ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    อะไรที่เป็นทุกข์ ก็ล้วนเป็นอนัตาทั่งสิ้น
    ที่บุคคล3ไม่พูดว่า เมื่อเห็นอนัตตาเเล้ว ต้องรู้ว่าไม่ใช่เรา ไม่่ของเรา เพราะอ่านธรรมไม่หมด
    เนื่องอาการเมาธรรมด้วย มันก็จะจบด้วยยึด อนัตตา ว่าเป็นเรานั้นเอง
    เมื่อไม่รู้อย่างนี้ ต่อให้เเก้วมันเเตกคาตา ก็ไม่รู้อุบายนิสรานะออกจาก ไตรลักษณ์ ย่อมไม่พ้นทุกได้
     
  2. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    หลวงพ่อชา เกริ่นขึ้นมาเรื่องแก้ว ท่านก็จี้ลงไปอยู่แล้ว ลำพังแก้วมันมีทุกขัง
    ของมันแต่แรก หากเห็นตามความเป้นจริง คนๆนั้น ก็จะไม่กล่าวว่า มีแก้ว อยู่
    เด็ดขาด มันจะละลายไปจากการยึดจับ สัญญาวปลาสแล่นไปสู่การถือเอา
    ว่ามี แล้วเอาอัตตาไปเสริฟว่าของกู ขึ้นมา
    ^

    คิดว่าทุกอย่างขาดสูญ จะมาทำนองนี้
    เเล้วพวกนี้อาจจะคิดว่า กรรมดี กรรมชั่วไม่มี
    ซึ่งมันจะโน้มการสุตโต่ง ว่าอะไรๆไม่มี ลงไปนรก
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ก็ศึกษาอย่างละเอียดไป ละเอียดไป ก็ดี....ก็ไม่มีแก้วหรือมีแก้วละไว้..(ท่านแย้มไว้ว่า มีทุกขัง ทุกข์สัจไว้แต่แรก)..จึงพิจารณา ลงไป ใน ความเป็น ธาตุ เป็นขันธิ์5 เป็นอายตนะ เป็นปฎิจสมุปบาท....อะไร อะไร ก็----เรื่อยเลย คุณนี่:cool:......สนทนาธรรม คง จะให้ใครเข้าใจอย่างไร นะ ยาก...มันเป็นเรื่อง ปัจจัตตัง....แล้วเลิกโยน ครี่ ให้ คนอื่น ก็ดี นะ:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    หลวงพ่อชา เกริ่นขึ้นมาเรื่องแก้ว ท่านก็จี้ลงไปอยู่แล้ว ลำพังแก้วมันมีทุกขัง
    ของมันแต่แรก หากเห็นตามความเป้นจริง คนๆนั้น ก็จะไม่กล่าวว่ามีแก้ว อยู่
    เด็ดขาด มันจะละลายไปจากการยึดจับ สัญญาวปลาสแล่นไปสู่การถือเอา
    ว่ามี แล้วเอาอัตตาไปเสริฟว่าของกู ขึ้นมา

