ไฟล์เสียงที่ยี่สิบสอง อาหาเรฯ(ต่อ)-ธาตุ4

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย paang, 25 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ไฟล์เสียงที่ยี่สิบสอง อาหาเรฯ(ต่อ)-ธาตุ4

    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2114[/MUSIC]
     
  2. กัมบัส

    กัมบัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +83
    กัมบัสสนใจหัวข้อนี้จัง คิดว่าสุดสัปดาห์นี้ถึงจะมีโอกาสพิมพ์ แต่ถ้าใครมีศรัทธาก่อนก็ขออนุโมทนาค่ะ ช่วยโพสบอกก่อนแค่นั้นเอง ขอบคุณค่ะ
     
  3. กัมบัส

    กัมบัส Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +83
    อาหาเรปฏิกูลสัญญา(ต่อ),ธาตุ 4

    และขอทดลองอะไรหน่อยนะคะว่าข้อความที่ส่งมาแล้วจะส่งมาทับได้รึเปล่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • file no.22.doc
      ขนาดไฟล์:
      49 KB
      เปิดดู:
      313
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328




    <TABLE style="BORDER-LEFT-COLOR: #ded7df; FILTER: progid:DXImageTransform.Microsoft.gradient(startColorstr=#FFCCFF, endColorstr=#CCFFCC, gradientType=0); BORDER-BOTTOM-COLOR: #ded7df; BORDER-TOP-STYLE: dashed; BORDER-TOP-COLOR: #ded7df; BORDER-RIGHT-STYLE: dashed; BORDER-LEFT-STYLE: dashed; BORDER-RIGHT-COLOR: #ded7df; BORDER-BOTTOM-STYLE: dashed" borderColor=#ded7df cellSpacing=10 cellPadding=10 width=550 align=center border=5><TBODY><TR><TD style="COLOR: #000000; TEXT-ALIGN: justify">

    อาหาเรปฏิกูลสัญญา(ต่อ)<O:p</O:p

    (ไฟล์ที่ 22)


    เรื่องของอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น มันมีอยู่จุดหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง คือว่าเมื่อเราพิจารณาอาหาร จนเป็นปกติแล้ว บางที่มันจะเกิดอาการประเภทที่เรียกว่า สะอิดสะเอียน หมดความคิด ที่จะฉันอาหารนั้น อันนี้อย่าลืมว่า ถ้าเราเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ บางท่านถึงกับฉันอาหารไม่ได้ ไปหลายๆวัน ตัวนี้ต้องระมัดระวังให้ดี

    อย่าลืมว่า เราเองยังมีชีวิตอยู่ ยังจำเป็นต้องอาศัย ร่างกายนี้เพื่อการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราไม่ฉันอาหารเข้าไป ร่างกายก็ทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะ เสียผลของการปฏิบัตินั้นไป

    ดังนั้นก็จำเป็นที่จะต้อง หลับหูหลับตา สักแต่ว่า ฉันมัน เข้าไป อันนั้นจึงจะเป็นการที่เรียกว่า ฉันโดยไม่ติด ในสี ในกลิ่น ในรส อย่างแท้จริง ส่วนอีกข้อ หนึ่ง ก็คือ ถ้าหากว่าเราทำไป จนอารมณ์ใจมันทรงตัวแล้ว การพิจารณาอาหาร ถือว่าเป็นปกติแล้ว

    คราวนี้เราต้องพิจารณาดูอีกข้อหนึ่งว่า อาหารนั้นเหมาะกับธาตุขันธ์ ของเราหรือไม่ ถ้าหาก ว่าอาหารนั้นไม่เหมาะกับธาตุขันธ์ของเรา ฉันเข้าไปแล้วมันเกิด เป็นโทษกับร่างกาย ทำให้ เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้กระวนกระวาย ทำให้ไฟธาตุกำเริบ หรือว่า ทำให้ธาตุใดธาตุหนึ่ง มันบก พร่อง หรือล้นเกิน ทำให้ร่างกายมันไม่สบายขึ้นมา เราก็เสีย การปฏิบัติเช่นกัน ถ้าอยู่ใน ลักษณะนั้นเราก็พยายาม งดเว้น อย่างเช่นที่ผมทำอยู่ อย่างเช่นของที่มันเย็นเกินไป อายุของผม มันมากแล้วไฟธาตุมันน้อย ถ้าฉันของเย็นเข้าไปมาก มันจะเป็นไข้หรือว่าเป็นหวัด จับไข้ไปเลย ผมก็พยายามเลี่ยงพวกของเย็น อย่างพวกฟักแฟง แตงกวาอะไรพวกนั้น จะไม่แตะต้องกับมัน แต่ขณะเดียวกันว่า ธาตุขันธ์ของผมมันกลับ ไม่เหมาะกับอาหารร้อนอีก เพราะฉนั้นพวก ข้าวเหนียวพวกอะไรผมก็ยุ่งกับมันไม่ได้

    ให้พยายามสังเกตุตัวเองว่า ฉันอะไรเข้าไปแล้ว มันเหมาะสมกับร่างกาย ฉันอะไรเข้าไป แล้วมันไม่เหมาะสม แล้วค่อยเลือกสิ่งที่มัน เหมาะสมสำหรับตัว แต่ตรงจุดที่เราบอกให้เลือกมันนี้ อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราเห็นว่ามันอร่อย อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราว่ารสมันดี สีสันวรรณะมันดี ให้เลือกเพราะรู้จริงๆว่า มันเหมาะแก่ ร่างกายของเรา อันใหนไม่เหมาะ ถ้าญาติโยมเค้าประเคนมา ก็ฉันมันเสียหน่อยนึง เพื่อเป็นการ ฉลองศรัทธา แล้วก็หันไปฉันในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ว่าบางทีบางเวลาผมเจอญาติโยม บางท่าน ไม่มีทรงอุเบกขาในทานบารมี ประเคนของมาแล้ว ก็นั่งจ้องอยู่นั่นแหละ ถ้าพระไม่ฉัน ก็เซ้าซี้ให้ฉัน ถ้าอยู่ในลักษณะนั้นบางทีผมก็ต้องยอมรับว่า เราคงจะสร้างกรรมเอาไว้มาก ทำให้ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ได้ เมื่อทำใจว่า เราจำเป็นต้องรับกรรมอันนี้ ผมก็ฉันให้เค้ามันเต็มที่ แล้วผมก็ไปนอนจับไข้เอง พยายามเลี่ยงมันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับตัว และต้องมีสติรู้อยู่เสมอ

    เมื่อฉันเข้าไป มันก็ไม่สามารถจะห้าม ความเสื่อมได้ ฉันเข้าไปมันก็ไม่สามารถ จะห้ามความตายได้ แต่มันสามารถระงับความ กระวนกระวายของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกำลัง ทรงตัวอยู่เพื่อการปฏิบัติของเราได้

