ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เป็นอะไรกันล่ะถึงมานั่งร้องไห้
    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> </tr> <tr> <td align="center">

    <table class="tablebg" cellspacing="1" width="100%"><tbody><tr> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]

    </td></tr></tbody></table>
    </td> </tr> </tbody></table> วันหนึ่ง ขณะที่ธุดงค์ไปพักที่วัดถ้ำแสงเพชร ซึ่งอยู่ไกลจากอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พอสมควร ปรากฏว่า มีโยมอุปัฏฐากที่เป็นผู้มีหน้า มีตา ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ นักปฏิบัติ มานั่งร้องไห้ต่อหน้าหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ยังคงนั่งเฉยอยู่ จนเมื่อโยมได้สร่างโศกลงบ้าง ท่านก็ถามว่า "เป็นอะไรล่ะ จึงนั่งร้องไห้" โยมผู้นั้นเล่าว่า รถที่เพิ่งซื้อมาใหม่ถูกขโมยไปแล้ว แต่ หลวงพ่อก็นั่งเงียบ เผอิญก็มีโยมผู้ชายคนหนึ่งมาพร้อมกับญาติ พอกราบหลวงพ่อเสร็จก็ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวรเช่นกัน หลวงพ่อนั่งคอยจนเขาพอพูดได้ ก็ถามด้วยคำถามเดิมว่า "เป็นอะไรไปล่ะ"

    เขา ก็ตอบว่า "เมียตายสองคน ลูกตายสองคน" (เผอิญชายคนนี้มีภรรยาสองคนอยู่ในบ้าน เดียวกัน) หลวงพ่อก็ถามต่อว่า "เป็นอะไรตายล่ะ" โยมผู้ชายก็ตอบว่า "กินเห็ดเบื่อตาย"

    หลวงพ่อหันไปถามโยมผู้หญิงที่ยังน้ำตาซึม แต่ก็นั่งเงียบฟังโยมผู้ชายเล่าอยู่ด้วยและพูดว่า

    "แลก กันไหมล่ะ ดูซิ ของเขาลูกเมียตายตั้งสี่คน ของโยมรถหายคันเดียว โลกนี้เป็นอย่างนี้ แหละ มีความปรารถนาอะไรแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่อยากให้รถหาย มันก็หาย ไม่ อยากให้ลูกเมียตาย ก็ตาย ใครจะห้ามได้ ชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างนี้แหละ ใครอยากล่ะ โยม อยากให้รถหายไหม โยมอยากให้ลูกเมียตายไหม"

    ทั้งคู่ก็ตอบรับหลวงพ่อว่า "ไม่อยากค่ะ (ครับ)"

    หลวง พ่อกล่าวต่อไปว่า "เป็นอย่างนี้แหละ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ให้เราพิจารณาดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา คนก็เหมือนกัน เราไม่จากเขา เขาก็จากเรา มันอยู่ที่ ใครไปก่อนใครเท่านั้นเอง บางทีวัตถุก็ไปก่อนเรา บางทีเราก็ไปก่อนวัตถุ บางทีคนใกล้ชิดเราเขา ก็ไปก่อน บางทีเราไปก่อนเขา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของกรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

    สัตว์ โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราย่อมมีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นผู้ติดตาม ให้ผล ไม่ว่าบุญหรือบาป ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องรับกรรมนั้นโดยแน่นอน

    สำหรับ โยมผู้ชายนั้นโยมผู้หญิงกับลูกเขาทำกรรมกับเรามาแค่นี้ เขาตายไปเขาก็ไม่ขอ อนุญาตเรา ไม่บอกเรา ไม่ได้เขียนใบลา เขาก็ตายไป โยมผู้หญิงก็เช่นกัน รถคันนี้มันทำกรรมกับ โยมมาแค่นี้ รถมันก็ไม่บอกเราก่อนว่ามันจะถูกขโมยแล้วนะ อยู่ ๆ มันก็หายไป ดังนั้นให้เราเห็นว่า เป็นธรรมดาของทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา เราเกิดมาเป็นอะไร เกิดที่ไหน เกิดมากี่ ครั้ง ๆ โลกก็เป็นเช่นนี้ เราเองต่างหากที่ไปอุปาทานว่า นี่รถของเรา นี่ลูกนี่เมียของเรา รถมันไม่เคย บอกนะว่ามันเป็นของเรา เราไปซื้อมันมาตกแต่ง มารักมันเอง ที่จริงรถมันไม่ได้เป็นของใคร
    มัน เป็น ของธรรมชาติที่ไหลไปตามเหตุปัจจัย มนุษย์ไปสมมุติขึ้นมา แล้วยึดว่าเราเป็นเจ้าของ เมื่อมันหาย ไปให้เราคิดว่า นั่นเป็นการคืนกลับสู่ธรรมชาติ โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ลูกเมียก็เสียไปแล้ว พิจารณา มองให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่พอสร่างโศกก็ไปหามาใหม่ เป็นการเพิ่มทุกข์ขึ้นมาอีก เราควรทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ทำภาวนา แผ่ให้ผู้ตายบ้าง เราเองก็ต้องตาย ไม่แน่ว่าเมื่อไร ขอให้เข้าใจสัจธรรม ของธรรมชาติ"

    หลวงพ่อกล่าวเป็นสังเขปพอให้โยมสร่างทุกข์ หน้าที่ของพระก็คือ แก้ไขทุกข์ โดยคิดว่า ทุกคนเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น เมื่อกล่าวไปแล้วก็ไม่ได้คิดปรุงว่า จะแก้ ได้หรือไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีคำตอบอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ผู้มีปัญญาก็จะค้นหาคำตอบ ของปัญหาของเขาเองได้ในที่สุด


    ที่มา : คุณ sawaddee จาก ลานธรรมเสวนา


    .....................................................
    เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    [​IMG]


    หากต้องการภาพขนาดใหญ่ เพื่อทำ Wallpaper
    Download Wallpaper Link...

    (กดปุ่มเมาส์ด้านขวา เลือก Save Target As)


    ทั้งรูปทั้งบทความที่ดีข้างต้นทั้งหมดนี้ ต้องขอขอบคุณ
    คุณลูกโป่งแห่งเวบ ลานธรรมจักรด้วยครับ
    http://www.dhammajak.net/

     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    พระเครื่องดีที่แนะนำในสัปดาห์นี้ เป็นพระเครื่องของอริยเจ้ารูปหนึ่งที่ได้ชื่อว่า "พระดีศรีสารคาม" น้อยคนหรือแทบทุกคนส่ายหน้า เพราะไม่เคยรู้จักท่านมาก่อน แต่เมื่อได้อ่านพบถึงผลแห่งการปฏิบัติของท่าน ทั้งในขณะที่ยังดำรงขันธ์และหลังมรณภาพ นับว่าการแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุของเกศาและอัฐิของท่านนั้น ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้ เป็นอย่างดี ว่าท่านบรรลุภูมิธรรมขั้นใด เชื่อหรือไม่ว่า พระเครื่องในปััจจุบันของท่านนั้นราคาเพียงแค่ร้อยบาทเท่านั้นเอง พบเห็นพระเครื่องของท่าน อย่าลืมคว้ามาบูชาให้ได้ก็แล้วกัน มาลองดูอริยสงฆ์และพระเครื่องของท่านดีกว่าครับ

    หลวงปู่ลี สุขวโร
    วัดป่ายางหัวช้าง มหาสารคาม



    [​IMG]

    ถ้า ท่านใดเคยอ่านโลกทิพย์เล่มเก่าหรือเป็นศิษย์พ่อแม่ครูอาจารย์สายกรรมฐานตั้ง แต่พ.ศ.41 -47 กว่า ๆๆ จะรู้หลวงปู่ลี เป็นอย่างดี หลังจากนั้นไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่มีคราวข่าวองค๋ท่านเลย เงียบมาก ได้ข่าวว่าท่านย้ายวัดจากสถานที่แห่งหนึ่งมาวัดเดิม ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้น เพื่อนผมท่านหนึ่งได้แนะนำผมไปกราบ เมื่อ 1-2 ปีที่แล้ว ท่านเป็นพระที่กล่าวตรงๆๆเลยว่า ท่านเป็นพระอรหันต์ เกศาท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุ ผมไม่ค่อยจะเชื่อ แต่ หลวงปู่บุญเพ็งเคารพมาก ผมได้เกศาท่านไว้บูชา ปรากฏว่า แปรสภาพเป็นพระธาตุจริงๆครับ หลวงพ่อบุญเพ็งยังเคยกล่ายว่า "พระเฒ่านี่เก่งเนาะ" ท่านเป็นพระที่ถูกลืมจริงๆๆ


    กุฏิท่านสกปรกมาก และแม้แต่อาหารของท่านก็สกปรกเพราะทางวัดให้และวางใว้บางครั้งสุนัขก็มากิน บางครั้งท่านก็ไม่มีใครมาถวายปัจจัยท่านครับ ทีวีท่านก็ดูไม่ได้เพราะไม่มีเสาอากาศ เนื่องจากฐาตุขันธ์ไม่ค่อยดี ดูท่านจะหลงลืมๆๆ และหูหนัก เหมือนกับคนอายุมาก แต่จิตกับธาตุขันธ์ มันต่างกันน่ะคับ จิตที่วิมุตติแล้วก็วิมุตติ อย่างงั้น ธาตุขันธ์จะเป็นยังไงก็ส่วนธาตุขันธ์ ท่านอายุได้ 98-99 ปี ครับ ทราบข่าวจากทางนั้นว่า มรณภาพ แล้ว ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องจริง รึเปล่า ถ้าท่านยังอยู่อยากให้กราบกันครับ

    (ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้วครับ พันวฤทธิ์ 4/9/52)

    พบกระดูกตนเองเมื่อชาติก่อน

    หลวงปู่ลีได้นิมิตเห็นกระดูกชาติที่แล้วของท่าน ชาติก่อนท่านเป็นช้างและท่านก็เห็นสถานที่เคยฝัง ท่านเลยไปขุดปรากฏ เจอกระดูกช้างตามที่ได้เห็นนิมิตจริงๆๆ

    ไอ้เรื่องหวยๆๆน่ะ คนชอบนัก


    ท่าน เนี่ยเป็นคนที่ใบ้หวยเก่งมาก จน หลวงพ่อบุญเพ็ง กล่าวว่า ตาลีใบ้หวยเก่งถ้าไปขอหวยให้ไปขอกับตาลี เวลาคนมาหาท่านเวลาขอหวยเนี่ยเป็นขโยงแต่กลับไม่สนใจท่านเลย

    ท่านเคยไปสอนธรรมที่เมืองสวรรค์ครับ


    ประวัติเต็มๆๆต้องอ่านจากโลกทิพย์ เคยเจออยู่แต่ไม่ได้ซื้อมาครับ


    ภาพพระเครื่องของท่านรุ่นหนึ่งไม่มีรูป รุ่นสองนี่ละร้อยบาทเอง ไปหาเอาเองครับไม่บอกว่าอยู่เวบไหนครับ แต่สำหรับเนื้องเรื่องต้องขอขอบคุณเวบตามข้างล่างนี้ครับ
    เชียงใหม่ - หน้าแรก


    <table style="width: 600px; height: 531px;" class="bodystyle" border="1" bordercolor="#333366" cellpadding="2" cellspacing="0"><tbody><tr bgcolor="#000066"><td colspan="3" align="left">
    </td> </tr> <tr align="center" bgcolor="#26273c"> <td colspan="3"> [​IMG] </td> </tr> <tr valign="top"> <td align="middle" bgcolor="#003399">
    </td> <td colspan="2" bgcolor="#006699">เหรียญยืน หลวงปู่ลี สุขวโร วัดป่ายางหัวช้าง มหาสารคาม </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ตุลาคม 2009
  6. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]

    [​IMG]

    โมทนาบุญกับจิตอันเป็นกุศลทุก ๆ ท่านเลยนะครับ
    รู้สึกตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูกที่ทางทุนนิธิได้รับความไว้วางใจจากทุกท่านสำหรับการเป็นสะพานบุญเพื่อนำทรัพย์ที่ทุกท่านหามาด้วยความยากลำบาก
    และทางทุนนิธิสัญญาว่าจะนำทรัพย์ที่ได้นี้ไปรักษาพระภิกษุสงฆ์อาพาธตามสมควร


    ช่วงนี้ใกล้ถึงหน้าหนาวแล้วเมื่อการประชุมครั้งก่อนได้มี การเกริ่นถึงการบริจาคผ้าห่มกันหนาว กับผ้าอังสะ เพื่อที่จะนำไปบริจาคให้กับพระทางเหนือ-อีสานที่มีอากาศหนาว ดังเช่นปีที่แล้ว ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ หากมีความคืบหน้าประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

    และถ้าท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมสามารถติ-ชม แสดงความคิดเห็นได้นะครับทางคณะกรรมการยินดีเป็นอย่างยิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2009
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG]

    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sophon2009 [​IMG]
    ผมโสภณ ศิริดำรงค์ศักดิ์ และครอบครัว
    ขอร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธครับ จำนวน 1500 บาท

    Type of Transaction : Money Transfer to other party's account within the Bank
    From Account No. : 5381011891
    To Account No. : Monk Donate
    Amount (Baht) : 1,500.00
    Transaction Fee (Baht) : 0.00
    Regional Fee (Baht) : 0.00
    Reference No. : bayi10875415
    Transaction Date/Time : 02/10/2009 10:48:22 AM
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ รับโชค [​IMG]
    กระผม นายธนยศ สิริวัฒนณปภัช
    ได้โอนเงินจำนวน 500 บาท เป็นเดือนแรกครับผม
    และจะโอนเงินเป็นประจำทุกเดือนครับท่าน
    ขออนุโมทนา กับทุก ๆท่านด้วยครับ
    ขอแจ้งหลักบานการโอน ดังน้ีครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo [​IMG]
    วันนี้เวลา 13.24น.ผมได้ฝากเงินจำนวน 500บาทเข้าบัญชี 3481232459 เพื่อร่วมทำบุญสงฆ์อาพาธประจำเดือน ตุลาคม2552 ขอบคุณครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ avis1998 [​IMG]
    ดิฉัน น.ส.กันย์กนิษฐ์ พรรณสมัย และด.ช.ชวิน เรืองแรงสกุล
    ขอร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธคะ จำนวน 400 บาท เวลา 16.40 น.
    เพิ่งได้มาร่วมครั้งแรกคะ
    ขออนุโมทนาบุญ คะ
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ พงศ์กฤต [​IMG]
    นายชูชัย-นางเพ็ญรุ่ง อนุรักษ์วงศ์ศรี และครอบครัว

    นายพงศ์กฤต อนุรักษ์วงศ์ศรี นางสาวสุกัญญาเฮ็งเจริญสิงห์

    พิลัยพร-ศิริวรรณ อนุรักษ์วงศ์ศรี

    เรียน คุณ พงศ์กฤต อนุรักษ์วงศ์ศรี
    เรื่อง แจ้งผลการทำรายการโอนเงินต่างธนาคารแบบออนไลน์ (สำเร็จ)
    ตามที่ท่านได้ทำรายการโอนเงินต่างธนาคารแบบออนไลน์ ผ่านบริการ K-Cyber Banking ตามรายละเอียด ดังนี้


    วันที่ทำรายการ : 02/10/2009 03:59:25 PM.
    หมายเลขอ้างอิง : KBKR091002261939
    โอนเงินจากบัญชี : xxx-x-93765-4
    ธนาคารของบัญชีผู้รับโอน : BANK OF AYUDHAYA
    เพื่อเข้าบัญชี : 348-1-23245-9 ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    ชื่อเจ้าของบัญชีในฐานข้อมูล : PRATOM F.
    จำนวนเงิน (บาท) : 1000.0
    ค่าธรรมเนียม (บาท) : 25.0
    บันทึกช่วยจำ : ทำบุญสงเคราะห์ภิกษุสงฆ์อาพาธ


    ธนาคารขอเรียนให้ทราบว่า ธนาคารได้ดำเนินการโอนเงินต่างธนาคารแบบออนไลน์ ตามที่ท่านได้ทำรายการไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    ทั้งนี้ ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ K-Contact Center (24 ชั่วโมง) โทรศัพท์ 0 2888 8888 กด 06
    </td> </tr> </tbody></table>
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border: 1px inset ;"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ newcomer [​IMG]
    ร่วมบุญเพิ่มเติม ประจำเดือน ตค. 2552 ครับ

    ฝากเงิน เข้าบัญชี 348-123-245-9


    วันที่ 2 ตค. 2552 เวลา 18:16 น. จำนวน 1,200 บาท ครับ


    1. คุณ katicatและครอบครัว 1,000 บาท ( พี่เหมียวฝากร่วมบุญ ครับ )
    2. newcomer 200 บาท

    โมทนาบุญกับทุกท่าน ครับ
    </td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]

    โมทนาบุญกับจิตอันเป็นกุศลทุก ๆ ท่านเลยนะครับ
    รู้สึก ตื้นตันใจอย่างบอกไม่ถูกที่ทางทุนนิธิได้รับความไว้วางใจจากทุกท่านสำหรับ การเป็นสะพานบุญเพื่อนำทรัพย์ที่ทุกท่านหามาด้วยความยากลำบาก
    และทางทุนนิธิสัญญาว่าจะนำทรัพย์ที่ได้นี้ไปรักษาพระภิกษุสงฆ์อาพาธตามสมควร


    ช่วง นี้ใกล้ถึงหน้าหนาวแล้วเมื่อการประชุมครั้งก่อนได้มี การเกริ่นถึงการบริจาคผ้าห่มกันหนาว กับผ้าอังสะ เพื่อที่จะนำไปบริจาคให้กับพระทางเหนือ-อีสานที่มีอากาศหนาว ดังเช่นปีที่แล้ว ตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ หากมีความคืบหน้าประการใดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

    และถ้าท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมสามารถติ-ชม แสดงความคิดเห็นได้นะครับทางคณะกรรมการยินดีเป็นอย่างยิ่ง
    unquote:

    ก็คงเป็นอย่างที่น้องโอ๊ตว่าครับ เงินทุกบาททุกสตางค์ที่บริจาคเข้ามา เข้าพกเข้าห่อใคร นรกเท่านั้นที่ต้องเจอกันก่อน ใช้หนี้ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ จะหาบุญใดมาลบล้างก็ยาก ที่สำคัญก็คือไม่รู้จะมีบุญมาเกิดเป็นมนุษย์รึเปล่านั่นเอง คณะกรรมการฯ ถึงได้หวาดเสียว การบริจาคปัจจัยในส่วนของคณะกรรมการฯ จึงต้องทำให้เกินจากที่เบิกมาใช้ทุกครั้งดีกว่าขาด อย่างผมทุกคราวที่มีกิจกรรมจึงต้องพยายามหาวัตถุมงคลมาช่วยเสริมหาปัจจัยเข้าทุนนิธิฯ เพราะกลัวขาดทุนโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง ยอมรับจริงๆ ว่ากลัวนรกมาก เพราะฟังจากพ่อแม่ครูอาจารย์ หรือพี่ใหญ่เล่าให้ฟังแล้ว ไม่ขอพบขอเจอดีกว่า นรกภูมิไม่ว่าขุมไหนก็ตาม หรือถึงแม้ หากปฏิบัติธรรมที่คิดว่าเจ๋งแล้ว แต่พลาดตอนท้าย คือไปปรามาสในในผู้ทรงศีล ทรงธรรมที่ถึงขั้นแล้ว หรือไปหลงผิดในอุปาทานต่างๆ ก็หนีไม่พ้น ยังต้องมาใช้กรรมตามที่ปรามาสเขาหรือหลงในอุปาทานธรรม อีกนับชาติไม่ถ้วน เช่นอย่างท่านเจ้าแม่สร้อยดอกหมากที่วัดพนัญเชิงเป็นต้น (ลองหาอ่านพระราชประวัติของท่าน จากบทความของหลวงปู่สีโห เขมโกเอาเองครับ พระราชประวัติของท่านกับท่านเจ้าชายสายน้ำผึ้งน่าอ่านมาก) สำหรับเรื่องผ้าห่มหนาว ผ้าอังสะ หรือผ้าที่ต้องนำไปตัดเป็นปลอกหมอน ผ้าปูเตียงของสงฆ์อาพาธต้องขอเวลาราวปลายเดือนถึงสรุปผล เพราะตอนนี้กลายเป็นฝนหนักลงมาก่อน พยาบาลที่ติดต่อด้วยเลยยังไม่ได้ออกหน่วยไปข้างนอก แต่ทุก รพ.ทางอีสานกับแม่สอด รับทราบแล้ว และที่แน่ๆ คือ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ขอมาแน่ เพราะทำโครงการมาทุกปี นี่ก็เพิ่งได้รับโทรศัพท์มาอีก ว่าลูกศิษย์องค์ต้นๆ ของหลวงตามหาบัว ที่พรรษาสูง ท่านต้องการใช้เครื่องดูดเสมหะจำนวน 1 เครื่อง สำหรับการบำบัดรักษา โรคประจำตัวท่าน รอเพียงยืนยันว่าเป็นรูปใด อยู่วัดใหน เท่านั้นเอง ทุนนิธิฯ จะได้รีบดำเนินการจัดส่งไปให้แน่นอน ใครที่ได้บริจาคปัจจัยมาก่อนหน้านี้แล้ว ได้ทำบุญกับอริยสงฆ์ท่านนี้อีกรูปนึงแน่นอนครับ ทีนี้มาถึงเรื่องผ้าห่มหนาวต่อ เรื่องผ้าห่มหนาวและอังสะนี้ คงต้องยกเว้นทางเชียงใหม่ เพราะเป็น รพ.ใหญ่มีงบการรักษาสงฆ์เยอะกว่า และการประสานงานยังไม่นิ่ง เนื่องจากมีการโยกย้าย จนท.บ่อย คงให้ทางญาติโยมคนเมืองช่วยกันเองไปก่อนในปีนี้ครับ

    ขอขอบคุณรายนามผู้บริจาคข้างต้นทั้งรายเก่าและรายใหม่ครับ บุญกุศลไม่ได้เลือกครับ ใครทำใครได้จริงๆ เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง เล่าไปก็หาว่าบ้า อย่างผมที่รอดมานั่งคีย์คอมพ์ให้ท่านอ่านนี่ได้ รวมถึงทั้งภรรยาและลูกที่อยู่ได้นี้ ก็เพราะบุญจากสงฆ์อาพาธประคองไว้ทั้งนั้นล่ะมิได้ปดเลยจริงๆ ขอโมทนาและสาธุบุญกับทุกท่านอีกครั้งหนึ่งครับ

    พันวฤทธิ์
    3/10/52

    ปล. ส่วนเรื่องของท่านหลวงปู่พระมหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ จ.ขอนแก่น ตอนนี้ท่านกลับไปพำนักรักษาตัวที่วัดเป็นที่เรียบร้อยพร้อมกับเครื่องดูดเสมหะของทุนนิธิฯ วันที่ท่านถึงวัดญาติโยมดีใจมาก มารอที่วัดเยอะ คุณสุขสันต์เลยฝากแจ้งว่าผ้าอังสะของท่านต้องขอติดไว้ก่อน แต่ได้แน่ครับ ส่วนรูปถ่ายการมอบเครื่องฯ ทางหอสงฆ์ฯ รพ.ศรีนครินทร์ จะส่งให้มาให้พวกเราดูในสัปดาห์หน้าแน่นอน จึงแจ้งมาให้ทราบอีกครั้ง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2009
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    หลวงปู่สีโห พระผู้ทรงอภิญญารู้ภาษาสัตว์และคนได้ทุกชาติทุกภาษา


    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนแรก ปราบผีศาลปู่ตา ๑

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๒ ปราบผีศาลปู่ตา ๒

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๓ พระเศรษฐี

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๔ พระอาจารย์ของจอมพลผิน ชุณหะวัณ

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๕ เทศน์โปรดงูยักษ์

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๖ ปราบช้างป่าตาเดียว

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๗ บิณฑบาตกับเทวดา

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๙ พบพระนางสร้อยดอกหมาก

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๑๐ พระเจ้าสายน้ำผึ้งและพระนางสร้อยดอกหมาก

    พระผู้ทรงอภิญญา ตอนที่ ๑๑ พระเจ้าสายน้ำผึ้ง(ตำนานสร้างพระศักดิ์สิทธิ์ ๒ องค์)

    พระผู้ทรงอภิญญาฯ ตอนที่ ๑๒ พุทธปาฏิหารย์(ตอนจบ)
     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    เก็บตกเหรียญสวย องค์ผู้อธิษฐานจิตดี จากห้องพระอุดร 108

    เหรียญรุ่นแรก พระสุปฏิปันโน แห่งเมืองป่าซาง

    ครูบาเจ้าพรหมจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หรือที่สมณศักดิ์สุดท้ายของท่าน พระสุพรหมยานเถร ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในอริยะสงฆ์ของเมืองไทย
    ครอบครัวของครูบาเจ้าเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างสูงสุด ยากที่จะหาครอบครัวใดเทียมเท่าได้
    ***บิดาของท่านในช่วงปลายของชีวิตได้ บวชเป็นพระภิกษุผู้เคร่งครัดในศีลาจาวัตรคือครูบาพ่อเป็ง วัดป่าหนองเจดีย์ อ.ป่าซาง
    ***ครูบาอินทรจักร วัดน้ำบ่อหลวง เป็นพี่ชายของท่าน
    ***ครู บาพรหมจักร ตัวท่านเองได้รับการยกย่องในหมู่สงฆ์ อย่างสูงสุด ภายหลังการพระราชทานเพลิงศพ อังคารและอัฐิธาตุ ของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุในสีและวรรณะต่างๆ
    ***ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย เป็นน้องชายคนสุดท้องของท่าน

    ครู บาเจ้าทั้งสี่รูปเป็นพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ถือธุดงค์วัตรเป็นนิจ ครูบาเจ้าพรหมจักรเองในครั้งที่ยังดำรงค์ขันธุ์ท่านฉันเพียงวันละ 1 มื้อ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
    ท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ 2519 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายคือพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสุพรหมยานเถร
    ครูบาเจ้าบำเพ็ญสมณธรรมจนถึงวัยชรา ท่านละสังขารที่ ร.พ มหาราช เชียงใหม่ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ 2527 ในท่านั่งสมาธิ
    คณะ ศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลไว้นานถึง 3 ปีจนถึงวาระโอกาสสำคัญในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    ในครั้ง นั้นผมยังอยู่ที่บ้านเกิดจ.ลำพูน ได้พบเห็นผู้คนนับแสนคน จากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และชาวต่างชาติที่นับถือพระพุทธศาสนามาร่วมในงานพิธี
    วันนี้ให้ชมเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งสร้างในปี พ.ศ 2500 นับถึงปัจจุบันอายุการสร้างก็ 52 ปีครึ่งศตวรรษเข้าไปแล้ว
    เป็นของดีมีมงคลสูงของ ครูบาเจ้าอีกหนึ่งเหรียญครับ.