    ^
    ^
    เอาธรรมโลกุตระไปใครคร่วญสัก1อาทิตย์. พอได้คำตอบค่อยมาพูดใหม่

    สัมมาทิฏฐิมีด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า
    ดูก่อนกัจจานะ สัตว์โลกนี้อาศัยเเล้วซึ่งส่วนสุตทั้ง2โดยมากคือ ความมี ความไม่มี
    ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุตว่าความไม่มี ย่อมไม่มีเเก่บุคคลผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตรงตามจริงคือความเกิดขึ้นแห่งโลก
    ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุตว่า ความมี ย่อมไม่มีเเก่บุคคลผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง ซึ่งธรรมคือความดับไม่เหลือเเห่งโลก
    ดูก่อนกัจจานะ สัตว์โลกนี้โดยมากถูกผูกพันแล้วด้วย ตัณหา อุปทาน ทิฏฐิ เเต่อริยสาวกนี้ไม่เข้าถึงไม่ถือเอา ไม่ถึงทับซึ่งตัณหาและอุปทาน อันเป็นเครื่องถึงทับแห่งใจ อันเป็นอนุสัยแห่งทิฏฐิว่า อัตตาของเราดังนี้
    ย่อมไม่สงสัย ย่อมไม่สังเลในข้อที่ว่า เมื่อจะเกิดทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น เมื่อจะดับทุกข์เท่านั้นที่ดับลง ญานในข้อนี้ย่อมมีเเก่อริยสาวกนั้นโดยที่ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
    ดูก่อนกัจจานะ สัมมาทิฏฐิมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
    ดูก่อนกัจจานะ
    คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิว่าสิ่งทั่งปวงมีอยู่ดังนี้ เป็นส่วนสุตที่1
    คำกล่าวที่ยืนยันลงไปด้วยทิฏฐิ ว่าสิ่งทั่งปวงไม่มีอยู่ดังนี้ เป็นส่วนสุตที่2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................แล้ว เขากล่าวผิดไปที่ใหน....ทุกขืเท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป.....ขันธิ์5คือทุกข์ ไงล่ะ(คือเขาเข้าใจ การเกิดของโลกด้วย ความเป็นอายตนะ (ตาเห็นรูป หรือ โพฐฐัพพะ กับกาย)หรืออายตนะภายนอก+อายตนะภายใน+วิญญาน) หรือ ความเป็นปฎิจสมุปบาท)..อวิชชาปัจจัยสังขาร สังขารปัจจัยวิญญาน..ก็ตรงตามพระสูตร:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้นแห่งทุกขืเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยตาด้วย รูปด้วย จึงเกิดจักขุวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งตา+รูป+จักขุวิญญาน) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัรหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์ ............................................................ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยหูด้วย เสียงด้วย จึงเกิดโสตวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งหู+เสียง +โสตวิญญาน) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัรหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์.........................................ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาสัย จมูกด้วย กลิ่นด้วย จึงเกิดฆานวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งจมูก +กลิ่น+ฆานวิญญาน)ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์..............................ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยลิ้นด้วย รสด้วย จึงเกิดชิวหาวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาน) ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์..................................ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยกายด้วย โพฐัพพะด้วย จึงเกิดกายวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งกาย+โพฐัพพะ+กายวิญญาน)ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป้นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์............................ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยใจด้วย ธรรมารมณ์ด้วย จึงเกิดมโนวิญญานขึ้น การประจวบพร้อม(แห่งใจ+ธรรมารมณ์+มโนวิญญาน)ทั้งสามอย่างนั้น จึงเกิดมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา นี้คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือการก่อขึ้นแห่งทุกข์-----สฬา.สํ.18/106/154.....:cool:
     
  7. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    "ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุตว่า "ความไม่มี"ย่อมไม่มีเเก่บุคคลผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตรงตามจริงคือความเกิดขึ้นแห่งโลก"


    อะไรที่เรียกว่าโลก ตา รูปทั้งหลาย จักษุวิญญาน การประจวบพร้อมเเห่งธรรม3ประการนี้เรียกว่า ผัสสะ. นี่คือโลก
    ฉนั้น คนที่พูดว่า เเก้ว ไม่มีเด็ดขาด (บุคคล๓)
    ไอที่เค้าพูดออกมาเเบบนั้น เค้าหลับตาพูดหรือ?ว่าเเก้วมันไม่มี ถ้าไปถามเด็กอนุบาลอาจจะโดนเด็กตบกระบานก็เป็นได้.
    ความแปรปรวนของเเก้ว มันอาจจะ100ปี แก้วถึงจะเเตก มันก็ใช่ นั้นคือสภาวะ อทีนาวะของมัน
    เเต่เมื่อผัสสะกระทบ. "ความไม่มี". ย่อมไม่มีกับบุคคลผู้นั้น.
    ต่อเมื่อผัสสะจากเเก้วดับไป เช่นไปคิดอดีต อนาคต. เป็นต้น ตอนนั้น เเก้วก็ดับ ผัสสะที่รู้ว่านี้เป็นเเก้วดับไปด้วย ส่วน"ความมี" ว่ามีเเก้ว ย่อมไม่มีเเก้ผู้นั้นอีกเช่นกัน เพราะมันดับไปได้ (ความดับของโลก)
    นี้ก็คือ ความดับไม่เหลือเเห่งโลก(แก้ว).คือการดับของผัสสะ
    เเละ ความเกิดขึ้นของโลก(เเก้ว) คือการเกิดขึ้นของผัสสะ


