คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดนางรอง

    topic_picture_15_15.jpg

    upload_2021-9-3_7-6-21.jpeg upload_2021-9-3_7-6-40.jpeg images?q=tbn:ANd9GcT9e_TaRN688Zvnpig71-W1DBhc8-eEeYObjg&usqp=CAU.jpg

    วัดนางรอง อยู่ที่ เลขที่ ๘๔ หมู่ ๓ ตำบลหินตั้ง อ.เมือง จ. นครนายก

    บนเนินเขาน้อยสิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ รูปหล่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๑๔ โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) เป็นองค์ประธาน ภายในบริเวณวัดยังมีอาคารที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิมปางต่าง ๆ และมีวิหารระฆังสูง ๑๘ เมตร แบ่งเป็น ๕ ชั้น ชั้นบนสุดสามารถมองเห็นบางส่วนของเขื่อนขุนด่านปราการชล สอบถามข้อมูล โทร. ๐ ๓๗๓๘ ๕๐๕๔


    เรื่องที่มา : https://www.tat8.com/วัดนางรอง/
    ภาพ : wikipedia
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กันยายน 2021
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดถ้ำสาริกา
    ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็กๆ ภายในวัดถ้ำสาริกา อ.เมือง จ.นครนายก มีลักษณะเป็นเพิงหินเล็กๆ ภายใต้ก้อนหินขนาดใหญ่ลึก เข้าไปในหินประมาณ 3 เมตรไม่มีหินงอกหินย้อย เคยเป็นสถานที่ ที่หลวงปู่มั่น เดินทางธุดงค์มาฝึกวิปัสนากรรมฐาน ในช่วงที่ท่านธุดงค์ ป่าภาคกลาง ด้านในถ้ำประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่มั่น ขนาดเล็กกว่าองค์จริงเล็กน้อย ด้านบนหินมีต้นไทรต้นใหญ่แผ่รากคอบคลุมหิน ก้อนนี้อยู่ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างศาลาคอนกรีตถาวร คลุมบริเวณหน้าถ้ำไว้ เพื่อสะดวกในการมาสักการะและปฏิบัติธรรมร่มเย็นดีมาก ปัจุจับนในถ้ำประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่มั่น ขนาดเล็กกว่าองค์จริงเล็กน้อย ซึ่งบริเวณช่องถ้ำเป็นที่ที่หลวงปู่มั่นเคยใช้เป็นที่่วิปัสสนา บำเพ็ญธรรมในสมัยก่อน บริเวณใกล้กันประดิษฐานพระประธานพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิ และรูปหล่อสมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังสี สำหรับให้ชาวบ้านหรือพุทธศาสนิกชนได้มาบูชากราบไหว้กัน และมีตู้กระจกซึ่งด้านในมีหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่มั่นซึ่งเท่ากับขนาดองค์จริง ประดิษฐานอยู่ ภายในบริเวณวัดเป็นภูเขา ลักษณะสภาพป่าเขาและตบแต่งภูมิทัศน์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีกุฏิหลังน้อยๆ ซ้อนตัวกลมกลืน กับธรรมชาติอยู่หลายหลัง เพื่อสะดวกในการมาสักการะและใช้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมภายในวัด
    wattumsariga.jpg

    สำหรับความสำคัญของถ้ำนี้ปรากฏในประวัติหลวงปู่มั่น จากสำนวนหลายครูบาอาจารย์เป็นดังนี้คือ ประมาณปี ๒๔๕๐ - ๒๔๕๓ ท่านได้จาริกไปทางจังหวัดลพบุรี ไปพักอยู่ที่เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ต่อมา ท่านได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำสาริกานี่เอง ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง หลายประการ และเป็นที่ติดใจท่านมาตลอด คือ ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่า หมู่บ้านอื่น ๆ ท่านวานให้ชาวบ้านพาไปส่งที่ถ้ำดักล่าว เพราะไม่รู้จักทาง ชาวบ้านเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับถ้ำนั้นให้ฟัง พร้อมกับนิมนต์ ให้เลิกล้มความต้องใจที่จะไปถ้ำนั้นเสีย แต่ท่านบอกว่า ท่านไม่กลัว ท่านทดลองพักดู ขณะที่พักที่ถ้ำสาริกาแห่งนี้ในระยะเดือนแรกๆ ท่านรู้สึกปรกติดี จิตใจสงบ ไม่มีอะไรพลุกพล่าน พอดีคืนต่อๆมา ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้น ตามลำดับ ท่านได้หวนคิดถึงคำที่ชาวบ้าพูดกันว่า มีพระมาตายที่นี่ ๔ รูปแล้ว ท่านจึงคิดว่าท่านอาจเป็นรูปที่ ๕ ก็ได้ ถ้าไม่หายจากโรค เมื่อฉันยาแล้ว โรคก็ยังไม่หยุดกำเริบ ในที่สุดท่านตัดสินใจใช้ธรรมโอสถรักษา จะหายก็หายจะตายก็ตาย จากนั้นท่านจึงพิจารณาถึง ทุกขเวทนาด้วยปัญญาอย่างไม่หยุดยั้ง จนในที่สุดโรคก็หาย ความฟุ้งซ่านภายในใจก็ดับกลายเป็นความสงบ จิตสว่างออกไปจากร่างกาย ปรากฏเห็นบุรุษคนหนึ่งมีรูปร่างใหญ่โต ถือตะบองเหล็กเดินเข้ามาหาท่าน พูดกับท่านว่าจะตีท่านให้จมลงดิน ถ้าไม่หนีไป ท่านก็ถามไปว่า ท่านผิดอะไรถึงจะมาตีท่าน เขาก็บอกว่า เขารักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ใครมาใหญ่กว่าเขาเป็นไม่ได้ ท่านก็บอกว่า ท่านเป็นพระ มาบำเพ็ญธรรมเพื่อมาปราบกิเลส ไม่ได้มาทำร้ายใครว่าแล้วก็เทศนา สั่งสอนบุรุษลึกลับคนนนั้น จนเกิดความเลื่อมใส ในคืนต่อมา ท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมด้วยความสะดวกไม่มีอะไรมารบกวน ร่างกายก็เป็นปรกติสุข หลังจากที่หลวงปู่มั่นได้ธุดงค์จากที่นี่ไป