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <table border="0" cellpadding="1" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td bgcolor="#f8fddb" height="30"><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>กล้องส่องพระ (Loupe) ถูกแพงมีอะไรมากกว่าที่คุณคิด?</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td bgcolor="#ffffff"><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>[​IMG] [​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>

    กล้องส่องพระ เราท่านก็มีติดตัวกันจนเรียกว่าเป็นอาวุธประจำกายไปเสียแล้วก็ว่าได้ แต่ใครเลยจะสนใจว่ามันมีอะไรมากกว่านั้น ผมว่าถ้าลองถามบางคนอาจบอกว่าเลือกซื้อที่ราคาแพงก็ดีกว่าของถูก ก็ใช่ครับแต่จะพูดแบบกำปั้นทุบดินอย่างนั้นก็คงไม่ได้ภูมิรู้อะไรเพิ่มขึ้น วันนี้ผมรวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกล้องส่องพระมาเป็นเป็นสาระประโยชน์ให้ เพื่อนสมาชิกเว็บดวงตราสองแผ่นดินเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาดูกันแต่ ละหัวข้อเลยดีกว่า
    อัตราขยาย ( X )
    เอาเป็นว่าเรามาดูกันที่เรื่องที่ผ่านตากันบ่อยที่สุด เวลาจะเลือกซื้อกล้องส่องพระทุกคนจะมองที่ว่ามันกี่ ( X ) เช่น 10X, 20X แล้วตัวอักษร ( X ) มันคืออะไรหว่า บ้างก็เรียกว่าคูณ บ้างก็บอกว่าย่อมาจากคำว่า Extra หรือคำอื่นๆ แต่จริงๆแล้ว อย่าลืมว่ากล้องส่องพระประกอบด้วยเลนส์ ซึ่งก็มีอัตราการขยายของภาพ หรือการหักเหของแสงที่แตกต่างกัน เอาตามหลักของการถ่ายภาพ ค่า ( X ) คือค่าตัวแปรใดๆที่มาเทียบกับเลนส์นั้นแล้วได้อัตราที่แปรผันไป คิดเป็นกี่เท่าก็ว่ากันไป
    ยก ตัวอย่าง กล้องตัวนี้ขยายได้ 10X นั้นคือ จากค่าตัวแปร เพิ่มขึ้น 10 หน่วย พูดแล้วก็ฟังดูยากเย็น เอาง่ายๆว่ามันคือค่าตัวเลขทางคณิตศาสตร์ แต่มันก็มีประโยชน์มากในการบ่งชี้ความสามารถของกล้องตัวนั้นๆในเรื่องอัตรา ขยาย ถ้าไม่มึนกันไปสะก่อน ลองอ่านไปเรื่อยจะเข้าใจกระจ่างขึ้น
    ตัวอย่าง Specifications. Nikon 10x Jewelry Loupe
    เขาพูดถึงอะไรกันบ้างตามมาดูครับ
    [​IMG]
    แปล:
    แว่นขยายวัตถุความเที่ยงตรงสูง(สำหรับผู้ชำนาญการ)

    1. เหนือกว่าด้วยความละเอียด 63 เส้นต่อมิลลิเมตร (ความหมายคือ ในความยาว 1มิลลิเมตร ถ้าขีดเส้นไว้ 63เส้น จะสามารถใช้กล้องตัวนี้มองแล้วนับได้ครับ 63เส้น โดยไม่ติดกันเป็นพืด เขาจะใช้พวกslide-targetคือประมาณพวกตารางทดสอบแนวเส้นตรงหรืออื่นๆเพื่อวัด มุมการหักเหและจุดไฟกัส)

    2. เลนส์แบบปิดผลึกแน่นอากาศไม่สามารถเข้าภายในได้ สามารถเลื่อนเข้าออกจากกรอบที่ปกป้องผิวหน้าเลนส์

    3.ใช้เลนส์ชนิดเลนส์แก้วผสมสามชิ้น
    [​IMG]

    จะเห็นได้ว่าค่าความผิดพลาดยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะจะทำให้ภาพที่มองไม่ผิดเพี้ยน ไปจากที่ควรจะเป็น ผมยกตัวอย่างภาพเมื่อมองจากกล้องที่ได้คุณภาพ กับกล้องโนเนมราคาไม่กี่ร้อย คือต้องเทียบมวยให้ต่างชั้นกันเยอะจะได้เห็นภาพกันชัดๆ โดยเทียบกันเส้นตาราง
    [​IMG][​IMG]
    สัง เกตุภาพด้านซ้ายมือจะมีการผิดเพี้ยนของเส้นตารางมากจนมองเห็นได้ชัด ส่วนทางขวามือภาพจะเพี้ยนน้อยกว่าสังเกตจากแนวเส้นด้านล่าง แต่ก็ไม่มีกล้องตัวใดที่สามารถแสดงเส้นได้ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ เพราะเลนส์มีผิวที่โค้งระบบการแก้สายตาด้วยเลนส์จึงถูกนำมาช่วยเช่นการแก้ โดยใช้เลนส์ประกอบร่วมหลายๆชิ้นสำหรับกล้องส่องพระส่วนใหญ่จะแก้ความเพี้ยน ของภาพโดยการกระกอบเลนส์ร่วมกันมากกว่าหนึ่งชิ้นเพื่อสร้างให้ระยะโฟกัสอยู่ ณ จุดศูนย์กลาง
    [​IMG]
    ภาพ ด้านล่างนี้จะช่วยอธิบายได้เป็นอย่างดีว่าทำไมภาพจึงเพี้ยนไป ก็มาจากจุดโฟกัสแฝงที่เกิดขึ้นจากความโค้งของเลนส์เดี่ยวจึงจำเป็นจะต้องมี เลนส์ประกอบมากกว่าหนึ่งเพื่อแก้ไขทิศทางการโฟกัส ปัจจุบันเห็นมากคือชนิดเลนส์สามชิ้น
    [​IMG]
    แล้วควรเลือกอัตราขยายเท่าไรถึงจะดี?
    จะว่าไปแล้วมันก็ไม่มีอะไรที่ตายตัว แต่เอาง่ายว่าถ้าอัตราขยายเยอะภาพจะมองเห็นในลักษณะเจาะลงไปที่จุดศูนย์กลาง ถ้าสัก 20X ก็เริ่มมองเห็นแล้วว่า spot ที่เรามองลงไปจะชัดที่สุด ณ ตรงจุดศูนย์กลางของเลนส์ ในขณะที่กำลังขยาย สัก 10X จะมองชัดในมุมที่กว้างกว่าลองสรุปสั้นคือ

    10X = ดูภาพรวมชัดเจนระยะห่างจากวัตถุ 1-2 เซนติเมตร กวาดภาพไปรอบๆได้ไวโดยที่ไม่ต้องกะระยะโฟกัสบ่อย ดูง่าย สบายตา มุมมองดูกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ภาพดูสว่างกว่า ดีสำหรับการส่องผิววัตถุ

    20x = ดูภาพในSpot แคบๆแต่เจาะลึกระยะโพสกัสจะใกล้อาจต้องขยับเพื่อหาโฟกัสบ่อยขึ้น ภาพชัดเฉพาะจุดศูนย์กลาง อาจทำให้มองว่าภาพโดยรวมมืดกว่ากล้องมุมกว้าง ระยะมุมมองกว้างไม่เกิน 1 เซนติเมตร ดีสำหรับการส่องในเนื้อผิวเช่นเพชร หรือการดูที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น

    แต่ทั้งหมดก็ไม่ได้เป็นข้อกำหนดแต่ขึ้นอยู่กับความถนัดเฉพาะตัวบุคคลมากกว่า ด้านล่างเป็นภาพตัวอย่างระยะความชัดของกล้องชนิด 10x และ 20x
    [​IMG]
    ภาพขนาดปกติถ่ายด้วยกล้องดิจิตอลโหมดมาโคร
    [​IMG] [​IMG]
    ภาพด้านซ้ายเป็นภายที่ถ่ายผ่านเลนส์ขนาด 10 x ภาพทางขวามือถ่ายผ่านเลนส์ขนาด 20x ทั้งสองภาพ Crop เฉพาะจุดโฟกัส
    ราคากับยี่ห้อกลุ่มระดับ Premium
    มาเล่าเรื่องกล้องส่องพระต่อจากเมื่อวาน สำหรับที่ค้างไว้ในเรื่องกล้องกลุ่มระดับ Premium
    มียี่ห้ออะไรกันบ้างแล้วรุ่นอะไรที่น่าสนใจบ้าง ราคาจะพยามไล่จากแพงไปหาถูก
    ผมเทียบอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 32 บาทต่อ 1 ดอล์ล่าสหรัฐ
    [​IMG]
    1.The Weinschenk Loupe Kruss (LUW 28)
    ผลิตในประเทศเยอรมัน ยี่ห้อนี้โดดเด่นตรงที่เป็น บริษัทที่ผลิตกล้องจุลทรรศน์ที่เก่าแก่ที่สุดในเยอรมันมีประวัติยาวนาน มากกว่า 200 ปี สำหรับกล้องรุ่นนี้มีข้อดีตรงที่รวบอัตราขยายสามระยะให้เลือกใช้งานผ่าน เลนส์2ชุด ราคามาตราฐาน$450.00ราคาไทยก็ราวๆ 14,400 บาท
    http://www.kruess.com
    [​IMG]

    2.Swiss-Axe Hawk 10x Jeweler's Loupe
    ผลิตในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ ราคามาตราฐาน$425.00 ราคาไทยก็ราวๆ 13,600 บาท กำลังขยายที่10 เท่า ได้รับยกย่องว่าเป็นเลนส์ที่ผลิตด้วยมาตราฐานยุโรป มีความเพี้ยนของภาพและสีน้อยมาก ราคาค่าตัวก็เลยสูงพอประมาณ
    http://www.swissaxe.be
    [​IMG]
    3.Swarovski 10x Jeweler's Loupe
    ผลิตในประเทศประเทศออสเตรีย ตัวนี้ได้รับรางวัลการันตีจากหลายสถาบันเรื่องคุณภาพของเลนส์ที่ให้ความ สว่างใสและคมชัดมาก ราคาค่าตัว$165.00 เงินไทยก็ประมาณ 5,280 บาท
    [​IMG]
    4.Nikon 10x Jeweler's Loupe
    ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ขึ้นชื่อว่านิคอล คงไม่ได้อธิบายอะไรกันมาก โดดเด่นด้วยรูปทรงที่สวยงาม
    ราคาอยู่ที่$99.95 เงินไทยก็ประมาณ 3,199 บาท
    www.nikon.com
    [​IMG]
    5.Zeiss Jeweler's 10X Loupes
    บริษัทที่ได้รับยกย่องอย่าง Carl Zeiss, Inc หนึ่งในไม่กี่เจ้าที่ผลิตเลนส์ที่ดีที่สุดในโลก ให้กับกล้องถ่ายรูปหลายๆยี่ห้อ
    กล้องตัวนี้ผลิตในประเทศเยอรมัน สงวนราคาตัวนี้อยู่ที่ $95.00 เงินไทยก็ประมาณ 3,040 บาท
    http://www.zeiss.com
    อันที่จริงแล้วทั้ง 5 รุ่นที่เลือกมานำเสนอก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นรุ่นที่ราคาสุงที่สุด
    เพราะในยี่ห้อเดียวกันบางรุ่นอาจมีราคาสูงเกือบสามหมื่นบาทก็มี ก็ข้ามๆไปเพราะเกินความจำเป็น
    เอาที่ประสิทธิภาพสมเหตุสมผลดีกว่าและมีอีกสองสามยี่ห้อที่นิยมกันอาทิ
    - Bausch & Lomp (USA)
    - ESCHENBACH (USA)
    - BelOMO ประเทศเบรารุส (ในสหภาพรัสเซีย)
    ก็ลองศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบกันดู
    สรุปการเลือกที่เหมาะสมเรียงตามลำดับความสำคัญ
    1. อัตราขยาย: ก็คือเจ้าตัวบอกกำลังขยายที่ได้พูดไปขั้นต้น จะกี่ X ก็ว่ากันไปผมว่าถ้าส่องพระช่วงขยายสัก 8x-14x กำลังดี มาตราฐานนิยมที 10X กับ 20X ที่มีให้เลือกเยอะๆรุ่น
    2. ความเพี้ยนและบิดเบือนของภาพเมื่อมองผ่านเลนส์ : วิธีทดสอบง่ายสุดคือหาอะไรที่เป็นเส้นตัดกันละเอียดๆแบบตารางแล้วลองเอา กล้องส่องดูง่ายสุดก็เสื้อผ้าที่เป็นใยโพลีเอสเตอร์(ใยสังเคราะห์) เอากล้องส่องลงไปถ้าเส้นไม่เพี้ยนมากก็ใช้ได้
    3. ความเพี้ยนของสีวัตถุ : อันนี้ก็ใช้ความสามารถส่วนตัวดูเทียบกับตาเปล่าดู
    4. ความคมชัดสว่างสดใสของวัตถุเมื่อมองผ่านเลนส์ : ข้อนี้ก็มองเห็นกันอยู่แล้ว ถ้าเลนส์ที่ดี จะรู้สึกได้ชัดว่าภาพดูสว่างสบายตา
    5.รูปลักษณ์และราคา : ก็เลือกตามใจรักและเงินในกระเป๋า
    แภมท้ายด้วยการบำรุงรักษา
    ปกติกล้องส่องพระก็ไม่มีอะไรจะต้องดูแลเป็นพิเศษยกเว้นเรื่องเลนส์ถ้าให้ดีก็อย่าพยามไปโดนผิวหน้าเลนส์
    เพราะจะทิ้งคราบไขมันเอาไว้ทำให้การมองไม่คมชัด วิธีทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือการใช้กระดาษเช็ดเลนส์
    หรือไม่ก็ผ้าใยไมโครไฟเบอร์ High Performance Cloth ที่ใช้เช็ดแว่นตาได้ ผมแนะนำแค่สองตัวนี้ ส่วนอย่างอื่น
    จะทำให้เลนส์เป็นรอยขนแมวได้โดยเฉพาะกระดาษทิชชูนี้ตัวดีเลยพยามอย่านำใช้ ส่วนการใช้น้ำหรือน้ำยา
    ทำความสะอาดก็ควรเลี่ยงเช่นกัน เพราะจะทำให้ยาง o-ring ที่ยึดเลนส์กับตัวกล้องนั้น เสื่อมบางครั้งอาจทำให้ขึ้นฝ้าขาว
    ตรงบริเวณยางด้วย.
    บทความโดย
    เว็บมาสเตอร์เว็บไซด์ดวงตราสองแผ่นดิน



    ขอขอบคุณ
    http://www.songpandin.com
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ภาคปาฏิหารย์สุดสัปดาห์ลงให้อ่านยาวๆ อ่านแล้วใครจะหาเก็บพระเครื่องท่านหรือเปล่าไม่รู้ แต่สำหรับผม ถ้าเจอคราวหน้าไม่ปล่อยให้หลุดมือแน่ๆ แอบดูในหมวดพระเครื่องของพลังจิตเอง ก็ไม่ค่อยมีใครเอามาให้บูชา เฮ้อ...พระดีไม่มีของให้ับูชา

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท

    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย)
    ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่



    ๏ อัตโนประวัติ

    “พระครูวรวุฒิคุณ” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” หรือ “ครู บาฟ้าหลั่ง-ฟ้าลั่น” อมตะมหาเถราจารย์แห่งนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ผู้สูงยิ่งด้วยศีล จริยาวัตร และพุทธาคม เชี่ยวชาญสรรพวิชาตามตำราโบราณล้านนา จนเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป ดังคำกล่าวของบรรดาพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ว่า

    “ขอเธอจงไปกราบครูบาอินที่เชียงใหม่และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ท่านเป็นพระผู้เก่งกล้าสามารถมากจริงๆ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร วัดโฆสิตาราม บ้านบ้านเเค ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

    “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว พระของครูบาอิน ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    “จิตของครูบาอิน ประภัสสรยิ่งแล้ว” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อชม วัดโป่ง จังหวัดชลบุรี

    “ครูบาอิน ท่านมีจิตมีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งเลยทีเดียว” เป็นคำกล่าวของครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

    “หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งนั้น ดีที่หนึ่งเลย” เป็นคำกล่าวของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    “ครูบาอินท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบนะ” เป็นคำกล่าวของหลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต บ้านลูกกลอน ตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ฯลฯ

    [​IMG]
    หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร

    [​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก


    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    พระครูวรวุฒิคุณ อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์

    [​IMG]
    หลวงพ่อชม วัดโป่ง จ.ชลบุรี

    [​IMG]
    ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์)


    ๏ เป็นเด็กวัดทุ่งปุย

    ท่านกำพร้าพ่อก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในวัดทุ่งปุย พ่อของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่มอยู่ ท่านว่าอายุประมาณ ๕๐ ปี โดยมแม่จึงต้องรับพาระในการเลี้ยงดูบุตรธิดา โดยมีพี่ชายคนโตของท่านเป็นหลักช่วยครอบครัว ส่วนท่านเอง หลังจากเข้ามาเป็น “เด็กวัด” ที่วัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) ตำบลยางคาม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน แล้วท่านก็อยู่ในบวรพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

    ชีวิตการเป็นเด็กวัดสมัยก่อน คือการอยู่วัด นอนวัด ช่วยทำงานในวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ไปพร้อมๆ กับการศึกษาเล่าเรียน การเรียนเบื้องต้นจะเรียนตัวเมือง (ภาษาล้านนา) และเรียนสวดมนต์บทต่างๆ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน กิจวัตรประจำวันของเด็กวัดอย่างท่าน ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังก็คือ เช้าไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วก็ไปทวนหนังสือที่ศาลา สมัยก่อนเรียนด้วยกระดานดำ ครูเขียนให้ท่อง เมื่อจำได้แล้วก็ลบเพื่อต่อเรื่องใหม่ ทุกครั้งที่ต่อเรื่องใหม่ ครูผู้สอนจะให้ท่องของเก่าก่อน ถ้าท่องได้ถึงจะต่ออันใหม่ให้

    ที่จริงแล้วการเรียนภาษาล้านนาและบทสวดมนต์ต่างๆ ของเด็กวัด ก็คือพื้นฐานของการบวชเณร ธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนาในอดีต นิยมบวชเณรมากกว่าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คนที่จะบวชเณรได้จะต้องเป็นเด็กวัดก่อนสักหนึ่งหรือสองปี เพื่อศึกษาเตรียมตัว หลวงปู่ครูบาอินท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดทุ่งปุย และอยู่ร่วมกับพระเณรรูปอื่นๆ ซึ่งในสมัยนั้น เณรจะมีมากกว่าพระ ซึ่งที่วัดทุ่งปุยมีเณรประมาณ ๑๐-๒๐ รูป

    ตอนที่เป็นสามเณร นอกจากเรียนภาษาล้านนาต่อแล้ว ท่านก็หัดสวดมนต์ ๑๕ วาร สวดแผ่เมตตาและอีกหลายๆ อย่าง ครูจะเขียนใส่กระดานให้ท่อง พอท่องได้ก็ลบต่อใหม่ การเรียนที่วัดช่วงค่ำค่อนข้างลำบากเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้น้ำมันจุดตะเกียงดูหนังสือ เด็กวัดและพระเณรแต่ละคนแต่ละรูปต้องหมั่นท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ ให้ขึ้นใจ ซึ่งวิธีการที่ครูบาอาจารย์จะตรวจสอบดูว่าเณรองค์ใดขยันหมั่นเพียรในการ เรียนก็คือ อาจารย์จะจัดเวรให้เณรผลัดเปลี่ยนกันนำสวดมนต์ องค์ใดสวดช้า ติดขัด ครูอาจารย์จะฟาดหลังด้วยไม้เรียว เณรน้อยยังเป็นเด็ก ก็อดที่จะกลัวฤทธิ์ไม้เรียวไม่ได้

    ฉะนั้น เวลาครองผ้า เณรบางองค์จะแอบเอาอาสนะรองนั่งซุกไว้ทางด้านหลัง เอาจีวรครองทับแล้วรัดอกแน่นๆ เผื่อโดนฟาดจะได้ไม่เจ็บนัก แต่ครูบาอินท่านไม่เคยทำ ท่านเล่าว่าเวลาฟาดจะมีเสียงดัง ครูบาอาจารย์ท่านก็ทราบแต่ก็ยิ้มเสีย ไม่ว่าอะไร ครูบาอินเองท่านก็เคยโดยฟาดอยู่ครั้งหนึ่งเหมือนกัน

    [​IMG]
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    [​IMG]
    หลวงพ่อดาบส สุมโน

    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    ๏ การเรียนสมถกรรมฐาน

    การเรียนสมถกรรมฐานมีอยู่ทั่วไปทุกวัดในสมัยนั้น เมื่อท่านเป็นเณรอายุได้ ๑๕ ปี ท่านก็เริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐาน แบบอานาปานสติใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” โดยมีท่านครูบามหายศ พระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้สอน หลังจากท่านปฏิบัติกรรมฐานแล้วก็เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากขึ้น เรื่อยๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง หลังจากดูหนังสือแล้วท่านก็ลุกมาอาบน้ำล้างหน้า และเอาข้าวมาถวายพระพุทธเจ้า กล่าวคำถวายว่า จะถวายชีวิตเป็นทาน วันนั้นไม่ฉันข้าวฉันแต่น้ำ และปฏิบัติตลอดหนึ่งวันกับหนึ่งคืน จนได้ความปิติเป็นพิเศษเกิดขึ้น

