ใครทราบประวัติของจิตตคหบดีบ้างครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จิตหงุดเงี้ยว, 10 มกราคม 2005.

  1. จิตหงุดเงี้ยว

    จิตหงุดเงี้ยว บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    (b-wow) ช่วยบอกข้อมูลเกี่ยวกับจิตตคหบดีให้หน่อยครับ
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    จิตตคหบดี
    ประวัติและผลงาน
    จิตตะ เกิดในตระกูลพ่อค้า ในเมืองมัจฉิกาสัณฑะ แคว้นมคธ ตอนที่จิตตะเกิดเป็นเวลาพอดีกับฤดูดอกไม้บาน บิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า จิตตะ เมื่อเติบโตถึงวัยรับการศึกษา บิดามารดาได้ส่งให้ไปศึกษาเรียนรู้เรื่องการค้าขาย เมื่อโตเป็นหนุ่มสมควรแก่การมีครอบครัว บิดามารดาได้จัดให้แต่งงานกับหญิงสาวที่มีฐานะเท่าเทียมกัน และมอบทรัพย์สมบัติให้ปกครอง
    เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในแคว้นและเมืองต่างๆโดยให้แยกย้ายกันไปแห่งละ 1 องค์ พระมหานามะซึ่งเป็นองค์หนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ ได้เดินทางไปยังเมืองมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคหบดีได้เห็นพระมหานามะซึ่งจาริกมายังเมืองนี้ ออกบิณฑบาตในเมืองด้วยอาการกิริยาสงบ สำรวม เรียบร้อย งดงามน่าเลื่อมใส ก็เกิดศรัทธาได้ออกไปนิมนต์ท่านเข้าไปในบ้านของตน แล้วถวายอาหาร เมื่อพระมหานามะฉันอาหารเสร็จแล้วท่านได้แสดงธรรมอนุโมทนาว่าด้วยเรื่องการสำรวมกาย วาจา ใจ
    จิตตคหบดีได้ฟังธรรมนั้นแล้วก็พิจารณาตาม จนรู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งที่เรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม จากนั้นได้ประกาศตนต่อหน้าพระมหานามะเป็นอุบาสก ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตลอดชีวิต หลังจากนั้น จิตตคหบดี ได้ถวายสวนอัมพาฏกวันของตนให้เป็นวัดที่อาศัยแก่พระมหานามะ ด้วยการหลั่งน้ำลงในมือของพระมหานามะ พอจิตตคหบดี หลั่งน้ำเสร็จได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นเครื่องหมายบอกให้รู้ว่าพระพุทธศาสนาได้ตั้งมั่น ณ ที่แห่งนี้แล้ว
    เมื่อพระมหานามะไปประกาศในเมืองอื่นๆจิตตคหบดีได้มอบหมายให้พระสุธรรมซึ่งเป็นพระภิกษุในท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ดูแลวัด ต่อมาพระสุธรรมได้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดนี้
    ต่อมาไม่นาน พระมหาโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ได้ยินข่าวความมีศรัทธาของจิตตคหบดีจึงเดินทางมาที่เมืองมัจฉิกาสัณฑะพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนวหนึ่ง จิตตคหบดีได้ทราบข่าวก็พาบริวารพวกพ้องไปคอยต้อนรับอยู่ระหว่างทาง เมื่อพระอัครสาวกทั้ง 2 และพระสงฆ์มาถึง จิตตคหบดีก็นิมนต์ให้ไปพักที่วัดที่ตนได้สร้างถวายแล้วขอฟังธรรมจากพระสารีบุตร
    พระสารีบุตรแสดงธรรมเพียงสั้นๆเนื่องจากเดินทางมาเหน็ดเหนื่อย จิตตคหบดีหลังจากฟังธรรมจบก็ได้สำเร็จธรรมขั้นที่ 2 ที่เรียกว่า อนาคามี
    ในวันรุ่งขึ้น จิตตคหบดีได้นิมนต์พระอัครสาวกทั้ง 2 พร้อมด้วยพระสงฆ์ทั้งหมดเข้าไปฉันอาหารในบ้านของตน และได้ไปนิมนต์พระสุธรรม เจ้าอาวาส แต่พระสุธรรมไม่พอใจเพราะนิมนต์ตนภายหลัง จึงปฏิเสธด้วยวาจา ไม่ยอมรับนิมนต์
    รุ่งขึ้น ขณะที่จิตตคหบดี กำลังตระเตรียมอาหารถวายพระอยู่ที่บ้านของตน พระสุธรรมเจ้าอาวาส ก็ไปที่บ้านของจิตตคหบดี ได้พูดเสียดสีกล่าวคำหยาบกระทบกระเทียบจิตตคหบดีจึงถูกจิตตคหบดีตอบโต้ว่า พระสุธรรมเหมือนอีกา(หมายถึง ปากกล้าหน้าด้าน) พระสุธรรมโกรธ ละทิ้งวัด ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่วัดพระเชตวัน กรุงสาวัตถี กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ
    พระพุทธเจ้าทรงทราบแล้วกลับทรงตำหนิพระสุธรรมว่าพูดไม่เหมาะสม ทรงบังคับให้เดินทางไปขอโทษจิตตคหบดี เมื่อจิตตคหบดียอมยกโทษให้แล้ว พระสุธรรมได้กลับไปเฝ้าพระพุทธเจ้าอีก พระพุทธเจ้าทรงเทศนาให้ฟังว่า ไม่ควรถือตนว่าเป็นเจ้าอาวาส ไม่ควรอิจฉาริษยา พระสุธรรมได้ฟังแล้วเกิดความสลดใจ ภายหลังได้ตั้งใจบำเพ็ญธรรมก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    หลังจากทำบุญถวายอาหารพระสงฆ์สาวกแล้ว จิตตคหบดีรำพึงว่าตนเองได้ฟังธรรมจากพระมหานามะได้สำเร็จโสดาบัน และเมื่อได้ฟังธรรมจากพระสารีบุตรก็ได้สำเร็จอนาคามี แต่ยังไม่เคยได้เฝ้าพระพุทธเจ้าเลย เมื่อดำริเช่นนั้นแล้ว จิตตคหบดี จึงเตรียมการวางแผนเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่เมืองสาวัตถี โดยสั่งให้พวกคนงานและบริวารจัดหาเสบียงอาหาร บรรทุกใส่เกวียนจำนวนมาก แล้วออกประกาศให้พระสงฆ์และชาวเมืองได้ทราบทั่วกันว่า ผู้ใดประสงค์จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยก็ให้เตรียมตัว ปรากฏว่ามีพระสงฆ์และชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะติดตามไปด้วยจำนวนมาก