    หน้าที่ของความเป็นพระเราอย่าลืม อย่างที่หลวงพ่อท่านย้ำอยู่เสมอๆว่า นิพพานัสส สจิกริยายะเอตังกาสาวัง พเหตวาเรารับผ้ากาสาวพัสตร์นี้มา เพื่อทำให้แจ้งถึงพระนิพพาน หน้าที่อื่นของเรานั้นไม่ใช่คันถธุระนั้นไม่ใช่ เราศึกษา เราทำในคันถธุระ เพื่อเป็นการเปลี่ยน อิริยาบท เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดของการปฏิบัติ แต่หน้าที่หลัก ของเราจริงๆ ก็คือ การสวดมนต์ ทำวัตรปฏิบัติพระกรรมฐาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นหน้าที่หลัก อันอื่นเป็นเรื่องรอง ลงไปทั้งหมด คราวนี้ในแต่ละวันที่เราทำสิ่งต่างๆให้สังเกตุใจของเรา ถ้ามันมีอารมณ์กระทบ เข้ามา ในด้านดีเป็นที่น่าพอใจ พอมันกระทบเข้ามาแล้วจิตใจของเรามันพอง มันฟู มันยินดีหรือไม่ ถ้าเป็นด้านที่ไม่ดี กระทบเข้ามาแล้วมันยุบ มันกำลังใจตก มันไปเศร้าหมอง อยู่กับมันรึไม่

    ไม่ว่าจะยินดีกับมัน หรือยินร้ายกับมันก็ตาม กำลังใจมันยังใช่ไม่ได้ทั้งคู่ อย่างที่กล่าว ไว้ว่า พอกระทบแล้วก็ทิ้งมัน กองไว้ตรงนั้น

    ไม่ใช่รับมันเข้ามา มาปรุงมาแต่ง มาแบกมันเอาไว้ แล้วก็มาคร่ำครวญว่ามันทุกข์เหลือเกิน ลำบากเหลือเกิน อันนั้นเราทุกข์ เพราะตัวเราเอง ลำบากเพราะตัวเราเองไม่ต้องโทษใคร ถ้าเราไม่แบกขึ้นมา มันก็ไม่ทุกข์ไม่ลำบาก สักแต่ว่ากองๆ มันไว้ตรงหน้า กระทบมาก็กองไว้ตรงนั้นได้เห็นมา ได้ยินมา ได้กลิ่นมา ได้รสมา ได้สัมผัสมา กองมันไว้ตรงนั้น

    ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ คือระมัดระวังในสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเราให้เป็นปกติ ต้องมี โภชเนมตันยุตตา รู้จักประมาณในการกิน มากเกินไปมันก็จะเซื่องซึมง่วงเพราะว่า ไฟธาตุมันต้องลงไปที่กระเพาะ เพื่อไปย่อยอาหาร มันทำให้มีเลือดไปหล่อ เลี้ยงสมองน้อยลง มันก็จะซึมจะง่วง อยากจะนอนเป็นปกติ ถ้าฉันน้อย จนเกินไป ธาตุขันธ์มันย่ำแย่ โรคกระเพาะ มันกำเริบได้ เพราะฉนั้นต้องดูว่ามันเหมาะแก่ตัวเองเท่าไหร่

    โภชเนมตันยุตตา คือต้องรู้จัก ประมาณ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ให้มันพอเหมาะพอดี พอดีแก่ธาตุขันธ์ของเรา ไม่ใช่ว่า ว่าจน เิกินไปแล้วก็นอนหลับทั้งวัน หรือไม่ก็น้อยจนเกินไป แม้กระทั่งยามค่ำคืน ท้องมันร้องตาสว่างอยู่ หลับไม่ลงก็มี ต้องมี ชาตรีญาณุโยค คือการปฏิบัติ ธรรมะของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่น คือเป็นผู้ มีสติ รู้อยู่ตลอดเวลา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง มีสติ ควบคุมอยู่ตลอด รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราเป็นพระ กิจใดก็ตามที่เป็นกิจสงฆ์ เราต้องทำให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าที่ของเรา คือชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะได้ไม่เสียที ที่กินข้าวของโยม เข้าไป ไม่เสียทีที่เค้าเลี้ยงเรามา ถ้าเราไม่สามารถชำระจิตใจ ของเราให้ผ่องใสได้ อย่างน้อยๆก็ ให้มีฌานสมาบัติอยู่ ซึ่งมันจะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว มันสามารถผ่องใสได้ตราบใดที่เรา ไม่คลายกำลังฌานออก พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้มาก ก็เอาน้อย อย่างน้อยๆต้องได้สักส่วนใดส่วนหนึ่ง

    การบวชเข้ามา เป็นการเสี่ยง อย่างยิ่ง เพราะว่าโอกาสที่จะพลาด ลงอบายภูมิมันมาก เกินกว่า 90%ในเมื่อเราลงทุนเสี่ยงเข้ามาแล้ว ถ้าไม่ขึ้นข้างบนก็ลงข้างล่าง โอกาสจะอยู่ กลางๆมันน้อย เราก็ทุ่มเทลองทำให้มัน จริงๆจังๆดู คำว่าจริงจังก็คือ ทำให้สม่ำเสมอ ทำให้ เป็นระบบ ทำให้เป็นเวลา แล้วพยายาม ประคับประคองรักษาอารมณ์ใจนั้นไว้กับเรา ให้อยู่กับมัน ให้มากที่สุด ให้นานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอจริงจัง ผลจะเกิดได้ง่าย

    เรื่องของการปฏิบัติ เป็นเรื่องของคนเอาจริง เป็นเรื่องของปรมัตถบารมี กำลังใจที่เป็น สามัญบารมีขั้นต้นก็ดี อุปบารมีขั้นกลางก็ดี มันจะทำได้ไม่ตลอด มันต้องเป็นปรมัตถบารมีเท่านั้น ในเมื่อตัวเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นปรมัตถบารมีแล้ว ถ้าไปอ่อนแอ เหยาะแหยะอยู่กับมัน ถึงเวลา อัน โน้นก็ไม่ไหว อันนี้ก็ไม่ไหว ถ้าอย่างนั้นมันจะเอาดีไม่ได้ มันต้องได้ทุกอย่าง ไหวทุกเรื่อง ถ้าไม่ ได้ให้มันตายไปเลย ถ้าเราทุ่มเทกำลังใจในลักษณะอย่างนี้ได้ การปฏิบัติของเรา ก็จะเห็นผลเร็ว.
    <O:p</O:p</O:p