    สรุปเมื่อจะตอบให้ถูก ต้องตอบเเบบสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุตทั้ง2
    ว่า เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย ทำให้เกิด การจำได้หมายรู้
    เมื่อผัสสะดับไป แก้วก็ดับไป.
    ให้เห็นอย่างนี้ตามเป็นจริงไม่ต้องรอถึง100ปีให้เเก้วตาย เเก้วมันก็เเตกตลอดเวลา เมื่อผัสสะไปสัมผัสขึ้น
    ไม่ต้องรอร่างกายมันจะตายอีก100ปี มันตายทุกวินาที สลับ รูปกับนาม การเกิดดับมีตลอดวันตลอดคืน
    เช่นเดียวกับ กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร. ที่มันทำหน้าที่ของมัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  8. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    อย่าอ่านเเบบจับศัพท์ไปกะเดียงก็เเค่นั้น พระองค์จำเเนกว่าสัมมาทิฏฐิมีอะไรบ้าง มี2ช่วง จะเเตมสีไว้ให้
    ไอที่ฮานาก้าว่ามีสัมมาทิฏฐิมันไปอยู่ไหนหมด? เเล้วอ่านหนะ. อ่านให้มันดีๆอย่ามีปัญหาอีก

    สัมมาทิฏฐิมีด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า
    ดูก่อนกัจจานะ "สัตว์โลกนี้"อาศัยเเล้วซึ่งส่วนสุตทั้ง2โดยมากคือ ความมี ความไม่มี
    ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุตว่าความไม่มี ย่อมไม่มีเเก่บุคคลผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตรงตามจริงคือความเกิดขึ้นแห่งโลก
    ดูก่อนกัจจานะ ส่วนสุตว่า ความมี ย่อมไม่มีเเก่บุคคลผู้เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริง ซึ่งธรรมคือความดับไม่เหลือเเห่งโลก

    ดูก่อนกัจจานะ "สัตว์โลกนี้"โดยมากถูกผูกพันแล้วด้วย ตัณหา อุปทาน ทิฏฐิ เเต่อริยสาวกนี้ไม่เข้าถึงไม่ถือเอา ไม่ถึงทับซึ่งตัณหาและอุปทาน อันเป็นเครื่องถึงทับแห่งใจ อันเป็นอนุสัยแห่งทิฏฐิว่า อัตตาของเราดังนี้
    ย่อมไม่สงสัย ย่อมไม่สังเลในข้อที่ว่า เมื่อจะเกิดทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น เมื่อจะดับทุกข์เท่านั้นที่ดับลง ญานในข้อนี้ย่อมมีเเก่อริยสาวกนั้นโดยที่ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

    ดูก่อนกัจจานะ สัมมาทิฏฐิมีด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    เฮ้อ!!!

