุรี หลวงพ่อจง พุทธัสสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อรุ่ง ฆํคสุวณฺโณ วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองหลวง จ.นครสวรรค์ เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ครูบาศรีวิชัย พุทธทาสภิกขุ ธัมมวิตักโกภิกษุ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ฯลฯ
    ปี พ.ศ. 2475 ท่านก็เข้ามาพำนักอยู่ที่วัดราชาธิวาส กรุงเทพฯ ช่วงปีนั้นเองที่ได้พบและสนทนาธรรมกับธัมมวิตักโกภิกษุ หรือที่พุทธศาสนิกชนรู้จักกันในนาม เจ้าคุณนรฯ หรือพระภิกษุนรรัตนราชมานิต เป็นเวลา8 วัน
    กับพุทธทาสภิกขุนั้นท่านพบกันหลายครั้ง ที่ จ.เพชรบุรี ที่กรุงเทพฯ แม้กระทั่งไปพำนักที่สวนโมกข์เป็นเวลา 8 วัน
    การพบกับครูบาศรีวิชัย ซึ่งขณะนั้นต้องอธิกรณ์แล้วลงมาที่กรุงเทพฯ นั้นนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในชีวิตของท่าน นั่นคือ เมื่อครูบาศรีวิชัยทักว่า “เฮาเป็นนายฮ้อยก็ต้องให้เขาฮู้ว่า เป็นนายฮ้อยไม่ใช่นายสิบ”
    นับแต่นั้นมา หลวงปู่บุดดาจึงพาดสังฆาฏิติดตัวเรื่อยมามิได้ขาด
    ครั้งหนึ่งมีศิษย์ถามท่านว่า ทำยังไงจึงจะถึงนิพพานเร็วๆ ท่านว่า “ดูปัจจุบันบ่อยๆซี่...”
    ปัจจุบันของกาย ปัจจุบันของจิต หากกายสงบ จิตสงบก็เป็นสมถะ กายและจิตเกิดดับเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา วิปัสสนาเป็นตัวปัญญาสัมมาทิฏฐิ
    “เมื่อเห็นจิตสงบ กายสงบ จิตสงบอยู่ในปัจจุบันเป็นสมถะ เป็นองค์มรรค 8 พอเห็นกายกับจิตเกิดดับก็เป็นวิปัสสนาขององค์มรรค 8 แก้ปัจจุบันต่างหากเล่า กิเลสก็แก้ที่ปัจจุบัน ขันธมารก็แก้ปัจจุบัน ไม่มีกิเลสมาร เกิดได้ก็แก้ได้ ขันธมารก็แก้ได้ที่ปัจจุบัน มีสังขารมารเทวบุตรมารจำแลงรูปต่างๆ เป็นอดีตล่วงแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่มาอีก ปัจจุบันก็มาเอากับมัน...อยู่ที่กายปัจจุบัน จิตปัจจุบัน พุทธะก็อยู่นี้ ธรรมะก็อยู่นี้ สังฆะก็อยู่นี้ ปริยัติอยู่ปัจจุบัน ปฏิบัติก็ปัจจุบัน ปฏิเวธก็ปัจจุบัน เอโกธัมโม ธรรมมีอันเดียว ธรรมไม่เกิดไม่ตาย ก็เข้านิพพานตรงนี้”
    ท่านว่า “หนังแผ่นเดียวเป็นนิโรธ หนังหลายแผ่นเป็นสมุทัย”
    หนังแผ่นเดียวเป็นนิโรธเพราะ “มีหนังแผ่นเดียวมองดูเถอะ เป็นนิโรธเองได้”
    คำขยายความอีกหน่อยคือ “...ถ้าเราไม่มีอุปาทาน เกิด แก่ เจ็บ ตาย นี่เราสบาย เรานั่งอยู่ที่นี้ นั่งดูผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เป็นนิโรธหมด กามาสวะ มิจฉาสวะไม่มี กายนิโรธมีอย่างนี้...”
    ท่านว่า สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวเป็นธรรมที่มีอุปการะอย่างยิ่ง
    เมื่อมีสติตั้งมั่น ตื่นอยู่ไม่เศร้าหมองปราศจากทั้งดีทั้งชั่ว เพราะถ้ารู้เท่าทันอารมณ์ดีชั่วเป็นกลางทั้งภายในภายนอกก็ไม่หลงตามทางดีและ ทางชั่ว
    ศีลของเราก็เรียบร้อย
    กายวาจาใจ ไม่หวั่นไหว ก็เป็นสมาธิ
    ปัญญารอบรู้ในกองสังขารก็รู้เท่าทางปรุงความดีและความชั่ว ทางกาย วาจา ใจ ก็ชื่อว่า ปัญญา
    หลงสมมติ หญิง ชาย ไม่รู้จริง ศีลก็ตั้งไม่ได้ เพราะศีลขาดสมาธิ ความมั่นใจก็ไม่มี ปัญญาความรอบรู้ก็ไม่มี จะหาความสุขมาจากไหน ฉะนั้นควรใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นความจริงทั้งภายนอก ภายใน เดิน ยืน นั่ง นอน พิจารณาอิริยาบถทั้ง 4 อย่าให้ขาด ตลอดจนปัจจัยทั้ง 4 ว่า สักแต่เป็นธาตุ ทุกสิ่งทุกประการไม่ว่าสัตว์ บุคคล ล้วนแต่เป็นธาตุ
    “ไม่เกิด ไม่ดับ คืออะไร คือ พ้นจากกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ที่มีอยู่ ตัวไม่เกิดไม่ดับ คือ ธรรมะ พ้นไป ว่างไปแล้วจากอาสวะ จึงเป็นผู้พ้นทุกข์”
    หลวงปู่บุดดาซึ่งแข็งแรงมาตลอด ได้เริ่มอาพาธตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค. 2536 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทั่งท่านละสังขาร “พ้นไป” เมื่อเวลา 19.10 น. วันที่ 12 ม.ค. 2537

    หลวงปู่บุดดาถาวโร รัตตัญญู ผู้แก่มรรคผลนิพพาน
    .



    .



    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • boodda.jpg
      boodda.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.1 KB
      เปิดดู:
      274
  5. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    วันนี้กระผมได้ไปร่วมงานบญประเพณีชักพระ รึประเพณีลากพระของจังหวัดสงขลา เอารูปมาให้ชมกันครับพี่ๆทุกท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02982.JPG
      DSC02982.JPG
      ขนาดไฟล์:
      902.8 KB
      เปิดดู:
      84
    • DSC02983.JPG
      DSC02983.JPG
      ขนาดไฟล์:
      901.8 KB
      เปิดดู:
      104
    • DSC02984.JPG
      DSC02984.JPG
      ขนาดไฟล์:
      835.5 KB
      เปิดดู:
      110
    • DSC02986.JPG
      DSC02986.JPG
      ขนาดไฟล์:
      847.3 KB
      เปิดดู:
      132
    • DSC02987.JPG
      DSC02987.JPG
      ขนาดไฟล์:
      884.6 KB
      เปิดดู:
      82
    • DSC02989.JPG
      DSC02989.JPG
      ขนาดไฟล์:
      887.8 KB
      เปิดดู:
      101
    • DSC02990.JPG
      DSC02990.JPG
      ขนาดไฟล์:
      862.9 KB
      เปิดดู:
      113
    • DSC02991.JPG
      DSC02991.JPG
      ขนาดไฟล์:
      888.9 KB
      เปิดดู:
      94
    • DSC02992.JPG
      DSC02992.JPG
      ขนาดไฟล์:
      845.2 KB
      เปิดดู:
      118
    • DSC02993.JPG
      DSC02993.JPG
      ขนาดไฟล์:
      882.4 KB
      เปิดดู:
      101
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ศีลบารมีปฏิบัติ <hr size="1"> ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย และท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายได้พากันสมาทานศีล และสมาทานพระกรรมฐานแล้ว ต่อไปขอให้ท่านทั้งหลายรวบรวมกำลังใจของท่าน ตั้งใจสดับการศึกษาใน บารมี ๑๐ เพราะว่า บารมี ๑๐ นี้มีความสำคัญมาก ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเจริญพระกรรมฐานมาสักกี่แสนปีแล้วก็ตาม ถ้าหากว่า บารมี ๑๐ ของท่านยังไม่ครบถ้วน คำว่า พระอริยเจ้า ย่อมไม่มีกับท่าน

