เรื่องเด่น “มาฆบูชา” วันแห่งความรักบริสุทธิ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 15 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1.jpg

    ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ถือว่าเป็น เดือนแห่งเทศกาลสำคัญเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น วันตรุษจีน และล่าสุดที่พึ่งผ่านไป ก็คือ วันวาเลนไทน์ และยังมีอีกวันสำคัญของชาวพุทธศาสนานั่นก็คือ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

    วันนี้ “เชียงใหม่นิวส์” จะมาเล่าถึงเหตุที่ว่า ทำไมวันมาฆบูชาจึงถือว่าเป็นวันแห่งความรักทางพุทธศาสนา

    มาฆบูชา


    “มาฆบูชา” ย่อมาจาก “มาฆปูรณมีบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-1.jpg
    เหตุการณ์สำคัญ


    1.ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

    2.พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูปมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน

    3.พระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 กล่าวคือเป็นผู้มีความรู้อันยอดยิ่ง 6 ประการได้แก่ แสดงฤทธิ์ได้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติได้ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ และมีญาณหยั่งรู้ในธรรมอันเป็นที่สิ้นแห่งกิเลสทั้งหลาย และล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ ผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า

    3.ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส

    4.มีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-2.jpg
    ประทานโอวาทปาติโมกข์


    “โอวาทปาติโมกข์” อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา มีใจความดังนี้

    • พระพุทธพจน์คาถาแรกทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า “นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา”

    • พระพุทธพจน์คาถาที่สองทรงกล่าวถึง วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ

    • ส่วนพระพุทธพจน์คาถาสุดท้าย ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ

    1. การไม่กล่าวร้ายใคร
    2. การไม่ทำร้ายใคร
    3. การมีความสำรวมในปาติโมกข์ทั้งหลาย
    4. การเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร
    5. การรู้จักที่นั่งนอนอันสงัด
    6. บำเพ็ญเพียรในอธิจิต
    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-3.jpg
    วันแห่งความรักทางพระพุทธศาสนา


    “วันมาฆบูชา” เป็นวันสำคัญยิ่งทางพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง เป็น “วันแห่งความรัก” ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” ขึ้น และเป็น วันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศหลักการและอุดมการณ์แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการยกให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูและวันแห่งความรักอันบริสุทธิ์

    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-4.jpg
    ข้อควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

    1. ไปวัดทำบุญถวายภัตตาหาร บำเพ็ญบุญ ให้ทาน
    2. ฟังเทศน์ฟังธรรม
    3. สวดมนต์
    4. นั่งสมาธิ ภาวนา
    5. เวียนเทียนจุดโคมประทีปบูชาพระรัตนตรัย
    6. รักษาศีล 8 ศีล 5
    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-5.jpg
    สถานที่เวียนเทียนในเมืองเชียงใหม่

    8b9e0b88ae0b8b2-e0b8a7e0b8b1e0b899e0b981e0b8abe0b988e0b887e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b8a3e0b8b1-6.jpg
    1. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
    2. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
    3. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
    4. วัดสวนดอก พระอารามหลวง
    5. วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง
    6. วัดศรีโสดา พระอารามหลวง

    เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/917902
     

แชร์หน้านี้

Loading...