ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. onimaru_u

    onimaru_u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +854
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญครับ
     
  2. LiFeHouSe

    LiFeHouSe Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +80
    อนุโมทนา สาธุ กับ คุณพันวฤทธิ์ และ ทุกๆท่านครับ
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    โมทนาและสาธุบุญด้วยเด้อ...สะสมบุญทุกเดือนๆ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ดอกผลของบุญเป็นอย่างไร ตามมาดูกันเอาเองก็แล้วกัน

    ดอกเบี้ยบุญ (บุญกิริยาวัตถุ 10)
    Interest on making merits

    รศ.ดร.ประพันธ์ เศวตนันทน์

    บุคคลทั้งหลาย ซึ่งตั้งมั่นในความดีอย่างมั่นคง ย่อมได้รับผลตอบแทนทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไปแน่นอน คำ ว่า บุญ ในที่นี้ ได้แก่ การกระทำ ใดๆ ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะชำ ระล้างความโกรธ ความโลภ และความหลงทั้งปวง ถือกันว่า การสร้างคุณงามความดีโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน
    เป็นการทำ บุญอย่างผู้มีปัญญา ผู้ใดทำ บุญโดยหวังสิ่งตอบแทน อันได้แก่ ความสุข ลาภ ยศ สรรเสริญ ถือว่าผู้นั้นทำ บุญโดยไม่ละโทษ โทษดังกล่าวได้แก่ โทษจากการเวียนว่ายตายเกิดใน สังสารวัฏนั่นเอง พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า ทุกข์เสมอด้วยขันธ์นั้นไม่มี อย่างไรก็ตาม การสร้าง
    บุญไม่ว่าจะละโทษหรือไม่ ล้วนเป็นสิ่งที่ควรกระทำ อย่างสมํ่าเสมอ เพราะผลประโยชน์ที่จะได้รับ จากกองบุญมีมากมายมหาศาล ถ้าเปรียบเทียบกับการฝากเงินเข้าบัญชีธนาคารแล้ว ผู้สร้างกอง บุญได้ดอกผลมากมายกว่าการฝากเงินในธนาคารมากนัก ที่เห็นได้ทันทีคือ บุญกุศลที่ท่านได้สะสมไว้สามารถนำ ติดตัวไปในชาติหน้าต่อ ๆ ไปได้ แต่ทรัพย์สินทั้งหลายที่ท่านมีไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน และโภคทรัพย์ต่างๆ ซึ่งท่านได้สะสมไว้เป็นกรรมสิทธิ์ จะต้องสลายกลายเป็นของคนอื่นในทันทีที่ท่านหมดลมหายใจ ยิ่งท่านแก่ตัวลงเท่าไร เวลาที่ท่านจะได้เสวยสุขทางโลกก็น้อยลงไปทุกทีการฉลองวันเกิดของท่าน คือ การฉลองวันตายของท่านที่ใกล้เข้ามานั่นเอง


    ขอขอบคุณ
    http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~sprapant/Buddhism/interest.pdf


     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    <table border="0" width="100%"><tbody><tr><td valign="middle">
    </td> <td valign="middle">

    </td> <td style="font-size: smaller;" align="right" height="20" valign="bottom">
    </td> </tr></tbody></table>[​IMG]

    [​IMG]
    ดอกเข้าพรรษา

    [​IMG]


    ยามเมื่อฤดูกาลเข้าพรรษาเวียนมาถึง ดอกไม้ชนิดหนึ่งก็เริ่มผลิดอกบานสะพรั่ง ผู้คนต่างพากันเก็บมาถวายพระจนก่อเกิดเป็น ประเพณี “ตักบาตรดอกไม้” ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ดั้งเดิมของชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โดยมีที่มาจากเรื่องราวในพระพุทธศาสนาว่า นายสุมนมาลาการ ได้ ถวายดอกมะลิบูชาแด่พระพุทธเจ้า และด้วยอานิสงส์ดังกล่าวทำให้นายสุมนมาลาการมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้น ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงได้พร้อมใจกันนำดอกไม้มาถวายเป็นพุทธบูชา

    ดอกไม้ที่ชาวอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี นำมาใช้ตักบาตรในประเพณีนี้ จึงเรียกขานกันว่า ‘ดอกเข้าพรรษา’ หรือ ‘ดอกหงส์เหิน’ เพราะลักษณะของดอกและเกสรประดุจดังตัวหงส์ ที่กำลังเหินบินด้วยท่วงท่าลีลาอันสง่างามนั่นเอง

    [​IMG]

    หงส์เหิน (Globba winiti) เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ดอกเมืองร้อนเกิดในป่าร้อนชื้น พบในประเทศไทย, พม่า และเวียดนาม ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือตามชายป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น กล้วยจ๊ะก่า (ตาก), กล้วยจ๊ะก่าหลวง (ลำพูน), กล้วยเครือคำ (เชียงใหม่), ก้ามปู (พิษณุโลก), ขมิ้นผีหรือกระทือลิง (ภาคกลาง), ว่านดอกเหลือง (เลย), ดอกเข้าพรรษา (สระบุรี) เป็นต้น

    ‘ต้นหงส์เหิน’ หรือ ‘ต้นเข้าพรรษา’ เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นเป็นหัวประเภทเหง้าแบบมีรากสะสมอาหาร คล้ายรากกระชาย ส่วนของลำต้นเหนือดิน คือ กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน เกิดเป็นกลุ่มกอ สูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถว

    ส่วนดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม ช่อดอกมีลักษณะอ่อนช้อยสวยงาม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ ประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก มีสีเหลืองสดใสคล้ายรูปตัวหงส์กำลังเหินบิน มีกลีบประดับขนาดใหญ่ตามช่อโดยรอบจากโคนถึงปลาย และสีของกลีบประดับมีหลายสี เช่น ขาว ม่วง เขียว และแดง

    [​IMG]

    ดอกเข้าพรรษาหรือดอกหงส์เหิน หนึ่งปีจะออกดอกเพียงครั้งเดียว เฉพาะในช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษาเท่านั้น ในท้องที่อำเภอพระพุทธบาท พบว่ามี 2 สกุล ได้แก่ สกุลกระเจียว มีดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู และสกุลหงส์เหิน ดังกล่าวข้างต้น

    เมื่อถึงวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวอำเภอพระพุทธบาทจะพากันไปเก็บดอกเข้าพรรษาตามไหล่เขาโพธิลังกาหรือเขา สุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุในเขตอำเภอพระพุทธบาท นำมาจัดรวมกับธูปเทียนเพื่อตักบาตรถวายพระ ซึ่งที่จังหวัดสระบุรีนี้ได้จัดพิธีตักบาตรดอกไม้ ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และเป็นสถานที่ประดิษฐาน “รอยพระพุทธบาท” อันศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพบูชา ซึ่งมีความเชื่อในคติชาวลังกาว่า พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ 5 แห่ง และรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทฯ แห่งนี้ เป็น 1 ใน 5 แห่ง ต่อมารอยพระพุทธบาทนี้ถูกค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม


    [​IMG]

    ‘รอยพระพุทธบาท’ ภายในพระมณฑปพระพุทธบาท
    วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี


    รอยพระพุทธบาทแห่งนี้มีลักษณะเป็นหลุมลึกคล้ายรอยเท้าคน กว้าง 21 นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11นิ้ว จะสังเกตว่ารอบๆ รอยพระพุทธบาทนั้นพุทธศาสนิกชนปิดทองกันเหลืองอร่ามไปทั่ว นั่นเป็นดัชนีชี้วัดแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ว่ากันว่าหากใครมีโอกาสไปสักการะรอยพระพุทธบาทครบ 7 ครั้ง ผลบุญจะส่งให้ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    ตลอดจนเชื่อกันว่า เมื่อนำดอกเข้าพรรษามาตักบาตรจะได้บุญกุศลแรง โดยนิยมตักบาตรด้วยดอกเข้าพรรษาสีขาว เพราะหมายถึงความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนา และสีเหลือง เพราะหมายถึงสีแห่งพระสงฆ์ สาวกแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าในหนึ่งดอกมีสีเหลืองกับสีขาวอยู่ในดอกเดียวกันจะเป็นการยิ่งดี โดยเฉพาะสีเหลืองแต้มสีขาวจะดียิ่งขึ้น

    พระสงฆ์จะนำดอกไม้ที่รับบิณบาตไปสักการะ “รอยพระพุทธบาท” ในพระมณฑป และสักการะ พระเจดีย์จุฬามณี รวมทั้ง พระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วนำเข้าพระอุโบสถประกอบพิธีสวดอธิษฐานเข้าพรรษา ระหว่างพระสงฆ์เดินลงจากพระมณฑป ก่อนที่จะเข้าพระอุโบสถตรงบันได พุทธศาสนิกชนจะนำน้ำสะอาดมาล้างเท้าพระสงฆ์ เชื่อว่าเป็นการชำระบาปของตนเองด้วย