    จตุธาตรวัฏฐาน 4

    สำหรับวันนี้ก็จะมากล่าวถึง กรรมฐานอีกกองหนึ่งคือ จตุธาตรวัฏฐาน 4 คือการพิจารณา ให้เห็นร่างกายอันนี้ว่า มันประกอบขึ้นมา จากธาตุ 4 อย่าง คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ภาษาบาลีเรียกว่ามหาโพธิตรูป 4 กรรมฐานข้อนี้สำหรับท่านที่ ติดอยู่ในร่างกายของ ตัวเองว่าเป็นเรา เป็นของเรา ความจริงก็ไม่ต่างจาก กายคตานุสติกรรมฐานสักเท่าไหร แต่ว่า มันสามารถพิจารณาแยกแยะเป็นส่วนๆ เพียงแต่ว่า คราวนี้ไม่ได้แยกว่า มันเป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นเส้นเอ็น เป็นอวัยวะภายในภายนอก คราวนี้มันแยกออกเป็นธาตุ แต่ละธาตุ แต่ละส่วน เราจะได้เห็นว่าสภาพร่างกายนี้จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร ร่างกายของเราประกอบ ขึ้นมาจากธาตุ 4 อย่าง
    • คือดิน ส่วนที่แข็งจับได้ต้องได้เป็นธาตุดิน <O:p</O:p
    • คือน้ำ ส่วนที่เหลวไหลอยู่ในร่างกายของเราเป็นธาตุน้ำ <O:p</O:p
    • คือลม ส่วนที่พัดไปมาในร่างกายของเราเป็นธาตุลม <O:p</O:p
    • คือไฟ ส่วนที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นธาตุไฟ<O:p</O:p
    ท่านให้แยกออกมาเป็นส่วนๆ 4ส่วน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเหมือนกับนายแล้วก็ไปนึกถึงส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกายคือธาตุน้ำ ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำตา น้ำลาย น้ำดี เหงื่อ ไขมันเหลว ปัสสาวะ ไขมันเหลวคือพวก ไตรกิศลาย ที่มันอยู่ในเลือด อันนี้ก็แยกไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก กองมันทิ้งไว้ไม่ได้ ก็็้นึกถึงกะละมังใหญ่ๆ สักใบ ใส่มันไว้ตรงหน้าก็ได้


    ส่วนที่เป็นธาตุลม คือส่วนที่พัดไปเบื้องสูง พัดลงเบื้องต่ำ พัดไปทั่วร่างกาย อันนี้เป็นความดันโลหิต ส่วนที่ค้างอยู่ ในท้องในไส้ของเรา คือพวกแก็ส ส่วนที่เป็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันนี้แยกไว้อีกส่วนนึงถ้านึกไม่ออกจริงๆ ก็เอาถุงสักใบใส่มันเอาไว้ หรือลูกโป่งสักใบใส่มันเอาไว้ ตรงหน้าเรา

    ส่วนที่เป็นธาตุไฟ คือความ อบอุ่นของร่างกายของเรา คือไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ไฟธาตุที่เผาผลาญ ร่างกายให้ทรุดโทรมลง อันนี้ฝรั่งเขาค้นพบแล้วเค้างงมาก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ร่างกายเราต้องการออกซิเจน แต่ขณะเดียวกัน ออกซิเจน นั่นแหละ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสสระขึ้นมาในร่างกาย ทำลายร่างกายของเราให้โทรมลงไปทุกวันๆ เพราะว่าเขาไม่รู้ในจุดนี้ เขาก็เลยไปงง ไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ที่เผาผลาญร่างกายของเรา ให้ทรุดโทรมลงที่ช่วย ในการสันดาบย่อยอาหาร ที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา อันนี้ แยกไว้ อีกส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก ไม่สามารถที่จะแยกมันออก ก็นึกถึงกองไฟสักกองหนึ่ง อยู่ตรงหน้าของเรา ก็ได้ แล้วเจ้าไฟธาตุทุกตัว มันก็คือส่วนหนึ่งของไฟกองนั้น

    ในเมื่อเราแยกออกมาครบสี่ส่วน แล้ว เราจะเห็นว่าไม่มีอะไรที่เป็นเรา เป็นของเราเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแล้วสักแต่ว่า เป็นธาตุ เมื่อถึงวาระถึงเวลา มันมาผสมโรงกัน ปรุงกันขึ้นมาเป็นรูป มีหัว มีหู มีหน้า มีตา แค่เราได้ อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว ตามบุญตามกรรมที่ทำมา เราก็ไปยึดว่า เป็นตัวกู เป็นของกู แต่จริงๆแล้ว มันมีอะไรที่เป็นตัวกู ของกูหรือไม่ ก็ดูมันเอาไว้ ดูมันให้เห็นให้ชัดเจน ว่ามัน สักแต่ว่าเป็นเปลือกที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น เราอาศัยอยู่กับเปลือกนี้
    ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ เรามี ความสุขหรือไม่ มันมีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มันหิว มันกระหาย มันร้อน มันหนาว มันเจ็บไข้ได้ป่วย มันสกปรกโสโครกเป็นปกติ เราก็ต้องลำบากยากแค้น ในการหาให้มันกิน หาให้มันดื่ม พามันไปถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ รักษาพยาบาลมันยามเจ็บป่วย ดูแลทำความ สะอาดมันไม่ให้ มันสกปรกโสโครก จนกระทั่งเราเองถึงกับทนไม่ได้ มันมีความทุกข์ของมัน อยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่เรายังเกิดมามีร่างกายนี้ มันก็ยังทุกข์อีก


    คราวนี้ถ้าหากว่า ธาตุใด ธาตุหนึ่งมันบกพร่อง อาการเจ็บป่วยเกิดกับร่างกาย ต้องมาลำบากต้องมาทุกข์ยาก อยู่กับมัน ต้องมาเสียเวลา รักษาพยาบาลดูแลเอาใจใส่มัน มันก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่พอถึงวาระถึงเวลา มันบกพร่องมากๆ เติมให้มันไม่ไหว หนุนมันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น มันก็ตาย หมดสภาพ อันดับ แรกถ้าหากว่าตายเนี่ย ธาตุลมมันจะขาดออกไปก่อน เมื่อธาตุลมมันขาด ไม่มีตัวหนุนเสริม ธาตุไฟมันก็ดับ เมื่อธาตุไฟ มันดับมันอันตรธานไป เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำ ตอนแรก ยังมี ธาตุไฟอยู่คอยควบคุมธาตุน้ำ ไม่ให้ล้นเกิน ให้พอเหมาะพอดี แต่พอไม่มีธาตุไฟไปคอยควบคุม มัน ธาตุน้ำมันก็ล้นเกิน
    ดันร่างกายให้อืด พองขึ้นมา อันนี้ อุทุมาตกอสุภ


