ตามรอย "พระมหาชนก"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 15 กรกฎาคม 2010.

  1. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังก้าวสู่ พลังงานเส้นแสง(เลเยอร์ที่6)โดยมีการแข่งกันพัฒนาระหว่างยุโรปและอเมริกา
    ประเทศไทยเองก็มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาและนำพลังงานชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ โดยมีเครื่องกำเนิดแสงสยาม
    ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน)จ.นครราชสีมา โดยได้อนุมัติโครงการในปี พ.ศ.2539

    ที่มาบางส่วนจาก Man In Flame - ระดมความคิด>ชีวิตเพื่อแผ่นดิน - หายนะโลก อาวุธเส้นแสง จดหมายข่าวกัลยาณมิตร ฉบับทีุ่

     
  2. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    พระอาจารย์รัตน์ยืนยัน แกนโลกกำลังจะพลิกตัวแน่นอน กรุงเทพถึงนครสวรรค์จะจมน้ำหมด
     
  3. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=5T_3WJPYY9g]YouTube - Wake Up, Freak Out – then Get a Grip[/ame]

    เข้าใจ Climate's Tipping point แบบง่ายๆครับ
     
  4. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    ขอบคุณสำหรับอาสาสมัครทุกท่านนะครับ

    สำหรับยุทธศาสตร์ที่ ๒

    ๒.๑
    เบื้องต้นเราจะทำการรวบรวมข้อมูลของพระดีคนดี หน่วยงานที่เปิดรับอาสาสมัคร
    ไว้ใน โดยช่วยกันส่งข้อมูลตามแบบฟอร์มมาที่ อีเมล์กลาง(seascrab@gmail.com)
    ๒.๒
    update ข้อมูลใน google site https://sites.google.com/site/peplemapping โดยอาสาสมัครที่มีพาสเวิร์ด

    ๒.๓
    ทำแผนที่คนดี และหน่วยงานที่เปิดรับสมัครการทำงานจิตอาสา ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หรือศาสตร์ไทยไทด้านต่างๆ
    วัดที่จะเป็นสถานที่หลบภัยพิบัติ
    ลงใน google map นะครับ
    (แชร์ข้อมูลสำหรับอาสาสมัครที่ช่วยกันปักหมุด)

    ตอนนี้ที่พอจะหาข้อมูลได้ ก็มี
    คนค้นคน อวอร์ด
    ดิ ไอดอล
    คนดีของแผ่นดิน ปปท.
    ราชบัณฑิต
    ศิลปินแห่งชาติ
    ปราชญ์ชาวบ้าน
    พระนักพัฒนา

    ช่วยๆกันเสริมได้นะครับ ว่าเราจะมีฟอร์เมตการเก็บรวบรวมข้อมูลอะไรบ้าง

    ข้อมูลประเภทบุคคล
    ข้อมูลประเภทองค์กรเครือข่าย

    เช่น

    สถานะ:
    รูปภาพ
    ที่อยู่ :
    เบอร์โทร:
    อีเมล์:
    เว็บไซต์:
    ผู้ประสานงานองค์กร:

    ประเภทองกรค์: (ราชการ วิชาการ ประชาสังคม ธุรกิจ มูลนิธิ/NGO อื่นๆ...)
    ข้อมูลจำเพาะ :
    วิสัยทัศน์ /ปรัชญา :
    กรอบการทำงาน :
    ลัทธิหรือศาสนา :
    ลักษณะเฉพาะอื่นๆ :
    จำนวนเครือข่าย :
    ปัญหาอุปสรรคขององค์กร :
    เป้าหมาย หรือแผนการทำงานในอนาคต :
    มีพ่อครู /แม่ครู จำนวน : คน
    ศักยภาพ: (แก้ปัญหาเฉพาะหน้า มุ่งมั่นพัฒนา แสวงหาความยั่งยืน)
    ข้อคิดเห็นผู้ทำข้อมูล:
    ทำ้ข้อมูลโดย :




    อนุโมทนากับทุกท่านที่ช่วยกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2010
  5. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    ได้ละหลายคนเลย
    แต่ยังขาดข้อมูลอีกเพียบเลย

    คนดีและดัง
     
  6. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
  7. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
  8. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [​IMG]

    พระมหาชนกพระราชทาน
    ๙วิธีในการฟื้นฟูต้นมะม่วง
    ทุกคนต่างทำตามคำแนะนำอันมีค่า
    ต้นมะม่วงต้นนั้นจึงกลับมีชีวิตขึ้น
    มาอีกครั้งด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

    ๑.เพาะเม็ดมะม่วง
    ๒.ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกรากใหม่
    ๓.ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ
    ๔.เอากิ่งดีมาเสียบยอดกิ่งของต้นที่ ไม่มีผลให้มีผล
    ๕.เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น
    ๖.เอากิ่งมาทาบกิ่ง
    ๗.ตอนกิ่งให้ออกราก
    ๘.รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล
    ๙.ทำ"ชีวาณูสงเคราะห์"
     
  9. lek_077

    lek_077 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +133
    รางวัลโนเบล ปี 1995 สาขาฟิสิกขืไม่มีนะค่ะ มันข้ามไปปี 1997เลย น่าจะเป็นคนเดียวกัน มี 3 นักวิทยาศาสตร์ดังนี้

    นายสตีฟ ชู ชาวสหรัฐอเมริกา
    นายโคลด โคเฮน-ทานนุดจิ ชาวฝรั่งเศษ
    และนาย วิลเลียม แดเนียล ฟิลลิปส์ ชาวสหรัฐอเมริกา

    กับผลงาน "สำหรับการพัฒนาวิธีการทำให้อะตอมเย็นลง และ การกักขังอะตอม ด้วยแสงเลเซอร์"
     
  10. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ปูทะเลย์

    [​IMG]
     
  11. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    :'(

    น่าฉงฉาน
    ปูทะเลแบบนี้สงสัยจะไม่พ้นหม้อ
    ส่วนคนทำ ก็คงไม่พ้นกระทะทองแดง



    [​IMG]

    วันนี้วันพระ
    สาลิกาลิ้นทองขอเชิญชวนอุบาสก อุบาสิกาที่รักสุขภาพ
    ได้เวลา ทานมังสะวิรัติ dietรักษาหุ่น ด้วยการถือศีลอุโบสถ งดมื้อเย็นจ้า
     
  12. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    ๒๖๐๐ ๘๔ รหัสศักดิ์สิทธิ์

    กิจกรรมที่ ๑ ธรรมอาสาสื่อสารความดีให้ วันพระ เป็น "วันแห่งสติ" ของสังคมไทย

    "วันนี้วันพระ วันพระงดเหล้า"

    ในปีโหมโรง ตั้งแต่ วิสาขบูชา ๒๕๕๓
    ขอเชิญผู้มีสัทธาและปัญญาแท้จริงในพุทธศาสนา

    ร่วมคิดค้นและดำเนินกิจกรรมบุญกุศล ๓ แนวทาง ดังนี้


    (๑) สื่อสารวันพระให้เป็น “วันแห่งสติ”
    คิดค้นวิธีการสื่อสารความดี ให้คนได้ระลึกถึง "วันพระ" ในทุกๆ วันพระ (ทุกๆ ๗-๘ วัน: ขึ้น ๘ ค่ำ, ขึ้น ๑๕ ค่ำ, แรม ๘ ค่ำ, แรม ๑๔/๑๕ ค่ำ) เพื่อสร้างจิตวิทยาการเรียนรู้โดยรวมทั้งสังคมไทย ให้เกิดความตื่นรู้ในทุกวันพระ ทำให้วันพระเป็น "วันแห่งสติ" ของสังคมไทยอีกครั้ง (เป็นวันแห่งการละอายชั่วกลัวบาป วันแห่งบุญกุศล วันแห่งการรับธรรมโอสถ) มาตรฐานขั้นต่ำอยู่ที่ เดือนละ ๔ ครั้ง หรือ ปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง

    (๒) ครอบครัวทำบุญร่วมกันทุกสัปดาห์
    มีกิจกรรมในระดับครอบครัวของตนเองหรือระดับส่วนบุคคล ที่ทำให้ได้ทำบุญ หรือเรียนรู้ธรรมะร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง อาจเลือก ทุกวันเสาร์ ทุกวันอาทิตย์ หรือทุกวันพระ ก็ได้ ตามความสะดวกและเหมาะสม ซึ่งจะตกประมาณ ปีละ ๕๐ ครั้ง เป็นอย่างน้อย

