คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    กรมหลวงชุมพรฯ เลี้ยงผี "นางนาก" (คลิป)
    เผยแพร่: 24 ก.ค. 2562

    562000007283417.jpg
    กรมหลวงชุมพรฯ เลี้ยงผี "นางนาก"

    เรื่อง "แม่นาคพระโขนง" เป็น "ความบันเทิง" ผ่าน "เรื่องเล่า, นวนิยาย, คำกลอน, การ์ตูน, บทละครร้อง, ภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, ละครเวที" ฯลฯ โครงเรื่องนี้ได้ผลิตซ้ำด้วยมุมมองที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย ภายหลังถูกสอดแทรกด้วยมุมเล็กๆของ "เกร็ด" ประวัติเรื่อง "หน้าผากนางนาก" ซึ่งไปเกี่ยวข้องกับ "บุคคลประวัติศาสตร์" อาทิ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) , พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร (เสด็จพระองค์ชายกลาง)


    นางนาก ในเวอร์ชั่นของนนทรีย์ นิมิบุตร หยิบ "ตำนาน" มาต่อยอดเสริมด้วยเรื่องเล่าว่า สมเด็จพุฒาจารย์โตสนทนากับนางนากที่ปากหลุม ตามเอกสารของ "พระยาทิพโกษา" ที่เคยบันทึก อ้างอิงไว้ แม้จะเป็นเอกสารในชั้นหลังก็ตาม

    ท้ายหนังเรื่องนี้ กล่าวว่า "... หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว กระดูกหน้าผากนางนากชิ้นนั้นได้ตกไปอยู่กับสมเด็จ กรมหลวงชุมพรฯ และเปลี่ยนมือไปอีกหลายคน จนบัดนี้ ไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ใด กระดูกหน้าผากอันเป็นที่สถิตวิญญาณนางนากชิ้นนี้ได้สาบสูญไปแล้ว เหลือเพียงตำนานเล่าขานถึงความรัก ความภักดีต่อผัว อันเป็นตำนานอมตะที่ยังร่ำลือตราบจนทุกวันนี้ ..."

    บุคคลลำดับที่สองที่ถูกกล่าวถึง คือ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นิยมเรียกสั้นๆว่า "กรมหลวงชุมพรฯ" หรือ สมัญญานามอื่นๆเช่น เสด็จเตี่ย , หมอพร , เสด็จในกรม (หลวงชุมพร) เป็นต้น

    พระองค์ได้ชื่อว่าเป็น "องค์บิดาแห่งทหารเรือไทย" ทั้งเชี่ยวชาญในศาสตร์อื่นๆ อีกมากมาย
    ชื่อเสียงของท่าน ถูกนับถือในด้านอภินิหาร, คงกระพันชาตรี เกร็ดประวัติของพระองค์ท่าน กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนสร้างนวนิยาย โดยนำเกร็ดประวัติ "พระองค์ท่าน" มาเป็นบุคคลในฉากหลัง เช่น

    "สุวัฒน์ วรดิลก" เขียนนวนิยาย "ทหารเสือกรมหลวงชุมพร" ต่อมาเป็นหนัง เมื่อปี 2501 และละครเวทีที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 19-28 พฤษภาคม 2532
    ค่ายเมตตามหานิยม ทำละคร "ชาติพยัคฆ์" ทางช่อง 3 ได้นำเสี้ยวหนึ่งของชีวประวัติของ "เสด็จในกรมฯ" เป็นแรงบันดาลใจ นวนิยาย "ชาติพยัคฆ์" (POST BOOKS) "หอมไกล" (รักษ์มนัญญา สมเทพ) ได้สร้างนวนิยายจากบทประพันธ์และบทโทรทัศน์ ของ ณ พุทธ สุศรีฯ และ ฉัตรชัย เปล่งพานิช มีละครหนึ่งในเรื่อง ถูกปรับและใช้ชื่อ "ท่านเตี่ย" ส่วนชื่อจริง คือ "หม่อมเจ้านภากรเกียรติวงศ์" และในละครใช้ชื่อ " หม่อมเจ้าชาตรีเกียรตินภากร"

    เรื่องสมเด็จโตปราบผีแม่นาก ! เป็นความเพียง 2 ย่อหน้า ปรากฏในหนังสือ "ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)" จากบันทึกของ มหาอมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) (หน้า 76-77 ) สรุปความว่า เสียงเล่าลือว่า แม่นาคและวาดหนัก สมเด็จโต จึงเดินทางจากวัดระฆังไปปราบผีนางนากที่พระโขนง ด้วยพุทธคุณและเจาะกะโหลกแม่นาก ทำปั้นเหน่ง

    "เณร" ที่เราเห็นในหนัง "นางนาก" ถ้าจะเปรียบกับบุคคลในประวัติศาสตร์ก็คือ ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่มาบวชและปรนนิบัติสมเด็จโต ตั้งแต่เป็น "สามเณร" มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งแม่นากมาหยอกล้อเณร จนสมเด็จโตต้องหยิบปั้นเหน่งออกจากย่าม และพูดว่า โยมนาก อย่าไปรบกวนเณรเลย แล้วแม่นากก็เงียบหายไป จนเมื่อสมเด็จโตมรณภาพ ปั้นเหน่งเปลี่ยนมือไปอยู่กับ พระพุทธปาธปิลันทน์ หรือ พระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนีวงศ์) ซึ่งสามเณรเจริญก็ตามมาปรนนิบัติท่านด้วย ปรากฏว่า แม่นากก็ออกมาหยอกล้ออีกครั้ง หม่อมเจ้าพระพุทธปาธปิลันทน์กริ้วนางนาก ดุว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน คุณเณรจะดูหนังสือหนังหา !

    เรื่อง "ปั้นเหน่ง" หรือ "กะโหลกหน้าผากแม่นาก" เล่าจาก "ความทรงจำ" และเป็น "เอกสาร" ที่บันทึกในชั้นหลัง ทั้งสิ้น ! ส่วนที่เกี่ยวข้องกับ "กรมหลวงชุมพรฯ" มีดังนี้

    1. "อนุสรณ์ท่านหญิงเริง" ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร ต.จ. ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ภายในเล่มมี "เกร็ดประวัติ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" ซึ่งนิพนธ์โดยท่านหญิง หน้า 228 มีเรื่องเล่าว่า
    "...มีคนเล่าว่า ท่านทรงเลี้ยงผี ซึ่งก็จริง เพราะท่านทรงปั้นหุ่นเล็กๆที่เรียกว่า "หุ่นพยนต์" แล้วเอาไปเสียบปักไว้ที่หน้าวัง รอบๆสนาม เมื่อคราวออกจากราชการ มีคนพูดว่า ที่วังนี้เลี้ยงคนไว้เยอะจัง พอตอนกลางคืนก็เห็นคนวิ่งกันเกรียวตตอนดึกๆดื่นๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าผากแม่นาคพระโขนง คาดไว้ที่บั้นพระองค์ ไม่ทราบว่าใครนำมาถวาย"
    นอกจากนี้ยังมีเรื่องการฝึกลูกๆไม่ให้กลัวผี รวมถึงเวลามีคนตายจะตั้งศพบำเพ็ญกุศลใน "ตึกดำ" ภายในวังนางเลิ้ง

    2. หนังสือ "ที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" ณ วิทยาลัยพาณิชยพระนคร 19 ธันวาคม 2519 ในเล่มมีเรื่องบันทึก รวบรวม เกร็ดชีวประวัติพระองค์ท่านหลายเรื่อง เช่น เสด็จพ่อฯกับงานอดิเรก (พูนทรัพย์ เวชชบุษกร), หมอพร ผู้วิเศษ (ประมวล สาครพันธุ์), เสด็จพ่อกับไสยศาสตร์ (บุญลอย เที่ยวประดิษฐ์), เกร็ดพระประวัติ (สุภัทรา โกไศยกานนท์), กำเนิดศาลเสด็จพ่อ (พ.ว.), เจ้าคุณหาญเล่าเรื่อง (สัมภาษณ์และบันทึกโดย นิรมล ถิระธรรม, เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร) และ ไม่น่าเชื่อ โดย เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร เรื่องนี้ มีช่วงตอนที่กล่าวถึง "หน้าผากแม่นาคพระโขนง" ความดังกล่าว เป็นคำบอกเล่าของวินัย ถาวรประเสริฐ ซึ่งทีมงานที่ไปวันนั้น มี อ. เพิ่มศักดิ์ , ร.อ. สุวิทย์ ทัดพิทักษ์กุล (พ่อ "ฮาร์ท" สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล) และศิษย์เก่าอีก 1 คน มีเรื่อง "ห้องผี" กับ "หน้าผากแม่นาคพระโขนง" (หน้า 79-80) ทราบว่า หน้าผากนี้ได้จากหลวงพ่อพริ้ง, หม่อมแจ่ม เคยได้กลิ่นเหม็น

    3. หนังสือ "เปิดตำนาน แม่นากพระโขนง" ของเอนก นาวิกมูล มีบทความพิเศษ เรื่อง "ปั้นเหน่งแม่นาก" มีกล่าวถึงข้อมูลของพระยาทิพโกษาและเพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูร และเรื่องนายวินัย ถาวรประเสริฐ เล่าข้อมูลออกรายการ "ฉงน" ทางช่อง 9 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2540 ความโดยสรุปคือ หม่อมเมี้ยน, หม่อมแจ่ม และนายเทียบ อุทัยเวชเป็นพี่น้องกัน เมื่อเสด็จในกรมฯ สิ้นพระชนม์ได้ 5 ปี หม่อมแจ่มได้ลาออกจากหม่อม มาแต่งงานใหม่กับบิดาของนายวินัย
    หลังเสด็จในกรมฯสิ้น มีการแบ่งมรดก หม่อมแจ่มจับสลากได้กะโหลกแม่นาก น้าเทียบของนายวินัยนำไปแขวนที่ศาลกรมหลวงชุมพรฯ
    นายวินัยเกิดปี 2476 เคยวิ่งเล่นในวังนางเลิ้งตั้งแต่อายุ 8 ขวบจนโต ได้ยินเรื่องแม่นาก และเคยเห็นปั้นเหน่ง หลังจากขายวังและสร้างโรงเรียนแล้ว นายเทียบ อุทัยเวช ได้นำ ปั้นเหน่งไปไว้ที่ศาลกรมหลวงชุมพรฯ เชิงสะพานเทวกรรมรังรักษ์ ด้านถนนนครสวรรค์ ต่อมาได้ย้ายศาลไปอยู่ที่ วิหารคตวัดโพธิ์ และไม่ทราบเรื่องอีก

    4. หนังสือปกแข็ง บรรจุกล่องสวยงาม "พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" พระประวัติและพระปรีชา จากการค้นคว้าและค้นพบใหม่ ทั้งในประเทศไทย และสหราชอาณาจักร โดย มูลนิธิราชสกุลอาภากร ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2558 เป็นฉบับอ้างอิงทางวิชาการ และ ความปรากฏต่อไปนี้ยังไม่เคยกล่าวอ้างอิงที่ไหนมาก่อน
    บทที่ 35 "ภูติผี วิญญาณ ศาสตร์ลี้ลับ" (หน้า 192-194) พูดถึงเรื่อง "กะโหลกแม่นาค" ว่า

    นาวาตรี ภากร ศุภชลาศัย ได้บอกเล่าถึงเรื่องกระดูกหน้าผากแม่นากพระโขนงตามที่ได้รับฟังจาก ม.จ. หญิงจารุพัตรา ผู้เป็นมารดาว่า
    "...ผู้คนรู้นี่ครับ ว่ากรมหลวงชุมพรฯ ทรงเล่นเรื่องไสยศาสตร์ ในวงการนี่รู้กัน แล้วกรมหลวงชุมพรฯ ท่านเป็นเจ้านายที่เรียกว่าซื่อสัตย์ ไม่เอาอะไรทำไม่ดี เพราะฉะนั้นถึงได้ให้ท่านเก็บไว้ เพราะกลัวว่า ถ้าให้คนอื่น เดี๋ยวก็เอาไปใช้ในทางที่ผิด...