    ยังมีอีกหลายแห่ง ขี้เกียจค้น

    ๔. อนิจจสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนิจจัง

    [๑๔๒] ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    สิ่งใดแล เป็นของไม่เที่ยง เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว

    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า?
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นของไม่เที่ยง
    ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย
    ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดีแล้ว
    ดูกรภิกษุ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง
    ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย
    เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด ฯลฯ

    ๕. ทุกขสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์

    [๑๔๓] ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย

    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว

    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า?
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นทุกข์
    ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย
    ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างดีแล้ว
    ดูกรภิกษุ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นทุกข์
    ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย
    เธอพึงทราบอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้เถิด ฯลฯ

    ๖. อนัตตสูตร ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นอนัตตา

    [๑๔๔] ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว

    พ. ดูกรภิกษุ ก็เธอรู้ซึ้งถึงอรรถแห่งคำที่เรากล่าวแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารได้อย่างไรเล่า?
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนัตตา
    ข้าพระองค์ควรละความพอใจในสิ่งนั้นๆ เสีย
    ข้าพระองค์รู้ซึ้งถึงอรรถแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างย่อ โดยพิสดารอย่างนี้แล.

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...............คำว่าส่วนสุด ว่าความไม่มี นั้นแปลว่า มีความเห็นว่า ไม่มีอะไรเพียงอย่างเดียว (คำว่าส่วนสุดไง)..........ส่วนคำว่า ส่วนสุดว่า ความมี ก็ คือเชื่อว่า มันเที่ยงมันมีอยู่ไง.............................พระท่านสอนเรื่อง โลกสมุทัย(เหตุเกิด) และ โลกนิโรธ(เหตุดับ) ก็ คือไม่มีความเชื่อไปในส่วนสุด ทั้งสองไง เพราะ อย่างนี้:cool:
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อานันทสูตร

    ....(ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้)

    [๘๐๒] ครั้งนั้น เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกหลีกไปแล้วไม่นาน
    ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุอะไรหนอ
    พระผู้มีพระภาคอันวัจฉโคตรปริพาชกทูลถามปัญหาแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า
    อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้
    คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นสัสสตทิฐิ


    ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า
    อัตตาไม่มีหรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้
    คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฐิ

    ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ
    ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์ของเรานั้น
    จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบ้างหรือหนอ ฯ

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=18&A=9979&Z=10003&pagebreak=0

    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสไว้ในเรื่องอัตตา ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า
    จะว่าอัตตามี ก็ไม่ได้ เพราะผู้ไม่มีญาณบังเกิดขึ้น ย่อมเห็นเป็นสัสสตทิฐิไปได้
    หรือว่าอัตตา ไม่มีก็ไม่ได้ เพราะ ผู้ที่ไม่มีญาณบังเกิดขึ้น ย่อมเห็นเป็นอุจเฉททิฐิไปได้เช่นกัน

    พระองค์จึงทรงตรัสไว้กับพระอานนท์ดังนี้
    "ดูกรอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ
    ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์ของเรานั้น
    "จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบ้างหรือหนอ ฯ"
    พระพุทธองค์ทรงอนุโลมเพื่อให้รู้จัก"ตน"อันเป็นที่พึ่ง กับ สิ่งที่ไม่ใช่ตน พึ่งพาอาศัยไม่ได้เท่านั้น

    พระนิพพาน ไม่ใช่อัตตา และอนัตตา แต่ต้องกระทำ"ตน"ให้มีที่พึ่งคือพระนิพพาน

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................เขา กล่าวในความหมาย ของบริบทที่ว่า ด้วย ทุกข์สัจ.....เป็นขันธิ์5 แก้วมันจึงกลายเป็นอยู่ใน ขันธิ์ใดขันธิ์หนึ่งที่ผู้รับรู้รู้ มัน จึงแทนด้วย ขันธิ์ แทนด้วย ทุกข์สัจ....มันจึงเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน...แทนคำว่า ตัวตน เขา เรา สัตว์ สิ่งของ.....................:cool:
     