    (๓) ทำบุญใหญ่ร่วมกันทุกวันเพ็ญ
    มีกิจกรรมการแสดงออกร่วมกัน ถึงการทำบุญกุศลครั้งใหญ่ ละบาปอกุศลความชั่วครั้งใหญ่ ในระดับชุมชน หมู่ของครอบครัว หรือหน่วยงานองค์กรของตนเอง ในทุกๆ วันพระที่เป็นวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนจันทร์เต็มดวง) มาตรฐานขั้นต่ำตกเดือนละ ๑ ครั้ง หรือ ปีละ ๑๒ ครั้ง


    http://2600-84.stopdrink.com
    หลักของชาวพุทธ [ภูมิธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการแห่งชีวิตและสังคม]
    หลักของชาวพุทธ [ภูมิธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการแห่งชีวิตและสังคม]
    http://www.moralproject.net
    https://sites.google.com/site/peplemapping
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    ขอเชิญทำบุญใส่บาตรพระกรรมฐาน
    วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๓

    ณ วัดบรมนิวาส
    กรุงเทพมหานคร‏


    เวลา ๗.๐๐ - ๑๐.๐๐ น.
    [​IMG]

    ทำบุญตักบาตรพระกัมมัฏฐาน ๒๕ รูป ณ ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโท วัดบรมนิวาส ซ ๑๕ ถนนพระราม ๖ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตามวันเวลาดังต่อไปนี้

    เวลา ๐๗.๐๐ น. ตักบาตรพระกัมมัฏฐาน ๒๕ รูป
    เวลา ๐๗.๓๐ น. ประธานจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย สมาธานศีล
    เวลา ๐๘.๐๐ น. พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
    เวลา ๐๘.๓๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ เสร็จแล้งรับประทานอาหารร่วมกัน
    เวลา ๐๙.๓๐ น. เชิญทุกท่านถวายและเครื่องไทยธรรมที่ท่านนำมา พระสงฆ์อนุโมทนา
    จึงขอเชิญชวนคณะศิษยานุศิษย์ และศัทธาสาธุชนทั้งหลาย มาร่วมงานในครั้งนี้ ตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าว


    รายนามครูบาอาจารย์

    ๑.พระโสภณวิสุทธิคุณ วัดป่าวิเวกธรรม อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    ๒.พระราชวรคุณ วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    ๓.หลวงพ่อคำบ่อ ฐิคปญฺโญ วัดป่าบ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ๔.พระครูอุดมธรรมสุนทร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    ๕.พระราชภาวนาพินิจ วัดพุทธบูชา กรุงเทพมหานคร
    ๖.พระครูวีรญาณโสภณ วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย
    ๗.พระครูกิตติปัญญาคุณ วัดโป่งจันทร์ อ.เขาคิชกูฏ จ.จันทบุรี
    ๘.พระราชญาณเวที วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร
    ๙.พระมงคลมุณี วัดพิมพาวาส อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
    ๑๐.พระราชวิสุทธินายก วัดเทพนิมิต อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    ๑๑.พระราชสุเมธี วัดภูตูมวนาราม จ.เลย
    ๑๒.พระครูวิมลภาวนาคุณ วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    ๑๓.พระวิมลศีลาจาร วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
    ๑๔.พระครูเกษมวรกิจ วัดถ้ำผาจม อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    ๑๕.พระครูธรรมมานุจารี วัดเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์
    ๑๖.พระบูรพาคณาจารย์ วัดบ้านโง้ง จ.ปราจีนบุรี
    ๑๗.พระอาจารย์รุ้ง รุจฺจโน วัดหนองบำหรุ จ.อุทัยธานี
    ๑๘.พระครูบรรพตสมานคุณ วัดป่าภูหายหลง จ.นครราชสีมา
    ๑๙.พระครูสังฆกิจโสภณ วัดหนองจะเข้ จ.ปราจีนบุรี
    ๒๐.พระครูสุนทรธรรมโฆษิต วัดป่าเลิงจาร จ.มหาสารคาม
    ๒๑.พระอาจารย์คิด ญาณทีโป วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
    ๒๒.พระครูปลัด วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร
    ๒๓.พระครูธรรมธร ไพรัตน์ วัดสมานรัตนาราม จ.ฉะเชิงเทรา

    เวลา ๐๗.๐๐ น. ตักบาตรพระกรรมฐาน ๒๕ รูป
    เวลา ๐๗.๓๐ น. ประธานจุดเทียน ธูป บูชาพระรัตนตรัย สมาธานศีล
    เวลา ๐๘.๐๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
    เวลา ๐๘.๓๐ น. ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ เสร็จแล้งรับประทานอาหารร่วมกัน
    เวลา ๐๙.๓๐ น. เชิญทุกท่านถวายและเครื่องไทยธรรมที่ท่านนำมา พระสงฆ์อนุโมทนา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2010
  14. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    มโหสถชาดก
    ตอนที่ ๑๑


    นับแต่กาลนั้นมา มโหสถบัณฑิตถวายอนุศาสน์อรรถธรรมแด่พระเจ้ากรุงมิถิลา มโหสถคิดว่า ก็เราดูแลเศวตฉัตรอันเป็นราชสมบัติของพระราชา ควรที่เราจะไม่ประมาท ดำริฉะนี้จึงให้ทำกำแพงใหญ่ในพระนครและให้ทำกำแพงน้อยอย่างนั้น ทั้งหอรบที่ประตูและที่ระหว่าง ๆ ให้ขุดคู ๓ คู คือคูน้ำ คูเปือกตม คูแห้ง ให้ซ่อมแซมเรือนเก่า ๆ ภายในพระนคร ให้ขุดสระโบกขรณีใหญ่ ให้ฝังท่อน้ำในสระนั้น ทำฉางทั้งปวงในพระนครให้เต็มด้วยธัญญาหาร ให้นำพืชหญ้ากับแก้และกุมุทจากพวกดาบสผู้มาแต่หิมวันตประเทศมาปลูกไว้ ให้ชำระล้างท่อน้ำให้น้ำไหลเข้าออกสะดวก ให้ซ่อมแซมสถานที่ทั้งหลายมีศาลาเก่าภายนอกพระนครเป็นต้น

    เพราะเหตุการณ์อะไร มโหสถจึงให้ตกแต่งบ้านเมืองดังนั้น เพราะจะป้องกันภัยอันจะมาถึงในกาลข้างหน้า มโหสถไต่ถามพวกพาณิชผู้มาแต่ประเทศนั้น ๆ ว่า มาแต่ไหน เมื่อได้รับตอบว่า มาแต่สถานที่โน้น จึงซักถามว่า อะไรเป็นที่ชอบพระราชหฤทัยของพระราชาแห่งพวกท่าน ได้ความแล้วก็ทำความนับถือต่อพวกนั้นแล้วส่งกลับไป


    แล้วเรียกโยธาร้อยเอ็ดของตนมากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเครื่องบรรณาการที่เราจะให้ แล้วไปสู่ราชธานีร้อยเอ็ด ถวายบรรณาการเหล่านี้แด่พระราชาเหล่านั้น เพื่อต้องการให้พระราชาเหล่านั้นรักตน แล้วจงอยู่บำรุงพระราชาเหล่านั้น คอยเฝ้าดูกิริยาหรือความคิดแห่งพระราชาเหล่านั้น แล้วส่งข่าวมาให้เรารู้ เราจะเลี้ยงบุตรและภรรยาของพวกท่านเองไม่ต้องเป็นห่วง


    สั่งดังนี้แล้วจารึกกุณฑล ฉลองพระบาท พระขรรค์และสุวรรณมาลาให้เป็นอักษรในราชาภรณ์นั้น ๆ เพื่อพระราชาเหล่านั้น ๆ แล้ว ตั้งสัตยาธิษฐานว่า กิจของเราย่อมมีเมื่อใด อักษรเหล่านี้จงปรากฏเมื่อนั้น แล้วมอบให้โยธาร้อยเอ็ดเหล่านั้นไป


    โยธาเหล่านั้นไปในประเทศนั้น ๆ ถวายบรรณาการแด่พระราชาเหล่านั้น เมื่อพระราชาเหล่านั้นตรัสถามว่า มาธุระอะไร ก็ทูลว่า มาบำรุงพระองค์ ครั้นตรัสถามว่า มาแต่ไหน ก็ไม่ทูลตามตรง ทูลว่ามาจากที่อื่น เมื่อทรงรับ ก็อยู่รับราชการในภายใน.


    กาลนั้นมีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า สังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ให้เตรียมศัสตราวุธและเรียกระดมกองทัพ ทหารของมโหสถที่วางให้สดับข่าว และระวังเหตุการณ์ ที่ส่งไปอยู่ ณ ราชสำนักแห่งพระเจ้าสังขพลกราชนั้น ได้ส่งข่าวสาสน์มายังมโหสถและขอให้มโหสถได้ส่งสุวบัณฑิต (นกแก้วฉลาด)ไปสืบความเองโดยละเอียด


    ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้ฟังข่าวนั้นจึงเรียกสุวโปดกลูกนกแก้วมากล่าวว่า เจ้าจงไปสืบข่าวว่า พระราชาองค์หนึ่งมีพระนามว่าสังขพลกะ ในกัมพลรัฐ ให้เตรียมศัสตราวุธและเรียกระดมกองทัพ แล้วจงเที่ยวไปสืบในสกลชมพูทวีปมาแจ้งแก่เรา กล่าวฉะนี้แล้วให้สุวโปดกกินข้าวตอกคลุกน้ำผึ้งให้ดื่มน้ำผึ้ง แล้วเอาน้ำมันหุงร้อยหน หุงพันหนทาขนปีก แล้วให้จับที่หน้าต่างเบื้องปราจีนทิศปล่อยไป สุวบัณฑิตนั้นไปในที่นั้น เที่ยวสืบเรื่องของพระเจ้าสังขพลกราชจากสำนักทหารของมโหสถนั้นโดยละเอียดแล้ว และไปสืบข่าวทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้นจนถึงอุตรปัญจาลนครในกัปปิลรัฐ.