    ... แม่เคยถามเสด็จตา คือ กรมหลวงชุมพรฯ ว่า นางนากพระโขนงนี้ เขาน่ากลัวเหมือนอย่างที่เขียนในหนังสือจริงๆหรือเปล่า ท่านรับสั่งว่า เขาไม่ได้น่ากลัวอะไรหรอกลูก เขารักผัวเขา แต่คนอื่นไปกวนเขา เขาถึงได้อาละวาด เพราะฉะนั้นลูกไม่ต้องกลัวเขาหรอก เขาไม่ได้ดุร้ายอย่างในหนังสือที่เขียน ... แม่ก็เลยกราบทูล บอกว่า ลูกอยากเห็นแม่นากพระโขนงว่าตัวเขาเป็นยังไง ท่านก็บอก ได้ คือเอาปั้นเหน่งไปไว้ใต้หมอนแม่ แต่ต้องนอนคนเดียวนะ พอสักประมาณจากเที่ยงคืนถึงตีสอง เขาจะมาหาลูก แล้วให้ลูกเห็นด้วย เพราะลูกอยากเห็นเขานี่ แม่ก็เอาไปไว้ใต้หมอนแล้วก็นอน สองทุ่มก็ชักจะสั่นไปหมดแล้ว พอห้าทุ่มเที่ยงคืนสั่นใหญ่ นอนไม่หลับเลย กลัวมาก กลัวแม่นากพระโขนงจะมาให้เห็น ...
    สั่นอยู่อย่างนั้นจนถึงตีสอง แม่นากพระโขนงก็ไม่ได้มา พอสักตีห้าก็ได้ยินเสียงเคาะประตู แม่ก็ไปเปิดประตู กรมหลวงชุมพรฯ ท่านก็ประทับอยู่ตรงนั้น ตรัสว่า ลูกหญิงใหญ่ เมื่อคืนนี้นางนากพระโขนง เขามายืนอยู่ที่ปลายเตียงลูกแล้ว แต่เขาเห็นว่า ลูกกลัวขนาดหนัก ถ้าเผื่อลูกเห็นเขาเมื่อไหร่ ก็คงช็อกตาย เขาเลยกลับไปบอกพ่อให้มาบอกลูกว่า เขามายืนแล้ว แต่เขาไม่ให้เห็นนางนากพระโขนง...

    ตอนหลังๆนี่ ท่านก็ประชวรบ้าง ท่านก็รับสั่งกับแม่ว่า ลูก ถ้าเผื่อพ่อเป็นอะไรไป ให้เอาของขลังทั้งหมดที่เป็นผีที่พ่อเลี้ยงไว้ หรืออะไรต่างๆนี่ เอาไปถวายอาจารย์ที่วัดอะไรก็ไม่รู้ลืมไปแล้ว คือตอนนั้นเรายังเด็ก แม่เล่าให้ฟัง เราก็ฟังไปเรื่อยๆ อย่างนั้น แล้วให้ท่านใส่หม้อแล้วก็ถ่วงน้ำไป เพราะถ้าเก็บไว้แล้วไม่มีวิชาอาคมนี่ เขาจะเข้าตัวลูกเอง จะเป็นเหตุร้าย เพราะฉะนั้นพอเสด็จตาสิ้น แม่ก็เอาไปไว้ที่วัดนั้น ไปทำพิธี พอเขาทำพิธีเสร็จ ก็ใส่หม้ออย่างที่เห็นในทีวี แล้วท่านก็เอาไปทิ้งที่ปากแม่น้ำ พอทิ้งตุ้บไป เป็นควันบึ้มขึ้นมาใหญ่เลย ตกลง นางนากพระโขนงหรือผีทั้งหมดที่ท่านเลี้ยงไว้ ก็เลยโดนปล่อยไปหมดแล้ว แม่เป็นคนจัดการ เพราะแม่เป็นลูกสาวคนโตไง สมัยก่อนท่านน้าผู้ชาย ท่านเรียนเมืองนอกหมด แม่ต้องเป็นคนจัดการ แม่เล่าให้ผมฟังอย่างนี้"

    ผ่าน "นางนาก" ของไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เมื่อปี 2542 และอีก 6 ปีถัดมา ในปี 2548 มีการทำหนังเรื่องนี้อีก ใช้ชื่อ "นาค รักแท้ / วิญญาณ / ความตาย" แสดงโดย "ซี" ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์ และ "แตงโม" ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ อำนวยการสร้างโดย "สยามรัศมิ์ เลาหสุขเกษม และ วิรัตน์ อุดมสินวัฒนา" ภายใต้คอนเซ็ปต์ "เธอตายตาไม่หลับมากว่า 200 ปี"

    เปิดเรื่อง ด้วยการบอกเล่าของ มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา หนึ่งในนักแสดงหนังเรื่องนี้ว่า
    "ตำนานโศกนาฏกรรม ความรักแท้ของผีแม่นาค เป็นเรื่องที่คนไทยเล่าลือกันมานานนักหนาแล้ว เค้าว่า วันหนึ่ง ผีแม่นาคจะกลับมาอีก เพื่อมาหารักแท้ของเธอ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมี ดวงวิญญาณของเธอจะไม่มีวันตาย"

    เรื่องเล่าว่า คู่รักชาย-หญิงชื่อ มากและนาค กำลังจะแต่งงานกัน ทั้งคู่ตัดสินใจซื้อบ้านเก่าหลังหนึ่งในท้องที่พระโขนง ฝ่ายชายเข้าร้านของเก่า ซื้อเครื่องประดับชิ้นหนึ่ง เป็นแผ่นวงรี สีงาช้าง ด้านหลังสลักอักขระโบราณ เชือกร้อยในรูที่เจาะนั้นเพื่อเป็นสร้อยคอ หารู้ไม่ว่า มันคือ "ปั้นเหน่งแม่นาค"
    ต่อมา ฝ่ายชายประสบอุบัติเหตุเป็นเจ้าชายนินทรา ฝ่ายหญิงเห็นมากลืมตาบนเตียงคนป่วย บอกเธอว่า ให้ตามหาแม่นาค ! แต่หมอและทุกคนไม่เชื่อ หนังเรื่องนี้ อ้างถึงสมเด็จพุฒาจารย์โต และปั้นเหน่ง สุดท้ายฝ่ายหญิงค้นหาและขุดศพแม่นาค เอาปั้นเหน่งไปคืน ฝ่ายชายจึงฟื้น ทั้งคู่ร่วมกันฌาปนกิจแม่นาค และกลับไปใช้ชีวิตคู่ดังเดิม

    ในช่วงนี้ "สันติ เศวตวิมล" ได้เขียนบทความผ่านคอลัมน์ ผู้จัดการบันเทิง เรื่อง "หน้ากากผี" หลักฐาน "แม่นาคพระโขนง" ที่ถูกลืม ... ในหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 22 กันยายน 2548 บทความนี้ สันติ อ้างว่า เคยเห็น "หน้าผากแม่นาค" ด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพล ทิฆัมพร (พระองค์ชายกลาง) เป็นคนเอาให้ดู เมื่อ 30 ปีก่อน ซึ่งถือว่า เป็นการต่อยอดจากเรื่องที่กรมหลวงชุมพรฯ ครอบครอง "ปั้นเหน่ง"

    ต่อมา ม.ร.ว. อภิเดช อาภากร ผู้เขียนและผู้เรียบเรียงหนังสือ "หลวงปู่ศุขกับกรมหลวงชุมพร" ได้ต่อยอดข้อมูล ดังปรากฏความในบทที่ 35 ต่อไปว่า
    ม.ร.ว. อภิเดช อาภากร ได้รับทราบจาก ม.จ. หญิงดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากรว่า ที่วังของพระองค์เคยเก็บรักษากะโหลกแม่นากไว้ แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2500 เศษ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร (พระองค์ชายกลาง) ได้มาขอกระโหลกแม่นากไปเมื่อคราวสร้างภาพยนตร์เรื่องแม่นาคพระโขนง โดยอาจจะนำไปประกอบพิธีกรรมบางอย่าง จากนั้นก็ไม่ได้นำกลับมาคืน กะโหลกแม่นากจึงตกไปอยู่ที่วังของพระองค์ชายกลาง

    เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้มีพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ ม.ร.ว. อภิเดช ได้ทูลถาม ม.จ. มงคลเฉลิม ยุคล พระโอรสของพระองค์ชายกลางถึงกะโหลกแม่นาก ทรงตอบว่า ทรงเคยเห็น และทรงอธิบายถึงลักษณะของกะโหลกแม่นากว่า มีขนาดกว้างประมาณ 3 นิ้ว ปิดทอง และมีรูเจาะ 2 ข้าง สำหรับร้อยเชือก เมื่อเสด็จพ่อ (พระองค์ชายกลาง) สิ้นพระชนม์แล้ว ก็ไม่ทรงทราบว่า กะโหลกแม่นากชิ้นนี้หายไปไหน
    ตำนานหน้าผากแม่นาก อาจจะจบเพียงเท่านี้ ....

