คาถา บูชาเสด็จเตี่ย (กรมหลวงชุมพร) - เอื้ออังกูร

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย torphak, 1 กุมภาพันธ์ 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube KANA LAB
    ครบเครื่อง เรื่อง โกนจุก (ที่มา,ข้อต่าง,ครั้งแรก,ครั้งสุดท้าย รัตนโกสินทร์)
    www.youtube.com/watch?v=hBU8RBaaH5k

    #kanalab #ประวัติศาสตร์ #ปวศ #โสกันต์ #เกศากันต์ เป็นช่องหนังสือเสียง รวบรวมความรู้ เรื่องเล่าทางโบราณ ประวัติศาสตร์ จากหนังสือ เรื่องเล่า ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หวังให้ฟังง่าย ได้ประโยชน์แบบเพลินๆ เพื่อไม่ให้เรื่องราวเหล่านี้สูญหายไป ขอบคุณทุกแหล่งที่มาของข้อมูล
     
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สมุทรสงคราม

    552364.jpg

    เงียบเหงา! สถานท่องเที่ยวยอดนิยมเมืองสมุทรสงคราม ‘ศาลเสด็จเตี่ย’ ไร้ นทท.
    วันศุกร์ ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 18.55 น.

    “สมุทรสงคราม” ถึงแม้ว่าจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าเที่ยวหลายแห่งก็ตามแต่นักท่องเที่ยวที่นิยมมาและพักผ่อนรับลมขายทะเล นำอาหารมานั่งจับกุ่มกินกัน มีเสียงคลื่น ลมเย็นสบาย และก่อนจะกลับได้ ขอพรจาก “พ่อกรมหลวงชุมพร” เขตอุดมศักดิ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ที่ดอนหอยหลอด ณ มูลนิธิศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตำบลบางจะเกร็ง หมู่ 4 บ้านฉู่ฉี่ ถนนธนบุรี - ปากท่อ ต.บางจะเกร็ง อ.เมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม เมื่อนักท่องเที่ยวมาสมุทรสงครามจะต้องแวะมาที่ดอนหอยหลอดก่อน เมื่อเกิดมีโควิด-19 ระบาด ทางหน่วยงานที่ดูแลสถานที่แห่งนี้ได้ปิดตัวลง เพื่อความปลอดภัย ของนักท่องเที่ยว อาจจะติดโควิด-19กันได้ จึงต้องเซฟไว้ก่อน เมื่อนักท่องเที่ยวมาจะเข้ากราบไหว้เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรได้เพียงอย่างเดียวแต่เข้าไปนั่งข้างในสถานที่ดังกล่าวไม่ได้


    313188.jpg

    จากการที่ปิดสถานที่ท่องเที่ยวดอนหอยหลอดแล้วก็มีผลกระทบบ้าง กับร้านค้าในบริเวณดอนหอยหลอด บางร้านต้องปิดตัวลงไปโดยปริยายเนื่องจากไม่มีผู้ซื้อ ถนนที่มุ่งหน้าเข้าดอนหอยหลอดเคยมีรถเป็นจำนวนมากวิ่งเข้าออกไม่ขาดระยะเนื่องจากมีร้านอาหารที่รสชาติอร่อยมากมายอยู่ในที่แห่งนี้ ถึงแม้ว่าทางการได้ให้เปิดขายได้แล้วแต่ก็ยังไม่มีคนมาเที่ยวที่ดอนหอยหลอดนักท่องเที่ยวจะหาอาหารทะเลแห้งอาหารทะเลสดก็จะมาได้ที่ดอนหอยหลอดแต่ทุกวันนี้บรรยากาศเปลี่ยนไปตามสถานการณ์เป็นที่ทุกคนเข้าใจดีโควิด-19 การ์ดตกไม่ได้ เมื่อมาแล้วไหว้ขอพรเสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรหาอาหารทะเลใส่รถกลับบ้านได้เมื่อสถานการณ์ปกติคาดว่าจะเปิดเที่ยวชมเหมือนเดิม ก่อนมาสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 034-713964 อบต บางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

    ที่มา : https://www.naewna.com/likesara/552364
     
  4. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  5. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube T 3D
    สาวอัมพวา (สุนทราภรณ์) - นพดฬ ชาวไร่เงิน ต้นฉบับเดิม
    www.youtube.com/watch?v=CZuilDK8RPU
     
  6. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    “หมวกก๊อกแฮท” จากนโปเลียน ถึงพระพุทธเจ้าหลวง สู่ราชนาวีสยาม
    ที่มา มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 ตุลาคม 2561
    คอลัมน์ ปริศนาโบราณคดี
    ผู้เขียน เพ็ญสุภา สุขคตะ
    เผยแพร่ วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2561


    grHP-696x435.jpg

    เอ่ยถึงหมวก “ก๊อกแฮท” เชื่อว่าคนไทยน้อยคนนักที่จะรู้จักหรือเคยได้ยิน หากไม่ได้คลุกวงในกันจริงๆ
    คำว่า “ก๊อก” เป็นการเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ซึ่งอันที่จริงควรเรียกว่า “ค็อก” มากกว่า มาจากคำว่า Cock ที่แปลว่า “ไก่ตัวผู้” นั่นเอง

    ส่วน “แฮท” ก็คือ Hat ที่แปลว่าหมวกเมื่อนำสองคำมารวมกัน Cocked Hat หมายถึงหมวกที่มีรูปทรงคล้ายหงอนไก่

    หมวกก๊อกแฮทมีความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงจั่วหัวบทความว่า จากนโปเลียนถึงพระพุทธเจ้าหลวง สู่ราชนาวีสยาม?
    หมวกก๊อกแฮทของพลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์

    จุดเริ่มต้นที่ทำให้ดิฉันสนใจ “หมวกก๊อกแฮท” ก็เนื่องมาจากการที่เคยนั่งพินิจพิเคราะห์หมวกใบหนึ่งในตู้จัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชยอยู่นานหลายนาน หมวกใบนั้นสภาพยังดี มีขนาดกระชับ กว้างประมาณ 47 ซ.ม. สูง 14 ซ.ม. ทำด้วยหนังสัตว์ ประเภทหนังกลับและหนังฟอกสีดำ ประดับไหมถักดิ้นทอง และพู่ขนแกะสีขาว ได้มาพร้อมกล่องเหล็กสำหรับเก็บบรรจุ แต่ตัวกล่องชำรุด
    เจ้าพงษ์ธาดา ณ ลำพูน โอรสองค์โตของพลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย เป็นผู้มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2520 ซึ่งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ได้นำหมวกใบนั้นมาจัดแสดงคู่กับเสื้อครุยปักดิ้นเงินดิ้นทองของเจ้าหลวงจักรคำฯ เช่นกัน แต่ทั้งคู่ไม่มีรายละเอียดข้อมูลสำหรับจัดทำคำบรรยายในเชิงกายภาพแต่อย่างใดเลย
    พยายามสอบถามผู้รู้เรื่องผ้าและเครื่องแต่งกายในแถบล้านนา ก็ไม่ค่อยได้รับความกระจ่างเท่าใดนัก เนื่องจากมีแต่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าพื้นเมืองเสียส่วนใหญ่

    ในขณะที่หมวกก๊อกแฮทนั้นเป็นเครื่องแต่งกายที่นำเข้ามาจากสยาม แถมยังรับวัฒนธรรมมาจากตะวันตกอีก
    ในที่สุดก็พยายามศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนได้ข้อสรุปว่า มาลาหรือหมวกของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ใบนี้ เรียกว่า มาลาทรงก๊อกแฮท (Cocked Hat) เป็นหมวกที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

    %E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%97.jpg

    หมวกก๊อกแฮทคือหมวกนโปเลียน
    ดังที่ได้เกริ่นตั้งแต่ตอนต้นว่า หมวกก๊อกแฮท เป็นการเรียกทับศัพท์คำว่า Cocked Hat ซึ่งหากแปลตรงตัวจะหมายถึงหมวกที่มีส่วนหน้ายื่นยาวคล้ายหงอนไก่ และมีส่วนท้ายบานออกคล้ายพัด มีต้นกำเนิดมาจากหมวกแม่ทัพของกษัตริย์นโปเลียนแห่งฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ราวปี ค.ศ.1790 และใช้เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ. 1914 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในประเทศฝรั่งเศสจึงเลิกใช้ไป

    ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่าหมวก Bicorne (หรือ Bi-corn ในภาษาอังกฤษ) เพราะดูคล้ายกับว่ามีเขายื่นออกมาหนึ่งคู่ โดยยุคนโปเลียนได้กำหนดให้นายพลระดับสูง ผู้บัญชาการกองทัพทหารเรือของฝรั่งเศสสวมหมวกผ่ากลางทรงกระชับ เน้นความยาวด้านหน้า-หลัง
    ตกแต่งขลิบตอนบนที่ปีกสองข้างพับมาบรรจบกัน ทำเป็นพู่ระบายด้วยขนนกกระจอกเทศหรือขนหงส์ เน้นลวดลายความงามด้านข้างที่มีการปักลายเครื่องหมายประจำตำแหน่ง เวลาสวมอาจเขยิบให้เอียงด้านข้างเล็กน้อยให้ดูเท่ยิ่งขึ้น

    หมวกแบบ Bi-corn หรือ Cocked Hat ได้แพร่หลายจากฝรั่งเศสไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปอย่างรวดเร็วในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิ อังกฤษ อิตาลี สหรัฐอเมริกา ทุกประเทศล้วนแต่นำไปเป็นเครื่องแบบนายทหารเรือ
    อาจมีบ้างเช่น ประเทศเสปนและออสเตรียนำหมวก Bi-corn ไปใช้ในกองทัพทหารม้า บางประเทศเช่นเบลเยียม สวีเดน ใช้กับนักการทูต และยังมีหลักฐานว่านอกเหนือไปจากกองทัพเรือแล้ว ในฝรั่งเศสหมวกก๊อกแฮทยังกลายเป็นเครื่องแบบของนิสิตแพทย์ที่กรุงปารีสอีกด้วย จากนั้นจึงได้เป็นที่นิยมในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกาในยุคล่าอาณานิคม

    %E0%B8%A3.%E0%B9%94.jpg
    สามพระมหากษัตริย์ไทยทรงพระมาลาก๊อกแฮท ได้ปรากฏภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
    และสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอนุชา ทรงพระมาลาแบบก๊อกแฮท พร้อมด้วยฉลองพระองค์ ที่ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น Legion d’Honneur ของฝรั่งเศส ที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งประเทศฝรั่งเศสทรงถวายให้ผ่านสังฆราชปัลเลอกัวซ์ สะท้อนให้เห็นว่าราชสำนักสยามเริ่มรู้จักหมวกแบบ Bi-corn หรือ Cocked Hat แล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4


    S__10608657.jpg

    พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดมาที่เราเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ทรงสวมพระมาลาก๊อกแฮท ค่อนข้างบ่อยราวกับเป็นพระราชนิยมคือ “พระพุทธเจ้าหลวง” หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในปี พ.ศ. 2448 รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนด “เครื่องแบบทหารเรือ” ขึ้นเป็นหลักฐานฉบับแรก บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448 ด้วยการกำหนดให้หมวกก๊อกแฮทสีดำที่มีเครื่องหมายด้านข้างเป็นหมวกที่แสดงถึงยศชั้นสูงสุดของนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตร ส่วนหมวกเฮลเม็ตขาว และหมวกแก๊ปสักหลาดดำ เป็นหมวกชั้นรองลงมา

    ด้วยเหตุนี้ ตอนที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงเสด็จออกตรวจราชการในฐานะองค์จอมทัพแห่งกองทัพเรือ จักทรงสวมพระมาลาก๊อกแฮททุกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบทหารเรือหลายครั้ง ครั้งสำคัญคือปี พ.ศ.2455 กำหนดให้มีการปักไหมดิ้นทองร้อยเป็นเปียตาข่ายคู่มีรูปพระครุฑพ่าห์ทองประดับอยู่ตอนบนทับลายชัยพฤกษ์บนหมวกก๊อกแฮท ซึ่งเป็นหมวกรุ่นเดียวกับของเจ้าหลวงจักรคำฯ ชิ้นนี้

    แต่หลังจากนั้นมาไม่นานนักก็มีการยกเลิกการใช้หมวกก๊อกแฮทสำหรับนายพลทหารเรือระดับสูง เปลี่ยนมาเป็นหมวกทรงที่ใช้กันในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเมื่อประเทศฝรั่งเศสยกเลิกการใช้หมวกแบบนโปเลียน อาจเพื่อประกาศให้โลกรับรู้ว่าฝรั่งเศสยุติบทบาทของการเป็นรุกรานประเทศอื่นๆ ลงแล้ว กระแสดังกล่าวได้เป็นที่รับรู้ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เช่นกัน จึงได้ยกเลิกหมวกก๊อกแฮทตามไปด้วย

    แต่ก็ยังไม่หายคาใจว่าทำไมหมวกก๊อกแฮท ที่ใช้ในราชการทหารเรือ ไยจึงมาปรากฏอยู่กับเจ้านายฝ่ายเหนือหลายองค์ ไม่เพียงแต่ที่ลำพูนเท่านั้น ยังพบในหอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา และในพิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าหลายแห่งอีกด้วย

    images?q=tbn:ANd9GcSHM0MP4BIRorpbj3ZSP3yLgiPfrMCQngQ_Fg&usqp=CAU.jpg

    ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_142416
     
  7. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  8. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    เมืองสิบสองนักษัตร: สถานที่ตั้งเมืองและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
    upload_2021-8-25_6-48-26.jpeg
    ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระนิพพานโสตรได้สะท้อนให้เห็นว่า พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางแห่งความศักดิ์ของรัฐพระพุทธศาสนาแห่งนี้ ได้เป็นที่มาของการสถาปนาระบบเมืองขึ้นของรัฐที่เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตร ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ปกครองรัฐนครศรีธรรมราชอย่างยาวนานได้สถาปนาขึ้นในระหว่างประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 โดยให้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางของเมืองเหล่านั้น เมืองเหล่านั้นมีหน้าที่ในการสร้างและบำรุงศูนย์กลางแห่งความศักดิ์ของรัฐนี้

    ในช่วงเวลานี้เมืองนครศรีธรรมราชได้เจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจกล้าแข็งมากที่สุดบนแหลมมลายู สามารถแผ่อำนาจอิทธิพลไปตลอดแหลมมลายู เนื่องจากอาณาจักรศรีวิชัยทางใต้ก็ล่มสลายไป อาณาจักรขอมทางเหนือก็หมดอำนาจลงไป เมืองนครศรีธรรมราชมีกำลังผู้คนมากขึ้น เศรษฐกิจการค้าก็ดีขึ้น ศิลปวัฒนธรรมก็เจริญจึงได้จัดการปกครองหัวเมืองขึ้นหัวเมืองหนึ่งที่เรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร

    การจัดระบบเมืองสิบสองนักษัตรก็เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อรัฐนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะการเข้าไปมีอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากร ตลอดจนการพัฒนาและการเพิ่มผลผลิตของเมืองเหล่านั้น และการนำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ทางการค้าของรัฐนครศรีธรรมราช อย่างกรณีการนำดีบุกจากเมืองที่มีดีบุกมาก เช่น เมืองไทรบุรี เมืองกลันตัน เมืองปาหัง และเมืองตะกั่วถลาง เป็นต้น ตามที่ปรากฏในบันทึกของหวังตาหยวนในปี พ.ศ.1892 ว่าสินค้าของรัฐนครศรีธรรมราชเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของป่าและของแปลก เพราะเป็นสินค้าที่หามาได้จากบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลแทบจะทั่วทั้งคาบสมุทร เนื่องจากเมืองขึ้นของตนตั้งอยู่ทั่วทั้งคาบสมุทร ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจเช่นนี้ จึงส่งผลให้การเมืองการปกครองของรัฐนครศรีธรรมราชในช่วงนี้แข็งแกร่งและเกรียงไกลตามไปด้วย

    เมืองสิบสองนักษัตร
    1. เมืองสายบุรี ปีชวด ถือตราหนู
    2. เมืองปัตตานี ปีฉลู ถือตราวัว
    3. เมืองกลันตัน ปีขาล ถือตราเสือ
    4. เมืองปาหัง ปีเถาะ ถือตรากระต่าย
    5. เมืองไทรบุรี ปีมะโรง ถือตรางูใหญ่
    6. เมืองพัทลุง ปีมะเส็ง ถือตรางูเล็ก
    7. เมืองตรัง ปีมะเมีย ถือตราม้า
    8. เมืองชุมพร ปีมะแม ถือตราแพะ
    9. เมืองบันไทยสมอ ปีวอก ถือตราลิง
    10. เมืองสะอุเลา ปีระกา ถือตราไก่
    11. เมืองตะกั่วถลาง ปีจอ ถือตราสุนัข
    12. เมืองกระบุรี ปีกุน ถือตราหมู

    สถานที่ตั้งเมืองสิบสองนักษัตร
    1. เมืองสายบุรี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำสายบุรีและฝั่งทะเล ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวังของพระยาสุริยะสุนทรบวรภักดี (นิอิตัมนาแซ)บริเวณบ้านตะลุบัน ถนนสุริยะ ตรงข้ามกับศาลาเทศบาล ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

    เมืองสายบุรีเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 - 18 ส่วนเมืองสายบุรีเก่านั้นตั้งอยู่บริเวณรอบวัดถ้ำคูหาภิมุขหรือบริเวณอำเภอเมืองยะลา เมืองนี้เป็นเมืองท่าปากน้ำที่มีการติดต่อค้าขายและคมนาคมกับเมืองอื่นๆ เมืองสายบุรีเป็นเมืองขนาดไม่โตมากนัก มีความอุดมสมบูรณ์ มีอารยะธรรมเก่าแก่ที่มีความสำคัญคู่กับเมืองปัตตานี จัดเป็นเมืองนักษัตรอันดับที่ 1 ของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีชวด ถือตราหนูเป็นตราประจำเมือง และมีวัดสักขี(วัดสุทธิกาวาส) เป็นวัดประจำเมืองสายบุรี

    2. เมืองปัตตานี ตั้งอยู่บริเวณบ้านวัด บ้านประแว และบ้านจาเละ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
    เมืองปัตตานีตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำปัตตานี ซึ่งห่างจากทะเลประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองนี้ได้ชื่อว่าลังกาสุกะตะวันออก ส่วนชาวเมืองเรียกว่า โกตมะลิฆัย หรือโกตามหาลิฆา หรือโกตามลิไฆย แต่เรียกเพี้ยนออกไป จีนเรียกว่า ลังยาสิ่ว อินเดียเรียกว่า ลิงคาโศกะ

    เมืองปัตตานีเป็นเมืองเก่า เมืองทอง เมืองมหานคร และเมืองประวัติศาสตร์ที่มีประวัติความเป็นมานับพันปี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่สุดและเป็นเมืองใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญรองจากเมืองนครศรีธรรมราช เมืองนี้จึงมีบทบาททางการเมืองมาทุกยุคสมัยเมืองหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เต็มไปด้วยอารยธรรมโบราณ มีทั้งผู้นับถือศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ลุ่มแม่น้ำปัตตานีมีที่ราบทำนาได้มากจึงเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเลี้ยงคนได้มากที่สุด และเป็นเมืองค้าขายนานาชาติที่สำคัญประจำภูมิภาคแหลมมลายูตอนกลาง

    เมืองปัตตานีโบราณเป็นรัฐอิสระและต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลงก็มาขึ้นกับอาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช โดยการเป็นประเทศราชหรือหัวเมืองขึ้นอันเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมือนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีฉลู ถือตราวัวเป็นตราประจำแผ่นดิน

    ในสมัยเมืองปัตตานีถูกรุกรานจากกองทัพมะละกาได้ทำลายพระพุทธรูป เทวรูป และโบราณสถานในเมืองโกตามหาลิฆัยหรือลังกาสุกะไปจนหมดสิ้น พระยาอินทิราหรือสุลต่านอิสมาเอลชาห์ซึ่งเคยนับถือศาสนาพุทธก็ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามตามสุลต่านมัสสุชาฮ์กษัตริย์มะละกา ในสมัยนี้เองพระองค์ได้มีการย้ายพระนครโกตามหาลิฆัยมาสร้างพระนครใหม่ขึ้นที่สันทรายบริเวณตำบลตันหยงลุโละ ตำบลบานา หมู่บ้านกรือเซะ ในท้องที่อำเภอเมืองปัตตานีปัจจุบัน พระราชทานเมืองว่า ปัตตานีดารัสลามหรือนครแห่งสันติ

    3. เมืองกลันตัน ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำกลันตัน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของนครโกตาบารู ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
    เมืองกลันตันเป็นเมืองเก่าแก่โบราณเช่นเดียวกับเมืองปัตตานี และเมืองไทรบุรี เมืองนี้ในสมัยโบราณเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แร่ทองคำ เป็นเมืองท่าค้าขาย และเป็นดินแดนที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญบนคาบสมุทรมลายู เมืองกลันตันมีความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราชในฐานะเป็นเมืองขึ้นสิบสองนักษัตร ทรงกำหนดให้เป็นปีขาล ถือตราเสือเป็นตราประจำเมือง และวัดพิกุลทองวนารามน่าจะเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของเมืองกลันตัน

    4. เมืองปาหัง ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปาหังหรือโกโลเปก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวังเปอร์กัน ซึ่งเป็นวังของพญาเมืองปาหังหรือเจ้าเมืองรัฐปาหัง เมืองนี้ตั้งอยู่ห่างจากทะเล 2 กิโลเมตร และห่างจากแม่น้ำปาหังประมาณ 2 กิโลเมตร

    เมืองปาหังเป็นเมืองเก่าแก่โบราณและเป็นชุมชนตอนล่างของแหลมมลายู เมืองนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองยโฮร์ ทิศตะวันออกติดกับฝั่งทะเล ทิศตะวันตกติดกับรัฐเนกรีเซมบิลัน รัฐสลังงอ และรัฐเประ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับรัฐตรังกานู เมืองปาหังเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่และมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ที่สุดและเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีเถาะ ถือตรากระต่ายเป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย

    5. เมืองไทรบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตกของรัฐเกดะห์ในปัจจุบัน สถานที่ตั้งเมืองเมืองไทรบุรีน่าจะตั้งอยู่ที่บริเวณที่ว่าการอำเภอโกตาร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย
    เมืองไทรบุรีเป็นเมืองเก่าแก่โบราณคู่กับเมืองปัตตานี ตำนานเมืองไทรบุรีกล่าวว่า ปัตตานีเป็นลังกาสุกะตะวันออก ส่วนเมืองไทรบุรีเป็นลังกาสุกะตะวันตก เจ้าเมืองไทรบุรีคนที่ 1- 6 นับถือศาสนาพุทธ คนที่ 7 เป็นต้นไป นับถือศาสนาอิสลาม เมืองไทรบุรีได้รับอารยธรรมจากอินเดีย เมืองนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด เป็นที่ตั้งหลักแหล่งการค้า มีหน้าที่ส่งเสบียงและภาษีมาบำรุงเมืองหลวง และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของคาบสมุทรมลายูในการติดต่อกับจีนและอินเดียโดยผ่านช่องแคบมะละกา ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-19 ได้กลายเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีมะโรง ถือตรางูใหญ่เป็นตราประจำเมือง และมีวัดลำเด็นเป็นวัดประจำเมืองไทรบุรี

    6. เมืองพัทลุง ตั้งอยู่บนสันทรายใหญ่ที่โคกเมืองบางแก้ว หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
    เมืองพัทลุงเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่มีความใกล้ชิดกับเมืองนครศรีธรรมราชมากคล้ายกับเป็นเมืองเอกหรือเมืองลูกหลวง นครศรีธรรมราชเป็น “กรุงตามพรลิงค์” พัทลุงเป็น “กรุงพาราณสี”หรือ เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเสมือนเมืองปาตลีบุตร เมืองพัทลุงเป็นเสมือนเมืองพาราณสีหรือเมืองสทิงพาราณสี” และมีเจดีย์พระบรมธาตุเป็นศาสนสถานคู่เมือง เมืองพัทลุงมีพราหมณ์พฤฒิบาศซึ่งทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องช้างอาศัยอยู่มาก จึงมีบทบาทหน้าที่เด่นและมีอำนาจมากทางด้านการปกครองและการศาสนา ตำนานนางเลือดขาวได้กล่าวว่า นางเลือดขาวเป็นผู้หญิงมีบุญญาธิการได้สร้างวัด สร้างพระพุทธรูปไว้หลายตำบลและพระยากุมารกับนางเลือดขาวเป็นเจ้าเมืองพัทลุง เมืองพัทลุงเป็นหัวเมืองขึ้นหรือเมืองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีมะเส็ง ถือตรางูเล็กเป็นตราประจำเมือง และมีวัดเขียนบางแก้วเป็นวัดประจำเมืองพัทลุง

    7. เมืองตรัง ตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำตรัง บริเวณบ้านห้วยยอดกับบ้านลำภูรา ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
    เมืองตรังเป็นเมืองหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนัก เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญที่สุดของฝั่งทะเลด้านตะวันตก เป็นเมืองท่าเรือ เป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อใช้สำหรับการติดต่อกับโลกภายนอก จึงทำหน้าที่เปรียบเสมือนประตูบ้านประตูเมืองประจำด้านฝั่งทะเลทางทิศตะวันตกของแหลมมลายู เมืองตรังเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชมีหน้าที่คอยดูแลรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การค้า ทรัพยากร และภาษีส่วย ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์เสด็จออกจากเมืองลังกามาขึ้นท่าเรือที่เมืองตรัง และตำนานนางเลือดขาวได้กล่าวว่า นางเลือดขาวผู้มีบุญญาธิการกับพระยากุมารพร้อมด้วยคณะเดินทางไปแสวงบุญยังเกาะลังกาทั้งไปและกลับต้องมาลงเรือและขึ้นเรือที่ท่าเมืองตรัง เมืองตรังเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีมะเมีย ถือตราม้าเป็นตราประจำเมือง และมีวัดย่านเลือนเป็นวัดประจำเมืองตรัง