    กาลนั้น พระราชามีพระนามว่าจุลนีพรหมทัต ครองราชสมบัติในอุตรปัญจาลนครนั้น พราหมณ์ชื่อเกวัฏ เป็นนักปราชญ์ผู้ฉลาดพร่ำถวายอรรถธรรมแก่พระราชานั้น


    ในเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่ง ปุโรหิตนั้นตื่นขึ้นแลดูห้องประกอบด้วยสิริอันประดับแล้ว คำนึงว่าพระเจ้าจุลนีพรหมทัตพระราชทานเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แก่เรา ควรที่เราจักจัดการให้พระองค์ได้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป เราก็จักได้เป็นอัครปุโรหิตของพระองค์ คิดฉะนี้แล้วเข้าเฝ้าพระราชาแต่เช้า ทูลถามถึงสุขไสยาตามธรรมเนียมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้อความอันข้าพระบาทจะพึงทูลปรึกษามีอยู่


    เมื่อพระราชาทรงอนุญาตให้กราบทูล จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า สถานที่ลับในพระนครไม่มี ขอเสด็จไปพระราชอุทยาน


    พระราชาทรงเห็นชอบด้วย จึงเสด็จไปพระราชอุทยานกับปุโรหิต วางพลนิกายไว้ภายนอกให้เฝ้ารักษา แล้วเสด็จเข้าสู่พระราชอุทยานกับพราหมณ์เท่านั้น ประทับนั่ง ณ แผ่นศิลาเป็นมงคล ครั้งนั้น สุวโปดกเห็นกิริยาของพระราชากับพราหมณ์ จึงคิดว่า ดูจากกิริยาของพระราชากับพราหมณ์นี้เห็นทีจะมีเหตุการณ์อันใดเป็นแน่ วันนี้เราจักได้ฟังอะไร ๆ ที่ควรแจ้งแก่มโหสถ


    คิดฉะนี้แล้วบินเข้าไปสู่พระราชอุทยาน จับเร้นอยู่ระหว่างใบไม้รังอันเป็นมงคล พระราชาตรัสให้เกวัฏทูลเรื่อง พราหมณ์จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอพระองค์ทรงเก็บความนี้ไว้เฉพาะในพระองค์ ความคิดนี้จักชื่อว่ารู้กัน ๔ หู ถ้าพระองค์ทรงทำตามคำของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักทำพระองค์ให้เป็นอัครราชาในสกลชมพูทวีป


    พระเจ้าจุลนีได้ทรงสดับคำของเกวัฏ ก็ทรงโสมนัสด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนาใหญ่ จึงตรัสว่า กล่าวไปเถิดอาจารย์ เราจักทำตามคำของท่าน


    พราหมณ์เกวัฏจึงทูลบรรยายความคิดว่า ข้าแต่สมมติเทพ เราทั้งหลายจักเรียกระดมกองทัพแล้วล้อมเมืองน้อยยึดเอาไว้ก่อน ข้าพระบาทจักเข้าสู่เมืองทางประตูน้อยแล้วแจ้งแก่พระราชานั้นว่า ถ้าพระองค์ไม่ประสงค์ที่จะทำศึก โภคสมบัติเป็นของพวกข้าพระเจ้าทั้งสิ้น พระองค์จักคงเป็นพระราชาอยู่อย่างนั้น ก็ถ้าพระองค์จักรบ ก็จะพ่ายแพ้แน่นอนเพียงอย่างเดียว เพราะความที่พลและพาหนะของพวกข้าพระเจ้ามาก ถ้าพระราชานั้นจักทำตามคำของพวกเรา พวกเราจักจับพระราชานั้นไว้ ถ้าพระราชานั้นจักไม่ทำตามคำของเราไซร้ พวกเราจักรบแล้วฆ่าพระราชานั้นให้สิ้นพระชนม์ แล้วถือเอากองทัพนครนั้น ไปยึดเอาเมืองอื่นต่อไป ถือเอาราชสมบัติในสกลชมพูทวีปโดยอุบายนี้ แล้วพวกเราจักจัดงานดื่มชัยบาน นำพระราชาร้อยเอ็ดพระนครมาสู่เมืองเรา แล้วให้ดื่มสุราเจือยาพิษในอุทยาน เมื่อพระราชาทั้งหมดสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ให้ทิ้งพระศพของพระราชาเหล่านั้นเสียในคงคา เมื่อเป็นอย่างนี้ราชสมบัติในราชธานีร้อยเอ็ดพระนครก็จะอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์จักเป็นอัครราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วยประการฉะนี้


    พระราชาทรงยินดีตรัสว่า ดีแล้วอาจารย์ เราจักทำอย่างนั้น


    พราหมณ์เกวัฏกราบทูลว่า ความคิดนี้ชื่อว่าความคิดรู้กัน ๔ หู เพราะว่าบุคคลอื่นไม่อาจมาล่วงรู้ เพราะเหตุนั้น ขอพระองค์อย่าชักช้า รีบยกกองทัพออกทีเดียว


    พระราชาได้ทรงสดับคำนั้นก็ทรงโสมนัสรับว่า ดีแล้ว.


    สุวโปดกได้ฟังเรื่องนั้นทั้งหมด ในกาลเมื่อพราหมณ์กับพระราชาคิดการนี้จบลง จึงประหนึ่งบินลงจับกิ่งไม้รังที่ห้อย ยังมูลให้ตกลงบนศีรษะแห่งเกวัฏแล้วร้องขึ้นว่า นี้อะไรกัน พอเกวัฏแหงนขึ้นก็ยังมูลให้ตกลงในปากร้องกิริ ๆ บินขึ้นจากกิ่งไม้รังกล่าวว่า แน่ะเกวัฏ ท่านสำคัญว่า ความคิดของท่านรู้กันแต่ ๔ หูหรือ บัดนี้รู้กันเป็น ๖ หูแล้ว จักรู้กันเป็น ๘ หูอีก แล้วจักรู้กันหลายร้อยหูทีเดียว


    ครั้นเมื่อเกวัฎร้องสั่งพวกทหารว่า ช่วยกันจับ ๆ ให้ได้ สุวโปดกก็บินไปสู่กรุงมิถิลาโดยกำลังเร็วดุจลม เข้าไปสู่เคหสถานแห่งมโหสถบัณฑิต ความประพฤติของสุวโปดกนั้นมีปกติเป็นเช่นนี้ คือถ้าว่าได้ข่าวมาแต่ที่ไร ๆ แล้วข่าวควรจะบอกแก่มโหสถผู้เดียว เมื่อนั้นสุวโปดกก็ลงจับที่จะงอยบ่าแห่งมโหสถ ถ้าว่าควรบอกแก่นางอมราเทวี สุวโปดกก็ลงจับที่ตัก ถ้าว่าข่าวนั้นควรแจ้งแก่มหาชน สุวโปดกก็ลงจับที่พื้น


    กาลนั้นสุวโปดกลงจับที่จะงอยบ่าแห่งมโหสถ ด้วยสัญญาณนั้น มหาชนก็หลีกไปด้วยรู้กันว่า สุวโปดกมีความลับจะแจ้ง มโหสถพาสุวโปดกขึ้นไปสู่พื้นชั้นบนแล้วถามว่า พ่อได้เห็นได้ฟังอะไรมาหรือ


    ลำดับนั้น สุวโปดกจึงกล่าวกะมโหสถว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่เห็นภัยอะไร ๆ จากสำนักพระราชาอื่นในสกลชมพูทวีป จะมีก็แต่พราหมณ์ชื่อเกวัฏ ผู้เป็นปุโรหิตของพระราชาจุลนีพรหมทัต พาพระราชาไปอุทยานแล้วทูลความคิดอันรู้แต่ ๔ หู ข้าพเจ้าจับอยู่ระหว่างกิ่งไม้รัง ถ่ายมูลให้ตกลงในปากแห่งพราหมณ์เกวัฏแล้วมานี่ กล่าวฉะนี้แล้วบอกกิจที่ได้เห็นที่ได้ฟังทั้งปวงแก่มโหสถ


    ครั้นมโหสถถามว่า ก็พระเจ้าจุลนีรับจะทำตามหรือไม่


    สุวโปดกตอบว่า รับจะทำตาม


    มโหสถจึงทำกิจที่ควรทำแก่นกนั้น คือให้นอนในกรงทองคำ มีเครื่องลาดอันอ่อน แล้วคิดว่า ชะรอยเกวัฏไม่รู้จักความที่เราชื่อมโหสถบัณฑิต เราจักให้เขารู้ คิดแล้วจึงให้ถ่ายสกุลเข็ญใจที่อยู่ในเมืองออกอยู่นอกเมือง นำสกุลมีอิสริยยศซึ่งอยู่ใกล้ประตูชนบทในแคว้นเข้ามาอยู่ภายในเมือง ให้สะสมธัญญาหารไว้เป็นอันมาก.


    ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเชื่อคำแห่งเกวัฏ จึงยกพลเสด็จไปล้อมเมืองหนึ่ง ฝ่ายเกวัฏก็เข้าไปในเมืองนั้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว ทำพระราชาในเมืองนั้นให้ยอมแพ้แล้ว ทำเมืองนั้นให้เป็นของตน ทำกองทัพทั้ง ๒ ให้เป็นกองเดียวกันไปล้อมเมืองอื่น ก็ยึดเมืองทั้งปวงได้หมดโดยลำดับ


    พระเจ้าจุลนีเชื่อคำของพราหมณ์เกวัฏ พระราชาทั้งหลายในสกลชมพูทวีป เว้นเสียแต่พระเจ้าวิเทหราช ก็ตกเป็นของพระองค์ด้วยประการฉะนี้.


    บุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวถึงมโหสถเนืองนิตย์ว่า นครทั้งหลายนั้นพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยึดไว้ได้แล้ว ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ฝ่ายมโหสถบัณฑิตส่งข่าวตอบไปยังบุรุษที่วางไว้เหล่านั้นว่า เราอยู่ในที่นี้แล้วเป็นผู้มิได้ประมาท แม้พวกเจ้าทั้งหลายก็อย่าได้วิตกถึงเรา จงเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เถิด.


    ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตยกทัพไปยึดนครนั้น ๆ สิ้น ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ก็ได้ราชสมบัติในสกลชมพูทวีป จึงตรัสกะเกวัฏปุโรหิตว่า นครทั้งหลายเท่านี้ เราได้ไว้แล้ว ๆ เราจักยึดราชสมบัติของพระเจ้าวิเหหราช ณ กรุงมิถิลา


    ปุโรหิตทูลค้านว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกเราไม่ควรจะยึดราชสมบัติในนครที่มโหสถอยู่ เพราะว่ามโหสถนั้นเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยความรู้ และเป็นผู้ฉลาดในกลอุบายอย่างยิ่ง


    ปุโรหิตพรรณนาคุณสมบัติของมโหสถ ดุจบุคคลยกมณฑลแห่งดวงจันทร์ขึ้นกล่าว แล้วทูลห้ามพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่เทพเจ้า ราชสมบัติในมิถิลานครเป็นของเล็กน้อย ราชสมบัติในสกลชมพูทวีปเป็นของพอแก่เราทั้งหลาย ประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติในนครมิถิลาแก่เราทั้งหลายเล่า


    ฝ่ายพระราชาประเทศราชทั้งหลายก็กล่าวว่า เราทั้งหลายจักยึดราชสมบัติในกรุงมิถิลาแล้วดื่มชัยบาน


    ฝ่ายเกวัฏก็ทูลห้ามพระราชาเหล่านั้นแล้วให้พระราชาเหล่านั้นรู้ด้วยอุบายว่า เราทั้งหลายจักยึดราชสมบัติในวิเทหรัฐทำอะไร พระราชานั้นก็เป็นดุจของเราทั้งหลาย ขอพระองค์ทั้งหลายเสด็จกลับเถิด


    พระราชาเหล่านั้นได้ฟังคำของเกวัฏ ต่างก็เสด็จกลับนครของตน ๆ.


    เหล่าบุรุษที่วางไว้สดับเหตุการณ์ ก็ส่งข่าวแก่มโหสถว่า พระเจ้าจุลนีพรหมทัตพร้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดจะมาสู่กรุงมิถิลา แต่ก็กลับสู่เมืองของตน ฝ่ายมหาสัตว์ก็ส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้ว่า นับแต่นี้ พวกเจ้าจงคอยดูกิริยาของพระเจ้าจุลนี


    ฝ่ายพระจุลนีทรงปรึกษากับอาจารย์เกวัฎว่า บัดนี้เราจักทำกิจอย่างไร ครั้นเกวัฏทูลว่า เราจักดื่มชัยบาน จึงให้ประดับอุทยานแล้ว ตรัสสั่งพวกราชเสวกว่า พวกเจ้าจงตระเตรียมสุราไว้ในไหสักร้อยไหพันไหตระเตรียมของบริโภคมีรส คือปลาและเนื้อเป็นต้น มีอย่างต่าง ๆ ไว้ให้เพียงพอ


    กาลนั้นบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งเหตุนั้นให้มโหสถทราบ แต่บุรุษที่มโหสถวางไว้เหล่านั้นหารู้ไม่ว่า พระเจ้าจุลนีผสมสุราด้วยยาพิษ เพื่อจะฆ่าพระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระนครให้สิ้นพระชนม์ชีพ ฝ่ายพระโพธิสัตว์รู้ความนั้นจากสุวโปดก จึงส่งข่าวตอบพวกบุรุษที่วางไว้นั้นว่า เจ้าทั้งหลายเมื่อรู้วันที่จะดื่มชัยบานแน่นอนแล้วจงบอกแก่เรา บุรุษที่วางไว้นั้นก็ทำตามสั่ง


    มโหสถดำริว่า เมื่อบัณฑิตเช่นเรามีอยู่ พระราชามีประมาณเท่านี้ไม่ควรสิ้นพระชนม์ชีพ เราจักเป็นที่พึ่งของพระราชาเหล่านั้น คิดฉะนี้แล้วเรียกพวกทวยหาญที่เป็นบริวารสหชาตพันคนนั้นมาแจ้งว่า


    ดูก่อนสหายทั้งหลาย ได้ยินว่า พระราชาจุลนีให้ตกแต่งพระราชอุทยาน ประสงค์จะดื่มสุรากับพระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระนคร เจ้าทั้งหลายจงไปในที่นั้น เมื่อเขาตั้งอาสน์ของพระราชาทั้งหลายแล้ว ในขณะที่พระราชาทั้งหลายยังไม่นั่ง เจ้าทั้งหลายจงชิงเอาอาสน์ซึ่งตั้งอยู่ถัดจากอาสน์ของพระเจ้าจุลนี แล้วจงประกาศว่า นี้เป็นราชอาสน์แห่งพระราชาของพวกเรา ดังนี้ และเมื่อข้าราชการฝ่ายนั้นกล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นคนของใคร พึงกล่าวตอบว่า เป็นข้าราชการของพระเจ้าวิเทหราช เมื่อพวกข้าราชการฝ่ายนั้นกล่าวกะพวกเจ้าว่า เราทั้งหลายเมื่อไปล้อมยึดเอานครนั้น ๆ ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ก็หาเห็นพระราชาอันมีนามว่าวิเทหะสักวันหนึ่งไม่ พระราชาที่พวกท่านอ้างนั้น จักชื่อว่าพระราชากระไรได้ ท่านทั้งหลายจงไปเอาอาสน์ที่ตั้งอยู่ท้ายสุดนั้น เมื่อกล่าวฉะนี้แล้วก็จักทุ่มเถียงกัน พวกเจ้าก็จงเถียงว่า พระราชาอื่นนอกจากพระเจ้าจุลนีพรหมทัตเสียแล้วจะยิ่งใหญ่กว่าพระราชาของเราในที่นี้ไม่มี กล่าวฉะนี้แล้ว จงทุ่มเถียงให้มากขึ้นแล้วพูดว่า เมื่อพวกเราไม่ได้แม้ซึ่งอาสน์เพื่อพระราชาของพวกเรา พวกเราจักไม่ให้ท่านทั้งหลายดื่มสุราและเคี้ยวกินมัจฉมังสะ ณ บัดนี้ แล้วบันลือโห่ร้องยังความสะดุ้งให้เกิดแก่ข้าราชการ ฝ่ายนั้นด้วยเสียงดัง แล้วต่อยทุบไหสุราทั้งปวงเสียด้วยค้อนใหญ่ แล้วเทสาดมัจฉมังสาหารเสีย ทำให้บริโภคไม่ได้แล้วเข้าไปสู่ระหว่างแห่งเสนาโดยเร็ว ดุจเหล่าอสูรเข้าไปสู่เทพนคร แล้วทำเสียงให้อึกทึกครึกโครมประกาศว่า เราทั้งหลายเป็นคนของมโหสถบัณฑิตในกรุงมิถิลา ถ้าท่านทั้งหลายสามารถก็จงจับพวกเรา ให้ข้าราชการเหล่านั้นรู้ความที่พวกเจ้ามาแล้ว จงมาเถิด