    [​IMG]

    ดอกเข้าพรรษาสีเหลือง

    นอกจากประเพณีการตักบาตรดอกไม้จะมีที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรีแล้ว ในกรุงเทพมหานคร ก็ยังมีที่วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และวัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก สำหรับดอกไม้ที่ใช้ในประเพณีนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นดอกเข้าพรรษาเท่านั้น จะเป็นดอกไม้อื่นๆ ที่ใช้บูชาพระก็ได้ เช่น ดอกมะลิ, ดอกบัว, ดอกกล้วยไม้, ดอกดาวเรือง เป็นต้น

    สำหรับคำถวายดอกไม้ ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ ซึ่งสามารถใช้ได้โดยทั่วไป มีดังนี้


    อิมานิ มะยัง ภันเต ทีปะธูปะปุปผะวะรานิ
    ระตะนัตตะยัสเสวะ อะภิปูเชมะ
    อัมหากัง ระตะนัตตะยัสสะ ปูชา ทีฆะรัตตัง
    หิตะสุขาวะหา โหตุ อาสะวักขะยัปปัตติยา


    คำแปล : ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขอบูชา ธูป เทียน และดอกไม้อันประเสริฐเหล่านี้แก่พระรัตนตรัย ขอจงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์สุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เพื่อให้ถึงซึ่งนิพพาน ที่ซึ่งสิ้นอาสวะกิเลสเทอญ

    [​IMG]


    [​IMG]


    http://www.trytodream.com/index.php?topic=3868.0

     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    สาระธรรมแห่งอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษากาล

    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
    พระภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา

    [​IMG]

    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
    เอตทัคคะในทางรัตตัญญูรู้ราตรีนาน


    ๐ บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

    ปลายแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี เพื่อสงเคราะห์มหาชน เมื่อเสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธบิดา ทรงทราบข่าวว่าพระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไปต้อนรับ พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา จบเทศนาบางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต พระราชาทรงนิมนต์พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้นทรงให้แจ้งเวลาภัตตาหาร ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร พระศาสดาทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม โดยทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้นชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้นต่อไปพระราชาถวาย

    ครั้งนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะเถระนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล กรุงหังสวดี วันหนึ่งในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปยังที่แสดงธรรม จึงได้เดินตามไปพร้อมกับมหาชนนั้น เวลานั้นพระปทุมุตตระพุทธเจ้า ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ท่านได้ทราบเหตุนั้นแล้วจึงปรารถนาที่จะได้เป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของพระ พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเช่นนั้นบ้าง

    ดังนั้นท่านจึงนิมนต์พระปทุมุตตระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร และทำการถวายมหาทานอยู่ ๗ วัน. แล้วท่านจึงหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา แสดงความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งการถวายทานสักการะนี้ ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่นใด เพียงแต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์พึงได้ตำแหน่งเอตทัคคะนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งใน อนาคตกาล เหมือน ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน นับแต่วันนี้

    พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาลด้วยพุทธญาณ ทรงเห็นว่าความปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่ากุลบุตรผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฎิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้นดังนี้

    พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้นดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์ทองคำบรรจุพระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ เศรษฐีนั้นให้สร้างเครื่องประดับอันมีค่ามากล้อมเจดีย์บรรจุพระสรีระของพระ พุทธเจ้าทั้งหลาย.ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้างเรือนแก้วภายในเจดีย์ เศรษฐีนั้นกระทำทานเป็นอันมากถึงแสนปี เมื่อสิ้นชีวิตแล้วแล้วบังเกิดในสวรรค์ วัฏฏะแห่งชีวิตวนอยู่ในภูมิเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายนั่นเอง


    ๐ บุรพกรรมในสมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้า

    ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป ในท้ายกัปที่ ๙๑ จากภัทรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งคฤหบดี ในรามคามใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่าน นามว่า จุลกาล

    สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติมาบังเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าพันธุมะ กรุงพันธุมดี ตรัสรู้แล้วทรงแสดงธรรมแก่ ขัณฑะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อ ติสสะ ทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล พระศาสดาทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑ ทรงสถาปนาพระติสสะเถระไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒

    ฝ่ายพระราชา ทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงเสด็จไปสดับพระธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ และทรงปรารถนาจะอุปัฏฐาก พระบรมศาสดา ผู้เป็นพระโอรส พร้อมหมู่พระภิกษุแต่ผู้เดียว ไม่ยอมให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเช่นนั้นบ้าง จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียนสองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระราชวัง ให้ปิดล้อมด้วยผ้า แล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมหมู่ภิกษุเสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร เพื่อกระทำภัตกิจ แล้วเสด็จกลับมายังวิหาร โดยทางเดิม มหาชนอื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ดู แล้วไฉนจะได้ถวายภักษาหารและการบูชาเล่า.ทรงกระทำเช่นนี้มาตลอด ๗ ปี ๗ เดือน

    ชาวพระนครคิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เป็นเวลานานถึงเพียงนี้แล้ว ถึงวันนี้ พวกเราแม้เพียงปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการที่จะได้ถวายภิกษา หรือกระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า พระราชาทรงยึดถือว่า พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เป็นของพระองค์เองผู้เดียว ที่ถูกแล้ว พระศาสดาเมื่อเสด็จอุบัติ ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย มิใช่อุบัติเพื่อประโยชน์เฉพาะแก่พระราชาเท่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาเพื่อขอโอกาสกระทำบุญแด่พระศาสดาบ้าง ถ้าไม่ให้พวกเราก็จะรบกับพระราชา คิดดังนี้แล้วมหาชนจึงแต่งตัวแทนเข้าไปหาเสนาบดี แจ้งเรื่องนั้นแก่ท่าน เสนาบดีก็รับปากจะเข้าร่วมเป็นฝ่ายมหาชน โดยมีข้อแม้ว่า ต้องให้เสนาบดีมีโอกาสทำบุญกับพระศาสดาเป็นคนแรก ชาวพระนครก็รับคำ

    เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ พระราชาทรงเห็นว่า ชาวพระนครมีกำลัง ทั้งเสนาบดีก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสต่อรองว่า ขอเวลาให้ท่านได้ทำบุญกับพระศาสดากับหมู่พระสงฆ์อีก ๗ ปี ๗ เดือน ชาวพระนครไม่รับ พระราชาทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี ชาวพระนครก็ไม่ยินยอม สุดท้ายจึงขออีก ๗ วัน ชาวพระนครก็ยินยอม

    พระราชาทรงนำสิ่งที่เตรียมไว้ถวายพระพุทธองค์และหมู่ภิกษุ สำหรับระยะเวลา ๗ ปี ๗ เดือน มารวมกันเพื่อถวายใน ๗ วันเท่านั้น แล้วพระราชาถวายบังคม กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บัดนี้ ข้าพระองค์อนุญาตให้ชาวพระนครได้ถวายทานแล้ว ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป โปรดทรงอนุเคราะห์แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด

    ครั้นในวันต่อมา เสนาบดีได้ถวายมหาทานตามสัญญา ต่อจากนั้น ชาวพระนครก็ได้เวียนกันกระทำสักการะพระพุทธองค์และหมู่พระสาวก เมื่อถึงลำดับของชาวพระนคร ทั่วๆ ไป ที่อยู่ใกล้ประตูพระนคร มหากาล จึงกล่าวกับ จุลกาลผู้น้องชายว่า วันพรุ่งนี้ ถึงคราเราได้โอกาสสักการะแด่พระทศพล เราจะทำสักการะ โดยนำข้าวสาลีที่มีอยู่ในนาของเรา ที่กำลังออกรวงอ่อน แล้วนำเอาข้าวอ่อนนั้นเอามาเคี่ยวเป็นน้ำนมจนข้นปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จุลกาลผู้น้องไม่เห็นด้วยเพราะจะเป็นการทำลายข้าวที่กำลังตั้งท้องอยู่ให้ เสียหาย

    มหากาลจึงให้แบ่งที่นาออกเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน และนำข้าวในส่วนของตนไปทำเป็นภัตตาหารตามที่ตนตั้งใจ แล้วถวายแด่พระบรมศาสดาและเหล่าพระภิกษุทั้งหลาย ในกาลเสร็จภัตกิจ เขาได้ทราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานอันเลิศของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อความแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนกว่าสาวกทั้งปวง” พระศาสดาตรัสว่า “จงเป็นอย่างนั้นเถิด” แล้วได้ทรงทำอนุโมทนา