    โลกปัจจุบัน รับรู้กันว่า "ปั้นเหน่ง" โบราณชิ้นหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในนาม "ปั้นเหน่งแม่นาก" นั้นอยู่ที่ สุเทพ จิรวัฒน์สุนทร หรือ "เทพ กำแพง" ซึ่งครอบครองต่อจากกำนันชูชาติ มากสัมพันธ์ เจ้าของพิพิธภัณฑ์พระ กำนันชูชาติ พุทธมณฑลสาย 2 (ผู้สนใจ สามารถอ่านบทความ "เทพ กำแพง” ปาฏิหาริย์ปั้นเหน่งแม่นาค : MGR Online - พระเครื่อง)
    เรื่องราวของ "กะโหลกหน้าผากแม่นาค" หรือ "ปั้นเหน่ง" จึงเดินทางผ่านกาลเวลามาสิ้นสุด ณ ที่ตรงนี้

    562000007283403.jpg


    562000007283404.jpg


    562000007283405.jpg


    562000007283406.jpg


    562000007283407.jpg


    562000007283408.jpg


    562000007283409.jpg


    562000007283410.jpg


    562000007283411.jpg


    562000007283412.jpg


    562000007283413.jpg

    562000007283416.jpg

    ที่มา : https://mgronline.com/drama/detail/9620000070559
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube T 3D
    แม่นาคพระโขนง (ต้นฉบับเดิม) - ประภาศรี ศรีคำภา
    www.youtube.com/watch?v=orMgamxTLog
    #ดูเสียตอนกลางวัน กลางคืนเปิดจะดีไหมนะ
     
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    อาสาพาเที่ยววัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง)

    1400x600_3.png

    วัดสระเกศฯ หรือชื่อเต็มๆ ว่า วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) คงมีคนเคยได้ไปไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์ที่วัดนี้มาบ้างแล้ว
    แต่ก็เชื่อว่าคงมีอีกหลายคน ที่เคยเดินผ่านแต่ไม่เคยได้เข้าไปเลยสักครั้ง วันนี้มอร์เมีย จึงขออาสาเป็นไกด์พาทัวร์วัดสระเกศฯ
    พร้อมกับแนะนำจุดไหว้พระที่สำคัญๆ ภายในวัด เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตกันคะ

    วัดสระเกศฯ เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ
    ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา
    โดยระยะเวลาในการสร้างวัดแห่งนี้ เรียกได้ว่ายาวนาน กินเวลาถึง 4 รัชกาลด้วยกันกว่าจะสร้างเสร็จสมบูรณ์


    แผนที่วัด
    untitled-06278.jpg

    จุดแรกที่จะแนะนำให้แวะทันทีที่มาถึง นั้นก็คือ
    จุดหมายเลข 14 พระอุโบสถ
    คนส่วนใหญ่มักจะมาถึงแล้ว เดินผ่านตัวพระอุโบสถไปเลย โดยมักจะเดินขึ้นเขาพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) อย่างเดียว
    พระอุโบสถแห่งนี้ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมอย่างเช่น การบวช เป็นหลัก ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานขนาดใหญ่
    ซึ่งไม่มีชื่อเรียกเป็นเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้เป็นความตั้งใจ เพื่อให้เป็นปริศนาธรรม อันกล่าวได้ว่า
    "คนเรานั้น เกิดมาพร้อมกับความ ไม่มีอะไร ตายไปก็ไม่มีอะไรเช่นกัน ชื่อ นาม ยศ ล้วนแต่เป็นเพียงสิ่งสมมุติเท่านั้น"

    สิ่งที่น่าสนใจภายในพระอุโบสถอีกสิ่งหนึ่ง คือปริศนาภาพเก่าแก่อายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี รอบพระพระอุโบสถ ซึ่งได้ร้อยเรียงเรื่องราวปริศนาธรรม
    ประหนึ่งว่ามีพญานาคค่อยคุ้มครองเมือง พญานาคเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความดี ความมั่นคง และความสมบูรณ์
    ผู้ใดที่คิดไม่ดี กระทำสิ่งไม่ดี พญานาคก็จะมาจัดการ แต่หากผู้ใด คิดดีทำดีพูดดี แม้จะถูกกลั่นแกล้ง พญานาคก็จะปกป้องคุ้มกันให้ปลอดภัย



    01_11.jpg

    จุดหมายเลข 1 พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)
    เรียกว่าใครมาวัดนี้ต้องขึ้นมาบนพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) ให้ได้ หากยังไม่ได้ขึ้น ถือว่ายังมาไม่ถึงกันเลยที่เดียว บนยอดของภูเขาทองแห่งนี้
    มีจุดที่สำคัญที่เรียกว่า "สะดือเมือง" ซึ่งมีที่นี้ ที่เดียวในประเทศไทย การสักการะบูชาให้ถวายดอกดาวเรือง เพื่อเสริมความมั่นคงให้ชีวิต
    นอกจากนี้ ยังมีเจ้าเกณฑ์ชะตาหรือท้าวจตุโลกบานทั้ง 4 พระองค์ ตั้งประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ เชื่อกันว่าท่านคือผู้กำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์

    • ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก: สำหรับผู้ที่เกิดนักษัตรปีชวด, ฉลู, ขาล ให้บูชาด้วยผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล, ส้ม, กล้วย เป็นต้น
    • ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ : สำหรับผู้ที่เกิดนักษัตรปีเถาะ, มะโรง, มะเส็ง ให้บูชาด้วยขนมไทย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เป็นต้น
    • ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก : สำหรับผู้ที่เกิดนักษัตรปีมะเมีย, มะแม, วอก ให้บูชาด้วยของประเภทเส้น เช่น สลิ่ม, ฝอยทอง เป็นต้น
    • ท้าวกุเวร มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท้าวเวสสุวรรณ รักษาโลกด้านทิศเหนือ : สำหรับผู้ที่เกิดนักษัตรปีระกา, จอ, กุล ให้บูชาด้วยสิ่งของที่เป็นชิ้นๆ อาทิเช่น ขนมจีบ, ซาลาเปา, ขนมสาลี่ เป็นต้น 012_1.jpg
    จุดหมายเลข 2 วิหารหลวงพ่อโต
    เชื่อกันว่าการมาสักการะบูชาหลวงพ่อโต ณ ที่แห่งนี้ สามารถอธิฐานขอบารมี ด้านความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ให้มีความเจริญเติบโต
    ไม่ต้องบนบานด้วยสิ่งใด สามารถตั้งจิตอธิฐานกับหลวงพ่อโตได้เลย หากใครอยากจะถวายอาหารใดๆ ให้บูชาด้วยขนมไทยสีทอง
    อาทิเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น ทั้งนี้ให้กล่าวอธิฐานจิตว่า "ขอให้อาหารที่ลูกนำมาถวายในวันนี้ จงเป็นอาหารทิพย์
    ให้ลูกนำกลับไปสู่ครอบครัวและบริวาร ให้เกิดสิริมงคลด้วยเถอะ" แล้วลาอาหารนั้นๆ กลับไปโดยไม่จำเป็นต้องตั้งไว้นาน

    %E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%95.jpg

    จุดหมายเลข 3 หลวงพ่อโชคดี
    การกราบสักการะบูชาหล่วงพ่อโชคดี ไม่จำเป็นต้องขอหรืออธิฐานสิ่งใด ให้กราบสักการะด้วยจิตใจที่สงบ โดยการเจริญภาวนาสติ การสวดมนต์
    หรือการนั่งสมาธิ เชื่อกันว่าก็จะได้ประสบแต่ความโชคดีกลับไป

    %E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5.jpg

    จุดหมายเลข 4 หลวงพ่อดวงดี
    การกราบสักการะบูชาหล่วงพ่อดวงดี ไม่จำเป็นต้องขอหรืออธิฐานสิ่งใด เหมือนกันกับหลวงพ่อโชคดี ให้กราบสักการะด้วยจิตใจที่สงบ
    โดยการเจริญภาวนาสติ การสวดมนต์หรือการนั่งสมาธิ เชื่อกันว่าจะช่วยปรับดวงให้ดีขึ้น สำหรับใครที่ดวงตก ให้มากราบสักการะหลวงพ่อดวงดี
    ก็จะช่วยปรับให้ดวงที่ตกอยู่ให้ดีขึ้นได้

    %E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5.jpg

    จุดหมายเลข 5 หลวงพ่อดำ
    ในการสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยมากแล้วเรามักจะมากราบไหว้ เพื่ออธิฐานขอพรต่างๆ นานา แต่จริงๆ แล้ว หากเรามากราบสักการะด้วยจิตที่สงบ เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลนั้น ไม่จำเป็นขออธิฐานขอสิ่งใด หากแต่เชื่อกันว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านจะเมตตาประทานพรนั้นๆ มาให้เราได้เอง
    และสำหรับการมาสักการะบูชาหลวงพ่อดำ ณ ที่วัดสระเกศฯ นี้ เชื่อกันว่าหลวงพ่อดำจะประทานพร ส่งเสริมให้เรามีสติ ปัญญา และบารมี

    %E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg

    จุดหมายเลข 19 พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปบามิยัน (จำลอง)
    พระพุทธรูปแห่งบามียาน เป็นพระพุทธรูปยืน ที่สลักอยู่บนหน้าผาสูง 2500 เมตร ในหุบผาบามียาน ณ จังหวัดบามียานของประเทศอัฟกานิสถาน
    ในปี ค.ศ. 1996 กลุ่มติดอาวุธตาลีบัน ได้บังคับใช้กฎหมายอิสลามสุดโต่งไปทั่วประเทศ ด้วยการสั่งทำลายรูปปั้น รูปสลัก และศิลปวัตถุ
    ทางพุทธศาสนา ซึ่งรวมถึง พระพุทธรูปแห่งบามิยัน ที่เคยเป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงที่สุดในโลกแห่งนี้ด้วย
    ทางวัดสระเกศฯ ได้มีการสร้าง พิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปบามิยัน (จำลอง) นี้ขึ้นมา เพื่อให้คนรุ่นหลังให้เห็นความงดงามของพระพุทธรูปบามิยัน
    ที่เคยมีอยู่ในอดีต

    IMG_20200616_133530.jpg

    แนะนำว่าให้จัดเวลามาสักครั้งหนึ่งในชีวิต และหากใครพอมีเวลาก็สามารถเดินชมตามจุดต่างๆ ตั้งแต่จุดแรกถึงจุดสุดท้ายที่ 19 ก็ได้ ก็จะยิ่งดีนักและเพราะทุกๆ จุดที่นั้น ล้วนแต่มีความหมายและความสำคัญไม่แพ้กัน

    เวลาเปิด-ปิด
    เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. แต่ช่วงเทศกาลสำคัญ ก็อาจจะขยายเวลาเปิดจนถึงกลางดึก
    ค่าเข้าชม
    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ไม่มีค่าเข้าชม แต่ถ้าเป็นชาวต่างชาติ จะมีค่าเข้าชมท่านละ 50 บาท


    ที่มา : https://intrend.trueid.net/bangkok/...าชวรมหาวิหาร-วัดภูเขาทอง-trueidintrend_180209
     
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    พิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา – ลานพระอาทิตย์กระบี่ นั่งดูพระอาทิตย์ตก

    สถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งหนึ่งของชาวกระบี่คือ ลานพระอาทิตย์ อยู่ในเมืองกระบี่หลังหลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ปกติลานพระอาทิตย์จะเปิดเป็น open space ให้ชาวกระบี่มาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การพาลูกหลานมาปั่นจักรยาน นั่งคุยรับลมทะเล ดูพระอาทิตย์ตก
    แม้กระทั่งมานั่งเล่นโทรศัพท์พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมากระบี่