    ตามธรรมเนียมเมื่อเณรเรียนจบแล้ว ก็จะมีการปรึกษาหารือกันระหว่างเณรกับครูบาอาจารย์เจ้าอาวาสว่า เห็นสมควรจะอุปสมบทเป็นพระต่อหรือไม่ ถ้าอุปสมบทพ่อแม่ก็จะดีใจ ถ้าไม่อุปสมบท ก็จะลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตฆราวาส ผู้ที่ลาสิกขาจากการเป็นเณรไปเป็นฆราวาสจะมีคำเรียกนำหน้าชื่อว่า “น้อย” ต่างกับผู้ที่ลาสิกขาหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว จะเรียกว่า “หนาน” หรือคำว่าทิดในภาษากลาง

    ครูบาอินท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดทุ่งปุย โดยอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดป่าลาน ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. อายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ฉายาในตอนนั้นคือ พระอิน อินโท โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการกว้าง วัดสองแคว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการอ้าย วัดทุ่งปุย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    [​IMG]
    ครูบามหายศ อินทปัญโญ พระอุปัชฌาย์
    ในคราวหลวงปู่ครูบาอิน อินโท อุปสมบทเป็นพระภิกษุ



    ในระหว่างที่เป็นพระภิกษุ ท่านเริ่มเรียนภาษาไทย จาก ก ข เรื่อยมาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยการเทียบเนื่องจากยังไม่มีโรงเรียนจริงๆ เมื่อเรียนภาษาไทยกลางจบแล้ว ท่านก็ตั้งใจศึกษานักธรรมตรีต่อ การเรียนนักธรรมตรีต้องเดินไปเรียนที่วัดศรีแดนเมือง ซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง (ในขณะนั้น) วัดนี้อยู่ห่างจากวัดทุ่งปุยประมาณ ๕ กิโลเมตร ต้องเดินไปตามคันนา การเรียนในสมัยนั้นถึงแม้จะมีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชในสมัยนั้น แต่สภาพที่เป็นจริงทางวัดขาดแคลนครูที่สอน ขาดแคลนตำราอย่างเช่น ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ ท่านว่าไม่มีครูสอน ต้องศึกษาเองซึ่งไม่ค่อยจะมีตำราและไม่ค่อยเข้าใจ

    ครูผู้สอนก็เป็นพระภิกษุเข้าใจว่าจบนักธรรมโท พระครูวรวุฒิคุณเรียนจนจบนักธรรมตรี ท่านว่าด้วยการเทียบอีกเช่นกัน ไม่ได้ไปสอบ เพราะสมัยนั้นที่อำเภอจอมทองของท่านยังไม่มีสนามสอบ ต้องไปสอบที่กรุงเทพฯ ซึ่งการเดินทางก็ไม่สะดวก ไม่มีรถ การคมนาคมก็ลำบาก อีกประการหนึ่งท่านบอกว่าพระในสมัยก่อนไม่ใคร่ได้ให้ความสำคัญกับการได้เป็น นักธรรมเปรียญ ซึ่งจะช่วยให้ก้าวหน้าในสมณศักดิ์ การเรียนบาลี คือ “การเรียนเข้า” มาอยู่ในพระพุทธศาสนา ต่างจากในปัจจุบันที่ “เรียนออก” พอเรียนจบหางานทำได้ก็สึกออกไป

    ในด้านการปฏิบัติ ท่านยังคงปฏิบัติพุทโธต่อไป โดยเรียนกับครูบามหายศ อินทปัญโญ พระอุปัชฌาย์ของท่าน การปฏิบัติเมื่อตอนเป็นพระภิกษุนั้น ท่านว่ายิ่งต้องระวังในศีลมากขึ้นกว่าตอนเป็นเณร เนื่องจากศีลของพระภิกษุมีถึง ๒๒๗ ข้อ ส่วนเณรมีศีลเพียง ๑๐ ข้อเท่านั้น

    นอกจากการเรียนปริยัติและปฏิบัติแล้ว พระครูวรวุฒิคุณยังสนใจศึกษาหาความรู้จากตำราโบราณที่ครูบาอาจารย์จดไว้อยู่ เสมอ เช่นเรื่องการทำตะกรุดชนิดต่างๆ ท่านมักกว่าวว่าท่านเรียนจากครูบาอาจารย์ ซึ่งหมายถึงตำรา กล่าวถึงเรื่องการทำตะกรุด ท่านเริ่มทำในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ญาติโยม ตะกรุดของท่านมีหลายแบบ ลักษณะแตกต่างกันตามแต่ท่านจะประสิทธิ์ประสาทพุทธาคม

    [​IMG]
    ครูบาวัดป่าเหียง (พระอธิการแก้ว ขัตติโย)

    [​IMG]
    ครูบาพรหมา พรหมจักโก


    ๏ ปฏิบัติสมถกรรมฐานรุกขมูล

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านมักจะไปออกรุกมูลที่ป่าช้า ท่านเล่าว่าสมัยก่อนนั้นการออกธุดงค์ไม่เป็นที่นิยมของพระทางเหนือนัก ต่างจากพระทางอีสานที่เดินธุดงค์กันเก่งตามแนวทางครูบาอาจารย์สายอีสาน สำหรับครูบาอาจารย์สายของท่านไม่ได้ออกเดินธุดงค์ ท่านจึงไม้ได้ออกธุดงค์ ถือวัตรปฏิบัติกรรมฐานและการเข้ารุกขมูลเพื่อแสวงหาวิเวกและโปรดเวไนยสัตว์ ซึ่งถือปฏิบัติกันมาเป็นแนวทางธรรมเนียมของพระภิกษุในแถบถิ่นล้านนา

    แต่กระนั้นก็มีพระทางเหนือที่ธุดงค์กันอยู่บ้าง องค์ที่สำคัญก็คือ ครูบาวัดป่าเหียงหรือครูบาขัตติยะ (พระอธิการแก้ว ขัตติโย) องค์พระอุปัชฌาย์ของพระสุพรหมยานเถร (ครูบาพรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า รวมทั้งองค์ครูบาพรหมา พรหมจักโก เองก็นิยมการธุดงค์เช่นกัน

    พ่อหนานตันน้องชายของครูบาอินก็ชอบธุดงค์เช่นกัน โดยสมัยเมื่อบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดทุ่งปุยแล้ว พออายุได้ ๑๘ ปี พ่อหนานตันก็ออกเดินธุดงค์ไปพม่าเพียงองค์เดียว เมื่อถึงพม่าแล้ว ได้ข่าวจากพวกยาง (กะเหรี่ยง) ว่ามีพระภิกษุสายครูบาพรหมจักรจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแห่งหนึ่งในพม่า สามเณรตันจึงได้ไปพักด้วย เมื่อเห็นการปฏิบัติก็เกิดความเลื่อมใส ดังนั้นเมื่ออายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบทที่พม่า โดยมีพระภิกษุรูปนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ (หมายเหตุ : หลวงปู่ครูบาอิน จำชื่อไม่ได้) พระภิกษุตันอยู่พม่าได้ ๒ พรรษาก็กลับมาเยี่มโยมแม่ที่เมืองไทย จากนั้นก็ได้ถือปฏิบัติธุดงควัตรตามแนวทางของครูบาวัดป่าเหียงและครูบา พรหมจักร ต่อมาภายหลังพระภิกษุตันได้ลาสิกขาไปเป็นทหารและมีครอบครัว


    ๏ บุญผ้าเหลือง

    ในภาคเหนือสมัยก่อน ความนิยมในการบวชเป็นพระภิกษุมีน้อย และในจำนวนน้อยนั้น องค์ที่จะมีบุญอยู่ในผ้าเหลืองนานๆ ก็มีน้อย เพราะมักจะสึกออกไปเมื่อหมดครบพรรษา เพื่อนพระภิกษุรุ่นเดียวกับท่านก็ได้สึกออกไปหมดในพรรษาแรก เหลือท่านอยู่องค์เดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวท่านเองจะมีความปิติสุขใจในเพศบรรพชิต แต่อีกใจหนึ่งก็อดเป็นห่วงโยมแม่ไม่ได้ เมื่อท่านบวชได้ ๕ พรรษา ท่านได้เล็งเห็นสังขารของโยมแม่ที่ร่วงโรยแก่เฒ่า เรี่ยวแรงที่จะทำไร่ไถนาก็อ่อนล้าลงไป ท่านจึงได้ปรารภกับโยมแม่ว่า “อยากลาสิกขา” แต่โยมแม่ของท่านก็ได้ทัดทานไว้ว่า “ตุ๊เหย อย่าไปลาสิกขาเลย อยู่กับวัดกับวาเต๊อะ ถ้าสิก (ลาสิกขา) ออกมาต้องตุ๊ก (ทุกข์) มายาก” นับตั้งแต่นั้นท่านก็ไม่เคยคิดเรื่องลาสิกขาอีกเลย

    ความที่ท่านครูบาอินเมื่อครั้งยังเป็นพระหนุ่ม เป็นผู้มีรูปร่างหน้าตาดี จึงได้มีลูกศิษย์ได้เรียนถามว่า เมื่อท่านยังหนุ่มได้มี “สีกา” มาแสดงทีท่าสนใจท่านบ้างหรือไม่ ท่านตอบตามความคิดของท่านว่า มันอยู่ที่การวางตัวของตุ๊เจ้า ท่านเองอยู่กับครูบาอาจารย์ สนใจแต่การปฏิบัติตนให้เจริญในธรรมตามครูอาจารย์ของท่าน ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องเหล่านี้เลย ท่านว่าคงเป็นเพราะท่านวางตัวเช่นนี้ก็เลยไม่มีใครมายุ่งกับท่าน

    [​IMG]
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย


    ๏ ร่วมบุญกับครูบาเจ้าศรีวิชัย

    เรื่องที่หลวงปู่ครูบาอินท่านประทับใจและเล่าถึง คือ เรื่องการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย และเรื่องที่ท่านได้ไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดมหาธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

    โดยเรื่องการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพของครูบาเจ้าศรีวิชัยนั้น ท่านเล่าว่า ครูบาศรีวิชัยได้รับความเคารพนับถือมากในสมัยนั้น เนื่องจากการปฏิบัติของท่านเป็นที่ศรัทธาของพระเณร ที่สำคัญคือการฉันเจและนั่งหนัก ครูบาเจ้าศรีวิชัยปฏิบัติธรรมโดยใช้คำภาวนาว่า “พุทโธ” เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้น หลวงปู่ครูบาอินท่านได้เล่าว่า ตรงกับสมัยของพระยาพหลพลพยุหเสนา มีคนมาจากที่ต่างๆ มาช่วยกันสร้างถนน ทั้งพวกคนเมืองและพวกยาง พระเณรก็ไปด้วย แต่ละคนเอาขอบก (จอบ) ไปช่วยกัน บางคนก็เอามาถวายโดยไปซื้อมาจากตลาด เพื่อเป็นเครื่องมือในการแผ้วทางเส้นทางขึ้นดอยสุเทพ ร่วมบารมีกับครูบาเจ้าศรีวิชัย

    ชาวบ้านทุ่งปุยก็ได้ไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย คราวนั้น หลวงปู่ครูบาอินและโยมแม่ก็ไปช่วยด้วย การสร้างทางจะแบ่งกันทำเป็นตอนๆ ครูบาท่านเล่าว่า สนุกมาก กิน นอน อยู่กันที่นั่น นอนกันตามป่า โดยทำซุ้ม ทำตูบ (กระท่อม) นอนกัน กลางวันก็แผ้วถางเส้นทางตามสัดส่วนที่ได้รับมอบหมาย เหล่าพระภิกษุสงฆ์ที่มีความรู้ก็ทำชนวนจุดระเบิดหินตามแนวที่ถนนตัดผ่าน

    นอกจากนี้ครูบาเจ้าศรีวิชัยยังมีดำริให้สร้างวัดตามรายทางขึ้นไป จนถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วัดศรีโสดา วัดสกิทาคา และวัดอนาคามี แต่ปัจจุบันเหลือเพียงแต่วัดศรีโสดาเพียงวัดเดียวเท่านั้น วัดอื่นๆ ก็เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา งานสร้างทางครั้งนี้เป็นมหากุศลที่ผู้คนในแผ่นดินล้านนาต่างอยากมีส่วนร่วม จึงทำให้มีผู้คนมากมาย จากทั่วทุกสารทิศมาร่วมบุญกันคนละเล็กละน้อย ตามระยะที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กำหนดให้ หลวงปู่ครูบาอินท่านอยู่ช่วยชาวบ้านทุ่งปุยสร้างทางจนหมดช่วงของวัดทุ่งปุย ก็เดินทางกลับ

    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถระ)


    ๏ ปฏิบัติวิปัสสนาธุระ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท เมื่อครั้งอายุได้ ๕๑ ปี ได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่งท่านได้เล่าถึงความแตกต่างระหว่างสมถกรรมฐานกับวิปัสสนาว่า สมถกรรมฐานคือการทำใจให้สงบ เป็นเรื่องของสมาธิ ส่วนวิปัสสนากรรมฐานเป็นเรื่องการฝึกสติ การฝึกตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ท่านได้ฝึกกับพระเทพสิทธิมุณี โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภเถระ) ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม เป็นประธาน ครูบาอาจารย์จากทางเหนือที่ไปปฏิบัติวิปัสสนาในครั้งนั้นก็มี ครูบาพรหมา พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง, พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล วัดร่ำเปิง (ปัจจุบันเป็นพระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร)

    เมื่อศึกษาสำเร็จกลับมาแล้วก็มาฝึกอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร คณะศรัทธาญาติโยม ตามวิธีนี้ท่านว่าลูกศิษย์ของท่านปฏิบัติกันได้ผล บางองค์ได้ผลดีมาก แต่น่าเสียดายที่ลาสิกขากันไปหมด ปัจจุบันท่านไม่ได้สอนในลักษณะเป็น “สำนัก” แต่ถ้าใครไปถามธรรมะหรือเรื่องการปฏิบัติจากท่าน ท่านก็มักจะเมตตาให้ความกระจ่างอยู่เสมอ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

    [​IMG]
    พระเทพสิทธาจารย์ (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล)

    <hr> [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    ๏ สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

    เรื่องที่กระทบความรู้สึกของหลวงปู่ครูบาอิน คือ การที่ท่านสูญเสียญาติพี่น้องภายในปีเดียวกัน ในเวลาไล่เลี่ยกัน คือ พี่ชายท่านตาย เผาได้ ๓ วัน ลุงที่เจ็บอยู่และท่านนำมาดูแลพยาบาลที่วัดด้วยก็ตาย ต่อมาน้องหล้าและน้องที่เป็นหญิงก็ตายอีก สมัยก่อนยังไม่มีการเก็บเงินค่าฌาปนกิจศพเป็นรายหัวเพื่อช่วยกันอย่างใน ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของญาติพี่น้องที่ช่วยกันไป ปีนั้นหลวงปู่ครูบาอินมีอายุประมาณ ๖๐ ปี ท่านว่าอารมณ์เวทนาก็มีแต่รู้เท่านั้น หากท่านมิได้บวชประสบการณ์เช่นนี้คงทุกข์หนัก


    ๏ ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

    ด้านกิจการพระศาสนา พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) ได้ปฏิบัติกิจของพระศาสนาเป็นอเนกประการ จนท่านได้รับตำแหน่งบริหารคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ ดังนี้

    พ.ศ.๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย

    พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม

    พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูอิน (พระครูประทวน)

    พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวรวุฒิคุณ (พระครูสัญญาบัตร ชั้น ๑)

    พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้น ๒ ในราชทินนามเดิม

    หลวงปู่ครูบาอิน มีความผูกพันกับวัดทุ่งปุยนับตั้งแต่บวชครั้งแรก จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ และได้พัฒนาวัดให้เหมาะแก่กาลสมัย ทั้งการสร้างอาสนะสงฆ์ต่างๆ ขึ้นภายในวัด เมื่อวัดทุ่งปุยเจริญรุ่งเรืองแล้ว ทางการจึงได้ให้เปลี่ยนชื่อว่า “วัดคันธาวาส” ตามชื่อ ครูบาคันธา ผู้มาบูรณะวัดร้างทุ่งปุยเป็นองค์แรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นายประหยัด ศรีนุ ครูใหญ่โรงเรียนแม่ขาน ได้มาอาราธนานิมนต์หลวงปู่ ไปเป็นประธานสร้างอาคารเรียนโรงเรียนแม่ขาน แบบตึกชั้นเดียว โดยท่านได้มอบเงินให้เป็นทุนก่อสร้างอีกเป็นจำนวนถึง ๙,๐๐๐ บาท และเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ท่านได้ไปปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเศียรขาดที่เป็นรูปหินแกะของเดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่วัดร้างโรงเรียนแม่ขานในปัจจุบัน เมื่อเสร็จแล้วจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หลวงพ่อโต” แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในหอประชุมโรงเรียนแม่ขาน จนถึงปัจจุบัน


    ๏ รับนิมนต์สู่วัดฟ้าหลั่ง

    ในปี พ.ศ.๒๕๐๔ จำนวนราษฎรในหมู่บ้านสันหินเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการโรงเรียนสำหรับบุตรหลาน จึงได้ร่วมกันเข้าชื่อขออนุญาตใช้ที่ดินของกรมทางหลวงที่สงวนไว้มาสร้าง โรงเรียน ซึ่งกรมทางหลวงก็ได้อนุญาต เมื่อเตรียมที่ทางแล้ว ชาวบ้านสันหิน (ฟ้าหลั่ง) โดยการนำของนายปั๋น เผือกผ่อง, นายจันทร์ ปัญญาไว, นายวัง โพธาติ๊บ และนายจันทร์ทิพย์ เรือนรักเรา (จันทร์ติ๊บจ้างซอ) ได้ร่วมกันไปอาราธนานิมนต์หลวงปู่ครูบาอิน อินโท (สมณศักดิ์ขณะนั้นเป็นพระครูอิน) มานั่งหนักเป็นประธานงานก่อสร้างโรงเรียน ซึ่งท่านก็ได้รับนิมนต์ และพอดีจะถึงฤดูเข้าพรรษา ทางคณะศรัทธาจึงช่วยกันแผ้วถางที่วัดร้างฟ้าหลั่ง สร้างเป็นอาราม และอาราธนาให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้นเลย และขณะเดียวกันก็เตรียมการสร้างโรงเรียนต่อไป

    โรงเรียนวัดฟ้าหลั่งได้วางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕ ช่วงที่ออกพรรษาแล้ว อาคารเรียนที่ก่อสร้างนั้น เป็นอาคารเรียนตามแบบ ป ๑ ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นแบบตึกชั้นเดียว ๓ ห้องเรียน (เพิ่งรื้อไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ นี้เอง เครื่องไม้ที่ประกอบอาคารเรียนหลังนั้น ยังได้นำบางส่วนมาใช้สร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันนี้ด้วย) การสร้างโรงเรียนในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการเลย เกิดจากพลังศรัทธาของสาธุชนที่มีต่อองค์หลวงปู่ครูบาอินแทบทั้งสิ้น ท่านได้ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๑ ปี ๖ เดือน จึงแล้วเสร็จ ได้ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง”

    ส่วนทางวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นวัดเดิมของท่าน ท่านก็ได้มอบให้พระบุญปั๋น ปัญโญ ผู้มีศักดิ์เป็นญาติผู้พี่ผู้น้อง และได้บวชหลังท่าน ๑ พรรษา รักษาการแทน ต่อมาท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เรียกขานกันว่า ครูบาบุญปั๋น ปัญโญ และเพิ่งถึงแก่มรณภาพไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ นี้

    [​IMG]
    ครูบาศรียูร คนฺธวํโส กับ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    ๏ วัดร้างฟ้าหลั่ง

    วัดฟ้าหลั่งก่อนที่พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) จะมาอยู่นั้นเป็นวัดร้าง ยังมีโบราณวัตถุ โบราณสถานเหลืออยู่ ที่ชื่อว่าวัดฟ้าหลั่งนั้น ตามคำบอกเล่าของคนโบราณที่สืบทอดกันมา ก็คือ “เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก” กล่าวคือ หากปีใดฟ้าฝนแห้งแล้ง ไม่ตกต้องตามฤดูกาล พวกชาวบ้านจะพากันเอาข้าวตอก ดอกไม้ ธูป เทียน และนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีบวงสรวงเทวดาเพื่อขอฝน เมื่อทำพิธีถูกต้องจะปรากฏว่าบนท้องฟ้าจะมืดครึ้ม เต็มไปด้วยก้อนเมฆ แล้วฝนก็จะหลั่งลงมาจากฟ้าไม่ขาดสาย ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “วัดร้างฟ้าหลั่ง” เนื้อที่ของวัดตามแนวรากฐานกำแพง มีเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่ และมีที่ดินนอกแนวกำแพงวัดอีกมาก ประมาณกว่า ๒๐๐ ไร่ เป็นป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ไม้เหียง ไม้ตึง ไม้แงะ และไม้เปา

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ กรมทางหลวงแผ่นดิน ได้สร้างถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ผ่านที่ดินของวัด จึงทำให้ที่ดินของวัดฟ้าหลั่งแยกออกเป็นสองแปลง ส่วนที่เป็นโบสถ์ วิหารเก่า อยู่ตรงข้ามกับบริเวณวัดปัจจุบัน นอกจากนั้น กรมทางหลวงยังได้ปักหลักเอาที่ดินของวัดและป่าข้างๆออกไปอีกประมาณ ๒๐ ไร่ ประกาศเป็นที่ดินกองทางสงวน พอกรมทางหลวงสร้างถนนเสร็จ ราษฎรบ้านใกล้เรือนเคียงก็พากันมาจับจองแผ้วถางที่ดินสองฟากถนน เป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ประมาณ ๖๐ ครอบครัว

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ โรงเรียนบ้านสามหลังเก่าถูกพายุพัดล้มทั้งหลัง นายทิพย์ มณีผ่อง ครูใหญ่ นำชาวบ้านไปขออาราธนาเอาท่านครูบาขาวปี มานั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างโรงเรียนสามหลังขึ้นมาใหม่ พอครูบาขาวปีสร้างโรงเรียนเสร็จแล้ว คณะกรรมการสร้างโรงเรียนโดยนายสมบูรณ์ ไชยผดุง (เจ้าน้อยสมบูรณ์) ได้อาราธนาให้ท่านอยู่นั่งหนัก (เป็นประธาน) สร้างวัดฟ้าหลั่งต่อ ท่านบอกว่าท่านไม่ใช่เจ้าของที่จะสร้าง ตัวเจ้าของมีแล้ว แต่ยังไม่ปรากฏเพราะยังไม่ถึงเวลา หากถึงเวลาเมื่อใดเขาจะมาสร้างเอง ขอให้เหล่าญาติโยมจงรอไปก่อน


    ๏ บูรณะวัดร้างฟ้าหลั่ง

    หลวงปู่ครูบาอินเล่าว่า ท่านมาอยู่วัดฟ้าหลั่งเมื่ออายุได้ ๕๗ ปี วัดฟ้าหลั่งยังเป็นป่าอยู่ ชาวบ้านเชื่อกันว่าที่นี้แรง บริเวณกำแพงวัดปัจจุบัน เป็นที่ที่ชาวบ้านมาเลี้ยงผีกัน เข้าใจว่าเป็นพวกผีตายโหง เมื่อท่านมาอยู่ชาวบ้านก็ได้สร้างกุฏิเป็นกระท่อมเล็กๆ ให้ท่านอยู่ ท่านก็ได้สอนให้ชาวบ้านแผ่เมตตาให้ดวงวิญญาณเหล่านั้นได้รับส่วนกุศล ท่านก็อยู่มาได้โดยไม่มีอะไรมารบกวน สภาพของวัดที่เห็นในปัจจุบัน ท่านค่อยๆ สร้างขึ้นทั้งสิ้น คติการสร้างของครูบาอินก็คือค่อยทำไป ท่านไม่บอกบุญให้ชาวบ้านต้องเป็นทุกข์ เดือดร้อน ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่า อย่าทำบุญให้ตนเองเดือดร้อน ให้ทำตามกำลัง