    ข้าวในนาส่วนที่ถูกนำมาเป็นภัตตาหารก็กลับมีขึ้นเต็มดังเดิม มหากาลผู้พี่ในเวลาต่อ ๆ มาก็ได้ทำทานเช่นนั้นเป็นระยะๆ รวม ๙ ครั้ง ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวายข้าวกล้าอย่างเลิศพร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็น ฟ่อนเป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวในลาน ในเวลานวดก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วนเลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่างเดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ

    ท่านกระทำเช่นนั้นตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ ครั้นสิ้นชีพแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป


    ๐ กำเนิดเป็นโกณฑัญญพราหมณ์
    ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า


    ในสมัยของพระสมณโคดมบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานี้ ท่านเกิดในเวลาก่อนที่พระบรมศาสดาของเราจะทรงอุบัติขึ้นในโลก ในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ เมื่อเกิดแล้วพวกญาติตั้งชื่อท่านว่า โกณฑัญญมาณพ ครั้นเจริญวัยแล้วก็ได้เรียนไตรเพทจนจบ และรู้ลักษณะมนต์ทั้งหลาย (ตำราทายลักษณะ)

    [​IMG]

    ๐ เข้าทำนายพุทธลักษณะ

    ครั้นเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๕ วัน พระประยูรญาติก็ได้จัดพระราชพิธีเฉลิมพระนาม โดยได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประกอบพิธี โดยถวายผ้าใหม่ให้ครอง และถวายภัตตาหาร ครั้นเสร็จภัตกิจแล้วจึงได้เลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้น พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อสุยามะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ซึ่ง่พราหมณ์เหล่านี้ก็เป็นกลุ่มที่ได้ทำนายพระสุบินในวันที่ทรงประสูตินั่น เอง

    ครั้นเมื่อพราหมณ์ทั้ง ๘ ได้ตรวจดูพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้ว มีพราหมณ์ ๗ คน (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๓ คน) ได้ทำนายออกเป็น ๒ แนว ว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยที่สุดในหมู่พราหมณ์ทั้ง ๑๐๘ คนนั้นทำนายเป็นทางเดียว (อรรถกถาบางแห่งบอกว่า ๕ คน ทำนายเป็นทางเดียว ซึ่งทั้ง ๕ พราหมณ์นี้ก็คือปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ นั่นเอง) ว่าพระองค์จะเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลกแน่นอน พวกพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อกลับไปสู่เรือนของตัวเองแล้วก็ได้ปรารภกับบุตรทั้งหลายว่า ตัวพ่อนั้นอายุมากแล้ว คงจะไม่ได้อยู่ชมพระบารมีของพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้จะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารทรงตรัสรู้แล้วเจ้าจงบวชในพระศาสนาของพระองค์เถิด

    [​IMG]

    ๐ กำเนิดปัญจวัคคีย์

    อีก ๒๙ ปีต่อมา เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ในครั้งนั้นพราหมณ์ ๗ คน ได้สิ้นชีวิตไปตามกรรมแล้ว ส่วนโกณฑัญญมาณพ ซึ่งอายุน้อยกว่าเขาทั้งหมด เมื่อท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาพวกบุตรพราหมณ์ของพราหมณ์ทั้ง ๗ และชักชวนให้ออกบวชตามเสด็จ แต่ก็มีบุตรพราหมณ์เพียง ๔ คนเท่านั้นที่เห็นดีด้วย บุตรพราหมณ์ทั้ง ๔ คน เหล่านี้ คือ ท่านภัททิยะ ท่านวัปปะ ท่านมหานาม และท่านอัสสชิ และท่านโกณฑัญญพราหมณ์จึงได้บวช

    เมื่อบวชแล้วบรรพชิตทั้ง ๕ นี้อันมีท่านโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ ก็ได้เที่ยวบิณฑบาตในคามนิคมและราชธานี และได้เดินทางไปอุปัฎฐากพระโพธิสัตว์ ตลอด ๖ ปีที่พระโพธิสัตว์ทรงเริ่มกระทำทุกรกิริยา ด้วยหวังว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใดก็จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยามิใช่หนทางไปสู่อริย ธรรม จึงทรงกลับมาเสวยพระกระยาเช่นเดิม หมู่ปัญจวัคคีย์คิดว่าพระมหาสัตว์ทรงละความเพียรเสียแล้ว จึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละพระองค์เสีย ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

    ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์ ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหารดังปกติ ล่วงมาถึงวันวิสาขบุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดีที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาดทองไปให้ทวนกระแสแม่น้ำตามที่ทรงอธิษฐาน จึงตกลงพระทัยที่จะปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระมหาอมตธรรมให้ได้ในวันนั้น จึงทรงประทับใต้ร่มมหาโพธิ บ่ายพระพักตร์ไปสู่ด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียร ทรงกำจัดมารและพลมารและบรรลุธรรมเป็นลำดับ จนกระทั่ง ทรงตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้นเอง

    ครั้นเมื่อทรงตรัสรู้แล้ว ก็ทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์สมควรจะแสดงธรรมให้ก่อน จึงทรงพิจารณาถึง อาฬารดาบสและอุททกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่าบุคคลทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อทรงพิจารณาต่อไปก็ทรงเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้อุปัฏฐากครั้งเมื่อทรงตั้งความเพียรนับว่าเป็นผู้มี อุปการะมากแก่เรา อีกทั้งโกณฑัญญพราหมณ์ก็เป็นผู้กระทำกรรมสะสมบารมีมาถึง๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็เพื่อประสงค์จะเป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถบรรลุธรรมก่อนผู้อื่น

    ลำดับนั้น พระศาสดา จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตมฤคทายวัน ที่ปัญจวัคคีย์อาศัยอยู่ เสด็จเข้าไปหาพระปัญจวัคคีย์

    [​IMG]

    ๐ ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล เข้าใจว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปฐาก จึงได้ตกลงกันว่า พระสมณโคดมนี้คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากแล้ว เสด็จมา ณ บัดนี้ พวกเราทั้งหลายไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์เลย แต่ว่าท่านนี้เกิดในตระกูลใหญ่ เป็นวรรณกษัตริย์ เราควรปูลาดอาสนะที่นั่งไว้ เพื่อพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง ฯ ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยประพฤติต่อพระองค์ มาบันดาลให้ลืมข้อตกลงที่ทำกันนั้นไว้จนหมดสิ้น ลุกขึ้นต้อนรับพระพุทธองค์ รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่งนำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย ดังที่เคยทำมา แต่ยังพูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ คือ เรียกโดยการเอ่ยพระนามโดยตรง หรือเรียกโดยใช้คำแทนพระพุทธองค์ว่า อาวุโส ฯ

    พระพุทธองค์ทรงห้ามพวกปัญจวัคคีย์ มิให้เรียกพระองค์เช่นนั้น (ซึ่งถือว่าเป็นการไม่เคารพ ที่ทรงห้ามก็เพื่อจะมิให้เกิดโทษแก่เหล่าปัญจวัคคีย์เหล่านั้น) และทรงตรัสต่อไปว่า ตถาคตได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังธรรมเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เพื่อที่เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้า ก็จักบรรลุถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์

    เหล่าปัญจวัคคีย์ก็ยังไม่เชื่อ ได้กล่าวเป็นเชิงสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์ว่า แต่เดิมที่ท่านปฏิบัติ แม้โดยการอดอาหาร กระทำทุกรกิริยาอย่างยิ่งยวด ถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้ มาบัดนี้เมื่อท่านคลายความเพียรนั้น กลับมาเป็นผู้มักมาก ท่านจะบรรลุธรรมใดๆ อย่างไรได้

    พระพุทธองค์ทรงมีพระดำรัสว่า ท่านไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว และทรงขอให้เหล่าปัญจวัคคีย์ตั้งใจฟังธรรมที่ท่านจะแสดง แต่ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นก็ยังได้กล่าวสงสัยในจริยาของพระพุทธองค์อีกถึง ๒ ครั้ง

    จนในครั้งที่ ๓ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนให้เหล่าปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย นึกถึงถ้อยคำของพระพุทธองค์ในครั้งก่อนว่า วาจาที่ท่านกล่าวว่าท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว เช่นนี้ ท่านได้เคยพูดออกมาในกาลก่อนหรือไม่ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์จึงระลึกขึ้นได้ว่าพระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยได้ตรัส มาก่อนเลย จึงพากันตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์จะตรัสเทศนาสั่งสอนสืบไป

    ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสแสดง พระปฐมเทศนาประกาศพระสัมโพธิญาณ ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนาจบ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ในวันอาสาฬหปุรณมี เพ็ญกลางเดือน ๘ นั่นเอง

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระญาณว่า ท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว จึงได้ทรงเปล่งพระอุทานว่า โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ, โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ (อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ, อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ) เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านตั้งแต่นั้นมา


    ๐ ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ครั้นเมื่อท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรม ดำรงอยู่ในโสดาปัตติมรรคแล้ว จึงได้ทูลขอบรรพชาต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.