    มโหสถแจ้งให้สหชาตโยธาของตนรู้ฉะนี้แล้วส่งไป


    ทวยหาญสหชาตบริวารของมโหสถรับคำสั่ง ไหว้มโหสถแล้ว ผูกสอดอาวุธ ๕ออกจากกรุงมิถิลาไปในราชอุทยานแห่งพระเจ้าจุลนี เข้าไปสู่พระราชอุทยานอันตกแต่งแล้วดุจนันทนวันเทพอุทยานฉะนั้น เห็นสิริราชสมบัติอันประดับแล้วตั้งแต่พระราชบัลลังก์ของพระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระนครซึ่งยกเศวตฉัตรตั้งไว้แล้ว ก็ได้ทำกิจทั้งปวงโดยนัยอันพระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว กระทำมหาชนให้เอิกเกริกวุ่นวายแล้วบ่ายหน้ากลับกรุงมิถิลา


    ฝ่ายราชบริษัทข้างกรุงปัญจาละก็กราบทูลเหตุนั้นแด่พระราชาเหล่านั้น พระเจ้าจุลนีพรหมทัตทรงพิโรธว่า พวกกรุงมิถิลามาทำอันตรายแก่สุราที่ประกอบยาพิษของเราเสีย ฝ่ายพระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระนครก็พิโรธว่า พวกกรุงมิถิลามาทำให้พวกเราไม่ได้ดื่มชัยบาน ส่วนพลนิกายก็ขัดใจว่า เราทั้งหลายไม่ได้ดื่มสุราอันหามูลค่ามิได้


    ฝ่ายพระเจ้าจุลนีพรหมทัตก็จึงตรัสเรียกพระราชาเหล่านั้นมา รับสั่งว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมา เราทั้งหลายจักไปกรุงมิถิลา ตัดเศียรพระเจ้าวิเทหราชเสียด้วยพระขรรค์ แล้วย่ำเหยียบเสียด้วยบาท แล้วประชุมดื่มชัยบาน ท่านทั้งหลายจงเตรียมยกกองทัพ ไป


    ตรัสฉะนี้แล้วเสด็จในที่ลับ ตรัสกับเกวัฏว่า เราทั้งหลายจักจับศัตรูผู้ทำลายงานมงคลนี้ของพวกเรา พวกเราพร้อมด้วยเสนา ๑๘ อักโขภิณี และพระราชาทั้งร้อยเอ็ดพระนครไป ท่านอาจารย์จงไปด้วย


    พราหมณ์เกวัฏดำริด้วยความที่ตนเป็นผู้ฉลาดว่า ถ้าเราไม่อาจจะเอาชนะมโหสถบัณฑิต ความอับอายจะมีแก่พวกเราเป็นแน่ เราจักทำให้พระราชาเปลี่ยนพระทัย


    ลำดับนั้นเกวัฏจึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช นั่นหาใช่กำลังของพระเจ้าวิเทหราชไม่ นั่นเป็นการจัดแจง นั่นเป็นอานุภาพของมโหสถบัณฑิต อันกรุงมิถิลานั้นเป็นเมืองที่เขาปกปักรักษาแล้ว ก็เสมือนอาณาบริเวณที่ราชสีห์รักษาแล้ว ไม่ว่าใคร ๆ ก็ไม่อาจยึดเอา ความอายจักมีแก่พวกเราอย่างเดียว เราไม่ควรไป ณ กรุงมิถิลา


    ฝ่ายพระราชาจุลนีเป็นผู้มัวเมาในราชอิสริยยศ ด้วยถือพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์ จึงตรัสว่า มโหสถจักทำอะไรเราได้ ตรัสฉะนี้แล้วจึงเสด็จออกไปพร้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดพระนคร แวดล้อมไปด้วยเสนา ๑๘ อักโขภิณี


    ฝ่ายอาจารย์เกวัฏเมื่อไม่อาจจะให้พระเจ้าจุลนีเชื่อคำของตน ก็โดยเสด็จไปด้วย ด้วยคิดเห็นว่า เราไม่ควรจะประพฤติขัดต่อพระราชา.


    ฝ่ายสหชาตโยธาของมโหสถก็กลับถึงกรุงมิถิลาภายในราตรีเดียว เมื่อกลับมาถึงก็ได้แจ้งกิจที่ตนได้ทำแก่มโหสถ ฝ่ายเหล่าบุรุษที่มโหสถวางไว้ก็ส่งข่าวก่อนว่า พระเจ้าจุลนีพร้อมด้วยพระราชาร้อยเอ็ดพระนครเสด็จมาด้วยทรงมุ่งจะจับพระเจ้าวิเทหราช ขอท่านผู้เป็นบัณฑิตอย่าประมาท


    มโหสถได้รับข่าวเป็นระยะ ๆ จากเหล่าบุรุษที่วางไว้ว่า วันนี้พระเจ้าจุลนีเสด็จถึงสถานที่นั้น วันนี้ถึงสถานที่นั้น ก็วันนี้จักเสด็จถึงกรุงมิถิลา พระมหาสัตว์ได้ทราบข่าวนั้นก็ยิ่งเป็นผู้ไม่ประมาท

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กันยายน 2010
  15. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    <hr width="95%"> <table width="85%" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr valign="top" align="middle"> <td>

