ไฟล์ที่สิบเก้า หมวดกสิน10(28 - มค - 47)

ในห้อง 'กรรมฐาน ๔๐' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 ตุลาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    [MUSIC]http://www.palungjit.org/buddhism/audio/attachment.php?attachmentid=2070[/MUSIC]
     
  2. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    เอ่อ เป็นจังหวะดีที่ยังไม่มีคนอื่นพิมพ์ แต่ผมเปิดฟังไม่ได้ ทำอย่างไรครับ
    เครื่องผมมีปัญหาหรือเปล่า ผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับทำอย่างไร คุณ Websnow
    ขอผมช่วยสัก File นะครับ ขอผมอนุโมทนาด้วยคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2005
  3. น้ำมนต์

    น้ำมนต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,159
    ฟังได้ปกติค่ะ
    ลองใหม่นะคะ
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    ตอนท้ายๆหายไปคลื่นซ่าๆ
     
  5. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    ครับผมยังเปิดไม่ได้เลย ไม่รู้ทำไม ตอนนี้ผมพิมพ์ไฟล์ที่ 20 อยู่ครับ
    คุณแป้งให้ที่อยู่ไฟล์มาเลยเปิดได้ ตอนนี้( ไฟล์ที่ 19) ยังไม่ได้พิมพ์ครับ ขอบคุณ
    คุณแป้งมากครับ
     
  6. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    ฟังได้แล้วครับ ตอนนี้คงยังไม่มีใครพิมพ์ งั้นผมขออนุญาติพิมพ์เองน่ะครับ
     
  7. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    วันนี้ก็มาว่าเรื่องของการฝึกเกี่ยวกับกสิณทั้ง 10 ของเราต่อไป เมื่อวานก็กล่าวไปแล้วถึงวรรณกสิณทั้งสี่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้แต่ว่ามันลำบากด้วยการหานิมิตกสิณ เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณาสำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึงธาตุกสิณทั้งสี่ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก ปฐวีกสิณเราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อนสมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่า สมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่งเด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณ หรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้หรือว่าจะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้หรือว่าจะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณคือระเรงลงบนผ้าที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด มองพื้นดินที่เห็นแล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับธาตุน้ำง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด เรื่องของธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำเอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต แต่เนื่องจากว่าบางขณะลมสงัดถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัวเราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบาๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอากาศกระทบเป็นระรอกๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้วใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเราเป็นนิมิตก็ได ธาตุไฟนั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟมองเฉพาะไฟที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามาแต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้จุดเทียนขึ้นมาแล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้หรืออย่างสมัยที่ผมฝึกมันหาเทียนยากมีแต่ตะเกียงน้ำมันก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเวลาหุงข้าวก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่าย เตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้นเป็นนิมิตกสิณแทนคราวนี้กล่าวถึงอนุภาพของกสิณก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอนุภาพมาก ปฐวีกสิณนั้นถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็งเมื่อทำได้แล้วก็อธิฐานได้ตามใจสามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับเดินบนน้ำได้เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่ เรื่องของอาโปกสิณ กสิณน้ำสิ่งที่แข็งเราสามารถอธิฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ ที่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำอยู่สามารถอธิฐานให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็นก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้โบราณาจารญ์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคืออาโลกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณเรื่องของอาโปกสิณ คือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะนั้น สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้ เรื่องของวาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่าเหาะไป แต่ว่าความจริงแล้วถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้วเราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริงๆ ถ้าไม่ได้อธิฐานให้ไปช้าๆ อย่างเช่นถ้านั่งอยู่ตรงนี้คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมากมันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่งหรือว่าที่ไหนไม่มีลมมันร้อนอบอ้าว อธิฐานให้มีลมให้มันเย็นสบายได้เรื่องของเตโชกสิณคือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้วเราสามารถทำให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้ อำนาจของเตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคุณไม่มีอันตราย ทั้งๆที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น คราวนี้ธาตุกสิณทั้งสี่นี้ยังสามารถใช้ในการปรับธาตุเพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วยถ้าเราอธิฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกันอาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไปผืนกรรมทำในลักษณะนั้นเพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมาถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเราไปผืนกระแสกรรมโดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขากรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจจากอภิญญาที่ได้จากกสิณจะเสื่อมในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพดังนี้เวลาเราปฏิบัติก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่งที่เราชอบถ้าจับปฐวีกสิณก่อนก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้หลับตาลงนึกถึงภาพนั้นพร้อมกับคำภาวนาว่า ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง ถ้าภาพเลือนหายไปลืมตาขึ้นมาดูใหม่แล้วหลับตานึกถึงภาพนั้นระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ทันอึดใจ ภาพก็หายไปก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา ถ้าใช้กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้นพร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าการกำหนดในวาโยกสิณเมื่ออาการของลมมากระทบผิวกายเป็นระรอก ระรอก อย่างใดก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง ถ้าหากว่าจับธาตุไฟเป็นปกติก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง คราวนี้เรื่องของธาตุกสิณทั้งสี่นี้ ถ้าหากว่าเป็นอุคหนิมิตก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ หรือว่าถ้าเราทำนิมิตดินเป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตามถึงวาระถึงเวลานั้นภาพนั้นก็จะปรากฏ ถ้าเป็นกสิณน้ำก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆถ้าเป็นกสิณลมอันนี้จับยากสักนิดหนึ่งเพราะว่าเรามองลมไม่เห็นแต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆมันจะเริ่มเห็นขึ้นมา ลักษณะยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมากๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไปน้ำที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระรอกๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเป็นกสิณไฟก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิตก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉยๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเราแต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่าถ้าหากว่าบางท่านมีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะดวงกสิณที่เราเพ่งแต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับตาลปัตรทองคำ คือมันจะพุ่งขึ้นไปแล้วแตกกระจายเป็นแฉกๆ อยู่ทางด้านบนซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเองเมื่อในลักษณะของอุคนิมิตนี้ปรากฏขึ้น เราต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มสติจะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่ออยู่กับภาพกสิณพร้อมกับคำภาวนาเสมอ พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะออนลง จางลงจนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อยใสขึ้นๆ สว่างขึ้นจนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา แต่ว่ามันมีนิมิตกสิณอยู่สองกองคืออาโปกสิณ กสิณน้ำกับเตโชกสิณ กสิณไฟนิมิตทั้งสองกองนี้ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเมื่อเราอธิฐานให้ใหญ่ให้เล็กให้มาให้หายไปมีความคล่องตัวเลย บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทางอันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพลาดขึ้นมาบางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลังอันนั้นก็อย่าได้ไปตกใจ ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตามโปรดทราบว่าอันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณเฉยๆ เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมากเราอธิฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้ ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้วพอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดีในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มีดังนั้นขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไปมันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเราก็ลองอธิฐานใช้ผลดูคือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่กำหนดอธิฐานให้หายให้มาจนคล่องตัวแล้ว ถ้าหากว่าเป็นปฐวีกสิณก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิฐานว่าขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดินแล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออกมาเข้าฌานเต็มระดับคือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่อีกครั้งหนึ่งเมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติแล้วอธิฐานให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่น้ำนั้นจะแข็งเป็นดินคือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆนักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเองลักษณะนี้พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วมก็อธิฐานให้น้ำมันแข็งเพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไปหัวเราะเยาะเพื่อนได้ พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่ว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำให้อธิฐานว่าให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็งและหนาแน่นเหมือนกับดิน อย่าไปอธิฐานให้น้ำทั้งหมดแข็งเพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิฐานผิดในลักษณะนั้นผลของกสิณจะไม่เกิดถ้าหากว่าเป็นกสิณน้ำ ก็ลองอธิฐานของแข็งให้อ่อนดู อาจจะน้ำไม้สักแผ่นหนึ่ง เหล็กสักแผ่นหนึ่งมาวางตรงหน้าเข้าสมาธิเต็มที่จนภาพกสิณใสเจิดจ้าแล้วอธิฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่สภาวะฌานสมาบัติให้เห็นดวงกสิณใสเจิดจ้าแบบนั้นอีกครั้งหนึ่งพอลดกำลังใจลงมาอธิฐานขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการถ้าหากว่าเป็นกสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิฐานว่าจะไปในดงไผ่นั้นเวลาเข้าสมาธิเต็มที่อธิฐานแล้วคลายกำลังใจออกมาอธิฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่งพอเข้าสมาธิเต็มที่ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ ถ้าเป็นกสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่นของเราก็ได้จุดเทียนในกุฏิของเราตั้งใจอธิฐานขอให้ไฟมันติด มันก็จะติดขึ้นมาทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กันคำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้นกสิณกองต่อไปคืออาโลกสิณเป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามาแต่ว่าสมัยนี้มีลูกแก้วใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้างทิพยจักษญาณโดยตรงใครทำอาโลกสิณได้สามารถมีทิพยจักษุญาณเห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง ส่วนกสิณกองต่อไปคืออากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่าอากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตามถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิฐานให้ตรงนั้นเป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ ลักษณะของการดำดินหรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูกก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง ส่วนอาโลกสิณนั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่ายคราวนี้กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญาไม่สามารถจะหลุดพ้นก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไปเช่นกันดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติแล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆจับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย[MUSIC][/MUSIC] (ถึงนาทีที่ 24:25)
     