    บัดนั้น ถือว่าโลกมี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์สาม เป็นครั้งแรก

    ในวันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถา ทรงให้พระภัททิยเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๒ ในวันแรม ๑ ค่ำ

    ในวันแรม ๒ ค่ำ ทรงให้พระวัปปเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๓

    ในวันแรม ๓ ค่ำ ทรงให้พระมหานามเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๔

    ในวันแรม ๔ ค่ำ ทรงให้พระอัสสชิเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล และประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นเอหิภิกษุรูปที่ ๕

    อนึ่งในวันแรม ๕ ค่ำ ทรงเทศนาอนัตตลักขณสูตร ให้พระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตด้วย ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์


    ๐ ทรงตั้งพระเถระเป็นเอตทัคคะผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน

    ครั้นกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงแสดงความที่พระเถระเป็นผู้รู้แจ้งธรรมก่อนเพื่อน จึงทรงตั้งพระเถระนั้นไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญาโกณฑัญญะนี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้เป็นรัตตัญญูรู้ราตรีนาน


    ๐ พวกภิกษุติเตียนพระศาสดา

    ครั้งเมื่อ พระศาสดาทรงประชุมพระสาวกที่พระเวฬุวัน ทรงประทานตำแหน่งพระอัครสาวกแก่พระเถระทั้งสองแล้วทรงแสดงพระปาติโมกข์

    พวกภิกษุ ติเตียนกล่าวว่า “พระศาสดา ประทานตำแหน่งแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยเห็นแก่หน้า อันพระองค์เมื่อจะประทานตำแหน่งอัครสาวก ควรประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ผู้บวชก่อน เมื่อไม่เหลียวแลถึงพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๕๕ รูป มีพระยสเถระเป็นประมุข เมื่อไม่เหลียวแลถึงภิกษุเหล่านั้น ก็ควรประทานแก่พระพวกภัทรวัคคีย์ เมื่อไม่เหลียวแลถึงพระพวกภัทรวัคคีย์เหล่านั้น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๓ พี่น้อง มีพระอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น แต่พระศาสดา ทรงละเลยภิกษุเหล่านั้น เมื่อจะประทานตำแหน่งอัครสาวก ก็ทรงเลือกประทานแก่ผู้บวชภายหลังเขาทั้งหมด”

    พระศาสดา ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?” เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า “เรื่องเช่นนี้พระพุทธเจ้าข้า” พระศาสดาจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราหาเลือกหน้าให้ตำแหน่งแก่พวกภิกษุไม่ แต่เราให้ตำแหน่งที่แต่ละคนๆ ตั้งความปรารถนาไว้แล้วในอดีตแก่ภิกษุเหล่านี้ แล้วทรงเล่าบุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะในสมัยที่ตั้งความปรารถนาจะเป็นผู้ แทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนผู้อื่น ไว้เมื่อสมัยกระทำมหาทานแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า และทรงกล่าวอีกว่า

    อนึ่ง แม้ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ในหงสาวดีนคร ในแสนกัลป์ก่อนหน้านี้ เขาถวายมหาทานตลอด ๗ วันแล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งปรารถนาเพื่อแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนเขา เหมือนกัน สิ่งที่เราได้ให้ เป็นผลที่อัญญาโกณฑัญญะนี้ปรารถนาในอดีตทีเดียว เราหาได้เลือกหน้าให้ไม่”


    ๐ พระเถระบวชหลานชาย

    ครั้งหนึ่ง พระอัญญาโกณฑัญญเถระ มายังกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อบวชให้กับปุณณมาณพ หลานชายของท่านผู้เป็นบุตรของนางมันตานีพราหมณี (ผู้ซึ่งตำราบางแห่งบอกว่า เป็นน้องสาวของท่าน) โดยที่ชื่อของท่านปุณณมาณพเหมือนกับพระเถระอีกรูปหนึ่งซึ่งชื่อ ปุณณะ เช่นเดียวกัน จึงเรียกท่านว่า พระปุณณมันตานีบุตร พระปุณณมันตานีบุตรท่านนี้ เมื่อบวชแล้วก็ได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหัตผล ต่อมาพระบรมศาสดาได้ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะของเหล่าภิกษุผู้เป็น ธรรมกถึก


    ๐ พระเถระปลีกตัวไปอยู่ป่า

    ในระยะเวลาประมาณ ๑๒ ปีสุดท้ายแห่งอายุของท่าน ท่านได้ไปอยู่ในถิ่นช้างตระกูลฉันททันตะ ใกล้สระมันทากินีโปกขรณี ซึ่งเป็นสถานที่อยู่แห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เนื่องจากท่านเป็นพระมหาสาวกผู้เป็นที่เคารพนับถือทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้ง หลาย เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไปยังสำนักของพระตถาคต กระทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้วก็จะเข้าไปบูชาพระเถระด้วยเสมอ เป็นธรรมดาว่าเมื่อมีผู้มาสู่สำนัก ท่านก็ต้องแสดงธรรมกถา หรือปฏิสันถารด้วย พระเถระเป็นผู้ปรารถนาความสงัด ท่านจึงคิดจะปลีกตนไปอยู่ ณ ที่ดังกล่าว

    อีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ วันหนึ่ง พระเถระเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของตน เป็นคนเกียจคร้าน ไม่ประกอบด้วยความเพียร มีจิตฟุ้งซ่าน มักคลุกคลีอยู่กับบุคคลผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร จึงไปหาศิษย์ผู้นั้นแล้วให้โอวาทภิกษุนั้นว่า ท่านอย่ากระทำอย่างนี้เลย ท่านจงละบุคคลผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร คบหาบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรทั้งหลาย.ภิกษุนั้นไม่สนใจต่อคำสอนของพระเถระ. พระเถระถึงธรรมสังเวช ต่อจริยาของภิกษุนั้น

    อีกเหตุหนึ่ง ในเวลาแสดงธรรม เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ตรงกลาง พระธรรมเสนาบดีนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวา พระโมคคัลลาะนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้าย ส่วนเบื้องหลังแห่งพระสาวกทั้ง ๒ นั้น เขาปูอาสนะไว้สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะ เหล่าภิกษุที่เหลือนั่งแวดล้อมท่าน พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีความเคารพในพระเถระ เพราะท่านแทงตลอดธรรมอันเลิศและเป็นพระเถระผู้เฒ่า พระเถระเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้เกรงใจต่อเรา เราพึงจะทำให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่โดยความสำราญ คิดดั่งนั้นแล้วพระเถระจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลขอประทานอนุญาตไปอยู่ในชนบท พระศาสดาก็ทรงอนุญาต

    ครั้นพระเถระเก็บงำเสนาสนะแล้ว ถือบาตรจีวรไปยังริมสระมันทากินีโปกขรณี ถิ่นช้างตระกูลฉัททันตะ ซึ่งเมื่อกาลก่อน โขลงช้างประมาณ ๘,๐๐๐ เชือก เคยปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มาครั้งนี้ โขลงช้างเมื่อเห็นพระเถระก็ยินดีคิดว่าบุญเขตของพวกเรามาถึงแล้ว จึงเอาเท้าปรับที่สำหรับจงกรม เอาหญ้าออก นำกิ่งไม้เครื่องกีดขวางออก จัดแจงที่อยู่ของพระเถระ ทำวัตรทั้งหมด ประชุมปรึกษากันตั้งเวรกันไว้สำหรับอุปัฏฐากพระเถระ