  13. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ก็คนที่ทุกข์ เพราะมีอุปทานในขันธ์ทั้ง5ไง ทุกข์อริยสัจ ควรกำหนดรู้ว่าเกิดมาจากไหน?
    มันก็เกิดมาจากตัณหา
    ตัณหานี้จำเเนกไว้มาก เเต่ที่พระองค์ตรัสไว้ชัดๆคือ
    ภวตัณหา ความมีความเป็น
    วิภวตัณหา ความไม่มีไม่เป็น

    ฉนั้นที่เค้าพูดมาเเก้วไม่มีปั็บเนี่ย. เมื่อ. ไม่มี มันค้องยึดขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง เพราะมันต้องมีอะไรในกอไผ เเน่ๆ
    เนื้องด้วยปัญจุปาทานขันธ์ในครั้งก่อน คือตัณหาเหตุให้เกิด. อุปทานขันธ์. ไม่พ้นทุกข์ในที่สุด
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ต้องตอบเเบบสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุตทั้ง2 ( ยืมเขามา )

    เมื่อแก้วไม่มี ตรงนี้ ถ้าตรงต่อสภาวะ จะเห็นได้ว่า กระบวนการของขันธ์๕ก็เกิดอยู่เป็นปกติ

    แต่กระบวนขันธ์ ๕ นี้ ข้ามล่วงอุปทานขันธ์ ๕ เรียบร้อยแล้ว

    โดยใช้หลักไม่เข้าไปข้องแวะที่สุดทั้ง ๒ ทาง

    องค์ธรรมขณะนั้น คือ สติระลึกได้ในธรรมที่เกิดขณะนี้

    วิริยะตามรู้ ไม่ปล่อยรู้ให้เลยไปถึงตัณหา

    ปัญญาเข้าใจแจ่มแจ้งปัจจัยเกิด ปัจจัยดับ

    ปัญญา สติ วิริยะ สมาธิเหตุให้ตั่งมั่น ศรัทธาคือรู้อะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทาง

    เห็นธรรมเกิดเฉพาะหน้าก็ดับไปเฉพาะหน้า


    ฉนั้น แก้วจึงไม่มี แต่ธรรมมี

    ที่มีก็ไม่มี หมายความว่า มีอยู่ขณะหนึ่งแล้วดับไป

    ตรงนี้หากมองผิด ก็จะคิดว่า ธรรมมี อัตตาย่อมมี ก็เข้าข่าย สสัตทิฏฐิไป

    แม้ธรรมมี สภาวะธรรมมี แต่ก็มีอยู่ชั่วขณะนั้น พุทธศาสนามองว่า การมีอยู่ชั่วขณะ คือ มีแล้วไม่มีนั้น คือสภาพทุกข สภาพอนืจัง บีบคั้นไม่ทนต่อสภาวะในตัวมันเอง

    ฉนั้น ธรรมนั้นก็ไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่ยั่งยืน

    ทีนี้ ในฐานนะ ของผู้รู้ หรือจิต หรือวิญญาณ ขันธ์ หรือมโนก็ตาม ซึ่งกำลังทำกิจรู้ในธรรมนั้นๆอยู่

    ธรรมนั้นย่อมอยู่ในฐานะผู้ถูกรู้ทันที มิใช่ผู้ผู้ถูกเสพอีกต่อไป

    ปัญญาจะแจ้งสภาวะความเข้าไปบังคับ เข้าไปกระทำต่อสภาวะธรรมที่ถูกรู้ให้เป็นไปตามความต้องการนั้นไม่ได้เลย

    เช่นเวทนาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ตกเป็นผ่านที่ถูกรู้ทันที จิตทำได้แค่รู้ สติได้แค่ระลึก ธรรมทุกอย่างก็มีหน้าที่เฉพาะ ไม่ข้ามเขตกัน

    ต่อให้เวทนาเร่าร้อนเพียงใด ก็เป็นได้แค่ของที่ถูกรู้ จะสั่ง บังคับให้หาย ให้เป็นดังใจก็ไม่ได้