    8. เมืองชุมพร ตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำชุมพร บริเวณบ้านประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
    เมืองชุมพรตั้งอยู่เหนือสุด เป็นช่วงต่อแดนระหว่างเมืองประทิวกับเมืองบางสะพาน ซึ่งมีแนวแบ่งเขตตามธรรมชาติ ตามสัญญาระหว่างพระเจ้าอู่ทองกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมืองชุมพรได้ชื่อว่า “เมืองเคราะห์ร้าย” เพราะเป็นเมืองหน้าด่านที่อ่อนแอ น้ำท่วมพร้อมทั้งถูกวาตภัยเป็นประจำ พลเมืองต้องทุกข์ยากในการดำรงชีวิตและจุดที่ตั้งเป็นชุมทางยุทธศาสตร์เมืองหน้าด่านเกิดศึกสงครามทุกครั้งจะถูกโจมตี ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเสมอ จึงถือได้ว่าเมืองชุมพรได้รับความเดือดร้อนแสนเข็ญมากกว่าเมืองอื่นๆบนแหลมมลายู เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีมะแม ถือตราแพะเป็นตราประจำเมือง และมีวัดประเดิมเป็นวัดประจำเมืองชุมพร


    9. เมืองบันไทยสมอ ตั้งอยู่ที่บ้านเวียง ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เมืองบันไทยสมอหรือเมืองไชยา ศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่ที่ราบลุ่มคลองไชยา ตัวเมืองตั้งอยู่บนสันทรายวางแนวเหนือใต้ ยาวประมาณ 288 เมตร กว้างประมาณ 278 เมตร รูปทรงสี่เหลี่ยม เรียกว่าเมืองพระเวียง เมืองนี้มีวัฒนธรรมเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยศรีวิชัย และมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธนิกายมหายานและนิกายลังกาวงศ์และมีอิทธิพลของขอม มีพื้นที่ทำนาอันอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยมาจนถึงปัจจุบัน เมืองไชยยาเป็นเมืองใหญ่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เป็นเมืองท่าค้าขายที่สำคัญ และเป็นเจ้าแห่งอ่าวบ้านดอนหรืออ่าวไชยา เมื่ออาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมก็มาเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีวอก ถือตราลิงเป็นตราประจำเมือง และมีวัดเวียงเป็นวัดประจำเมืองบันไทยสมอ

    10. เมืองสะอุเลา ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าทองอุแทหรือท่าทองอุทัย ตำบลท่าทองอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เมืองสะอุเลาเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองท่าทองเป็นเมืองที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ตัวเมืองตั้งอยู่ในลุ่มน้ำท่าทอง มีการติดต่อและมีความสัมพันธ์กับเมืองคีรีรัฐนิคม มีพื้นที่ทำนาปลูกข้าวกว้างขวางโดยรวมเอาทั้งสิชลและขนอม ตลอดชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีระกา ถือตราไก่เป็นตราประจำเมือง และมีวัดประดู่ (วัดอุทยาราม) เป็นวัดประจำเมืองสะอุเลา

    11. เมืองตะกั่วถลาง ตั้งอยู่ที่บ้านดอนและบ้านตะเคียน ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
    เมืองตะกั่วถลางเดิมน่าจะอยู่ที่ตะกั่วป่าและตะกั่วทุ่ง ซึ่งหลักฐานนี้ชี้ชัดว่าเมืองถลางจะต้องมีทรัพยากรแร่ดีบุกเป็นสินค้าหลัก เมืองถลางจึงขยายตัวมาจากเมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่า สาเหตุเพราะต้องการลงไปขุดหาแร่ เนื่องจากแร่ต่างๆบนบกขุดหากันมานานจึงหายากขึ้น บนเกาะถลางมีแร่ดีบุกมากและเป็นแหล่งแร่ใหม่ซึ่งตลาดต้องการ จึงได้อพยพคนลงไปตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยและขุดหาแร่ เป็นการขยายชุมชนออกไป เมืองตะกั่วถลางเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราช กำหนดให้เป็นปีจอ ถือตราสุนัขเป็นตราประจำเมือง และมีวัดพระนางสร้างเป็นวัดคู่เมืองตะกั่วถลาง

    12. เมืองกระบุรี ตั้งอยู่บ้านนาน้อย ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
    เมืองกระบุรีเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดและตรงส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายู เป็นเมืองสุดท้ายที่มีขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นเมืองท่าและควบคุมเส้นทางเดินบกข้ามแหลมมลายูสู่ชุมพร เมืองนี้จึงไม่ค่อยมีบทบาทและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากนัก มีผู้คนอาศัยอยู่น้อย ที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณต้นน้ำกระบุรีหรือบริเวณปากน้ำจั่น มีภูเขาล้อมรอบเกือบทุกด้าน เมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งเมืองกระบุรีขึ้นเป็นเมืองสิบสองนักษัตร เพื่อป้องกันผลประโยชน์และดูแลรัฐนครศรีธรรมราช ทรงกำหนดให้เป็นปีกุน ถือตราสุกร(หมู) เป็นตราประจำเมือง และมีวัดจันทารามเป็นวัดประจำเมืองกระบุรี

    ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองสิบสองนักษัตร โดยการยกฐานะของเมืองที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และมีความพร้อมขึ้นเป็นเมืองในปีนักษัตรตามลำดับเมืองและปีนักษัตรนั้นๆ ส่วนการใช้รูปสัตว์ในปีนักษัตรเป็นตราประจำเมือง พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้เลียนแบบจากวิธีการของพราหมณ์ในราชวงศ์ตามพรลิงค์มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นแบบพุทธ โดยให้มีความหมายว่าจักรราศีทั้งหมดหมุนรอบแกนของจักรวาล คือ องค์ศรีธรรมาโศกราชที่เป็นประมุขของรัฐ พระองค์ทรงใช้ตราประจำเมืองหรือประจำพระองค์เป็นรูปดอกบัว ซึ่งเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนามาเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์

    หน้าที่ของเมืองสิบสองนักษัตร
    ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวว่า พระอินทร์ได้ส่งพระวิษณุกรรม์ลงมาช่วยเหลือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชในการก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้ทรงตั้งเมืองสิบสองนักษัตรขึ้น เพื่อให้มาก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และวิหารต่างๆ แต่ต้องประสบปัญหา คือ ไข้ห่า ผู้คนล้มตาย เมืองร้างอยู่เป็นเวลานาน พระนิพพานโสตรได้กล่าวว่าเมื่อกษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราชได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์เสร็จแล้ว ทรงเปิดโอกาสให้เมืองสิบสองนักษัตรเป็นผู้รับผิดชอบหรือทำหน้าที่สร้างสรรค์และทะนุบำรุงพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ได้ส่งผลให้หัวเมืองน้อยใหญ่ในรัฐได้มีความผูกพันกันอย่างใกล้ชิดกับศูนย์รวมแห่งความศักดิ์ จึงส่งผลให้ระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้และพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ได้แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางในรัฐนี้และเป็นระบบความเชื่อที่มีการสืบต่อมาอย่างยาวนาน ดังที่ปรากฏว่าพุทธศาสนิกชนในปลายของคาบสมุทรมลายูยังคงเดินทางมาจารึกแสวงบุญ ณ ศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้สืบต่อกันมาตราบจนทั่งปัจจุบันนี้

    สรุป
    พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐนครศรีธรรมราช ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชได้สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตรขึ้นมาปกครองรัฐนี้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 เพราะในช่วงระยะเวลานี้เมืองนครศรีธรรมราชมีกำลังคนมากขึ้น เศรษฐกิจการค้าก็ดีขึ้น และศิลปวัฒนธรรมก็เจริญ เมืองสิบสองนักษัตรจึงมีหน้าที่ในการสร้างสรรค์และบำรุงศูนย์กลางแห่งความศักดิ์สิทธิ์ และการนำทรัพยากรมาเป็นสินค้าออกของรัฐอีกด้วย