    เรื่องที่ครูบาขาวปีกล่าวถึงเจ้าของที่จะมาสร้างนั้น ครูบาอินท่านก็ได้ยินที่ครูบาขาวปีว่า “เจ้าเปิ้นมี เจ้าตึงมาสร้าง” เมื่อมีผู้เรียนถามท่านว่า ท่านใช่เจ้าของตามที่ครูบาขาวปีท่านกล่าวถึงหรือไม่ ท่านตอบแบหัวเราะๆ ว่า “ถ้าจะแม่แต้เน่อ หลวงปู่มาอยู่นี่นะ ทีแรกมาอยู่มีบ้านสักสิบสักซาว มุงคามุงต๋อง (ตองตึง) กะต๊อบหลวงปู่ ได้ซื้อข้าวสารมานึ่ง บอกเขาว่าสตางค์มีก่อซื้อข้าวสารมาไว้ เขาก่อซื้อมาหื้อหลายเตื้อ เอามาเตื้อถังๆ โอถ้าเป็นพระเณรสมัยนี้ มันก่อไปแล้วแล้วเน้อ บ่ออยู่ละ อยู่มาก็ดีขึ้นๆ บ้านก็หลายหลังขึ้น ก็เจริญขึ้น”

    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท กับ พระอาจารย์อินทร จิตตสังวโร
    เจ้าอาวาสวัดใหม่หนองหอย ต.สันติสุข อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่


    <hr> [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    ๏ วัตรปฏิบัติ

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) หรือที่เรียกติดปากว่า “ครูบาอิน” หรือ “หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง” นั้นเป็นพระสุปฏิบันโน ซึ่งทำให้ผู้พบเห็นมีความชุ่มเย็นเสมอ ท่านแม้จะมีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรง และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของท่านมิได้ขาด คือการทำวัตรเช้า-เย็น พร้อมกับเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาในตอนเช้ามืดและก่อนนอน

    ครูบาอินมีความพอใจในชีวิตที่เรียบง่าย ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า เป็นบุญของท่านที่อยู่มาจนทุกวันนี้ และไม่เคยล้มหมอนนอนเสื่อ ครูบาไม่เคยเรียกร้องต้องการอะไร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ ในวัยเกือบ ๙๐ ปีท่านยังทำความสะอาดกุฏิเอง ผู้ที่พบเห็นท่านมักจะเกิดศรัทธาและประทับใจในความเป็นพระแท้ของท่าน ท่านมีเมตตาต่อศิษย์โดยถ้วนหน้า พยายามให้ลูกศิษย์หาโอกาสปฏิบัติธรรมเสมอ ปกติแล้วครูบาจะไม่ค่อยพูด แต่ถ้าหากคุยธรรมะแล้วท่านจะคุยได้นาน หรือถ้าพบคนสูงอายุท่านจะชวนคุยด้วยนานๆ คนรุ่นเดียวกับท่านล่วงลับไปเกือบหมดแล้ว ท่านเล่าว่ามีเพื่อนรุ่นเดียวกับท่านเป็น “น้อย” (ผู้เคยบวชเป็นสามเณร) ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียว

    ทางด้านสุขภาพของครูบาอิน ท่านว่าสังขารของท่านร่วงโรยไปตามอายุ เดี๋ยวนี้มีอาการอ่อนเพลีย และมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง แต่ก็มีหมอคอยดูแลรักษาเป็นประจำ ท่านเองถ้าหากไม่อ่อนเพลียนัก ก็พยายามไปตามกิจนิมนต์อยู่เสมอด้วยเมตตาของท่าน แม้ลูกศิษย์จะห่วงใยและพยายามขอร้องให้พักผ่อนก็ตาม

    ท่านครูบาเป็นผู้ที่มีความอดทนสูงต่อเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของท่านด้วย ท่านไม่ค่อยจะบอกเล่าอาการ หรือทุกขเวทนาให้ใครทราบ ได้แต่ห่วงใยทุกข์สุขของผู้อื่น ความมีเมตตาเอื้อเฟื้อของท่าน เผื่อแผ่ถึงสัตว์เลี้ยงภายในวัด ท่านไม่ยอมให้ใครนำไปปล่อยที่อื่น ท่านว่าข้าววัดพอมีเลี้ยงดูกันไปได้ ยามสัตว์เหล่านี้เจ็บป่วย ท่านก็พยายามจัดการให้มีการเยียวยาตามกำลัง พระภิกษุและสามเณรก็มีความรักสัตว์และมีความเมตตาเช่นท่านด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งมีลูกสุนัขของวัดเจ็บอยู่นาน ท่านเรียกมันว่า “ขาว” พอดีมีโอกาสที่จะนำตัวไปรักษาที่คลินิกสัตวแพทย์ลูกศิษย์ของท่าน ท่านเดินมาส่งถึงรถพร้อมกับกล่าวว่า “ขาวเอ๊ย ไปโฮงยานะลูก”

    ในเรื่องนี้ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆาราวาสซึ่งมีทั้งชาวบ้านวัดฟ้าหลั่งและจากที่ต่างๆ ก็พยายามดูแลท่านตามกำลังความสามารถเพื่อถนอมท่าน ครูบาเองนั้นมีความเกรงใจทุกคน ท่านมักกล่าวเสมอว่า ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ท่าน ท่านพอใจใสความเป็นอยู่ของท่านแล้ว แต่หมูลูกศิษย์ก็มีความห่วงใย จึงอดไม่ได้ที่จะจัดหาสิ่งต่างๆ ให้ท่านได้รับความสะดวกบ้าง รวมทั้งพยายามหาแพทย์มาดูแลสุขภาพของท่าน ให้ท่านอยู่กับพวกเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งๆ ที่รู้กันดีว่า ท่านไม่ยึดติดในสิ่งเหล่านี้

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) เป็นผู้มีสติระมัดระวังอยู่เสมอ ท่านรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา มีผู้ไปถามความเห็นจากท่าน ท่านจะให้ข้อคิดที่ดี โดยยึดหลักธรรมะ ไม่เคยคิดซ้ำเติมผู้ใดด้วยอคติหรืออารมณ์ ในระยะหลังได้มีผู้มาพบเห็นและได้ข่าวปฏิปทาของท่านจนเกิดความเลื่อมใสใน องค์ท่านมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้แวะเวียนไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ และได้ทำบุญร่วมกับท่านโดยการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดฟ้าหลั่ง อาทิเช่น วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงครัว ตลอดจนห้องสุขา เป็นต้น จนวัดมีความเจริญดังที่ได้เห็นในปัจจุบัน

    วัตรปฏิบัติประจำวันของท่านครูบาอินเท่าที่ทราบ ท่านตื่นนอนตอนเช้าตีสี่ ไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เมื่อพระในวัดมาพร้อมกันที่กุฏิของท่าน ท่านครูบาก็จะเป็นผู้นำในการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิแผ่เมตตาเป็น ประจำ ท่านฉันประมาณ ๘ โมงเช้า โดยฉันเอกา คือฉันเพียงมื้อเดียว และตลอดทั้งวันจะไม่ฉันอย่างอื่นนอกจากน้ำ ประมาณ ๙-๑๐ โมงเช้า หากไม่ติดกิจนิมนต์ ท่านก็จะมีปฏิสันถารกับญาติโยมที่ไปกราบนมัสการหรือไปทำบุญ หลังจากนั้นท่านจะพักผ่อนเป็นการส่วนตัว เช่นอ่านหนังสือหรือทำกิจอื่นจนถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมงท่านจึงออกรับแขกจน ถึงเวลาประมาณห้าโมง

    จากนั้นท่านจึงสรงน้ำแล้วสวดมนต์ทำสมาธิจนถึงเวลาประมาณหนึ่งทุ่ม พระภิกษุสามเณรในวัดจึงมาพร้อมกันที่กุฏิของท่านเพื่อทำวัตรสวดมนต์เย็น ทำสมาธิ ซึ่งเสร็จประมาณสองทุ่ม หลังจากนั้นท่านครูบาอินจะมีปฏิสันถารกับพระในวัดตามสมควร แล้วพักผ่อน ซึ่งท่านจะเดินจงกรมและทำสมาธิก่อนจำวัดทุกคืน

    [​IMG]
    พระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองน่าน


    ๏ นมัสการพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์ประจำปีเกิด

    ตามปกติท่านครูบาอินเป็นผู้ที่ชอบอยู่กับที่มากกว่าจะเดินทางท่องเที่ยว หรือรับกิจนิมนต์ไปในที่ไกลๆ นอกจากกิจนิมนต์ที่จำเป็นจริงๆ ซึ่งในบางครั้งท่านไปด้วยความเมตตา แต่พอกลับมาแล้วมีอาการเจ็บป่วยเป็นที่ห่วงใยแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็น อย่างมาก จนถึงกับขอเมตตาจากท่านครูบางดการรับกิจนิมนต์ลงบ้าง เพื่อจะได้อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ลุกศิษย์ลูกหา และศรัทธาสาธุชนทั้งหลายไปนานๆ และพากันมีความหวังว่า ท่านทั้งหลายที่เลื่อมใสศรัทธาในท่านครูบาจะเข้าใจ และยินดีที่ลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิดมีความเป็นห่วงหลวงปู่เช่นนี้

    เท่าที่ทราบสถานที่อันเป็นความปีติของท่านในสมัยหลังที่ท่านได้มีโอกาส ไปเยือนและกราบนมัสการ คือการไปกราบนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองน่าน ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงติ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อันเป็นคตินิยมของคนภาคเหนือ ถือกันว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีเถาะ ซึ่งในชั่วชีวิตหนึ่งควรจะมีโอกาสไปนมัสการ ซึ่งครูบาอินท่านก็ได้ไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ คือปี พ.ศ.๒๕๓๓ ในวันที่ท่านไปเป็นการพอดีกับประเพณีทำบุญของพระธาตุ ซึ่งยังความปีติแก่ท่านเป็นอันมาก

    [​IMG]
    วัดพระธาตุแช่แห้ง ต.ม่วงติ๊ด อ.เมือง จ.น่าน


    ๏ การสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะ

    นับตั้งแต่หลวงปู่ครูบาอิน ได้รับอาราธนาให้มาเป็นประธานสร้างโรงเรียนวัดฟ้าหลั่งเป็นต้นมา มีเหตุการณ์และการก่อสร้างที่พอจะเรียงลำดับเวลาและอายุของหลวงปู่ ได้ดังนี้คือ

    พ.ศ.๒๕๐๔ อายุ ๕๘ ปี ได้มาพำนัก ณ วัดร้างฟ้าหลั่ง โดยคณะศรัทธาได้สร้างกุฏิถวาย และอาราธนาให้หลวงปู่ครูบาอิน อยู่จำพรรษาเป็นพรรษาแรก

    พ.ศ.๒๕๐๕ อายุ ๕๙ ปี เริ่มสร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดฟ้าหลั่ง เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๕

    พ.ศ.๒๕๐๖ อายุ ๖๐ ปี ก่อสร้างโรงเรียน (ต่อ)

    พ.ศ.๒๕๐๗ อายุ ๖๑ ปี อาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ ใช้เวลาก่อสร้าง ๑ ปี ๖ เดือน ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียน วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ในปีนี้เอง ได้เริ่มลงมือสร้างศาลาการเปรียญ เพื่อใช้แทนวิหารมีขนาดกว้าง ๙ เมตรยาว ๑๒ เมตร (เพิ่งรื้อลงและสร้างใหม่แทนเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๓๒)

    พ.ศ.๒๕๑๐ อายุ ๖๔ ปี เริ่มสร้างกำแพงด้านหน้า สร้างกุฏิเล็ก ทางทิศตะวันตกเรียงกัน ๒ หลัง และกุฏิใหม่อีก ๑ หลัง เป็นที่หลวงปู่ครูบาใช้รับแขกและประชุมสวดมนต์ทำวัตรเช้าและเย็น

    พ.ศ.๒๕๑๓ อายุ ๖๗ ปี สร้างกำแพงด้านเหนือและด้านใต้ (ด้านโรงเรียน)

    พ.ศ.๒๕๑๕ อายุ ๖๙ ปี สร้างกำแพงด้านตะวันตกพร้อมโรงครัว ๑ หลัง (เพิ่งรื้อลงและสร้างใหม่แทนที่เดิม ปี พ.ศ.๒๕๓๓)

    พ.ศ.๒๕๑๘ อายุ ๗๑ ปี ย้ายอุโบสถเดิม (มีปรากฏเพียงฐานอุโบสถแต่โบราณ) ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดในปัจจุบัน มาสร้างใหม่ เพื่อความสะดวกในการดูรักษาและปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย

    พ.ศ.๒๕๒๔ อายุ ๗๘ ปี สร้างหอระฆัง

    พ.ศ.๒๕๒๖ อายุ ๘๐ ปี เริ่มสร้างวิหาร การก่อสร้างเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากขาดทุนทรัพย์ ด้วยเหตุผลที่ว่าหลวงปู่ครูบาอินไม่เรี่ยไรบังคับให้คนทำบุญ

    พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๒๙ อายุ ๘๑-๘๓ ปี อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างวิหาร

    พ.ศ.๒๕๓๐ อายุ ๘๔ ปี มีการทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำทุนทรัพย์สร้างวิหาร ในการทอดกฐินครั้งนี้ เพื่อเป็นฉลองศรัทธาผู้มาร่วมบำเพ็ญบุญกุศล คณะกรรมการฯ จึงได้อาราธนาพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณสิทธาจารย์) สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนาสมโภชองค์กฐิน เพื่อยังประโยชน์สุขแก่สาธุชนทั้งหลายให้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล และภาวนา

    พ.ศ.๒๕๓๑ อายุ ๘๕ ปี มีการทอดกฐินสามัคคีโดย ห.ส.น.เวชพงษ์โอสถ และบริษัทอุตสาหกรรมผึ้งไทย นำทุนทรัพย์สมทบสร้างวิหารจนแล้วเสร็จ

    พ.ศ.๒๕๓๒ อายุ ๘๖ ปี วันที่ ๒๒-๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒ มีการฉลองวิหารและสมโภชพระประธาน ซึ่งคุณวีระ-คุณยุวดี อุชุกานนท์ชัย พร้อมครอบครัว และ ผศ.ดรุณี ศมาวรรตกุล เป็นเจ้าภาพผู้ศรัทธา และทำบุญอายุครบ ๘๖ ปี หลวงปู่ครูบาอิน ในครั้งนั้น ท่านได้เป็นประธานองค์ผ้าป่าทอดถวายบำรุงเสนาสนะสำนักสงฆ์ถ้าผาปล่อง ซึ่งพระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) แสดงพระธรรมเทศนาสมโภชวิหารใหม่ด้วย หลังจากออกพรรษา ครอบครัวคุณวีระ-คุณยุวดี อุชุกานนท์ชัย ได้เป็นประธานทอดกฐินสามัคคี นำทุนทรัพย์เริ่มก่อสร้างศาลาการเปรียญแทนหลังเก่าซึ่งทรุดโทรมแล้ว และมีอายุการใช้งานนับได้ถึง ๒๖ ปี และได้มีคณะศรัทธาศิษยานุศิษย์บริจาคทุนทรัพย์สมทบจนแล้วเสร็จ

    พ.ศ.๒๕๓๓ อายุ ๘๗ ปี อาจารย์รัตนา หิรัญรัศ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมญาติมิตรสหาย ได้เป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิต่อเติมออกไปจากกุฏิเดิม เพื่อให้หลวงปู่ครูบาได้พักอาศัยให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ ในช่วงก่อนเข้าพรรษา (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) ได้มีการปรับถมที่บริเวณวัดด้านทิศเหนือของพระอุโบสถให้ได้ระดับเดียวกับ หน้าลานวิหาร และได้มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างกุฏิกรรมฐานจำนวน ๕ หลัง แล้วเสร็จทันเวลาให้พระภิกษุได้เข้าพักในเวลาพรรษาพอดี ครั้นเมื่อออกพรรษาครอบครัวของอาจารย์รัตนา หิรัญรัศ พร้อมญาติมิตรสหาย โดยคุณแม่ลัดดา หิรัญรัศ และคุณป้าถาวร ทองลงยา เป็นประธานทอดกฐิน ณ วัดฟ้าหลั่ง คณะกรรมการได้นำทุนทรัพย์จากการทอดกฐินในครั้งนี้สมทบกับทุนเดิมที่มีอยู่ เริ่มสร้างโรงครัว หอฉัน แทนที่โรงครัวเดิม ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานถึง ๑๙ ปี

    พ.ศ.๒๕๓๔ อายุ ๘๘ ปี สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี สมทบสร้างโรงฉัน โรงครัว คณะศิษยานุศิษย์จัดทำบุญอายุครบรอบ ๘๘ ปี และมีงานฉลองสมโภชกุฏิ ศาลาการเปรียญ โรงฉัน โรงครัว ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามลำดับ ฯลฯ

    หลังจากนั้นในแต่ละปี ก็ได้มีการจัดงานบุญทอดผ้าป่า กฐิน และทำบุญอายุของหลวงปู่ครูบาอินประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ทุกๆ ปี ซึ่งก็จะมีศิษยานุศิษย์ และคณะศรัทธาทั้งใกล้และไกลจำนวนมากเข้าร่วมงาน ซึ่งรวมทั้งคณะลูกศิษย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, กองบิน ๔๑, และคณะศรัทธาจากกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ เข้าร่วมงานจนแน่นวัดทุกๆ ปี

    [​IMG]

    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ กับ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท

    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    ๏ กลับวัดทุ่งปุย

    ภายหลังจากที่หลวงปู่ครูบาอินได้ไปสร้างความเจริญ ที่วัดฟ้าหลัง ร่วม ๓๐ ปี จนวัดฟ้าหลั่งมีความสวยงามและรุ่งเรืองยิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนแล้ว เมื่อกาลล่วงมาถึงปี พ.ศ.๒๕๔๓ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๗ เหนือ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ก็ได้หวนกลับมาสู่ “บ้านเกิด” ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของหลวงปู่ที่เคยเป็นเด็กวัด และได้บรรพชาเป็นสามเณร อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเคยเป็นเจ้าอาวาสที่นี่มาก่อน และได้เป็นเจ้าคณะตำบลยางคาม มาตามลำดับ

    มูลเหตุสำคัญ เนื่องจากวัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) กำลังพัฒนาเสนาสนะสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ทรุดโทรมไปตามกาลสมัย อย่างเช่น กุฏิ ศาลา กำแพง เป็นต้น อีกทั้งการกลับมาของท่านด้วยอายุที่สูงถึง ๙๘ ปี ด้วย “วุฒิ” อัน “เจริญ” จนถึงขั้นสูงสุด หาใดเปรียบมิได้อย่างเต็มภูมิ เป็นการกลับมาของท่านในวัยชรามากแล้ว ได้กลับมาอยู่ใกล้ลูกหลาน ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน

    นับว่าหลวงปู่ครูบาอิน เป็นปูชนียบุคคลที่ควรเคารพบูชาอย่างยิ่ง ถึงแม้นจะไปอยู่ที่อื่น ไปสร้างที่อื่นให้เจริญรุ่งเรืองแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่ลืมบ้านเดิมถิ่นฐานบ้านเกิดของท่าน คงเป็นเพราะบุญกุศลที่ศรัทธาญาติโยมได้มาร่วมกันทำกับหลวงปู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ ๑๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๔๓ การสร้างกำแพง ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ และการสร้างกุฏิวรวุฒิคุณ เพื่อเป็นที่พำนักของหลวงปู่ ในปีเดียวกัน ในแต่ละวันจึงมีผู้คนมากราบนมัสการเยี่ยมเยียนหลวงปู่ไม่ขาดสาย ถึงแม้นว่าท่านจะอาพาธ นอนพักรักษาตัวอยู่ที่วัดหรือที่โรงพยาบาล ท่านก็ยังเมตตาให้ศรัทธาญาติโยมที่มานั้นได้เข้าไปกราบไหว้จวบจนวาระสุดท้าย ของชีวิต

    [​IMG]
    กุฏิวรวุฒิคุณ พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นกุฏิที่หลวงปู่ครูบาอินพำนักในช่วงปลายชีวิต
    ณ วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) ต.ยางคราม กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่



    ๏ ปัจฉิมวัยและการมรณภาพ

    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ได้เพียรอุทิศตนไว้ในบวรพระพุทธศาสนา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ให้แก่ศาสนจักร คือ การสร้างถาวรวัตถุ สร้างวัดวาอาราม ให้ความช่วยเหลือไว้หลายวัด ฝ่ายอาณาจักรท่านก็ได้สร้างอาคารสถานที่ และสาธารณประโยชน์แก่ทางราชการบ้านเมืองอย่างมากมายมาโดยตลอด ใครมาขอให้ท่านช่วยสร้างอะไร ท่านก็เมตตาให้ ท่านทำแบบเงียบๆ ใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ค่อยจะพูดจามากนัก หลวงปู่ท่านมีข้อวัตรปฏิบัติที่เสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ผู้ที่ได้มาพบเห็นกราบไหว้ เห็นปฏิปทาการปฏิบัติของท่านแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่

    ช่วงสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านไม่แข็งแรงซึ่งเป็นไปตามอายุขัย อาพาธบ่อย หลวงปู่ท่านมีความอดทนสูงมาก มีสติและสมาธิความจำที่ดีเลิศอยู่เสมอ ยามเจ็บไข้เกิดทุกขเวทนาท่านจะไม่ยอมบอกใครง่ายๆ ท่านเกรงใจ ไม่อยากให้เป็นภาระแก่ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ และญาติโยม

    ยามเมื่อท่านไม่สบายพักรักษาตัวอยู่ที่วัด ต้องให้ออกซิเจนอยู่เป็นระยะ เมื่อมีญาติโยมมากราบนมัสการท่าน ท่านก็ให้เข้าพบ พร้อมกับให้พรอันยาวนานตามปกติของท่าน จนญาติโยมที่มากราบไหว้รับพรจากท่านนั้นเหนื่อยแทน ขอร้องท่านให้พรสั้นๆ เพราะกลัวท่านเหนื่อย ท่านก็ไม่ยอม ลุกขึ้น ไม่นอนให้ศีลให้พรแก่ญาติโยม ไหว้พระสวดมนต์อยู่ตลอด ท่านบอกว่าไม่เหนื่อย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๕ หมอวินิจฉัยว่าท่านติดเชื้อในปอด และน้ำท่วมหัวใจ พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จนกระทั่งถึงวันที่ ๑๘ เมษายน ก็กลับมาพักรักษาตัวอยู่ที่วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) อาการดีขึ้น

    วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๕ นิมนต์หลวงปู่ขึ้นอยู่บนกุฏิหลังใหม่ (กุฏิวรวุฒิคุณ) ที่คณะศรัทธาญาติโยม ลูกศิษย์ลูกหา สร้างถวาย

    วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ ทำบุญฉลองอายุ ๑๐๑ ปี ถวาย

    หลวงปู่เข้าโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๑๕ น. อาการเริ่มทรุดลงเรื่อยๆ จนถึงเวลา ๑๙.๔๐ น. ท่านก็จากไปอย่างสงบ ปัจจุบันนี้ได้ตั้งสรีระของท่านไว้บำเพ็ญกุศล ณ วัดคันธาวาส (วัดทุ่งปุย) จังหวัดเชียงใหม่

    คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ขอขอบคุณและอนุโมทนา ผู้บริหาร นายแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ทุกๆ ท่าน ที่ให้การรักษาดูแลหลวงปู่มาด้วยดีโดยตลอด ตั้งแต่ต้นจวบจนถึงวาระสุดท้ายในชีวิตของหลวงปู่ โดยเฝ้าดูแลอุปัฏฐากแวะเวียนเยี่ยมดูอาการ ให้กำลังใจหลวงปู่อยู่มิได้ขาด

    ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้รับพรของหลวงปู่ที่เคยให้เราและท่านไว้ว่า “ตั้งแต่นี้ไปปายหน้า ขอให้ทุกคนจงอยู่ดีมีสุข มีอายุมั่นยืนยาว ขอหื้อพ้นเสียยังโรค ภัย ไข้ เจ็บ เป็นต้นว่าเคราะห์ปายหลังอย่าได้มาท่า เคราะห์ปายหน้าอย่าได้มาจน เคราะห์ปายบนอย่าได้มาใกล้ เคราะห์ขี้ไร้อย่าได้มาปานถูกต้อง ฝูงปาปะเคราะห์พร่ำพร้อมคือว่าเคราะห์ปี เคราะห์เดือน เคราะห์วัน เคราะห์ยาม เคราะห์เมื่อหลับเมื่อตื่น เคราะห์เมื่อยืมเมื่อเตียว เคราะห์เมื่อเหลียวเมื่อผ่อ เคราะห์เมื่อคืนบ่อหัน เคราะห์เมื่อวันบ่อฮู้ เคราะห์เมื่ออู้เมื่อจ๋า เคราะห์นานาต่างต่าง จุ่งกลับกลายเป็นเป็นโสมะ ตัวใดเป๋นโสมะแล้ว จุ่งนำมายังลาภะสะก๋าร คือ โจคลาภ ขอหื้อทุกคนมีอายุปี๋ อายุเดือน อายุวัน อายุยาม โจคปี๋ โจคเดือน โจคยาม อยู่ก็ขอหื้อมีจัย ไปก็ขอหื้อมีโจคมีลาภ ฮิมาก๊าขึ้นเหมือนกั๋นทุกผู้ทุกคน นั้นจุ่งจักมี วิรุฬหา พุทธศาสเน อะโรคาสุขิตา โหนตุ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ สาธุ สาธุ สาธุ”

    ขอวิญญาณท่านอยู่คู่สวรรค์
    สถิตย์มั่นบรรลุบุญกุศล
    แม้จะอยู่ใต้หล้าทั่วสากล
    สถิตย์บนบัลลังค์ทองของวิมาน


    [​IMG]

    [​IMG]
    พระมหาเถรานุเถระ ขึ้นวางดอกไม้จันท์
    ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ครูบาอิน อินโท
    เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐


    <hr> [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท


    เมื่อครูบาอินปราบทายาทอสูร
    โดย เนาว์ นรญาณ


    เพื่อเป็นการใช้หนี้ท่านผู้อ่านที่เคารพรักทั้งหลาย ด้วยเคยได้เกริ่นกล่าวไว้ในตอนแรกๆ แห่งการ “รีเทิร์น” กลับมาสู่ร่มไม้ชายคาแห่ง “ศักดิ์สิทธิ์” อีกครั้งหนึ่งของผู้เขียนว่า จะได้เล่าถึงอภิญญาฤทธิ์อิทธาภินิหารของพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์สำคัญๆ ที่เคยได้พบประสพมา ให้ได้ตื่นเต้นมันส์พ่ะย่ะค่ะสะใจพระเดชพระคุณรุนช่องชาวบ้านร้านตลาดทั้ง หลาย ให้สมกับที่ได้ห่างหายกันไปเป็นนานสองนานนั้น บัดนี้ก็คงได้ถึงกาลเวลาอันสมควรเสียที...

    ประกอบกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปีนั้น ก็จะเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเดชพระคุณท่านพระครูวรวุฒิคุณ หรือที่หลายๆ คนรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดีในนาม “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท” วัดทุ่งปุย-ฟ้าหลั่ง กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ สุดยอดพระมหาคณาจารย์ผู้แก่กล้าด้วยฤทธิจิตอันดับหนึ่งแห่งเมืองนพบุรีศรี นครพิงค์ ผู้เพิ่งจะ “นิพพาน” จากไปได้ไม่กี่เวลา จึงนับเป็นโอกาสอันเหมาะสมอย่างยิ่ง ที่จะได้อาศัย “เดือนเกิด” ของท่านนี้ กระทำการ “เปิด” เรื่อง “ลับสุดยอด” ที่ท่านเคยสั่งเอาไว้ว่า “เอาไว้ให้ครูบาตายก่อนแล้วค่อยเล่า” อย่างเป็นทางการเสียเลยทีเดียว

    แม้จะเคย “ลักไก่” แอบเอาเรื่องที่ท่านครูบาอินได้ “ห้ามขยาย” ออก “แพลม” เล็กๆ มาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ ”เสกลำไยเป็นแมลงผึ้ง” แข่งกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตน ก็ดี การเสก ”น้ำให้แข็งแล้วลอยคว้างอยู่กลางอากาศ” แข่งกับหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม ที่เสกน้ำมนต์แข็งคาขวดจนเทไม่ออกก็ดี หรือคราวที่ครูบาท่านนึกสนุก แล้วหายตัวขึ้นไป “นอนเล่น” บนสายไฟฟ้าแรงสูงหน้าวัดต่าง “เปลญวน” ต่อหน้าต่อตาของผู้คนมากมายที่พากันช็อคตกตะลึงพรึงเพริดไปหมด ก็ตาม...ฯลฯ แต่ก็ช่างไม่ “สะสา” แก่ใจดวงน้อยๆ ของผู้เขียนคนนี้ ที่ “กระหาย” อยากจะเล่าให้ทุกๆ คนได้ทราบถึง ”ของจริง” ให้รู้ดำรู้แดงกันไปข้างหนึ่งเลยว่า อันพระมหาคณาจารย์ระดับ “อ๋อง” ที่ท่าน “เก่งแท้” และ “แน่จริง” จริงๆ นั้น ท่าน “สุดๆ ไปเลย” กันถึงเพียงไหน..???

    แต่บัดนี้และเดี๋ยวนี้ โอกาสที่ครูบาอินได้เคย ”ประกาศิต” ไว้ดังกล่าวได้มาถึงแล้ว... ก็จะขอลุยถวายท่านกันอย่างไม่ยั้งเลยก็แล้วกันนะขอรับกระผม สาธุ...

    [​IMG]
    หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร


    ::: หลวงพ่อกวยยกย่อง :::

    แต่ก่อนร่อนชะไรนั้น หากเอ่ยชื่อถึง “หลวงปู่ครูบาอิน อินโท แห่งวัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่” ให้หลายๆ คนได้ยินได้ฟังแล้ว หลายๆ คนก็อาจจะทำหน้าปั้นยาก พลางอมยิ้มส่ายหน้าสารภาพว่า “ผม/ดิฉันไม่รู้จักคับ/ค่ะ” อย่างไม่ต้องสงสัย

    เพราะในเขตล้านนาภาคเหนือของสยามประเทศนั้น หากไม่นับครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทยผู้กระเดื่องเลื่องหล้าองค์นั้นแล้ว พระสายเหนือที่จะมักคุ้นตาและใจของ “ส่วนกลาง” จริงๆ ก็เห็นจะมีเพียงไม่กี่องค์ อาทิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่, หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึงเชียงใหม่, ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง ฯลฯ แต่เพียงประมาณเท่านั้น

    แต่นั่น...ก็เป็นเรื่องของ “สามัญปุถุชน” แต่เพียงเท่านั้น หาใช่เป็นกรณีของ “ผู้รู้แจ้ง” เห็นจริงไม่ เพราะเมื่อหลายสิบปีก่อน หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้ชาญพระเวทย์แห่งวัดโฆสิตาราม ชัยนาท ยังไม่อาจนิ่งเฉยพร้อมกับยังได้สั่งความแก่พระครูสมุห์ภาสน์ มังคลสังโฆ แห่งวัดซับลำไย ลพบุรี ศิษย์ใกล้ชิดของท่านรูปหนึ่งเลยทีเดียวว่า “ให้ขึ้นไปกราบครูบาอิน วัดฟ้าหลั่งที่เชียงใหม่ และขอศึกษาวิชาจากท่านให้ดีๆ เถิด ครูบาอินนี้ท่านมีวิชาจิตตานุภาพแก่กล้าสามารถมากๆ จริงๆ...!!!!!!”

    ลองหลวงพ่อกวย สั่งการด้วยองค์เองเห็นปานนี้ ยังจะมีใครต้องพักสงสัยกันได้อยู่อีกเล่า...???

    และเมื่อท่านพระครูสมุห์ภาสน์เดินทางขึ้นเหนือไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และในก้าวแรกที่ได้ย่างเข้าสู่อาณาบริเวณวัดฟ้าหลั่ง ท่านพระครูสมุห์ภาสน์ ศิษย์หลวงพ่อกวย ก็ได้ “เจอดี” ทันที เมื่อมีภิกษุรูปหนึ่งออกมาคอยรับอยู่ที่หน้าวัดฟ้าหลั่ง ก่อนที่จะได้กล่าวสัมโมทนียกถาอย่างชวนให้สะท้านใจไม่น้อยเลยว่า

    “นมัสการเชิญครับ...ท่านครูบาอินท่านว่าจะมีพระจากแดนไกลมาหา เลยสั่งให้ผมมาคอยรับท่านขอรับ...???”

    “...!!!!?????!!!!...”

    เพิ่งเหยียบเข้าวัดฟ้าหลั่งเพียงไม่กี่ก้าว และยังไม่ทันเห็นหน้ากันแม้แต่เพียงวิบเดียว แต่ “ครูบาอิน” ท่านกลับล่วงรู้หมดสิ้นแล้ว

    ช่าง “เก่งแท้” สมกับที่หลวงพ่อกวยสั่งให้มา “ต่อวิชา” ด้วย ไม่ผิดเลยแม้แต่เพียงครึ่งคำเดียว...สุดยอดเลยจริงๆ

    [​IMG]
    หลวงพ่อเกษม เขมโก


    ::: หลวงพ่อเกษม ยอมรับ :::

    ครั้งหนึ่ง มี “พ่ออุ๊ย” แห่งวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ท่านหนึ่ง ได้ไปกราบหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่สุสานไตรลักษณ์ แห่งจังหวัดลำปาง แล้วเอาพระที่ตนมีอยู่ออกมาให้หลวงพ่อเกษมท่าน “ชาร์จแบ็ต” (มนต์) เพิ่มพลังให้ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายมักนิยมทำกัน เวลาได้ไปกราบครูบาอาจารย์ที่ตนเคารพนับถือ โดยหนึ่งในพระเครื่องที่นำไปขอให้หลวงพ่อเกษมท่านเสกนั้น ก็มีพระของหลวงปู่ครูบาอินรวมอยู่ด้วย...

    และในบัดดลนั่นเอง สิ่งที่ทำให้พ่ออุ๊ยจากเมือง “หละปูน” ถึงกับแปลกประหลาดใจอย่างใหญ่หลวง ก็พลันอุบัติขึ้น เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก ผู้ยิ่งด้วยฤทธิ์อภิญญาอันแก่กล้าไม่ยอมเสกพระของ “ครูบาอิน” ให้อย่างสิ้นเชิง ก่อนที่จะบอกกับพ่ออุ๊ยนั้นอีกด้วยว่า “ดีอยู่แล้ว ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องเสกอะไรอีกแล้ว..!!!!!!”

    นี่ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า อันอำนาจจิตฤทธิ์อภิญญาของหลวงปู่ครูบาอิน อินโทนี้ จะต้องมีความแก่กล้าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหลวงพ่อเกษมอย่างไม่ต้องสงสัย ก็ของๆ ท่าน “ดี” อยู่แล้ว “เต็ม” อยู่แล้ว เลยไม่รู้ว่าจะเสกทับให้เสียเวลาเปล่าๆ ไปทำไม น้ำเต็มตุ่มเต็มไหอยู่ดีๆ หากจะยังจะเทซ้ำลงไปอีก ก็รังแต่จะหกเรี่ยราด หาประโยชน์มิได้เท่านั้น มิสู้มิเสกเลย จะดีกว่าเป็นไหนๆ หรือมิใช่...???

    [​IMG]
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร


    ::: หลวงปู่สิม นับถือ :::

    ในบรรดาศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักถ้ำผาปล่อง แห่งอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จริงๆ แล้ว จะทราบถึงอัธยาศัยประการหนึ่งของหลวงปู่สิมท่านเป็นอย่างดีที่สุดเลยว่า “ไม่ว่าจะเป็นคนหรือพระไหนก็ตาม หากไม่ดีแท้หรือแน่จริงถึงขีดสุดๆ แล้ว หลวงปู่สิมท่านจะไม่สนใจปรารภปรารมภ์อะไรถึงเลย...”

    ขนาดมีศิษย์ “รุ่นพี่” (สายกรรมฐาน) ของท่านเองบางองค์ถึงแก่มรณภาพ หลวงปู่สิมท่านก็ไปเยี่ยมศพตามธรรมเนียม แต่เป็นการไปด้วยท่าทีที่ “เฉย” อย่างมากๆ จนศิษย์บางคนสังเกตเห็น แล้วอดรนทนไม่ได้มากราบเรียนถามท่านถึงลักษณาการที่ “นิ่งผิดปกติ” เช่นนั้น หลวงปู่สิมท่านก็ได้แต่ยิ้มๆ และไม่ยอมเฉลยอะไรมากความ ทำให้ทราบโดยนัยว่า “รุ่นพี่” องค์นั้น คงจะมีภูมิจิต ภูมิธรรม ไม่ “เสมอ” กับหลวงปู่สิมท่านเป็นแน่ หลวงปู่สิมท่านจึง “เฉยเมย” เห็นปานนั้น

    ตรงข้ามกับ ระดับ “ยอดสุด” ของจริงมาเองแล้ว โดยไม่ต้องพักถามไถ่ว่า จะเป็น “ธรรมยุต” หรือ “มหานิกาย” ให้เสียเวลา หลวงปู่สิมท่านจะกล่าวชมเชยกราบไหว้ถึงตักถึงเท้าอย่างไม่มีรีรอเลยทีเดียว

    “ท่านอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ท่านเก่งมากนะ...ท่านไม่ดุอะไรไม่มีเหตุผลหรอก แต่ท่านจะดุบาปด่าบาปต่างหาก...!!”

    “เจ้าคุณนรรัตน์ วัดเทพศิรินทร์ มีกริยามารยาทเรียบร้อยและเป็นผู้มีความกตัญญูสูงมาก..!!!”

    “หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี น่ะ ยอดเยี่ยมที่หนึ่งเลย...แก่ทั้งอายุ แก่ทั้งพรรษา แก่ทั้งมรรคผลนิพพาน...!!!.”

    “หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคมมน จังหวัดเลย จิตเพิ่น (ท่าน) ดี จิตเพิ่น (ท่าน) ดี...!!!!”

    “หลวงปู่แหวน ยิ่งใหญ่มาก ท่านเข้านิพพานไปแล้วด้วย...!!!!!”

    “ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูนน่ะ ท่านเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็งอีกนะ..!!!!!!” ฯลฯ

    และส่วน “ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง” น่ะหรือ.. หลวงปู่สิม ไม่เพียงกล่าวชมแต่เพียงวาจา แต่ “ลัดฟ้า” ไปกราบถึงกุฏิที่วัดฟ้าหลั่ง ปีละหลายๆ ครั้งโน่นเลยทีเดียว...!!!???!!!

    งานนี้ ต้องมี “อะไร” ที่ “ไม่ธรรมดา” อย่างมากๆ ถึงมากที่สุดอย่างแน่ๆ ไม่ต้องสงสัย เพราะเป็นการยกย่องด้วย “การกระทำ” นั่นเลยเทียว

    หรือใครจะเถียง..????

    ::: น้ำไต่ :::

    ครั้งหนึ่ง เมื่อนานมาแล้วสมัยที่ท่านยังอยู่ที่วัดฟ้าหลั่ง วันหนึ่ง หลวงปู่ครูบาอินได้ออกปากถามพระเลขาของท่านรูปหนึ่งว่า

    “อยากดูน้ำไต่ขื่อไหม...??”

    “อยากดูครับ...ครูบา”

    “งั้นไปเอาน้ำต้นมา...”

    เมื่อพระเลขารูปนั้นไปหา “น้ำต้น” (คนโทดินเผาแบบล้านนา ที่ใช้สำหรับใส่น้ำกินน้ำใช้) ที่มีน้ำบรรจุเต็มมาถวายแล้ว ครูบาอินท่านก็อธิษฐานอยู่ครู่หนึ่ง แล้วปลดเอารัดประคดของท่านออกมาให้พระเลขา ให้เอามามัดน้ำต้นคนโทไว้ให้มั่น แล้วเอาขึ้นไปผูกกับขื่อกุฏิ ลอยคว้างอยู่กลางอากาศ ก่อนออกคำสั่งว่า

    “ลองตีน้ำต้นดูสิ” เมื่อได้ฟัง พระเลขาก็อุทธรณ์ทันทีว่า

    “อ้าว...น้ำต้นก็แตก หกเปรอะเลอะเทอะกันหมดพอดีสิครับ ครูบา...???”

    “เถอะน่า...บอกให้ตีก็ตีเถอะ...”

    “เอาก็เอาวะ...??” พระเลขานึกในใจ ก่อนที่จะหลับตา “ตีคนโฑดินเผา” ด้วยคิดว่า อย่างไรเสีย งานนี้ต้อง ”เปียก” อย่างแน่ๆ

    โพล๊ะ...!!!!!!! อะไรกันนี่...????

    ในทันทีที่คนโทดินเผาแตกกระจายจากแรงตีนั้น แทนที่น้ำภายใจจะไหลซ่าตกลงมาตามธรรมดาที่ควรจะเป็น สิ่งมหัศจรรย์ที่พระเลขารูปนั้นแทบจะช๊อคด้วยไม่อยากจะเชื่อสายตา ก็พลันบังเกิดขึ้นในทันใด

    แม้เศษดินเผาคนโทจะถูกตีแตกร่วงกราวไปหมดแล้ว แต่ “น้ำ” ที่อยู่ในคนโทนั้น กลับจับตัวเป็นก้อนแข็งรูปคนโฑ ภาชนะที่ใส่อยู่นั่นเอง โดยน้ำรูปคนโฑนั้น ก็ยัง “ลอย” แต่งแต่งๆ กลางอากาศ โดยมีรัดประคดที่รัดคนโฑดินเผาไว้แตกแรกผูกมัดติดกับขื่อไว้อย่างมั่นคง เป็นที่น่าตื่นเต้นตกตะลึงเป็นที่สุด !!!!!!!!

    เมื่อเห็น “พระเลขา” ของท่าน “ช็อคซีนีม่า” ได้ที่ ครูบาอินก็สั่งต่อไปอีกว่า

    “งั้นลองเอานิ้วจี้ไปที่น้ำดูสิ...”

    เมื่อหายจากตกตะลึง พระเลขาก็เลยเอานิ้วจี้ไปที่ “น้ำไต่” ที่ลอยยังกับลูกโป่งอยู่กลางอากาศตามคำสั่งโดยมิชักช้า ปานประหนึ่งจะพิสูจน์ให้แจ้งใจไปเลยทีเดียวว่า สิ่งที่ตนเห็นนั้นจะเป็น “ของจริง” หรือ “ภาพลวงตา” หรือไม่

    ซ่า...!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

    คราวนี้ “ไม่มีอะไรในกอไผ่” อีกแล้ว

    เพราะในวินาทีที่นิ้วสัมผัสกับน้ำที่รวมตัวเป็นรูปน้ำต้น ซึ่งถูก “ผูก” ติดอยู่กลางขื่อนั่นเอง น้ำรูปคนโทนั้น ก็ “คืนสภาพ” แตกกระจายไหลซ่าลงใส่พระเลขาจนเปียกมะล่อกมะแล่กไปหมดเลยทีเดียว โดยหลวงปู่ครูบาอิน อินโท นั่งมองอยู่ใกล้พลางอมยิ้มชอบใจังหวัด.!!

    นี่คือ “ของเล่น” สนุกๆ ของพระอริยเจ้าผู้มีฤทธิ์อันยิ่ง...

    อำนาจจิตฤทธิ์อภิญญาของครูบาอินนี้ ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ลำพัง แค่การเสกน้ำให้เทไม่ออก ก็ยากเอาเรื่องอยู่แล้ว...แต่นี่ท่านเล่นเสกให้คงรูปเป็นทรงคนโทใส่น้ำ แถมยังเอาไปผูกห้อยไว้กลางหาวเสียอีก เก่งไม่เก่งหรือไม่อย่างไร คิดดูเอาเองเทอญ...

    [​IMG]
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า


    ::: เสกลำใยเป็นแมลงผึ้ง :::

    อีกคราว พระเลขา (เจ้าเก่า) ที่เคยเจอประสบการณ์ “น้ำไต่” จนเปียกโชกไปทั้งตัว ก็ได้เห็นครูบาอินท่าน “ทำฤทธิ์” ให้ได้ช๊อคซีนีม่าอีกครั้งหนึ่ง โดยคราครั้งนี้ ครูบาอินท่านเอา “ลำไย” (ที่เป็นเม็ดๆ กินหวานๆ นั่นแหละครับ) มาเสกเป่างึมๆ งำๆ อย่างไม่ทราบเหตุผล ชั้นแรกนึกว่าท่านจะเสกลำไยให้ญาติโยมเอาไปกินเป็นยารักษาโรคภัย แต่ไปๆ มาๆ ที่ไหนได้...

    จากลำไยธรรมดาสามัญ พอครูบาอินท่านคลายมือออกเพียงเท่านั้น จากลำไยก็กลายเป็น “แมลงผึ้ง” บินกันหึ่งๆ ให้เห็นกันจะๆ ต่อสองนัยน์ตาของพระเลขาเลยทีเดียว...!!!!!! ไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อแล้ว... และเชื่อแน่ได้ว่า หากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ที่เสกใบมะขามเป็นต่อเป็นแตนยังคงมีชีวิตอยู่ และได้มาเห็นครูบาอินเสกลำไยเป็นแมลงผึ้งได้เห็นปานนี้แล้ว คงจะต้องมีการ “แลกวิชา” กันอย่างขนานใหญ่เป็นแน่...หรือใครจะเถียงว่าไม่จริง...???

    ::: เมื่อครูบาอินปราบทายาทอสูร :::

    เรื่องนี้ เป็นประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตัวของผู้เขียนเอง เรื่องของเรื่องที่มีชื่อเหมือนกับ “นิยายหนังผี” สยองขวัญ “ทายาทอสูร” ที่ชาวบ้านชาวเมืองต่างติดกันงอมแงมเมื่อไม่กี่ปีก่อน ด้วยวลียอดฮิตว่า “เจ้าคือทายาทคนต่อไป...” นั้น ได้เกิดขึ้นเมื่อมีผู้หญิงสาวสวยคนหนึ่ง ขอสมมุติชื่อว่า “น.ส.ชนีกร” เรื่องก็มาจากการที่น.ส.ชนีกรเธอถูก “แม่ผัว” ใจร้ายตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์ ด้วยข้อหาว่า “ยากจน” กว่า และกลัวว่าเธอจะไปแย่งความรักของลูกชายเธอมากกกอดเสียหมดคนเดียว อันจะเป็นเหตุให้ลูกชายสุดสวาทลืมรักแม่ไป...ฯลฯ (บ้าจังเลย หึงแม้กระทั่งลูกตัวเอง)

    คิดไปคิดมา แม่ผัวใจร้ายปานประหนึ่งคุณหญิงแม่ของคุณชายกลางแห่งบ้านทรายทอง (ภาคพิเศษ) เลยริอ่านเล่น “ไสยศาสตร์” ให้ “หมอผี” ทางอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ทำ “คุณไสย” ใส่ทั้ง “ผัว” ทั้ง “ลูกชาย” และทั้ง น.ส.ชนีกร “ลูกสะใภ้” (นอกกฎหมาย ไม่ได้จดทะเบียน) แบบครบวงจรเลยทีเดียว...!!!!!! ทำของใส่ “ผัว” เพื่อให้หลงอย่างไม่ลืมหูลืมตา ทำของใส่ “ลูกชาย” ก็เพื่อให้ สติเลอะเลือน จนรู้สึกเกลียดชังเมียตัวเองอย่างไม่ทราบสาเหตุ...” และทำของใส่ “ลูกสะใภ้” หมายจะให้ น.ส.ชนีกรเสียผู้เสียคนจนเป็นบ้า หรือถึงแก่ชีวิตไปเลยทีเดียว...“โหด เลว ชั่ว” ครบสูตรแม่ผัวตัวอย่างจริงๆ

    และเรื่องของเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องมาข้องแวะในวังวนแห่งโลกีย์และไสย เวทย์สายดำสนิทโดยที่มิรู้อิโหน่อิเหน่มาก่อนนั้น ก็เกิดจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่รู้จักกับน.ส.ชนีกรดี ได้ไหว้วานให้ผู้เขียน พาน.ส.ชนีกรไปหาพระช่วยรักษาคุณไสยนี้ที...ด้วยความเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา และเพื่ออนุเคราะห์เพื่อนร่วมโลกด้วยกัน ผมก็เลยมีอันได้พา น.ส.ชนีกรนี้ไปกราบหาหลวงปู่หลวงพ่อเพื่อปัดรังควานรักษาเป็นหลายท่านหลาย องค์ จนน.ส. ชนีกร เริ่มมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    แต่ในขณะเดียวกัน ตัวของ “เนาว์ นรญาณ” คนนี้ กลับมี “เรื่องร้ายๆ” เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างผิดปกติ ประเดี๋ยวเป็นโน่น ประเดี๋ยวเจ็บนี่ ทั้งหน้าตาก็แลดูหมองคล้ำดำมืดอย่างไรชอบกล ไม่มีสง่าราศีเอาเสียเลย ที่เจ็บปวดที่สุด ก็เห็นจะเป็นกรณีถูก “หมากัด” ที่เอ็นร้อยหวายเข้าอย่างจัง ขณะที่ยืนดูคนให้อาหารสุนัขอยู่ดีๆ แท้ๆ แม้จะไม่เข้าเต็มๆ แต่ก็ทำให้หนังถลอก เลือดซิบๆ ต้องไปฉีดยากันโรคกลัวน้ำ (ปลอดภัยไว้ก่อน) เสียหลายเข็ม เจ็บระบมไปหลายวัน เฮ้อ.ทำไมถึงต้องเจ็บตัวอย่างนี้นะ ตั้งแต่ได้พาน.ส.ชนีกรไปรักษาคุณไสย ทำไมข้าพเจ้าจึงเจอแต่เรื่อง “ซวยงัก” ถี่ปกตินักนะ งงจังเลย...