    ๐ พระเถระทูลลาพระพุทธองค์เพื่อไปนิพพาน

    พระเถระอยู่ในป่านี้ตลอด ๑๒ ปี ครั้นท่านได้ตรวจดูอายุสังขารก็ทราบว่าสิ้นแล้ว จึงพิจารณาถึงสถานที่ที่ควรจะปรินิพพาน ท่านพิจารณาว่า เหล่าช้างทั้งหลายบำรุงเราถึง ๑๒ ปี กระทำกิจยากที่ผู้อื่นจะทำได้ เราจักขออนุญาตพระศาสดาปรินิพพานในที่ใกล้ๆ ช้างเหล่านั้นแหละ แล้วจึงเหาะไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ครั้นถึงท่ามกลางสงฆ์อันมีพระบรมศาสดาเป็นประธาน แวดล้อมด้วยหมู่พุทธบริษัทแล้ว ท่านจึงถวายบังคมพระบรมศาสดา แล้วจึงประกาศชื่อ ด้วยพิจารณาว่า ท่านละเมืองไปอยู่ป่านานถึง ๑๒ ปี ในหมู่ชนทั้งหลายที่มาเฝ้าพระพุทธองค์ คนบางพวกจำพระเถระได้ บางพวกจำไม่ได้ บรรดาคนเหล่านั้น คนเหล่าใดที่ไม่รู้จักพระเถระ จักคิดร้ายว่า พระแก่ศีรษะขาวโพลนหลังโกงซี่โครงคดรูปนี้ทำปฏิสันถารกับพระศาสดา คนเหล่านั้นจักตกในอบาย แต่คนเหล่าใดรู้จักพระเถระ ก็จักเลื่อมใสว่า เป็นมหาสาวกปรากกฎในหมื่นจักรวาลเหมือนพระศาสดา คนเหล่านั้นจักเข้าถึงสวรรค์ ดังนี้ เพื่อจะปิดทางอบาย เปิดทางสวรรค์สำหรับชนเหล่านั้น ท่านจึงได้ประกาศชื่อของท่าน

    ครั้นแล้วพระเถระจึงทำปฏิสันถารกับพระศาสดาขออนุญาตกาลปรินิพพานว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า โกณฑัญญะเธอจักปรินิพพานที่ไหน พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็นอุปัฏฐากของข้าพระองค์ได้กระทำกิจที่ผู้อื่นทำได้ยาก ข้าพระองค์จักปรินิพพานในที่ใกล้ๆ ช้างเหล่านั้น พระศาสดาทรงอนุญาต

    พระเถระทำประทักษิณพระทศพลแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเห็นครั้งนั้น เป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ ครั้งนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย มหาชนเมื่อทราบข่าวก็ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ พระเถระถวายบังคมพระศาสดาแล้วออกมายืนที่ซุ้มประตู สั่งสอนมหาชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลยอย่าคร่ำครวญเลย เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม เป็นพุทธสาวกก็ตาม สังขารที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าไม่แตกทำลาย ย่อมไม่มี แล้วท่านก็เหาะไปลงที่ริมสระมันทากินี สรงน้ำในสระโบกขรณีนุ่งสบงห่มจีวรแล้ว เก็บงำเสนาสนะ เข้าผลสมาบัติล่วง ๓ ยาม ปรินิพพานเวลาจวนสว่าง ต้นไม้ทุกต้นไม้หิมวันตประเทศได้โน้มน้อมออกผลบูชาพร้อมกับเวลาพระเถระ ปรินิพพาน

    ช้างตัวเข้าเวรไม่รู้ว่าพระเถระปรินิพพานจัดน้ำบ้วนปากและไม้ชำระฟันทำ วัตรปฏิบัติแต่เช้าตรู่ นำของควรเคี้ยวและผลไม้มายืนอยู่ที่ท้ายที่จงกรม ช้างนั้นไม่เห็นพระเถระออกมาจนพระอาทิตย์ขึ้นคิดว่า นี่อะไรกันหนอ เมื่อก่อน พระผู้เป็นเจ้าจงกรม ล้างหน้าแต่เช้าตรู่วันนี้ยังไม่ออกจากบรรณศาลา จึงเขย่าประตูกุฎี และดูเห็นพระเถระกำลังนั่ง จึงเหยียดงวงออกลูบคลำค้นหาลมอัสสาสปัสสาสะ รู้ว่าลมอัสสาสปัสสาสะขาด พระเถระปรินิพพานแล้ว จึงสอดงวงเข้าในปากร้องเสียงดังลั่น ทั่วหิมวันตประเทศได้มีเสียงบันลือเป็นอันเดียวกัน ช้าง ๘,๐๐๐ ประชุมกันยกพระเถระขึ้นนอนบนกระพองของหัวหน้าโขลง ถือกิ่งไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง แวดล้อมแห่ไปทั่วหิมวันต์แล้วมายังที่ของตนตามเดิม.

    ท้าวสักกเทวราชปรึกษาพระวิษณุกรรมเทพบุตรว่า พระอัญญาโกณฑัญญะเถระปรินิพพานเสียแล้ว เราจักกระทำสักการะ ท่านจงเนรมิตปราสาทยอดขนาด ๙ โยชน์ล้วนแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง พระวิษณุกรรมเทพบุตรทำตามเทวบัญชาแล้ว ให้พระเถระนอนในปราสาทนั้น ได้มอบหมายปราสาทให้แก่ช้างทั้งหลาย ช้างเหล่านั้นยกปราสาทเวียนเขาหิมวันต์ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์หลายรอบ พวกอากาศเทวดารับจากงวงของช้างเหล่านั้น แล้วแห่แหนปราสาทขึ้นไปจนถึงพรหมโลกครั้นแล้วพวกพรหมได้ให้ปราสาทแก่พวก เทวดา พวกเทวดาได้ให้ปราสาทแก่ช้างทั้งหลายตามเดิม

    เทวดาแต่ละองค์ได้นำท่อนจันทร์ประมาณ ๔ องคุลีมา ได้มีจิตกาธานประมาณ ๙ โยชน์ พวกเทวดายกเรือนยอดขึ้นสู่จิตกาธาน ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เหาะมาสาธยายตลอดคืน พระอนุรุทธเถระแสดงธรรม เทวดาเป็นอันมากได้ตรัสรู้ธรรม ในวันรุ่งขึ้นเวลาอรุณขึ้นนั่นอง เทวดาทั้งหลายให้ดับจิตกาธานแล้ว เอาพระธาตุมีสีดังดอกมะลิตูมบรรจุผ้ากรองน้ำ นำมาวางไว้ในพระหัตถ์ของพระศาสดา ในเมื่อพระองค์เสด็จออกถึงซุ้มประตูพระวิหารเวฬุวัน พระศาสดาทรงรับผ้ากรองน้ำบรรจุพระธาตุแล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ไปที่แผ่นดิน พระเจดีย์เหมือนฟองเงินชำแรกแผ่นดินใหญ่ออกมา พระศาสดาทรงบรรจุพระธาตุในพระเจดีย์ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ได้ยินว่า พระเจดีย์นั้นก็ยังดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้แล

    [​IMG]

    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ


    เป็นพราหมณ์หนุ่ม..ที่ฉลาด
    เก่งกาจลักษณะมนต์..และไตรเพท
    ชีวิตได้พลิกผัน..เมื่อมีเหตุ
    เข้าในเขตเวียงวัง..เพื่อทำนาย

    พระมหาบุรุษ..ผู้ประเสริฐ
    ก่อกำเนิดเกิดขึ้น..ด้วยจุดหมาย
    ตรัสรู้ช่วยสรรพสัตว์..ให้พ้นภัย
    จึงตั้งใจติดตาม..เพื่อศึกษา

    ยามที่พระมหาบุรุษ..ทรงบำเพ็ญ
    เที่ยวหลีกเร้นทำความเพียร..เพื่อเสาะหา
    ตรัสรู้เข้าถึงธรรมเป็น..องค์พระสัมมา
    โกณฑัญญะเฝ้าดูแล..มิห่างไกล

    จนถึงวันที่พระองค์..ทรงบรรลุ
    โกณฑัญญะไม่อยู่..ได้หนีหาย
    น้อยใจมหาบุรุษไม่บำเพ็ญ..ทุกข์ทางกาย
    ได้คิดไกลว่าพระองค์..คงถอยละ

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..ได้บังเกิด
    ผู้ประเสริฐหลุดพ้น..ห้วงวัฏฏะ
    ผู้นำแสงสว่าง..กลับคืนมา
    โกณฑัญญะฟังธรรม..ก่อนผู้ใด

    ล้อแห่งธรรมได้..ถูกหมุนแล้ว
    โกณฑัญญะเพริศแพร้ว..ด้วยธรรมใส
    ธัมมจักกัปวัตนสูตร..ได้หยุดใจ
    อนัตตลักขณสูตรได้..เป็นอรหันต์

    ได้ยกย่องเป็นผู้..รัตตัญญู
    ได้เอหิภิกขุ เป็น..องค์แรกนั้น
    ได้เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์..พระทรงธรรม์
    ได้เผยแผ่พุทธธรรม..ปราบหมู่มาร..