    Krabi-Provincial-Administration-Organization-1-1024x769.jpg
    ลานพระอาทิตย์หลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
    ลานพระอาทิตย์หันเข้าปากแม่น้ำกระบี่ ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตกแสงอาทิตย์เลยส่องเข้าหาลานเต็มๆ

    Sun-Open-Space-2-1024x769.jpg

    ที่มาของชื่อลานพระอาทิตย์
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตาเปิดในปี2019หรือ 2562

    HM-Lanta-War-Ship-Museum-2-1024x769.jpg
    พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา
    HM-Lanta-War-Ship-Museum-1-1024x769.jpg
    HM-Lanta-War-Ship-Museum-3-1024x769.jpg
    Sunset-1024x769.jpg
    สถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งหนึ่งของชาวกระบี่คือ ลานพระอาทิตย์ อยู่ในเมืองกระบี่หลังหลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ปกติลานพระอาทิตย์จะเปิดเป็น open space ให้ชาวกระบี่มาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การพาลูกหลานมาปั่นจักรยาน นั่งคุยรับลมทะเล ดูพระอาทิตย์ตก
    แม้กระทั่งมานั่งเล่นโทรศัพท์พักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ที่ไม่ควรพลาดเมื่อมากระบี่

    Krabi-Provincial-Administration-Organization-1-1024x769.jpg
    ลานพระอาทิตย์หลังองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
    ลานพระอาทิตย์หันเข้าปากแม่น้ำกระบี่ ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตกแสงอาทิตย์เลยส่องเข้าหาลานเต็มๆ

    Sun-Open-Space-2-1024x769.jpg
    ที่มาของชื่อลานพระอาทิตย์

    abhakara-kiartivongse-monument-1024x769.jpg
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตาจะเปิดในปี2019หรือ 2562

    HM-Lanta-War-Ship-Museum-2-1024x769.jpg
    พิพิธภัณฑ์เรือรบหลวงลันตา
    HM-Lanta-War-Ship-Museum-1-1024x769.jpg
    HM-Lanta-War-Ship-Museum-3-1024x769.jpg
    Sunset-1024x769.jpg
    ที่มา : https://krabiday.com/ที่เที่ยว/ลานพระอาทิตย์-กระบี่/

     
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube สุรพล โทณะวณิก
    แดดออก - มีศักดิ์ นาครัตน์

    www.youtube.com/watch?v=pA00x98Ls_Y
    เพลง : แดดออก ศิลปิน : มีศักดิ์ นาครัตน์
    เนื้อร้อง : สุรพล โทณะวณิก
    ทำนอง : Day-O (The Banana Boat Song) Lyrics
    แดดออก แดดออก (แดดออกแล้วฟ้าก็งามดุจเปลวทอง) ตื่น ตื่นซะที ตื่นซะที ตื่นซะที ตื่นซะที ตื่นซะที นะพ่อคุณ (แดดออกแล้วฟ้าก็งามดุจเปลวทอง) ตื่นไปตลาดมองปราดเจอน้องน่ะ (เอ่ยปากร้องขายส้มโอโอ้โหใหญ่) ผ่ากินหน่อยชิมหน่อยได้ไหมล่ะ (อยากจะรู้หวานเท่าใดต้องชิมหน่อย) เปรี้ยวหวานดีถึงใจชะมันน่าอร่อย (อยากจะซื้อบ๊ะสตางค์ไม่ค่อยมี) เปรี้ยวหวานดีถึงใจชะมันน่าอร่อย (อยากจะซื้อบ๊ะสตางค์ไม่ค่อยมี) *เหลือบมองในเข่งใบเป้งกะท้อนน่ะ (เจ้าอย่าค้อนขอพี่ชิมอีกสักที) ต้องชิมใหม่ใบใหญ่อย่างนี้น่ะ (อยากจะรู้รสชาติดีสักเพียงใด) เปรี้ยวออก เปรี้ยวออก (เปรี้ยวอย่างนี้ เนื้อไม่ดีต้องชิมใหม่) เอ๊ะ นั่นอะไร นั่นอะไร นั่นอะไร นั่นอะไร (ใหญ่หนักหนา เนื้อข้างในน่าอร่อย) (ซ้ำ *) พอ...กลับเสียที กลับเสียที กลับเสียที กลับเสียที กลับเสียที (พี่อิ่มแล้วแล้วจะมาช่วยชิมใหม่)
    ติดต่อ : 081-564-7762 https://www.facebook.com/surapol.dona...
     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    423825-fc-a.jpg

    ตายแต่ตัว ชื่อยังฟุ้ง ทั่วทั้งกรุง ก็ไม่ลืมได้
    เทิดพระเกียรติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี อดุง คชนินทร์ ป.ช., ป.ม.
    วัดเจ้าอาม 137 ต.บางขุนนนท์ อ.บางกอกน้อย จ.ธนบุรี
    อาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
    Published[กรุงเทพฯ] : อรุณการพิมพ์, [2562]Detail776 หน้า : ภาพประกอบSubject
    อดุง คชนินทร์,2474-2562(+)
    ชุมพรเขตอุดมศักดิ์,กรมหลวง,2423-2466(+)
    ทหารเรือ -- ไทย -- ชีวประวัติ(+)
    ทหารเรือ -- รวมเรื่อง(+)
    หนังสืออนุสรณ์งานศพ(+)
    เรือรบ -- ไทย(+)
    Science and Technology Branch(+)
    Table of contentsเสด็จเตี่ยออกศึก -- 19 พฤษภาคม 2466 -- บันทึกของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ -- ดำแล้วไม่โผล่ -- มีดเหน็บ -- ขนบธรรมเนียมประเพณีทหารเรือ -- รับเรือหลวงพงันที่สหรัฐอเมริกา เรือหลวงพงันในสงครมเวียดนาม -- เรือหลวงพงัน กลับไปอยู่กับเกาะพงัน -- พระพุทธรูปประจำ ร.ล. ศรีอยุธยา -- ธรรมะจากทะเล -- ถวายเงินให้ถูกวิธี -- กตัญญกตเวที -- ของชำร่วยงานศพ -- หนังสืองานศพเล่มแรก -- เกร็ดเก่า ๆ เหล่าดุริยางค์

    แหล่งที่มา : https://opac.kku.ac.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00423825
     
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไปจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสีและเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูกได้อยู่รวมกับแม่หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีที่พระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดาก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
    พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เป็นแม่กองก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองจัดทำสืบต่อมา อนุสาวรีย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่าง ๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้
    นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ที่สำคัญอื่น ๆ ประดิษฐานอยู่ในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามด้วย เช่น พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (สายราชสกุลยุคล) อนุสาวรีย์เจ้าดารารัศมี พระราชชายา วิหารน้อย (สายเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด) เป็นต้น สุสานหลวงในปัจจุบันมีจำนวนอนุสาวรีย์ทั้งหมด 34 องค์ และมีการจัดตั้งกองทุนสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารขึ้นมาดูแลรักษาสุสานหลวงให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้าชมต่อไป

    อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์
    เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วิหารน้อย" เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนังรอบสี่ด้าน รูปทรงแบบยุโรป หลังคามุงกระเบื้อง ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้กรุกระจกสี ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) และพระธิดา พร้อมทั้งเจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 และพระโอรส พระธิดา ตลอดจนสมาชิกสายราชสกุลอาภากร และราชสกุลสุริยง ได้แก่

    • อัฐิ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2486 อายุ 89 ปี)
    • อัฐิ เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 (16 มกราคม พ.ศ. 2405 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2475 อายุ 70 ปี)
    • upload_2021-8-27_12-36-50.jpeg images?q=tbn:ANd9GcSgY5RPyyXBsvD0BaWR5QMxi9UgXaWkKD8STg&usqp=CAU.jpg upload_2021-8-27_12-42-1.jpeg
      • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 พระชันษา 42 ปี) (ต้นราชสกุลอาภากร)
        • อังคาร หม่อมช้อย อาภากร ณ อยุธยา (ช้อย วิจิตรานุช; เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 30 มกราคม พ.ศ. 2517 อายุ 83 ปี)
        • อังคาร หม่อมแฉล้ม อาภากร ณ อยุธยา (27 มีนาคม พ.ศ. 2430 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 อายุ 89 ปี)
        • อังคาร ท่านหญิงจารุพัตรา ศุภชลาศัย ในหม่อมกิม ชุ่นเพียว (หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร; 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 พระชันษา 68 ปี)
        • อังคาร ท่านหญิงศิริมาบังอร เหรียญสุวรรณ ในหม่อมแฉล้ม (หม่อมเจ้าศิริมาบังอร อาภากร; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2447 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พระชันษา 70 ปี)
        • พระอังคาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระชันษา 42 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าสมรบำเทอง อาภากร ในหม่อมเมี้ยน (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระชันษา 25 ปี)
        • อังคาร คุณหญิงเริงจิตร์แจรง สุจริตกุล ในหม่อมกิม ชุ่นเพียว (หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร; 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2536 พระชันษา 88 ปี)
          • อังคาร หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข (รพีพัฒน์) กรรณสูต ในหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 อายุ 29 ปี)
            • อัฐิ นายรุจจน์ กรรณสูต (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 อายุ 15 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ อาภากร ในหม่อมแฉล้ม (24 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 9 กันยายน พ.ศ. 2505 พระชันษา 57 ปี)
          • อังคาร หม่อมหลวงปรมาภา อาภากร ในหม่อมราชวงศ์อิทธินันท์ อาภากร กับนางสุภาวดี แพ่งสภา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528 อายุ 17 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ในหม่อมช้อย วิจิตรานุช (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 พระชันษา 60 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 พระชันษา 59 ปี)
          • อังคาร หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร ในหม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 อายุ 7 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร ในหม่อมแจ่ม (19 เมษายน พ.ศ. 2459 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 พระชันษา 90 ปี)
      • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 พระชันษา 35 ปี) (ต้นราชสกุลสุริยง)
        • อังคาร หม่อมเจ้ารัศมีสุริยัน สุริยง ในหม่อมจง (29 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พระชันษา 66 ปี)
        • อังคาร ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล ในหม่อมเรณี ฟุสโก (หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พระชันษา 100 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้ากิติสุริโยภาส สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (21 มิถุนายน พ.ศ. 2459 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2481 พระชันษา 22 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระชันษา 89 ปี)
          • อังคาร หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา (สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต; 19 ตุลาคม พ.ศ. 2463 - 27 กันยายน พ.ศ. 2535 อายุ 72 ปี)
          • อัฐิ หม่อมหลวงอำไพ สุริยง ในหม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง และนางอัมพร ประทีปะเสน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2511 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุ 25 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง ในหม่อมเรณี ฟุสโก (18 กันยายน พ.ศ. 2460 - 1 เมษายน พ.ศ. 2514 พระชันษา 54 ปี)
        • อังคาร หม่อมเจ้าสุวรรณกุมารี สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509 พระชันษา 48 ปี)
    อนุสาวรีย์หม่อมราชวงศ์วิบุลเกียรติ วรวรรณ (เมื่อก่อนอยู่เป็นเอกเทศในหมายเลข 3 แต่ปัจจุบันทายาทได้นำมารวมไว้กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์)
    • อัฐิ หม่อมราชวงศ์วิบุลเกียรติ วรวรรณ ในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และหม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ กิติยากร (17 มิถุนายน พ.ศ. 2465 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2510 อายุ 55 ปี)
    ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สุสานหลวง_วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ภาพ : google.co.th
     
