เรื่องเด่น โครงการ1วัด1โรงพยาบาล สธ.ห่วงใยสุขภาพพระสงฆ์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 20 มิถุนายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    8b2e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898.jpg

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปัญโญ) กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร พร้อมด้วย นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณ สุข, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.สมนึก อร่ามเธียรธำรง ผอ. โรงพยาบาลสงฆ์ ร่วมแถลงข่าวกิจกรรม ” 1 วัด 1 โรงพยาบาล วันวิสาขบูชา” เนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2561 ที่โรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-15.jpg

    สมเด็จพระพุฒาจารย์กล่าวว่า พระสงฆ์ มีชีวิตอยู่ด้วยศรัทธาของประชาชน จากการถวายภัตตาหารหรือน้ำปานะ ซึ่งมาจากความเชื่อและเลื่อมใสจริงๆ แต่อยากให้คำนึงถึงความเป็นจริงว่าบางสิ่งบางอย่างที่ตั้งใจทำบุญแต่ไม่ได้บุญก็มีเพราะไปกระทบโรคภัย ไข้เจ็บประจำตัวของพระสงฆ์ ดังนั้น ขอให้พุทธศาสนิกชนคิดให้รอบคอบ อย่าคิดแต่ว่าบุพการีเสียชีวิต ชอบกินอะไรก็ถวายสิ่งนั้นเท่านั้น เพราะอาจจะกระทบสุขภาพ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดัน ดังนั้นอยากให้คิดถึงการถวายภัตตาหารที่ดีต่อสุขภาพพระสงฆ์จริงๆ

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-16.jpg

    นพ.เจษฎากล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้น้อมนำพระคติธรรมของ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานแก่การจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 10 พ.ศ.2560 ที่ทรงสอนให้เข้าใจว่า สุขภาพมนุษย์ย่อมเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ 5 ประการ คือ สุขภาพ ประกอบด้วยปัจจัยทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ จิตใจ พฤติกรรม และปัจจัยตามธรรมชาติที่ควบคุมไม่ได้ ในทางศาสนาอาจจะเน้นเรื่องจิตและกรรม ส่วนหมอมักเน้นแต่เรื่องทางกายและตัวโรค ดังนั้น เมื่อนำมารวมกัน โดยทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ ก็จะมีสุขภาวะที่ยั่งยืนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-17.jpg

    ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดกิจกรรม “1 วัด 1 โรงพยาบาล” โดยใช้วันวิสาขบูชาโลกเป็นวันดีเดย์พร้อมกันทั่วประเทศ ให้ทุก โรงพยาบาลกำหนดเป้าหมายวัดในพื้นที่ เพื่อติดตามดูแลส่งเสริมสุขภาพพระภิกษุอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง รวมทั้งขอให้พระสงฆ์ช่วย เผยแพร่ความรู้ในการดูแลสุขภาพไปสู่ประชาชน ผ่านการเทศนาธรรมเพื่อลดโรคที่เกิดจากพฤติกรรม โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่กำลังเป็นปัญหาของประชากรโลก ทั้งนี้ เป็นไปตามธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 และเป็นไปตามนโยบายของ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-18.jpg [​IMG] [​IMG]

    ด้าน นพ.โอภาสกล่าวว่า การดำเนินงานกิจกรรม “1 วัด 1 โรงพยาบาล วันวิสาขบูชา” เพื่อให้พระสงฆ์มีสุขภาพดี ลดการเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย การจับคู่อุปถัมภ์วัดอย่างน้อยโรงพยาบาล ละ 1 วัด และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค ในวันวิสาขบูชา และต่อเนื่อง โดยถวายความรู้ในการดูแลสุขภาพแก่พระสงฆ์ เช่น ภัตตาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับพระสงฆ์ ชุดความรู้สำหรับพระสงฆ์ใช้ในการเทศนาแสดงธรรมแนะนำประชาชน การถวายธูป-เทียนไร้ควัน เพื่อลดมลภาวะในวัด การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ การควบคุมสัตว์นำโรค การตรวจคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ สนับสนุนการจัดอบรมอาสาสมัครประจำวัด (อสว.) และรณรงค์ให้ความรู้อาหารถวายพระ ใส่บาตรพระ ลด หวาน มัน เค็ม แก่ประชาชนที่รอรับบริการ ผู้ป่วยนอก (OPD)

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-19.jpg

    นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า กรมการแพทย์มี โรงพยาบาลสงฆ์ทำหน้าที่ให้การดูแลรักษาพระภิกษุอาพาธทั่วประเทศ ฟรี ไม่ต้องใช้ใบส่งตัว และไม่มีใบเสร็จ ข้อมูลการให้บริการย้อนหลัง 3 ปี มีผู้ป่วยนอก เฉลี่ย 100,000 รูปต่อปี ผู้ป่วยในเฉลี่ย 5,000 รูปต่อปี อัตราครองเตียงค่อนข้างนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป เพื่ออำนวยความสะดวกพระสงฆ์ในการดูแลรักษาและการเดินทาง สำหรับ 5 อันดับ โรคที่มาตรวจรักษาผู้ป่วยนอก เป็นโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไตวายเรื้อรัง และข้อเข่าเสื่อม

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-20.jpg

    ส่วนผู้ป่วยใน คือโรคต้อกระจก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ท้องร่วง และเบาหวาน และข้อมูลสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่า ในปี 2560 มีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพระสงฆ์ ที่เป็นผู้ป่วยนอก จำนวน 631,258,360 บาท และผู้ป่วยใน จำนวน 288,587,931 บาท

    e0b8a31e0b8a7e0b8b1e0b8941e0b982e0b8a3e0b887e0b89ee0b8a2e0b8b2e0b89ae0b8b2e0b8a5-e0b8aae0b898-21.jpg

    นอกจากนี้ ข้อมูลการสำรวจสุขภาพพระสงฆ์ของโรงพยาบาลสงฆ์ ล่าสุดในปี 2559 คัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ สามเณรทั่วประเทศคัดกรอง 138,715 รูปจากทะเบียนพระสงฆ์ที่มี 348,433 รูป จากวัดทั่วประเทศ 41,142 วัด พบว่า พระสงฆ์กลุ่มสุขภาพดีลดลงเหลือร้อยละ 52.3 จากร้อยละ 60.3 ในปี 2549 พระสงฆ์อาพาธกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 28.5 จากร้อยละ 17.5 ในปี 2549

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_1235623
     

แชร์หน้านี้

Loading...