    หลังจากหลวงปู่มั่นธุดงค์ไปที่อื่นแล้ว ถ้ำแห่งนี้ก็ได้ร้างลงจนเมื่อประมาณ ๓๐ - ๔๐ ปีมานี้ ท่านพระอาจารย์เจือ กิจจธโรเจ้าอาวาสรูป ปัจจุบัน ได้สร้างวัดในบริเวณนี้สำหรับปฏิบัติธรรมและศาสนสถานต่างๆ ให้มั่นคงและเป็นที่รุ้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น วัดแห่งนี้ไม่ไกลจาก กรุงเทพมากนัก จัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่มั่นใกล้กรุงเทพที่สุดแห่งหนึ่ง สะดวกสำหรับการมาเยื่ยมชมและ รำลึกถึงการปฏิบัติธรรมอย่างเด็ดเดี่ยวโดยมีชีวิตเข้าแรก ณ สถานที่แห่งนี้


    เมื่อขึ้นบันไดมาเจอจุดแรกเป็นศาลาคอนกรีตที่มีต้นไทรใหญ่ปกคลุม
    wattumsariga1.jpg wattumsariga2.jpg
    wattumsariga5.jpg wattumsariga4.jpg
    wattumsariga3.jpg wattumsariga6.jpg
    ทางขึ้นไปนมัสการหลวงปู่มั่น
    wattumsariga7.jpg wattumsariga8.jpg
    wattumsariga9.jpg wattumsariga10.jpg
    อุโบสถวัดถ้ำสาริกา
    wattumsariga11.jpg wattumsariga12.jpg
    wattumsariga13.jpg wattumsariga14.jpg
    การเดินทางไปวัดถ้ำสาริกา
    โดยรถยนต์ส่วนตัว
    จากตัวเมืองนครนายกไปตามทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3050 โดยอยู่ก่อนถึงน้ำตกสาริกาประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดถ้ำสาริกา วัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือมีป้ายบอกชัดเจน

    ข้อมูลภาพที่มา : https://www.paiduaykan.com/province/central/nakhonnayok/wattumsariga.html
    #เคยไปแล้วสงบดีค่ะ
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดพรพระร่วงประสิทธิ์

    upload_2021-9-3_7-35-51.jpeg upload_2021-9-3_7-36-56.jpeg
    upload_2021-9-3_7-38-29.jpeg upload_2021-9-3_7-35-28.jpeg upload_2021-9-3_7-36-27.jpeg
    ประวัติวัดพรพระร่วงประสิทธิ์

    เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยมี หลวงพ่อพระร่วง วิเสเสอิ (พระโอรสในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) เป็นผู้ก่อตั้ง เดิมทีที่ตั้งวัดแห่งนี้ขึ้นอยู่กับอำเภอบางเขน ตำบลออเงิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร พื้นที่บริเวณตั้งวัดเป็นทุ่งนา หลวงพ่อพระร่วงวิเสเสอิ ได้เดินธุดงค์มาปักกลดเจริญสมณธรรมบริเวณนี้ ท่านได้ออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมในย่านนี้ จนมีญาติโยมที่พบเห็นปฏิปทาในการปฏิบัติธรรมของท่าน เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์ท่าน จึงดำริชักชวนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงถวายที่ดินให้ท่าน และให้ท่านเป็นผู้นำในการก่อตั้งวัด