    เมืองสิบสองนักษัตรของรัฐนครศรีธรรมราชได้แก่ เมืองสายบุรี เมืองปัตตานี เมืองกลันตัน เมืองปาหัง เมืองไทรบุรี เมืองพัทลุง เมืองตรัง เมืองชุมพร เมืองบันไทยสมอ เมืองสะอุเลา เมืองตะกั่วถลาง และเมืองกระบุรี

    เมืองสายบุรีตั้งอยู่ทิศตะวันตกของแม่น้ำสายบุรี ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เมืองปัตตานีตั้งอยู่บริเวณบ้านวัด บ้านประแว และบ้านจาเละ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เมืองกลันตันตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำกลันตัน ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของนครโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เมืองปาหังตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำปาหัง (โกโลเปก) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวังเปอร์กัน รัฐปาหัง ประเทศมาเลเซีย เมืองไทรบุรีตั้งอยู่ฝั่งทะเลทิศตะวันตก ปัจจุบันอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอโกตาร์สตาร์ รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย เมืองพัทลุงตั้งอยู่บนสันทรายใหญ่ที่โคกเมือง ตำบลจองถนน อำเภอ เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เมืองตรังตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำตรัง ที่บ้านห้วยยอด และบ้านลำภูรา ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เมืองชุมพรตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำชุมพร บริเวณบ้านประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เมืองบันไทยสมอตั้งอยู่ที่บ้านเวียง ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองสะอุเลาตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าทองอุแท ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมืองตะกั่วถลางตั้งอยู่ที่บ้านดอน และบ้านตะเคียน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และเมืองกระบุรีตั้งอยู่ที่บ้านนาน้อย ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง

    พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้สร้างเมืองสิบสองนักษัตรขึ้น โดยการยกฐานะของเมืองที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ทางยุทธศาสตร์ และความพร้อมของเมืองขึ้นตามลำดับก่อนหลัง โดยการใช้รูปสัตว์ในปีนักษัตรเป็นตราประจำเมือง ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชใช้ตรารูปดอกบัวเป็นตราประจำเมือง เมื่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสำเร็จแล้ว ทรงเปิดโอกาสให้เมืองสิบสองนักษัตรเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างสรรค์และทะนุบำรุงพระบรมธาตุเจดีย์ จึงส่งผลให้เจ้าเมืองน้อยใหญ่ได้มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกัน มีระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระบรมธาตุเจดีย์ และพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ดังที่พุทธศาสนิกชนได้เดินทางมาแสวงบุญ ณ สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จนถึงปัจจุบันนี้

    เอกสารอ้างอิง
    พระปราโมทย์ กลิ่นละมัย. การศึกษาบทบาททางการปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช : กรณีศึกษาจาก “ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช”. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตร
    มหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 2550.

    พุทธศาสนสุภาษิต
    อุฏฺฐานกาลมฺหิ อนุฏฺฐหาโน ยุวา พลี อาลสิยํ อุเปโต
    สํสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต ปญฺญาย มคฺคํ อลโส น วินฺทติ
    บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันในกาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน
    มีใจประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา

    ที่มา : http://worawiriyakhun.blogspot.com/2018/02/blog-post_3.html
    พระครูวรวิริยคุณ (ปราโมทย์ ปสุโต) เจ้าอาวาสวัดท้าวโคตร


     
  9. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    วัดประเดิม
    108 หมู่ 2 ตากแดด เมืองชุมพร ชุมพร 34130

    upload_2021-8-25_7-17-12.jpeg upload_2021-8-25_7-21-26.jpeg upload_2021-8-25_7-18-1.jpeg images?q=tbn:ANd9GcSpGu3Lj5R1nI3jF03o5v5yGG7ZzqGX6bg2cQ&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcSPrI0puZcfVfR50OpVNMvA5h5Uin9wpj_a2Q&usqp=CAU.jpg images?q=tbn:ANd9GcSgIZLFXzb8xFgqvsTW6UYC9iHUKyAn-CndHQ&usqp=CAU.jpg

    นักโบราณคดีท้องถิ่นเชื่อว่า บริเวณวัดเคยเป็นที่ตั้งของเมืองชุมพรเก่า เนื่องจากมีการพบแท่งศิลา ซึ่งแรกเข้าใจว่าเป็นเสาหลักเมือง แต่ต่อมาพบว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่ผุกร่อน ชาวบ้านเรียกว่าพระข่อย

    เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในทำเลที่นักโบราณคดีท้องถิ่นเชื่อว่า เคยเป็นสถานที่ตั้งของเมืองชุมพรเก่า เนื่องจากมีการค้นพบแท่งศิลา ซึ่งมีความเข้าใจในเบื้องแรกว่าเป็นเสาหลักเมือง ครั้นต่อมาได้มีการพบว่าศิลาแท่งนี้คือพระพุทธรูปหินทรายที่ผุกร่อน ที่ชาวบ้านเรียกว่าพระข่อย นอกจากนี้องค์พระธาตุเจดีย์ยังบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะอยู่ในสมัยศรีวิชัย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด ทั้งนี้ได้มีการค้นพบวัตถุโบราณภายในวัดหลายชิ้น หากมีสภาพผุพังตามกาลเวลา และทางวัดได้เก็บรักษาเอาไว้บางส่วน อาทิเช่น ใบเสมา เศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะศรีวิชัยเกือบ 20 เศียรอันเป็นศิลปะสมัยอยุธยา มีการขุดพบฐานรากเจดีย์และแนวกำแพงวัดโบราณจำนวนมาก ซึ่งแสดงถึงการเป็นที่ตั้งของชุมชนสมัยโบราณอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันภายในวัดยังมีโบราณสถานเก่าแก่ ที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ อาคารโรงเรียนปริยัติธรรมที่มีลวดลายตกแต่งหน้าจั่วตามสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ของชุมพรนั่นเอง

    ที่มา :
    1. https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดประเดิม
    2. ภาพ google.co.th
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  11. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Metro Records
    ปาริชาต - สุนทราภรณ์ / มัณฑนา(สุนทราภรณ์ , Suntaraporn)
    www.youtube.com/watch?v=XqmAUUByNmY


    16153443835_6ef5fa0b04_o.jpg

    จาก ‘ปาริชาต’ สู่ ‘ทองหลาง’ พิษรักแรงหึง ศาสนา และการระลึกชาติ
    เมื่อดอกไม้แห่งการระลึกชาติสามารถสัมผัสได้จริง

    ตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งเหล่าเทวดากับอสูรกัดฟันจับมือกันกวนเกษียรสมุทร นอกจากจะได้น้ำอมฤตที่ทำให้เป็นอมตะแล้ว ยังเกิดของวิเศษผุดขึ้นมาระหว่างพิธีอีก 14 อย่าง และหนึ่งในนั้นก็คือ ‘ต้นปาริชาต’ เมื่อครั้งต้นปาริชาตกำเนิดขึ้นมา เหล่าเทวดาต่างลงคะแนนเสียงให้พระอินทร์นำต้นไม้วิเศษนี้ไปปลูกไว้ในอุทยานใหญ่ใกล้กับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่มีชื่อว่า ‘ปุณฑริกวัน’ โดยต้นปาริชาตนั้นมีขนาดมโหฬารชนิดที่ต้นเดียวก็แผ่กิ่งก้านปกคลุมได้ทั่วทั้งประเทศไทย และจะผลิดอกให้ได้ชื่นชมกันทุก 100 ปี ดอกปาริชาตจะร่วงลงสู่มือของผู้ที่ต้องการนำไปชื่นชมได้ทันทีเมื่อคิดอยาก แถมหากเอื้อมมือไปรองรับไว้ไม่ทัน ดอกปาริชาตจะลอยคว้างกลางอากาศอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งผู้รับพร้อม โดยจะไม่ร่วงลงแตะพื้นแต่อย่างใด แต่ละครั้งที่ร่วงลงมากลิ่นหอมของดอกจะลอยตามลมไปได้ไกลถึง 100 โยชน์ (1,600 กิโลเมตร)

    ว่ากันว่า หากผู้ใดได้สูดดมกลิ่นอันหอมตลบอบอวลไปทั้งสรวงสวรรค์ของดอกปาริชาต จะหวนระลึกถึงอดีตชาติของตัวเองได้ตั้งแต่ชาติแรกจนถึงชาติสุดท้าย ความเชื่อตามตำนานนี้ปรากฏอยู่ในตอนหนึ่งของบทประพันธ์เรื่อง ‘กามนิต – วาสิฏฐี’ คราวที่กามนิตไปพบกับต้นปาริชาตบนสวรรค์ กล่าวว่า “ในทันใดนั้น ลักษณะประหลาดแห่งกลิ่นหอมก็เริ่มสำแดงอาการ กล่าวคือ ขณะกามนิตสูดกลิ่นซึ่งตลบฟุ้งอยู่ทั่วหุบเขานั้น ความรู้สึกระลึกเรื่องหนหลังได้แล่นพรูเข้าสู่ใจโดยเร็ว ทำลายทะลุฝ้ามืดที่กำบังไว้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นในสระจนบัดนี้ กามนิต ระลึกถึงความเป็นไปในอดีตได้ตลอด…”