  8. Jdin_buddhism

    Jdin_buddhism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +10,153
    เนื้อหาที่พิมพ์มาพิมพ์ได้ถึงนาทีที่ 24 กับอีก 25 วินาที จากนี้จนถึงนาทีที่ 33:06 ผมไม่สามารถพิมพ์ต่อได้ น่าจะเป็นเพราะเสียงบันทึกมีปัญหา ที่พิมพ์มาแล้ว ผิดพลาดอย่างไรขอเรียนกราบอภัยหลวงพี่ ด้วยน่ะครับ มิได้มีเจตนาจะเปลี่ยนแปลงคำสอนของหลวงพี่แม้แต่น้อย ความโง่มันยังมีอยู่มาก คิดว่า Web snow คงจะนำไปให้หลวงพี่ตรวจทานอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณครับ ขอโมทนา สาธุกับทุกจิตที่เป็นบุญเป็นกุศลครับ สวัสดีครับ
     
  9. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ลองเทสต์เจ๋ยๆ อ่ะจ๊ะ..

    วันนี้ก็มาว่าเรื่องของการฝึกเกี่ยวกับกสิณทั้ง ๑๐ ของเราต่อไป เมื่อวานก็กล่าวไปแล้วถึงวรรณกสิณทั้งสี่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว
    เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้แต่ว่ามันลำบากด้วยการหานิมิตกสิณ เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณา

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึง ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
    กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง
    แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่า สมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่งเด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณ หรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย
    เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่า จะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่า จะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณ คือ ละเลงลงบนผ้า ที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้ หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด
    มองพื้นดินที่เห็น แล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับธาตุน้ำง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด เรื่องของธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำเอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต
    แต่เนื่องจากว่า บางขณะลมสงัด ถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัว เราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบา ๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา
    จับอากาศกระทบเป็นระรอก ๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้ว ใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเรา เป็นนิมิตก็ได้
    ธาตุไฟนั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมา แล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟ มองเฉพาะไฟ ที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา
    แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมา แล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้หรืออย่างสมัยที่ผมฝึก มันหาเทียนยาก มีแต่ตะเกียงน้ำมัน ก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน
    หรือเวลาหุงข้าว ก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่าน เตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้น เป็นนิมิตกสิณแทน