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Spring
    "วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม" วัดประจำ ร.5 และ ร.7 - Springnews
    www.youtube.com/watch?v=V_rSNsLt3eQ
     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    กรมหลวงชุมพรฯ กับการเลี้ยงนักมวยในวัง สู่การปั้นชกไฟต์แห่งยุค กำปั้นไทยดวล “มวยจีน”

    %B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2-696x364.jpg

    [ภาพหลัง] (ซ้าย) นายไล่โฮ้ว์ จีนฮกเกี้ยน (ขวา) นายยัง หาญทะเล มวยนครราชสีมา ถ่ายเพื่อโฆษณาในบริเวณสนามเสือป่า เขาดินวนา (ดุสิต) ภาพจาก ปริทัศน์มวยไทย [ซ้ายสุด] กรมหลวงชุมพรฯ
    เผยแพร่ วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2563
    ความนิยมของ “มวย” เป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่สมัยโบราณในยุคที่ใช้เป็นวิชาในการต่อสู้เพื่อป้องกันตัวและต่อกรกับผู้รุกราน เมื่อมีผู้ตื่นตัวสนใจ มวยไทยก็กลายเป็นมรดกที่ล้ำค่าก่อนหน้าช่วงเวลาที่จะมีการแข่งขันอาชีพกลางทศวรรษ 2460 ในสมัยที่มวยได้รับความนิยม มีเจ้านายหลายพระองค์ที่ทรงอุปถัมภ์มวย อย่างกรณีของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    ก่อนที่จะเล่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับมวยในไทยนั้น ผู้รู้เกี่ยวกับศาสตร์แห่งการต่อสู้โบราณนี้อธิบายเป็นข้อมูลประกอบ (แต่มีความสำคัญในแง่การทำความเข้าใจเรื่องมวย)ว่า คำว่า “มวย” ไม่ได้หมายถึงการชกต่อยอย่างเดียวเท่านั้น

    คำว่ามวย มีความหมายหลายอย่าง อาทิ มุ่นผม หรือผมที่เกล้าเป็นก้อน, หนึ่ง หรือเดียว (อันได้มาจากเขมร), การชกต่อยแบบชาวสยามซึ่งมีการเตะรวมอยู่ด้วย และ ท่าทาง/คำพูดไม่ตลกขบขัน ซึ่งเป็นคำแผลง (Slang) ในสมัยรัชกาลที่ 5

    เขตร ศรียาภัย กูรูเรื่องมวย(ไทย) และคอลัมนิสต์ว่าด้วยเรื่องมวยชื่อดังเคยอธิบายไว้ว่า ในงานฉลองหลังพระราชพิธีขึ้นพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ที่พระราชวังบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา ในงานนี้มีตลกละครนอกเล่นตลกแต่ไม่มีคนขบขัน ตัวตลกคนนั้นไว้ผมมวย จึงกลายเป็นคำแผลง เรียก “มวย” สื่อถึงการแสดงท่าทางและคำพูดที่ไม่ตลกขบขัน

    มวยปรากฏอยู่ในตำราฉุปศาสตร์ หรือตำรารบ (พิชัยสงคราม) ในโบราณที่อธิบายถึงการใช้อาวุธต่างๆ ขณะที่คนโบราณก็มีการถ่ายทอดความรู้แยกสาขาจากตำราการใช้อาวุธ อันเรียกว่า “พาหุยุทธ์” คือการต่อสู้ด้วยแขน หรือที่รู้จักกันในหมู่คนไทยว่า “ตีมวย” กล่าวได้ว่า เป็นศาสตร์ประเภทหนึ่ง

    มวยในพระทัยเสด็จในกรมฯ
    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นเจ้านายอีกหนึ่งพระองค์ในประวัติศาสตร์ไทยที่ทรงสนใจ-สนับสนุนมวยและนักมวย ดังที่ เขตร ศรียาภัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมวยไทยเคยเล่าไว้ว่า เสด็จในกรมฯ ทรงรับอุปการะนักมวยฝีมือดีจากจังหวัดต่างๆ ให้หลับนอนที่วังเปรมประชากร (ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล)

    บรรดานักมวยที่มาอยู่ที่วังนั้นมาจากหลากหลายที่มาเป็นนักมวยฝีมือดีแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี (แม็ก เศียรเสวี) แม่กองเสือป่าจัดแข่งมวยที่สนามหญ้าหน้าสามัคยาจารย์สมาคม ในพื้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

    การจัดแข่งครั้งเป็นไปเพื่อหารายได้สมทบเพื่อซื้อปืนให้กองเสือป่า การแข่งขันครั้งนี้เองทำให้มีนักมวยฝีมือดีจากทุกสารทิศหลั่งไหลเข้ามาในพระนคร พวกนี้เป็นนักมวยจากการเลือกโดยสมุหเทศาภิบาลและข้าหลวง (ผู้ว่าราชการจังหวัด) เมื่อเข้ามาแล้วพวกเขาก็กระจายพักอาศัยตามบ้านผู้อาสาอุปการะและสโมสร ส่วนหนึ่งก็สมัครใจพักที่สโมสรเสือป่า ที่เรียกกันว่าสวนดุสิต สมัยนั้นร่มรื่นมีต้นไม้หลากหลายชนิด ในพื้นที่แถบนั้นยังใช้เป็นจุดเปรียบคู่และใช้ถ่ายภาพโฆษณากันที่แถวสนามเสือป่า ริมลานพระบรมรูปทรงม้าเบ็ดเสร็จ

    ช่วงพ.ศ. 2464 มีนักมวยที่ถูกส่งมาจากเมืองมวย (นครราชสีมา) อย่างทับ จำเกาะ และยัง หาญทะเล นายทับ จำเกาะ นี้เองพักที่วังเปรมประชากรจากการบอกเล่าของผู้รู้เรื่องหมัดมวยโบราณอย่างเขตร ศรียาภัย ซึ่งเขตร ยังเล่าต่อว่า มีเสียงลือว่า ยุคนั้นไม่ค่อยมีใครอยากจับคู่กับ “มวยในกรม” เนื่องจากนักมวยที่พักในวังเปรมประชากรเป็นพวกที่แพ้ยาก เพราะเสด็จในกรมฯ จะรับสั่งให้โบย 30 ที

    เสียงเล่าลือนี้ถูกปฏิเสธจากปากคำผู้คลุกคลีใกล้ชิดมวยไชยา พุมเรียง และสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีโอกาสกินอยู่หลับนอนในวังเปรมประชากร ซึ่งเขตร ยืนยันว่า เขาไม่พบเห็นพฤติกรรมดังที่เล่าเลือกันมาแต่อย่างใด แม้ว่าเสด็จในกรมฯ มักมีชื่อเสียงในเรื่องลักษณะ “ความเป็นนักเลง” แต่พระองค์เป็นเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงมีน้ำพระทัย ไม่ได้เป็นประเภท “นักเลงโต”

    นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงเชี่ยวชาญการชกต่อยตั้งแต่ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ และยังเคยถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ด้วยแขนแก่พระโอรส ม.จ. สมรบำเทอง แน่นอนว่า เสด็จในกรมฯ ทรงทราบเหตุผลการแพ้ชนะของนักมวยอย่างดี และยังทรงควบคุมการฝึกซ้อมด้วยพระองค์เอง โดยมี น.ท. พระชลัมพิสัยเสนี ร.น. เป็นผู้ช่วย

    ว่ากันว่า พระองค์มิได้ตั้งค่ายหรือคณะมวยเพื่อเหตุอย่างค่ายมวยในสมัยใหม่ เพียงแต่ท่านมีน้ำพระทัยโปรด “ลูกผู้ชาย” ที่มีฝีมือและเป็นนักสู้ไม่ว่าจะมาจากส่วนไหนของประเทศ นอกจากนี้ เสด็จในกรมฯ ยังทรงเห็นการณ์ไกล ควบคุมนักชกเมื่อออกนอกวังด้วย ขอร้องให้ตำรวจจับกุมนักมวยในอุปการะของพระองค์ที่อาจดื่มเหล้าเมามายประพฤติเสื่อมเสียส่งเข้ามาในวังเปรมประชากรพร้อมข้อหา เพราะไม่ต้องการให้คนไม่รู้จักชีวิตในเมืองต้องเสียงกับคดีด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ผู้รู้ด้านมวยยังเล่าด้วยว่า “กล่าวกันว่า เสด็จในกรมฯ ทรงมีกโลบายทรงชำระคนเมาเพียงรับสั่งให้กักตัวไว้ภายในห้องรโหฐานส่วนพระองค์ ซึ่งมีหัว (โขน) พระพิราพประดิษฐานบูชาอยู่ รุ่งเช้านักมวยขี้เมามิได้รอกินข้าวพร้อมกับนักมวยคนอื่นๆ รีบออกจากวังหลบหน้าอันซีดเซียวไปตั้งแต่บัดนั้น โดยไม่บอกเล่าเก้าสิบให้ผู้ใดทราบเหตุผล ต่อมาปรากฏว่าพวกนักมวยในความอุปการะของเสด็จในกรมฯ ต่างพากันหวาดเกรงถูกกักตัวในห้อง ‘หัวโขน’ จนไม่มีใครกล้าประพฤติเกเร

    และความก็แดงออกมาภายหลังว่า นักมวยขี้เมานั้นที่แท้เป็นคนแปลกหน้า ซึ่งแอบอ้างเพื่ออาศัยบารมีเสด็จในกรมฯ ตบตาตำรวจจนถูก ‘ทับ’ อยู่ในห้องหัวโขนจนพูดไม่ออก…

    เนื่องจากผู้เขียนเรื่องราวด้านมวยในไทยเล่าว่ามีโอกาสอาศัยอยู่ในวังเปรมประชากรถึง 2 ปีจึงได้ทราบกิตติศัพท์ทางกฤตยาคมของเสด็จในกรมฯ และประสบการณ์อัศจรรย์อีกหลายประการ

    เขตร อธิบายเสริมด้วยว่า เมื่อฝึกซ้อม พระองค์ยังให้นักมวยคาดเชือกแทนนวม และมีปี่กลองให้สมจริงและเพื่อให้คึกคะนองจริงจังขึ้น เมื่อทรงประทับก็มักทรงร้องเตือนให้นักมวยคอยระวัง “ช่องว่าง” และยังโปรดให้รวมกลุ่มเจรจาหารือติชมการฝึกซ้อมเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องกัน แล้วจึงโปรดให้ลงว่ายน้ำในสระภายในบริเวณวัง (ภายหลังถมพื้นที่ไปแล้ว) ขณะที่อาหารการกินก็ให้ถึงขนาด เป็นอาหารจากน้ำมือของหม่อมสองพี่น้อง ซึ่งโปรดให้ดูแลนักมวยเป็นพิเศษ ข้อความตอนหนึ่งซึ่งเขตร เขียนลงในฟ้าเมืองไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 217 วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีว่า