    สิ่งอัศจรรย์มักเป็นเหตุให้สรวงสวรรค์เกิดเรื่องวุ่นวาย นอกจากสงครามยิบย่อยที่เหล่าอสูรยกพวกรบรากับเทวดา เพราะอยากชิงต้นปาริชาตไปชื่นชมกันบ้าง ก็ยังมีเนื้อหาบางตอนของ ‘กฤษณาวตาร’ ที่กล่าวถึงเรื่องราวเมื่อพระนารทฤาษีทรงฤทธิ์ ผู้มักสนุกสุขสันต์เมื่อได้เห็นเรื่องราววุ่นวาย นำดอกปาริชาตไปถวายแด่องค์กฤษณะ จากนั้นจึงติดตามดูว่าพระองค์จะนำดอกไม้นั้นไปให้ชายาองค์ใด ปรากฏว่าพระกฤษณะนำดอกปาริชาตไปมอบให้กับชายาที่มีนามว่านางรุกขมินี พระนารทฤาษีจึงเห็นช่องของการสร้างความหฤหรรษ์ โดยนำข่าวไปแจ้งแก่นางสัตยภามาซึ่งเป็นชายาอีกองค์หนึ่งของพระกฤษณะ พร้อมชี้ช่องให้พระนางอ้อนวอนต่อองค์กฤษณะให้นำต้นปาริชาตมาปลูกไว้ที่สวนของตนเองเสียเลย ถือเป็นการชดเชยความผิดขององค์เทพ ยุแยงตะแคงรั่วเสร็จสรรพ พระนารทฤาษีก็ยังซ้อนแผนลับด้วยการไปกระซิบกับพระอินทร์ผู้ดูแลต้นปาริชาตว่าจงระวัง เนื่องจากตนรู้ว่าจะมีผู้มาขโมยไม้ประดับแห่งสรวงสวรรค์ต้นนี้ไป

    ฝ่ายพระกฤษณะก็อยากเอาใจชายา จึงไปขโมยต้นปาริชาตมาไว้ในสวนของนางสัตยภามา ณ เมืองทวารกา ในโลกมนุษย์ตามที่สัญญาเอาไว้ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างพระอินทร์ผู้ดูแลต้นปาริชาตและพระกฤษณะ สุดท้ายพระอินทร์ซึ่งมีฤทธิ์ด้อยกว่าองค์กฤษณะไม่สามารถต้านทานได้ ต้นปาริชาตจึงถูกย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในโลกมนุษย์ ตราบจนองค์กฤษณะลาจากโลก ต้นปาริชาตจึงมีโอกาสกลับไปเป็นต้นไม้งามประจำสวรรค์อีกครา

    นอกจากนั้น ความงดงามของต้นปาริชาตยังปรากฏอยู่ในศาสนา ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบพระอริยสาวกผู้ปฏิบัติตนรักษาศีลตามลำดับต่างๆ กับความงามของต้นปาริชาติในหลายลักษณะ เช่น “สมัยใด อริยสาวกคิดจะออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง … สมัยใด อริยสาวกปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบใหม่…”

    เมื่อกลับมามองในโลกแห่งความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน เชื่อกันว่าปาริชาตหรือปาริฉัตรในเรื่องเล่านั้น แท้จริงคือต้นทองหลาง เพราะมีใบสีเหลืองและดอกสีแดงดุจเพลิงคล้ายที่บรรยายไว้ใน กามนิต – วาสิฏฐี ความว่า “กลางหุบเขามีไม้ประหลาดต้นหนึ่ง ลำต้นและกิ่งเรียบรื่นเป็นสีแดงดั่งแก้วประพาฬ ใบแกมเหลืองแก่ มีดอกแดงเข้มส่งสีรุ่งโรจน์ราวกับจะลุกไหม้” นอกจากนั้น ยังมีข้อความเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ทั้งสองนี้ใน ‘ไตรภูมิพระร่วง’ ระบุว่า “ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีอุทยานชื่อปุณฑริกวัน มีไม้ทองหลางใหญ่ชื่อปาริชาติกัลปพฤกษ์ ใต้ต้นกัลปพฤกษ์มีแท่นศิลาแก้วชื่อ บัณฑุกัมพล เป็นแท่นสีแดงเข้มดังดอกชบาและอ่อนดังฟูกผ้า ใกล้กันมีศาลาสุธรรมเทพสภาเป็นที่ประชุมและฟังธรรมของเทวดา”

    เมื่อมองต่อมายัง ‘ทองหลาง’ ต้นปาริชาติที่งอกเงยขึ้นในโลกมนุษย์นั้น พบว่าเป็นไม้มงคลตามความเชื่อแบบไทยมาตั้งแต่โบราณ ว่ากันว่าหากบ้านใดปลูกต้นทองหลางเอาไว้ จะมั่งมีด้วยทรัพย์สินและเงินทองล้นหลาม ส่วนดอกทองหลางก็มีรูปทรงสวยแปลก สีแดงสดสะดุดตา ใบมีสีเหลืองดุจทองทามองดูแล้วสดชื่นใจ มักนิยมนำมาใช้ในพิธีมงคลตามความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ และฮินดู โดยในหนึ่งก้านนั้นจะประกอบด้วยสามใบ ทางฮินดูเชื่อว่าแทนความหมายของ ‘ตรีมูรติ’ ที่คัมภีร์ปุราณะหมายถึงเทพเจ้าทั้งสามพระองค์ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ผู้คนจึงมักนำใบทองหลางมาเป็นส่วนหนึ่งในพิธีมงคล ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเสาเอกเพื่อปลูกบ้านใหม่ ตั้งศาลพระภูมิ หรือในพิธีแต่งงาน และยังมีการประดิดประดอยงานดอกไม้สดรูปดอกทองหลาง เป็นเครื่องสดประดับพระจิตกาธานในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 เพื่อใช้สื่อนัยว่า ‘ประชาชนชาวไทยจะหวนระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ไม่ว่าจะเกิดในชาติไหนหรือภพใดก็ตาม’

    ต้นทองหลาง ยังเป็นไม้มงคลประจำปีเกิดของคนปีมะแม เชื่อกันว่า หากคนเกิดในปีนักษัตรนี้ปลูกต้นทองหลางไว้ทางทิศเหนือของตัวบ้าน จะเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่ตนและคนรอบข้าง หากมองประโยชน์ในแง่สมุนไพร ทองหลางมีคุณสมบัติแก้เสมหะ ดับพิษร้อน แก้อาการข้อบวม ลมพิษ แก้อาการไข้หวัด ตาฟาง แก้อาการปวดแสบปวดร้อน แก้พยาธิ คนโบราณใช้ประโยชน์จากทองหลางในทางสมุนไพร โดยนำใบมากินร่วมกับเมี่ยงคำหรือเป็นผักแนมน้ำพริก นับเป็นการเลือกกินอย่างชาญฉลาด เพราะใบทองหลางเต็มไปด้วยโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี จึงมีคุณประโยชน์ช่วยบำรุงสายตาและกระดูก

    ทองหลางอันเป็นตัวแทนของต้นปาริชาตในแดนมนุษย์จึงเต็มไปด้วยสรรพคุณมากมาย แม้ว่าไร้ซึ่งกลิ่นอันชวนเชิญให้ผู้คนหวนระลึกถึงอดีตชาติได้ หากจะสำคัญอย่างไร? ก็ในเมื่อเราควรจดจ่อกับปัจจุบัน มากกว่าอดีตอันเนิ่นนานที่ผ่านเลยไป ประโยชน์ของทองหลางที่มือสัมผัสได้ จึงอาจมีมากกว่าปาริชาตซึ่งทำหน้าเป็นเพียงไม้ประดับแห่งสรวงสวรรค์ตามตำนานด้วยซ้ำไป หรือใครว่าไม่จริง?