    ในที่นี้ก็จะต้องเข้าใจคำว่า บารมี เสียก่อน คำว่า บารมี นี่หมายถึง กำลังใจ หมายความว่าท่านทั้งหลายต้องมีกำลังใจทรงความดีทั้ง ๑๐ ประการไว้ในใจครบถ้วนทุกอย่างไม่บกพร่อง คำว่า ทรงความดี นี่ไม่ได้หมายความว่าจำได้ ต้องทำได้ให้จิตทรงอารมณ์เป็นปกติ ขอทบทวนอีกนิดหนึ่ง บารมี ๑๐ ประการคือ

    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="160">[​IMG]</td> <td valign="top">๑. ทานบารมี ได้แก่ การให้ทาน
    ๒. ศีลบารมี คือการทรงศีลให้บริสุทธิ์
    ๓. เนกขัมมบารมี คือการถือบวช
    ๔. ปัญญาบารมี คือทรงปัญญารู้เท่าทันตามสภาวะตามความเป็นจริงคือ อริยสัจ ๔
    ๕. วิริยบารมี คือมีความเพียรไม่ท้อถอย
    ๖. ขันติบารมี คือมีความอดทน
    ๗. สัจจบารมี คือมีความจริงใจ
    ๘. อธิษฐานบารมี คือมีความตั้งใจ
    </td> </tr> </tbody></table> ๙. เมตตาบารมี คือมีจิตใจเมตตาปรานี มีความรักในคนและสัตว์เป็นปกติ
    ๑๐. อุเบกขาบารมี ได้แก่การวางเฉย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดจบก็คือ อุเบกขาบารมี ในที่นี้ได้แก่ สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉยในสังขาร

    สำหรับ ทานบารมี ได้พูดกับบรรดาท่านทั้งหลายมาแล้ว หวังว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจพอ ได้โปรดทราบนะ คำพูดทุกอย่างที่ผมพูดไปทุกคำ ผมถือว่าพวกท่านเข้าใจดีพอ และก็ทำได้ด้วย เพราะว่าถ้าหากว่าเราทำไม่ได้ เราก็จะอยู่ในเขตของพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์อะไร เพราะในเขตของพุทธศาสนานั้น ต้องการคนดี ไม่ได้ต้องการคนเลว คำว่าดีในเขตของพระพุทธศาสนาคือต้องทรง บารมี ๑๐ ครบถ้วน สำหรับวันนี้จะพูดถึง ศีลบารมี

    ศีล แปลว่า ปกติ ถ้าเราเป็นฆราวาส ถ้าหากว่าเป็นฆราวาสปกติของ ปุถุชน หมายถึงเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ผู้เข้าถึงไตรสรณาคมน์ กัลยาณชน หมายถึงผู้ทรงฌาน อริยชน ๒ ขั้นแรกหมายถึงพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อย่างนี้ต้องมีศีล ๕ เป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต้องทรงศีล ๕ เป็นปกติจึงจะชื่อว่าพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี สำหรับอารมณ์จิตถ้าเข้าถึงพระอนาคามี ตอนที่เข้าถึงพระอนาคามีนี่จะมีศีล ๘ เป็นปกติ เพราะว่าพระอนาคามีเป็นผู้ตัด กามฉันทะ กับปฏิฆะ อารมณ์แห่งกามารมณ์ ย่อมไม่มีในพระอริยเจ้าระยะนี้คือพระอนาคามี สำหรับพระอรหันต์ไม่ต้องพูดกัน

    สำหรับพระภิกษุสามเณรก็เหมือนกัน ภิกษุสามเณรมีศีลคงที่ แต่มีจิตดีขึ้นเพราะทรงศีลบริสุทธิ์ เป็นอันว่า ศีล แปลว่า ปกติ หมายความว่าคนทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ถ้าไม่ต้องการการขาดทุน หมายถึงว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว ถ้าตายจากคนกลับไปเกิดเป็นสัตว์นรกหรือว่าไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าเกิดเป็นคนแต่มีสภาวะเท่าเดิม อย่างนี้ถือว่าขาดทุน

    ฉะนั้น ปกติของคนจะต้องปฏิบัติในศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าจะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเกิดเป็นคนดีกว่านี้ คำว่าดีกว่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องมีโภคะมากไปกว่านี้ แต่เนื้อแท้จริงๆ ถ้าปฏิบัติในศีลบริสุทธิ์จะต้องมีโภคสมบัติดีกว่านี้ มีรูปร่างหน้าตาสวยกว่านี้ และต้องมีทุกสิ่งทุกอย่างดีกว่าทั้งหมด คือ

    ๑. มีอายุยืนยาวตลอดอายุขัย ไม่ป่วยไข้ไม่สบาย และก็ไม่ตายก่อนอายุขัย
    ๒. มีทรัพย์สินสมบูรณ์บริบูรณ์ ทรัพย์สินทุกอย่างจะไม่มีอันตรายจากไฟไหม้ จากน้ำท่วม จากลมพัด จากโจรผู้ร้าย
    ๓. คนในปกครองจะอยู่ด้วยดี ไม่มีใครดื้อด้าน อยู่ในโอวาททุกอย่าง
    ๔. วาจาศักดิ์สิทธิ์ วาจาหอมหวนเป็นที่ปรารถนาในการรับฟังของคนดีทั่วไป อย่าลืมนะผมพูดว่าสำหรับคนดีทั่วไป สำหรับคนเลวไม่ต้องไปคำนึงถึง คนเลวเราจะพูดดีขนาดไหนมันก็เลวขนาดนั้น อย่าไปสนใจ
    ๕. แล้วก็จะต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีกว่านี้

    นี่หมายถึงว่าถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ ทีนี้มาว่ากันถึง ศีลบารมี ความจริงมี ศีลบารมีข้อเดียวก็จะไปนิพพานได้ ถ้าเราฉลาดเหมือนกับที่ผมพูดมาแล้วในทานบารมี ถ้าเรามีทานบารมีเคร่งครัด เราก็จะไปนิพพานได้ ทีนี้ขึ้นชื่อว่าบารมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเราจะสร้างให้ครบถ้วนจริงๆ ก็ต้องอาศัยบารมีอีก ๙ อย่างเข้ารวมตัวกัน แต่ว่าเรื่องนี้ผมพูดไว้แล้วใน บารมี ๑๐ แต่นี่เรามาพูดกันถึงด้านปฏิบัติ ด้านปฏิบัติจำต้องพูดกันละเอียดสักหน่อย เพราะถือว่าการสอนพระกรรมฐานชุดนี้ เป็นกรรมฐานชุดสุดท้าย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าการสอน บารมี ๑๐ ก็หมายถึงว่าการสอนให้ท่านเป็น พระอริยเจ้า กันนั้นเอง

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมรู้ตัวผมดีว่า ผมคงไม่มีเวลามานั่งพูดให้ท่านฟังอีกนานนัก เพราะเวลานี้ร่างกายมันกรอบเต็มทนแล้ว ภารกิจก็มาก ขันธ์ ๕ ก็เสื่อมโทรมหนัก อายุขัยมันก็ใกล้จะหมด ฉะนั้น การสอน บารมี ๑๐ ขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่า ผมสอนเทกระเป๋า ทั้งนี้หมายความว่า ผมจะตายหรือไม่ตายก็ตาม ถือว่าเป็นการทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ในการปฏิบัติของท่านทั้งหลาย