    คราวนี้กล่าวถึงอานุภาพของกสิณก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอานุภาพมาก ปฐวีกสิณนั้น ถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็ง
    เมื่อทำได้แล้วก็อธิฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับเดินบนน้ำได้ เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่
    เรื่องของอาโปกสิณ กสิณน้ำสิ่งที่แข็งเราสามารถอธิฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ
    ที่ที่ไม่มีน้ำ อดน้ำอยู่ สามารถอธิฐานให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็น ก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้
    โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคือ อาโปกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณเรื่องของอาโปกสิณ คือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะนั้น สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้
    เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่า" เหาะไป"
    แต่ว่าความจริงแล้ว ถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้ว เราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริง ๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้า ๆ
    อย่างเช่น ถ้านั่งอยู่ตรงนี้ คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้ จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯ อีกทีหนึ่ง
    แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมากมันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง
    หรือว่าที่ไหนไม่มีลม มันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลม ให้มันเย็นสบาย ได้เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้ว เราสามารถทำให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้
    อำนาจของ เตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคุณไม่มีอันตราย ทั้งๆที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น
    คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่นี้ยังสามารถใช้ในการปรับธาตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วย
    ถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกัน อาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไป ฝืนกรรมทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมา ถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย
    ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรม โดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจจาก อภิญญา ที่ได้จากกสิณจะ เสื่อม
    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพ ดังนี้ เวลาเราปฏิบัติ ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่ง ที่เราชอบ ถ้าจับปฐวีกสิณก่อน ก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง ถ้าภาพเลือนหายไป ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ แล้วหลับตานึกถึงภาพนั้น

    ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ทันอึดใจ ภาพก็หายไปก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา
    ถ้าใช้ กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้นพร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ
    ถ้าหากว่าการกำหนดในวาโยกสิณ เมื่ออาการของลมมากระทบผิวกายเป็นระรอก ระรอก อย่างใดก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง
    ถ้าหากว่าจับ ธาตุไฟ เป็นปกติก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง
    คราวนี้เรื่องของธาตุกสิณทั้งสี่นี้ ถ้าหากว่าเป็นอุคหนิมิต ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ หรือว่าถ้าเราทำนิมิตดินเป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระ ถึงเวลานั้น ภาพนั้นก็จะปรากฏ
    ถ้าเป็นกสิณน้ำก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ
    ถ้าเป็นกสิณลมอันนี้จับยากสักนิดหนึ่ง เพราะว่าเรามองลมไม่เห็น แต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆมันจะเริ่มเห็นขึ้นมา
    ลักษณะ ยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมาก ๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำ หรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระรอกๆ อยู่อย่างนั้น
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณไฟก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิต ก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉย ๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา
    แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่า ถ้าหากว่าบางท่าน มีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะดวงกสิณที่เราเพ่ง แต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับ ตาลปัตรทองคำ
    คือมันจะพุ่งขึ้นไป แล้วแตกกระจายเป็นแฉก ๆ อยู่ทางด้านบน ซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง
    เมื่อในลักษณะของอุคนิมิตนี้ ปรากฏขึ้น เราต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่อ อยู่กับภาพกสิณพร้อมกับคำภาวนาเสมอ
    พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้น ก็จะอ่อนลง จางลง จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อยใสขึ้นๆ สว่างขึ้นจนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา
    แต่ว่า มันมีนิมิตกสิณอยู่ สองกอง คือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ

    นิมิตทั้งสองกองนี้ ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเมื่อเราอธิษฐาน ให้ใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวเลย
    บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพลาดขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลัง อันนั้นก็อย่าได้ไปตกใจ
    ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม โปรดทราบว่า อันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณ เฉยๆ
    เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมากเราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้
    ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้
    มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้ว พอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดี ในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี

    ดังนั้น ขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไป มันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น
    ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้
    เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่ กำหนดอธิษฐาน ให้หาย ให้มา จนคล่องตัวแล้ว

    ถ้าหากว่าเป็นปฐวีกสิณก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดินแล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออก มาเข้าฌานเต็มระดับ คือ จับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง
    เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติแล้วอธิษฐานให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน คือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน
    สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆนักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเอง ลักษณะนี้พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วม ก็อธิฐานให้น้ำมันแข็ง เพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไป หัวเราะเยาะเพื่อนได้
    พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่ว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้ แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำ ให้อธิษฐานว่า ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็ง และหนาแน่นเหมือนกับดิน
    อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็ง เพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิษฐานผิดในลักษณะนั้น ผลของกสิณจะไม่เกิด
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณน้ำ ก็ลองอธิษฐานของแข็งให้อ่อนดู อาจจะน้ำไม้สักแผ่นหนึ่ง เหล็กสักแผ่นหนึ่งมาวางตรงหน้าเข้าสมาธิเต็มที่จนภาพกสิณใสเจิดจ้า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง
    คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่สภาวะฌานสมาบัติ ให้เห็นดวงกสิณใสเจิดจ้าแบบนั้นอีกครั้งหนึ่ง พอลดกำลังใจลงมาอธิษฐาน ขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า จะไปในดงไผ่นั้น เวลาเข้าสมาธิเต็มที่อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออก มาอธิฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ
    ถ้าเป็นกสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่น ของเราก็ได้จุดเทียนในกุฏิของเรา ตั้งใจอธิฐานขอให้ไฟมันติด มันก็จะติดขึ้นมาทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย
    ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กันคำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น
    กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้ มีลูกแก้ว ใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้
    อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณโดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้ สามารถมีทิพยจักษุญาณ เห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ
    ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง
    ส่วนกสิณกองต่อไปคืออากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า อากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ
    เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตาม ถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้น เป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ
    ลักษณะของการดำดิน หรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูก ก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง
    ส่วนอาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย
    คราวนี้กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญาไม่สามารถจะหลุดพ้นก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไป
    เช่นกันดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติแล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆจับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย (ถึงนาทีที่ 24:25)<!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2005
  10. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #f58105 3px dashed; BORDER-TOP: #f58105 3px dashed; BORDER-LEFT: #f58105 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #f58105 3px dashed" cellSpacing=5 cellPadding=5 bgColor=#fbbe7d><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #8a643c 3px dashed; BORDER-TOP: #8a643c 3px dashed; BORDER-LEFT: #8a643c 3px dashed; BORDER-BOTTOM: #8a643c 3px dashed" bgColor=#f6dabc>
    วันนี้ก็มาว่าเรื่องของการฝึกเกี่ยวกับกสิณทั้ง ๑๐ ของเราต่อไป เมื่อวานก็กล่าวไปแล้วถึงวรรณกสิณทั้งสี่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว
    เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้แต่ว่ามันลำบากด้วยการหานิมิตกสิณ เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณา

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึง ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
    กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง
    แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่า สมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่งเด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณ หรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย
    เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่า จะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่า จะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณ คือ ละเลงลงบนผ้า ที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้ หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด
    มองพื้นดินที่เห็น แล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับธาตุน้ำง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด เรื่องของธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำเอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต
    แต่เนื่องจากว่า บางขณะลมสงัด ถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัว เราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบา ๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา
    จับอากาศกระทบเป็นระรอก ๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้ว ใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเรา เป็นนิมิตก็ได้
    ธาตุไฟนั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมา แล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟ มองเฉพาะไฟ ที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา
    แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมา แล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้หรืออย่างสมัยที่ผมฝึก มันหาเทียนยาก มีแต่ตะเกียงน้ำมัน ก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน
    หรือเวลาหุงข้าว ก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่าน เตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้น เป็นนิมิตกสิณแทน

    คราวนี้กล่าวถึงอานุภาพของกสิณก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอานุภาพมาก ปฐวีกสิณนั้น ถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็ง
    เมื่อทำได้แล้วก็อธิฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับเดินบนน้ำได้ เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่
    เรื่องของอาโปกสิณ กสิณน้ำสิ่งที่แข็งเราสามารถอธิฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ
    ที่ที่ไม่มีน้ำ อดน้ำอยู่ สามารถอธิฐานให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็น ก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้
    โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคือ อาโปกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณเรื่องของอาโปกสิณ คือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะนั้น สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้
    เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่า" เหาะไป"
    แต่ว่าความจริงแล้ว ถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้ว เราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริง ๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้า ๆ
    อย่างเช่น ถ้านั่งอยู่ตรงนี้ คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้ จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯ อีกทีหนึ่ง
    แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมากมันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง
    หรือว่าที่ไหนไม่มีลม มันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลม ให้มันเย็นสบาย ได้เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้ว เราสามารถทำให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้
    อำนาจของ เตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคุณไม่มีอันตราย ทั้งๆที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น
    คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่นี้ยังสามารถใช้ในการปรับธาตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วย
    ถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกัน อาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไป ฝืนกรรมทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมา ถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย
    ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรม โดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจจาก อภิญญา ที่ได้จากกสิณจะ เสื่อม
    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพ ดังนี้ เวลาเราปฏิบัติ ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่ง ที่เราชอบ ถ้าจับปฐวีกสิณก่อน ก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง ถ้าภาพเลือนหายไป ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ แล้วหลับตานึกถึงภาพนั้น

    ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ทันอึดใจ ภาพก็หายไปก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา
    ถ้าใช้ กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้นพร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ
    ถ้าหากว่าการกำหนดในวาโยกสิณ เมื่ออาการของลมมากระทบผิวกายเป็นระรอก ระรอก อย่างใดก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง
    ถ้าหากว่าจับ ธาตุไฟ เป็นปกติก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง
    คราวนี้เรื่องของธาตุกสิณทั้งสี่นี้ ถ้าหากว่าเป็นอุคหนิมิต ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ หรือว่าถ้าเราทำนิมิตดินเป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระ ถึงเวลานั้น ภาพนั้นก็จะปรากฏ
    ถ้าเป็นกสิณน้ำก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ
    ถ้าเป็นกสิณลมอันนี้จับยากสักนิดหนึ่ง เพราะว่าเรามองลมไม่เห็น แต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆมันจะเริ่มเห็นขึ้นมา
    ลักษณะ ยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมาก ๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำ หรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระรอกๆ อยู่อย่างนั้น
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณไฟก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิต ก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉย ๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา
    แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่า ถ้าหากว่าบางท่าน มีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะดวงกสิณที่เราเพ่ง แต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับ ตาลปัตรทองคำ
    คือมันจะพุ่งขึ้นไป แล้วแตกกระจายเป็นแฉก ๆ อยู่ทางด้านบน ซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง
    เมื่อในลักษณะของอุคนิมิตนี้ ปรากฏขึ้น เราต้องเพิ่มความระมัดระวังเพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่อ อยู่กับภาพกสิณพร้อมกับคำภาวนาเสมอ
    พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้น ก็จะอ่อนลง จางลง จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อยใสขึ้นๆ สว่างขึ้นจนกระทั่งสว่างเจิดจ้าเหมือนเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา
    แต่ว่า มันมีนิมิตกสิณอยู่ สองกอง คือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ

    นิมิตทั้งสองกองนี้ ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเมื่อเราอธิษฐาน ให้ใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวเลย
    บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพลาดขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลัง อันนั้นก็อย่าได้ไปตกใจ
    ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม โปรดทราบว่า อันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณ เฉยๆ
    เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมากเราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้
    ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้
    มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้ว พอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดี ในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี

    ดังนั้น ขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไป มันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น
    ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้
    เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตแล้วเราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่ กำหนดอธิษฐาน ให้หาย ให้มา จนคล่องตัวแล้ว

