เรื่องเด่น “ยูเนสโก้” ประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันพุทธศาสนาโลก

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b982e0b881e0b989-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8b2e0b8a8e0b983e0b8abe0b989e0b8a7e0b8b1e0b899e0b8a7.jpg

    วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เราเรียกกันว่า “วันวิสาขะบูชา” และองค์การยูเนสโก้ แห่งสหประชาชาติ ได้ร่วมพิจารณาและมีมติเห็นพ้องต้องกันประกาศให้ วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของโลก คือวันพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นมหาบุรุษเอกผู้ให้ความเมตตาต่อ หมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายในโลก จะเห็นได้จากการยกเลิกแบ่งชนชั้นวรรณะ ซึ่งเท่ากับเป็นการ เลิกทาสโดยไม่มีการเสียเลือดเสียเนื้อ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักอนุรักษ์สัตว์ป่าอีก ด้วย กล่าวคือ ทรงสอนให้ไม่ฆ่าสัตว์ ให้รู้จักช่วยเหลือสัตว์ เหตุผลสำคัญ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ ทรงเปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จ จริงได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณสอนโดยไม่คิดค่าตอบแทน
    982e0b881e0b989-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8b2e0b8a8e0b983e0b8abe0b989e0b8a7e0b8b1e0b899e0b8a7-1.jpg นับย้อนกลับไประหว่างวันที่ 9 – 14 พฤศจิกายน 2541 ในการประชุม International Buddhist Conference ณ กรุงโคลัมโบ ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศที่นับถือ ศาสนาพุทธจำนวนมากเข้าร่วม อาทิ บังคลาเทศ จีน ลาว เกาหลีใต้ เวียดนาม ภูฐาน อินโดนีเซีย เนปาล กัมพูชา อินเดีย ปากีสถาน และไทย ได้ตกลงกันที่จะเสนอ ให้สมัชชาสหประชาชาติรับรองข้อมติประกาศวันวิสาขบูชาให้เป็นวันหยุดของสหประชาชาติ และในการเยือนของประเทศต่าง ๆ ในอินโดจีนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศศรีลังกา ในปี 2542 ก็ได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือ และได้รับการสนับสนุนจาก ประเทศต่าง ๆ ได้ด้วยดี คณะทูตถาวรศรีลังกาประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้จัดเตรียมร่างข้อมติ และได้ ขอเสียงสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการรับรองข้อมติเรื่อง การประกาศให้วันวิสาข บูชาเป็นวันหยุดของสหประชาชาติในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 54 โดยที่สหประชาชาติประกาศวันหยุดเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว และจะเป็นปัญหาในเรื่องงบ ประมาณและการบริหารแก่สหประชาชาติ หากประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุด ศรีลังกาจึง ได้ตัดสินใจที่จะเสนอร่างข้อมติ ขอให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลที่สหประชาชาติ ทั้งที่ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานต่าง ๆ แทนการเสนอให้เป็นวันหยุดซึ่ง ออท. ผู้แทนถาวร ประเทศต่าง ๆ รวม 16 ประเทศ ได้แก่ ศรีลังกา บังคลาเทศ ภูฐาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน ได้ ร่วมลงนามในหนังสือถึงประธานสมัชชาฯ เพื่อให้นำเรื่องวันวิสาขบูชาเข้าเป็นระเบียบวาระการ ประชุมของสมัชชาฯ
    982e0b881e0b989-e0b89be0b8a3e0b8b0e0b881e0b8b2e0b8a8e0b983e0b8abe0b989e0b8a7e0b8b1e0b899e0b8a7-2.jpg ต่อมาเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2542 General Committee ของสมัชชาฯ ได้พิจารณา เรื่องดังกล่าว โดย ออท.ผู้แทน ถาวรศรีลังกาได้กล่าวถ้อยแถลงสนับสนุนหนังสือร้องขอให้ที่ ประชุมบรรจุระเบียบวาระดังกล่าว เข้าสู่การพิจารณาของ ที่ประชุมสมัชชาเต็มคณะ ออท.ผู้ แทนถาวรไทย อินเดีย สเปน บังคลาเทศ ปากีสถาน ไซปรัส ลาว และภูฐาน ได้กล่าวถ้อย แถลงสนับสนุน ซึ่งที่ประชุม General Committee ได้มีมติให้บรรจุเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา ของสมัชชาเต็มคณะ เมื่อ 15 ธันวาคม 2542 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้ง ที่ 54 ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ 174 International recognition of the Day of Visak โดย การเสนอของศรีลังกา ในการพิจารณา ประธานสมัชชาฯ ได้เชิญผู้แทนศรีลังกาขึ้นกล่าวนำเสนอร่างข้อมติ และเชิญ ผู้แทนไทย สิงคโปร์ บังคลาเทศ ภูฐาน สเปน พม่า เนปาล ปากีสถาน อินเดียขึ้นกล่าวถ้อย แถลง

    สรุปความว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของ พุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระ พุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ให้มวลมนุษย์มี เมตตาธรรมและขันติธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนว ทางของ สหประชาชาติ จึงขอให้ที่ประชุมรับรองข้อมตินี้ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองความสำคัญ ของพุทธศาสนาในองค์การสหประชาชาติ โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่สำนักงานใหญ่องค์การ สหประชาชาติ และที่ทำการสมัชชาจะจัดให้มีการระลึกถึง (observance) ตามความเหมาะสมต่อไป

    บทความโดย
    จักรพงษ์ คำบุญเรือง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1002584
     

แชร์หน้านี้

Loading...