    ในการปฏิบัติ บารมี ๑๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อ ศีล เราจะต้องเทียบกันเป็น ๒ ระยะเหมือนกันว่า บารมีต้น หรือ ปรมัตถบารมี ก่อนที่เราจะนึกถึงศีลว่า ทำไมเราจะต้องปฏิบัติในศีลนั้นด้วย การเจริญบารมีเขาคิดกันอย่างนี้นะว่า ทำไมเราจึงต้องมีศีล คนอื่นที่เขาบกพร่องในศีล เขาร่ำรวยเยอะถมไป บางคนที่บกพร่องในศีล เขาเป็นคนมีอำนาจวาสนาบารมี มียศศักดิ์ใหญ่โตก็เยอะถมไป คนที่บกพร่องในศีลอาจจะมีอำนาจวาสนามาก ปกครองคนทั้งประเทศก็ถมไป แต่ว่าเราเป็นคนมีศีลกลับมีอะไรไม่ดีเท่าเขา

    ถ้าคิดอย่างนี้ละก็ ขอประทานอภัย โปรดตั้งใจเตรียมตัวไว้ว่าท่านต้องการนรกขุมไหน เตรียมตัวว่าตายคราวนี้เราไปนรกแน่ๆ การปฏิบัติ บารมี ๑๐ เราไม่ได้ปรารภโลกธรรม คือ ไม่ได้ต้องการยศ ไม่ต้องการความร่ำรวย ไม่ต้องการมีอำนาจวาสนาในทางโลกีย์วิสัย เราปฏิบัติในศีลเพราะต้องการความบริสุทธิ์ของใจ

    นี่คำว่า ศีล ท่านย่อมรู้กันแล้ว ก็มานั่งดูทีว่า ทำไมคนเราจึงต้องมีศีล ศีลเป็นคุณหรือเป็นโทษ ต้องใช้ปัญญาพิจารณากันหน่อย หรือว่าต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา คำว่า สัญญา คือความจำ ปัญญา คือความคิด ต้องใช้ปัญญานำหน้าสัญญา ปัญญานั้นความจริงมันนำอยู่แล้ว แสดงว่าสัญญาจะทรงความดีไว้ได้จะต้องมีปัญญาเป็นตัวนำ เราก็มานั่งใคร่ครวญเรื่องศีล โดยเฉพาะ ศีล ๕ หรือ ศีล ๘ สำหรับ ศีล ๑๐ หรือ ศีล ๒๒๗ จะไม่พูดถึงเพราะว่าพระก็ดี เณรก็ดี ถ้าเณรทรงศีล ๑๐ ไม่ครบ พระทรงศีล ๒๒๗ ไม่ครบ เขาไม่เรียกพระ เขาไม่เรียกเณร เขาเรียก เถน

    เถนในที่นี้ใช้นอหนูสะกดแปลว่า หัวขโมย คือขโมยเอาเพศของพระมาใช้ ขโมยเอาเพศของเณรมาใช้ เป็นอันว่าทุกท่านที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้เรียกว่า มนุสสเปโต หรือ มนุสสติรัจฉาโน หมายความว่า ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นสัตว์เดรัจฉาน ตายจากความเป็นมนุษย์ ก็เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน

    สำหรับพระเณรต้องทรงศีลบริสุทธิ์อยู่แล้ว ผมจะไม่ปรารภถึง จะวัดศีลสำหรับฆราวาส และพระเณรก็ต้องดูด้วยนะว่าท่านทั้งหลายที่บวชอยู่นี้ มีศีล ๕ บริสุทธิ์หรือเปล่า ที่ผมพบมา ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ในบรรดาพระเณรที่พบ ประกาศตนว่าเป็นคนมีศีล ๒๒๗ แต่ว่าเนื้อแท้จริงๆ ศีล ๕ ไม่ครบ ถ้าศีล ๕ ไม่ครบจะมีศีล ๒๒๗ ได้อย่างไร ก็ถ้าใครไปไหว้คนประเภทนี้ก็ถือว่าไหว้สัตว์นรก ไหว้เปรต ไหว้อสุรกาย ไหว้สัตว์เดรัจฉานนั้นเอง เพราะท่านผู้นั้นตายจากความเป็นคน ไม่มีโอกาสจะได้เกิดเป็นคน ไปตั้งต้นมาจากนรกใหม่

    ตอนนี้ก็มาพูดกัน ปรึกษาหารือกัน ว่าศีลมีความสำคัญอย่างไร มาพูดกันถึงศีล ๕ และศีล ๘ เสียก่อน ต้องใช้ปัญญาพิจารณาด้วย ไม่ใช่ว่าจะไปนั่งภาวนาว่า "สีลัง สีลัง สีลัง" อย่างนี้มันเป็นเรื่องนกแก้วนกขุนทอง เพราะพูดตามที่เขาพูด แต่ไม่ใช่ภาษาของเขา เขาไม่รู้เรื่อง บอกให้เขาเรียก "พ่อจ๋า แม่จ๋า" นกแก้วนกขุนทองก็เรียก "พ่อจ๋า แม่จ๋า ขอข้าวกินหน่อย" แกก็พูดขอข้าวกินทั้งวัน ทั้งๆ ที่แกไม่หิว เพราะว่าเขาสอนอย่างนั้น

    นักปฏิบัติและนักบวชในพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าไปนั่งจำแต่ชื่อของศีลหรือนั่งภาวนาแต่ชื่อของศีล มันอาจจะมีผลเป็นฌานสมาบัติได้เหมือนกัน แต่ทว่าถ้าศีลบกพร่อง ฌานสมาบัติมันก็ไม่มี สมาธิเล็กน้อยมันก็ไม่เกิด

    นี่ก่อนที่เราจะมาทรงศีลกัน เราจะต้องรู้จักศีลเสียก่อน สำหรับภิกษุสามเณร ถ้าหากเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ท่านบอกว่าทุกคนจะปราศจาก วิปฏิสาร คือความเดือดร้อน พระเณรที่มีความยุ่งๆ ขาดการเคารพนับถือของบรรดาประชาชนทั้งหลาย ก็เพราะว่าเป็นพระเป็นเณรที่ขาดศีลนั่นเอง เป็นชั้นเลวที่สุด พระเณรที่ไม่มีศีลบริสุทธิ์ เขาถือว่าเป็นพระเป็นเณรที่เลวที่สุด ไม่ใช่เป็นพระเป็นเณรที่ดีที่สุด

    ท่านที่มีศีลบริสุทธิ์จงคิดว่าเรายังเลวมากเกินไป เพราะความดีของเราทรงไว้ได้แค่กามาวจรสวรรค์เท่านั้น ศีล ๑๐ ก็ดี ศีล ๒๒๗ ก็ดี ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี มันก็เหมือนกัน แต่ถ้าหากว่าถ้าดีไปกว่านั้น จิตทรงศีลบริสุทธิ์ไม่ใช่ไปนั่งภาวนาว่า "สีลัง" ศีลทุกสิกขาบท ทรงอารมณ์จิตบริสุทธิ์ จิตรักษาไว้ได้บริสุทธิ์โดยไม่ละเมิดศีลด้วยเจตนา ในจิตเราคำนึงนึกอยู่เสมอว่า เราจะทรงศีลให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่าชีวิต จิตคิดถึงศีลเป็นปกติอย่างนี้ จัดเป็นฌานใน สีลานุสสติกรรมฐาน อย่างนี้เป็นพรหมได้

    แต่ว่าสำหรับ ศีลบารมี ในที่นี้ ไม่ต้องการได้กามาวจรสวรรค์ แล้วก็ไม่ได้หมายให้ต้องการพรหมโลก ที่ศึกษา ศีลบารมี เพื่อต้องการเป็น พระอริยเจ้า คือ พระอรหันต์ ฉะนั้น ก่อนที่เราจะนั่งปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ ก็ต้องดูผลของศีลว่า ถ้าเราปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์มันมีความสุขหรือความทุกข์ ถ้าหากว่าปฏิบัติศีลไม่บริสุทธิ์ มันมีความสุขหรือมีความทุกข์ เขาเอาดีกันตรงนี้ ไม่ใช่ไปนั่้งเอาดีอวดศีลกัน ถ้าบวชเข้ามาแล้วก็คุยบอกว่าฉันมีศีล ๒๒๗ ดีไม่ดีแค่ศีล ๕ ก็ยังไม่ครบ ในเมื่อศีล ๕ ไม่ครบจะเอาอะไรมาเป็นศีล ๒๒๗