    ถ้าหากว่าเป็นปฐวีกสิณก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดินแล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออก มาเข้าฌานเต็มระดับ คือ จับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง
    เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติแล้วอธิษฐานให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน คือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน
    สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆนักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเอง ลักษณะนี้พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วม ก็อธิฐานให้น้ำมันแข็ง เพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไป หัวเราะเยาะเพื่อนได้
    พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่ว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้ แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำ ให้อธิษฐานว่า ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็ง และหนาแน่นเหมือนกับดิน
    อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็ง เพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิษฐานผิดในลักษณะนั้น ผลของกสิณจะไม่เกิด
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณน้ำ ก็ลองอธิษฐานของแข็งให้อ่อนดู อาจจะน้ำไม้สักแผ่นหนึ่ง เหล็กสักแผ่นหนึ่งมาวางตรงหน้าเข้าสมาธิเต็มที่จนภาพกสิณใสเจิดจ้า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง
    คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่สภาวะฌานสมาบัติ ให้เห็นดวงกสิณใสเจิดจ้าแบบนั้นอีกครั้งหนึ่ง พอลดกำลังใจลงมาอธิษฐาน ขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ
    ถ้าหากว่าเป็นกสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า จะไปในดงไผ่นั้น เวลาเข้าสมาธิเต็มที่อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออก มาอธิฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ
    ถ้าเป็นกสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่น ของเราก็ได้จุดเทียนในกุฏิของเรา ตั้งใจอธิฐานขอให้ไฟมันติด มันก็จะติดขึ้นมาทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย
    ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กันคำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น
    กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้ มีลูกแก้ว ใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้
    อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณโดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้ สามารถมีทิพยจักษุญาณ เห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ
    ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง
    ส่วนกสิณกองต่อไปคืออากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า อากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง ดังนี้ไปเรื่อยๆ
    เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตาม ถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้น เป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ
    ลักษณะของการดำดิน หรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูก ก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง
    ส่วนอาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย
    คราวนี้กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญาไม่สามารถจะหลุดพ้นก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไป
    เช่นกันดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติแล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆจับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย (ถึงนาทีที่ 24:25)<!-- / message -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. jasminine

    jasminine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    5,386
    ค่าพลัง:
    +22,313
    วันนี้ก็มาว่าเรื่องของการฝึกเกี่ยวกับ กสิณทั้ง 10 ของเราต่อไป เมื่อวานได้กล่าวไปแล้วถึง วรรณกสิณทั้งสี่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว

    เรื่องของกสิณนั้น แม้ว่าจะเป็นกรรมฐานที่หยาบ มีนิมิต มีสัมผัสได้ จับได้ ต้องได้ แต่ว่ามันลำบากด้วย
    *การหานิมิตกสิณ* เพื่อที่จะใช้ในการเพ่งและพิจารณา