    มโหสถชาดก ในเมืองมิถิลา มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด กว่าเด็กในวัยเดียวกัน ครั้งหนึ่งมโหสถเห็นว่า ในเวลาฝนตก ตนและเพื่อนเล่นทั้งหลายต้องหลบฝน ลำบากลำบนเล่นไม่สนุก จึงขอให้เพื่อนเล่นทุก คนนำเงินมารวมกันเพื่อสร้างสถานที่เล่น มโหสถจัดการออกแบบอาคารนั้นอย่างวิจิตรพิสดาร นอกจาก ที่เล่นที่กินและที่พักสำหรับคนที่ผ่านไปมาแล้ว ยังจัดสร้างห้อง วินิจฉัยคดีด้วย เพราะความที่มโหสถเป็นเด็กฉลาดเฉลียวเกินวัย จึงมักมีผู้คนมาขอให้ตัดสินปัญหาข้อพิพาท หรือแก้ใขปัญหาขัดข้อง ต่างๆ อยู่ เสมอ ชื่อเสียงของมโหสถเลื่องลือไปไกลทั่วมิถิลานคร ในขณะนั้น กษัตริย์เมืองมิถิลา ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิเทหราช ทรงมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตประจำ ราชสำนัก 4 คน คือ เสนกะ ปุตกุสะ กามินท์ และ เทวินทะ บัณฑิตทั้ง 4 เคยกราบทูลว่าจะมี บัณฑิต คนที่ห้ามาสู่ราชสำนักพระเจ้าวิเทหราช พระองค์จึงโปรดให้ เสนาออกสืบข่าวว่า มีบัณฑิตผู้มีสติปัญญา ปราดเปรื่องอยู่ที่ใดบ้าง เสนาเดินทางมาถึงบริเวณบ้านของสิริวัฒกะเศรษฐี เห็นอาคารงดงาม จัดแต่งอย่างประณีตบรรจง จึงถามผู้คนว่าใครเป็นผู้ออกแบบ คนก็ ตอบว่า ผู้ออกแบบคือมโหสถบัณฑิต บุตรชายวัย 7 ขวบ ของสิริวัฒกะ เศรษฐี เสนาจึงนำความไปกราบทูลพระเจ้าวิเทหราช พระองค์ตรัสเรียก บัณฑิตทั้ง 4 มา ปรึกษาว่าควรจะไปรับมโหสถมาสู่ราชสำนักหรือไม่ บัณฑิตทั้ง 4 เกรงว่ามโหสถจะได้ดีเกินหน้าตนจึงทูลว่า ลำพังการออก แบบตกแต่งอาคารไม่นับว่าผู้นั้นจะมีสติปัญญาสูงถึงขั้นบัณฑิต ขอให้รอดูต่อไปว่า มโหสถจะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดจริงหรือไม่ ฝ่ายมโหสถนั้น มีชาวบ้านนำคดีความต่างๆ มาให้ตัดสินอยู่เป็นนิตย์ เป็นต้นว่า ชายเลี้ยงโคนอนหลับไป มีขโมยเข้ามาลักโค เมื่อตามไปพบ ขโมยก็อ้างว่าตนเป็นเจ้าของโค ต่างฝ่ายต่างถกเถียงอ้างสิทธิ์ ไม่มีใคร ตัดสินได้ว่าโคนั้นเป็นของใคร จึงพากันไปหามโหสถ มโหสถถามชาย เจ้าของโคว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ชายนั้นก็เล่าให้ฟัง มโหสถจึงถาม ขโมยว่า "ท่านให้โคของท่านกินอาหารอะไรบ้าง" ขโมยตอบว่า "ข้าพเจ้าให้กินงา กินแป้ง ถั่ว และยาคู" มโหสถถามชายเจ้าของโค ชายนั้นก็ตอบว่า"ข้าพเจ้าให้โคกิน หญ้าตามธรรมดา" มโหสถจึงให้ เอาใบไม้มาตำให้โคกินแล้วให้กินน้ำ โคก็สำรอกเอาหญ้าออกมา จึงเป็นอันทราบว่าใครเป็นเจ้าของโคที่แท้จริง พระเจ้าวิเทหราชได้ทราบเรื่องการตัดสินความของมโหสถก็ ปรารถนาจะเชิญมโหสถาสู่ราชสำนัก แต่บัณฑิตทั้งสี่ก็คอยทูล ทัดทานไว้เรื่อยๆ ทุกครั้งที่มโหสถแสดงสติปัญญาในการตัดสินคดี พระเจ้าวิเทหราชทรงทดลองสติปัญญามโหสถด้วยการตั้งปัญหา ต่างๆก็ปรากฏว่า มโหสถแก้ปัญหาได้ทุกครั้ง เช่น เรื่องท่อนไม้ ที่เกลาได้เรียบเสมอกัน พระเจ้าวิเทหราชทรงตั้งคำถามว่า ข้างไหนเป็นข้าง ปลายข้างไหนเป็นข้างโคน มโหสถก็ใช้วิธีผูกเชือก กลางท่อนไม้นั้น แล้วหย่อนลงในน้ำ ทางโคนหนักก็จมลง ส่วนทาง ปลายลอยน้ำ เพราะน้ำหนักเบากว่าไม้ มโหสถก็ชี้ได้ว่า ทางไหน เป็นโคนทางไหนเป็นปลาย นอกจากนี้มโหสถยังแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ อีกเป็นอันมาก จนในที่สุดพระราชาก็ไม่อาจทนรอตามคำ ทัดทานของ บัณฑิตทั้งสี่ อีกต่อไป จึงโปรดให้ราชบุรุษไปพาตัวมโหสถกับบิดามา เข้าเฝ้าพร้อมกับให้นำ ม้าอัสดรมาถวายด้วย มโหสถทราบดีว่าครั้งนี้ เป็นการทดลองสำคัญ จึงนัดหมายการอย่างหนึ่งกับบิดา และ ในวันที่ไปเฝ้าพระราชา มโหสถให้คนนำลามาด้วยหนึ่งตัว เมื่อเข้าไปถึงที่ประทับ พระราชาโปรดให้สิริวัฒกะเศรษฐีนั่งบนที่ อันสมควรแก่เกียรติยศ ครั้นเมื่อมโหสถเข้าไป สิริวัฒกะก็ลุกขึ้น เรียกบุตรชายว่า "พ่อมโหสถ มานั่งตรงนี้เถิด" แล้วก็ลุกขึ้นจากที่นั่ง มโหสถก็ตรงไปนั่งแทนที่บิดา ผู้คนก็พากันมองดูอย่างตำหนิ ที่มโหสถทำเสมือนไม่เคารพบิดา มโหสถจึง ถามพระราชาว่า "พระองค์ไม่พอพระทัยที่ข้าพเจ้านั่งแทนที่บิดาใช่หรือไม่" พระราชาทรงรับคำ มโหสถ จึงถามว่า " ข้าพเจ้าขอทูลถามว่า ธรรมดาบิดาย่อมดีกว่าบุตร สำคัญกว่าบุตรเสมอไปหรือ" พระราชา ตรัสว่า "ย่อมเป็นอย่างนั้น บิดาย่อมสำคัญกว่าบุตร" มโหสถทูลต่อว่า "เมื่อข้าพเจ้ามาเฝ้า พระองค์มีพระกระแส รับสั่งว่าให้ข้าพเจ้านำม้าอัสดรมาถวายด้วย ใช่ไหมพระเจ้าค่ะ" พระราชาทรงรับคำ มโหสถจึงให้คนนำลาที่เตรียมเข้ามา ต่อพระพักตร์ แล้วทูลว่า "เมื่อพระองค์ตรัสว่าบิดาย่อมสำคัญ กว่าบุตร ลาตัวนี้เป็นพ่อของม้าอัสดร หากพระองค์ทรงเห็น เช่นนั้นจริง ก็โปรดทรงรับลานี้ไปแทนม้าอัสดรเถิดพระเจ้าค่ะ เพราะม้าอัสดรเกิดจากลานี้ แต่ถ้าทรงเห็นว่า บุตรอาจดีกว่าบิดา ก็ทรงรับเอาม้าอัสดรไปตามที่ทรงมีพระราชประสงค์ ถ้าหากพระองค์เห็นว่าบิดาย่อมประเสริฐกว่าบุตรก็ทรงโปรด รับเอาบิดาของข้าพเจ้าไว้ แต่หากทรงเห็นว่าบุตรอาจประเสริฐ กว่าบิดา ก็ขอให้ทรงรับข้าพเจ้าไว้" การที่มโหสถกราบทูลเช่นนั้น มิใช่จะลบหลู่ดูหมิ่นบิดา แต่เพราะ ประสงค์จะให้ผู้คนทั้งหลายตระหนักใน ความเป็นจริงของโลก และเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีผู้จงใจผูกขึ้น คือบัณฑิตทั้งสี่นั้นเอง พระราชาทรงพอพระทัยในปัญญาของมโหสถจึงตรัสแก่ สิริวัฒกะเศรษฐีว่า "ท่านเศรษฐี เราขอมโหสถไว้ เป็นราชบุตร จะขัดข้องหรือไม่" เศรษฐีทูลตอบว่า "ข้าแต่พระองค์ มโหสถยังเด็กนัก อายุ เพิ่ง 7 ขวบ เอาไว้ให้โตเป็นผู้ใหญ่ก่อนน่าจะดีกว่าพระเจ้าค่ะ" พระราชาตรัสตอบว่า "ท่านอย่าวิตกในข้อที่ว่ามโหสถยังอายุ น้อยเลย มโหสถเป็นผู้มี ปัญญาเฉียบแหลมยิ่งกว่าผู้ใหญ่ จำนวนมาก เราจะเลี้ยงมโหสถในฐานะราชบุตรของเรา ท่านอย่ากังวล ไปเลย" มโหสถจึงได้เริ่มรับราชการกับ พระเจ้าวิเทหราชนับตั้งแต่นั้นมา ตลอดเวลาที่อยู่ในราชสำนัก มโหสถได้แสดงสติปัญญา และความสุขุมลึกซึ้งในการพิจารณาแก้ไขปัญหา ข้อขัดข้อง ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่พระราชาทรงผูกขึ้นลองปัญญา มโหสถ หรือที่บัณฑิตทั้งสี่พยายาม สร้างขึ้นเพื่อให้มโหสถ อับจนปัญญา แต่มโหสถก็แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทุกครั้งไป มิหนำซ้ำในบางครั้ง มโหสถยังได้ช่วยให้บัณฑิตทั้งสี่นั้น รอดพ้นความอับจน แต่บัณฑิตเหล่านั้นมิได้กตัญญูรู้คุณ ที่มโหสถกระทำแก่ตน กลับพยายามทำให้พระราชาเข้า พระทัยว่ามโหสถด้อยปัญญา พยายามหาหนทางให้พระราชา ทรงรังเกียจมโหสถ เพื่อที่ตนจะได้รุ่งเรืองในราชสำนัก เหมือนสมัยก่อน มโหสถรุ่งเรืองอยู่ในราชสำนักของพระเจ้าวิเทหราช ได้รับการ สรรเสริญจากผู้คนทั้งหลายจนมีอายุได้ 16 ปี พระมเหสีของ พระราชาผู้ทรงรักใคร่มโหสถเหมือนเป็นน้องชาย ทรงประสงค์ จะหาคู่ครองให้ แต่มโหสถขอพระราชทานอนุญาตเดินทาง ไปเสาะหาคู่ครองที่ตนพอใจด้วยตนเอง พระมเหสีก็ทรงอนุญาต มโหสถเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้พบหญิงสาวคนหนึ่ง เป็นลูกสาวเศรษฐีเก่าแก่ แต่ได้ยากจนลง หญิงสาวนั้นชื่อว่าอมร มโหสถปลอมตัวเป็นช่างชุนผ้า ไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาของนาง และได้ทดลอง สติปัญญาของนางด้วยประการต่างๆเป็นต้นว่า ในครั้งแรกที่พบกันนั้น มโหสถถามนางว่า "เธอชื่ออะไร" นางตอบว่า "สิ่งที่ดิฉันไม่มีอยู่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต นั่นแหล่ะ เป็นชื่อ ของดิฉัน" มโหสถ พิจารณาอยู่ครู่หนึ่งก็ตอบว่า "ความไม่ตายเป็นสิ่ง ไม่มีอยู่ในโลก เธอชื่อ อมร ( ไม่ตาย ) ใช่ไหม " หญิงสาวตอบว่า ใช่ มโหสถถามต่อว่า นางจะนำข้าวไปให้ใคร นางตอบว่า นำไป ให้บุรพเทวดา มโหสถก็ ตีปริศนาออกว่า บุรพเทวดาคือเทวดา ที่มีก่อนองค์อื่นๆ ได้แก่ บิดา มารดา เมื่อมโหสถได้ทดลองสติปัญญาและความประพฤติต่างๆของ นางอมรจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขอนางจาก บิดา มารดา พากลับ ไปกรุงมิถิลา เมื่อไปถึงยังเมือง ก็ยังได้ทดลองใจนางอีกโดย มโหสถแสร้งล่วงหน้าไปก่อน แล้วแต่งกายงดงามรออยู่ในบ้าน ให้คนพานางมาพบ กล่าวเกี้ยวพาราสีนาง