    ซึ่งในสมัยนั้น บริเวณนี้การคมนาคมสัญจรไปมาหาสู่กันเป็นเรื่องยากลำบากเพราะยังไม่มีถนนหนทาง ต้องอาศัยคลองเดินทางโดยทางเรือ ตามคลองน้อยใหญ่ ในหน้าฝนและหน้าน้ำ ในหน้าแร้งต้องอาศัยคันนาเป็นเส้นทางสัญจรของชาวบ้านบริเวณนี้ พุทธศาสนิกชนชาวย่านนี้ เมื่อมีกิจคิดอยากจะบำเพ็ญทำกุศลก็จะเดินทางไปยังวัดเหล่านี้ เช่น วัดออเงิน วัดบึงพระยาสุเรนทร์ วัดหนองผักชี เป็นต้น ซึ่งเป็นระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร ซึ่งการบำเพ็ญศาสนกิจของชาวพุทธในย่านนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบากต่อมา มีโยม สำเภา ฟักเหลือง เป็นผู้นำชักชวนญาติโยม พี่น้องที่อาศัยในบริเวณนี้ ถวายที่ดิน แด่หลวงพ่อพระร่วง วิเสเสอิ ให้ท่านเป็นผู้นำในการสร้างวัดขึ้นบริเวณนี้

    ที่มา : https://tourwatthai.com/region/central/bangkok/watponphraruangprasit/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube MooSuraphan
    เพลงพระร่วงเจ้า (เพลง)
    www.youtube.com/watch?v=ihsDBVbac68

    ประกอบเนื้อเพลงที่จัดทำขึ้นพิเศษสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
    ขอขอบคุณพระวิญญาณบรรพกษัตริย์ไทยทุกๆ พระองค์
    ร้อยคำพูด โดย ครูเทพ : WORDING ARRANGEMENT BY KRU THEP

     
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ไตรภูมิพระร่วง
    upload_2021-9-3_8-5-40.jpeg

    ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัยนับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นวรรณคดีไทยที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน เพราะได้รวบรวมเอาคติความเชื่อทุกแง่ทุกมุมของทุกชนชั้นหลายเผ่าพันธุ์มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านผู้ฟังยำเกรงในการกระทำบาปทุจริต และเกิดความปิติยินดีในการทำบุญทำกุศล อาจหาญมุ่งมั่นในการกระทำคุณงามความดี