    และแล้ว น.ส.ชนีกร ก็เป็นผู้เฉลยความนัยนั่นให้ฟังเองในเวลาต่อมาว่า “หนูเอาเรื่องที่พี่เนาว์ถูกหมากัดไปเล่าให้น้องเณรที่มีญาณองค์หนึ่งที่ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนฟัง ท่านก็เข้าสมาธิดูก็รู้ว่า ไอ้หมอผีทำของใส่หนูน่ะ มันทำคุณไสยกันท่าเผื่อเอาไว้ด้วยว่า ใครก็ตามที่คิดอ่านมาช่วยหนู ก็จะต้องมีอันเป็นไปตามกันด้วย อย่างที่พี่เนาว์โดนหมากัดน่ะ ก็ไม่ใช่เป็นกรณีปกตินะคะ แต่เป็นการใช้ไสยศาสตร์พลังจิตไปบังคับหมาให้มากัดพี่เนาว์เป็นการเฉพาะ เหมือนอย่างที่คุณยายวรนาถในเรื่องทายาทอสูรทำอย่างไรก็อย่างนั้นเลยล่ะ ค่ะ...”

    “อ้อ...เหรอ...” ผมเออออก่อนที่จะนึกในใจว่า “อิ๊บอ๋ายแล้ว...นี่กรูต้องมาเจอะเจอกับเรื่องพรรค์นี้กับเขาด้วยหรือนี่...???”

    และ...“กรูไม่น่ามาช่วยเจ๊ชนีกรนี่เล้ยจริงๆ...ให้ตายสิ” มีแต่เรื่องซวยซับ ซวยซ้อน และซวยไม่มีที่สิ้นสุดเสียจริงๆ กรรมของเวรแท้ๆ...

    และแล้ว วันที่ “กรรมของเวร” ของผู้เขียนจะสิ้นสุดลง เมื่อได้พาร่างอันหมองคล้ำไปกราบครูบาอินในวันหนึ่ง เหมือนท่านครูบาอินจะรู้แจ้งถึงการทั้งปวงดี ท่านจึงเพ่งดูหน้าผมด้วยสายตาที่เต็มไปด้วยตบะเดชะอันแรงกล้าที่แม้แต่คน เข้าวัดอย่างผม ก็ยังอดสะท้านด้วยความเกรงบารมีท่านไปมิได้ ก่อนที่จะได้หยิบเอาน้ำมันจันทน์มาเจิมกระหม่อมผู้เขียนอย่างตั้งใจ และในขณะนั้นนั่นเอง ก็มีผู้จับภาพตอนที่ครูบาอินกำลังลงกระหม่อมให้ผู้เขียนในตอนนั้นไว้ได้

    และเมื่อล้างอัดออกมา ภาพที่น่า “สยองใจ” ก็ปรากฏขึ้นในทันใด เพราะปรากฏ “เงาดำ” แห่งไสยเวทย์มนต์ดำทายาทอสูรจากนรก พุ่งออกจากบริเวณศีรษะและต้นแขนของผู้เขียน เห็นกันได้จะๆ เต็มสองตา...!!!

    ช่างน่าขนพองสยองเกล้าเป็นนักแล้ว...บรื๋ววววส์ส์ส์ส์ส์...

    หมายเหตุ, เคยสงสัยว่า อันพระเครื่องรางของดีๆ เราก็มีมากมาย แต่เหตุไฉนไสยศาสตร์ฝ่ายต่ำจึงเข้ามาสิงสู่ในกายในใจแห่งเราได้ จนเมื่อได้ยินคำเฉลยจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระอริยปัญญาแห่งวัดป่าสาลวัน จึงได้เข้าใจ โดยท่านบอกว่า “อันพระเครื่องรางนั้น แม้จะดีอย่างไร ก็ยังเป็นของภายนอกอยู่ แต่หากจะให้กันคุณไสยมนต์ดำได้จริงๆ คนๆ นั้นต้องไหว้พระสวดมนต์แผ่เมตตาเป็นนิตย์ จึงจะป้องกันได้”

    (จำได้ว่า ตอนนั้นผมขี้เกียจสวดมนต์มาก และก็ไม่ได้ห้อยพระตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย ของเลยมีช่องเข้าตัวได้ให้ซวยสนิทไปหลายรอบด้วยประการฉะนี้)

    ช่างนับเป็นบุญและวาสนาแท้ๆ ที่ยังมีโอกาสได้เจอกับ “พระดีและเก่ง” แบบสุดๆ เยี่ยงหลวงปู่ครูบาอิน มาช่วยขับไล่ “มนตราทายาทอสูร” ให้เห็นกันจะๆ เห็นปานนี้ หาไม่...ผมจะต้อง “มีอันเป็นไป” ในลักษณาการเช่นไหนอีก ก็สุดที่จะคาดเดาได้แล้วจริงๆ โอย..ไม่อยากจะคิดเลย

    พระเดชพระคุณและความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่ครูบาอินนั้น จึงติดตราตรึงในท่ามกลางดวงใจของผมอย่างไม่มีวันจะจางคลายไปได้นับแต่บัด นั้น แม้หลวงปู่วรวุฒิคุณท่านจะได้ “ละสังขาร” สู่บรมสุขไปแล้วก็ตาม

    ปัจจุบัน สรีระขันธ์ที่ท่านทิ้งไว้คู่กับโลก เมื่ออายุได้ ๑๐๑ ปี ก็ยังคงนอนนิ่งสงบอย่างสง่าภายในโลงแก้วที่วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เหมือนหนึ่งท่านเพียงแค่ “จำวัด” หลับไปเท่านั้น

    วันมรณภาพเป็นอย่างใด ในวันนี้สรีระแห่งท่านก็ยังคงเป็นอย่างนั้น ต่างไปเพียงแค่มีการ “ปิดทอง” จนเหลืออร่ามตามประเพณีล้านนาแต่เพียงอย่างเดียว และที่นั้น ก็ยังมี “วัตถุมงคล” ที่หลวงปู่ครูบาอินท่านเสกทิ้งทวนไว้อย่างดีที่สุด ตกค้างอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จไจยะเบงชร, เหรียญยืน, ประคำ, ตะกรุด, ผ้ายันต์ ฯลฯ

    รับรองว่า คุณภาพแห่งพุทธคุณที่หลวงปู่ครูบาอินท่านฝากไว้ในเครื่องมงคลทุกอย่างนั้น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระเครื่องของอดีตพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ราคาแพงๆ เป็นแสนเป็นล้านอย่างแน่แท้ เพราะมี “อาจารย์” ศิษย์สายเจ้าคุณนรรัตน์ฯ, หลวงปู่เทสก์ ที่มีสมาธิจิตสูงเคยลองสัมผัสพลังพระของครูบาอินแล้ว ก็แทบจะถึงแก่การอึ้งพร้อมกับอุทานขึ้นมาเลยทีเดียวว่า “นี่พระของใครนี่...ทำไมพลังจึงแรงกล้าในระดับเดียวกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำ ทะเลจืด ซึ่งไม่น่าจะมีใครเสมอเหมือนได้อีกเล่า.???”

    สวัสดี

    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท



    .............................................................

    คัดลอกมาจาก ::
    คอลัมน์ “มงคลศักดิ์สิทธิ์” โดย เนาว์ นรญาณ,
    ศักดิ์สิทธิ์ ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๕๗๘-ฉบับที่ ๕๙๐ พ.ศ.๒๕๕๐
     
  12. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    วันนี้ร่วมทำบุญ 240 บาทครับ มีคุณพ่อ และคุณแม่ร่วมทำบุญด้วยครับ และก็อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. KM_velazquez

    KM_velazquez เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +693
    วันนี้เวลา 18.54
    ผมนายกิตตพศ เมธาสถิตย์สุขและครอบครัว
    ร่วมทำบุญสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ จำนวน 400 บาท ครับ

    โอนจากไทยพาณิชย์ SCB EasyNET
    บัญชีผู้โอนเงิน
    เลขที่บัญชี XXXX575176
    บัญชีผู้รับเงิน
    เลขที่บัญชี - ชื่อเรียกบัญชี 3481232459 - ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    ชื่อบัญชี PRATOM F.
    ธนาคารผู้รับโอน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    วิธีการโอนเงิน โอนแบบทันที
    จำนวนเงินที่ต้องการโอน 400.00 บาท
    ค่าธรรมเนียม 25.00 บาท


    ขออนุโมทนาบุญครับ
     
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2009
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ...มหานิยม...


    [​IMG]


    มนุษย์มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง
    ที่หาไม่ได้ในบรรดาสัตว์ที่มีชีวิตด้วยกัน สิ่งนั้นคือ “ยิ้ม”
    สัตว์โลกทุกชนิดที่ยกย่องว่ากันว่า
    เป็นสัตว์ฉลาดและฝึกหัดได้นานัปการ แต่ฝึกให้”ยิ้ม”ไม่ได้
    ยิ้มของคนซื้อขายไม่ได้
    ยิ้มเป็นเครื่องดึงดูดให้คนเข้าใกล้โดยปรศจากความระแวง
    ยิ้มสามารถเป็นเกราะป้องกันภัยให้แก่ตนเองได้ด้วย
    แต่ต้องเป็นยิ้มตามปกติ มิใช่ยิ้มอย่างละคร ลิเก ที่โปรยยิ้มไปรอบเวที
    เพราะนั่นเป็นยิ้มที่แต่งขึ้น ยิ้มแท้ต้องเป็นยิ้มที่เกิดจากใจจริง
    มีลักษณะเบิกบาน เยือกเย็น เป็นเครื่องดับและบรรเทาทุกข์ร้อนได้
    ทำให้ผู้ยิ้มเป็นคนมีสติยั้งคิด ไม่ผลุนผลัน
    ฝ่ายหนึ่งหน้าบึ้งมาหาอีกฝ่ายหนึ่งยิ้มรับ เหตุร้ายย่อมกลายเป็นดี
    โบราณท่านจึงให้ยิ้มไว้ก่อนเสมอ ยิ้มได้เมื่อภัยมา
    ย่อมช่วยให้เกิดสติ ไม่ตื่นเต้นวู่วาม ในเหตุอันใดที่เกิดขึ้น
    ยิ้มจึงส่งเสริมให้เป็นคนมีสติ
    ตรงข้ามกับความโกรธซึ่งทำให้ขาดสติ ไร้ความยั้งคิด
    ยิ้มไม่ต้องลงทุนซื้อหา มีอยู่แล้วประจำตัวทุกคน เหมือนมีอาวุธในตัว
    ต้องหมั่นชโลมน้ำมันกันสนิมไว้
    อย่าปล่อยให้สนิมจับจนฝืดไม่คล่องแคล่วทันท่วงที
    คนที่ยิ้มยาก เพราะไม่เคยยิ้ม ถึงคราวยิ้มย่อมยิ้มไม่ออก
    จึงควรต้องหัดยิ้มไว้เสมอๆ
    “ยิ้มได้และยิ้มเป็นจะช่วยให้ปลอดภัยและสบายใจ”



    คัดลอกจาก...๕๐ คติธรรมจากแสงธรรม
    โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อุฏฐายี)
    สมเด็จพระสังฆราช (องค์ที่ ๑๖)
     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2009
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    นำลงมาให้ัอ่านกัน เห็นประวัติท่านน่าสนใจดี
    [​IMG]

    ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า (พระเจษฎา โชติปัญโญ ต้นบุญแห่งเมืองพะเยา ประธานอุปถัมภ์วัดเกษศรี)


    ประวัติครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า (พระเจษฎา โชติปญฺโญ)

    ชาติกำเนิด

    ณ บ้านต๊ำน้ำล้อม ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสามีภรรยาคู่หนึ่งคือนายหน้อยแหน้น และนางบัวเขียว ใจลา ประกอบอาชีพทำนาและมีฐานะยากจนมาก ได้อยู่กินกันมาจนมีลูกสาว ๑ คน แต่เวลาผ่านไป ๑๐ ปียังไม่มีวี่แววว่าจะได้ลูกชายสักคน แม้ว่าจะมีการตั้งครรภ์ใหม่ก็มีเหตุต้องลงเลือดหรือแท้งไปถึง ๓ ครั้ง แต่ก็สังเกตดูว่าเป็นเด็กผู้ชายทุกครั้ง จึงได้ไปอธิษฐานกับองค์พระเจ้าตนหลวง ณ วัดศรีโคมคำ พระคู่บ้านคู่เมืองพะเยา ในคืนวันแปดเป็ง (วิสาขบูชา) พอตกกลางคืนนางบัวเขียวก็นิมิตว่า มีพญานาคตัวใหญ่ตัวหนึ่งเลื้อยออกมาจากใต้ฐานองค์พระเจ้าตนหลวง แล้วนำลูกแก้วลูกหนึ่งสวยงามแพรวพราวระยิบระยับ มีประกายงดงามประมาณค่ามิได้ ดุจดั่งลูกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิราชหรือลูกแก้ววิเศษของมหาเทพเบื้องบน โดยพญานาคนั้นได้คาบลูกแก้ววิเศษมาคายไว้ที่อุ้งมือขวานางบัวเขียวพร้อมกับ กลิ่นหอมตลบอบอวนดั่งดอกไม้ในสวรรค์ หลังจากนั้นไม่นานนางบัวเขียวก็ตั้งท้องลูกคนที่ ๒ มีความรู้สึกอยากไปวัดไปวามากกว่าเดิม ชอบนั่งสวดมนต์ ทำสมาธิ เจริญภาวนาและทานมังสวิรัติประจำ ไม่อยากทานเนื้อสัตว์ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จนถึงเวลาที่คลอดกุมารน้อยตรงกับวันอังคาร ที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘ เวลา ๑๖.๐๙ น. ขณะนั้นฝนตกกระหน่ำครั้งใหญ่ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ดังกึกก้องปานว่าฟ้าจะถล่มแผ่นดินจะทลาย แผ่นดินไหว สั่นสะเทือนไปทั่ว เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าที่ต้นไม้บริเวณข้างบ้านและแผ่นดินไหวจำนวน ๓ ครั้ง ในเวลาไล่เลี่ยกันไม่กี่นาทีก็เป็นเวลาที่กุมารน้อยคลอดออกมาจากครรภ์นางบัว เขียวผู้เป็นมารดา การเกิดของกุมารน้อยนี้น่าอัศจรรย์คือ นำเท้าออกมาก่อน พอเท้าออกมาถึงเข่า แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านครั้งที่ ๑ พอลำตัวออกมาถึงบริเวณหน้าอก แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านต้นเดิมครั้งที่ ๒ พอถึงเวลานำศีรษะออกมาแล้วนั้น แผ่นดินไหวและฟ้าผ่าต้นไม้ข้างบ้านต้นเดิมครั้งที่ ๓ แต่ฝนก็ยังตกกระหน่ำไม่หยุดจนคลอดทารกน้อยเสร็จเรียบร้อย สร้างความแปลกประหลาดใจให้กับหมอตำแยและญาติพี่น้องของผู้เป็นพ่อและแม่ราว ๒๗ หลังคาเรือนหรือประมาณ ๓๕ คน กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับปรากฏการณ์อัศจรรย์การให้กำเนิดกุมารน้อยนี้มีอยู่ ๙ ประการคือ
    ๑. คืนวันวิสาขบูชาก่อนที่จะปฏิสนธิในครรภ์ หลังจากอธิษฐานขอพรจากพระเจ้าตนหลวง นางบัวเขียวผู้เป็นมารดานิมิตว่า มีพญานาคตัวใหญ่เท่าต้นตาลเลื้อยออกมาจากใต้ฐานพระเจ้าตนหลวง แล้วคาบลูกแก้วอันงดงามรัศมีเปล่งปลั่งมากนักมาคายไว้ที่มือขวานางบัวเขียว พร้อมกลิ่นหอมตลบอบอวล และจะฝันซ้ำ ๆ กันทุกวันพระ
    ๒. ขณะกำเนิดนั้นกุมารน้อยเอาเท้าออกก่อนไม่เหมือนทารกอื่น
    ๓. บริเวณศีรษะมีเมือกบาง ๆ คล้ายกับหมวกอยู่ (เป็นวุ้นสีเขียวคล้ำใส ๆ)
    ๔. หลังจากล้างตัวและศีรษะแล้วที่ผมบาง ๆ ของกุมารน้อยมีคล้ายกับทองคำเปลวบาง ๆ ระยิบระยับติดอยู่เต็มไปหมด
    ๕. ขณะที่คลอดกุมารน้อยนั้นมีกลิ่นหอมมากดุจดั่งดอกไม้สวรรค์ไปทั่ว
    ๖. มีสายแห่หรือสายรกพันบริเวณคอของกุมารน้อย ๓ รอบคล้ายกับงูพันพระศอองค์พระศิวะเจ้า
    ๗. กุมารน้อยไม่ร้องไห้เหมือนทารกอื่น (หมอตำแยต้องตีก้นหลายครั้งเกรงว่าจะเป็นใบ้)
    ๘. เมื่อตัดสายรกสายสะดือแล้ว ปรากฏว่ามีลูกแก้วเม็ดเล็ก ๆ (ทางเหนือเรียกว่า คตแก้ว หรือแก้วโป่งข่าม ) อยู่บริเวณสายรกห่างจากสะดือของกุมารน้อย ๑ คืบ
    ๙. ขณะคลอดกุมารน้อยนั้นมีฝนตกหนัก ฟ้าผ่าต้นไม้ต้นเดิมและแผ่นดินไหวถึง ๓ ครั้ง (ฟ้าผ่าและแผ่นดินไหวพร้อมกัน)

    ในค่ำคืนนั้นหลังจากกุมารน้อยได้กำเนิดขึ้นมาได้ ๑ คืน ผู้เป็นบิดาคือนายแหน้น นิมิตว่า มี พ่อค้า นักธุรกิจ ต่าง ๆ ทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ต่างชาติ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง แต่ละท่านมียศสูง ๆ และร่ำรวยทั้งนั้น ต่างก็พากันล้อมกราบไหว้ลูกแก้ววิเศษ ซึ่งเมื่อมองดูด้านในของลูกแก้ววิเศษจะมีภาพพระพุทธรูปและครูบาเจ้าศรีวิชัย อยู่ภายใน โดยผู้คนเหล่านั้นที่มากราบไหว้ต่างก็มาพึ่งพาบุญบารมีของลูกแก้ววิเศษเพราะ เชื่อว่าลูกแก้ววิเศษนั้นสามารถสร้างอานิสงส์ให้เขาเหล่านั้นร่ำรวย รุ่งเรือง มีฐานะดี โชคดียิ่งขึ้น และพ้นจากโรคภัยต่าง ๆ แล้วก็ตกใจตื่น หลังจากนั้นได้พิจารณาความฝันว่า “เอ แปลกนะ ต่อไปข้างหน้าลูกของเราจะต้องเป็นที่พึ่งพาของคนระดับต่าง ๆ พ่อค้า ประชาชน นักธุรกิจ ทหาร ตำรวจ ที่มียศสูง ๆ แน่นอน ประกอบกับคนที่ยังไม่รวยถ้าทำบุญบารมี ร่วมกันก็จะรวยยิ่งขึ้น”

    คำพยากรณ์ครั้งแรก

    เมื่อเวลาผ่านไป ๓ วัน ข่าวดังกล่าวทราบถึงครูบาเจ้าอินโต วัดบุญยืน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพะเยา ได้เดินทางไปที่บ้านของกุมารน้อย พอไปถึงบ้านก็เอ่ยขึ้นทักพ่ออุ้ยปัน ผู้เป็นตาของกุมารน้อยว่า “ พ่ออุ้ยปัน มีหน่ออริยโพธิสัตว์มาเกิดแล้วเน้อ ชาติสุดท้ายของเปิ้นแล้ว เลี้ยงไว้ดี ๆ เจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา มาเกิดแล้ว ต่อไปปายหน้าเปิ้น จะก้ำจูสาสะนา (ศาสนา) โผด (โปรด) คนหื้ออยู่ดีมีสุข มีทรัพย์สมบัติมากนัก (อริยทรัพย์ ๗ ประการ) คนตังหลายที่มีบารมีร่วมเปิ้นก็จะมี ทรัพย์สมบัติมากนักเช่นกัน“ พร้อมกันนั้นครูบาเจ้าอินโต ก็ค่อย ๆ ผูกข้อมือรับขวัญทารกน้อยและทำนายไว้ว่า “กุมารน้อยผู้นี้ เป็นผู้มีบุญหนัก ศักดิ์ใหญ่กลับชาติมาเกิด เป็นขวัญปากครูบาเจ้าพระอริยะต๋นบุญล้านนา (ขวัญสัจจะวาจาศักดิ์สิทธิ์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย) นำแก้วคู่บารมีมาโผด (โปรด) คนตังหลายต่อไปข้างหน้า เด็กน้อยผู้นี้จะเป็นกำลังของพระพุทธศาสนาที่สำคัญคนหนึ่งและสามารถที่จะ โปรดมวลมนุษย์ให้พ้นทุกข์ มีความสุข ความร่ำรวยด้วยลูกแก้วนี้ และวาจาสิทธิ์ของกุมารน้อย ซึ่งก็ถือว่าเป็นชาติสุดท้ายของกุมารน้อยผู้นี้ก็ว่าได้” พร้อมกับตั้งชื่อให้ไว้ว่า “หน่อแก้วฟ้าไจยา” หมายถึง "แก้วมณีมงคลแห่งชัยชนะที่ฟ้าหรือสรวงสวรรค์ประทานมาเพื่อความสุขความเจริญ ร่ำรวย" และครูบาเจ้าอินโตยังตั้งอีกชื่อหนึ่งให้ว่า “เจ้าอริยทรัพย์” หมายถึง "ผู้มีทรัพย์มากมีทั้งทรัพย์สมบัติภายในและทรัพย์สมบัติภายนอก" นอกจากนั้นแล้วครูบาเจ้าอินโตยังได้เน้นกับพ่ออุ้ยปันและญาติพี่น้องทุกคน ว่า “บารมีนี้มีเฉพาะผู้ที่มาจากอดีตชาติที่ได้พึ่งพาบารมีซึ่งกันและกัน ดังนั้นการทดสอบจิตของเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา เช่นการลองขอความช่วยเหลือจากแต่ละบุคคลว่าเป็นเช่นไร เคยบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติร่วมกันหรือไม่ หรือถ้าผู้ใดให้ความเชื่อถือและช่วยเหลือเต็มที่กับเจ้าหน่อแก้วฟ้า ผู้นั้นคือผู้ที่มาจากอดีตชาติ เป็นผู้มีทรัพย์ทิพย์จากอดีตที่คอยช่วยเหลือกันมาก่อน เพราะถือว่าช่วยเหลือในชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยาแล้ว บุคคลผู้นั้นและครอบครัวของเขาก็จะเจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้นไป หน้าที่กิจการงานก็จะเจริญรุ่งเรือง เป็นผู้มีโชคชัยตลอด โรคภัยไข้เจ็บก็จักไม่เบียดเบียน โรคกรรมโรคเวรก็ย่อมเบาบางลง โดยเฉพาะผู้ให้ยานพาหนะและผู้ให้ทรัพย์เงินทองในการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกับ เจ้าหน่อแก้วฟ้าผู้นั้นไม่อดอยาก และคล่องตัวในกิจการงานต่างๆ มีแต่ได้กับได้อย่างเดียวเท่านั้น”