     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ปาณาติปาตาเวรมณี

    ตอนนี้เราก็มานั่งมองศีล สำหรับพระทุกสิกขาบทอย่าเคลื่อน เรามาดูศีล ๕ กันก่อน ศีล ๕ ท่านว่า ปาณาติปาตาเวรมณี เราจะงดเว้นฆ่าสัีตว์ตัดชีวิต และเบียดเบียนสัตว์ให้ได้รับความลำบาก มานั่งนึกดูว่าพระพุทธเจ้าทำไมบอกอย่างนี้ ที่การไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันมันเป็นผลของความสุข มันไม่ยาก คนที่มีศีลข้อนี้ต้องมีเมตตานำหน้า เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยากัน อุเบกเขา มีอารมณ์วางเฉย

    นั่นหมายความว่า เราเห็นสัตว์ที่ควรจะฆ่าได้ เราก็ไม่ฆ่าเพราะความรัก เราจะประทุษร้ายก็ไม่ประทุษร้ายเพราะความสงสาร ไอ้เราจะไม่ฆ่าเขา เราจะไม่ทำร้ายเขา ด้วยอารมณ์ของเราไม่มีความอิจฉาริษยาใคร เห็นเขาได้ดีเราก็ไม่อิจฉาเขา เรายินดีกับความดี ถ้าเขาทำเป็นที่ไม่ถูกใจเราก็เฉย คิดว่าเขาจะชั่วก็ให้ชั่วแต่ตัวของเขา เราไม่ชั่วด้วย อันนี้เป็นอารมณ์ของปัญญา อารมณ์ของปัญญาต้องไปล้วงเอา เมตตา ความรัก กรุณาความสงสาร เข้ามาควบ ศีลจึงจะปรากฏ คือในศีลข้อที่ ๑ หรือทุกข้อนั่นแหละ ศีลทุกข้อจะต้องมี พรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน จึงจะมีศีลบริสุทธิ์ นี่เราว่าใน ศีลบารมี เพื่อความเป็นอรหันต์

    ทีนี้มาถึง ศีล ข้อที่ ๑ ถ้าเราละเมิดล่ะจะเป็นอย่างไร ถ้าเราปราศจากความเมตตาปรานี เป็นคนใจร้ายประทุษร้ายเขา อยากจะฆ่าเขา ถ้าเราทำกับสัตว์ตัวเล็กๆ มันก็จะต้องหมายถึงเรารอผลชาติหน้า หรือว่าฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ มันก็ต้องรอผลชาติหน้า แต่ผลของชาตินี้ที่เรามองไม่เห็นก็คือความเลวของจิต มีอารมณ์อำมหิต มีความโหดร้าย เรามองกันไม่ค่อยเห็น เราจะมองเห็นกันได้แต่เฉพาะที่ต้องทำกับสัตว์ที่สนองเราได้ นั่นหมายความว่า เราจะต้องพบกับคู่ต่อสู้ของเรา

    ทีนี้เราก็ลองมาทำกับคนบ้าง ทีแรกเรามีความเมตตา เรามีความรัก เจอะหน้าใครเราก็ยิ้มแย้มแจ่มใสยกมือไหว้ มันของไม่ยากความดี เราอยากจะให้คนไหว้เราไม่ยาก เรายกมือไหว้เขา เขาก็ยกมือไหว้เรา ยิ้มให้เขา เขาก็ยิ้มให้เรา พูดวาจาไพเราะให้เขา เขาก็พูดวาจาไพเราะให้เรา เป็นอันว่าถ้าหากว่าเราทำตามนั้น ลองนึกดู สำหรับตัวเรา ถ้าเขามาทำกับเราอย่างนั้น จิตใจของเราจะมีความรู้สึกยังไง เจอหน้าคน คนไหว้ เจอหน้าคน เขายิ้มให้ เจอหน้าคน เขาพูดจาอ่อนหวาน จิตใจของเรามีความสุขหรือจิตใจของเราจะมีความทุกข์ ตอนนี้ต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดี

    มาดูอีกตอนหนึ่ง มาดูลักษณะตรงข้าม ถ้าเราเจอหน้าใคร ใครเขาก็ด่าเรา พบหน้าเขา เขาก็ชกหน้าเรา เป็นอันว่าเราจะมีความรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาด่าเรา ถ้าเรากำลังใจไม่ดีพอ ถ้าไม่ถึงอนาคามี เราก็ไม่ชอบใจ แต่ถ้าเขามาตีเรา มาชกหน้าเรา มาทำร้ายเรา เราก็ไม่ชอบใจเหมือนกัน อารมณ์ประเภทนั้นมันเป็นอารมณ์ของความสุขหรืออารมณ์ของความทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่าแม้แต่ศีลข้อที่ ๑ ถ้าเราละเมิดมันก็จะพบความทุกข์อย่างมหันต์

    แล้วทีนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป เราควรจะเป็นคนมีศีลหรือคนไม่มีศีล เจอะหน้ากันยิ้มเข้าหากันดี หรือบึ้งเข้าหากัน เจอหน้ากันพูดดีเข้าหากัน หรือว่าด่ากันดี เจอหน้ากันต่างคนต่างอ่อนน้อมแสดงความเคารพซึ่งกันและกันดี หรือว่าชกหน้ากันดี ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ท่านก็จะต้องตอบว่า พบหน้ากันยิ้มเข้าหากันนั่นแหละดี หรือว่ามีการอ่อนน้อมซึ่งกันและกันนั่นแหละดี พูดจาอ่อนหวานซึ่งกันและกันนั่นแหละดี นี่เราก็มองเห็นชัดๆ ถ้าเรามีศีลแล้ว อารมณ์ใจก็จะมีความสุข

    ศีลจะมาจากไหนได้ต้องไปหาเหตุ การสร้างความดีในพุทธศาสนาต้องมีเหตุและมีผล ไม่ใช่ว่ามานั่งๆ อยู่จะรู้สึกว่ามีศีล ฉะนั้น ตอนเย็นจะให้เปิดพระวินัยให้ฟังกันอยู่เสมอ สำหรับพระจะได้เข้าใจในเรื่องการปฏิบัติ ฉะนั้น ขอท่านผู้ใช้ขยายเสียงตามสาย ตอนเย็นทุกเย็นจะต้องใช้ระเบียบและวินัยทุกวัน อย่าเว้น ที่จะให้ฟังอย่างเดิมไม่ได้หมายต้องการให้เบื่อ เปิดให้ฟังอยู่เสมอก็ไม่แน่ว่าท่านจะปฏิบัติได้ครบถ้วน ถ้ายังอยู่วัดนี้ปฏิบัติวินัยไม่ครบถ้วน ก็วงเล็บไว้ได้ว่าตายลงเอวจี

    วันนี้ว่ากันถึงศีลข้อที่ ๑ มันก็ไม่จบ เรามาดูเหตุดูผลว่าการปฏิบัติศีลนี่ดี ดีกว่าละเมิดศีล แล้วทำไมจึงต้องปฏิบัติในศีล มันก็ต้องมานั่งคิดดูว่าชีวิตเราที่เกิดมานี้ ว่ามันจะทรงตัวอยู่ตลอดกาลตลอดสมัยไหม นั่งมองหาความจริงว่า คนที่เขาเกิดมาก่อนเราตายไปบ้างแล้วมีหรือเปล่า แล้วคนที่เกิดมาพร้อมกับเราตายไปบ้างมีหรือเปล่า คนเกิดทีหลังเราตายไปมีบ้างหรือเปล่า ก็ต้องทราบว่ามี