    พระมหาธรรมราชาลิไทย มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาอนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน
    ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ พระยาลิไทย อุปราชผู้ครองนครศรีสัชนาลัย ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้น มีสาระสำคัญ คือ ทรงพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว
    กามภูมิ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อบายภูมิ และสุคติภูมิ
    อบายภูมิ ยังแบ่งออกเป็นสี่ภูมิได้แก่ นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสูรกายภูมิ
    นรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ๆ ได้ แปดขุมด้วยกัน คือ
    - สัญชีพนรก มีอายุ ๕๐๐ ปี นรก (๑ วันเท่ากับ ๙ ล้านปีของมนุษย์)
    - กาฬสุตตนรก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
    - สังฆาฏนรก มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๑๔๕ ล้านปีของมนุษย์)
    - โรรุวะนรก มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีของมนุษย์)
    - มหาโรรุวะนรก มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีของมนุษย์)
    - ตาปนรก มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากัย ๙,๒๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
    - มหาตาปนรก มีอายุยาวนานนับไม่ถ้วน
    - อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก มีอายุนับได้กัลป์หนึ่ง
    ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่น จามาตกนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กันต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอกแหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
    สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น ๆ เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
    สุคติภูมิ เป็นส่วนของกามาพจรภูมิ หรือ กามสุคติภูมิ แบ่งออกเป็นเจ็ดชั้น คือ มนุษย์ภูมิ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ สวรรค์ชั้นตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์ - ไตรตรึงษ์) สวรรค์ชั้นยามาภูมิ สวรรค์ชั้นตุสิตาภูมิ (ดุสิต) สวรรค์ชั้นนิมมานรดีภูมิ และสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ
    กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กามภูมิสิบเอ็ดชั้น
    รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่มตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่า สมมติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป หินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ หินก้อนนั้นใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้น
    จากพรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น ๆ คือ พรหมชั้นอื่น ๆ มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟักครั้นหมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิดตามกรรมต่อไป
    รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหมอีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้
    อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มีสี่ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียกว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนวสัญญานาสัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อเสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ๆ ได้เช่นกัน
    การกำเนิดของสัตว์ การเกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่สี่อย่างด้วยกันคือ
    - ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
    - อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
    - สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป เช่น ไฮดรา อมิบา เป็นต้น
    - โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีทราก ได้แก่ เปรต อสูรกาย เทวดา และพรหม เป็นต้น
    การตายของสัตว์ การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
    - อายุขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นอายุ
    - กรรมขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นกรรม
    - อุภยขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
    - อุปัจเฉทกรรมขยะ เป็นการตายเพราะอุบัติเหตุ
    นอกจากนั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร อินิมธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณะ กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง ๆ กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
    การกำหนดอายุของสัตว์และโลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติของพราหมณ์
    ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานคถาว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธีตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
    สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมจารึกลงในแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ติดไว้กับผนังด้านใน ของศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ และจดไว้ในสมุดไทยอีกหลายเล่ม กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นภาษิตไทยแท้ ๆ ใช้ถ้อยคำอย่างพื้น ๆ เป็นภาษิตไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปในลักษณะกวีนิพนธ์แบบต่าง ๆ แทรกอยู่ในวรรณคดีไทยในเวลาต่อมา เมื่อพิจารณาตามรูปของวลีจะพบว่า คล้ายคลึงใกล้เคียงกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจเป็นไปได้ว่า สุภาษิตพระร่วงเดิมเป็นพระบรมราโชวาท ซึ่งพระร่วง พ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น
    สุภาษิตพระร่วงเขียนเป็นร่ายสุภาพ มีรูปแบบที่กำหนดไว้ตายตัวว่าในวรรคหนึ่ง ๆ ให้ใช้คำได้วรรคละห้าคำ คำส่งสัมผัสมีรูปวรรณยุกต์ใด คำรับสัมผัสต้องมีรูปวรรณยุกต์นั้น เช่น ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า เป็นต้น
    วรรณกรรมเรื่องสุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของสุโขทัย ได้รับการเรียบเรียงเป็นร่ายสุภาพ และจารึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์
    ตำนานพระร่วงพระลือ พระร่วงพระลือ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมจำหลักจากงาดำของช้างเผือกเป็นศิลปะสุโขทัย ต่อมามีการหล่อด้วยสำริดศิลปะอยุธยา ลักษณะประทับยืนตรง ยกพระหัตถ์ทั้งสองตั้งเสมอพระอุระ ทรงพระมาลาที่ชาวบ้านเรียกว่าหมวกชีโบ ครองจีวรคลุมยาวถึงพระชงฆ์ องค์พระร่วงสูง ๓๘ เซนติเมตร กว้าง ๘ เซนติเมตร องค์พระลือสูง ๓๔ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
    พงศาวดารเหนือกล่าวประวัติพระร่วงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยว่า พระบิดาเป็นมนุษย์พระมารดาเป็นนางนาค พระบิดาเดิมครองนครหริภุญไชย ทรงพระนามว่าอภัยคามมะนี ท่านได้ไปจำศีลภาวนาอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ได้มีนางนาคจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวเล่น ได้พบพระยาอภัยคามมะนีแล้วเกิดรักใคร่กัน ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเจ็ดวัน นางนาคก็กลับสู่เมืองบาดาล เมื่อใกล้คลอดบุตรจึงได้ขึ้นจากบาดาลไปยังภูเขาที่เคยพบพระยาอภัยคามมะนี และคลอดบุตรชาย ณ ที่นั้น แล้ววางบุตรบนผ้ากัมพล พร้อมทั้งวางพระธำมรงค์ที่ได้รับประทานจากพระยาอภัยคามมะนี อธิษฐานขอให้พ่อลูกพบกัน แล้วกลับไปบาดาล
    มีพรานป่าผู้หนึ่งมาพบทารกจึงนำไปเลี้ยง เมื่อกุมารเจริญวัย เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ วันหนึ่งพระยาอภัยคามมะนี มีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชนิเวศน์เพิ่มเติม จึงประกาศให้ราษฎรไปช่วยกันตัดไม้มาสร้างถวาย พรานป่าก็ได้พาบุตรบุญธรรมไปร่วมตัดไม้ด้วย กุมารก็แสดงฤทธิ์ด้วยการใช้วาจาสิทธิ์ให้ได้ไม้มาโดยไม่ต้องลงแรงตัด ความทราบถึงพระยาอภัยคามมะนี จึงรับสั่งให้ลูกนางนาคเข้าเฝ้า เมื่อได้ซักถามประวัติจนทราบว่า เป็นพระโอรสจึงรับเข้าไว้ในเศวตฉัตร และทรงตั้งพระนามว่า อรุณกุมาร พระยาอภัย ฯ มีโอรสกับพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ฤทธิกุมาร เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย ก็ได้ทรงสู่ขอพระธิดาผู้ครองนครศรีสัชนาลัยมาอภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร เมื่อพระยาอภัย ฯ สวรรคต อรุณกุมารจึงได้ครองนครสุโขทัยสืบแทน ต่อมาเมื่อผู้ครองนครศรีสัชนาลัยสวรรคต อรุณกุมารก็ได้ครองนครศรีสัชนาลัยควบคู่กับนครสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระร่วงพระองค์ได้ทรงสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้อภิเษกสมรสกับฤทธิกุมาร และหลังจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สวรรคตแล้ว เจ้าฤทธิกุมารก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ได้พระนามใหม่ว่า พระลือ
    พระร่วงส่วยน้ำ มีตำนานเรื่องพระร่วงอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า พระร่วงเป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเมืองลพบุรี ในครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมแห่งกรุงกัมพูชามีเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมาก ในจำนวนดังกล่าวมีเมืองลพบุรีอยู่ด้วย เมืองลพบุรีต้องส่งส่วยน้ำเป็นเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อนายร่วง เป็นคนมีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ เมื่อตอนที่มีอายุสิบเอ็ดปี เขาพายเรือทวนน้ำนานเข้าจึงเหน็ดเหนื่อยมากถึงกับออกปากว่า "ทำไมน้ำจึงไม่ไหลไปทางโน้นบ้าง" พอพูดขาดคำก็ปรากฏว่าสายน้ำได้ไหลย้อนกลับไปในทางที่จะไปทันที นายร่วงเมื่อรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ก็เก็บเรื่องไว้เป็นความลับไม่บอกให้ใครรู้
    เมื่อนายคงเคราชราภาพลง นายร่วงจึงรับหน้าที่ส่งส่วยน้ำแทนบิดา เขาคิดหาวิธีการทำภาชนะใส่น้ำส่งเจ้ากรุงกัมพูชา เป็นภาชนะที่เบาและจุน้ำได้มากโดยใช้ไม้ไผ่มาจักสานเป็นชะลอม (ครุ) ขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปตักน้ำในทะเลชุบศร ลั่นวาจาสิทธิ์ให้น้ำไม่รั่วออกจากชะลอม น้ำก็อยู่ในชะลอมไม่รั่วไหลออกมา เมื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และทรงวิตกว่าบัดนี้มีคนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อกรุงกัมพูชา ควรที่จะกำจัดนายร่วงเสียโดยเร็ว จึงได้ตรัสสั่งให้นายเดโชชัย นายทหารคู่พระทัย ดำเนินการกำจัดนายร่วงเสีย
    ฝ่ายนายร่วงเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงกัมพูชาคิดกำจัดตน จึงหลบหนีจากเมืองลพบุรีขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย นายเดโชชัย เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าก็ได้ติดตามนายร่วงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงกำแพงเมืองสุโขทัย ก็ใช้อิทธิฤทธิ์ดำดินลอดใต้กำแพงเมืองเข้ามาโผล่ขึ้นในลานวัดมหาธาตุ ขณะนั้นพระภิกษุพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ นายเดโชชัยจึงเข้าไปถามว่า รู้ไหมว่านายร่วงที่มาจากเมืองลพบุรีนั้นขณะนี้อยู่ที่ไหน พระภิกษุร่วงก็รู้ทันทีว่าคนผู้นี้ตามมาทำร้ายตน จึงได้กล่าววาจาออกไปว่า "สูจงอยู่ที่นี่เถิด รูปจะไปบอกนายร่วงให้" พอพูดขาดคำร่างของนายเดโชชัยก็กลายเป็นหินไปทันที เมื่อชาวบ้านเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระภิกษุร่วงมีวาจาสิทธิ์ สาปขอมให้กลายเป็นหินได้ จึงมีความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นแล้ว จึงได้พากันอาราธนาให้พระภิกษุร่วงลาสิกขา แล้วขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชน และบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
    สำหรับรูปคนที่เป็นหินนั้น ชาวบ้านเรียกว่า ขอมดำดิน ปัจจุบันถูกคนทุบตีจนแตกหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทางราชการได้นำไปไว้ที่ศาลพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย


    ที่มา : http://www.sukhothai.go.th/history/hist_09.htm

    *************************************************************************************************************************************

    ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งเคยมีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเมย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำโขง และ จรดชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน

    ศูนย์กลางของราชวงศ์พระร่วงอยู่ที่เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยในลุ่มแม่น้ำยม อันเป็นเมืองศูนย์กลางราชธานีของราชอาณาจักรสุโขทัยในพุทธศตวรรษที่ 19 ก่อนย้ายราชธานีไปยังเมืองสองแควหรือพิษณุโลกในพุทธศตวรรษที่ 20

    ราชวงศ์พระร่วงนับจากรัชกาลพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนถึงรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ปกครองราชอาณาจักรสุโขทัยอย่างต่อเนื่องโดยการสืบราชสันตติวงศ์เกือบ 200 ปี ก่อนที่จะมีการยกเลิกไปเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จขึ้นมาครองอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

    พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงมีหลายพระองค์แต่ที่ทรงมีชื่อเสียงมีพระบรมเดชานุภาพมากและพระเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏไปยังแว่นแคว้นดินแดนต่างๆมีอยู่ 2 พระองค์ คือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลือไทย) ซึ่งเป็นสองรัชสมัยที่ทำให้ราชอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่าง ๆ เป็นอันมากทั้งการปกครอง การสร้างบ้านแปงเมือง การแผ่ขยายดินแดน การส่งเสริมศาสนา การเกษตร อักษรศาสตร์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี เศรษฐกิจการค้า การทูตการต่างประเทศ ศิลปกรรม วัฒนธรรม และอื่นๆ ซึ่งทำให้ความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฎรในราชอาณาจักรสุโขทัยยุคนั้นสมบูรณ์พูลสุขเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนบูชากันสืบมา

    1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือพระนามเต็ม กมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์ พระนามเดิม "พ่อขุนบางกลางหาว" เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง ตามประวัติศาสตร์ไทย ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 1781 ตราบจนเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 1811

    2. พ่อขุนบานเมือง หรือ ขุนปาลราช เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง และเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราชในพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสวยราชสมบัติในอาณาจักรสุโขทัยหลังจากพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เสด็จสวรรคต (1811) และครองราชย์อยู่จนถึง พ.ศ. 1822 ก็สวรรคต ครองราชย์ถึง 11 ปี