    ที่มา : https://rakdok.com/จาก-ปาริชาต-สู่-ทองหล/
     
  12. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ (แบบเที่ยวทิพย์)
    พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ เป็นพิพิธภัณฑสถานแบบพิเศษ ทำหน้าที่ รวบรวม อนุรักษ์ วัตถุพิพิธภัณฑ์อันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณคดีที่เกี่ยวกับกิจการทหารเรือ ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นที่รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับ วัตถุพิพิธภัณฑ์สมัยโบราณของกองทัพเรือไทย ยุทธนาวีการรบครั้งสำคัญ ๆ ตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยใช้ในการรบเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีเรือจำลองสมัยต่าง ๆ เช่น เรือที่ใช้ในพระราชพิธีกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารค ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรือหลวงพระร่วง เรือเหรา และเรือหลวงมัจฉาณุ สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในพิพิธภัณฑ์ทหารเรือที่หาชมได้ยาก ก็คือ เรือหลวงมัจฉานุ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำรุ่นแรกของกองทัพเรือไทย ที่บางส่วนได้ถูกเก็บรักษาไว้
    ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
    • วัตถุจัดแสดง
    • เครื่องส่วพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
    ตาลปัตร
    Thumb_2017-09-27_19-02-12_BKI_1919-3947.jpg

    ตาลปัตรมีอักษรโลหะคำว่า "โหมด" ซึ่งเป็นพระนามพระมารดาของสมเด็จฯ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    อินทรธนู นาวาเอก

    Thumb_2017-09-27_14-45-20_BKI_1838-061-3888.jpg

    อินทรธนูชั้นยศ นาวาเอก เครื่องแบบทหารเรืออังกฤษ เครื่องใช้ส่วนพระองค์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์


    หนังสือประวัติพิสดาร(เสด็จเตี่ย)
    Thumb_2017-09-27_18-50-11_BKI_1828-057-3884.jpg

    บันทึกส่วนพระองค์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    กระบี่ทหารเรือ
    Thumb_2017-09-27_17-27-55_BKI_1699-045-3863.jpg

    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    ไม้เท้าหัวเลี่ยมเงิน
    Thumb_2017-09-27_17-14-19_BKI_1670-042-3857.jpg

    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์


    ไม้เท้า

    Thumb_2017-09-20_17-02-17_BKI_1663-041-3856.jpg

    กาน้ำชา
    Thumb_2017-09-27_18-13-32_BKI_1759-038-3853.jpg

    ชุดน้ำชาส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    จานรองถ้วยน้ำชา
    Thumb_2017-09-27_18-09-02_BKI_1746-036-3851.jpg
    ชุดน้ำชาส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
    ถ้วยน้ำชา พร้อมฝาปิด
    Thumb_2017-09-27_18-04-59_BKI_1742-035-3850.jpg

    ชุดถ้วยชาส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    ถาดใส่ถ้วยชา
    Thumb_2017-09-27_18-00-17_BKI_1738-034-3849.jpg

    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    กระโถน
    Thumb_2017-09-27_17-56-32_BKI_1729-033-3847.jpg

    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศัก

    นาฬิกาพก
    Thumb_2017-09-27_18-31-38_BKI_1779-030-3843.jpg

    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    กล่องพระโอสถมวน
    Thumb_2017-09-27_18-29-24_BKI_1771-028-3842.jpg
    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ฝากล่องมีภาพฝีพระหัตถ์

    กล่องใส่บุหรี่
    Thumb_2017-09-27_18-27-44_BKI_1766-027-3841.jpg
    เครื่องใช้ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ วัสดุทองเหลือง มีตัวอักษรนูน "อาภากร"

    หนังสือโรคผิวหนัง common skin disfacs
    Thumb_2017-09-27_18-57-27_BKI_1905-004-3816.jpg
    หนังสืออธิบายลักษณะโรคผิวหนัง ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เป็นของส่วนพระองค์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์


    ที่มา : https://www.navanurak.in.th/tr_museum/site/theme/museshowcat.php?catid=145
     
  13. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  14. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube Paawit Gala
    คิดถึง - สุชาติ ชวางกูร
    www.youtube.com/watch?v=RaHQgvcM5rY

    เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (ชาตะ 1 มกราคม พ.ศ. 2419 มรณะ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486)ได้แต่งเพลง 'คิดถึง'
    เมื่อ พ.ศ. 2477 (บันทึกเสียงครั้งแรก พ.ศ. 2494 โดยเฉลา ประสบศาสตร์) ซึ่งเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะมากและยืนยงถึงปัจจุบันโดยใช้ทำนองเพลง 'ยิบซีแอร์' ของ Pablo de Sarasate (SARASATE:Gypsy Air, Op.20)
    ♫จันทร์กระจ่างฟ้า นภาประดับด้วยดาว โลกสวยราวเนรมิตประมวลเมืองแมน ลมโชยกลิ่นมาลา กระจายดินแดน เปรียบพี่แสนคนึงถึงน้องนวลจันทร์ งามใดหนอจะพอทันเทียบเปรียบน้อง เจ้างามต้องตาพี่ไม่มีใครเหมือน ถ้าหากน้องอยู่ด้วยและช่วยชมเดือน โลกจะเหมือนเมืองแมนแม่นแล้วนางเอย...♫
     
  15. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ปากน้ำตาปี
    • crop-1497860149465.jpg
    • thumb-crop-1497860161238.jpg thumb-crop-1497860170126.jpg thumb-crop-1497860179236.jpg thumb-crop-1497860188381.jpg thumb-crop-1497860195486.jpg thumb-crop-1497860206738.jpg
    ปากน้ำตาปี อยู่บริเวณอ่าวบ้านดอน เป็นแนวรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเลในอ่าวไทย มีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกปกคลุมไปด้วยแนวป่าชายเลนที่สมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีววิทยา ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ ปากน้ำตาปีมีร้านจำหน่ายของทะเล ร้านอาหารทะเลอยู่หลายร้าน สามารถรับประทานพร้อมชมทิวทัศน์บรรยากาศธรรมชาติของทะเลอ่าวบ้านดอนได้ด้วย

    J4QLaVY1.jpg

    ปากน้ำตาปี ทะเลอ่าวบ้านดอน สุราษฎร์ธานี
    สายน้ำอันเปรียบเสมือนเส้นเลือดของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็คือแม่น้ำตาปี ซึ่งปากน้ำตาปีอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีมานัก เป็นบริเวณที่เรียกว่า "ปากน้ำ" ห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ ปากน้ำตาปีมีร้านจำหน่ายของทะเล ร้านอาหารทะเลอยู่หลายร้าน สามารถรับประทานพร้อมชมทิวทัศน์บรรยากาศธรรมชาติของทะเลอ่าวบ้านดอนได้ด้วย
    ปากน้ำตาปี อยู่บริเวณอ่าวบ้านดอน เป็นแนวรอยต่อระหว่างน้ำจืดและน้ำทะเลในอ่าวไทย มีลักษณะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ถูกปกคลุมไปด้วยแนวป่าชายเลนที่สมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีววิทยา ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ตามชายฝั่งทะเล เช่น แสม ลำพู โกงกาง สัตว์ป่าหลากชนิด เช่น นกยางเปีย นกกระเต็น เหยี่ยวแดง จิ้งจกหางแบน งูเขียวหัวจิ้งจก ฯลฯ เป็นแหล่งศึกษาและแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยาที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีบรรยากาศที่ดีเหมาะสำหรับการมาพักผ่อนหย่อนใจ รับประทานอาหารท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นจากผู้ประกอบการที่มาเปิดให้บริการอยู่มากมาย

    ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    สิ่งที่น่าสนใจ

    เมื่อไปถึงปากน้ำตาปีนักท่องเที่ยวก็จะได้พบกับบรรยากาศทิวทัศน์สองฝั่งของแม่น้ำตาปี

    pak_num_ta_pee1.jpg tt57d2778293812.jpg

    paknam-tapi2.jpg resize.jpg

    แวะสักการะ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำตาปี สุราษฎร์ธานี

    23098807_f1WojdTDVh9JfV8aYbxA5cYug366J90scKR3CX0l_uE.jpg 5143862_unKkl-5m7lCYPGW2BR66F221hKO4rN1Q4g6O0TyPK5g.jpg

    7285156_3U25OwSkL1Fxr8Cz5g9H4ek4bcGwt-YwjljnNJrBFas.jpg 21136705_P5LH09fjCW0IwrmWTAtTKYImzT0lgsdaisbEidPr9kA.jpg CIMG2781_resize.jpg

    รับประทานอาหารท่ามกลางธรรมชาติที่ร่มรื่นจากผู้ประกอบการที่มาเปิดให้บริการอยู่มากมาย อาทิเช่น ร้านลำพู 1 ลำพู 2 ลำพู 3 ตาปีซีฟู้ด
    มีอาหารทะเลสดๆให้บริการนักท่องเที่ยว ที่เข้ามารับประมานอาหาร เยอะแยะมากมาย รวมไปถึงอาหารพื้นบ้านปักษ์ใต้