    วันก่อนสอนไปแล้ว พอถึงเวลาตายไปแล้วสักสองวัน สามวัน มันก็เริ่มเขียวๆ ช้ำๆขึ้นมา อันนี้ วิเนรกอสุภ พอสัก สี่ห้าวัน ร่างกายที่เป็นธาตุดินมันทนไม่ไหว ธาตุน้ำมันทลายเขื่อนออกมาแล้ว ผิวกายบริแตก น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลโทรม เลย อันนี้ วิปุภกอสภุ สอนไปแล้ว พิจารณาได้ มอง ให้เห็น มันค่อยๆเปื่อย ค่อยๆเน่าโทรมลงๆ จนกระทั่งเน่าเปื่อยไปหมด เหลือแต่โครงกระดูก อยู่ อันนี้ อัฐิกอสุภ สอนไปแล้ว พิจารณาให้เห็น ก็สัตว์ต่างๆ มากัดมาฉีก มาทึ้ง มาดึงมาลาก ไปกิน อวัยวะส่วนต่างๆ โดนงับ โดนกัดโดนฉีก โดนทึ้งเว้าไป แหว่งมา ในระหว่างนั้น อันนี้ก็เป็น วิขายิทกอสุภ จนกระทั่งมันฉีกหลุดออกเป็นชิ้นๆ กระจัด กระจาย ออกไป อันนี้เป็น วิขิกตกอสุภ เราสามารถพิจารณารวมกันเข้าไปได้ จนกระทั่งโครงกระดูก กระจัด กระจายไปทุกส่วน จากของใหม่ ก็เป็นของเก่า ค่อยๆเปื่อยผุพังย่อยสลายจมดินไป ไม่มีอะไร เหลือเลยแม้แต่นิดเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คืนไปสู่ความเป็นธรรมชาติ ของมัน แล้วตัวเรา ของเรามีหรือไม่


    เมื่อแยกแยะมาถึงตรงจุดนี้ก็จะเห็นว่าจริงๆแล้วมันไม่มีอะไร เป็น เรา เป็นของเราเลย มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไป ในที่สุด จากเด็กเล็กๆ ก็เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ แล้วก็ตาย มันอาจจะตายตั้งแต่เด็กก็ได้ ตั้งแต่หนุ่มสาวก็ได้ ตั้งแต่กลางคนก็ได้ หรือมาตาย ตอนแก่ก็ได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์ของ การปรารถณาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ทุกข์ของการหิว การ กระหาย ทุกข์ของความร้อน ทุกข์ของหนาว ทุกข์ของความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ของความสกปรก โสโครก ต้องอึดอัดต้องทนอยู่กับมัน

    ความทุกข์มันมีอยู่เป็นปกติ แล้วท้ายสุดมันก็สลาย มันก็ตาย มันก็พัง บังคับบัญชามันไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา กลายเป็นธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม คืนแก่ธรรมชาติเค้าไป ในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็จะเห็นชัดเจนว่า มัน ไม่เที่ยง ระหว่างที่มันตั้งอยู่มันก็มีแต่สิ่งที่เราต้องทน ต้องฝืนอยู่กับมัน มันก็เป็นทุกข์ท้ายสุด มัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เราเกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกายที่ไม่ เที่ยงอย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกาย ที่เป็นทุกข์อย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็เจอ ร่างกายที่ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถึงเวลามันจะป่วยมันก็ป่วย ถึงเวลา มันจะตายมันก็ตาย บังคับบัญชามันไม่ได้ ต้องทุกข์ต้องทนอยู่กับมันอย่างนี้อีก
    แล้วเรายัง อยากจะเกิดมามีร่างกายอย่างนี้อยู่หรือไม่ มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา สักแต่ว่าเป็น ธาตุ 4 ประกอบกันขึ้นมาให้อาศัยอยู่ชั่วคราว ถึงวาระถึงเวลา มันสลายไปมันพังไป เราก็ต้องไป ตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ถ้าหากว่ายัง ไม่พ้นตายพ้นเกิด ก็ต้องเวียนไปมีอัตตภาพ ร่างกาย อย่างนี้อีก อาจจะย่ำแย่กว่านี้ คือเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือดี กว่านี้หน่อยนึง เป็นเทวดา เป็นพรหม แต่ว่าก็ยังไม่สามารถหลุดพ้น พร้อมที่จะลงสู่อบายภูมิ อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่เทวดาพรหมที่เป็นพระอริยเจ้า แล้วเรายังจะต้องการร่างกายนี้อยู่หรือ

    เมื่อเราเห็นจริงแล้วว่า มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา จิตเราก็ปลดออกจากความ ต้องการ ของจุดนั้น ตั้งใจว่า ถ้าหากว่าถึงวาระถึงเวลา มันตายมันพัง เราก็ขอไปพระ นิพพานแห่งเดียว แล้วจับคำ ภาวนา จับลม หายใจเข้า-ออกควบไปด้วย จับภาพพระ ควบไปด้วย ภาวนาจนอารมณ์ใจ ทรงตัว ถึงที่สุด เพื่อเรียกว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ได้อย่างที่เราต้องการ แต่ว่าไม่ใช่ปฏิบัติในลักษณะทรงอารมณ์ภาวนา เฉยๆ ให้ใช้ปัญญาประกอบด้วย ให้เห็นอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของ เขาก็ดี จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคนเป็นสัตว์ก็ตาม มันสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุ 4 เกิดขึ้น ในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ขณะดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ไม่มี อะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายที่สุดมัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป
    ร่างกายของเราก็ยึดถือไม่ได้ ร่างกายของเขาก็ยึดถือไม่ได้ สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟเฉยๆ ให้อาศัยอยู่ ถ้าทำกำลังใจถึงจุดนี้ได้เต็มที่ จะเห็นคนเห็นสัตว์ เห็นผู้หญิงเห็นผู้ชาย เห็นข้าวของเครื่องใช้ มันจะเห็นเหมือนๆกัน คือสักแต่ว่า ประกอบขึ้นจากธาตุ 4 เป็นกองทุกข์ เป็นที่รวมของ ความทุกข์ และไม่สามารถที่จะ บังคับบัญชามันได้อย่างใจ เพราะฉนั้นเราไม่เอามันอีกดีกว่า คิดว่าถ้าตายแล้วเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับพระนิพพานไว้ หรือเอาใจ จดจ่อกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเอาไว้ ให้ใจมันทรงตัวอยู่ตรงจุดนั้น ไม่มา ผูกพันกับร่างกาย ที่มันไม่เที่ยง ร่างกายที่เป็นทุกข์ ร่างกายที่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ให้มี ปัญญาเห็นอยู่อย่างนี้ ตลอดเวลา แยกมันออกจากเราอยู่ตลอดเวลา อย่าได้เห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเราแม้สักนิดเดียว เพราะว่าถ้าเห็นว่ามันเป็นเราเป็นของเราแม้แต่น้อยนึง เราก็ยัง ต้องเกิด เราก็ยังต้องทุกข์ต่อไป

    การปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นกรรมฐานอีกกองนึง เหมาะสำหรับท่านที่เป็น พุทธจริต หรือว่าท่านที่เป็นราคะจริตก็สามารถที่จะปฏิบัติได้ ถ้า สามารถแยกแยะมันออกจริงๆ ก็จะไม่มีอะไรให้เรายึดถือมั่นหมายให้ยินดียินร้ายกับมันได้เลย สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกคน ประคับประคองอารมณ์ที่ทำได้ ที่ทรงตัวอยู่นั้น ให้อยู่กับเรา โดยการ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง ให้ควบคุมมันเอาไว้ ส่วนที่เหลือจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราต่อไป.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2005
  5. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,318
    จากคุณแป้งทอด

    อาหาเรปฏิกูลสัญญา(ต่อ)

    (ไฟล์ที่ 22)


    เรื่องของอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น มันมีอยู่จุดหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง คือว่าเมื่อเราพิจารณาอาหาร จนเป็นปกติแล้ว บางที่มันจะเกิดอาการประเภทที่เรียกว่า สะอิดสะเอียน หมดความคิด ที่จะฉันอาหารนั้น อันนี้อย่าลืมว่า ถ้าเราเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ บางท่านถึงกับฉันอาหารไม่ได้ ไปหลายๆวัน ตัวนี้ต้องระมัดระวังให้ดี

    อย่าลืมว่า เราเองยังมีชีวิตอยู่ ยังจำเป็นต้องอาศัย ร่างกายนี้เพื่อการปฏิบัติ ถ้าหากว่าเราไม่ฉันอาหารเข้าไป ร่างกายก็ทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะ เสียผลของการปฏิบัตินั้นไป

    ดังนั้นก็จำเป็นที่จะต้อง หลับหูหลับตา สักแต่ว่า ฉันมัน เข้าไป อันนั้นจึงจะเป็นการที่เรียกว่า ฉันโดยไม่ติด ในสี ในกลิ่น ในรส อย่างแท้จริง ส่วนอีกข้อ หนึ่ง ก็คือ ถ้าหากว่าเราทำไป จนอารมณ์ใจมันทรงตัวแล้ว การพิจารณาอาหาร ถือว่าเป็นปกติแล้ว


    คราวนี้เราต้องพิจารณาดูอีกข้อหนึ่งว่า อาหารนั้นเหมาะกับธาตุขันธ์ ของเราหรือไม่ ถ้าหาก ว่าอาหารนั้นไม่เหมาะกับธาตุขันธ์ของเรา ฉันเข้าไปแล้วมันเกิด เป็นโทษกับร่างกาย ทำให้ เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้กระวนกระวาย ทำให้ไฟธาตุกำเริบ หรือว่า ทำให้ธาตุใดธาตุหนึ่ง มันบก พร่อง หรือล้นเกิน ทำให้ร่างกายมันไม่สบายขึ้นมา เราก็เสีย การปฏิบัติเช่นกัน ถ้าอยู่ใน ลักษณะนั้นเราก็พยายาม งดเว้น อย่างเช่นที่ผมทำอยู่ อย่างเช่นของที่มันเย็นเกินไป อายุของผม มันมากแล้วไฟธาตุมันน้อย ถ้าฉันของเย็นเข้าไปมาก มันจะเป็นไข้หรือว่าเป็นหวัด จับไข้ไปเลย ผมก็พยายามเลี่ยงพวกของเย็น อย่างพวกฟักแฟง แตงกวาอะไรพวกนั้น จะไม่แตะต้องกับมัน แต่ขณะเดียวกันว่า ธาตุขันธ์ของผมมันกลับ ไม่เหมาะกับอาหารร้อนอีก เพราะฉะนั้นพวก ข้าวเหนียวพวกอะไรผมก็ยุ่งกับมันไม่ได้

    ให้พยายามสังเกตตัวเองว่า ฉันอะไรเข้าไปแล้ว มันเหมาะสมกับร่างกาย ฉันอะไรเข้าไป แล้วมันไม่เหมาะสม แล้วค่อยเลือกสิ่งที่มัน เหมาะสมสำหรับตัว แต่ตรงจุดที่เราบอกให้เลือกมันนี้ อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราเห็นว่ามันอร่อย อย่าไปเลือกในสิ่ง ที่เราว่ารสมันดี สีสันวรรณะมันดี
    ให้เลือกเพราะรู้จริงๆว่า มันเหมาะแก่ ร่างกายของเรา อันไหนไม่เหมาะ ถ้าญาติโยมเค้าประเคนมา ก็ฉันมันเสียหน่อยนึง เพื่อเป็นการ ฉลองศรัทธา แล้วก็หันไปฉันในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ว่าบางทีบางเวลาผมเจอญาติโยม บางท่าน ไม่มีทรงอุเบกขาในทานบารมี ประเคนของมาแล้ว ก็นั่งจ้องอยู่นั่นแหละ ถ้าพระไม่ฉัน ก็เซ้าซี้ให้ฉัน ถ้าอยู่ในลักษณะนั้นบางทีผมก็ต้องยอมรับว่า เราคงจะสร้างกรรมเอาไว้มาก ทำให้ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ได้ เมื่อทำใจว่า เราจำเป็นต้องรับกรรมอันนี้ ผมก็ฉันให้เค้ามันเต็มที่ แล้วผมก็ไปนอนจับไข้เอง พยายามเลี่ยงมันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับตัว และต้องมีสติรู้อยู่เสมอ

    เมื่อฉันเข้าไป มันก็ไม่สามารถจะห้าม ความเสื่อมได้ ฉันเข้าไปมันก็ไม่สามารถ จะห้ามความตายได้ แต่มันสามารถระงับความ กระวนกระวายของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกำลัง ทรงตัวอยู่เพื่อการปฏิบัติของเราได้

    หน้าที่ของความเป็นพระเราอย่าลืม อย่างที่หลวงพ่อท่านย้ำอยู่เสมอๆว่า นิพพานัสส สจิกริยายะเอตังกาสาวัง พเหตวาเรารับผ้ากาสาวพัสตร์นี้มา เพื่อทำให้แจ้งถึงพระนิพพาน
    หน้าที่อื่นของเรานั้นไม่ใช่คันถธุระนั้นไม่ใช่ เราศึกษา เราทำในคันถธุระ เพื่อเป็นการเปลี่ยน อิริยาบท เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดของการปฏิบัติ แต่หน้าที่หลัก ของเราจริงๆ ก็คือ การสวดมนต์ ทำวัตรปฏิบัติพระกรรมฐาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นหน้าที่หลัก อันอื่นเป็นเรื่องรอง ลงไปทั้งหมด คราวนี้ในแต่ละวันที่เราทำสิ่งต่างๆให้สังเกตใจของเรา ถ้ามันมีอารมณ์กระทบ เข้ามา ในด้านดีเป็นที่น่าพอใจ พอมันกระทบเข้ามาแล้วจิตใจของเรามันพอง มันฟู มันยินดีหรือไม่ ถ้าเป็นด้านที่ไม่ดี กระทบเข้ามาแล้วมันยุบ มันกำลังใจตก มันไปเศร้าหมอง อยู่กับมันรึไม่

