โครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาตามพระราชดำริ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 22 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    <TABLE height=946 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=470 border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD align=middle width=469 height=11></TD></TR><TR vAlign=top><TD align=left width=1 bgColor=#ffffff height=80></TD><TD align=middle width=469 height=80><TABLE cellSpacing=0 width="56%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR vAlign=top><TD align=left width=1 bgColor=#ffffff height=7></TD><TD width=469 height=7></TD></TR><TR vAlign=top><TD align=left width=1 bgColor=#ffffff height=1877></TD><TD height=1877>
    พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระปรมินทรมหา<WBR>ภูมิพล<WBR>อดุลยเดช<WBR>มหาราช ทรงเป็น<WBR>พระมหากษัตริย์<WBR>ที่<WBR>สนพระทัย<WBR>ใฝ่รู้<WBR>และ<WBR>ทรงศึกษา<WBR>อย่าง<WBR>จริงจัง ลึกซึ้ง<WBR>ใน<WBR>การค้นคว้า<WBR>วิจัย<WBR>เพื่อ<WBR>การพัฒนา<WBR>ในทาง<WBR> วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์<WBR>สิ่งแวดล้อม

    และ<WBR>การใช้<WBR>เครื่องมือ<WBR> เทคโนโลยี<WBR>ต่างๆ โดยเฉพาะ<WBR>ด้าน<WBR>เทคโนโลยี<WBR>สารสนเทศ<WBR>นั้น ทรงเห็น<WBR>ความสำคัญ<WBR>และ<WBR>ประโยชน์<WBR>อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุน<WBR>การค้นคว้า<WBR>ในทาง<WBR>วิทยาการ<WBR>คอมพิวเตอร์ ในด้าน<WBR>ส่วนพระองค์<WBR>นั้น ทรงศึกษา<WBR>คิดค้น<WBR>สร้าง<WBR>โปรแกรม<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>เพื่อ<WBR>การประมวลผล<WBR>ข้อมูล<WBR>ต่างๆ ด้วย<WBR>พระองค์เอง ทรง<WBR>ประดิษฐ์<WBR>รูปแบบ<WBR>ตัว<WBR>อักษรไทย<WBR>ที่มี<WBR>ลักษณะ<WBR>งดงาม เพื่อ<WBR>แสดงผล<WBR>บน<WBR>จอภาพ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>และ<WBR>เครื่องพิมพ์ ทรงใช้<WBR>เครื่องคอมพิวเตอร์<WBR>เพื่อ<WBR>บันทึก<WBR>พระราช<WBR>กรณียกิจ<WBR>ต่างๆ

    และ<WBR>ทรงติดตั้ง<WBR>เครือข่าย<WBR>สื่อสาร<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>เพื่อ<WBR>สนับสนุน<WBR>พระราช<WBR>ภารกิจ<WBR>ต่างๆ ทั้งยัง<WBR>ทรง<WBR>เคย<WBR>ประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วย<WBR>คอมพิวเตอร์ เผยแพร่<WBR>ผ่าน<WBR>สื่อมวลชน<WBR>เพื่อ<WBR>ทรงอวยพร<WBR>ปวงชน<WBR>ชาวไทย ​


    ความเป็นมา<WBR>ที่<WBR>พระองค์ท่าน<WBR>ทรง<WBR>เริ่ม<WBR>ใช้<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>นั้น ม.ล.อัศนี ปราโมช ได้<WBR>ตกลงใจ<WBR>ซื้อ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>แมคอินทอช<WBR>พลัส อันเป็น<WBR>เครื่อง<WBR>ที่<WBR>ทันสมัย<WBR>ที่สุด<WBR>ในยุคนั้น<WBR>ขึ้น<WBR>ทูลเกล้าฯ ถวาย คุณสมบัติ<WBR>อย่างหนึ่ง<WBR>ที่ ม.ล.อัศนี เลือก<WBR>เครื่องนี้ เพราะ<WBR>สามารถ<WBR>เก็บ<WBR>และ<WBR>พิมพ์<WBR>โน้ตเพลง<WBR>ได้ การเรียนรู้<WBR>และ<WBR>ใช้งาน<WBR>ไม่ยาก ทั้งยังอาจ<WBR>เชื่อมต่อ<WBR>อุปกรณ์<WBR>พิเศษ<WBR>สำหรับ<WBR>เล่นดนตรี<WBR>ตาม<WBR>โน้ตเพลง<WBR>ที่<WBR>เก็บไว้<WBR>ได้ด้วย ตั้งแต่<WBR>นั้น พระองค์<WBR>ทรงใช้<WBR>เครื่อง<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ใน<WBR>งาน<WBR>ส่วนพระองค์<WBR>ทางด้าน<WBR>ดนตรี โดย<WBR>ทรงใช้<WBR>เครื่อง<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ในการ<WBR>ป้อน<WBR>โน้ตเพลง<WBR>และ<WBR>เนื้อร้อง พระองค์ท่าน<WBR>ทรงศึกษา<WBR>วิธี<WBR>การใช้<WBR>เครื่อง<WBR>และ<WBR>โปรแกรม<WBR>ที่<WBR>เกี่ยวข้อง<WBR>ด้วย<WBR>พระองค์เอง