    แล้วก็มานั่งดูชีวิตินทรีย์ว่าร่างกายของเรามันแก่เป็นไหม มันป่วยไข้ไม่สบายเป็นไหม แล้วมันตายเป็นไหม เคยคิดถึงความตายบ้างไหม ถ้าหากว่าท่านไม่นึกถึงความตายในแต่ละวัน ก็จัดว่าเป็นคนที่เลวที่สุดในเขตของพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความตายมีแก่เราทุกขณะลมหายใจเข้าออก เป็นอันว่าวันนี้เรื่องของศีลข้อที่ ๑ ไม่จบเพราะมันหมดเวลา เป็นอันว่าการศึกษาใน ศีลบารมี วันนี้ก็ขอยุติเท่านี้ ฉะนั้น ต่อจากนี้ไปขอให้ท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าท่านจะเห็นว่าเวลานั้นสมควรจะพัก
    จากหนังสือเร่งรัดการปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top">ศีล ๕ <hr size="1"></td> </tr> <tr> <td valign="top">๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
    ๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ
    ๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>ศีล ๘ <hr size="1"></td> </tr> <tr> <td> ๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
    ๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี
    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ
    ๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    ๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
    ๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
    ๘. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย

    อุโบสถศีล


    ศีลที่รักษาเป็นอุโบสถ หรือศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบาสกอุบาสิกาสมาทานรักษาเป็นการจำศีลในวันพระ คือขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>ศีล ๑๐ <hr size="1"></td> </tr> <tr> <td> ๑. เว้นจากการทำลายชีวิต
    ๒. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากการร่วมประเวณี
    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ
    ๕. เว้นจากของเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    ๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป
    ๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์
    ๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง
    ๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย
    ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน

    * สำหรับหัวข้อ ศีล ๒๒๗ จักกล่าวต่อไปโดยละเอียดในหัวข้อ ปาฏิโมกขสังวรศีล ในส่วน ธรรมะคำสอน

    </td> </tr> <tr> <td><hr size="1">
    จากพจนานุกรมพุทธศาสน์
    </td></tr></tbody></table>
     
  8. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    คนเยอะมากๆเลยครับรถก็ติดมากครับ แต่ผู้คนมีแต่รอยยิ้มครับ ชุมชนไหนอยู่ใกล้วัดไหนก็จะช่วยวัดนั้นทำเข้าประกวดกันครับ ทำให้ชุมชนและวัดรวมถึงเยาวชนเกิดความรักใคร่สามัคคีกันครับ เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจริงๆเลยครับ บางวัดก็ใช้ขวดน้ำพลาสติกมาทำ บางวัดใช้แผ่นซีดีมาทำ บางวัดใช้ต้นกล้วยแกะเป็นลายดูแล้วสวยงามดีครับ ฝีมือช่างล้วนๆหุหุหุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02995.JPG
      DSC02995.JPG
      ขนาดไฟล์:
      841.8 KB
      เปิดดู:
      96
    • DSC02996.JPG
      DSC02996.JPG
      ขนาดไฟล์:
      903.4 KB
      เปิดดู:
      109
    • DSC02997.JPG
      DSC02997.JPG
      ขนาดไฟล์:
      863.6 KB
      เปิดดู:
      119
    • DSC02999.JPG
      DSC02999.JPG
      ขนาดไฟล์:
      868.1 KB
      เปิดดู:
      108
    • DSC03000.JPG
      DSC03000.JPG
      ขนาดไฟล์:
      886 KB
      เปิดดู:
      99
    • DSC03001.JPG
      DSC03001.JPG
      ขนาดไฟล์:
      869.4 KB
      เปิดดู:
      87
    • DSC03002.JPG
      DSC03002.JPG
      ขนาดไฟล์:
      903.9 KB
      เปิดดู:
      125
    • DSC03003.JPG
      DSC03003.JPG
      ขนาดไฟล์:
      854.2 KB
      เปิดดู:
      102
    • DSC03004.JPG
      DSC03004.JPG
      ขนาดไฟล์:
      835.8 KB
      เปิดดู:
      118
    • DSC03005.JPG
      DSC03005.JPG
      ขนาดไฟล์:
      860.4 KB
      เปิดดู:
      100
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ในการขึ้นพระกรรมฐาน ก็คือการสมาทานพระกรรมฐาน เป็นการแสดงว่าจะเข้ามาปฏิบัติในธรรมปฏิบัติ ด้านปรมัตถปฏิบัติในเขตพระพุทธศาสนา เพราะว่าการบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนานี้มี ๓ ขั้นคือ

    ๑.
    ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    ๒.
    สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    ๓.
    ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

    ในการบำเพ็ญกุศลแต่ละขั้น ย่อมมีอานิสงส์ไม่เสมอกัน แต่ว่าทั้ง ๓ ประการนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัทต้องทำควบคู่กันไปเสมอ เช่น ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน อย่างที่ท่านพุทธบริษัทนำเอาสิ่งของทั้งหลายมาถวาย สังฆทาน จัดว่าเป็น ทานมัย การสมาทานศีล จัดเป็น สีลมัย การเจริญพระกรรมฐาน เป็น ภาวนามัย

    สำหรับการอานิสงส์ย่อมต่างกันคือ ทานมัย เป็นปัจจัยให้เกิดในกามาวจรสวรรค์ และก็ เป็นปัจจัยให้เกิดโภคสมบัติมาก ปราศจากความยากจนเข็ญใจ และเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่สนับสนุนให้เข้าสู่พระนิพพานได้เร็ว คือเป็นปัจจัยทำลายความโลภ สีลมัย เป็นการปฏิบัติอุกฤษฏ์ขึ้นมาจาก ทานมัย อันดับหนึ่ง คือมาควบคุมจริยาทาง กาย วาจา และควบคุมใจในอันดับต่ำ ต้องอาศัยมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน จึงจะปฏิบัติ สีลมัย ได้ครบถ้วน ฉะนั้น สีลมัย จึงเป็นปัจจัยกำจัดโทสะ และพยาบาท

    ทีนี้ถ้าหากว่าทรง สีลมัย หรืออารมณ์ที่เข้าสูงสุดจัดเป็นอารมณ์ของฌาน ก็จัดว่าสามารถเกิดเป็นพรหมได้ สำหรับ ภาวนามัย นี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำให้ถึงที่สุด ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน

    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>ศีล นี่เขาแปลว่าปกติ ทำใจให้มันปกติเสียก่อน ไอ้การคิดจะไปฆ่าเขา ไปลักขโมยเขา แย่งคนรักของเขา โกหกเขา กินเหล้าเมายานี่ใจมันไม่สงบ เราต้องเป็นปกติ และใจเป็นปกติ .. รวมความว่าอันดับแรก ต้องปรับปรุงใจให้มีศีลเสียก่อน ถ้ามีศีลแล้ว อารมณ์ก็สงบจากอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์สงบจากอารมณ์ชั่วจิตก็เป็นสมาธิ คืออารมณ์ความดีทรงตัว คำว่า "สมาธิ" นี่เขาแปลว่า การตั้งใจ จะตั้งใจให้จิตมันอยู่ในด้านของความดี ตัวนี้มันก็เป็นสมาธิ สมาธิเกิดเพราะศีลบริสุทธิ์ เมื่อสมาธิมันเกิดขึ้น จิตก็มีความเยือกเย็น ความวุ่นวายของจิตไม่มี เมื่อจิตมีความเยือกเย็น ตัวปัญญามันก็เกิด</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>๏ การเจริญความดีในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าต้องมี ศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นตัวทำลายเหตุของความทุกข์ ได้แก่ สมุทัย คือทำลาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ท่านบอกต้องใช ้มรรค ๘ มรรค ๘ ย่อลงมาเป็น ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ๏ วิปัสสนาภาวนา จะต้องควบทั้ง ศีล สมาธิ และปัญญา ปัญญานี่เรียก "วิปัสสนาภาวนา" สมาธิเขาเรียก "สมถภาวนา" อย่าไปนั่งเถียงกันนะ คือคนเราจะเจริญวิปัสสนาญาณล้วนน่ะไม่ได้ ไม่มีทาง วิปัสสนาญาณล้วนเป็นการคิดตัดกิเลส ใครคิดตัดกิเลสถ้าไม่มีอารมณ์สมถภาวนาคุมไม่มีผลเลย ที่เขาบอกว่าที่นี่ไม่มีสมถะ ที่นี่มีแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ก็จงอย่าเชื่อเลย ไม่มีที่ไหนเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวได้ เพราะว่าอารมณ์ที่คุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านตัวนั้นแหละสมถะ แต่บางทีท่านผู้ปฏิบัติท่านจะไม่รู้จักเท่านั้นเอง คือ "สมถะ" แปลว่า อุบายเป็นเครื่องสงบใจ