    ไม่ว่าจะยินดีกับมัน หรือยินร้ายกับมันก็ตาม กำลังใจมันยังใช่ไม่ได้ทั้งคู่ อย่างที่กล่าว ไว้ว่า พอกระทบแล้วก็ทิ้งมัน กองไว้ตรงนั้น

    ไม่ใช่รับมันเข้ามา มาปรุงมาแต่ง มาแบกมันเอาไว้ แล้วก็มาคร่ำครวญว่ามันทุกข์เหลือเกิน ลำบากเหลือเกิน อันนั้นเราทุกข์ เพราะตัวเราเอง ลำบากเพราะตัวเราเองไม่ต้องโทษใคร ถ้าเราไม่แบกขึ้นมา มันก็ไม่ทุกข์ไม่ลำบาก สักแต่ว่ากองๆ มันไว้ตรงหน้า กระทบมาก็กองไว้ตรงนั้นได้เห็นมา ได้ยินมา ได้กลิ่นมา ได้รสมา ได้สัมผัสมา กองมันไว้ตรงนั้น


    ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ คือระมัดระวังในสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเราให้เป็นปกติ ต้องมี โภชเนมตันยุตตา รู้จักประมาณในการกิน มากเกินไปมันก็จะเซื่องซึมง่วงเพราะว่า ไฟธาตุมันต้องลงไปที่กระเพาะ เพื่อไปย่อยอาหาร มันทำให้มีเลือดไปหล่อ เลี้ยงสมองน้อยลง มันก็จะซึมจะง่วง อยากจะนอนเป็นปกติ ถ้าฉันน้อย จนเกินไป ธาตุขันธ์มันย่ำแย่ โรคกระเพาะ มันกำเริบได้ เพราะฉะนั้นต้องดูว่ามันเหมาะแก่ตัวเองเท่าไหร่

    โภชเนมตันยุตตา คือต้องรู้จัก ประมาณ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ให้มันพอเหมาะพอดี พอดีแก่ธาตุขันธ์ของเรา ไม่ใช่ว่า ว่าจน เิกินไปแล้วก็นอนหลับทั้งวัน หรือไม่ก็น้อยจนเกินไป แม้กระทั่งยามค่ำคืน ท้องมันร้องตาสว่างอยู่ หลับไม่ลงก็มี ต้องมี ชาตรีญาณุโยค คือการปฏิบัติ ธรรมะของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่น คือเป็นผู้ มีสติ รู้อยู่ตลอดเวลา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง มีสติ ควบคุมอยู่ตลอด รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราเป็นพระ กิจใดก็ตามที่เป็นกิจสงฆ์ เราต้องทำให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะหน้าที่ของเรา คือชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส ให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ จะได้ไม่เสียที ที่กินข้าวของโยม เข้าไป ไม่เสียทีที่เค้าเลี้ยงเรามา ถ้าเราไม่สามารถชำระจิตใจ ของเราให้ผ่องใสได้ อย่างน้อยๆก็ ให้มีฌานสมาบัติอยู่ ซึ่งมันจะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว มันสามารถผ่องใสได้ตราบใดที่เรา ไม่คลายกำลังฌานออก พูดง่ายๆ ว่าไม่ได้มาก ก็เอาน้อย อย่างน้อยๆต้องได้สักส่วนใดส่วนหนึ่ง

    การบวชเข้ามา เป็นการเสี่ยง อย่างยิ่ง เพราะว่าโอกาสที่จะพลาด ลงอบายภูมิมันมาก เกินกว่า 90%ในเมื่อเราลงทุนเสี่ยงเข้ามาแล้ว ถ้าไม่ขึ้นข้างบนก็ลงข้างล่าง โอกาสจะอยู่ กลางๆมันน้อย เราก็ทุ่มเทลองทำให้มัน จริงๆจังๆดู คำว่าจริงจังก็คือ ทำให้สม่ำเสมอ ทำให้ เป็นระบบ ทำให้เป็นเวลา แล้วพยายาม ประคับประคองรักษาอารมณ์ใจนั้นไว้กับเรา ให้อยู่กับมัน ให้มากที่สุด ให้นานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอจริงจัง ผลจะเกิดได้ง่าย

    เรื่องของการปฏิบัติ เป็นเรื่องของคนเอาจริง เป็นเรื่องของปรมัตถบารมี กำลังใจที่เป็น สามัญบารมีขั้นต้นก็ดี อุปบารมีขั้นกลางก็ดี มันจะทำได้ไม่ตลอด มันต้องเป็นปรมัตถบารมีเท่านั้น ในเมื่อตัวเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นปรมัตถบารมีแล้ว ถ้าไปอ่อนแอ เหยาะแหยะอยู่กับมัน ถึงเวลา อัน โน้นก็ไม่ไหว อันนี้ก็ไม่ไหว ถ้าอย่างนั้นมันจะเอาดีไม่ได้ มันต้องได้ทุกอย่าง ไหวทุกเรื่อง ถ้าไม่ ได้ให้มันตายไปเลย ถ้าเราทุ่มเทกำลังใจในลักษณะอย่างนี้ได้ การปฏิบัติของเรา ก็จะเห็นผลเร็ว.
    จตุธาตรวัฏฐาน 4