นางก็ไม่ยินดีด้วย มโหสถจึงพอใจนาง จึงพาไปเฝ้าพระราชาและพระมเหสี พระราชาก็โปรดให้มโหสถแต่งงานอยู่กินกับ นางอมรต่อมา บัณฑิตทั้งสี่ยังพยายามที่จะกลั่นแกล้งมโหสถด้วยประการ ต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล แม้ถึงขนาดพระราชาหลงเข้าพระทัยผิด ขับไล่มโหสถออกจากวัง มโหสถก็มิได้ขุ่นเคือง แต่ยังจงรักภักดี ต่อพระราชา พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า "เจ้าเป็นผู้มีสติปัญญา หลักแหลมยิ่ง หากจะหวังช่วงชิงราชสมบัติจากเราก็ย่อมได้ เหตุใดจึงไม่คิดการร้ายต่อเรา" มโหสถทูลตอบว่า "บัณฑิตย่อม ไม่ทำชั่ว เพื่อให้ได้ความสุข สำหรับตน แม้จะถูกทับถมให้เสื่อมจาก ลาภยศ ก็ไม่คิดสละธรรมะด้วยความหลงในลาภยศ หรือด้วย ความรักความชัง บุคคลนั่งนอนอยู่ใต้ร่มไม้ ย่อมไม่ควรหัก กิ่งต้นไม้นั้น เพราะจะได้ชื่อว่าทำร้ายมิตร บุคคลที่ได้รับการ เกื้อหนุนอุปการะจากผู้ใด ย่อมไม่ทำให้ไมตรีนั้นเสียไปด้วย ความโง่เขลา หรือความ หลงในยศอำนาจ บุคคลผู้ครองเรือน หากเกียจคร้าน ก็ไม่งาม นักบวชไม่สำรวม ก็ไม่งาม พระราชา ขาดความพินิจพิจารณาก็ไม่งาม บัณฑิตโกรธง่าย ก็ไม่งาม" ไม่ว่าบัณฑิตทั้งสี่จะกลั่นแกล้งมโหสถอย่างใด มโหสถก็ สามารถเอาตัวรอดได้ทุกครั้ง และมิได้ตอบแทน ความชั่วร้าย ด้วยความชั่วร้าย แต่กลับให้ความเมตตากรุณาต่อบัณฑิต ทั้งสี่เสมอมา นอกจากจะทำหน้าที่พิจารณาเรื่องราว แก้ไขปัญหาต่างๆ มโหสถยังได้เตรียมการป้องกันพระนครใน ด้านต่างๆ ให้พร้อมเสมอด้วย และยังจัดผู้คนไปอยู่ตามเมืองต่างๆ เพื่อคอยสืบข่าวว่า จะมีบ้านเมืองใด มาโจมตีเมืองมิถิลาหรือไม่ มีพระราชาองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า จุลนีพรหมทัต ครองเมือง อุตรปัญจาล ประสงค์จะทำสงครามแผ่ เดชานุภาพ จึงทรงคิด การกับปุโรหิตชื่อ เกวัฏพราหมณ์ หมายจะลวงเอากษัตริย์ ร้อยเอ็ดพระนครมา กระทำสัตย์สาบานแล้วเอาสุราเจือยาพิษ ให้กษัตริย์เหล่านั้นดื่ม จะได้รวบรวมพระนครไว้ในกำมือ มโหสถ ได้ทราบความลับจากนกแก้วที่ส่งออกไปสืบข่าว จึงหาทางช่วย ชีวิตกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดไว้ได้ โดยที่ กษัตริย์เหล่านั้นหารู้ตัวไม่ พระเจ้าจุลนีทรงเห็นว่ามิถิลา เป็นเมืองเดียวที่ไม่ยอมทำ สัตย์สาบาน จึงยกทัพใหญ่มุ่งไปโจมตีมิถิลา มีเกวัฏพราหมณ์ เป็นที่ปรึกษาใหญ่ แต่ไม่ว่าจะโจมตีด้วยวิธีใด มโหสถ ก็รู้ทัน สามารถตอบโต้และแก้ไขได้ ทุกครั้งไป ในที่สุดพระเจ้าจุลนีทรงส่งเกวัฏพราหมณ์มาประลองปัญญา ทำสงครามธรรมกับมโหสถ มโหสถออกไป พบเกวัฏพราหมณ์ โดยนำเอาแก้วมณีค่าควรเมืองไปด้วย แสร้งบอกว่า จะยกให้ พราหมณ์ แต่เมื่อจะส่ง ให้ก็วางให้ที่ปลายมือพราหมณ์เกวัฏ เกรงว่าแก้วมณจะตกจึงก้มลงรับแต่ก็ไม่ทัน แก้วมณีตกลงไป กับพื้นเกวัฏก้มลงเก็บด้วยความโลภ มโหสถจึงกดคอเกวัฏไว้ ผลักให้กระเด็นไป แล้วให้ทหารร้องประกาศว่า เกวัฏปราหมณ ์ก้มลงไหว้มโหสถ แล้วถูกผลักไปด้วยความรังเกียจ บรรดาทหารของพระเจ้าจุลนีมองเห็นแต่ภาพเกวัฏพราหมณ์ ก้มลงแทบเท้า แต่ไม่ทราบว่าก้มลงด้วยเหตุใด ก็เชื่อตามที่ ทหารของมโหสถป่าวประกาศ พากันกลัวอำนาจมโหสถ ถอยหนีไปไม่เป็นกระบวน กองทัพพระเจ้าจุลนีก็แตกพ่ายไป เกวัฏพราหมณ์คิดพยาบาทมโหสถอยู่ไม่รู้หาย จึงวางอุบายให้ พระเจ้าจุลนีส่งทูตไปทูลพระเจ้าวิเทหราชว่าจะขอทำสัญญาไมตรี และขอถวายพระราชธิดาให้เป็นชายา พระเจ้าวิเทหราชทรงมี ความยินดี จึงทรงตอบรับเป็นไมตรี พระเจ้าจุลนีก็ขอให้ พระเจ้าวิเทหราชเสด็จมาอุตรปัญจาล มโหสถพยายาม ทูลคัดค้าน พระราชาก็มิได้ฟังคำ มโหสถก็เสียใจว่าพระราชา ลุ่มหลงในสตรี แต่กระนั้นก็ยังคงจงรักภักดี จึงคิดจะแก้อุบาย ของพระเจ้าจุลนี มโหสถจึงทูลขออนุญาตไปจัดเตรียมที่ประทับ ให้พระราชในเมืองอุตรปัญจาล ก็ได้รับอนุญาต มโหสถจึงให้ ผู้คนไปจัดสร้างวังอันงดงาม และที่สำคัญคือจัดสร้างอุโมงค์ใต้ดิน เป็นทาง เดินภายในอุโมงค์ประกอบด้วยกลไกและประตูลับ ต่างๆซับซ้อนมากมาย เมื่อเสร็จแล้วมโหสถจึงทูลเชิญ ให้พระเจ้าวิเทหราชเสด็จไปยังอุตรปัญจาล ขณะที่พระเจ้าวิเทหราชประทับอยู่ในวัง รอที่จะอภิเษกกับ พระธิดาพระเจ้าจุลนี พระเจ้าจุลนีทรงยก กองทหารมาล้อมวังไว้ มโหสถซึ่งเตรียมการไว้แล้ว ก็ลอบลงไปทางอุโมงค์เข้าไปใน ปราสาทพระเจ้าจุลนี ทำอุบายหลอกเอาพระชนนี พระมเหสี พระราชบุตร และราชธิดาพระเจ้าจุลนีมากักไว้ใต้วังที่สร้างขึ้น นั้นแล้วจึงกลังไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหราช พระเจ้าวิเทหราชตกพระทัยว่ากองทหารมาล้อมวัง ตรัสปรึกษา มโหสถ มโหสถจึงทูลเตือนพระราชาว่า "ข้าพระองค์ได้กราบทูล ห้าม มิให้ทรงประมาท แต่ก็มิได้ทรงเชื่อ พระราชบิดาพระเจ้าจุลนี นั้น ประดุจเหยื่อที่นำมาตกปลา การทำไมตรีกับผู้ไม่มีศีลธรรม ย่อมนำความทุกข์มาให้ ธรรมดาบุคคลผู้มี ปัญญา ไม่พึงทำ ไมตรีสมาคมกับบุคคลผู้ไม่มีศีล ซึ่งเปรียบเสมือนงู ไว้วางใจ มิได้ย่อมนำความเดือดร้อน มาสู่ไมตรีนั้น ไม่มีทางสำเร็จผลได้" พระเจ้าวิเทหราชทรงเสียพระทัยที่ไม่ทรงเชื่อคำทัดทาน ของมโหสถแต่แรก มโหสถจัดการนำพระเจ้า วิเทหราช ไปพบพระชนนี พระมเหสี และพระโอรสธิดาของพระเจ้าจุลนี ที่ตนนำมาไว้ในอุโมงค์ใต้ดิน แล้วจัดการให้กองทัพที่เตรียมไว้ นำเสด็จกษัตริย์ทั้งหลายกลับไปมิถิลา ส่วนตัวมโหสถเองอยู่ เผชิญหน้า กับพระเจ้าจุลนี เมื่อพระเจ้าจุลนีเสด็จมา ประกาศว่าจะจับพระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอกให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราช มโหสถจึงบอก ให้ทรงทราบว่า พระเจ้าวิเทหราชเสด็จกลับมิถิลาแล้วพร้อมด้วย พระราชวงศ์ ของพระเจ้าจุลนี พระราชาก็ทรงตกพระทัย เกรงว่าพระญาติวงศ์จะเป็นอันตราย มโหสถจึงทูลว่า ไม่มีผู้ใด จะทำอันตราย แล้วจึงทูลเชิญพระเจ้าจุลนีทอดพระเนตรวังและ อุโมงค์ที่จัดเตรียมไว้อย่างวิจิตรงดงาม ขณะที่พระเจ้าจุลนีกำลัง ทรงเพลิดเพลิน มโหสถก็ปิดประตูกลทั้งปวง และหยิบดาบที่ซ่อนไว้ ทำทีว่าจะ ตัดพระเศียรพระราชา พระราชาตกพระทัยกลัว มโหสถจึงทูลว่า "ข้าพระองค์จะไม่ทำร้ายพระราชา แต่หากจะฆ่า ข้าพระองค์เพราะแค้นพระทัย ข้าพระองค์ก็จะถวายดาบนี้ให้" พระราชาเห็นมโหสถส่งดาบถวาย ก็ทรงได้สติ เห็นว่ามโหสถ นอกจากจะประกอบด้วยความสติปัญญาประเสริฐแล้ว ยังเป็น ผู้ไม่มีจิตใจมุ่งร้ายพยาบาทผู้ใด พระเจ้าจุลนีจึงตรัสขออภัยที่ ได้เคยคิดร้ายต่อเมืองมิถิลา ต่อพระเจ้าวิเทหราช และต่อมโหสถ มโหสถจึงทูลลากลับไปมิถิลา จัดให้กองทหารนำเสด็จพระชนนี พระมเหสี และ พระราชบุตร ของพระเจ้าจุลนีกลับมายัง อุตรปัญจาล ส่วนราชธิดานั้นคงประทับอยู่มิถิลา ในฐานะ พระชายาพระเจ้า วิเทหราชต่อไป พระเจ้าจุลนีทรงตรัสขอให้มโหสถมาอยู่กับพระองค์ มโหสถ ทูลว่า "ข้าพระองค์รับราชการรุ่งเรืองในราช สำนักของพระเจ้า วิเทหราช ผู้เป็นเจ้านายของข้าพระองค์แต่เดิม ไม่อาจจะไปอยู่ที่ อื่นได้หากเมื่อใด พระเจ้าวิเทหราชสวรรคต ข้าพระองค์จะไป อยู่เมืองอุตรปัญจกาล รับราชการอยู่ในราชสำนัก ของ พระองค์" เมื่อพระเจ้าวิเทหราชสิ้นพระชนม์ มโหสถก็ทำตามที่ ลั่นวาจาไว้ คือไปรับราชการอยู่กับพระเจ้าจุลนี และยังถูก กลั่นแกล้งจากเกวัฏพราหมณ์คู่ปรับเก่า แต่มโหสถก็ เอาตัวรอดได้ทุกครั้ง มโหสถนอกจากจะมีสติปัญญา เฉลียวฉลาดแล้ว ยังประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ มีความสุขุมรอบคอบ มิได้หลงใหล ในลาภยศสรรเสริญ ดังนั้นมโหสถจึงได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น บัณฑิตผู้มี ความรู้อันลึกซึ้ง มีสติ ปัญญานั้นประกอบด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ ที่กำกับให้ผู้มีสติปัญญาประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
    </td> </tr> <tr valign="top" align="middle"> <td> </td> </tr> <tr valign="top" align="middle"> <td>
    คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี
    ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว​
    </td></tr></tbody></table>
     