    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6771

     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ต้องปฏิบัติธรรมอย่างไรหนอถึงได้เป็น "องค์อัมรินทร์ราชา"


    [​IMG]

    วัตรบท เจ็ด


    คงต้องถาม ต่อแน่ ข้อวัตรเจ็ด
    มีความเด็ด อย่างไร ใช่ไหมหนา
    จึ่งทำให้ ได้เกิดเป็น พระอินทรา
    จอมราชา ของหมู่เทพ ในพิมาน

    หนึ่งเลี้ยงดู พ่อแม่ ที่เคารพ (มาตาเปติภโร)
    สองน้อมนบ เครือญาติ มิอาจหาญ (กุเลเชฏฺฐาปจายี)
    สามวาจา อ่อนน้อม ค้อมดวงมาลย์ (สณฺหวาโจ)
    วาจาสมาน สามัคคี ข้อสี่ทำ (อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี)

    ห้าเผื่อแผ่ ให้ทาน อยู่เป็นนิจ (สํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย)
    มีดวงจิต ปราศตระหนี่ คอยอุปถัมภ์
    หกคำพูด ล้วนเป็น คำสัตย์ธรรม (สจฺจวาโจ)
    เจ็ดความโกรธ มีให้ล้ำ มากล้ำกราย (อโกธโน หรือ โกธาภิกู)

    แม้ทำได้ เจ็ดข้อ เป็นกิจวัตร
    ทั้งปฏิบัติ อยู่ในศีล ธรรมหมาย
    อธิษฐาน อยู่ทุกชาติ อย่าให้คลาย
    สู่ที่หมาย ท้าวสักกะเทวราชา



    http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/view.php-No=774.htm

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2009
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    สุดท้ายก่อนทำบุญทำกุศลในวันสำคัญทั้ง 2 ที่จะมาถึง ให้ตั้งใจจริงที่จะทำในบุญนั้นๆ แล้วโน้มจิตให้มั่น ขอเอาบารมีของพระที่เราเคารพนับถือที่สุดไม่ว่าจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดก็ตาม หรือพระอริยสงฆ์รูปใดก็ตามให้ท่านเป็นพยานบุญให้เรา และโมทนาบุญให้เราด้วย เช่นนึกถึงพระแก้วมรกต หลวงพ่อโสธร หรือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นต้น รำลึกนึกถึงผลบุญว่าจะอุทิศให้ใครก็ได้ แต่ขอให้ต่อท้ายว่าในอดีตชาติทุกๆ ภพ ทุกๆ ชาติ รวมถึงในปัจจุบันชาติ เช่นพ่อแม่ของข้าพเจ้า....แล้วให้ตั้งใจที่บ้านเรานั่นแหละดีที่สุด เพราะเงียบสงบ ไม่วุ่นวาย ไม่ยุ่งเหยิง กำลังใจจะดีมาก เพราะการไปอธิษฐานที่วัดอาจหงุดหงิดในกลิ่นธูป ควันเทียน คนเบียดเสียด จะทำให้จิตปีติในบุญอ่อนไป ผลที่ได้จะไม่ครบบุญกิริวัตถุ 10 ทำร้อย อาจจะได้แค่เก้าสิบ เพราะเผลอไปบ่น หรือตำหนิเค้าในใจ ทำเสร็จรักษาอารมณ์บุญให้ได้นับว่าไม่เสียหลายในพรรษานี้ที่ได้เต็มใจในการทำบุญครับ สำหรับผมปีนี้รอดตัว เพราะได่นำนักเรียนที่ดูแลอยู่เป็นนักเรียน ปวช.1 จำนวน 450 คนได้ถวายเทียนพรรษา ให้กวาดลานวัด ถูพื้นศาลา และล้างห้องน้ำ ต่อท้ายด้วยการเป็นเจ้าภาพถือผ้าไตรให้กับพระที่ปาวรณาบวชแล้วไม่คิดที่จะสึกตลอดชีวิต เพราะเบื่อในชีวิตฆราวาสเป็นที่สุดแล้ว 1 องค์เมื่อเช้านี้ แถมได้ทำบุญทั้งโลงศพพระ พร้อมผ้าบังสกุลที่เป็นส่วนตัวอีก 1 ผืน ตามที่ได้แจ้งไว้ให้ทราบข้างต้นด้วย...ตอนทำบุญก็อธิษฐานอย่างที่บอกข้างต้นเช่นกัน เพราะถูกครูอาจารย์สั่งสอนมาอย่างนี้จึงมาบอกต่อกันตั้งใจไปตั้งแต่ที่บ้าน ของยังงี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่นา เดี๋ยวไปยืนงงๆ ต่อหน้ายมบาล ท่านจะได้มาแสดงตัวว่านี่คนนี้เป็นลูกศิษย์ฉัน เค้ายังเคยเรียกฉันมาเป็นพยานบุญและโมทนาบุญให้เค้า คนๆ นี้เอาขึ้นไปข้างบนก่อน..แล้วค่อยมาว่ากันทีหลัง...นึกอย่างนี้ทุกครั้งที่ทำบุญจนให้เป็นนิสัย ทั้งบุญเล็ก บุญน้อย หรือการใส่บาตรตอนเช้า การช่วยชีวิตสัตว์ ฯลฯ ให้บอกทุกครั้งที่ทำครับ (ครูอาจารย์เคยเห็นอย่างนี้เลยต้องมาบอกกันให้ทราบ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กรกฎาคม 2009
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ประกาศพระสัจธรรม-แสดงปฐมเทศนา

    [​IMG]

    พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ที่ขุดพบในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลก[12]
    (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ)

    แหล่งที่มา : พระมหาดร.คมสรณ์ คุตตธมฺโม



    เมื่อปัญวัคคีย์ตั้งใจเพื่อสดับพระธรรมของพระองค์แล้ว[13]
    พระพุทธองค์ทรงจึงทรงพาเหล่าปัญจวัคคีย์ไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันร่มรื่น
    แล้วทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเรียกว่า "ปฐมเทศนา"[14]
    เป็นการยังธรรมจักรคือการเผยแผ่พระธรรมให้เป็นไปเป็นครั้งแรกในโลก[15]


    พระพุทธองค์ทรงกล่าวสรุปถึงเนื้อหาของการแสดงพระปฐมเทศนา
    ไว้ในสัจจวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า[16]


    " ... ภิกษุทั้งหลาย! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว
    ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้นครพาราณสี,
    เป็นพระธรรมจักรที่สมณะพราหมณ์, เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก
    จะต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้ (คือความจริงที่ไม่มีผู้ใดปฏิเสธได้)
    ข้อนี้คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย
    การจำแนก และการทำให้ง่าย ซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการ:
    สี่ประการนั้นได้แก่ ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์,
    ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,
    และความจริงอันประเสริฐคือทางที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์...


    — มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สัจจวิภังคสูตร


    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงพระปฐมเทศนานี้อยู่
    ดวงตาเห็นธรรม ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า
    "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา"
    ท่านโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้ว
    รูปปูนปั้นพระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแก่ปัจจวัคคีย์
    ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี


    พระพุทธองค์ทรงทราบความที่พระโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม
    มีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในคำสอนของพระองค์[17]
    จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ"
    ท่านผู้เจริญ ท่านโกณฑัญญะ รู้แล้วหนอ
    เพราะเหตุนั้น คำว่า "อัญญา" นี้
    จึงได้เป็นคำนำหน้าชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ[18]



    เมื่อท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบันแล้ว
    จึงได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท
    พระพุทธองค์จึงทรงประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ว่า
    "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว
    เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"[19]


    ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
    จึงนับเป็น "พระสงฆ์อริยสาวกองค์แรก" ในพระพุทธศาสนา1
    ซึ่งวันนั้นเป็นวันเพ็ญ กลางเดือนอาสาฬหะ หรือเดือน 8
    เป็น วันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก
    คือมี "พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์" ครบบริบูรณ์[20]


    ปัจจุบันสถานที่พระพุทธเจ้าประกาศพระอนุตตรสัจธรรมเป็นครั้งแรก
    และสถานที่บังเกิดพระสงฆ์องค์แรกในโลก
    อยู่ในบริเวณที่ตั้งของ ธรรมเมกขสถูป (แปลว่า: สถูปผู้เห็นธรรม)
    ภายในอิสิปตนมฤคทายวัน หรือ สารนาถในปัจจุบัน

    [​IMG]

    คำอธิบายภาพ :รูปปั้นพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาโปรดเบญจวัคคีย์
    ในวัดพุทธพม่า ใกล้กับสารนาถ เมืองพาราณสี