    สำหรับวันนี้ก็จะมากล่าวถึง กรรมฐานอีกกองหนึ่งคือ จตุธาตรวัฏฐาน 4 คือการพิจารณา ให้เห็นร่างกายอันนี้ว่า มันประกอบขึ้นมา จากธาตุ 4 อย่าง คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ภาษาบาลีเรียกว่ามหาโพธิตรูป 4 กรรมฐานข้อนี้สำหรับท่านที่ ติดอยู่ในร่างกายของ ตัวเองว่าเป็นเรา เป็นของเรา ความจริงก็ไม่ต่างจาก กายคตานุสติกรรมฐานสักเท่าไร แต่ว่า มันสามารถพิจารณาแยกแยะเป็นส่วนๆ เพียงแต่ว่า คราวนี้ไม่ได้แยกว่า มันเป็นเนื้อเป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นเส้นเอ็น เป็นอวัยวะภายในภายนอก คราวนี้มันแยกออกเป็นธาตุ แต่ละธาตุ แต่ละส่วน เราจะได้เห็นว่าสภาพร่างกายนี้จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร ร่างกายของเราประกอบ ขึ้นมาจากธาตุ 4 อย่าง <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    • คือดิน ส่วนที่แข็งจับได้ต้องได้เป็นธาตุดิน <o:p></o:p>
    • คือน้ำ ส่วนที่เหลวไหลอยู่ในร่างกายของเราเป็นธาตุน้ำ <o:p></o:p>
    • คือลม ส่วนที่พัดไปมาในร่างกายของเราเป็นธาตุลม <o:p></o:p>
    • คือไฟ ส่วนที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายเป็นธาตุไฟ <o:p></o:p>
    ท่านให้แยกออกมาเป็นส่วนๆ 4ส่วน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเหมือนกับนายแล้วก็ไปนึกถึงส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกายคือธาตุน้ำ ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำตา น้ำลาย น้ำดี เหงื่อ ไขมันเหลว ปัสสาวะ ไขมันเหลวคือพวก ไตรกิศลาย ที่มันอยู่ในเลือด อันนี้ก็แยกไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก กองมันทิ้งไว้ไม่ได้ ก็็้นึกถึงกะละมังใหญ่ๆ สักใบ ใส่มันไว้ตรงหน้าก็ได้


    ส่วนที่เป็นธาตุลม คือส่วนที่พัดไปเบื้องสูง พัดลงเบื้องต่ำ พัดไปทั่วร่างกาย อันนี้เป็นความดันโลหิต ส่วนที่ค้างอยู่ ในท้องในไส้ของเรา คือพวกแก็ส ส่วนที่เป็นลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันนี้แยกไว้ อีกส่วนนึง ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ก็เอาถุงสักใบใส่มันเอาไว้ หรือลูกโป่งสักใบใส่มันเอาไว้ ตรงหน้าเรา

    ส่วนที่เป็นธาตุไฟ คือความ อบอุ่นของร่างกายของเรา คือไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ไฟธาตุที่เผาผลาญ ร่างกายให้ทรุดโทรมลง อันนี้ฝรั่งเขาค้นพบแล้วเค้างงมาก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ร่างกายเราต้องการออกซิเจน แต่ขณะเดียวกัน ออกซิเจน นั่นแหละ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสสระขึ้นมาในร่างกาย ทำลายร่างกายของเราให้โทรมลงไปทุกวันๆ เพราะว่าเขาไม่รู้ในจุดนี้ เขาก็เลยไปงง ไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ที่เผาผลาญร่างกายของเรา ให้ทรุดโทรมลงที่ช่วย ในการสันดาป ย่อยอาหาร ที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา อันนี้ แยกไว้ อีกส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก ไม่สามารถที่จะแยกมันออก ก็นึกถึงกองไฟสักกองหนึ่ง อยู่ตรงหน้าของเรา ก็ได้ แล้วเจ้าไฟธาตุทุกตัว มันก็คือส่วนหนึ่งของไฟกองนั้น

    ในเมื่อเราแยกออกมาครบสี่ส่วน แล้ว เราจะเห็นว่าไม่มีอะไรที่เป็นเรา เป็นของเราเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนแล้วสักแต่ว่า เป็นธาตุ เมื่อถึงวาระถึงเวลา มันมาผสมโรงกัน ปรุงกันขึ้นมาเป็นรูป มีหัว มีหู มีหน้า มีตา แค่เราได้ อาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว ตามบุญตามกรรมที่ทำมา เราก็ไปยึดว่า เป็นตัวกู เป็นของกู แต่จริงๆแล้ว มันมีอะไรที่เป็นตัวกู ของกูหรือไม่ ก็ดูมันเอาไว้ ดูมันให้เห็นให้ชัดเจน ว่ามัน สักแต่ว่าเป็นเปลือกที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น เราอาศัยอยู่กับเปลือกนี้ ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ เรามี ความสุขหรือไม่ มันมีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มันหิว มันกระหาย มันร้อน มันหนาว มันเจ็บไข้ได้ป่วย มันสกปรกโสโครกเป็นปกติ เราก็ต้องลำบากยากแค้น ในการหาให้มันกิน หาให้มันดื่ม พามันไปถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ รักษาพยาบาลมันยามเจ็บป่วย ดูแลทำความ สะอาดมันไม่ให้ มันสกปรกโสโครก จนกระทั่งเราเองถึงกับทนไม่ได้ มันมีความทุกข์ของมัน อยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่เรายังเกิดมามีร่างกายนี้ มันก็ยังทุกข์อีก


    คราวนี้ถ้าหากว่า ธาตุใด ธาตุหนึ่งมันบกพร่อง อาการเจ็บป่วยเกิดกับร่างกาย ต้องมาลำบากต้องมาทุกข์ยาก อยู่กับมัน ต้องมาเสียเวลา รักษาพยาบาลดูแลเอาใจใส่มัน มันก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่พอถึงวาระถึงเวลา มันบกพร่องมากๆ เติมให้มันไม่ไหว หนุนมันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น มันก็ตาย หมดสภาพ อันดับ แรกถ้าหากว่าตายเนี่ย ธาตุลมมันจะขาดออกไปก่อน เมื่อธาตุลมมันขาด ไม่มีตัวหนุนเสริม ธาตุไฟมันก็ดับ เมื่อธาตุไฟ มันดับมันอันตรธานไป เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำ ตอนแรก ยังมี ธาตุไฟอยู่คอยควบคุมธาตุน้ำ ไม่ให้ล้นเกิน ให้พอเหมาะพอดี แต่พอไม่มีธาตุไฟไปคอยควบคุม มัน ธาตุน้ำมันก็ล้นเกิน ดันร่างกายให้อืด พองขึ้นมา อันนี้ อุทุมาตกอสุภ


    วันก่อนสอนไปแล้ว พอถึงเวลาตายไปแล้วสักสองวัน สามวัน มันก็เริ่มเขียวๆ ช้ำๆขึ้นมา อันนี้ วิเนรกอสุภ พอสัก สี่ห้าวัน ร่างกายที่เป็นธาตุดินมันทนไม่ไหว ธาตุน้ำมันทลายเขื่อนออกมาแล้ว ผิวกายบริแตก น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลโทรม เลย อันนี้ วิปุภกอสภุ สอนไปแล้ว พิจารณาได้ มอง ให้เห็น มันค่อยๆเปื่อย ค่อยๆเน่าโทรมลงๆ จนกระทั่งเน่าเปื่อยไปหมด เหลือแต่โครงกระดูก อยู่ อันนี้ อัฐิกอสุภ สอนไปแล้ว พิจารณาให้เห็น ก็สัตว์ต่างๆ มากัดมาฉีก มาทึ้ง มาดึงมาลาก ไปกิน อวัยวะส่วนต่างๆ โดนงับ โดนกัดโดนฉีก โดนทึ้งเว้าไป แหว่งมา ในระหว่างนั้น อันนี้ก็เป็น วิขายิทกอสุภ จนกระทั่งมันฉีกหลุดออกเป็นชิ้นๆ กระจัด กระจาย ออกไป อันนี้เป็น วิขิกตกอสุภ เราสามารถพิจารณารวมกันเข้าไปได้ จนกระทั่งโครงกระดูก กระจัด กระจายไปทุกส่วน จากของใหม่ ก็เป็นของเก่า ค่อยๆเปื่อยผุพังย่อยสลายจมดินไป ไม่มีอะไร เหลือเลยแม้แต่นิดเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คืนไปสู่ความเป็นธรรมชาติ ของมัน แล้วตัวเรา ของเรามีหรือไม่