    นี่ก็เข้าทาง ธัมทุกอย่างเป็นอนัตตา



    นอกเรื่องไปเยอะ

    ตอบว่าเป็นกิริยาจิต ไม่มีอะไรไปยึดอะไร ข้อนี้ในส่วนพระอรหันต์

    ส่วนที่ ๒ เป็นเรื่องปัญญา ในมหากุศล เพิกอุปทาน เห็นโลกไปตามจริง ข้อนี้เกิดได้ในสติปัฏฐาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2013
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
    เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา


    อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
    เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
    นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

    สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ,
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้

    นิพพาน บัญญัติ
    ก็จัดอยู่ในธรรมทั้งหลายด้วย จึงชื่อว่า อนัตตา ด้วย
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อาจาริยวาท กล่าวว่า "ปญฺญตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉิตา(วินิจฉัยดังนี้)สังขารธรรมทั้งปวง"

    ก็ยังเผื่อความผิดพาดด้วยคำว่า "วินิจฉัยไว้ดังนี้" ที่จขทก.ไม่ได้ยกมาลงเอง

    คำว่า วินิจฉัยนั้น เป็นการคาดคะเน จากการคิดเอาเอง จากความเชื่อของตน หรือ คณะ

    พระบาลีในส่วนนี้ยิ่งชัดเจนมากขึ้นไปอีก

    "สพพฺเพ สงฺขารา อนิจจา, สพฺเพสงขารา ทุกขา, สพฺเพธมฺมา อนตฺตาติ"

    ธรรมทั้งปวงที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงนั้น บริบทข้างหน้าบอกชัดเจนว่า

    เป็นธรรมที่ล้วนเป็นสังขารทั้งหลายเท่านั้นที่ "อนัตตา"

    พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงตรัสถึงพระนิพพานที่เป็น "วิสังขารธรรม"

    "วิสังฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา=

    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้วดังนี้"

    [๑๔๔] ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
    สิ่งใดแล เป็นอนัตตา เธอควรละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย
    ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบแล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ทราบแล้ว

    สังขารธรรม(สังขารปรุงแต่ง)ก็ "อนัตตา" อรรถกถาวินิจฉัยเอาเองว่า พระนิพพาน(อมตะธรรม)ก็ "อนัตตา"

    สรุป อรรกกถาจารย์กำลังบอกว่า สังขารธรรมกับพระนิพพานมีผลไม่ต่างกันคือ "อนัตตาธรรม" เหมือนกัน เป็นไปได้หรือ?

    เจริญในธรรมสมควรแก่ธรรมทุกๆท่าน
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เมื่อเราแยกธรรมทั้งหลายออก มันก็จะได้ที่เป็น สังขาร และ วิสังขาร
    ถ้าเราไม่แยกธรรมทั้งหลายธรรมเหล่านั้น ก็จะขมวดนิพพานเข้ามาด้วย เป็นธรรมทั้งหลายอีก
    นิพพานจัดอยู่ในธรรมทั้งหลาย เพราะนิพพานธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เป็นเอกเทศ

    ที่ต้องจัดออกเป็นเอกเทศเพราะนิพพาน ไม่มีปัจจัยใดๆไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้น
    หรือคอยประคับประคองให้ตั้งอยู่ หรือไม่มีปัจจัยใดๆจ้องคอยทำลายให้ดับไป ด้วยอำนาจของปัจจัยนั้นๆ
    และคำว่า อนัตตา มิได้หมายความว่า สูญ นิพพานนี้ที่ว่าเป็น อนัตตา หมายความว่าไม่มีตัวตน
    หรือจะไปบังคับบัญชาตามที่ต้องการไม่ได้ จึงเรียกว่า อนัตตา