    สำหรับ<WBR>เรื่อง<WBR>อักขระ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>หรือ<WBR>ฟอนต์ (Font) นั้น<WBR>เป็น<WBR>ที่<WBR>สนพระราช<WBR>หฤทัย ก็เพราะ<WBR>หลังจาก<WBR>ที่<WBR>พระองค์ท่าน<WBR>ได้<WBR>ทรงศึกษา และ<WBR>ใช้<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ทำ<WBR>โน้ต คือ<WBR>เมื่อ<WBR>ประมาณ<WBR>เดือน<WBR>ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ และ<WBR>ทรงทดลอง<WBR>ใช้<WBR>โปรแกรม "Fontastic" เมื่อ<WBR>ประมาณ<WBR>เดือน<WBR>กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ สิ่งที่<WBR>ทรง<WBR>สนพระทัย<WBR>เป็นพิเศษ<WBR>คือ<WBR>การประดิษฐ์<WBR>ตัว<WBR>อักษรไทย ได้<WBR>ทรง<WBR>ประดิษฐ์<WBR>อักษรไทย<WBR>หลายแบบ เช่น แบบ<WBR>จิตรลดา แบบ<WBR>ภูพิงค์ ฯลฯ ทรง<WBR>สนพระทัย<WBR>ประดิษฐ์<WBR>อักษร<WBR>ขนาดใหญ่<WBR>ที่สุด<WBR>จนถึง<WBR>ขนาดเล็ก<WBR>ที่สุด นอกจากนี้<WBR>ยัง<WBR>ตั้งพระทัย<WBR>ใน<WBR>การประดิษฐ์<WBR>อักษร<WBR>ภาษา<WBR>อื่นๆ เพิ่มขึ้น คือ<WBR>ภาษา<WBR>สันสกฤต และ<WBR>ทรงดำริ<WBR>จะ<WBR>ประดิษฐ์<WBR>อักษร<WBR>ภาษาญี่ปุ่น แต่<WBR>ขณะนี้<WBR>ยัง<WBR>ไม่ได้<WBR>เริ่ม<WBR>ประดิษฐ์ รับสั่ง<WBR>ว่า<WBR>ต้องใช้<WBR>เวลา<WBR>มาก

