เรื่องเด่น 5 ศาสนาห่วงโซเชียลบิดเบือนคำสอนทำสังคมแตกแยก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    news_mPlTKDICVS173834_533.jpg

    จากการประชุมเสวนา 5 ศาสนาเรื่อง “การศึกษาและเผยแผ่ศาสนาในสังคมยุคดิจิทัล” ของผู้นำศาสนาและศาสนิกชน 5 ศาสนา ได้แก่ พุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และซิกข์ ณ หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันนี้(28 ก.พ.) นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา(ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) กล่าวว่า จากการที่สื่อโซเซียลมีเดียมีอิทธิพลต่อการนำเสนอข่าวสารทั้งทางบวกและลบได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีบางกลุ่มนำประเด็นทางศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือให้ร้ายกัน ตลอดจนเผยแผ่หลักคำสอนที่บิดเบือน ดังนั้น ศน.จึงประสานงานกับผู้นำทั้ง 5 ศาสนามาหาแนวทางสร้างความรู้ความเข้าใจและรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในโซเชียลมีเดียขณะนี้มี 2 เรื่องหลัก คือ 1.เรื่องการอุปถัมภ์ศาสนา และ 2. การบิดเบือนคำสอน

    นายมานัส กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับประเด็นการบิดเบือนคำสอนอย่างมาก เนื่องจากมีการใส่ความคิดแบบผิดๆ ให้แก่คน เมื่อมีการส่งต่อข้อมูลไปยังสื่อต่างๆ และผู้รับนำไปถ่ายทอดต่อก็ยิ่งสร้างความเข้าใจผิดมากขึ้น ดังนั้น ศน.จึงเน้นย้ำต่อผู้นำศาสนาขอให้ช่วยสร้างความเข้าใจกับศาสนิกชนที่ถูกต้อง ขณะเดียวกัน ศน. จะส่งเสริมศาสนิกสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความหลากหลายของศาสนายิ่งขึ้น อาทิ กิจกรรมศาสนิกสัมพันธ์ศาสนมงคล 5 ศาสนา ค่ายเยาวชนสมานฉันท์ พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะของทั้ง 5 ศาสนาเสนอต่อรัฐบาล ตามคำสั่งของคณะรักษาความแห่งชาติ (คสช.) เรื่องการอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนา ซึ่งศน.และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ร่วมเป็นเลขานุการสรุปผลการแก้ไขปัญหาด้านศาสนาทุกๆ 3 เดือน

    ด้านพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) กล่าวว่า เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบไม่รู้เท่าทัน ไม่มีสติ ดังนั้น การวางรากฐานให้คนรุ่นใหม่ใช้สื่ออย่างมีสติต้องสอนเด็กตั้งแต่อนุบาล โดยเฉพาะรู้ทันการบิดเบือนข้อมูลทั้งด้านศาสนาและด้านอื่นๆ เพราะที่ผ่านมามีการใช้โซเชียลมีเดียกล่าวร้ายระหว่างศาสนา ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ทางรัฐบาลจึงห่วงใย ถึงการใช้เทคโนโลยีมาห้ำหั่นศาสนิกแต่ละศาสนาให้เกิดความแตกแยก ดังนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการศึกษายุคปัจจุบันจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องทำให้คนรุ่นใหม่มีสติ มีขันติธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอน หากเรามีสติ มีความอดทนไม่หวั่นไหวไม่คล้อยตามสื่อที่บิดเบือนก็จะป้องกันให้สังคมไม่เกิดปัญหาได้

    นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนศาสนาอิสลาม กล่าวว่า ในยุคนี้ การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเหมือนดาบสองคม มีทั้งประโยชน์ และโทษ สิ่งที่เห็นไห้ชัดเจน จากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมาจากการโพสต์ ของคนที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่ดี ดังนั้น จึงควรร่วมมือกันสร้างเครือข่ายคุณธรรมออนไลน์ ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นต้องเข้ามาช่วยทั้งในด้านการตรวจสอบ และดูแลให้มากขึ้น

    มุขนายก ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ผู้แทนศาสนาคริสต์ กล่าวว่าในยุคดิจิทัล เป็นยุคข้อมูลข่าวสารท่วมท้น ถ้าไม่เลือกรับ จะได้สิ่งที่เป็นขยะ สิ่งที่มัวเมา และต้องยอมรับว่า ในประเทศไทยมีบัณฑิตเป็นจำนวนมาก แต่ก็ขาดสติปัญญา ดังนั้น การศึกษาด้านศาสนาควรควบคู่ไปกับการศึกษาสามัญจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สร้างคลังความรู้และปัญญาให้เกิดกับเยาวชนไทยตั้งแต่ต้น และ ครูก็ควรเป็นต้นแบบที่ดีให้กับนักเรียนด้วย.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/education/629915
     

แชร์หน้านี้

Loading...