    “…บรรดานักมวยที่กินอยู่หลับนอนในวังเปรมประชากรไม่ต้องถูกหักเบี้ยเลี้ยงใดๆ จะไปไหนมาไหนก็แสนสะดวก เพราะมีรถยนต์ฟอร์ดสองแถวสีตะกั่วให้ใช้ ภายใต้การควบคุมของ ‘คุณพ่อชลัมฯ’

    นอกจากการฝึกซ้อมจริงจังของนักมวยฝีมือดี ซึ่งเสด็จในกรมฯ ทรงอุปการะให้อยู่ดีกินดีแล้ว นักมวยในความอุปการะของเสด็จในกรมฯ ยังได้รับความคุ้มครองโดยปริยาย พ้นจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจ (บางคน) ซึ่งสามารถบงการให้นักมวยคนใดแพ้หรือชนะอีกด้วย เพราะบารมีเสด็จในกรมฯ ปกป้องขัดขวางผู้ประกอบมิจฉาชีพดังกล่าว จึงเกิดเสียงเล่าเลือทำนองให้ร้ายเสด็จในกรมฯ ในครั้งนั้น

    แต่เมื่อนานๆ เข้าเสด็จในกรมฯ ไม่อาจทนฟังกระแสลมร้าย ซึ่งไม่เคยพัดให้ใครดีได้ จึงวันหนึ่งและต่อหน้า ‘แฟนมวย’ ที่พลุกพล่านเฉลียงสโมสรเสือป่า เพราะวันนั้นเป็นวันนัดเปรียบมวย เสด็จในกรมฯ ถึงกับทรงยืนขึ้นจากพระเก้าอี้ ใช้ด้ามกล้องยาสูบจากพระโอษฐ์ชี้หน้ากาบุรุษผู้นิยมใช้อำนาจมืด ท่ามกลางกรรมการเปรียบมวย พร้อมกับรับสั่งอย่างเฉียบขาดว่า ‘…ฉันรู้ดี ต่อไปให้ปิดปากเสียบ้าง มิฉะนั้นฉันจะต้องเป็นคนปิดเอง’

    เสียงอกุศลซึ่งนับว่ากระทบทำลายเกียรติเสด็จในกรมฯ จึงยุติลงตั้งแต่บัดนั้น”

    ทับ จำเกาะ
    มาพูดถึงฝีไม้ลายมือของนักมวยนามทับ จำเกาะ กันบ้าง เขตร เล่าว่า เขาเป็นนักมวยเตะและต่อยวงกว้างแบบ “เหวี่ยงควาย” พันหมัดด้วยด้ายดิบรอบๆ แขนจดข้อศอกตามความนิยมจากท้องถิ่น คู่มือของนายทับ จำเกาะ เชื่อกันว่าเป็นมวยดีจากมหาสารคาม แต่วันนั้นเป็นนายทับ ที่เตะเล่นงานคู่ต่อแข่งจนนักสู้จากมหาสารคามลุกขึ้นได้เพียงหัวและตัว แล้วก็ล้มพลิกเอาข้างลงกับพื้นเวทีอีกหน สั่นหัว และยอมแพ้ในเวลาอันรวดเร็ว

    คนมวยในพระนครฯ จำต้องหานักมวยมาเปรียบสู้กับนักมวยจากโคราช ได้ชื่อนายประสิทธิ์ บุณยารมณ์ ครูพลศึกษา (สมัยนั้นเรียกมวยนักเรียน) ถูกส่งเข้าเปรียบและกลายเป็นคู่มวยวันอาทิตย์ไป

    เขตร เล่าเพิ่มเติมเรื่องการฝึกซ้อมเตรียมตัวก่อนชกว่า

    “…ทางฝ่ายนายทับ จำเกาะ เมื่อฉุกคิดว่าได้คู่กับมวยนักเรียนจึงทำให้เกิดความรู้สึกเงียบเหงาเศร้าสร้อยชอบกล และไม่มีอารมณ์จนขาดซ้อมหลายวัน เสด็จในกรมฯ ถึงกับรับสั่งให้ตามตัว มหาดเล็กไปพบนายทับ จำเกาะ นอนมือก่ายหน้าผากลืมตาในห้องพัก เมื่อได้แจ้งว่าเสด็จในกรมฯ รับสั่งให้หาและนำตัวนายทับ จำเกาะ มาเฝ้า แล้วเสด็จในกรมฯ ทรงซักไซ้ถึงเหตุผลของการขาดซ้อม

    นายทับ จำเกาะ ได้กราบทูลถึงความกังวลใจในการได้คู่กับมวยนักเรียน และ ‘ฝีมืออย่างไรไม่กลัว’ กลัวแต่ถูกบังคับให้แพ้ จึงป่วยการซ้อม เสด็จในกรมฯ รับสั่งปลอบใจว่า ไม่ต้องกลัวใครเพราะไม่ได้นุ่งซิ่นและได้มีรับสั่งให้พระชลัมพิสัยเสนี นำเรือกลไฟเล็กของกองเรือกลไปเผดียง หลวงพ่อศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดมะขามเฒ่า เมืองชัยนาท เพื่อประกอบพิธี ‘แต่งตัว’ ให้นายทับ จำเกาะ

    เมื่อได้ตัวหลวงพ่อศุขมาแล้ว ปรากฏว่านายทับ จำเกาะ ค่อยสบายอารมณ์ขึ้นอย่างแปลกตา กินเป็ดย่างซึ่งหม่อมสองพี่น้องซื้อจากตลาดนางเลิ้งปรนปรืออย่างไม่อั้น และเต็มใจซ้อมทุกวัน จนปรากฏผลเป็นที่พอพระทัยเสด็จในกรมฯ”

    ว่ากันว่า วันอาทิตย์ที่กำหนดแข่งนั้น ก่อนขึ้นชก เขตร เล่าถึงการดูแลนายทับ โดยให้นายทับ จำเกาะ อาบน้ำชำระกายตามแบบประเพณีโบราณ แล้วอาบน้ำมนต์กลางหาวของหลวงพ่อศุข ซึ่งทำพิธีตลอดหลายวันแล้ว เมื่อเสร็จสิ้นด้านพิธีการแล้วนักมวยก็ขึ้นรถออกจากวังเปรมประชากร มุ่งหน้าไปที่สนามมวยสวนกุหลาบ

    เขตร บรรยายสภาพการชกไฟต์นั้นว่า เมื่อถึงจุดไคลแม็กซ์ นายทับ เป็นฝ่ายต่อยเตะพ่อเจ้าคุณประสิทธิ์ แม้จะเห็นกันว่าคงทนไม่ได้นาน แต่มนุษย์ใจสิงห์ คุณประสิทธิ์ กัดฟันสู้จนสิ้นยก แต่ก็อวสานเสีย เมื่อถึงครั้งนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดเสียงถกเถียงกันว่า ใครควรจะขึ้นสู้กับนายทับ จำเกาะ

    ระหว่างที่มีเสียงถกเถียงกัน มีข่าวแพร่ออกมาพอดีว่า มีมวยจีนมาจากฮ่องกงในความอุปการะของสโมสรสามัคคีจีนสยาม และอีกกระแสหนึ่งมีว่า มวยดีมาจากที่ราบสูง แต่เคราะห์ร้ายที่คู่มวยครั้งนี้ป่วยเป็นตากุ้งยิงก่อนขึ้นชก แพทย์จึงไม่อนุญาตให้ชก

    ยัง หาญทะเล
    หลังจากนายทับ จำเกาะ กลับภูมิลำเนาเดิมแล้ว จึงเกิดเสียงเรียกร้องให้คู่หูของนายทับ คือ “ยัง หาญทะเล” เป็นตัวยืน ให้สนามหาคู่ที่เหมาะเข้าเปรียบ พระยานนทิสุเรนทรภักดี จึงเข้าปรึกษาหารือข้าราชการผู้ใหญ่และเพื่อนที่เป็นพ่อค้า ไม่นานก็มีข่าวลือแพร่ว่า มีมวยจีนฝีมือเยี่ยมมาจากฮ่องกง บางเสียงก็ว่าเป็นจีนกวางตุ้งในไทย เป็นอาจารย์ใหญ่มวยจีนในสำเพ็ง

    มีข่าวหลุดมาว่า มวยจากฮ่องกงนามว่า จี๊(โฮ้วจงกุน)ฉ่าง ว่องไวเยี่ยงลิง หมัดสองข้างหงิกงอส่ายไปมาคล้ายหัวงูเห่า การชกในมวยสนามสวนกุหลาบครั้งนั้นได้รับความสนใจจากชาวไทยและชาวจีน ข้าราชการต้องกวดขันตรวจอาวุธอย่างเข้มข้น มวยสนามสวนกุหลาบมีกำหนดชก 11 ยก (ตามระเบียบมวยสนามสวนกุหลาบ พ.ศ. 2464) เมื่อล่ามแปลภาษาแจ้งกติกากันเรียบร้อย แยกย้ายเข้ามุม การชกก็เริ่มต้น

    จากการบอกเล่าของเขตร การชกเป็นไปอย่างดุเดือด ช่วงต้นอาจยังเป็นการดูเชิงกัน ฝั่งนายยัง สู้ด้วยเชิงมวย แกล้งชำเลืองย่างเพื่อล่อให้อีกฝ่ายเข้าท่ากล แกว่งแขนทั้งสองข้างส่ายสลับเหมือนตะเกียบปลากัด ฉากฉะ (หลีกและตีตอบ) กำปั้นหัวนกอินทรีของจี๊ฉ่าง เมื่ออีกฝ่ายจับทางไม่ถูกก็อัดเข่าตรงเข้าหน้าอกจี๊ฉ่างจนหงายหลังก้นกระแทก แต่โชคดีสำหรับจี๊ฉ่างที่กลองสัญญาณหมดยกดังขึ้นก่อน

    ในที่นี้เพื่ออรรถรสในการอ่าน จึงยกข้อความการบอกเล่าของ เขตร มาเพื่อให้อ่านได้อารมณ์จากสำนวนตามต้นฉบับจาก “ฟ้าเมืองไทย” ปีที่ 5 ฉบับที่ 227 วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ดังนี้