    ต่อมา<WBR>ก็<WBR>ได้<WBR>ทรง<WBR>หันมา<WBR>ศึกษา<WBR>การใช้<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>แสดง<WBR>ตัวเทวนาครี<WBR>บน<WBR>จอภาพ หรือ<WBR>ที่<WBR>พระองค์ท่าน ทรง<WBR>เรียกว่า "ภาษาแขก" ซึ่ง<WBR>จัดทำ<WBR>ได้<WBR>ยากกว่า<WBR>ตัว<WBR>อักษร<WBR>ภาษาไทย เพราะ<WBR>ตัว<WBR>อักษร<WBR>เทวนาครี<WBR>นั้น<WBR>รูปแบบ<WBR>ไม่<WBR>คงที่ กล่าวคือ ถ้านำ<WBR>ส่วนหนึ่ง<WBR>ของ<WBR>อักษร<WBR>นำมา<WBR>ต่อ<WBR>รวมกับ<WBR>อีก<WBR>ส่วนหนึ่ง<WBR>ของ<WBR>อักษร จะ<WBR>เกิด<WBR>อักษร<WBR>ใหม่<WBR>ขึ้น และ<WBR>โปรแกรม<WBR>ที่<WBR>พระองค์<WBR>ทรง<WBR>สร้างขึ้น<WBR>นั้น<WBR>มี<WBR>ตัว phonetic symbols การสร้าง<WBR>ตัวอักษร<WBR>เทวนาครี<WBR>นั้น ทรงเริ่ม<WBR>เมื่อ<WBR>ประมาณ<WBR>เดือน<WBR>พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ทรงศึกษา<WBR>ตัวอักษร<WBR>เทวนาครี<WBR>ด้วย<WBR>พระองค์เอง จาก<WBR>พจนานุกรม<WBR>และ<WBR>ตำรา<WBR>ภาษา<WBR>สันสกฤต และ<WBR>ทรง<WBR>สอบถาม<WBR>จาก<WBR>ผู้เชี่ยวชาญ<WBR>ด้าน<WBR>ภาษาบาลี<WBR>สันสกฤต เช่น สมเด็จ<WBR>พระเทพ<WBR>รัตนราชสุดาฯ สยาม<WBR>บรมราชกุมารี และ<WBR>ท่าน<WBR>องคมนตรี ม.ล. จิรายุ นพวงศ์ ซึ่ง<WBR>จะต้อง<WBR>ตรวจสอบ<WBR>ตัวอักษร<WBR>ที่<WBR>ทรง<WBR>สร้างขึ้น พระองค์<WBR>นำ<WBR>โปรแกรม<WBR>ออกแสดง<WBR>เป็น<WBR>ครั้งแรก<WBR>เมื่อ<WBR>วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ มี<WBR>คำถาม<WBR>ว่า เหตุใด<WBR>พระองค์ท่าน<WBR>จึง<WBR>ทรง<WBR>สนพระราช<WBR>หฤทัย<WBR>ใน<WBR>ตัวอักษร<WBR>เทวนาครี<WBR>หรือ<WBR>ภาษาแขก

    เรื่องนี้<WBR>มี<WBR>ผู้อธิบาย<WBR>ไว้ว่า ในหลวง<WBR>ที่รัก<WBR>ของ<WBR>พวกเรา<WBR>นั้น ทรงศึกษา<WBR>ข้อธรรมะ<WBR>ใน<WBR>พระ<WBR> พุทธศาสนา<WBR>อย่าง<WBR>จริงจัง<WBR>และ<WBR>ลึกซึ้ง การที่<WBR>ทรงศึกษา<WBR>ตัวอักษร<WBR>แขก ก็เพื่อ<WBR>เป็น<WBR>การนำ<WBR>ไปสู่<WBR>ความ<WBR>เข้าใจ<WBR>ด้าน<WBR>อักษรศาสตร์ และ<WBR>ความเข้าใจ<WBR>ใน<WBR>หัวข้อ<WBR>ธรรมะ<WBR>นั่นเอง เรื่องนี้<WBR>นับว่า<WBR>พระองค์<WBR>มี<WBR>วิจารณญาณ<WBR>ที่<WBR>ลึกซึ้ง<WBR>ยิ่งนัก เพราะ<WBR>คำสอน<WBR>และ<WBR>ข้อธรรมะ<WBR>ใน<WBR>พุทธศาสนา<WBR>นั้น เดิมที<WBR>ก็<WBR>เกิด<WBR>และ<WBR>เผยแพร่<WBR>มาจาก<WBR>ประเทศ<WBR>อินเดีย บรรดา<WBR>ธรรมะ<WBR>ที่<WBR>ลึกซึ้ง<WBR>และ<WBR>ยากแก่<WBR>ความ<WBR>เข้าใจ ก็<WBR>อาจจะ<WBR>ถูก<WBR>ตีความ<WBR>ผันแปร<WBR>บิดเบือน<WBR>ไปได้ ดังนั้น<WBR> การศึกษา<WBR>ค้นคว้า<WBR>ลึก<WBR>ลงไป<WBR>ถึง<WBR>ภาษาแขก จึง<WBR>น่าจะ<WBR>ได้<WBR>ความรู้<WBR>เกี่ยวกับ<WBR>ธรรมะ<WBR>ชัดเจน<WBR>กระจ่าง<WBR>มากขึ้น