    สำหรับวันนี้ก็จะกล่าวถึง ธาตุกสิณทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กสิณทั้งสี่กองนี้เริ่มจาก
    • ปฐวีกสิณ เราก็ต้องหานิมิตกสิณก่อน สมัยโบราณท่านบอกว่าให้ใช้ดินสีอรุณ คือสีเหลืองอมแดง เพื่อนำมาทำเป็นนิมิตกสิณ ต้องเอาดินมาละเลงบนผ้าสดึง แต่ว่าสมัยนี้ของเราถ้าทำอย่างนั้นได้ก็ดีแต่เนื่องจากว่าสมัยนี้บางทีการหาวัสดุมาทำมันยากอยู่สักนิดหนึ่ง เด็กรุ่นหลังๆ กระทั่งดินสีอรุณหรือดินขุยปูในลักษณะนั้นหน้าตาเป็นอย่างไรยังไม่รู้จักเลย เราก็ใช้ดินทั่วๆไป อาจจะเอามานวดมาปั้นก็ได้ ปั้นให้เป็นรูปกลมๆ ขนาดที่เราชอบใจก็ได้ หรือว่าจะปั้นให้เป็นสี่เหลี่ยมก็ได้ หรือว่าจะทำเป็นนิมิตกสิณอย่างของคนโบราณคือละเลงลงบนผ้าที่กว้างเมตรสองคืบสี่นิ้วก็ได้หรือว่าจะปัดกวาดสถานที่ใดที่หนึ่งให้สะอาด มองพื้นดินที่เห็นแล้วจับเป็นนิมิตกสิณก็ได้ สำหรับ
    • ธาตุน้ำ ง่ายสักนิดหนึ่ง เราใช้น้ำใส่ภาชนะ ใส่ขัน ใส่ถังอะไรก็ได้ที่เราจะสามารถนั่งแล้วมองได้ถนัด
    • เรื่องของ ธาตุลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่างๆ แล้วก็นำอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต แต่เนื่องจากว่าบางขณะลมสงัดถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัวเราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมาให้ใช้พัดลมเปิดเบาๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอากาศกระทบเป็นระลอกๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้ หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้วใช้ลมหายเจ้าเข้าลมหายใจออกของเราเป็นนิมิตแทนก็ได้
    • ธาตุไฟ นั้น สมัยก่อนใช้ก่อไฟกองใหญ่ขึ้นมาแล้วก็เจาะรูที่ผ้านำผ้านั้นขึงอยู่หน้ากองไฟมองเฉพาะไฟที่ผ่านจากรูกลมของผ้าเข้ามา แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้แบบไหนก็ได้ จุดเทียนขึ้นมาแล้วเพ่งเปลวเทียนก็ได้ หรืออย่างสมัยที่ผมฝึกมันหาเทียนยากมีแต่ตะเกียงน้ำมันผมก็ใช้ตะเกียงน้ำมัน หรือเวลาหุงข้าวก็เอาฟืนทั้งเตาเป็นนิมิตกสิณได้ สมัยโน้นเตาแก๊สยังไม่มี หม้อไฟฟ้ายังไม่มี ถึงเวลาก็ต้องติดไฟหุงข้าวจะเป็นเตาถ่านเตาฟืนอะไรผมก็ใช้นิมิตไฟทั้งเตานั้นเป็นนิมิตกสิณแทน
    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    คราวนี้กล่าวถึง *อนุภาพของกสิณ* ก่อน ธาตุกสิณทั้งสี่กองนี้มีอนุภาพมาก
    • ปฐวีกสิณ นั้นถ้าหากว่าเราต้องการของอ่อนเป็นของแข็งเมื่อทำได้แล้วก็อธิษฐานได้ตามใจ สามารถเดินขึ้นบนอากาศได้เหมือนกับมีบันไดรองรับ เดินบนน้ำได้เหมือนยังกับว่าพื้นน้ำนั้นแข็งตัวอยู่
    • เรื่องของ อาโปกสิณ กสิณน้ำ สิ่งที่แข็งเราสามารถอธิษฐานให้อ่อนดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามใจของเราชอบ ที่ที่ไม่มีน้ำอดน้ำอยู่สามารถอธิษฐานให้น้ำเกิดที่นั่นได้ ขณะเดียวกันถ้าหากว่าเราทำเป็นก็สามารถทำเป็นทิพยจักษุญาณได้ โบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า กสิณไฟ กสิณสีขาว กสิณแสงสว่างคืออาโลกสิณ เป็นพื้นฐานของทิพยจักษุญาณ เรื่องของอาโปกสิณคือกสิณน้ำถ้าหากว่าเรากำหนดใจจดจ่ออยู่กับน้ำในภาชนะนั้นก็เป็นอาโปกสิณ แต่ถ้าเราเพ่งจิตจนถึงก้นของภาชนะน้ำนั้น สามารถทำเป็น ทิพยจักษุญาณ ได้
    • เรื่องของ วาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหนๆ ได้ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่าเหาะไป แต่ว่าความจริงแล้วถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้วเราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริงๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้าๆ อย่างเช่นถ้านั่งอยู่ตรงนี้คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้จะเห็นเราหายไปเฉยๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯอีกทีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วเราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลมมันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลมให้มันเย็นสบายได้
    • เรื่องของ เตโชกสิณ คือกสิณไฟ ถ้าทำได้แล้วเราสามารถอธิษฐานให้ไฟติดขึ้นที่ใดที่หนึ่งก็ได้ จะให้ความอบอุ่นจะให้แสงสว่างหรือจะให้เผาผลาญสิ่งใดก็ได้ อำนาจของเตโชกสิณ เราสามารถควบคุมมันได้อย่างที่ต้องการ ถ้าจะเผาแค่เสื้อผ้ารับรองว่าตัวคนไม่มีอันตราย ทั้งๆ ที่ไฟลุกท่วมตัวอยู่อย่างนั้น
    คราวนี้ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ยังสามารถใช้ใน รัตุ เพื่อรักษาพยาบาลคนที่เจ็บป่วยได้ เนื่องจากว่าคนที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เกิดจากการที่ธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง ถึงมีอาการเจ็บป่วยถ้าเราอธิษฐานให้ธาตุสี่ประสานเสมอกันอาการเจ็บป่วยนั้นก็หาย แต่สำหรับนักปฏิบัติแล้วถ้าไม่ใช่หน้าที่ของตนจริงๆ อย่าไปฝืนกรรม ทำในลักษณะนั้น เพราะว่าทุกคนต้องสร้างกรรมมาถึงจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเราไปฝืนกระแสกรรมโดยการช่วยเหลือผู้อื่นเขา กรรมอันนั้นจะเข้าถึงตัวเราอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเราไปฝืนกฏของกรรม อำนาจของอภิญญาที่ได้จากกสิณจะเสื่อม


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    ในเมื่อธาตุกสิณทั้งสี่ มีอนุภาพดังนี้ เวลาเรา *ปฏิบัติ* ก็เริ่มจากกองใดกองหนึ่งที่เราชอบ

    ถ้าจับ ปฐวีกสิณ ก่อนก็ลืมตาดูภาพนิมิตกสิณที่เราทำไว้ หลับตาลงนึกถึงภาพนั้นพร้อมกับคำภาวนาว่า "ปฐวีกสิณนัง ปฐวีกสิณนัง " ถ้าภาพเลือนหายไปลืมตาขึ้นมาดูใหม่แล้วหลับตาลงนึกถึงภาพนั้น ระยะแรกๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราวพอถึงเวลาหลับตาลงไม่ถึงอึดใจภาพก็หายไป ก็ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อยๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้งกว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ทั้งหลับตาและลืมตา

    ถ้าใช้ กสิณน้ำ เมื่อใช้ภาชนะบรรจุน้ำวางอยู่ตรงหน้าลืมตามองน้ำในภาชนะนั้น พร้อมกับหลับตาลงนึกถึงภาพของน้ำในภาชนะ ภาวนาว่า "อาโปกสิณนัง อาโปกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ

    ถ้าหากว่าการกำหนดใน วาโยกสิณ เมื่ออาการของลมที่กระทบผิวกายเป็นระลอกระลอกอย่างใด ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า "วาโยกสิณนัง วาโยกสิณนัง "

    ถ้าหากว่าจับ ภาพไฟ เป็นปกติ ก็ให้จับภาพของดวงเทียน หรือว่ากองไฟนั้นๆ พร้อมกับคำภาวนาว่า "เตโชกสิณนัง เตโชกสิณนัง "


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    คราวนี้เรื่องของ ธาตุกสิณทั้งสี่ นี้ ถ้าหากว่าเป็น *อุคหนิมิต* ก็จะเป็นนิมิตตามกองกสิณนั้นๆ

    คือว่าถ้าเราทำ นิมิตดิน เป็นรูปวงกลม เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างไรที่เราชอบใจก็ตาม ถึงวาระถึงเวลานั้นภาพนั้นก็จะปรากฏ