    ชีวิตวัยเยาว์

    แต่ภายหลังทางอำเภอให้ใช้ชื่อในใบทะเบียนบ้านว่า "เจษฎา" เพราะชื่อ หน่อแก้วฟ้าไจยา เป็นชื่อค่อนข้างโบราณและยาวเกินไป พร้อมกันนั้นอีก ๗ วัน ครูบาศรี วัดร่องไฮ ต.บ้านใหม่ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของพะเยาอีกรูปหนึ่ง ได้มาเยี่ยมและรับขวัญเป็นลูกบุญธรรมอีกคนหนึ่ง ก็ทำนายไว้เช่นเดียวกันกับครูบาเจ้าอินโต ว่า “กุมารน้อยผู้นี้เกิดมาชดใช้กรรมเก่าก่อน ต่อไปจะถูกใส่ความ ถูกกล่าวหาว่าร้ายต่าง ๆ นานา จากเจ้ากรรมนายเวรจากอดีตชาติมาในคราบผ้าเหลืองและชาวบ้าน ซึ่งเป็นญาติของพญาสวัสดิมาร จะมาทำลายความเพียร ความดี และบารมีเก่า แต่หากกุมารน้อยผ่านบททดสอบบารมีด้วยจิตใจอันแน่วแน่ได้ เจ้ากรรมนายเวร (ผู้ใส่ร้ายป้ายสี ดูถูกดูหมิ่น) ตลอดจนมารเหล่านั้นก็จะแพ้ภัยตนเอง ฉิบหายต่าง ๆ นานาประการ ตกนรกขุมอเวจี เพราะกุมารน้อยผู้นี้เกิดมาถือว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว จะเป็นผู้ที่ให้พรคนทั้งหลายให้เจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะพ่อค้าแม่ขาย นักธุรกิจระดับต่าง ๆ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ระดับต่าง ๆ คนทุกชนชั้น เพราะกุมารน้อยผู้นี้จะเป็นผู้มีสัจจะวาจาสิทธิ์”

    จากสาเหตุนี้ทำให้พ่ออุ้ยปัน รักและทะนุถนอมเจ้าหน่อแก้วฟ้าเสมือน "ไข่ในหิน" โดยไม่ให้ใครแม้กระทั่งญาติพี่น้องมาเล่นด้วย หรือถูกเนื้อถูกตัวเพราะทราบดีว่าเป็นเด็กที่มีความพิเศษไม่เหมือนเด็กทั่ว ไป เดี๋ยวจะมีรอยราคิน รอยด่างพร้อย ส่วนฝ่ายบิดาและมารดาไม่อยากจะให้บวชเรียนเพราะทางบ้านมีฐานะยากจนและกลัวจะ ไม่ได้พึ่งแรง จึงไม่ค่อยอนุญาตให้เจ้าหน่อแก้วฟ้าไปไหว้พระที่วัดในหมู่บ้านเท่าไหร่ และก็กลัวว่าเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะไปจำบทสวดมนต์ของพระสงฆ์ แต่ก็ไม่วายเมื่อมีงานศพหรืองานทำบุญบ้านใหม่ในหมู่บ้าน เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะไปดูพระสงฆ์เวลาให้ศีล ให้พร แล้วกลับมาฝึกสวดไปเรื่อย ๆ ตามประสาเด็ก นอกจากนั้นแล้วยังนำวี (พัด) ที่เขานำมาพัดข้าวเปลือกหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นำมาสวดมนต์ให้ศีลให้พรแล้วบอกว่าตนเองเป็นพระครูบาเจ้ามาเกิด เมื่อก่อนก็สวดมนต์อย่างนี้ปฏิบัติธรรมอย่างนี้

    โดยเล่าประวัติของตนเองเป็นเรื่องเป็นราวว่าตนคือครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเกิด (จากการบอกเล่าของชาวบ้านญาติพี่น้อง ขณะนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้าอายุ ๔ ขวบ) ไฟฟ้าก็ยังไม่เข้าในหมู่บ้าน การสื่อสารต่าง ๆ ก็ยังไม่ถึง หนังสือก็ไม่มีให้อ่าน ทีวีไม่มีให้ดู หนังสือก็ยังไม่ทันได้เรียน แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าพูดเป็นเรื่องเป็นราวเหมือนดั่งเทวดาสอนให้พูดอย่างนั้น จนครั้งหนึ่งน้าไก่ซึ่งเป็นญาติของเจ้าหน่อแก้วฟ้าซึ่งเดินทางมาจากประเทศ สิงคโปร์ ก็แปลกใจว่าเด็กน้อยนี้พูดอะไรแปลก ๆ จะเป็นจริงหรือ เลยตัดสินใจพาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปที่วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นวัดของครูบาเจ้าศรีวิชัย และเป็นสถานที่ที่ เจ้าหน่อแก้วฟ้าพูดถึงบ่อย ๆ เมื่อเดินทางมาถึงเจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่รีรอ รีบลงรถแล้วก็ทำตัวเองเหมือนดั่งไกด์นำเที่ยว บอกสถานที่ต่าง ๆ ได้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นสถานที่ป่วย หรือเดินจงกรม ฯลฯ และทักทาย เรียกชื่อ ผู้เฒ่าผู้แก่ ที่มาต้อนรับในวันนั้นได้ถูกต้อง โดยไม่รู้จักกันมาก่อน สร้างความ ประหลาดใจให้ญาติทั้งหลายยิ่งนัก และย้ำบ่อย ๆว่า “เราจะไม่เกิดอีกแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย”

    เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ ก็ได้เกิดวิบากกรรมมาตัดรอน โดยเจ้าหน่อแก้วฟ้าถูกรถมอเตอร์ไซค์ชนจนขาซ้ายหัก ซึ่งเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะไม่มีเงินที่จะไปรักษาจากโรงพยาบาล ต้องใช้เวลานอนรักษาตัวแบบโบราณ ๗ เดือน ช่วงที่นอนรักษาตัวและฟักฟื้นก็ได้ร่ำเรียนวิชาอักษรล้านนา ตั๋วเมืองและคาถาอาคมเบื้องต้นจากพ่ออุ้ยปัน บัวเงิน ผู้เป็นตาและท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย จนเจ้าหน่อแก้วฟ้าอ่านออกเขียนได้เป็นพื้นฐาน หลังจากนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้าได้เข้าศึกษาเล่าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ขณะนั้นอายุได้ ๗ ปี เวลาผ่านไปพออายุได้ ๘ ปี ช่วงที่ไปเรียนหนังสือหลังจากเลิกเรียนแล้ว เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะไปนั่งสมาธิบริเวณป่าช้าหน้าโรงเรียนหรือวัดเก่าแก่ บริเวณหัวนาที่มีซากปรักหักพังเพราะร่มเย็นและมีสมาธิดี นอกจากนั้นเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังชอบปั้นพระพุทธรูปองค์เล็กองค์ใหญ่ แล้วชักชวนเพื่อน ๆ ไปไหว้และนั่งสมาธิ จากเหตุดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้เพื่อนไม่ค่อยจะเล่นด้วยเพราะชอบอยู่กับ ป่าช้าและวัดเก่า ซึ่งคนทั่วไปไม่นิยมกัน และยังถูกกล่าวหาต่างๆ ว่าผีบ้าบ้าง ไม่เต็มบาทบ้าง หรือป่วยเป็นโรคจิตบ้าง ฯลฯ

    ต่อมาเจ้าหน่อแก้วฟ้ามีโอกาสพบพระธุดงค์รูปหนึ่งที่ป่าช้า ท่านนุ่งห่มจีวรสีกรักดำ อายุประมาณ ๗๐ กว่าปี หลังค่อมตัวเล็ก ท่านเมตตาสอนธรรมและวิธีการปฏิบัติธรรมให้ จนในที่สุดเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ชอบในการนั่งสมาธิภาวนามาตั้งแต่นั้น จนความทราบถึงผู้เป็นบิดาต้องดุด่าว่ากล่าวว่า “ทำไมทำตัวไม่เหมือนคนอื่นเขา ชอบไปแต่ป่าช้าและวัดเก่าแก่ คราวหลังถ้าไปอีกจะตีให้เจ็บตัวแน่” ด้วยฐานะทางบ้านยากจนมากแทบจะไม่มีอะไรจะกิน จำเป็นต้องทำมาหากินทุกอย่างโดยพี่สาวและพี่เขยต้องช่วยกันออกไปหาปลาหานก และพาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปด้วย แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะแอบปล่อยปลา และนกที่พี่สาวพี่เขยหามาได้เป็นประจำ จนถูกผู้เป็นบิดาดุด่าว่ากล่าวหลายครั้งหลายหน โดยครั้งสุดท้ายเจ้าหน่อแก้วฟ้าน้อยใจหนีออกจากบ้านไปพักบ้านญาติ นอกจากนั้นแล้วผู้เป็นบิดาชอบบังคับให้เจ้าหน่อแก้วฟ้ากินอาหารที่เป็นส่วน ของสัตว์ต่าง ๆ แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่ชอบเลยต้องกินข้าวพร้อมกับน้ำตาและรีบออกไปอาเจียน หลังบ้าน

    เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

    พอจบชั้น ป.๖ ก็มีจิตคิดที่บวชทดแทนคุณบิดามารดา ซึ่งฝ่ายบิดามารดาไม่อยากจะให้บวชเพราะกลัวเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะไม่ยอมสึกในภาย หลัง แต่เจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ได้บวชจนได้โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ เนื่องจากพ่ออุ้ยนวล ทำดี (พี่ชายของยายและเป็นลูกศิษย์ครูบาเจ้าศรีวิชัยอีกคนหนึ่ง) ได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๑ เจ้าหน่อแก้วฟ้าจึงได้ขอทดแทนคุณ คือบวชจูงศพ แล้วก็ไม่คิดจะสึก แต่ทางบิดามารดาและญาติพี่น้อง ได้ขอให้เจ้าหน่อแก้วฟ้าสึกและมาบวชเณรตามประเพณีแบบเบ้าโบราณ จึงได้สึก ๑ วันแล้วทำพิธีขวัญนาคและบรรพชาเป็นสามเณร ในวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๑ โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม (ลูกศิษย์ครูบาแก้ว วัดปงสนุกใต้ จังหวัดลำปาง) เป็นพระอุปัชฌาย์ และเริ่มต้นร่ำเรียนนักธรรมชั้นตรี โท เอก และวิปัสสนากัมมัฏฐานจากครูบาอาจารย์ที่มีหลายท่าน เช่น

    หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระบาทเขารวก จ.พิจิตร
    หลวงปู่ดาบส สุมโน จ.เชียงราย
    ครูบาเจ้าปู่นริศ นรินฺโท ลานธรรมบารมีศรีปทุมแสงธรรมหนอ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา สอนการปฏิบัติธรรมภาวนาชั้นสูง และคาถาอาคมต่าง ๆ จนหมดความรู้
    ครูบาศรี วัดร่องไฮ บ้านใหม่ จ.พะเยา สอนอักขรภาษาล้านนา และคาถายันต์ต่าง ๆ
    หลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดี สุภทฺโท วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ สอนคาถาอาคมและการปฏิบัติสมาธิ
    หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ จ.เชียงใหม่ สอนคาถาอาคมและการใช้ทิพยญาณ การปฏิบัติธรรมชั้นสูง
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
    ครูบาเจ้ากลิ่นกู้ วัดข่วงเป่าชัย จ.ลำปาง สอนการนั่งทางใน
    ครูบาคำผาย วัดพระธาตุจอมไคร้ จ.พะเยา
    ครูบาเจ้าพรหมจักร จ.ลำพูน สอนการปฏิบัติสมาธิภาวนา และคาถาหลายอย่าง
    ครูบาเจ้าชัยยะวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน สอนคาถาเรียกทรัพย์ เรียกเงิน
    ครูบาเจ้าคำอ้าย วัดทุ่งพร้าว อ.ดอกคำใต้ สอนคาถาอาคมต่าง ๆ
    ครูบาเจ้าน้อย วัดต๋อมใต้ จ.พะเยา สอนการปฏิบัติธรรมและคาถาอาคม
    ครูบาเจ้าเกษม เขมโก จ.ลำปาง สอนธรรมะเบื้องต้น
    ครูบาอ่อน วัดสนต้นหวีด จ.พะเยา
    หลวงปู่ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี สอนการปฏิบัติสายมโนมยิทธิ
    หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม สอนคาถาคงกระพัน และค้าขายดี
    ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสํวโร ประเทศพม่า สอนการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน
    ครูบาเจ้ามนตรี ธมฺมเมธี วัดพระธาตุสุโทน จ.แพร่ มีเมตตาสอนธรรมะ
    หลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต วัดป่าคูณคำวิปัสสนา จ.สกลนคร มีเมตตาถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติภาวนา และคาถาอาคมต่างๆ จนหมดซึ่งท่านหลวงปู่ขาวบอกว่า "หมดแล้ว"
    หลวงปู่ดำ เขมโร วัดพระบาทเขาหินซ้อน จ.ฉะเชิงเทรา สอนการอธิษฐานจิตภาวนาให้สำเร็จ
    ครูบาแสงหล้า ประเทศสหภาพพม่า
    ครูบาเหนือชัย โฆสิโต (ขี่ม้าบิณฑบาตร) วัดถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย

    คำพยากรณ์จากครูบาอาจารย์

    ขณะที่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ได้รับความอนุเคราะห์เมตตาสั่งสอน อบรมธรรม วิธีการปฏิบัติกัมมัฎฐานแต่ละรูปแบบ และถูกทดสอบภูมิธรรมมาเรื่อย ๆ นอกจากนั้นแล้วพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่มีญาณบารมีธรรมสูงได้กล่าวทำนาย เหตุการณ์ล่วงหน้าให้สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าตรงกัน ๕ รูป คือ หลวงปู่ดาบส สุมโน หลวงปู่โง่น โสรโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ฤาษีลิง และครูบาเจ้าดวงดี สุภัทโท ไว้ว่า "สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้านี้ หากแม้นว่าไม่ต่ออายุไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จักมีอายุในธาตุขันธ์ (กายเนื้อ) จวบจนอายุได้ ๓๕ ปีก็ละจะสังขาร เพราะว่าเป็นชาติสุดท้ายของท่านแล้ว แต่สำหรับสานุศิษย์ที่ต้องการพึ่งบุญบารมีและเคารพศรัทธาในวัตรปฏิบัติของ ท่านแล้วไซร้ ก็จงอาราธนานิมนต์ให้ท่านอยู่ได้ปีต่อปี โดยให้จัดทำกฐินอานิสงส์ให้ท่านคิดเป็นเงินกหาปนะ ๒ กหาปนะครึ่ง (คิดเป็นเงินปัจจุบันประมาณ ๓๙๙ บาท) ต่อการต่ออายุ ๑ วัน ผู้ใดทำบุญต่ออายุให้ท่านได้แต่ละปีนั้น จักได้อานิสงส์อันยิ่งใหญ่ จะมีความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน การเงิน มีอายุมั่นยืนยาว สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ แคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง มีความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีไม่อดกลั้นอดอยาก"

    แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งก็คือสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะต้อง "เข้ากรรม" (ศิษย์มักจะเรียกว่า "นิโรธกรรม") ถือว่าเป็นการต่ออายุธาตุขันธ์ และเป็นการต่ออายุให้พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป เพราะสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพุทธบริษัทที่จะต้องพัฒนาและนำพาพระพุทธศาสนาที่เริ่มต้น จากรากหญ้าให้เป็นรากแก้วที่แข็งแกร่ง เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองด้วยศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล ศาสนพิธี และศาสนธรรม เป็นหลักชัยของชาวพุทธผู้มีปัญญา ให้มีขวัญมีกำลังใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาดีแล้วตั้งแต่ในอดีต ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองคู่กับประเทศไทยและโลกทั้ง ๓ หรือหมื่นโลกธาตุตลอดกาลนาน

    บารมีธรรมบังเกิด

    จากความรู้ที่ครูบาอาจารย์เจ้าเมตตาสั่งสอนและชี้แนะมานี้ทำให้สามเณรเจ้า หน่อแก้วฟ้าสามารถปฏิบัติธรรมได้ในระดับที่ดีขึ้นตามลำดับและสามารถฝ่าฟัน อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมได้อย่างง่ายดาย ทำให้ท่านสามารถเริ่มสร้างบารมีธรรมตั้งแต่เป็นสามเณรน้อย ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านหลายต่อหลายคนที่พบปาฏิหาริย์ เช่น เรื่องการย่นระยะทาง ซึ่งหากเป็นการเดินทางไปจังหวัดเชียงรายโดยทั่วไปแล้วจากพะเยา-เชียงราย วิ่งรถปกติจะใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึงตัวเมืองเชียงราย มีอยู่วันหนึ่งออกจากพะเยาสายไปหน่อยเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. ต้องรีบไปงานมงคลที่ตัวเมืองเชียงราย ขณะนั้นเมื่อถึงทางตรงบริเวณ อ.แม่ใจ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็บอกให้โชว์เฟอร์ขับรถช้าหน่อยแล้วหลับตาสักครู่ ปรากฏว่า สร้างความแปลกประหลาดใจให้โชว์เฟอร์ยิ่งนักเพราะรถนั้นวิ่งมาถึงบริเวณห้า แยกพ่อขุนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือว่าใช้เวลาแค่ครึ่งชั่วโมงกว่าทันเวลาที่ทำพิธีมงคลที่บ้านญาติธรรม จ.เชียงราย

    นอกจากนั้นแล้วเมื่อคราวสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าอายุ ๑๕ ปี เคยอธิษฐานจิตอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุให้เสด็จต่อหน้าสาธุชนเกือบร้อยคน ณ วัดเก่ากลางทุ่งนา สร้างปรากฏการณ์มหัศจรรย์ให้แก่ผู้พบเห็น และมีคนพบเห็นบ่อยครั้งกับการที่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าไปไหนมาไหนรวดเร็วมาก เช่นการเดินจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งได้เร็วเกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะทำได้ จนชาวบ้านลือว่าสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าล่องหนได้ นอกจากนั้นแล้วสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังเคยทักเกี่ยวกับเรื่องลางสังหรณ์ได้ อย่างแม่นยำ เช่น บอกว่าอีกไม่กี่นาทีรถจะชนคนนั้นคนนี้ก็เป็นจริงตามนั้น เรื่องการบิณฑบาตรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราะมีคนหลายคนเห็นว่าท่านบิณฑบาต พร้อม ๆ กันหลายที่คล้ายกับแยกร่างได้ แต่หากมีคนถามว่าท่านใช้ฤทธิ์หรือแยกร่างได้ใช่ไหม สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะตอบบ่ายเบี่ยงว่า “เข้าใจผิดมั้ง ถ้าแยกร่างได้จริงเราจะแยกร่างสร้างวัดช่วยกันหิ้วปูนสร้างวัดให้เสร็จละสิ แล้วหัวเราะ” มีคนเห็นท่านเวลาอยู่ในวัดหรือเดินทางไปไหนเดี๋ยวก็หนุ่มเดี๋ยวก็แก่ สร้างความแปลกประหลาดใจยิ่งนัก มักมีคนมาถามว่าหลวงตาแก่ ๆ เมื่อกี้ไปไหนเสียล่ะ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะตอบว่า “หลวงตาหรือ อ้อไปแล้ว”

    การทำพิธีกรรมล้านนาต่าง ๆ ของสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้า เช่น เสริมสิริมงคล พลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน ยันต์ดวงตาลปัตร พลิกดวง เสริมบารมี บูชาเทียน ๙ หน้า ๙ บารมี เทียนหนุนดวง ค้ำชะตา ให้กับพ่อค้าแม่ขาย นักธุรกิจ นักการเมือง ประชาชน ทหาร ตำรวจ ถ้าไม่ติดขัดกับวิบากกรรมเก่าของเขาเองก็จะสำเร็จตามนั้น จนเป็นที่กล่าวขาน แต่หากมีใครมาถามว่าวัตถุมงคลหรือยันต์ของสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าดีจริงหรือ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ตอบว่า "แล้วแต่บุญบารมีและศีลของแต่ละบุคคลห้ามงมงาย ถ้าทำดีก็ดี มีศีลพร้อมปฏิบัติตามหลักธรรมก็ย่อมได้ดีแน่นอน" สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามักจะพูดหลีกเลี่ยงแบบนี้เสมอและมักจะเก็บตัว ไม่ค่อยอยากจะให้ใครมาหามากมายเพราะไม่มีเวลาได้ ปฏิบัติธรรมในสมัยนั้น

    ออกธุดงค์ครั้งแรก

    หลังจากนั้นก็ขอลาบิดามารดาออกธุดงค์เพียงลำพังรูปเดียว แต่ปรากฏว่าทางบิดามารดาและญาติไม่ยอม สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าเลยตัดสินใจหนีออกธุดงค์ตั้งแต่เป็นเณรอายุ ๑๖ ปี ธุดงค์ตั้งแต่พะเยา เชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน แล้วก็หลงทางป่าเพราะยังไม่ชำนาญเส้นทาง แต่ก็ได้พบเจอครูบาอาจารย์สายวิปัสสนาหลายรูปไม่ว่าจะเป็นรูปที่ยังดำรง ขันธ์หรือดับขันธ์ไปแล้ว ตลอดจจนสิงสาราสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ผีพราย เปรต คนธรรม์ พญานาค ยักษ์ ชาวบังบด แม้กระทั่งหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ฯลฯ ก็เจอมาหมดแล้ว ไม่มีอะไรฉันบางครั้งก็ต้องฉัน ใบไม้แทน บางครั้งเทวดาสงสารก็ลงมาใส่บาตรบ้าง เดินทางด้วยเท้าเปล่าไปเรื่อย ๆ จนไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน มีอยู่วันหนึ่งเป็นไข้มาลาเรียอ่อนแรงมาก ตั้งสติกำหนดไปแล้วเจอทางออกสู่ถนนใหญ่บริเวณข้างป่า รอรถคันไหนก็ไม่มีที่จะผ่านมามีแต่ช้างเป็นฝูงจำนวนหลายเชือกเดินผ่านแทบจะ หมดสติ สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าจึงอธิษฐานไว้ในใจว่า “กรรมใดหนอที่ทำให้ข้าพเจ้ามาตกที่นั่งลำบากเช่นนี้ แม้กระทั่งคนหรือรถยานพาหนะก็ยังไม่ ปรากฏมี หากแม้นว่าใครมีบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ร่วมกันในอดีตชาติเคยเกื้อหนุนกันมาก่อน ที่เคยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีร่ำรวยเงินทองมาจากอดีตชาติ ก็ขอให้มาพบเจอข้าพเจ้าแล้วพาข้าพเจ้าไปรักษาตัว รักษาธาตุขันธ์เพื่อให้กลับมาใช้ธาตุขันธ์นี้บำเพ็ญความดีบำเพ็ญบารมีในชาติ สุดท้ายนี้ เพราะเราต้องเจอผู้อุปการะคุณผู้มีบุญเหล่านั้นเรื่อย ๆ ไป ผู้ใดให้ทรัพย์ เงินทอง และยานพาหนะแก่เราแล้ว เราจะนำไป สร้างประโยชน์คุณความดีบารมีอันยิ่งในชาติสุดท้ายนี้ ก็ขออานิสงส์บุญกุศลเก่าที่สั่งสมมาจงเกื้อหนุนให้เขาเหล่านั้นที่ค้ำชู ข้าพเจ้าด้วยเงินทองในการสร้างวัดศาสนา ก็ขอให้เขารุ่งเรือง ร่ำรวย ร้อยเท่าพันทวีคูณ มีบารมีแคล้วคลาดปลอดภัยจากโรคภัยทั้งปวง มีความสุขตลอดกาลเทอญ”
    พลันขณะนั้นก็มีรถอีแต๋นคันเก่า ๆ คันหนึ่งซึ่งหาบอ้อยผ่านทางนี้พอดีก็อดสงสารสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าไม่ได้ เลยนำส่งโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานีแล้วติดต่อกลับมาหาญาติที่พะเยา ญาติก็เลยนิมนต์สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ากลับมาที่พะเยา ภายหลังทราบข่าวว่าผู้ที่นำส่งสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาส่งที่โรงพยาบาลนั้น คือนายนิยะ มาโต๊ะ ถูกหวยรางวัลที่ ๑ จำนวน ๘ ใบ รวยเป็นเศรษฐี และมีความตั้งใจตามหาสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาโดยตลอด เมื่อได้พบกันแล้วนายนิยะ มาโต๊ะได้นำรถยนต์คันใหม่มาถวายสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้า แต่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ารับมอบแล้วก็มอบให้โรงพยาบาลไว้ใช้เป็นสมบัติของ ราชการ ต่อมาก็ทราบข่าวอีกว่ากิจการงานของนายนิยะ มาโต๊ะ ก็เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีอีกคนหนึ่ง

    หลังจากสามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้ากลับจากธุดงค์แล้วใช้เวลาหลายเดือนพอสมควร ตอนนั้นอายุได้ ๑๗ ปี ผู้เป็นบิดาได้มอบสมบัติชิ้นสุดท้ายให้แก่สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้าคือ หลวงพ่อโสธร ทองเหลือง ปี ๒๕๐๐ ให้ไว้กับตัวแทนผู้เป็นบิดาเพราะผู้เป็นบิดาจะอยู่ไม่ได้แล้วเป็นโรคน้ำท่วม ปอดและมะเร็ง ปอด ผู้เป็นบิดาได้ขอร้องให้สามเณรเจ้าหน่อแก้วฟ้างดธุดงค์ ขอให้อยู่กับแม่และเรียนหนังสือต่อ ฝ่ายผู้เป็นมารดาก็ขอร้องเช่นกันและแล้วก็เกิดการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่เพราะ ผู้เป็นบิดาคือนายหน้อยแหน้น ใจลา ได้เสียชีวิตด้วยโรคน้ำท่วมปอดและมะเร็งปอดด้วยวัย ๕๐ ปี ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๗ สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้แก่ทุกคนในครอบครัวและญาติทุกคนเป็นอย่างยิ่ง

    รับนิมนต์มาวัดเกษศรี

    ต่อจวบจนอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๘ โดยมีครูบาสงบ วัดต๊ำน้ำล้อม เจ้าคณะตำบลบ้านต๊ำ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อิ่นแก้ว รตนปญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์บุญแทน กิตติปญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและยึดถือการ ปฏิบัติธรรมโดยไม่ย่อหย่อน นอกจากนั้นครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังได้ปฏิบัติศาสนกิจทางพระพุทธศาสนา บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า สอนพระปริยัติธรรม และรับใช้ครูบาอาจารย์มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๐ สาธุชนชาวบ้าน บ้านร้องและบ้านสีเสียด ทั้ง ๒ หมู่บ้านได้ขออาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ามาจำพรรษาและรักษาการเจ้า อาวาส ณ วัดเกษศรี (บ้านร้อง) โดยครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าได้รับนิมนต์มาเพื่อร่วมสร้างป๋าระมี (บารมี) ตามแบบครูบาเจ้าศรีวิชัย เนื่องจากว่าในอดีตวัดเกษศรีเป็นวัดเก่าแก่ที่ชำรุดทรุดโทรมขาดการบูรณะมา ช้านาน ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของครูบาหน่อแก้วฟ้าที่จะต้องมาร่วมสร้างบารมีกับนัก บุญร่วมชาติก่อนปางหลัง

    เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา เป็นช่วงสิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า จึงได้ตัดสินใจเข้ากรรม (นิโรธกรรม) แบบแพลอยน้ำ มีกระต๊อบบนแพ ๑ หลัง กว้างยาวเมตรครึ่ง นั่งภาวนาอยู่ที่เดียวบนแพลอยน้ำ โดยเป็นการบำเพ็ญอุกฤษฎ์ ๙ อย่างคือ
    ๑. งดฉันอาหารทุกประเภท
    ๒. งดฉันน้ำทุกประเภท
    ๓. งดถ่ายหนัก (อุจจาระ)
    ๔. งดถ่ายเบา (ปัสสาวะ)
    ๕. งดลุกจากอาสนะ (ที่นั่ง)
    ๖. งดนอนหลับ ทั้งกลางวันและกลางคืน
    ๗. งดพูดจาด้วยการปิดวาจา
    ๘. อยู่ลำพังบนแพลอยกลางน้ำ
    ๙. ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเดียว
    เพื่อเอาอานิสงส์นี้ถือเป็นการแก้เคราะห์กรรมเก่าให้เหล่าสาธุชนทั้งหลาย เปิดทรัพย์เปิดโชคชัย บารมีสุขให้สาธุชน ทั้งหลายมีความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง ร่ำรวย แคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายใด ๆ อายุมั่นขวัญยืน ค้ำชูพระพุทธศาสนาให้เจริญ รุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป ก็มีสาธุชนทั้งหลายมาจากทั่วสารทิศ ที่มาชมบารมีครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า และขอพรจากท่านครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ทำให้ ท่านสาธุชนเหล่านั้นมีโชคมีชัย รวยและปลอดภัยจากโรคภัยกันถ้วนหน้า

    หลักชัยของพุทธศานิกชน

    เมื่อก่อนคนทั้งหลายก็ยังไม่มีความเชื่อมั่นในตัวครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า เพราะว่าเป็นหนุ่มตนน้อย หน้าตายังเป็นละอ่อนอยู่ ไม่น่าจะมีความสามารถอะไร จนบางคนวิพากษ์วิจารณ์ดูหมิ่น ดูถูก พูดจาถากถางว่าจะไปสักกี่น้ำ จะทำอะไรได้เพราะอายุยังน้อยอยู่จนเวลาผ่านไป ๕ เดือน ด้วยบารมีธรรมเก่าของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ก็ได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนคนรักษ์วัดกลองสะบัดชัยขึ้น เพื่อให้มีชัยชนะและความสำเร็จเหมือนชื่อหน่อแก้วฟ้าไจยา จนเยาวชนวัดเกษศรีมีชื่อเสียงโด่งดังข้ามจังหวัด ด้วยความสามารถและความสามัคคีของกลุ่มเยาวชนเองที่มีหลักชัยคือครูบาเจ้า หน่อแก้วฟ้านั่นเอง

    ปัจจุบันมีสาธุชนต่างที่ใกล้และที่ไกล ต่างบ้าน ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และต่างประเทศมากราบนมัสการ รวมถึงถวายปัจจัยและสิ่งของเพื่อสืบทอดพระศาสนาและเป็นการร่วมบุญบารมีกับ ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าอย่างไม่ขาดสาย ทำให้ในแต่ละวันครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าแทบไม่มีเวลาพักผ่อน ด้วยเหตุที่ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าเป็นผู้เจริญในเมตตาและบารมีธรรม จึงปรารถนาที่จะโปรดและให้ความช่วยเหลือแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะยากดี มีจน เป็นใคร มาจากไหน หากเขาเหล่านั้นเป็นผู้ตกทุกข์ได้ยากและมีความตั้งใจที่จะขอบารมีจากท่าน ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าก็จะโปรดให้ความอนุเคราะห์อย่างไม่เลือกชนชั้นวรรณะ โดยไม่เห็นแก่ลาภสักการะที่มีสาธุชนนำมาถวายให้แต่อย่างใด ครูบาเจ้ามักจะกล่าวว่า “อาตมาเองเป็นครูบาตนเดียวที่ยากจนที่สุด แต่รวยน้ำใจมากที่สุด” หมายถึงว่าท่านนำลาภสักการะต่าง ๆ เหล่านั้นที่ได้รับจากสาธุชน นำไปสืบสานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนและเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านสาธารณกุศลจน เป็นที่ประจักษ์ อาทิ
    ชี้แนะคนที่ขาดกำลังใจ หรือ ที่พึ่งทางใจ ให้มีที่ปรึกษาชี้แนะที่ถูกทาง สอดคล้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ทางออกที่เหมาะสมและนำไปใช้แก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน
    สำหรับคนที่ต้องการความสุขสงบในจิตใจสามารถมาปรึกษาสนทนาธรรมและปฏิบัติธรรมตามความสามารถในสติปัญญาของตน
    สืบสานและเผยแผ่พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแบบล้านนา เพื่อเป็นการรักษาประเพณีอันดีงามและเป็นการสร้างคนดีในสังคมอีกทางหนึ่ง
    นำปัจจัยสมทบการก่อสร้าง ถาวรวัตถุภายใน วัดเกษศรี ให้มีความเจริญรุ่งเรืองถือว่าเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาวัดเกษศรีให้เจริญ ถาวรคู่กับบ้านเมืองภูกามยาว
    นำปัจจัยสมทบกองทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรภายในวัดเกษศรี ให้หมู่คณะสงฆ์และสามเณรมีความรู้และความสามารถ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมืองและพระศาสนาสืบไป
    นำปัจจัยสมทบค่าภัตตาหารเช้า-เพล แด่พระภิกษุสามเณร ภายในวัดเกษศรี ให้มีกำลังกาย กำลังใจในการประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรมตามสติกำลัง เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
    นำปัจจัยสมทบกองทุนคณะสงฆ์ในตำบล ตำบลใกล้เคียง ในอำเภอภูกามยาว และในจังหวัดพะเยาโดยจะถวายในวันปวารณาเข้าพรรษาในแต่ละปี และใช้จ่ายในกิจการงานพระพุทธศาสนาของวัดเกษศรี
    นำปัจจัยสมทบทุนการศึกษานักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจนในโรงเรียน ต่างๆ ในดุลพินิจ เป็นการให้โอกาสคนที่เรียนดี มีวิชาติดตัว เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง
    ๙.นำปัจจัยสมทบเพื่อการสงเคราะห์ผู้ป่วย เด็กกำพร้า คนชรา และ คนยากจน ตามชนบทต่าง ๆ ให้บรรเทาความเดือดร้อน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


    มารบ่มี บารมีบ่เกิด
    จากความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นและแน่วแน่ของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าที่ได้ทำมา อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปี ทำให้ผู้ที่มิจฉาทิฎิและมีอคติด้วยความไม่รู้และความเข้าใจที่ถูกต้องใน วัตรปฏิบัติและปฏิปทาของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า จึงพยายามที่หาเหตุบ้าง กล่าวร้ายบ้าง ต่าง ๆ นานา แต่ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ไม่เคยนำมาใส่ใจเพราะท่านถือว่า “มารบ่มี บารมีบ่เกิด หรือศัตรูคือยาชูกำลัง” ดูอย่างครูบาเจ้าศรีวิชัย (ต๋นบุญแห่งล้านนา) ก็ยังเจอปัญหามาอย่างมากมายนานับประการ แต่ท่านก็สามารถฝ่าฝันฟันได้จนสำเร็จในที่สุดแม้ว่าจะใช้ระยะเวลาอย่างยาว นาน ถือว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีชั้นสูงที่ทำได้ยากประการหนึ่ง
    ทุกวันนี้ครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าไจยา ได้รับการยอมรับว่าเป็นครูบาหนุ่มนักปฏิบัติธรรมและนักพัฒนา อย่างแท้จริง ที่สร้างบารมีโดยการให้ทานและมีเมตตากับคนทุกเพศทุกวัยทุกชนชั้นวรรณะไม่ เลือกยากดีมีจน หรือเลือกที่รักมักที่ชัง ถ้าใครมาหาท่านพบปะสนทนาธรรมกับท่าน ท่านก็ยิ้มแย้มแจ่มใสทักทายปราศรัยกัน ถ้าไม่ติดธุระหรือการงานใด ท่านก็มีเมตตาช่วยเหลือพูดคุยแนะนำ สนทนาธรรม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นอกจากนั้นแล้วครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้ายังได้นำพิธีกรรมสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของทางล้านนาที่กำลังจะสูญหายไปมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับพิธีกรรมต่าง ๆ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และยังช่วยเหลือสาธุชนทั่วไปโดยเป็นยาใจหรือธรรมะโอสถแก่สาธุชนทั้งหลายให้ ตั้งจิตตั้งใจ เป็นคนดี ละความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส เชื่อมั่นในตัวเอง ขยันหมั่นเพียร มีสติ พึ่งตนเอง มีศีลห้า ทำตนให้ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ฯลฯ นี่คือหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า อันเป็นการสร้างบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ แม้ว่าครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้าจะเกิดชาติสุดท้ายแล้วก็ตาม ก็ขอฝากความดีนี้ไว้ในโลก นำสัตว์ทั้งหลายที่มีบารมีร่วมกันข้ามพ้นโอฆวัฏฏะสงสาร แม้นว่าเขาเหล่านั้นยังไม่หลุดพ้นก็ขอ ให้เขาเหล่านั้นที่มีบารมีกระทำร่วมกับครูบาเจ้า ขอให้มีความสุข ความเจริญ ความรุ่งเรือง ความร่ำรวย เป็นเจ้าคนนายคน มีรถมียาน พาหนะ มีความสะดวกคล่องแคล่วในการงาน การค้าการขาย แคล้วคลาดปลอดภัยจากโรคภัย ไข้เจ็บ มีอายุมั่นขวัญยืน ความไม่มี ความไม่ได้ ขออย่าให้เกิดกับคนทั้งหลายที่บำเพ็ญบารมีมาร่วมกับครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า ขอให้เขาเหล่านั้นพบพระพุทธศาสนาทุกชาติ ทุก ๆ ภพ ด้วยเทอญ

    Webboard
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    มองปัญหาด้วยปัญญา:
    วิธีเอาชนะตัวเอง , ทำอย่างไรให้มีสติ มีปัญญา


    [​IMG]



    เปลี่ยนคนอื่นนั้นยาก หันมาเปลี่ยนตนเองง่ายกว่า
    จะพูด จะคิดอะไร ใคร่ครวญ พิจารณา
    มีสติ ถี่ถ้วน รอบคอบ อย่าใช้อารมณ์

    ปุจฉา
    วิธีเอาชนะตัวเอง

    ทำอย่างไรถึงจะเอาชนะใจตัวเองและกิเลสได้ครับ

    วิสัชนา

    มี ทาน เพื่อทำลายความตระหนี่ คับแคบ เห็นแก่ตัว มี ศีล เพื่อรักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย มี สมาธิ เพื่อรักษาใจ ตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นกุศล มี ปัญญา รู้เท่าทันสภาวะที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต

    ปุจฉา
    คนมีธรรมะ


    ลูกอยากทราบด่วนมากค่ะว่า เวลาเราพูดว่าคนนั้นมีธรรมะหมายความว่าอย่างไรคะ และเมื่อกล่าวว่าคนควรปฏิบัติธรรม คือปฏิบัติอย่างไร และมีหลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้าอะไรคะที่เป็นการปฏิบัติธรรมของคนทั่วไป เพื่อจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีธรรมะ

    วิสัชนา

    คนมีธรรม หมายถึง คนที่ มีธรรมเป็นที่พึ่ง พึ่งธรรมที่ตนมีนั้นได้แล้วเป็นอย่างดี คนควรมีธรรม หมายถึง คนที่ควรมีที่พึ่งที่บริสุทธิ์ ธรรมอะไร ข้อไหน ก็ได้ ขอเป็นข้อที่เราพึ่งได้ทุกเวลา ถือว่ามีธรรมเป็นที่พึ่งทั้งนั้น

    ปุจฉา
    หลักที่แท้จริง


    พุทธศาสนิกชนเกินครึ่ง ทีเดียวยังไม่เข้าใจหลักที่แท้จริง น่าจะมีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ไหมที่จะทำให้เข้าใจ

    วิสัชนา

    คุณเล่นถามสั้นๆ ห้วนๆ ฉันน่าจะตอบคุณไม่รู้เรื่อง เห็นแก่คุณที่อุตส่าห์เขียนมาถาม ฉันก็จะช่วยตอบให้

    คำว่าหลักของคุณ น่าจะหมายถึงหลักการของพระพุทธ-ศาสนา ที่จริงก็มิได้มีอะไรมากมาย แค่ไม่ทำชั่ว พยายามทำดี ทำจิตนี้ให้ผ่องใส ทำได้ตามนี้ก็ถือว่าเป็นผู้เข้าถึงหลักแล้วล่ะ

    ปุจฉา
    ควรเริ่มที่ธรรมะข้อใด


    กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ ลูกขอปุจฉาว่า ทางโลกนั้น คนเราต้องเรียนหนังสือตั้ง-แต่อนุบาลจนถึงปริญญา ถือว่าจบ ในทางธรรมะ สิ่งที่คนเราควร จะศึกษาพร้อมปฏิบัตินั้นควรเริ่ม จากธรรมะข้อใด จนถึงความสำเร็จสูงสุดคือพระนิพพานครับ กราบขอความเมตตา และกราบนมัสการครับ

    วิสัชนา

    ด้วยความกตัญญูรู้คุณ กตเวทิตา ตอบแทนคุณแก่ท่านผู้มีพระคุณ ตามด้วย การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมต่อการทำ พูด คิด บริจาคทาน มีน้ำใจ รู้อภัย อย่าเห็นแก่ตัว อย่างตั้งมั่นที่เรียกว่า 'สมาธิ' อีกทั้งเพียร พยายามระมัดระวัง รักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อย ไม่ล่วงละเมิดต่อศีล ทั้งยังมีตัวปัญญารอบรู้ความ เป็นจริงที่ปรากฏภายใน และภายนอก เรียกว่า รู้อย่างชนิดแจ่มแจ้ง จนไม่ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของสรรพสิ่งนั้นๆ ได้ในทุกกรณี แค่นี้ก็หรูแล้วสำหรับคุณ และคนทั่วไป

    ปุจฉา
    ทำอย่างไรให้มีสติ มีปัญญา

    ทำอย่างไร จึงจะทำให้คน ใช้ปัญญาและมีสติมากขึ้นคะ สังเกตว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ปัญญา และทำอะไรอย่างไร้สติกันมาก ทำอย่างไรจะทำให้คนที่มีปัญญา และใช้ปัญญาและมีสติในการทำสิ่งต่างๆเสมอนั้น จะต้องทำอย่างไรคะ

    วิสัชนา

    เปลี่ยนคนอื่นยาก แต่เปลี่ยนตนเองไม่ลำบาก เริ่มจาก ตัวคุณเองก่อนดีไหม จะทำ จะพูด จะคิดอะไร ควรพิจารณา ใคร่ครวญให้ถี่ถ้วนรอบคอบ อย่าใช้อารมณ์

    ปุจฉา
    เรื่องของภาวนา


    ภาวนา 4 มีอะไรบ้างคะ และจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไรคะ

    วิสัชนา

    คุณไปเอาที่ไหนมา 'ภาวนา 4' เขามีแต่ 'ภาวนา 3'

    - ปริกัมมภาวนา = ภาวนาในบริกรรม

    - อุปจารภาวนา = ภาวนาเป็นลำดับต้น

    - อัปปนาภาวนา = ภาวนาแนบแน่น เกิดประโยชน์ เมื่อคุณลงมือทำ



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9520000110980
     
  19. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    918
    ค่าพลัง:
    +4,293
    "บทโศลก กลบท ปริศนาธรรม"

    บทโศลก กลบท ปริศนาธรรมนี้ รจนาขึ้นมาโดยหลวงปู่พุทธะอิสระ การโพสต์ครั้งนี้จะพยายามบรรยายใส่ความหมายลงไปด้วย ตามความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งก็อย่าถือว่าถูกต้องเสียทีเดียว เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้าผิดพลาดไปบ้างก็ต้องขออภัย ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหวังจะนำสิ่งที่ดีๆมีสาระมาให้ได้อ่านได้รับรู้กัน อาจจะโพสต์ห่างไปบ้างก็โปรดติดตาม เนื่องจากภาระกิจการงานอาชีพเริ่มรัดตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันการพยายามบรรยายความคิดเห็น และสอดแทรกประสพการณ์ตรงก็ค่อนข้างต้องใช้เวลาเรียบเรียงเป็นเวลานาน เนื่องจากความรู้ที่ยังมีอยู่อย่างจำกัดและกระจัดกระจาย ด้วนหนึ่งก็เป็นการฝึกฝนตนเองที่จะเรียบเรียงความคิดความอ่านที่มีอยู่ในส่วนตัวให้ออกมาเป็นระบบ อีกด้านก็ด้วยความคิดความอ่านประสพการณ์ที่มีที่มาใกล้เคียงกัน ในหมู่สมาชิกส่วนหนึ่งในอดีต ก็หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นมุมมองที่จะถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเล่าสู่กันฟัง เพื่อความเจริญในทางปัญญา เพื่อให้สมกับคำขวัญที่ว่า ..."ฉลาด สะอาด สว่าง สงบ"




    [​IMG]



    - ๑ -

    ลูกรัก......

    พ่อปู่เขียนหนังสือไม่ได้ต้องการให้ใครมาอ่านเลข ๑ แล้วสรุปว่าเป็นเลข ๑

    แต่เขียนเลข ๑ เพื่อให้คนอ่านเข้าถึงเลข ๑๐

    และเขียน ก. ให้ผู้อ่านเข้าถึง ฮ. ได้




    พุทธะอิสระ



    ความ หมายของกลบท บทนี้ เป็นการสื่อความหมายของบทโศลก กลบท หรือปริศนาธรรม ที่ต้องการสื่อให้ได้คิดจนเกิดปัญญา อันเป็นวัตถุประสงค์ของศาสนธรรมนี้ คือให้รู้จักคิด ไม่ใช่ให้เชื่อเลย แต่ให้ผ่านการใคร่ครวญแล้วค่อยเชื่อ

    ถ้ามีการตั้งคำถามว่า "วิธีการ" กับ "ผลลัพธ์" อะไรสำคัญกว่ากัน คนทั่วไปก็มักจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่า เหมือนมีการตั้งโจทย์ตั้งคำถาม คนก็อยากทราบว่าคำตอบคืออะไร มากกว่าที่จะ สนใจว่าคิดอย่างไรทำไมถึงได้คำตอบอย่างนั้น ดูมันง่ายดี แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้ฝึกการคิด

    กับคำพูดอีกประโยคในทำนองว่า "ทำอย่างไรก็ได้ให้ฉันได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ" สิ่ง ที่ต้องการอาจเป็นเงิน ทรัพย์สมบัติหรือแม้แต่อำนาจ เป็นวิธีคิดที่มุ่งหวัง ผลโดยไม่สนใจว่าวิธีการจะชั่วดีอย่างไร เขาก็อาจจะปลอบใจบอกกับตนเองว่า เงินหรืออำนาจที่ได้มาก็เพื่อไปทำสิ่งที่ดีๆที่เขามุ่งหวังสิ่งที่ดี กว่า เข้าทำนองโรบินฮู้ด

    วิธีการหรือกระบวนการคิดจึงสำคัญกว่า ผลลัพธ์ มีวิธีการหรือกระบวนคิดที่ดี จะให้ได้กี่ผลลัพธ์ก็ย่อมทำได้ แต่ถ้าได้ผลลัพธ์มาเลยก็ต้องพึ่งผลลัพธ์ผู้อื่นอยู่ร่ำไป ไม่สามารถคิดได้ เอง

    และกระบวนวิธีการที่ดีก็จะฝึกฝนตนเองให้ได้ปฏิบัติในทาง ที่ดีด้วย ในทางกลับกันถ้ากระบวนวิธีการที่มิชอบก็ย่อมฝึกตนเองมาแบบมิชอบ แม้จะได้ทรัพย์ได้อำนาจมา แล้วจะมาบอกว่าได้มาเพื่อความมุ่งหวังที่ดี ก็ฟัง ดูน่าตลกมากกว่า เพราะเจ้าของทรัพย์เจ้าของอำนาจเองก็ผ่านการฝึกแบบมิชอบมาเสียแล้ว

    การอ่านเลข ๑ แล้วเข้าถึงเลข ๒ จนถึงเลข ๑๐ จึงเป็นกระบวนการฝึกปัญญา ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ศาสนาพุทธเน้นสอน



    --------------




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9520000110980
     
  20. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    วันนี้ได้ฝากเพื่อนช่วยบริจาคค่าเลือดที่รพ.สงฆ์ 500 บาท เชิญพี่เสือและทุก ๆ ท่านร่วมอนุโมทนาบุญด้วยกันนะคะ

    บุญรักษาค่ะ
    ปู
     

แชร์หน้านี้

Loading...