“เปียงซ้อ” ต้นแบบทำนาขั้นบันได อานิสงส์โครงการ “ปิดทองหลังพระ”

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 11 กันยายน 2010.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    “เปียงซ้อ” ต้นแบบทำนาขั้นบันได อานิสงส์โครงการ “ปิดทองหลังพระ”

    [​IMG]

    เสียงสะท้อนจากชาวบ้านในชุมชนบ้านเปียงซ้อ ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ซึ่งต้องการได้รับการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วย 3 เรื่องหลัก คือ ปากท้อง สุขภาพ และการศึกษา ด้วยความพยายามของกำนันตำบลขุนน่าน “มงคล พรหมพินิจ” ที่มีความมั่นใจว่า ถ้าคนเรากินอิ่มแล้ว สุขภาพแข็งแรง มีการศึกษาที่ดีน่าจะนำไปสู่การพัฒนาในระดับประเทศได้

    จากสภาพปัญหาพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลายอย่างมากจากการบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำไร่เลื่อนลอย แต่ผลผลิตในการปลูกข้าวไร่ตามไหล่เขาได้ปริมาณข้าวเพียง 20 ถังต่อไร่ ทำให้คนในชุมชนต้องซื้อข้าวกินร้อยละ 90 ทั้งที่มีการปลูกข้าวในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีปริมาณการนำเข้าสินค้าจากพื้นที่อื่นเพื่อบริโภค เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ พืชผัก เป็นต้น มูลค่าประมาณ 1,286,184,225 บาทต่อปี

    ชาวชุมชนบ้านเปียงซ้อ ต.ขุนน่าน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน จึงเสนอตัวเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เข้าร่วมโครงการนำร่องพัฒนาระบบต้นแบบการบูรณาการและแก้ไขปัญหาพื้นที่ต้นน้ำ หรือโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” โดยมีสมาชิกอาสารักษาดินแดน (อส.) จังหวัดน่านจำนวน 80 คน ร่วมลงแรงช่วยชาวบ้านด้วยการทอดผ้าป่าแรงงานเพื่อปรับพื้นที่ในการขุดนาขั้นบันได

    ทรงพล ใจกริ่ม เลขานุการกรมการปกครอง กล่าวถึงภารกิจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.) ต้องปรับเปลี่ยนภารกิจไปตามสถานการณ์ และแต่ละพื้นที่ในการทำงาน เพื่อช่วยเหลือฝ่ายปกครองและตำรวจในภารกิจที่นายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เช่นหน้าที่ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมในเรื่องการพัฒนาอาชีพ การป้องกันปัญหายาเสพติดต่างๆ การดูแลในเรื่องสถานบริการ ดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่

    “ปัจจุบันบทบาทหน้าที่ของสมาชิก อส. ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ การขุดนาขั้นบันไดและการต่อท่อน้ำเข้านาเพื่อเตรียมพื้นที่ให้ชาวบ้านก็เป็นอีกภารกิจหลักของกรม” เลขานุการกรมการปกครอง กล่าว

    ทรงพลย้ำด้วยว่า นอกจากนี้สมาชิก อส.ยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ของโครงการ อาทิ การต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่ผู้บังคับบัญชาและคณะดูงาน การร่วมวางท่อน้ำระบบประปา ตลอดจนบริการประชาชนในพื้นที่ของโครงการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างประชาชนในหมู่บ้านกับโครงการ อันจะนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาชีวิตความเป็นอย่างอย่างยั่งยืนของชุมชน บนฐานองค์ความรู้ทั้ง 6 มิติ ได้แก่ น้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม ที่นำมาประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานหลัก 3 ประการ คือ เพื่อให้ราษฎรมีข้าวพอกินตลอดทั้งปี เพื่อลดหนี้ของราษฎรและเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า

    การน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในศูนย์การเรียนรู้บ้านเปียงซ้อ ไม่เพียงแต่ช่วยให้ชาวชุมชนต้นน้ำน่าน ได้กินอิ่ม ทว่ายังสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตลอดสาย เพราะต้นน้ำน่าน เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้วย




    /////////////////
    ขอขอบคุณ
    คมชัดลึก
    “สุรัตน์ อัตตะ”

    -------------------
    “เปียงซ้อ” ต้นแบบทำนาขั้นบันได อานิสงส์โครงการ “ปิดทองหลังพระ” | สำนักข่าวเจ้าพระย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...