    ต่อมา<WBR>ได้<WBR>มี<WBR>ผู้<WBR>ทูลเกล้าฯ ถวาย<WBR>เครื่อง<WBR>คอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible และ<WBR>ทรง<WBR>สนพระทัย<WBR>ศึกษา<WBR>ใน<WBR>การพัฒนา Software ต่างๆ และ<WBR>ได้<WBR>สร้าง<WBR>โปรแกรม<WBR>ใหม่ๆ ขึ้นมา รวมทั้ง<WBR>สนพระทัย<WBR>ใน<WBR>เทคนิค<WBR>การทำงาน<WBR>ของ<WBR>เครื่อง<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>แบบนี้<WBR>มากทีเดียว บางครั้ง<WBR>ทรง<WBR>เปิด<WBR>เครื่อง<WBR>ออกดู<WBR>ระบบ<WBR>ต่างๆ ภายใน<WBR>ด้วย<WBR>พระองค์เอง หรือ<WBR>ทรง<WBR>ปรับปรุง Software ใหม่<WBR>ขึ้น<WBR>ใช้ ทรง<WBR>แก้<WBR>ซอฟต์แวร์<WBR>ใน<WBR>เครื่อง เช่น โปรแกรม<WBR>ภาษาไทย CU WRITER ให้<WBR>เป็นไป<WBR>ตาม<WBR>พระราช<WBR>ประสงค์

    จะ<WBR>เห็นได้ว่า<WBR>พระองค์<WBR>ทรง<WBR>ใช้<WBR>เครื่อง<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ใน<WBR>การพิมพ์ งาน<WBR>ทรง<WBR>พระ<WBR>อักษร<WBR>ส่วนพระองค์ และ<WBR>ทรง<WBR>เก็บ<WBR>งาน<WBR>เหล่านี้<WBR>เป็น<WBR>เรื่องๆ มา<WBR>ปะติดปะต่อ<WBR>กัน จะ<WBR>เป็น<WBR>เรื่อง<WBR>ที่<WBR>เกี่ยวกับ<WBR>พระราช<WBR>กรณียกิจ และ<WBR>บท<WBR>พระราช<WBR>นิพนธ์<WBR>ต่างๆ เช่น เรื่อง<WBR>นายอินทร์<WBR>ผู้ปิดทอง<WBR>หลังพระ เป็นต้น ผลงาน<WBR>อีก<WBR>ชิ้นหนึ่ง<WBR>ที่<WBR>พระองค์<WBR>ทรง<WBR>ประดิษฐ์<WBR>ก็คือ การใช้<WBR>คอมพิวเตอร์ "ปรุง" อวยพร<WBR>ปีใหม่ เพื่อ<WBR>พระราชทาน<WBR>แก่<WBR>ข้าราชการ<WBR>ต่างๆ ที่<WBR>เกี่ยวข้อง แต่เดิม<WBR>พระองค์<WBR>ได้<WBR>พระราชทาน<WBR>ผ่าน<WBR>เครื่องเทเล็กซ์ นอกจากนี้<WBR>พระองค์<WBR>ทรง<WBR>สนพระทัย<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>เป็น<WBR>อย่างมาก สังเกต<WBR>ได้จาก<WBR>ขณะเสด็จ<WBR>พระราช<WBR>ดำเนิน<WBR>ชม<WBR>งาน<WBR>นิทรรศการ<WBR>ต่างๆ เช่น สถาบัน<WBR>เทคโนโลยี<WBR>พระจอมเกล้า<WBR>เจ้าคุณทหาร<WBR>ลาดกระบัง พระองค์<WBR>สนพระทัย<WBR>ซักถาม<WBR>อาจารย์<WBR>และ<WBR>นักศึกษา<WBR>ที่<WBR>ประดิษฐ์<WBR>ซอฟต์แวร์<WBR>ต่างๆ อย่างละเอียด<WBR>และ<WBR>เป็น<WBR>เวลา<WBR>นาน


    [​IMG]