    ที่พูดถึงอนัตตานี้เรายังพูดกันเพียงเริ่มต้นเห็นอนัตตาของสังขารธรรม
    ยังไม่เลยไปถึงวิสังขารธรรมเลย ถ้าจะเห็นนิพพานเป็นอนัตตา ต้องถึงญาณที่ ๑๔ คือมรรคญาณโน่น
    ไม่ใช่ของง่ายเลย พูดไปก็อาจจะเหนื่อยเปล่า เพราะไม่มีใครเข้าได้เลยซักมรรคนึง
     
  18. โฮดี้โจนส์

    โฮดี้โจนส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,152
    ค่าพลัง:
    +1,487
    ที่มีปัญหานี้เพราะอะไรรู้ปะ เพราะไม่เข้าใจเรื่องอนัตตากัน เข้าใจแบบอะไรก็ไม่รู้ ว่าอนัตตาหมายถึงความไม่มีอัตตา เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับอัตตา
    ซึ่งไม่ใช่ ปัญหาคือไม่อ่านหนังสือกัน พระไตรปิฏกก็ไม่อ่านกัน อาจจะเพราะ ไม่รู้บาลีหนึ่ง หรือ เพราะสูตรมันเยอะมีตั้งสี่สิบกว่าเล่มเลยจับ ไม่ถูกไม่รู้ว่าจะอ่านตรงไหนบ้างดี

    ทีนี้ ฟังให้ดีนะ อนัตตาไม่ได้หมายถึง ไม่มีอัตตา รอบที่พันและ(พูดเกินจริงไปไหม555)ทิฏฐิว่าไม่มีอัตตา ไม่ใช่อัตตา หรือ ไร้อัตตา ความหมายเดียวกันนะ
    บาลีใช้คำว่า นิรัตตา เขียนอย่างงี้ นิรตฺตํ หรือ บางเล่มเขียน นิรฺตตํ เขียนได้สองแบบ จัดเป็นทิฏฐิ ที่ตรงข้ามกับอัตตา

    นิรัตตา แปลว่าไร้อัตตา หรือ ไม่มีอัตตานั้นเอง

    อัตตา ถ้ายึดถือจะนำไปสู่ทิฏฐิ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สัสตทิฏฐิ(ตายเกิด) สัสสตทิฏฐิบางตำราใช้คำว่า อัตตทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิ

    นิรัตตา ถ้ายึดถือจะนำไปสู่ทิฏฐิ ที่ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ(ตายสูญ)

    ทั้งอัตตาและนิรัตตา เกิดขึ้นเพราะความยึดติดเรื่องความมี(อัตถิตา) ความไม่มี(นัตถิตา) นั้นเอง

    (ดูใน คัมภีร์มหานิทเทส มีอธิบายโดยย่อว่า "“อตฺตา” หรือ “อตฺตํ” ว่าได้แก่ อัตตทิฏฐิ คือ ความเห็นว่าเป็นตัวตน หรือ สัสสตทิฏฐิ คือความเห็นว่า (มีตัวตน) เที่ยงแท้ยั่งยืนคงอยู่ตลอดไป และ "นิรตฺตา” หรือ “นิรตฺตํ” ว่าได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ คือ ความเห็นว่า (ตัวตน) ขาดสูญ ")


    ส่วนอนัตตา มีขึ้นเพื่อปลดความคิดยึดถือเหล่านี้เป็นสภาวะบางอย่างในใจทั้งหมด อนัตตา หมายถึงความไร้แก่นสาร ไม่ได้หมายถึง ความไม่มี ความไร้แก่นสารตัวนี้ ชี้หมายถึงการดำรงสภาวะใดๆๆโดยอิสระไม่ได้อาศัยสิ่งอื่นเป็นไปไม่ได้ ดั้งนั้นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจึ่งไร้แก่นสารในตัวมัน มโนทัศน์ว่า สังขตธรรมเกิดจากอสังขตธรรม เช่นเดียวกันกับที่ มโนทัศน์ว่า อสังขตธรรมก็เกิดจากสังขตธรรม เป็นปัจจัยแก่กันและกันจึ่งไร้แก่นสารในตัวมันเองไม่อาจจะดำรงสภาวะในตัวมันเองได้ จึ่งเป็นอนัตตา