    เจ้าของลิขสิทธิ์ :ภาพนี้ไม่ได้ระบุเจ้าของลิขสิทธิ์
    หรือผู้อัปโหลดไม่ทราบว่าคัดลอกมาจากแหล่งไหน

    แหล่งที่มา : พระธรรมฑูตสายประเทศอินเดีย.หนังสือสมุดภาพพุทธภูมิ
    ฉลองชนมายุ ๘๐ ปี พระวิสุทธาธิบดี.2541.กรุงเทพ


    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=23461


     
  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    จุดแสวงบุญและสภาพของสารนาถในปัจจุบัน

    ปัจจุบัน สถานที่แสวงบุญในบริเวณสารนาถได้รับการขุดค้นบ้างเป็นบางส่วน
    บางส่วนก็ยังคงจมอยู่ใต้ดิน แต่ซากพุทธสถานสำคัญ ๆ
    ส่วนใหญ่ในพุทธประวัติก็ได้รับการขุดค้นขึ้นมาหมดแล้ว เช่น

    * ธรรมเมกขสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา
    และประกาศส่งพระสาวกไปเผยแพร่พระศาสนา

    * ยสสถูป สถานที่พระพุทธเจ้าทรงพบท่านยสะ
    ซึ่งต่อมาได้บรรลุเป็นพระอรหันตสาวกองค์ที่ 6 ในโลก[39]

    * รากฐานธรรมราชิกสถูป สถานที่พระพุทธเจ้า
    ทรงแสดงอนัตตลักขณะสูตร และสถานที่เคยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

    * พระมูลคันธกุฏี พระคันธกุฏีที่ประทับจำพรรษา
    ของพระพุทธองค์ในพรรษาแรกและพรรษาที่ 12

    * ซากเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งหักเป็น 5 ท่อน
    ในอดีตเสานี้เคยมีความสูงถึง 70 ฟุต
    และบนยอดเสามีรูปสิงห์ 4 หัวอีกด้วย
    ปัจจุบันสิงห์ 4 หัว ได้เหลือรอดจากการทำลาย
    และรัฐบาลอินเดียได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สารนาถ
    โดยสิงห์ 4 หัวนี้ ได้ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศอินเดีย
    และข้อความจารึกของพระเจ้าอโศกมาราชที่จารึกไว้ใต้รูปสิงห์ดังกล่าว
    คือ "สตฺยเมว ชยเต"
    (เทวนาครี: सत्यमेव जयते) หมายถึง "ความจริงชนะทุกสิ่ง"[40])
    และได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย



    บริเวณโดยรอบสถานที่สำคัญดังกล่าว
    มีหมู่พุทธวิหารและซากสถูปมากมายอยู่หนาแน่น
    แสดงถึงความศรัทธาของคนในอดีตได้เป็นอย่างดี
    และนอกจากสถานที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในพุทธประวัติแล้ว
    ผู้มาแสวงบุญยังนิยมมาเยี่ยมชมวัดมูลคันธกุฏีวิหารใหม่
    ที่สร้างโดยท่านอนาคาริก ธรรมปาละ พระสงฆ์ชาวศรีลังกา
    ผู้ฟื้นฟูพุทธสถานสารนาถให้กลายเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญเหมือนในอดีต
    วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่
    ได้รับมอบจากรัฐบาลอินเดียและวัดนี้ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามมากภาย
    ในพุทธวิหารอีกด้วย และใกล้กับสารนาถ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สารนาถ
    เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้ภายในบริเวณสารนาถ
    ซึ่งโบราณวัตถุที่สำคัญคือ ยอดหัวสิงห์พระเจ้าอโศก
    และพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนา
    ซึ่งมีผู้ยกย่องว่ามีความสวยงามมากที่สุดองค์หนึ่งของโลก[41]


    [​IMG] วัดพุทธนานาชาติ

    [​IMG]

    กวางเลี้ยงใน สารนาถ (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) พาราณสี

    Author Tevaprapas Makklay



    [​IMG]

    อักษรพราหมี บนเสาศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช

    ที่มา : <!-- m -->http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Aram ... arnath.JPG<!-- m -->


    [​IMG]

    บรรยากาศหมู่มหาสังฆวิหารซากพุทธสถานโบราณ ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
    ถ่ายที่: สารนาถ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
    Author : Tevaprapas Makklay



    [​IMG]

    เจาคันธีสถูป สถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าพบปัญจวัคคีย์
    Photo perso de fr:Utilisateur:Nataraja



    [​IMG]

    ซากเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชที่ถูกทุบทำลาย

    เสาอโศก
    ถ่ายที่: สารนาถ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
    Author : Tevaprapas Makklay



    [​IMG]

    ซากฐานเจดีย์ธรรมราชิกสถูป
    สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตรโปรดปัญจวัคคีย์
    ทำให้ปัญจวัคคีย์บรรลุเป็นพระอรหันต์

    ธรรมราชิกสถูป สารนาถ
    ที่มา:
    <!-- m -->http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Aram ... arnath.JPG<!-- m -->


    [​IMG]

    ยสสถูป สถานที่พระยสเถระบรรลุพระอรหันต์ (พระอริยสาวกองค์ที่ 6)
    พร้อมกับบิดาของท่านที่ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นอุบาสกคนแรกของโลก

    ยสะสถูป สถานพระพระพุทธเจ้าพบและเทศน์โปรดพระยสะเถระ
    พระอรหันต์องค์ที่ ๗ ในโลก

    ถ่ายที่: สารนาถ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
    Author : Tevaprapas Makklay



    [​IMG]

    ซากเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราชที่ถูกทุบทำลาย

    เสาอโศก
    ถ่ายที่: สารนาถ เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
    Author : Tevaprapas Makklay



    [​IMG]

    หัวสิงห์ยอดเสาอโศกในสารนาถ
    โบราณวัตถุที่สำคัญที่สุดของอินเดีย
    หัวสิงห์นี้ถูกใช้เป็นตราประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

    หัวสิงห์พระเจ้าอโศก สารนาถ
    ที่มา:
    <!-- m -->http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Sarn ... Ashoka.jpg<!-- m -->


    [​IMG]

    วัดมูลคันธกุฏีวิหารใหม่ สร้างโดยพระสงฆ์ศรีลังกา
    (อนาคาริก ธรรมปาละ) เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
    แหล่งที่มา :
    <!-- m -->http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84% ... thissa.jpg<!-- m -->


    [​IMG]

    พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ภายในวัดมูลคันธกุฏีวิหารใหม่

    ผู้สร้างสรรค์ : Hyougushi / Hideyuki KAMON from Takarazuka
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG] หลักธรรมในวันอาสาฬหบูชา

    เนื่องด้วย วันอาสาฬหบูชา มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
    ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก
    และได้ทรงแสดงเป็นครั้งแรกในวันอาสาฬหบูชานี้
    หลักธรรมสำคัญในพระสูตรบทนี้
    จึงเป็นธรรมะสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปพิจารณาและทำความเข้าใจ
    และอาจจะเรียกได้ว่าหลักธรรมในพระสูตรดังกล่าวเป็นหลักธรรมสำคัญ
    ในวันอาสาฬหบูชา[44] ซึ่งเนื้อหาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มี 3 ตอน ดังนี้



    [​IMG] สิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง

    ส่วนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค
    กล่าวคือทรงแสดงสิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง
    อันได้แก่ การปฏิบัติตนย่อหย่อนสบายกายเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค)
    และการปฏิบัติตนจนทรมานกายเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค)
    คือทรงแสดงการปฏิเสธลักษณะของลัทธิทั้งปวงที่มีในสมัยนั้นดังนี้


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ


    * การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย
    เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1

    * การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก
    ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1"


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    การที่พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธแนวทางสองอย่างดังกล่าวมา
    ในขณะเริ่มปฐมเทศนา เพื่อแสดงให้รู้ว่า
    พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้พ้นจากทุกข์ด้วยการแก้ปัญหานอกกาย
    คือ หนีความทุกข์ด้วยการมัวแต่แสวงหาความสุข
    (หนีความทุกข์อย่างไม่ยั่งยืน เพราะต้องแสวงหามาปรนเปรอตัณหาไม่สิ้นสุด)
    หรือหาทางพ้นทุกข์ด้วยการกระทำตนให้ลำบาก
    (สู้หรืออยู่กับความทุกข์อย่างโง่เขลา ขาดปัญญา ทำตนให้ลำบากโดยใช่เหตุ)
    เพื่อที่จะทรงขับเน้นหลักการที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงต่อไปว่า
    มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากแนวคิดพ้นทุกข์เดิม ๆ ซึ่ง
    เป็นการประกาศแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก
    อันได้แก่การแก้ทุกข์ที่ตัวต้นเหตุ คือ แก้ที่ภายในใจของเราเอง
    คือ มัชฌิมาปฏิปทา ของพระพุทธองค์



    [​IMG] มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)


    หลักธรรมในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีจุดเด่นคือเน้นทางสายกลาง
    ให้มนุษย์มองโลกตามความเป็นจริง (แก้ทุกข์ที่ใจ) เพื่อพบกับความสุขที่ยั่งยืนกว่า


    สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมาคือ มัชฌิมาปฏิปทา
    คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์แบบเดิม ๆ แล้ว
    ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก คือ มัชฌิมาปฏิปทา
    หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง
    อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8
    ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้


    "ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น
    นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ
    เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?