    อาการอย่างใดก็ตามที่เราบังคับใจให้มันอยู่ในขอบเขตการพิจารณา อารมณ์ใจที่อยู่ในขอบเขตการพิจารณานั่นคือตัว สมถภาวนา ตัวที่ใช้ปัญญาพิจารณาขันธ์ ๕ หรือสภาวะต่างๆ ให้เกิดความรู้สึกว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็น อนัตตา อันนี้เป็นตัววิปัสสนา มันอยู่คู่กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าจิตจะทรงตัวอยู่ได้ต้องมีศีลควบคุม ถ้าไม่มีศีลควบคุม จิตจะรวมตัวเข้าเป็นสมาธิไม่ได้เลย
    </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td><hr size="1"></td> </tr> <tr> <td><table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle" width="35%">บรรดากลิ่นหอมทั้งหลาย เช่นกลิ่นของไม้จันทน์
    กฤษณา อุบล และมะลิเป็นต้น
    กลิ่นแห่งศีลเป็นเยี่ยม
    </td> <td align="center" valign="middle">
    [​IMG]
    </td> <td align="center" valign="middle" width="35%">กลิ่นกฤษณาและจันทน์เป็นกลิ่นเล็กน้อย
    ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลเป็นกลิ่นสูงสุด
    ย่อมฟุ้งไปแม้ในหมู่เทพ
    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td><hr size="1"></td> </tr> </tbody></table> <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>๏ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกฝ่าย ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ทุกวันทุกเวลาให้ พยายามชำระจิตใจของท่านให้บริสุทธิ์หมดจดด้วยกำลังของศีล นึกดูให้ดีว่า ศีล ที่เราจะต้องศึกษา มีกี่สิกขาบท ฉะนั้นทุกสิกขาบท จะต้องผ่องใสอยู่เสมอ สำหรับพระถ้าสิกขาบทตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ลงมา เวลาก่อนจะนอนก่อนจะหลับก็ควรจะพิจารณาว่า ตั้งแต่เช้าถึงวันเวลานี้มีสิกขาบทใดบ้างที่เราบกพร่อง เมื่อบกพร่องก็ไปแสดงกับเพื่อนพระ คำแสดงกับเพื่อนก็ควรบอกเป็นภาษาไทยดีที่สุด ว่าวันนี้เราละเมิดจิตเราละเมิดสิกขาบทใดสิกขาบทหนึ่งตามที่เราทราบ และขอให้สัญญานับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผมจะไม่ทำอย่างนี้อีก ผมจะไม่พูดอย่างนี้อีก ผมจะไม่คิดอย่างนี้อีก ตั้งจิตไว้ในขอบเขตของ จรณะ ๑๕ ประการ
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>จรณะ ๑๕</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top" width="17%"> ๑. สีลสัมปทา
    ๒. อินทรียสังวรณ์
    ๓. โภชเนมัตตัญญุตา
    ๔. ชาคริยานุโยค
    ๕. ศรัทธา
    ๖. หิริ
    ๗. โอตตัปปะ
    ๘. พาหุสัจจะ
    ๙. วิริยะ
    ๑๐. สติ
    ๑๑. ปัญญา
    ๑๒. ปฐมฌาน
    ๑๓. ทุติยฌาน
    ๑๔. ตติยฌาน
    ๑๕. จตุตถฌาน
    </td> <td valign="top" width="83%">ถึงพร้อมด้วยศีล คือปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
    สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ
    รู้ความพอดีในการกิน รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
    ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนบริบูรณ์
    มีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า มีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลื่อบแคลงสงสัย
    มีความละอายต่อบาป ละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    มีความเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    มีความทรงจำของผู้มีสมาธิดีอยู่เป็นปกติ สั่งสมวิชาการต่างๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
    มีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
    มีสติสมบูรณ์
    มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการที่ได้ศึกษา และรู้แจ้งในอริยสัจ
    ได้ฌานที่ ๑
    ได้ฌานที่ ๒
    ได้ฌานที่ ๓
    ได้ฌานที่ ๔
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table>
    <table align="center" border="0" width="100%"> <tbody><tr align="center" bgcolor="#99ccff" valign="middle"> <td>คนที่พูดเท็จเสมอและคนที่ได้ทำไปแล้ว
    แต่พูดว่าฉันไม่ได้ทำ ก็ตกนรกเหมือนกัน
    มนุษย์ทั้งสองจำพวกนี้ ตายไปแล้ว
    มีกรรมชั่วติดตัวไปเหมือนกัน ในโลกหน้า
    </td> <td>ผู้ที่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์มีเป็นจำนวนมาก
    ที่ประพฤติชั่ว ไม่สำรวม คนชั่วเหล่านั้น
    ย่อมตกนรก เพราะกรรมชั่วของตน
    </td> <td>กลืนก้อนเหล็กแดงที่ร้อนลุกเป็นไฟ
    ยังดีกว่าการเป็นผู้ทุศีลไม่สำรวม
    และบริโภคอาหารบิณฑบาตของชาวบ้าน
    </td> </tr> <tr align="center" bgcolor="#99ccff" valign="middle"> <td>หญ้าคาที่จับไม่ดีย่อมบาดมือได้ฉันใด
    ชีวิตพรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติไม่ดี
    ย่อมดึงลงสู่นรกได้ ฉันนั้น
    </td> <td>ทำอะไรหละหลวม มีข้อวัตรปฏิบัติเศร้าหมอง
    ประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่เต็มใจ
    ปฏิปทาเช่นนี้ไม่เป็นไปเพื่อผลอันไพศาล
    </td> <td>ถ้าจะกระทำ ก็จงกระทำจริงๆ
    และพยายามมั่นคงจริงๆ
    เพราะเพศบรรพชิตที่หละหลวม
    รังแต่จะเกลี่ยธุลีคือกิเลสใส่ตัว
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="top"> ๏ การปฏิบัติตนเพื่อหนีนรก หากต้องการเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวไปนิพพานได้เลย ท่านให้ปฏิบัติตามนี้คือ "ให้รักษาอารมณ์เดิมที่ปฏิบัติในตอนที่ ๑ ไว้ให้คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง และให้ปฏิบัติเพิ่มเติมจาก ศีล ๕ เป็น กรรมบถ ๑๐ ดังต่อไปนี้"

    ๑. เจริญมรณานุสสติ คือคิดว่าชีวิตเรานี้อาจจะตายวันนี้ไว้เป็นปกติ เมื่อตื่นจากที่นอนตอนเช้ามืด
    ๒. เมื่อคิดว่าเราอาจจะต้องตาย เราไม่ทำความชั่วในวันนี้ และใช้ปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ให้เข้าใจในความดีของท่านจริงๆ ไม่สงสัยต่อไป ยอมรับนับถือท่านด้วยความเคารพด้วยความจริงใจ
    ๓. รักษากรรมบถ ๑๐ ประการให้ครบถ้วน

    กรรมบถ ๑๐

    กายกรรม
    ทำทางกาย ๓ ประการ
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นฆ่าแล้ว
    ๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาติด้วยตนเอง ไม่ยุให้คนอื่นถือเอา และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของเขาแล้ว
    ๓. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามี ของผู้อื่น ไม่ยุคนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดแล้ว
    ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นการปฏิบัติทางกาย ให้ละเว้นโดยเด็ดขาด

    วจีกรรม
    กล่าวทางวาจา ๔ ประการ
    ๑. ไม่พูดวาจาที่ไม่เป็นความจริง
    ๒ . ไม่พูดวาจาหยาบคายให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง
    ๓ . ไม่พูดวาจาส่อเสียด ยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น
    ๔ . ไม่พูดจาที่ไม่มีประโยชน์ คือวาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์จะไม่พูดวาจานั้น
    ทั้ง ๔ ประการนี้ จะไม่พูดเองด้วย ไม่ยุให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้วด้วย