    ถ้าเป็น กสิณน้ำ ก็จะปรากฏเป็นวงตามภาชนะนั้นๆ

    ถ้าเป็น กสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่งเพราะว่าเรามองลมไม่เห็นแต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อยๆ ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา ลักษณะยังกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวเวลาร้อนมากๆ ถ้าหากว่าภาพกสิณนั้นมีความชัดเจนขึ้น ก็จะเหมือนกับไอน้ำที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าวแล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก ระลอก อยู่อย่างนั้น

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณไฟ ก็จะมีนิมิต ตามลักษณะของดวงกสิณที่เราพิจารณาอยู่ ที่เราเพ่งอยู่ ถ้าหากว่าเราเพ่งเปลวเทียนนิมิตก็จะเป็นดวงเทียนในลักษณะเปลวไฟลอยตั้งอยู่เฉยๆ ถ้าเราเพ่งภาพของกองไฟก็จะเห็นไฟทั้งกองนั้นตั้งอยู่ตรงหน้าของเรา แต่ว่ามีอยู่จุดหนึ่งที่ว่าถ้าหากว่าบางท่านมีความคล่องตัวมาก่อนมันจะไม่เห็นเป็นเปลวไฟในลักษณะของดวงกสิณที่เราเพ่งแต่มันจะเห็นในลักษณะเหมือนยังกับ ตาลปัตรทองคำ คือมันจะพุ่งขึ้นไปแล้วแตกกระจายเป็นแฉกๆ อยู่ทางด้านบนซึ่งอันนี้ผมเจอมาด้วยตัวเอง


    เมื่อลักษณะของ อุคหนิมิต นี้ปรากฏขึ้น เราต้อง เพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่งเอากำลังใจส่วนหนึ่งจดจ่ออยู่กับภาพกสิณ พร้อมกับคำภาวนาเสมอ พอทำไปๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะ อ่ อ น ล ง.. จ า ง ล ง ..จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อย ใ ส ขึ้ น ๆ ส ว่ า ง ขึ้ น จนกระทั่ง ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เหมือนยังกับเอากระจกสะท้อนไฟใส่ตา


    แต่ว่ามันมีนิมิตกสิณอยู่สองกองคือ อาโปกสิณ กสิณน้ำ กับ เตโชกสิณ กสิณไฟ นิมิตทั้งสองกองนี้ถ้าเป็น ปฏิภาคนิมิต แล้วเมื่อเราอธิษฐานให้ใหญ่ให้เล็กให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวแล้ว บางทีอยู่ๆ จะเห็นกระแสน้ำไหลมาท่วมทุกทิศทุกทาง อันนั้นอย่าได้ตกใจ หรืออยู่ๆ เห็นเป็นไฟลุกไหม้พรวดพราดขึ้นมา บางทีไหม้ไปทั้งอาคารทั้งหลังอันนั้นก็อย่าไปตกใจ ไม่ว่าจะน้ำมาทุกทิศทุกทางหรือไฟลุกท่วมไปทั้งอาคารก็ตาม โปรดทราบว่าอันนั้นเป็นแค่นิมิตกสิณเฉยๆ เราสามารถที่จะควบคุมมันได้สบายมาก เราอธิษฐานให้ไฟลุกท่วมทั้งโบสถ์นี้ โบสถ์นี้ก็จะไม่มีอันตรายถ้าเราไม่ต้องการให้ไหม้ ให้น้ำท่วมมาทุกทิศทุกทางก็จริง แต่ถ้าหากว่าเราไม่ต้องการให้มีอันตรายจากน้ำนั้น น้ำนั้นก็ทำอันตรายใครไม่ได้ มีหลายท่านที่ทำกสิณดังนี้แล้วพอนิมิตพวกนี้เกิดขึ้นแล้วตกใจกลัว วิ่งหนีก็ดีหรือว่าตื่นตกใจเรียกให้คนช่วยก็ดีในลักษณะนั้นเป็นการขาดสติ บางทีความตกใจมากทำป้ำๆ เป๋อๆ ทำกรรมฐานต่อไม่ได้เลยก็มี ดังนั้นขอให้เราทุกคนโปรดเข้าใจว่า ถ้านิมิตกสิณเหล่านี้เกิดขึ้น เราเป็นผู้ทำให้มันเกิด ต้องการให้มันมามันก็มา ต้องการให้มันหายไปมันก็หายไปเดี๋ยวนั้น มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างเราสามารถควบคุมมันได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปตกใจ ไม่จำเป็นต้องไปหวาดกลัวใดๆ


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็น*ปฏิภาคนิมิต* แล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดูคือ จับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัวมั่นใจ

    แล้วถ้าหากว่าเป็น ปฐวีกสิณ ก็ลองนำน้ำมาสักขันหนึ่ง อธิษฐานว่า "ขอให้น้ำนี้จงแข็งเหมือนดิน" แล้วเสร็จแล้วคลายกำลังใจออกมาเข้าฌานเต็มระดับ คือจับภาพกสิณให้ ส ว่ า ง เ จิ ด จ้ า เต็มที่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อคลายใจออกมาสู่อารมณ์ปกติ แล้วอธิษฐานขอให้น้ำนี้แข็งตัวใหม่ น้ำนั้นจะแข็งเป็นดิน คือลักษณะแข็งเหมือนกับหินไปทั้งขัน สมัยที่อยู่วัดท่าซุงเด็กๆ นักเรียนทำได้แล้วก็แกล้งเพื่อนตัวเองลักษณะนี้ พอเข้าส้วมก็รอจังหวะพอเพื่อนจะตักน้ำล้างส้วมก็อธิษฐานให้น้ำมันแข็งเพื่อนตักน้ำไม่ได้ตัวเองก็ชอบใจไปหัวเราะเยาะเพื่อนได้ พยายามทำให้อยู่ในลักษณะที่เรียกว่ามีความชำนาญ นึกเมื่อไหร่น้ำก็แข็งเมื่อนั้น คราวนี้จะลองหัดเดินน้ำดูก็ได้แต่ว่าถ้าหัดเดินน้ำให้ อธิษฐานว่า "ให้น้ำทุกจุดที่เราเหยียบลงไปมีความแข็งและหนาแน่นเหมือนกับดิน" อย่าไปอธิษฐานให้น้ำทั้งหมดแข็งเพราะว่าจะสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นเขา ถ้าอธิ๋ษฐานผิดในลักษณะนั้นผลของกสิณจะไม่เกิด