    3. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีรามราช เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1842 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้รับการยกย่องเป็น "มหาราช" ด้วยทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากกว่าเจ็ดร้อยปี

    4. พระยาเลอไทยเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 1842 ในปีเดียวกันได้ทรงส่งราชทูตไปเมืองจีน ในปี พ.ศ. 1842 เมื่อเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1866 พระยางั่วนำถุมได้สืบราชสมบัติต่อมา

    5. พระยางั่วนำถุม เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 5 (พ.ศ. 1866 - พ.ศ. 1890) เป็นพระราชโอรสพ่อขุนบานเมือง สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คงอภิเษกสมรสกับพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถุม เหตุที่สันนิษฐานเช่นนั้นเนื่องจากเป็นธรรมเนียมของคนสมัยนั้น ที่นิยมเอาชื่อบรรพบุรุษมาตั้งเป็นชื่อหลานพระยางั่วนำถุมเป็นกษัตริย์ครองเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัยมาก่อนตามจารึกหลักที่ 15 แต่ขึ้นเป็นกษัตริย์ต่อจากพระยาเลอไทยซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาลิไทยกษัตริย์ลำดับที่ 6 เรื่องราวของพระยางั่วนำถุมยังคลุมเครือเนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มาก

    6. พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระบาทกมรเตงอัญศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช พระบาทกมรเตงอัญฦๅไทยราช พระยาลือไทยหรือ พญาลิไทย (ประสูติ พ.ศ. 1843 - 1911) เป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยลำดับที่ 6 ในราชวงศ์พระร่วง เป็นพระราชโอรสของพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


    7. พระมหาธรรมราชาที่ 2 หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1911 - 1942 ถัดจากพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ในรัชกาลนี้พระองค์ได้รบกับทัพกรุงศรีอยุธยาแต่ก็พ่ายแพ้และยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาในระหว่างปี พ.ศ. 1921 - พ.ศ. 1931

    8. พระมหาธรรมราชาที่ 3 พระราชสมภพ พ.ศ. 1923 และเป็นพระราชโอรสใน
    พระมหาธรรมราชาที่ 2 และเป็นพระเชษฐาในพระมหาธรรมราชาที่ 4 ได้ครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี พ.ศ. 1943ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ทรงยกทัพไปช่วยท้าวยี่กุมกามชิงราชสมบัติเวียงเชียงใหม่จากพญาสามฝั่งแกน ทรงตีได้เมืองพะเยา เชียงราย และฝาง แต่ที่สุดทรงพ่ายสงครามต้องยกทัพกลับด้าน การปกครองคณะสงฆ์ ได้ตราพระราชโองการให้สงฆ์ปกครองกันเอง และยึดคำตัดสินของสังฆราชในการระงับอธิกรณ์ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ
    อักษรนิติ์
    ระบุว่า เมื่อพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือก็เกิดจลาจล สมเด็จพระอินทราชาจึงได้โอกาสยกทัพขึ้นมา พระยาบาลเมืองและพระยารามยอมอ่อนน้อมและเข้าเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยานับแต่นั้น

    9. พระยาบาลเมือง พระราชสมภพ พ.ศ. 1944 เป็นพระราชโอรสใน
    พระมหาธรรมราชากับแม่นางษาขา มีพระเชษฐภคินีพระองค์หนึ่งเป็นพระราชเทวีในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่าเมื่อพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าเมืองพิษณุโลกสวรรคตในปี พ.ศ. 1962 หัวเมืองเหนือเกิดจลาจลเพราะพระยาบาลเมืองและพระยารามแห่งสุโขทัยแย่งชิงอำนาจกัน สมเด็จพระอินทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาจึงเสด็จมาเมืองพระบาง (นครสวรรค์) ทั้งพระยาบาลเมืองและพระยารามทรงทราบก็เสด็จออกมาถวายบังคม เมื่อสมเด็จพระอินทราชาเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงโปรดให้เจ้าสามพระยามาครองกรุงพิษณุโลก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับปลีก หมายเลข 2/ก 104 ระบุว่าเมื่อเจ้าสามพระยาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ขณะนั้นพระยาบาลเมืองเจ้าเมืองพิษณุโลกได้ลงมาเข้าเฝ้า จึงพระราชทานสุพรรณบัฏเครื่องราชูปโภคและเฉลิมพระนามเป็นมหาธรรมราชาธิราช มีการมหรสพเฉลิมฉลองที่เมืองพิษณุโลก และโปรดให้พระยารามราช พระยาเชลียง และพระยาแสนสอยดาว มาช่วยงานด้วย

    รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัย
    1. พระยารามแห่งสุโขทัย (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองศรีสัชนาลัย)
    2. พระยายุทธิษฐิระ (พระโอรสในพระยาราม เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3อีกต่อหนึ่ง)
    3. สมเด็จพระอินทราชา (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
    4. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
    5. พระนางสาขา
    6. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
    7. ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง[ต้องการอ้างอิง]
    8. สมเด็จพระสุริโยทัย
    ราชวงศ์สุโขทัย
    1. สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และเชื้อพระวงศ์สุโขทัยทุกพระองค์
    2. หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
    3. หม่อมเจ้าเจิดอุภัย
    4. เจ้าแม่วัดดุสิต
    5. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
    6. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
    7. เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) บุตรชายเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน) ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
    8. พระยาราชนิกูล (ทองคำ) บุตรชายเจ้าพระยาวรวงษาธิราช ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
    9. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) บุตรชายพระยาราชนิกูล
    ราชวงศ์จักรี
    1. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเชื้อพระวงศ์จักรีทุกพระองค์
    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์พระร่วง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    upload_2021-9-4_7-42-8.jpeg images?q=tbn:ANd9GcTsi01pGQKjawzUcbSZL6ozzTntsyAiy_oBLA&usqp=CAU.jpg upload_2021-9-4_7-42-27.jpeg upload_2021-9-4_7-42-45.jpeg
    พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์
    ณ บริเวณพระตำหนักกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    สำนักปฏิบัติธรรมบ้านใหม่นาสา หมู่ที่ 13 ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา


    ที่มา : http://www.faikwanglocal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147573244&Ntype=2
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube อาจารย์ยอด
    อาจารย์ยอด : มังกรเขียวกว๊านพะเยา [น่ารู้]
    www.youtube.com/watch?v=pVBBRG3Y0BE
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ชม 'วัดอนาลโยทิพยาราม' วัดงามบนดอยบุษราคัม เมืองพะเยา
    750x422_776843_1507804834.jpg
    12 ตุลาคม 2560 | โดย ภาพ ประเสริฐ เทพศรี

    เที่ยวชม "วัดอนาลโยทิพยาราม" วัดงามบนดอยบุษราคัม จังหวัดพะเยา
    "วัดอนาลโยทิพยาราม" ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพ ของกว๊านพะเยา และเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด

    _ERT4021.jpg

    ประวัติของวัดอนาลโยทิพยาราม
    พระอาจารย์ ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะ นั้นท่านอยู่ที่วัดรัตนวนาราม ท่านได้มีปรากฎการณ์เห็น ทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสาย รังสี แสงของทรายทองที่ไหลพั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัด จนแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ ท่านมองตามลำ แสงสีทองไปก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั่นเอง จากนั้นได้มีโยมมาอาราธนาให้ไปดูสถานที่สำคัญ และแปลกประหลาด เพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน เป็นที่ ๆ ชาวบ้านมักจะเห็นแสง สว่างเป็นดวงกลมลอยไปมาอยู่บนดอยสูง แสงนั้นดูสว่างเรืองรอง บางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราว กับกลายเป็นดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักจะปรากฏในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ 8 หรือ 15 ค่ำ

    _ERT4044.jpg


    ที่มาของชื่อวัด "อนาลโยทิพยาราม" ก็มาจากเมื่อปี พ.ศ.2525 ท่านพระอาจารย์ได้ตัดสินใจมาอยู่ที่นี่ และเริ่มสร้างวัด ท่านได้ นิมิตว่ามีคนรูปร่าง ดำ สูงใหญ่มาบอกว่าหาก ท่านอาจารย์จะมาอยู่ที่นี่ ก็มาอยู่ได้ แต่ขอให้ตั้งชื่อวัด เป็นวัดหลวงปู่ขาว ซึ่งท่าน พระอาจารย์ก็ ไม่ขัดข้องประการใด ดังนั้นจึงได้เป็นชื่อ วัดอนาลโยขึ้นมา เพราะท่าน มีนามว่า "หลวง ปู่ขาว อนาลโย" ผู้เป็นประธานสงฆ์ อยู่ ณ วัดกลอง เพล จ.อุดรธานี และยังมี พระพุทธลีลา หรือพระยืนที่ท่านตั้งใจจะ สร้างขึ้น ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาที่สูงใหญ๋ที่สุด สร้างไว้บนยอด เขาตรีเพชร มีความสูง 25 เมตร กว้าง 6 เมตร น้ำหนักรวม 254 ตัน พระองค์นี้ใน ตอนแรกได้สร้างเป็นชิ้น ๆ ก่อน แล้วค่อยนำมาประกอบ ขึ้น ซึ่งต้องใช้ความอดทน มากทีเดียว กว่าจะได้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง อย่างที่เราได้เห็นกันอยู่นี้

    _ERT4051_1.jpg

    การเดินทาง
    ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา - เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 - 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพ ของกว๊านพะเยา และเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์

    _ERT4140.jpg

    สถานที่ตั้ง: วัดอนาลโย อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

    _ERT4179.jpg

    _ERT4193.jpg

    _ERT4399.jpg

    ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/776843

     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดป่าข่อย อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

    mages?q=tbn:ANd9GcTy68Wr2v9VBSulTTjwXMBxyLEG7z_7SoAhKVqVzS_MsX01tXUg6nu_0AfHEPn5RnNyoPM&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcSxxIonh0Tz0wbzAtoZg_h9HZZXbN7-KcZQmw&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcTXrg2IcOMHzs5rUCoJeP9GLzRckq6GAoO8IQ&usqp=CAU.jpg