    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 นี้แหละ
    คือปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1
    เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1"


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น
    ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด
    ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    [​IMG] อริยสัจสี่


    สุดท้ายทรงแสดงสิ่งที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้ คือทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ
    และ "กิจ" ที่ควรทำในอริยสัจ 4 ประการ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์
    โดยแก้ที่สาเหตุของทุกข์ กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ สมุทัย ควรละ
    นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ลงมือปฏิบัติ


    โดยข้อแรกคือ ทุกข์ ในอริยสัจทั้งสี่ข้อนั้น
    ทรงกล่าวถึงสิ่งเป็นความทุกข์ทั้งปวงในโลกไว้ดังนี้


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ
    คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์
    ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์
    การเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
    ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์
    ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
    โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



    จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าการ ยึดถือในสิ่งทั้งปวงนั่นเอง
    เป็น "สาเหตุแห่งความทุกข์" คือ

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ "ตัณหา"
    อันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน
    มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา."


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    จากนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าทุกข์สามารถดับไปได้
    โดยการดับที่ตัวสาเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่ยึดถือว่ามีความทุกข์ หรือเราเป็นทุกข์
    กล่าวคือ สละถอนเสียซึ่งการถือว่ามีตัวตน อันเป็นที่ตั้งของความทุกข์
    (เมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในใจว่าตนนั้นมี "ตัวตน"
    ที่เป็นที่ตั้งของความทุกข์ ทุกข์ย่อมไม่มีที่ยึด จึงไม่มีความทุกข์[45]) ดังนี้


    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ
    คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรค
    คือ "หมดราคะ" "สละ" "สละคืน" "ปล่อยไป" "ไม่พัวพัน"."


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



    เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงผลของการปฏิบัติกิจในศาสนาแล้ว
    จึงได้ตรัสแสดงมรรค คือวิธีปฏิบัติตามทางสายกลางตามลำดับ 8 ขั้น
    เพื่อหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง คือ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
    คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ 1

    ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1
    พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1


    — พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
    มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    โดยสรุป พระพุทธองค์ทรงตรัสเรียงวิธีแก้ทุกข์
    โดยแสดงให้เห็นปัญหา (ทุกข์) สาเหตุของปัญหา (สมุทัย)
    และจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาคือการดับทุกข์ (นิโรธ)
    โดยทรงแสดงวิธีปฏิบัติ (มรรค) ไว้ท้ายสุด
    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ทราบจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติก่อน
    เพื่อการเข้าใจไม่ผิด และจะได้ปฏิบัติ
    โดยมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยไม่คลาดเคลื่อน

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=23461

    บทความและภาพข้างต้นนี้ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อคุณลูกโป่งที่ช่วยนำเสนอบทความและภาพประกอบที่ดี ดูแล้วเข้าใจง่าย และสรุปส่งท้ายด้วยหลักธรรมตามกาลที่เหมาะสมอย่างที่สุด ขออภัยด้วยที่คัดลอกมาลงในกระทู้โดยมิได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

    พันวฤทธิ์
    6/7/52
     
  11. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    โอนปัจจัยจำนวน 1000.00 บาท วันนี้เวลา 11.10 น.ค่ะ ขออนุโมทนาบุญทุกท่านด้วยค่ะ<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ภาพหายาก...หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
  14. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105





    ประมวลภาพ “หลวงพ่อเกษม เขมโก”

    สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า)
    ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ในหลวง กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก



    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงพ่อเกษม เขมโก ครั้งยังเป็นพระหนุ่ม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณฺโณ-หลวงพ่อเกษม เขมโก
    ในงานพิธีพุทธาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔
    ณ วัดนางเหลียว ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง


    หลวงพ่อเกษมได้บอกกับลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ติดตามหลวงปู่โต๊ะ
    องค์ที่นั่งปรกอยู่ข้างบนว่า...
    “เราไหว้องค์นี้เพียงองค์เดียวก็พอแล้ว”
    (ทั้งๆ ที่งานพิธีในวันนั้น มีการนิมนต์พระเกจิชั้นยอด
    มาร่วมนั่งปรกหลายต่อหลายองค์)


    ที่มาของภาพ : <!-- m -->��ҹ�ä�ٺ� - �ä�ٺ�,���,����ѭ�,��ǧ����� ����ѭ�, �Ѵ���, �Դ�š, �Ը��Դ�š,�������ͧ,����ͧ�ҧ - �����иҵ�਴����Шӻ��Դ�����ӹ��ʡ��, �֡�� : �ٻ����͹����ž.��� �Ѵ˹ͧ� (��è����+�Ѱ�)

    [​IMG]

    [​IMG]

    รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อเกษม เขมโก
    ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
    ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ประมวลภาพ “หลวงพ่อเกษม เขมโก”



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2009
  15. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    กราบหลวงปู่ขาว หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่โต๊ะ และหลวงปู่เกษม ครับ ใครอยากมีตังค์ใช้ไม่ขาดโหลดรูปหลวงปู่เกษมนับแบงค์ไปบูชาซิครับ โชคลาภดีไม่ต้องเสกใดๆ รูปท่านๆเคยบอกไว้แล้วว่าใช้ได้หมดไม่ต้องเสกเพิ่ม

    [​IMG]

     
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ฮะฮ้ายังจำได้ ตอนโหลดภาพจากกระทู้ลานธรรมจักร ยังบอกแฟนเลย ว่าภาพนี้ตามหามาน พี่ใหญ่บอกว่าใช้ได้เลยไม่มีวันอดต้องเซฟเก็บใส่กรอบไว้ เรียกเงินเรียกทองฉมังนัก ก็ดูตอนท่านรีดพับแบงค์ซิ ท่านตั้งใจออกอย่างนั้น รีดพับด้วยความบรรจง ยังกะบอกใบ้ว่า "ให้เก็บแบงค์ที่มีรูปในหลวงท่านให้ดีเน้อ...จะได้ร่ำรวยกัน และให้เก็บไว้ด้วยความบรรจงและเคารพ จะใช้มันก็จงใช้ด้วยความระมัดระวังค่อยๆ คลี่ (มีสติ) แล้วค่อยใช้ี"

    [​IMG]

    [​IMG]


    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=23169
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105

    ขอบคุณมากและขอโมทนาบุญสำหรับน้องแมวหลวงด้วยจ๊ะ สุขสันต์ในวันทำบุญของเราชาวพุทธอย่าลืมเข้าวัดทำบุญด้วยน๊ะน้องรัก

    [​IMG]







     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ภาพที่ผู้ฝึกสมาธิได้ถึงขั้นอัปปนาฯ กายเบา จิตเบา แม้เพียงผู้สูงอายุเพียงแค่ 3 คน จับชายผ้าอย่างหลวมๆ ก็สามารถยกตัวผู้ฝึกได้อย่างสบาย นับว่าน่าอัศจรรย์มาก สำหรับการฝึกจิตที่ได้พบในขั้นนี้ ดังนั้น เรื่องการเหาะเหินเดินอากาศสำหรับผู้ที่ได้อภิญญาจิตระดับสูง ก็คงที่จะไม่ใช่เรื่องที่พ้นวิสัยแต่ประการใด


    [​IMG]



     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,790
    ค่าพลัง:
    +16,105
    ภาพที่น่าประทับใจอีกภาพหนึ่งของหลวงปู่ขาว ที่ดูแล้วเกิดพลังแห่งบุญและเมตตาธรรมแห่งท่านในทันทีที่เห็น

    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]

    คณะทุนนิธิฯ ขอน้อมนำเอาแสงเทียนบูชาคุณของหลวงปู่

     
  20. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    วันนี้โอนเงินร่วมทำบุญ 400 บาท ครับ มีผมและครอบครับ
    โมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • slip070752.jpg
      slip070752.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.1 KB
      เปิดดู:
      98

แชร์หน้านี้

Loading...