    “…กลองดังเป็นสัญญาณเริ่มยกใหม่ จี๊ฉ่างออกจากมุมด้วยลักษณะปกติไม่มีร่องรอยเจ็บปวดอะไรเลย ส่วนนายยัง หาญทะเล ออกจะตื่นเต้นเกินไปในความได้เปรียบ คล้ายเสือเห็นลูกกวางหลงแม่ไม่เหลือบมองเสด็จในกรมฯ เหมือนอย่างปกติ ย่างพรวดๆ เข้าหาจี๊ฉ่างด้วยการชะงักลักจังหวะนิดหนึ่งก่อนถึงระยะอันตราย กระหยดหลอกออกทางขวา พอได้เหลี่ยมถนัดเตะซ้ายเข้าชายโครง ซัดหมัดทั้ง 2 ข้างใส่จี้ฉ่างไม่ให้ตั้งตัว หมัดคาดเชือกเกือบถึงศอกโดนร่างจี๊ฉ่างอย่างไม่คาดคิดจนด้ายกระจุย จี๊ฉ่างสวาปามตีนกับอีก 4-5 หมัดถึงหัวคลอน และเพราะน้ำอดน้ำทนแท้ๆ มังกรไฟจึงยืนเอียงไปเอียงมาอยู่ได้ไม่รู้จักล้ม

    แต่มังกรไฟ-ไม่ใช่จิ้งเหลน ซึ่งมีดีเฉพาะน้ำมัน ได้กําลังภายในมาจากไหนและอย่างไรไม่มีใครทราบเสือกหมัดหงายตอบตรงหน้านายยังทั้งๆ ที่ยกปิดติดแขน นายยังถึงกับกระเด็นถอยหลังไปพิงเชือกสังเวียนแล้วติดตามระดมเลือกและสับหมัดหัวนกอินทรีไม่เลือกที่และไม่นับ นายยังจนตรอก (ไม่มีทางหลีก) ได้แต่กลิ้งหลบไปมา หลบสูงหลบต่ำจนพลาดจากเชือกคะมำลงจากเวที เคราะห์ดีที่ไม่เอาหัวลงก่อน

    คนจีนโห่ร้อง “ฮ้อดฉอย! ฮ้อดฉอย!…” ให้จี๊ฉางเผด็จศึก

    นายยังเข่าทรุด

    แต่นายยังรู้ดีเพราะความคร่ำหวอด รีบโหนเชือกปืนกลับขึ้นเวทีตรงที่ตกเพื่อลวงจี๊ฉ่างและสงวนเวลา ผู้ตัดสินไม่ทันนับ คนจีนยังส่งภาษาให้ฆ่านาย ยัง ซึ่งสังเกตเห็นว่าชักเดือดพล่านและหุนหันกระโดดเข้าใส่จี๊ฉ่าง ที่คอยเตรียมตัวพร้อมอยู่แล้วตามคําหนุนของเพื่อนร่วมชาติ

    จี๊ฉ่างจึงเสยขวาเต็มแรงจีน นายยังถูกชกอย่างจังถึงเข่าทรุดลงกับพื้นเวที แต่ด้วยบารมีของ “เฒ่าทรหด” หรืออย่างไรไม่มีใครคิดตก นายยังกัดฟันยันพื้นขึ้นไม่ให้ทันถูกนับ พลันเหวี่ยงตีนซ้ายขวาทั้งบนทั้งล่างเข้าลําตัวจี๊ฉางถึงต้องถอย

    จี๊ฉ่างหัวทิ่ม
    นายยังตามเหวี่ยงควายสุดแรงเข้าขากรรไกรจี๊ฉ่างหัวทิ่มลงกับพื้น คนดูลุกฮือมองไปทางผู้ตัดสินซึ่งกระโดดเข้ากันและผลักนายยังให้เข้ามุมกลาง ก่อนที่จะเริ่มนับ แล้วนับถึง 6


    จี๊ฉ่างลุกขึ้นสะบัดหน้าและตั้งท่าต่อสู้

    เมื่อผู้ตัดสินนับถึง 8 นายยังสะอึกเข้าหา จี๊ฉ่างทิ่มกําปั้นพลาดหน้านายยังแล้วกอดไว้ แม้จะเห็นกันว่าจี๊ฉ่างมีความทรหดอดทนเยี่ยมยอดและเก่งกาจแต่ก็ถูกนายยังชกล้ม 2 ครั้งก่อนที่จะหมดยก

    นายยังเลือดกําเดาไหล

    พี่เลี้ยงเตือนจี๊ฉ่างให้ระมัดระวังตัว นายยังเตรียม “ตีวงใน” เพราะรู้สึกว่าจี๊ฉ่างอ่อนกําลังลงตามที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า จี๊ฉ่างจึงเป็นฝ่ายถอยบ้างเมื่อนายยังทะลวงเข้าฟาดลําตัว แต่จี๊ฉ่างเป็นจีนจุติจากดาวจึงไม่พรั่น พอได้ท่าก็พุ่งหมัดอุ่นๆ เข้าจมูกนายยังเลือดกําเดาไหล คราวนี้นายยังเห็นทั้งดาวเห็นทั้งเลือดแต่ไม่ยอมถอย เพราะรู้แน่ว่าจี๊ฉ่างอ่อนแรง บางครั้งก็อ้าปากผงับคล้ายปลากระโห้จํานนพรานเบ็ด

    ประชาชนเพิ่งได้เห็นนักมวยทั้งคู่ยืนซดทดลองความทรหด จึงพากันชอบอกชอบใจตบมือกระทุบตีนอย่างไม่กลัวเจ็บ

    หัวจี๊ฉ่างเลือดไหล

    นายยัง หาญทะเล ก้าวขยิกเข้าหาปฏิปักษ์อีก จี๊ฉ่างก็ปักหลักไม่ยอมถอย พุ่งข้อนิ้วขวาเฉียดซี่โครงนายยัง แล้วกอดไว้ นายยังดันจี๊ฉ่างซึ่งอ่อนแรงไปติดเชือกผู้ตัดสินเข้าแยกและใช้มือสองข้างดึงคู่ต่อสู้ออกมากลางสังเวียน นายยังไม่รอช้าเหวี่ยงหมัดซ้ายเข้าก้านคอปฏิปักษ์ แล้วชกซ้ำที่หน้า ขณะ เดียวกันจี๊ฉ่างสับหมัดหัวนกอินทรีรวม 2 ที เพราะนายยังถอยหนีไม่พ้น จี๊ฉางหนีบแขนซ้ายนายยังไว้ นายยังจึงเหวี่ยงขวาตวัดสั้นจังๆ ที่ลําตัวต่าง คนต่างพยายามแลกหมัดกันนัว ท่ามกลางเสียงโห่ไม่รู้ใครเป็นใคร เมื่อผู้ตัดสินแยกคู่ต่อสู้ออกจากกัน ปรากฏว่าหัวจี๊ฉ่างซึ่งโกนผมเกลี้ยงมีเลือดไหล ออกมา แต่แผลอยู่เหนือไรผม เลือดจึงไม่เข้าตา พี่เลี้ยงจี๊ฉ่างตะโกนว่านายยังเอาหัวชน ผู้ตัดสินและคณะกรรมการฯ ไม่ฟังเสียงให้สู้กันต่อไปเพราะ ไม่จริง ประชาชนคนไทยต่างกระเหี้ยนกระหือรือลุกขึ้นยืนป้องปาก “เอามัน! เอาเลย! อย่าเลี้ยง! ” พวกจีนเพลาเสียงลงลูกติดพันหรือซ้ำ

    นายยัง หาญทะเล จะได้ยินเสียงหนุนหรือประการใดไม่อาจทราบ จ้วงหมัดซ้ายจนตัวบิดเหวี่ยงผัวะเข้าขากรรไกรขวา จี๊ฉ่างคว่ำลงกับพื้น ขณะ เดียวกันปลายตีนนายยังซัดป้าบเข้าขมับ พี่เลี้ยงจี๊ฉ่างร้องตะโกนคัดค้านอีกว่า “ซ้ำ! ซ้าม! ซ้าม!” แต่ผู้ตัดสินไม่ฟังเสียง เพราะรู้ดีว่าอะไรเป็นซ้ำ และ อะไรลูกติดพันผิดกับสมัยปัจจุบัน ซึ่งผู้ตัดสินบางท่านเป็นโรคบ้าจี้ ตัดสินตามเล่ห์กลเรียกร้องของนักพนันยิ่งกว่าพิจารณาตามภูมิของตน

    จี๊ฉ่างเลือดไหลจากหูซ้ายขณะที่จี๊ฉ่างพยายามคืบคลานและคว้าเชือกสังเวียนรั้งตนเองขึ้นยืน ก่อนถูกนับ 10 นายยังกําลังตื่นเต้นได้ใจ ย่างสามขุมเข้าหาอีก ทําที (แสดงกิริยาให้สําคัญผิด) ง้างหมัดขวาช้าๆ ด้วยอาการกระตุก พอจี๊ฉ่างหลงปัด นายยังก็ป่ายตีนขวาไปที่ร่างจี๊ฉ่างซึ่งมีเลือดจากแผลบนหัวทั่วหน้าอก และมี พะวงจะกอดเอาตัวรอดคล้ายคนตกน้ำ เมื่อผู้ตัดสินเข้าแยกอีกครั้งหนึ่ง หน้าจี๊ฉ่างแดงฉานด้วยเลือดนักสู้ แต่นายยังกําลังมันเขี้ยวไม่ลดลง เข้าผลัก จี๊ฉ่างออกห่างพอเหมาะระยะแข้ง เหวี่ยงพลักเข้าใต้รักแร้ด้านใกล้หัวใจ จี๊ฉ่างคว้าขาได้ดึงเข้าหาตัวเพื่อควักหักกระดูกไหปลาร้าอันเป็นไม้ตายของฝ่ายจีน นายยังตกใจกระชากขากลับ จี๊ฉ่างคะมำตามกอดเข่าคู้นายยังไว้ นายยังจึงระดมเหวี่ยงควายเข้ากกหูจี้ฉ่างอย่างไม่นับ ปรากฏว่าขณะนี้มีเลือดไหลออกจากหูซ้ายของจี๊ฉ่างผู้ตัดสินเข้าแยก (ความจริงควรให้แพทย์ตรวจเพราะอาจเป็นอันตรายแก่สมอง) จี้ฉ่างคงยืนด้วยอาการอ่อนระโหยโรยแรง พุ่งหมัดนกอินทรีแบบ สั่งญาติ แต่ผิดเป้าเพราะนายยังฉากทัน เสียงหนุน “ยัง อย่าเลี้ยง! ยัง อย่าเลี้ยง! ” ดังรอบๆ สนาม นายยังรู้ดีว่าได้ต่อยและเตะจี๊ฉ่างจนสุดแรงแล้ว หากเป็นคนอื่นการต่อสู้คงจะลงเอยง่ายกว่านี้ แต่จี๊ฉ่างชินชํานาญเชิงมวยและมีความทรหดอดทนเกินมนุษย์ธรรมดาที่นายยังเคยต่อกรมาในอดีต