    มโนกรรม
    คือการคิดทางใจ ๓ ประการ
    ๑ . ไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น โดยที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ด้วยความเต็มใจ คือไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกง เป็นต้น
    ๒ . ไม่คิดจองล้าง จองผลาญ จองเวร จองกรรม ผู้ใด คือไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุกๆ กรณีนั่นเอง
    ๓ . มีความเห็นตรงต่อคำสอนพระพุทธเจ้า ไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์ และปฏิบัติตามจนมีผลตามที่ต้องการ
    ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ๓ ประการนี้ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้ว

    จากหนังสือหนีนรก หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#99ccff"> ๏ อารมณ์ของความชั่ว คืออารมณ์ที่ชอบทำลายศีลด้วยตัวเอง หรือว่ายุชาวบ้านให้เขาทำลายศีล เมื่อเห็นบุคคลอื่นทำลายศีลแล้วดีใจว่า เขาไม่รักษาศีล ทำลายศีลเสียได้ก็ดี อารมณ์ชั่วอย่างนี้อย่าให้มี เราจะต้องควบคุมว่า เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตัวเอง ศีลของใครมีเท่าไรรู้ไว้ด้วย เราจะไม่คิดยุยง ให้คนอื่นทำลายศีล เราจะไม่ดีใจในเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว

    ๏ ท่านพร่องในศีลด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปีที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ

    ๏ ตั้งใจกำหนดรักษาศีลจนรักศีลยิ่งกว่าชีวิต โดยกำหนดจิตรักษาศีลโดยมั่นคง อย่านั่งคิดนอนตรองเฉย ๆ ต้องรอการประสบการณ์ด้วย เมื่อประสบการณ์เกิดขึ้นจนคิดว่า นี่ถ้าเป็นในกาลก่อนแต่นี้ ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้ปรากฏ เราเห็นจะยั้งใจไม่ไหว แต่นี่ถูกรุกรานขนาดนี้ อารมณ์ใจยังแจ่มใสเสมือนไม่มีอะไรมากระทบใจ ถ้าอารมณ์จิตใจเป็นอย่างนี้ จัดว่าพอใช้ได้แล้ว

    ๏ เราสมาทานศีลจงตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ อย่าสักแต่ว่าสมาทาน แล้วการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่เฉพาะเวลานี้ ถือว่าการสมาทานศีลครั้งแรกในชีวิต เราก็ต้องรักษากันไปตลอดจนวันตาย อย่างนี้จึงจะชื่อว่าใช้ได้ รวมทั้งพระเณรก็เหมือนกัน การเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ย่อมเป็นปัจจัยตัดความเดือดร้อน เรามีศีลบริสุทธิ์นึกถึงศีลเป็นปกติ พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นผู้เจริญ สีลานุสสติกรรมฐาน

    </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>๏ ถ้าจิตของเราทรงอยู่ใน พรหมวิหาร ๔ ศีลจะบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ รู้จักอายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว
    ๏ เมื่อมีศีลเป็นปกติแล้ว ก็พยายามกำจัดนิวรณ์ ๕ ประการ แล้วทรงฌานตามที่ได้ศึกษา โดยมีพรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์ คอยควบคุมรักษาจิตใจให้ชุ่มชื่น เป็นการประคับประคองศีลและฌานสมาบัติผ่องใสไม่บกพร่อง ระดับของสมาธิที่จะทรงฌาน ทรงญาณให้ดีเด่นบริบูรณ์ไม่่บกพร่องต้องทำอย่างนี้
    ๏ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแนะนำให้วางนินทาและสรรเสริญทั้งสองประการเสีย ใครเขาจะว่าอย่างไรก็ช่าง ดูใจของเราว่ามันดีหรือมันชั่ว ดูใจของเราว่ามีพรหมวิหาร ๔ หรือเปล่า ศีล บริสุทธิ์ไหม จิตว่างจาก นิวรณ์ ไหม จิตเราเกาะอยู่ใน ขันธ์๕ ไหม จิตยังหวั่นไหวต่อนินทา และสรรเสริญไหม ถ้าเป็นอย่างนี้เราเลว

    ๏ นักบวชที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นบัณฑิต ก็คือท่านนักบวชที่ต้องทรงความดี ๓ ประการคือ

    ๑. อธิศีลสิกขา รักษาศีลบริสุทธิ์
    ๒. อธิจิตสิกขา ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ฌาน
    ๓. อธิปัญญาสิกขา มีวิปัสสนาญาณยอมรับนับถือกฎของธรรมดา

    แล้วก็มีจิตใจมุ่งปรารถนาอย่างเดียวคือ ความดับไม่มีเชื้อ หมายความว่าดับกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ถึงแม้ว่าท่านจะยังดับกิเลสไม่หมด แต่ยังมุ่งเพื่อการดับกิเลส ปฏิบัติอยู่ในศีลดี สมาธิดี มีจิตใจดี ตามอารมณ์ของวิปัสสนาญาณ ไม่เมาในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ ได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์

    </td> </tr> </tbody></table>
    การมีศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
    การมีศีลเป็นปัจจัยให้มีความเจริญในโภคทรัพย์
    การมีศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย


    จากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ. อุทัยธานี

     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    เยี่ยมมากครับ

    คนไทย ต้องช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคไหน เืพื่อลูกหลานคนไทยครับ


    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เห็นสีสัน และ การตกแต่ง ไม่บอกก็ทราบว่า อยู่ภาคใต้

    สีสัน การตกแต่ง ในแต่ละภาค จะมีเอกลักษณ์ของตนเองจริงๆ

    [​IMG]

    ชอบครับ

    น่าจะมันคนเดียวแน่เลย


    .
     
  12. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งถึงแม้อากาศจะร้อนแต่คนที่ไปจะต้องเปียกหมดทุกคนครับ เพราะเวลาเราทำบุญเอาเงินใส่ในบาตร พระท่านจะพรมน้ำมนต์ให้ หลายวัดมากครับคนที่ไปเลยโชคดีได้พรมน้ำมนต์หลายวัดเลยครับ ส่วนชาวบ้านที่ไปช่วยงานของวัดต่างๆต่างช่วยกันนับเหรียญให้กับวัดรวมถึงช่วยเอาบาตรมาให้คนทำบุญเห็นแล้วยิ้มตามๆกัน ยิ้มเพราะอะไรไปดูในรูปเอานะครับพี่ๆทุกท่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC03009.JPG
      DSC03009.JPG
      ขนาดไฟล์:
      855.1 KB
      เปิดดู:
      75
    • DSC03011.JPG
      DSC03011.JPG
      ขนาดไฟล์:
      880.5 KB
      เปิดดู:
      86
    • DSC03012.JPG
      DSC03012.JPG
      ขนาดไฟล์:
      897.5 KB
      เปิดดู:
      84
    • DSC03013.JPG
      DSC03013.JPG
      ขนาดไฟล์:
      840.2 KB
      เปิดดู:
      81
    • DSC03014.JPG
      DSC03014.JPG
      ขนาดไฟล์:
      911.2 KB
      เปิดดู:
      77
    • DSC03016.JPG
      DSC03016.JPG
      ขนาดไฟล์:
      837.4 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSC03017.JPG
      DSC03017.JPG
      ขนาดไฟล์:
      883.7 KB
      เปิดดู:
      81
    • DSC03018.JPG
      DSC03018.JPG
      ขนาดไฟล์:
      922.8 KB
      เปิดดู:
      78
    • DSC03020.JPG
      DSC03020.JPG
      ขนาดไฟล์:
      823.4 KB
      เปิดดู:
      82
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เต็มที่ครับ

    [​IMG]

    ขอทุ่มสุดตัวเพื่องานบุญ

    สงสารแต่ตอนอาบน้ำ

    เอ่อ เวลาอาบน้ำ ก็ค่อยๆขัดนะครับพี่ สงสารผิวครับ
     
  14. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    คนนี้ผมเห็นทุกปีเลยครับพี่ท่านช่วยวัดนี้ทุกปีเลยครับ คงจะเป็นวัดในชุมชนของพี่เขาครับ เลยทุ่มสุดๆ เวลางานกฐินของวัดพี่แกก็แต่งชุดนี้ไปช่วยเขาเรี่ยไรคนทำบุญครับพี่ท่าน หุหุหุ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ไอเดียบรรเจิดจริงๆ

    เป็นสีสันเล็กๆ ในงาน เยี่ยมมาก


    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    อย่างที่คุยกัน

    ตอนมีแรง ต้องรีบทำบุญ ต้องรีบไปวัด ต้องรีบไปเที่ยว

    เดี๋ยวมีอายุมากๆ ไปไหนไม่ได้ ก็จะลำบาก

    .
     