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    วันที่ ๒๐ เมษายน ออกเดินทางจากเมืองจำปา ไปยังสุวรรณภูมิ โดยสวัสดิภาพ

    แปล (ตามความเห็นของตัวเอง)

    - เมืองจำปา อยู่ไหน?
    - สุวรรณภูมิ หมายถึง ประเทศไทย?
    - สุวรรณภูมิ หมายถึง สนามบิน แสดงว่า ออกจากเมืองจำปา กลับมาเมืองไทย โดยเครื่องบิน

    - พระมหาชนกไปเมืองจำปา ทำไม?
    - พระมหาชนกกลับจากเมืองจำปามายังเมืองไทยโดยเครื่องบิน? (หรือเปล่า)


    นครจำปาสัก ดั้งเดิมเป็นเมืองของชาวจาม เรียกว่า "จำปานคร" มีกษัตริย์ปกครองมาหลายสมัย เคยตกเป็นอาณานิคมของสยามในบางช่วง และตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เมื่อไทยเสียดินแดนลาวฝั่งซ้ายทั้งหมดให้ฝรั่งเศส และต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง คือ นครจำปาสักและหลวงพระบางให้ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2446

    • แขวงจำปาสัก ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสีหรือจำปานคร ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักร เดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนาน นับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม

    สรุป
    ถ้าจะหนีไปเมืองกาลจำปา ก็จะรอดพ้นจากข้าศึก แล้วกลับมาสุวรรณภมิ วันที่ ๒๐ เมษายน :cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    "กาละจัมปากะ, แคว้นอังคะ" หรือ "กาลจัมปา", "จัมปา", "จัมปาปูระ", ปัจจุบันเป็นเมือง "ภาคัลปูระ, แคว้นพิหาร, ประเทศอินเดีย"

    Kalachampaka, Anga. (Kalachampa, Champa, Champapur). Modern Bhangalpur, Bihar.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,792
    [​IMG]

    ๗๐๐ โยชน์ = ๓๓๗๙.๖๓๕ กิโลเมตร = 2100.007 ไมล์
     
  19. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [​IMG]


    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=pWXw4zJ_YTA]YouTube - ถอดรหัส สคส 2547[/ame]

    เวลาแห่งการเตรียมเสบียงเหลือน้อยลงทุกที
    หากจำเป็นต้องถอยหลังเข้าคลอง ก็ต้องทำ


    ยุทธศาสตร์ "สามัคคีเป็นพลังค้ำจุนแผ่นดินไทย"


    “หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พร้อมทำกิจไม่เกี่ยงก่อนหลัง ตั้งมั่นในหลักการไม่หาญหัก เคารพรักพระปราชญ์ผู้เฒ่าผู้ใหญ่ คุ้มกันภัยมวลหมู่มิให้หวั่นหวาด เคารพในชาติ ศาสน์-กษัตริย์และศูนย์รวมใจ สั่งสมและส่งเสริมให้พระดี คนดี มีกำลังนำสังคม”
     
  20. ธัมมะอาสา

    ธัมมะอาสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    417
    ค่าพลัง:
    +2,648
    [​IMG]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=WnP68SzRuxU]YouTube - เมืองมิถิลาไม่สิ้นคนดี[/ame]

    ยุทธศาสตร์พื้นฟูแผ่นดินสยาม

    "คัดเมล็ด รวบรวมก้าน ฟื้นฟูกิ่ง เรียนรู้จริงอาศรมพระดาบส พัฒนาชนบทจรดเมืองสวรรค์ พิถันสร้างชุมชนพอเพียง เตรียมเสบียงฝ่าวิกฤติ กำหนดทิศฟื้นวิถีไทย สร้างวิถีพุทธให้ยั่งยืน"



    "เริ่มด้วยช่วยกัน"

    ท่านสามารถส่งรายชื่อพระปราชญ์ นักปราชญ์ พระดี คนดีในสังคม เข้าร่วมโครงการปราชญ์พลังแผ่นดินฟื้นฟูถิ่นไทย ได้ที่ seascrab@gmail.com หรือเว็บไซต์

    https://sites.google.com/site/peplemapping/directory
     

แชร์หน้านี้

Loading...