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณน้ำ ก็ลองอธิษฐาน ของแข็งให้อ่อน ดู อาจจะน้ำไม้สักอันหนึ่ง เหล็กสักท่อนหนึ่งมาวางตรงหน้า เข้าสมาธิเต็มที่ จนภาพกสิณ ใ ส ... เ จิ ด จ้ า แล้วอธิษฐานขอให้ไม้หรือเหล็กนั้นอ่อนลง คลายกำลังใจลงมาเข้าสู่ภาวะฌานสมาบัติให้เห็นดวงกสิณ ใ ส เ จิ ด จ้ า แบบนั้นเต็มที่อีกครั้งหนึ่ง พอลดกำลังใจลงมา อธิษฐานขอให้มันอ่อนตัวลง พอเข้าฌานใหม่ สิ่งนั้นก็จะอ่อนตัวลง จับบิดดัดแปลงเปลี่ยนรูปได้ตามที่เราต้องการ

    ถ้าหากว่าเป็น กสิณลม ก็เอาระยะใกล้ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็นเพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นว่าเราอธิษฐานว่า "จะไปในดงไผ่นั้น" เวลาเข้าสมาธิเต็มที่ อธิษฐานแล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่ ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้นๆ

    ถ้าเป็น กสิณไฟ ก็แอบๆ จุดไฟเล่นของเราก็ได้ จุดเทียนในกุฏิของเราตั้งใจอธิษฐาน "ขอให้ไฟมันติด " มันก็จะติดขึ้นมา


    ทำให้มีความคล่องตัวแบบนี้ทุกวัน ซ้อมทำอยู่เรื่อยๆ ทุกบ่อย ความจริงเรื่องของกสิณนั้น ถ้าเราทำกองใดกองหนึ่งได้แล้วกสิณที่เหลือก็เหมือนๆ กัน คำว่าเหมือนกันก็คือว่าใช้ลักษณะของนิมิตด้วยกำลังเท่าเดิมใช้กำลังของสมาธิเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนนิมิตเปลี่ยนคำภาวนาเล็กน้อยเท่านั้น


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    กสิณกองต่อไปคือ อาโลกสิณ เป็นการจับแสงสว่าง สมัยก่อนเขาดูแสงสว่างที่ลอดฝา ลอดตามช่องเข้ามา ลอดตามหลังคาเข้ามา แต่ว่าสมัยนี้มีลูกแก้วใช้ลูกแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ หรือว่าใช้พระแก้วเป็นนิมิตกสิณได้ อาโลกสิณนั้นเป็นกสิณสร้าง ทิพยจักษญาณ โดยตรง ใครทำอาโลกสิณได้สามารถมีทิพยจักษุญาณเห็นนรก สวรรค์ พรมหม นิพพานได้ง่ายๆ ขณะเดียวกันถ้าที่ใดมันมืดมิดต้องการจะให้สว่างมันก็สว่างตามที่เราต้องการได้ เวลาจับภาพนิมิตกสิณพร้อมกับคำภาวนา ก็ใช้คำว่า "อาโลกสิณนัง อาโลกสิณนัง"


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    ส่วนกสิณกองต่อไปคือ อากาศกสิณ อันนี้ให้จับช่องว่างเป็นช่องใดช่องหนึ่งตามข้างฝาก็ได้ตามหลังคาก็ได้เป็นตัวนิมิต ตั้งใจภาวนาว่า "อากาศกสิณนัง อากาศกสิณนัง " ดังนี้ไปเรื่อยๆ เรื่องของอากาศกสิณนี้มีอนุภาพตรงที่ว่าสถานที่ใดมันจะทึบมันจะตันขนาดไหนก็ตามประตูหน้าต่างที่เขาล็อคไว้ขนาดไหนก็ตามถ้าเราต้องการจะผ่านไป ถึงเวลาอธิษฐานให้ตรงนั้นเป็นช่องว่างเราก็สามารถผ่านไปได้ง่ายๆ ลักษณะของการดำดินหรือว่ามุดภูเขาไปทั้งลูกก็ใช้กำลังของอากาศกสิณนี้เอง

    ส่วน อาโลกสิณ นั้นเป็นกสิณเกี่ยวกับ ทิพยจักษุญาณโดยตรง ถึงเวลาอธิษฐานขอให้ภาพกสิณหายไปขอให้ภาพนรก เปรต อสุรกายปรากฏขึ้น ขอให้ภาพเทวดา พรมหม หรือพระนิพพานปรากฏขึ้น เราก็สามารถที่จะทำได้ง่าย


    ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~ ~~~


    คราวนี้ *กสิณทั้งหมดนั้นถ้าเราทำแค่นั้นมันเป็นโลกียอภิญญ*

    ไม่สามารถจะหลุดพ้น ก็ให้พิจารณาดูความไม่เที่ยงของมันไม่ว่าจะดิน จะน้ำ จะลม จะไฟมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายตัวไปเช่นกัน ดวงกสิณทุกอย่างแรกๆ มันก็ไม่สามารถตั้งมั่นทรงตัวอยู่ได้ ถึงเวลาเป็นอุคหนิมิตทรงตัวก็แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเป็นปกติ แล้วถึงเวลาสามารถบังคับมันให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้เดี๋ยวก็ใหญ่เดี๋ยวก็เล็กความไม่เที่ยงของมันมีอยู่เป็นปกติ ตัวเราเองที่ทำกสิณอยู่กว่าจะทำได้แต่ละทีลำบากยากเย็นแสนเข็นขนาดต้องนั่งเมื่อยอยู่เป็นวันๆ จับภาพกสิณให้เป็นอุคนิมิตไม่ได้เลย (ถึงนาทีที่ 24:25)<!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2005

แชร์หน้านี้

Loading...