    IMG_1913-800x533-wk.jpg lampoo-2-004.jpg

    images6.jpg 155.jpg download1.jpg

    สถานที่อีกที่หนึ่งที่อยู่ไม่ไกลจากบริเวณปากน้ำตาปีมากนัก นักท่องเที่ยวมักจะชอบไปถ่ายภาพกับบรรกาศภาพมุมสูงไม่ว่าจะเป็นช่วงเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น หรือจะเป็นช่วงเย็นก่อนที่พระอาทิตย์จะตกกดิน นักท่องเที่ยวก็จะได้ภาพสวยกลับบ้านไปอย่างแน่นอน

    นั่นก็คือ สะพานศรีสุราษฎร์ ซึ่งเป็นสะพานที่สูงที่สุดในภาคใต้

    58c37173314e195561720f2b.jpg J4QLaVY.jpg

    C5by4ulUoAAHTp0.jpg
    โดยรถส่วนตัว

    จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี หน้าศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี จะห่างจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีประมาณ 7 กม. ตามเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปากน้ำ โดยขับรถผ่านสี่แยกไปรษณีย์ มุ่งหน้าตรงไปแยกบางกุ้งให้เลี้ยวซ้าย ไปทางปากน้ำ ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 20 นาที
    โดยรถโดยสาร
    สามารถเดินทางโดยรถตุ๊กตุ๊กและแท็กซี่
    เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท.สำนักงานสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ : 0 7728 8818-9 โทรสาร : 0 7728 2828 อีเมลล์ : tatsurat@tat.or.th

    ที่มา : https://www.runwaythailand.com/16403901/ปากน้ำตาปี-
     
  16. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
     
  17. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube T 3D
    ลาทีปากน้ำ (สุนทราภรณ์) - นพดฬ ชาวไร่เงิน ต้นฉบับเดิม
    www.youtube.com/watch?v=UZwc878IgkU

    คำร้อง : ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
    ทำนอง : เอื้อ สุนทรสนาน
    ต้นฉบับเพลงนี้ขับร้องโดยคุณณพดฬ ชาวไร่เงิน นักร้องดาวรุ่งสุนทราภรณ์ยุคต้นๆ เพลงลาที่ปากน้ำ บันทึกเสียงลงแผ่นครั่งสปีด78 ตราสุนทราภรณ์สีขาว เมื่อประมาณราวๆปี พ.ศ.2502 -2505 ซึ่งตอนร้องสดเนื้อเพลงมีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง อาทิ "เธอฆ่าฉันตายไปคล้ายผีที่ชังแสนชัง โถเธอว่าจะรักจริงจัง แท้เธอหวังคลั่งสังหารชาย ฟังเพลงปากน้ำแล้วเธออย่าทำเป็นเศร้า ใครแลเห็นเอาเขาจะรับกรรมจดจำไปเศร้าโศกตาย อย่าโศกเลยหนาขอลาดินฟ้าอาวรณ์ก่อนตาย โถยังเสียดาย เสียดายน้ำตาคนร้ายจะร่วง"
     
  18. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    1-7.jpg

    วิชามหาเมตตาแบบโบราณ ทศกรรณฐ์หน้าทอง กรมหลวงชุมพร
    วันนี้ เรื่องเล่าขอแนะนำพระคาถาสุดศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังซึ่งเป็นวิชาที่นิมใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีตกาลนั่นก็คือวิชามหาเมตตาแบบโบราณเป็นวิชาที่เด่นในเรื่องมหาเสน่ห์มีชื่อว่่าคาถาทศกรรณฐ์หน้าทองของกรมหลวงชุมพร ไปติดตามกันเลยว่าต้องทำการสวดภาวนาอย่างไรบ้าง

    2-9-224x300.jpg

    หากกล่าวถึง วิชาโบราณ วันศุกร์ขึ้น 11 ค่ำ ศุกร์มหาสิทธิโชค เป็นวันมงคลวันหนึ่ง โบราณาจารย์มักจะกระทำพิธีมงคล เกี่ยวกับเสน่ห์เมตตามหานิยม โชคลาภ ในวันนี้ ตามคำกล่าวว่า กิเ ล สสมบัติทายพระศุกร์ เลยมานึกได้ถึงวิชาในตำราวิชาหนึ่ง นั่นคือ วิชาทศกรรณฐ์หน้าทอง วิชานี้ข้าพเจ้าได้รับประสิทธิ์ประสาทมาจาก 3 สายวิชา คือ

    1 ได้รับมาจากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร ซึ่งสืบทอดมาจาก เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพร และ ปู่เอมอยู่สถาพร
    2 ได้รับมาจากคุณยาย นางนรเสรฐเสวี(วงศ์ จุลกะ) ซึ่งท่านได้สืบทอดมาจากพ่อครูแม่ครูทางด้านนาฏศิลป์ของท่าน
    3 ได้รับมาจากท่านอาจารย์สำราญ ครูสายฆราวาสคนหนึ่งของข้าพเจ้าซึ่งสืบทอดมาจาก พราะราชวรินทร์(กุหลาบ โกสุม)

    ทั้ง 3 ตำรานี้ เหมือนกันหมดทั้งตัวยันต์ที่ลงและตัวคาถา จะมีเพิ่มเติมขึ้นก็ในตำราของ เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพร ที่มีเคล็ดลับรายละเอียดมากขึ้นอีกหน่อย วิชาทศกรรณฐ์หน้าทองนั้น เป็นวิชาที่เด่นในเรื่องมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยมรุนแรงมากในแบบยักษ์ ผู้สำเร็จวิชานี้ ส่วนมากจะเป็นนาฏศิลป์ ที่แสดงเป็นตัวยักษ์ กล่าวกันว่า เมื่อออกแสดงนั้น หน้าโขนทศกรรณฐ์ที่สวมอยู่ จะยักคิ้วหลิ่วตา แสดงสีหน้า ไปตามบทบาทได้ เมื่อรักหน้าจะยิ้ม เมื่อโกรธ หน้าจะบึ้งเกรี้ยวกราด เมื่อโศกถึงขั้นมีน้ำตาไหลออกมาจากหน้าโขน มีท่านผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังว่ามีผู้แสดงที่สำเร็จวิชานี้ เมื่อแสดงแล้วหน้าโขนจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์นั้น ที่จำได้มี 3 ท่าน คือ เสด็จพ่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์, พระราชวรินทร์.(กุหลาบ โกสุม) และ ครูอร่าม อินทรณัฐ

    3-9-229x300.jpg

    แต่ข้อเสียของวิชานี้คือ เมื่อปลุกอาคมจนได้ที่แล้วนำไปใช้ ผู้นั้นจะเกิดความกำหนั ด เกิดความกำหนั ดทางเพ ศอย่างสูง ตามอารมณ์ของยักษ์ ท่านจึงต้องให้ทำน้ำมนต์ไว้แก้ และให้ท่องอภิณหปัจจเวกข์ เมื่อเสร็จสิ้นการใช้คาถา
    และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งในพระคาถาสุดศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเหมาะสำหรับใครที่ต้องการแสดงเป็นยักษ์ในละครจะสามาารถเข้าถึงบทบาทได้ดียิ่งขึ้น แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อกันมา โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

    การทำพิธีลงนะทศกรรณฐ์หน้าทอง มักใช้วันศุกร์ขึ้นหรือแรม 11 ค่ำ ในการประกอบพิธี ต้องตั้งเครื่องสังเวย จุดเทียนมหามงคล เทียนเงิน เทียนทอง บูชาครู อัญเชิญพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์ เทพยดา และครูบาอาจารย์ฝ่ายนาฏศิลปิน โดยเฉพาะ พระโคดมฤาษี ผู้เป็นเจ้าของตำราเดิม มาประสิทธิ์ประสาท แม้หากไม่ได้เตรียมการไว้ก่อน ให้จัดหาเครื่องบูชากระยาบวชชุดเล็ก มาบูชาครู ขออาราธนาบารมีครู และอาราธนา คาถาทศกรรณฐ์หน้าทองนี้ เสกน้ำพระพุทธมนต์ เสกสีผึ้ง เสกน้ำมัน เสกทองคำเปลว

    และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งในพระคาถาสุดศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังเหมาะสำหรับใครที่ต้องการแสดงเป็นยักษ์ในละครจะสามาารถเข้าถึงบทบาทได้ดียิ่งขึ้น แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อกันมา โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อส่วนบุคคล

    ที่มา : https://www.soochivith.com/?p=4397
     
  19. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
  20. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่มา : youtube WorkpointOfficial
    ตัวร้ายที่รักเธอ - หน้ากากกระรอก | The Mask Singer 3
    www.youtube.com/watch?v=MWT_lP9O6XU
     

แชร์หน้านี้

Loading...