    เมื่อแยกแยะมาถึงตรงจุดนี้ก็จะเห็นว่าจริงๆแล้วมันไม่มีอะไร เป็น เรา เป็นของเราเลย มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไป ในที่สุด จากเด็กเล็กๆ ก็เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ แล้วก็ตาย มันอาจจะตายตั้งแต่เด็กก็ได้ ตั้งแต่หนุ่มสาวก็ได้ ตั้งแต่กลางคนก็ได้ หรือมาตาย ตอนแก่ก็ได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์ของ การปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ทุกข์ของการหิว การ กระหาย ทุกข์ของความร้อน ทุกข์ของหนาว ทุกข์ของความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ของความสกปรก โสโครก ต้องอึดอัดต้องทนอยู่กับมัน

    ความทุกข์มันมีอยู่เป็นปกติ แล้วท้ายสุดมันก็สลาย มันก็ตาย มันก็พัง บังคับบัญชามันไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา กลายเป็นธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม คืนแก่ธรรมชาติเค้าไป ในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็จะเห็นชัดเจนว่า มัน ไม่เที่ยง ระหว่างที่มันตั้งอยู่มันก็มีแต่สิ่งที่เราต้องทน ต้องฝืนอยู่กับมัน มันก็เป็นทุกข์ท้ายสุด มัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา เราเกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกายที่ไม่ เที่ยงอย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องเจอร่างกาย ที่เป็นทุกข์อย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ก็เจอ ร่างกายที่ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ถึงเวลามันจะป่วยมันก็ป่วย ถึงเวลา มันจะตายมันก็ตาย บังคับบัญชามันไม่ได้ ต้องทุกข์ต้องทนอยู่กับมันอย่างนี้อีก แล้วเรายัง อยากจะเกิดมามีร่างกายอย่างนี้อยู่หรือไม่ มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา สักแต่ว่าเป็น ธาตุ 4 ประกอบกันขึ้นมาให้อาศัยอยู่ชั่วคราว ถึงวาระถึงเวลา มันสลายไปมันพังไป เราก็ต้องไป ตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ถ้าหากว่ายัง ไม่พ้นตายพ้นเกิด ก็ต้องเวียนไปมีอัตตภาพ ร่างกาย อย่างนี้อีก อาจจะย่ำแย่กว่านี้ คือเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือดี กว่านี้หน่อยนึง เป็นเทวดา เป็นพรหม แต่ว่าก็ยังไม่สามารถหลุดพ้น พร้อมที่จะลงสู่อบายภูมิ อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ใช่เทวดาพรหมที่เป็นพระอริยเจ้า แล้วเรายังจะต้องการร่างกายนี้อยู่หรือ

    เมื่อเราเห็นจริงแล้วว่า มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา จิตเราก็ปลดออกจากความ ต้องการ ของจุดนั้น ตั้งใจว่า ถ้าหากว่าถึงวาระถึงเวลา มันตายมันพัง เราก็ขอไปพระ นิพพานแห่งเดียว แล้วจับคำ ภาวนา จับลม หายใจเข้า-ออกควบไปด้วย จับภาพพระ ควบไปด้วย ภาวนาจนอารมณ์ใจ ทรงตัว ถึงที่สุด เพื่อเรียกว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ได้อย่างที่เราต้องการ แต่ว่าไม่ใช่ปฏิบัติในลักษณะทรงอารมณ์ภาวนา เฉยๆ ให้ใช้ปัญญาประกอบด้วย ให้เห็นอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของ เขาก็ดี จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคนเป็นสัตว์ก็ตาม มันสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุ 4 เกิดขึ้น ในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ขณะดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ไม่มี อะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายที่สุดมัน ก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ร่างกายของเราก็ยึดถือไม่ได้ ร่างกายของเขาก็ยึดถือไม่ได้ สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟเฉยๆ ให้อาศัยอยู่ ถ้าทำกำลังใจถึงจุดนี้ได้เต็มที่ จะเห็นคนเห็นสัตว์ เห็นผู้หญิงเห็นผู้ชาย เห็นข้าวของเครื่องใช้ มันจะเห็นเหมือนๆกัน คือสักแต่ว่า ประกอบขึ้นจากธาตุ 4 เป็นกองทุกข์ เป็นที่รวมของ ความทุกข์ และไม่สามารถที่จะ บังคับบัญชามันได้อย่างใจ เพราะฉะนั้นเราไม่เอามันอีกดีกว่า คิดว่าถ้าตายแล้วเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับพระนิพพานไว้ หรือเอาใจ จดจ่อกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเอาไว้ ให้ใจมันทรงตัวอยู่ตรงจุดนั้น ไม่มา ผูกพันกับร่างกาย ที่มันไม่เที่ยง ร่างกายที่เป็นทุกข์ ร่างกายที่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ให้มี ปัญญาเห็นอยู่อย่างนี้ ตลอดเวลา แยกมันออกจากเราอยู่ตลอดเวลา อย่าได้เห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเราแม้สักนิดเดียว เพราะว่าถ้าเห็นว่ามันเป็นเราเป็นของเราแม้แต่น้อยนึง เราก็ยัง ต้องเกิด เราก็ยังต้องทุกข์ต่อไป

    การปฏิบัติใน จตุธาตรวัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นกรรมฐานอีกกองนึง เหมาะสำหรับท่านที่เป็น พุทธจริต หรือว่าท่านที่เป็นราคะจริตก็สามารถที่จะปฏิบัติได้ ถ้า สามารถแยกแยะมันออกจริงๆ ก็จะไม่มีอะไรให้เรายึดถือมั่นหมายให้ยินดียินร้ายกับมันได้เลย สำหรับตอนนี้ก็ให้ทุกคน ประคับประคองอารมณ์ที่ทำได้ ที่ทรงตัวอยู่นั้น ให้อยู่กับเรา โดยการ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง ให้ควบคุมมันเอาไว้ ส่วนที่เหลือจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราต่อไป.<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...