    ทั้งมีและไม่ เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน ความเข้าใจผิดไปยึดเอาด้านใดด้านหนึ่งว่าเป็นจริงกว่าอีกด้านนั้นแหละคือมิจฉาทิฏฐิ

    อนัตตา สอนตรงนี้ คือไม่มีสิ่งใดดำรงสภาวะของมันไว้ได้โดยไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นที่ไม่ใช่มัน

    เช่นอัตตามีขึ้นเพราะปัจจัยที่ไม่ใช่อัตตานั้น เช่น รถมีขึ้นเพราะ ล้อ เพลา โครงรถ อะไรทำนองนี้ เราบอกว่า ล้อ คือรถได้ไหม ไม่ได้ถูกปะ บอกว่าเพลาคือรถได้ไหมไม่ได้ใช่ปะ อย่างงี้เป็นต้น แต่พอเอา ล้อ เพลา โครงรถ อะไรทำนองนี้มารวมกันมันได้รถ

    เช่นเดียวกัน อัตตามาจากสิ่งซึ่งไม่ใช่อัตตา(นิรัตตา)มันแยกขาดอิสระไม่ได้ การไปยึดเอาด้านใดด้านหนึ่งนั้นแหละเป็นมิจฉาทิฐฏิ

    พูดนี่ เข้าใจไหม

    พยายามและนะ อนัตตานี้เอามาใช้จนชินเลยเข้าใจว่า มันเป็นสภาวะอะไรบางอย่างไปล่ะสิ แต่อนัตตาปฏิเสธการมีสภาวะต่างๆว่ามีแก่นสารในตัวมันเองนะ ไม่ใช่มันเป็นสภาวะอะไรบางอย่างที่อยู่ตรงข้ามกับอัตตา อันนี้หลุดโลกแล้ว
    อนัตตาปฏิเสธการมีสภาวะต่างๆว่ามีแก่นสารในตัวมันเอง ย้ำอีกครั้ง
    เช่น ภาวะที่เรียกว่ามี ภาวะที่เรียกว่าไม่มี ที่เป็นทิฏฐิเป็นคู่ๆๆทั้งหลายอะ พรหมชาลสูตร พระสุตตันตปิฎก. เล่ม ๑. ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าได้ประมวลทิฏฐิทั้งมดที่เป็นคู่ๆๆทั้งหลายที่ชาวโลกมักยึดถือเอาไว้แล้ว ไปดูได้

    ส่วนไอ้ทิฏฐิที่ว่าด้วยอัตตากับนิรัตตา มีอยู่ในพระไตรปิฏกเหล่านี้โดยเน้นย้ำว่า พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติถูกต้อง หรือ ท่านผู้มีปัญญาเข้าใจถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีทั้งความยึดถือตัวตน และ ทั้งความยึดถือว่า ไม่มีตัวตน

    ขุ.สุ25/410/488,ขุ.สุ25/471/501,ขุ.สุ25/421/574,ขุ.สุ25/411/489,412/491,435/545,.ขุ.ม.29/107/97

    เป็นต้น ยกมาให้เยอะแล้ว .......

    สามารถหาดูเรื่องนี้ในเน็ตก็ได้ แค่ขอให้ระวัง เพราะคนเข้าใจผิดมันก็มีเหมือนเว็ปนี้นั้นแหละ เช่น เข้าใจว่านิรัตตา คือ ความหมายเดียวกับอนัตตา ทั้งๆๆที่อนัตตาปฏิเสธแก่นสาร(ในตัวเอง)ของความมีอยู่ของทิฏฐินิรัตตา นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  19. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
  20. คัน

    คัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +67
    แล้วแบบนี้ นิืพพานยังเป็นอนัตตาได้มั๊ยละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...