  17. ปฐม

    ปฐม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ใช้แล้วละครับพี่ท่าน อยากไปไหนถ้าว่างก็ไปเถอะครับ ยิ่งเรื่องทำบุญทำตอนที่ยังมีแรง ไปวัดรึไปไหว้พระที่อยากไปถ้าหมดแรงใครจะพาไปละครับพี่ท่านหุหุหุ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <table class="tborder" border="0" cellpadding="6" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr><td class="thead">ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 23 คน ( เป็นสมาชิก 7 คน และ บุคคลทั่วไป 16 คน ) </td> <td class="thead" width="14%"> [ แนะนำเรื่องเด่น ] </td> </tr> <tr> <td class="alt1" colspan="2" width="100%"> sithiphong, Pinkcivil, somlatri, tuilan+, นายเฉลิมพล, ปฐม</td></tr></tbody></table>
    เมื่อกี้นี้ น้องรุ่ง(พรสว่าง_2008) โทร.มาหา บอกว่า ตอนนี้อยู่กรุงเทพแล้ว มารับการอบรมบ่มนิสัย

    สงสัยว่า นิสัยไม่ดีเหมือนผม ก็เลยต้องมาอบรมอีก อิอิ


    .


    .



    .



    .
     
  19. Pinkcivil

    Pinkcivil เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    425
    ค่าพลัง:
    +1,644
    วันนี้จะขอเล่าเรื่องอนิสงค์ของบุญพระกรรมฐานให้ฟังครับ

    เมื่อวานตอนที่ไปกราบหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ พอไปถึงปรากฏว่าท่านจำวัดอยู่ เรยออกมานั่งรอกับแฟน ระหว่างนั้นก็คุยกับหลวงพี่พระเลขาท่านที่ศาลาเรื่องการจัดงานสมโภชสุพรรณบัฏ ว่ามีอะไรให้ช่วยและทำเมื่อไหร่ อย่างไร จะได้แจ้งให้พรรคพวกคนสนิททราบและร่วมงานด้วย

    ระหว่างที่คุยก็สังเกตเห็นมีคุณป้าสูงอายุแต่งตัวชุดขาว มีคนมาขอให้ทำพิธีอะไรบ้างอย่างที่หน้าโต๊ะหมู่ ก็แอบสังเกตไปคุยไป พอคนกลุ่มนี้ไปก็เรยถามท่านพระเลขาว่า เขาทำอะไรกันเหรอ
    ท่านก็ตอบว่า คุณป้าคนนี้ ท่านมีเซ้นส์ สามารถติดต่อกับเทวดาประจำตัวได้ และสามารถติดต่อกับเจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอทราบวิธีอโหสิกรรมหรือแนวทางการแก้ไขปัญหา ผมเรยให้แฟนลองถามดูเล่นๆ ระหว่างรอหลวงพ่อตื่น

    คุณป้าก็ให้จุดธูปอนุญาตเทวดาประจำตัว และจุดธูปบอกท่านพระยายม แล้วก็พูดเรื่องของแฟนซึ่งแฟนบอกว่าตรงทีเดียว ทั้งที่ไม่รู้จักกันมาก่อน

    ไฮไลต์อยู่ตรงนี้ครับ ระหว่างนั้นซักพักนึง คุณป้าก็ถามแฟนว่า มีญาตเป็นเด็กที่เสียชีวิตไปแล้วไหม เขามาอยู่ใกล้ๆ บอกว่าเป็นญาติแฟน ลักษณะเด็กน่าสงสารมากเหลือเกิน อายุประมาณ 8-12 ขวบ ตัวเล็กๆ
    แฟนผมนั่งนึก ก็นึกขึ้นได้ว่า มีหลานคนนึง ตายไปตอนเด็กๆ ประมาณนี้ แต่ตายหลายปีมาแล้ว ป้าบอกใช่เรย นี่เด็กเพิ่งขึ้นมาจากนรก สภาพน่าสงสารมากเรย แฟนเริ่มจำได้ บอกว่าเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ได้ไปปฏิบัติธรรม 8 วันเจ็ดคืน ที่วัดพระราม 9 ซึ่งในวันท้ายๆ จะมีการอุทิศบุญที่ได้จากการปฏิบัติ โดยเขียนชื่อญาติที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อให้ผู้ปฏิบัติ อุทิศบุญไปให้ ตอนนั้นแฟนก็นึกถึงหลานคนนี้ เพราะเป็นเด็กที่ช่วยเลี้ยงมาตอนเล็กๆ เรยเขียนชื่อใส่ไปพร้อมอุทิศบุญไปให้ด้วย พอแฟนนึกได้นี่ขนลุกซู่เรยครับ อันนี้คงเป็นผลบุญที่ทำและหลายๆคนได้อุทิศบุญจากการปฏิบัติ จึงทำให้หลานได้ขึ้นมาจากนรกได้

    คุณป้าได้แนะนำต่อเนื่องจาก เด็กไม่มีเสื้อผ้าใส่และลำบากมากก็เรย ทำบุญถวายผ้าไตรจีวร พระพุทธรูปและสังฆทานให้พระท่านทันที และอุทิศให้หลาน ซึ่งหลังจากทำเสร็จ ป้าแกดูให้ ปรากฏว่าเด็กมีเสื้อผ้าใส่ สีหน้าแจ่มใสขึ้น ทันที ถามคุณป้าว่าผมเป็นใคร แกไม่รู้จัก เนื่องจากสมัยที่แกตาย ผมยังไม่ได้เจอกับแฟนเรย จากนั้นคุณป้าก็ถามท่านพระยายมเนื่องจากทราบว่าเด็กต้องกลับลงไปอีก เรย ขอให้แฟนทำบุญพระนั่งตักเท่ากับหน้าตักเด็ก ก็ประมาณ 14 นิ้ว โดยให้ถวายให้วัดต่างจังหวัดพร้อมติดชื่อเด็กที่หน้าฐานพระ ทำพร้อมสังฆทานเพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องกลับลงไปในนรกอีก

    ก็เป็นเรื่องแปลกที่เจอมากลับตัวเมื่อวานเองอ่ะครับ ทำให้เห็นจริงว่าบุญพระกรรมฐานยิ่งใหญ่เพียงใด ตอนคุณแม่ผมป่วยผมก็โทรไปขอคุณลุงที่รู้จักให้ท่านช่วยอุทิศบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรของคุณแม่ ซึ่งหลังจากทำ คุณแม่ก็ดีขึ้น แต่คุณลุงบอกผมว่า เจ้ากรรมนายเวรคุณแม่ให้ผมนั่งกรรมฐานอุทิศให้ด้วย ช่วงนี้ก็เรยกลับมานั่งใหม่ หลังจากที่ขี้เกียจมานาน อาศัยสวดมนต์ไหว้พระอย่างเดียวอ่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2010
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    โมทนาสาธุครับ

    พี่ใหญ่ สั่งให้เล่นลม สั่งมาให้ทำอย่างน้อยวันละ 5 นาทีก็ยังดี

    เล่นลมที่ว่านี้ คือ อานาปานสติ

    และทำได้ในทุกอริยาบท

    และบอกผมว่า พระพุทธองค์ทรงบอกกับพระอานนท์ว่า คถาคตเจริญอานาปานสติตลอดเวลา


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...