    มังกรไฟพ่าย

    ขณะนี้นายยัง หาญทะเล กลืนหมากอาพัดเกลี้ยงแล้ว รีรอหาโอกาส และช่องว่างนิดหนึ่ง ระลึกถึงพระคาถา “กระทู้เจ็ดแบก” รู้สึกวูบวาบขนลุกซู่ จี๊ฉ่าง-จีนใจเพชร-เปลือกตาเกือบปิด ถุยเลือดออกจากปากที่บวมปูด ลากตีนที่ยกขึ้นด้วยความลําบากเข้าหานายยังอย่างไม่พรั่นเพราะสู้ตาย ชั่วพริบ ตาที่จี๊ฉ่างเบือนหน้าบ้วนเลือด หมัดขวามหาประลัยของนายยังซึ่งง้างมาแต่ข้างหลังก็หวดเข้าโหนกแก้ม จี๊ฉ่างผงะถลาล้ม นายยังตวัดตีนซ้ายรับเข้าเต็มหน้าจนจี๊ฉ่างมือกางกลิ้งลงพื้น ผู้ตัดสินกระโดดเข้าดึงนายยังออกห่างแล้วเริ่มนับ 1 ถึง 4 เหลียวดูนายยัง เห็นคงยืนอยู่มุมกลาง จี๊ฉ่างไหวตัวและพยายามลุกขึ้น เลือดเต็มหน้าและกลับเอียงซ้ายพับลงราบกับพื้นเวทีอีกครั้งหนึ่ง
    ผู้ตัดสินชําเลืองพร้อมนับต่อจนถึง 10 จี๊ฉ่างมังกรไฟแห่งฮ่องกง-ต้องพ่ายเสือร้ายแห่งที่ราบสูงเพราะหย่อนศิลปะการต่อสู้…


    …นายยัง หาญทะเล กําชัยเหนือจี๊ฉ่างในการต่อสู้อันนับเป็นประวัติการณ์เพราะเคารพและเชื่อฟังครูผู้สอนให้ “หนีเอาชัย” (Run a Victory) ก็ใครเล่าที่ทรงภูมิปัญญาสอนได้ดังกล่าว ถ้ามิใช่เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้คอยชักใยนายยัง หาญทะเล ด้วยสายพระเนตรอันแหลมคม เมื่อปี พ.ศ. 2464 หรือเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ แห่งกาลปัจจุบัน!”

    หลังจากความพ่ายแพ้ของจี๊ฉ่างแล้ว เกิดเสียงเล่าลืออีกว่า จี๊ฉ่างไม่ได้เป็นนักมวยฮ่องกง แต่เป็นชาวจีนที่เร่ขายยาแถวสำเพ็ง แต่ก็มีเสียงโต้เถียงว่าเป็นมวยฮ่องกงจริง และควรให้มีการแก้มือให้เห็นผลอีกครั้ง เขตร เล่าว่า ภายหลังจี๊ฉ่างขอกลับฮ่องกงโดยด่วน กลับกลายเป็นคนไทยกับคนจีนที่โต้เถียงไม่เป็นอันยุติเกิดมวยให้ตำรวจเป็นกรรมการตัดสินกันหลายคู่


    ที่มา : https://www.silpa-mag.com/history/article_37158
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube BB Records
    MV เชิดชูมวยไทย - ลิงชัดชัด feat. แอ๊ด (Muay Thai)
    www.youtube.com/watch?v=rKXfOJJlYl4
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    www.bloggang.com : สายหมอกและก้อนเมฆ

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร


    วัดประจำรัชกาลที่ ๑ หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุด และมีขนาดใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ ๑๖ ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๒๓๑ - ๒๒๔๖ ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงสถาปนาวัดโพธารามเป็นพระอารามหลวง

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธาราม วัดเก่าข้างพระบรมมหาราชวัง ความสำคัญอีกหนึ่งคือที่ใต้พระแท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ไว้ด้วย

    พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวา อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

    มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ" ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม"

    อ่านเพิ่มเติมที่เว็บของวัด คลิกเลยค่ะ http://www.watpho.com/index.php/th/architecture/detail/269

    ภาพเซ็ตนี้ ถ่ายเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

    1378561860.jpg

    ๐๙.๑๙ น. วันนี้มากับปะป๊า กับเมฆค่ะ ตอนเช้าแวะส่งหมอกไปเรียน จอดรถไว้แถวปากคลองตลาดเลยวัดราชบพิธขึ้นไป

    1378562082.jpg

    เดินเข้าด้านนี้ คุ้นๆ ว่าเป็นคิวรถเมล์สายอะไรซักอย่าง แต่ตอนนี้เค้าทำรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน สถานีสนามไชยค่ะ

    1378562512.jpg

    เราคงเดินผ่านเขตสังฆาวาสเข้ามาแน่เลย

    1378563529.jpg

    ซุ้มประตูทรงมงกุฎ
    ประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวย งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้ นับเป็นประณีตศิลป์ที่เห็นอยู่ทั่วไป ซุ้มประตูเข้าเขตพุทธาวาสมีทั้งหมด ๑๖ ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้ เป็นรูปแบบที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ

    1378563607.jpg

    ศาลกรมหลวงชุมพร วิหารคดสมอ วัดโพธิ์

    1378564682.jpg

    เราเพิ่งเคยเข้ามาศาลเสด็จเตี่ยครั้งแรกเหมือนกัน วัดโพธิ์นี่มาหลายครั้งแล้วค่ะ เดินไม่ทั่วซักที ครั้งนี้คิดว่าทั่วแล้วก็ยังไม่...

    1378565021.jpg

    ภาพสีน้ำมันภาพใหญ่ เป็นภาพที่เคยมีอยู่ในศาลดั้งเดิมค่ะ

    1378565171.jpg

    บริเวณสะพานเทวกรรม ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของตำหนักนางเลิ้ง เคยเป็นที่ตั้งศาลแห่งหนึ่ง

    1378565256.jpg

    มีนายเทียบ อุทัยเวช ผู้เป็นน้องชายของหม่อมเมี้ยนและหม่อมแจ่มเป็นผู้ดูแล

    1378565327.jpg

    เป็นศาลเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยที่เสด็จเตี่ยยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

    1378565425.jpg

    ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนผ่าน ศาลแห่งนี้จึงย้ายมาตั้งอยู่ที่วิหารคดสมอวัดโพธิ์

    1378565476.jpg


    1378565507.jpg

    พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว
    ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยพระเจดีย์ใหญ่ ตรงกลางล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กสี่องค์ รวมห้าองค์อยู่บนฐานเดียวกัน เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม (มุมเจดีย์มีย่อสามมุมสี่ด้านโดยรอบ นับได้สิบสอง เรียกย่อไม้สิบสอง ถ้ามากกว่าสิบสองก็เรียกว่าเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม) ประดับกระเบื้องเครื่องถ้วยตัดประดิษฐ์ ลวดลายดอกไม้งามวิจิตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวนี้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑

    1378623854.jpg


    1378623887.jpg

    พระเจดีย์ราย
    ประดิษฐานอยู่รายรอบพระระเบียงชั้นนอก เป็นสถาปัตยกรรมคล้ายเจดีย์หมู่ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง มีทั้งหมด ๗๑ องค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เดิมนั้น รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์

    1378624032.jpg


    1378626326.jpg

    ตุ๊กตาฝรั่ง ที่นำเข้าจากเมืองจีนจะใหญ่ประมาณ ๒ เท่าของคนจริงหรือมากกว่า หน้าตา จริงจัง และดุดัน น่ากลัว

    1378624265.jpg

    รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดฯ สั่งเข้ามาจากประเทศจีน ประดับอยู่ทางเข้า-ออก ประตูวัดโพธิ์

    1378624389.jpg

    พระระเบียง

    สร้างรอบพระอุโบสถอยู่สองชั้น ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อด้วยพระวิหารทิศ อยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๕๐ องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๔๔ องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ

    ปัจจุบัน ทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ปิดทองพระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสำริดทั้งนั้น งดงามอร่ามตาแล้วติดกระจกล้อมไว้หมด เพื่อรักษาความสะอาดและป้องกัน นก ค้างคาว ไปเกาะจับทำสกปรก


    1378625263.jpg

    วันที่เราไปไม่ได้ติดกระจก คงเพิ่งบูรณะ มีแนวกั้นไว้ ด้านขวามือของภาพ ตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ
    ให้จารึกเพลงยาวกลอักษร เพลงยาวกลบท และตำราฉันท์ต่างๆ อยู่ในกรอบศิลารวม ๑๐๐ แผ่น

    1378625401.jpg

    ศาลาราย ไม่แน่ใจนะคะ ดูเทียบภาพกับเว็บของวัด

    1378626150.jpg

    ซุ้มประตูทางเข้าพระมหาเจดีย์สี่รัชกาลเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี

    1378626180.jpg

    ใกล้เข้ามาอีกนิด...สวยค่ะ

    1378626241.jpg

    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ถ่ายมาแบบนี้ไม่ได้ค่ะ ถ้าเป็นมุมสูงคงสวยมาก

    1378626440.jpg

    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
    พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย


    1378626704.jpg


    1378626869.jpg


    1378627647.jpg


    1378627671.jpg


    1378627717.jpg


    1378627741.jpg


    1378627779.jpg

    ดูกลีบดอกแต่ละชิ้น ที่ประดับ กว่าจะเป็นดอกไม้ เป็นลาย...

    1378627887.jpg

    เทียบกับนักท่องเที่ยวที่เดิน พระเจดีย์องค์ใหญ่มากค่ะ

    1378627941.jpg


    1378628000.jpg
    นี่ขนาดนักท่องเที่ยวตัวโตนะคะ

    1378628033.jpg


    1378628065.jpg
    ตุ๊กตาจีน หน้าประตูทางเข้าค่ะ

    1378628134.jpg

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์ – ท่าเตียน)
    เลขที่ ๒ ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพ ๑๐๒๐๐

    เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.

    ชาวต่างชาติซื้อบัตรเข้าชมคนละ ๑๐๐ บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ

    สำหรับศูนย์การศึกษาต่างๆ ที่ต้องการจะนำนักศึกษามาทัศนะศึกษา ณ วัดโพธิ์ กรุณาทำหนังสือแจ้งทางวัด
    เพื่อจะได้รับความสะดวกในเรื่องสถานที่ ข้อมูล และพระวิทยากรที่จะนำทัศนศึกษา หรือ

    สอบถามข้อมูลได้ที่
    โทร.๐-๒๒๒๖-๐๓๓๕, ๒๒๕-๙๕๙๕, ๒๒๑-๙๔๔๙ โทรสาร ๐-๒๒๒๖-๐๓๗๐, ๒๒๒-๙๗๗๙

    การเดินทาง
    รถประจำทางธรรมดา สาย ๑, ๓, ๖, ๙, ๑๒, ๒๕, ๓๒, ๔๔, ๔๗, ๔๘, ๕๑, ๘๒, ๑๐๓

    รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.๑, ปอ.๖, ปอ.๗ ,ปอ.๘, ปอ.๑๒, ปอ.๔๔

    เรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือท่าเตียน หรือท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้

    ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=morkmek&month=09-09-2013&group=3&gblog=211
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • profile.jpg
      profile.jpg
      ขนาดไฟล์:
      463.5 KB
      เปิดดู:
      24
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2021
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293

แชร์หน้านี้

Loading...