    560000009346718.jpg

    560000009346711.jpg 560000009346712.jpg


    สุโขทัย - สุดอัศจรรย์.. “หลวงปู่จันทร์วัดป่าข่อย” เกจิอาคมขลัง 5 แผ่นดิน “จอมพล ป.” เคยนิมนต์นั่งเครื่องบินโปรยทรายเสกป้องภัยบ้านเมืองช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มรณภาพ 12 ปี สรีระไม่เน่า เส้นผมขึ้นยาว
    คณะสงฆ์-สานุศิษย์ ตลอดจนศรัทธาวัดป่าข่อย ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เตรียมที่จะจัดงานครบรอบ 12 ปี “หลวงปู่จันทร์” อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นพระเกจิอาคมขลัง ชื่อเสียงโด่งดัง เกิดในยุคสมัยแผ่นดินรัชกาลที่ 5 และมรณภาพในช่วงสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อ 2 ธ.ค. 2548 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา แต่ทว่าสรีระสังขารกลับไม่เน่าเปื่อย และมีเส้นผมขึ้นยาวบนศีรษะ สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ศรัทธาสาธุชนเป็นอย่างมาก

    พระมหาสกุล โกสโล เจ้าอาวาสวัดป่าข่อยและเจ้าคณะตำบลวังพิณพาทย์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า “หลวงปู่จันทร์” หรือนายจันทร์ นิ่มนุ่ม ชาวสวรรคโลก เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2445 อุปสมบทที่วัดอนงคารามฯ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “จนฺทโร”

    โดยท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดอนงคารามฯ และฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมกับ “หลวงปู่ศุข” วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท และ “หลวงพ่อปาน” วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งได้ศึกษาวิชาโหราศาสตร์จากโหรหลวง ก่อนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าข่อยในปี พ.ศ. 2470 ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ราชทินนามว่า “พระครูจันทโรภาส” และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลวังไม้ขอน ก่อนจะมรณภาพเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2548 สิริรวมอายุ 104 ปี โดยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสยาวนานถึง 78 ปี

    พระมหาสกุลกล่าวว่า เมื่อครั้งช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ส่งตัวแทนมานิมนต์ “หลวงปู่จันทร์” วัดป่าข่อย จ.สุโขทัย พร้อมกับ “หลวงพ่อจง” วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา และ “หลวงพ่อจาด” วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี ซึ่งทั้ง 3 ท่านนี้เป็นพระสุปฏิปันโน มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง จึงนิมนต์ให้ขึ้นไปนั่งบนเครื่องบินโปรยทรายเสกคาถาลงมาเพื่อป้องกันภยันตรายให้แก่บ้านเมืองอีกทางหนึ่งด้วย

    ทั้งนี้ “หลวงปู่จันทร์” นอกจากจะเป็นพระสุปฏิปันโน มีเวทมนต์คาถาอาคมขลัง ชื่อเสียงโด่งดังแล้ว ท่านยังมีความรู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคด้วยสมุนไพรไทยอีกด้วย ทำให้วัดป่าข่อยได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสำนักพยาบาลสาขาวัดโพธิ์ ในชื่อ “จันทโรภาสแพทย์สยาม” เพื่อเผยแพร่ความรู้และรักษาพยาบาล

    ปัจจุบันแม้ว่า “หลวงปู่จันทร์” จะมรณภาพมานานถึง 12 ปีแล้ว แต่คุณงามความดี และวัตรปฏิบัติอันงดงามยังคงอยู่ อีกทั้งสรีระสังขารก็ไม่เน่าเปื่อย สร้างความอัศจรรย์ใจแก่ประชาชนและบรรดาสานุศิษย์อย่างมาก จึงมีการเก็บรักษาร่างของท่านไว้ในโลงแก้ว ตั้งในศาลาจตุรมุข “หลวงปู่จันทโรภาส” วัดป่าข่อย ต.เมืองสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพร พร้อมเก็บรักษารถยนต์โบราณของหลวงปู่จันทร์ให้คนรุ่นหลังได้ชมอีกด้วย

    สำหรับ “วัดป่าข่อย” สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2397 เดิมชื่อ “วัดโคกขี้แร้ง” ต่อมาสมัยหลวงพ่อจอม (คร้าย) ซึ่งเป็นพระของเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 มาอยู่ที่วัดแห่งนี้ก็ได้ทำการบูรณะก่อสร้างวัด เปิดสอนหนังสือไทย หนังสือขอม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดจอมป่าข่อย” กระทั่งหลวงพ่อจอมมรณภาพวัดนี้ก็ทรุดโทรม จนถึงปี พ.ศ. 2463 ทางวัดได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ โยกย้ายเสนาสนะต่างๆ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดป่าข่อย” โดยมีเจ้าอาวาส 3 รูป คือ หลวงพ่อจอม (คร้าย), หลวงปู่จันทร์ (พระครูจันทโรภาส) ระหว่างปี พ.ศ. 2470-2548 และพระมหาสกุล โกสโล ปี พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน

    ที่มา : https://mgronline.com/local/detail/9600000090144
    รูปภาพ : www.google.co.th
     
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...