เรื่องเด่น โลกร้อน! กับปริศนาพระอาทิตย์ ๗ ดวง? จากพระโอษฐ์ “พระพุทธเจ้า” ชี้ให้เห็นความไม่เที่ยง

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 15 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    tnews_1555227643_4547.jpg

    ในช่วงหน้าร้อนของปี ๒๕๖๒ นี้ ถือว่าอุณหภูมิค่อนข้างสูงมาก ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทย มีอากาศที่ร้อนจัด ซึ่งจะว่ากันด้วยสาเหตุต่างๆ อันทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างมาก เรื่องภาวะโลกร้อนและอื่นๆ ขณะเดียวกัน ยังมีความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาอันเกี่ยวกับพระอาทิตย์ทั้ง ๗ ดวง ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ปรากฏใน “สุริยสูตร” พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๖๓ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วย “พระอาทิตย์ ๗ ดวง”

    IMG_0466.jpg

    ได้ทรงเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น ตั้งแต่เหตุที่ฝนไม่ตกมานานหลายแสนปี ทำให้พืชพรรณป่าไม้เหี่ยวเฉา การปรากฏของพระอาทิตย์แต่ละดวง ซึ่งเพิ่มระดับความรุนแรงให้แม่น้ำสายใหญ่ๆ ต้องเหือดแห้ง และท้ายสุดก็ถึงกาลที่แผ่นดินต้องถูกไฟเผาผลาญ

    จาก “สุริยสูตร” ความตอนหนึ่ง ปรากฏดังนี้

    [๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้

    พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ

    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร

    ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควร

    เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย

    ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลง

    ในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มี

    กาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน

    ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยว

    แห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่

    น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร

    ทั้งปวง ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลอง

    ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง …

    ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ

    คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควร

    หลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสาย

    ใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู

    มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็

    ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร

    ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐

    โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่ว

    ต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้น

    ตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน

    ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่ง

    ชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูกรภิกษุ

    ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือน

    ในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ

    ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่

    มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง …

    ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่

    นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่

    ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็

    ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง … ควรหลุดพ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

    พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่

    นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อ

    แผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหม

    โลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอด

    แล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์

    ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่

    ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ

    อยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย

    ก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลาย

    กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้

    ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอก

    จากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน) ฯ

    (สามารถอ่านสุริยสูตรฉบับเต็มได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/v.php?B=23&A=2162&Z=2259)

    24909674_518316621860522_254407146821292700_n(1).jpg

    อย่างไรก็ดี มีผู้รู้หลายท่านได้วิเคราะห์ไว้ว่า คำว่า “พระอาทิตย์ ๗ ดวง” ในสุริยสูตร อาจแปลได้หลายนัยยะ เช่น อาจหมายถึงระดับความรุนแรงของความร้อน หรืออุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เปรียบได้กับพระอาทิตย์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงทำให้เกิดการเผาผลาญสรรพสิ่งอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆตามเหตุปัจจัย นอกจากนั้นก็ยังมีอีกหลากหลายความเห็นที่สันนิษฐานกันไปต่างๆนานา เกี่ยวกับ คำว่า “พระอาทิตย์ ๗ ดวง” ว่ามีความหมายอย่างไรกันแน่?!

    แต่ท้ายสุดแล้ว สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ใน “สุริยสูตร” มีสาระสำคัญและจุดประสงค์หลักๆ คือ เพื่อให้เห็นถึงความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งต่างๆ ที่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป ให้เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละความยึดมั่นถือมั่น ปฏิบัติตนเพื่อให้ถึงความหลุดพ้นนั่นเอง

    IMG_0196ok.jpg

    ข้อมูลอ้างอิง : สุริยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๖๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/v.php?B=23&A=2162&Z=2259

    เครดิตภาพ : วัดป่าโนนวิเวก, Napapawn



    เรียบเรียงโดย

    นภาพร เครือชัยสุ​

    ข่าวด่วน โดยสำนักข่าวทีนิวส์
    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.tnews.co.th/contents/502531
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 เมษายน 2019

แชร์หน้านี้

Loading...