    ชาวเมืองซึ่งรู้ข่าวการมาของจิตตคหบดี ส่วนหนึ่งได้มาคอยดู อีกส่วนหนึ่งได้เตรียมการต้อนรับด้วยการโปรยดอกไม้ตามเส้นทางที่จิตตคหบดีเดินทางผ่าน เมื่อจิตตคหบดีเดินทางมาถึง ชาวเมืองก็โปรยดอกไม้ต้อนรับตลอดทาง
    จิตตคหบดี ได้เข้าไปที่วัดพระเชตวัน ซึ่งขณะนั้นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์จำนวนมากคอยต้อนรับอยู่ จิตตคหบดีได้เข้าไปกราบพระบาทพระพุทธเจ้า พร้อมกับจับข้อพระบาทไว้มั่นด้วยความตื้นตันใจหาที่สุดมิได้
    ในวันทำบุญเลี้ยงพระ ชาวเมืองสาวัตถีต่างก็นำข้าวปลาอาหารมาสมทบทำบุญด้วยเป็นจำนวนมาก จนถึงเวลาจิตตคหบดีจะเดินทางกลับ ข้าวของสำหรับทำบุญก็ยังเหลืออีกมาก
    จิตตคหบดี กราบทูลเรื่องนี้กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้พระอานนท์หาสถานที่เก็บของ คือ โรงครัว(กัปปิยกุฏิ) พระพุทธเจ้าทรงอนุณาตให้พระสงฆ์มีโรงครัวในวัดได้ตั้งแต่คราวนั้นเป็นต้นมา
    จิตตคหบดี เป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี ชอบทำบุญ จึงเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ไม่ว่าไปที่ไหนประชาชนก็ได้ออกมาต้อนรับด้วยของใช้ของกิน จึงนับเป็นอุบาสกผู้มีบุญมาก นอกจากนี้ท่านยังพูดชี้แจงในเรื่องหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแก้ใครๆก็เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง ด้วยเหตุดังกล่าว จิตตคหบดีจึงได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้เก่งในการอธิบายธรรมยิ่งกว่าอุบาสกคนอื่นๆ
    คุณธรรมที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
    1. มีสติปัญญา สามารถเข้าใจธรรมที่พระมหานามะและพระสารีบุตรแสดงให้ฟังจนบรรลุธรรมขั้นโสดาบันและอนาคามีตามลำดับ
    2. มั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อประกาศตนเป็นอุบาสก ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงตลอดชีวิตแล้ว ได้ถวายสวนอัมพาฏกวันให้เป็นวัดและเป็นที่ทำบุญของคนในท้องถิ่นนั้น
    3. มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี ชอบทำบุญ ใครๆจึงรัก ไปที่ไหนมีแต่คยให้การต้อนรับด้วยของกินของใช้
    4. เก่งในการพูดชี้แจงธรรม สามารถอธิบายหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย จนได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นผู้ยอดเยี่ยมในด้านดัง
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    03-จิตตคฤหบดี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นธรรมกถึก
    จิตตคฤหบดี เกิดในสกุลเศรษฐี ที่เมืองมัจฉิกสัณฑะ แคว้นมคธ เมื่อบิดาล่วงลับไป
    แล้ว เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีในเมืองนั้นแทนบิดา

    สร้างวัดอัมพาตการาม
    สมัยนั้นพระมหานามเถระผู้เป็นพระภิกษุองค์หนึ่งในกลุ่มพระปัญจวัคคีย์ ได้ไปที่
    เมืองมัจฉกิสัณฑะ จิตตคฤหบดี เห็นปฏิปทาอิริยาบถของท่านสงบเสงี่ยมเรียบร้อยจึงเกิด
    ศรัทธาเลื่อมใสรับบาตรของพระเถระแล้วนิมนต์มายังเรือนของตน ถวายภัตตาหารให้ท่านฉัน
    เสร็จแล้ว นิมนต์ท่านไปยังสวนของตนชื่ออัมพาตกะ ได้ถวายสวนนั้นสร้างกุฏีถวายเป็น
    สังฆารามชื่อว่า
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    ปฐมกามภูสูตร
    ว่าด้วยพระกามภู สูตรที่ ๑
    พระสูตรนี้ มาในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ หน้า ๓๕๙ มีสาระสำคัญ ดังนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน เขตเมืองมัจฉิกาสัณฑ์ ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระกามภูได้กล่าวว่า
     
  5. จิตหงุดเงี้ยว

    จิตหงุดเงี้ยว บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากๆเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...