    พระไตรปิฎก<WBR>ฉบับ<WBR>คอมพิวเตอร์
    ใน<WBR>ส่วนที่<WBR>เกี่ยวกับ<WBR>ศาสนา<WBR>นั้น ได้<WBR>ทรงพระกรุณา<WBR>โปรดเกล้าฯ บริจาค<WBR>ทรัพย์<WBR>ส่วนพระองค์ จำนวน ๑,๔๗๒,๙๐๐ บาท ใน<WBR>เดือน<WBR>พฤษภาคม ๒๕๓๔ ให้<WBR>มหาวิทยาลัย<WBR>มหิดล จัดทำ<WBR>โครงการ<WBR>พัฒนา<WBR>ระบบ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>เพื่อ<WBR>การศึกษา<WBR>พระไตรปิฎก และ<WBR>อรรถกถา<WBR>ต่อเนื่อง<WBR>จาก<WBR>โครงการ<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>ฉบับ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>เดิม ที่<WBR>มหาวิทยาลัย<WBR>มหิดล<WBR>พัฒนา<WBR>เสร็จแล้ว และ<WBR>ได้<WBR>ทูลเกล้าฯ ถวาย<WBR>เพื่อร่วม<WBR>เฉลิมฉลอง<WBR>เนื่อง<WBR>ใน<WBR>วโรกาส<WBR>รัชมังคลาภิเษก ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ทรง<WBR>เห็นว่า<WBR>โครงการนี้<WBR>ควร<WBR>ได้<WBR>รวบรวม<WBR>เอา<WBR>ชุด<WBR>อรรถกถา<WBR>และ<WBR>ฎีกา<WBR>เข้าไว้<WBR>ด้วยกัน นับ<WBR>เป็น<WBR>โครงการ<WBR>ที่นำ<WBR>วิทยาการ<WBR>ชั้นสูง<WBR>มา<WBR>ประยุกต์<WBR>ใช้กับ<WBR>ข้อมูล<WBR>เนื้อหา<WBR>ทางด้าน<WBR>พุทธศาสนา ซึ่ง<WBR>พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระเจ้า<WBR>อยู่หัว ได้<WBR>ทรง<WBR>ศึกษา<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>อรรถกถา<WBR>ฉบับ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>นี้<WBR>ด้วย<WBR>พระองค์เอง และ<WBR>มี<WBR>พระบรมราช<WBR>วินิจฉัย และพระราช<WBR>วิจารณ์<WBR>ใน<WBR>การออกแบบ<WBR>โปรแกรม<WBR>สำหรับ<WBR>ใช้ใน<WBR>การสืบค้น<WBR>ข้อมูล

    ใน<WBR>ฐานะ<WBR>แห่ง<WBR>องค์<WBR>เอกอัครศาสนูปถัมภก การ<WBR>ครั้งนี้<WBR>กล่าวได้ว่า เป็น<WBR>การสืบต่อ<WBR>พระ<WBR>พุทธศาสนา<WBR>ให้<WBR>ยั่งยืน<WBR>ยาวนาน<WBR>สืบไป<WBR>ใน<WBR>อนาคตกาล เพราะ<WBR>โครงการ<WBR>พระราช<WBR>ดำริ<WBR>นี้ เป็น<WBR>ส่วน<WBR>สนับสนุน<WBR>อย่าง<WBR>สำคัญ ที่<WBR>ทำให้<WBR>การศึกษา<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>ชุด<WBR>อรรถกถา<WBR>เป็น<WBR>ไปได้<WBR>อย่าง<WBR>สะดวก<WBR>รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้ง<WBR>รวบรวม<WBR>เนื้อหา<WBR>ไว้<WBR>อย่าง<WBR>ครบถ้วน<WBR>สมบูรณ์ เป็น<WBR>ประโยชน์<WBR>โดยตรง<WBR>ต่อ<WBR>การ<WBR>เผยแผ่<WBR>พระ<WBR>พุทธศาสนา นับเป็น<WBR>การใช้<WBR>วิทยาการ<WBR>อัน<WBR>ก้าวหน้า<WBR>ทาง<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ได้อย่าง<WBR>เหมาะสม<WBR>และ<WBR>สร้างสรรค์

    สำหรับ<WBR>โครงการ<WBR>พัฒนา<WBR>ระบบ<WBR>คอมพิวเตอร์ เพื่อ<WBR>การศึกษา<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>อรรถกถา<WBR>ตาม<WBR>พระราช<WBR>ดำริ<WBR>นี้ ได้<WBR>พัฒนา<WBR>แล้วเสร็จ<WBR>ใน<WBR>เดือน<WBR>พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ใน<WBR>ชื่อ BUDSIR IV โดย<WBR>พัฒนา<WBR>ต่อเนื่อง<WBR>จาก โปรแกรม BUDSIR (อ่านออกเสียง<WBR>ว่า บุดเซอร์) มาจาก<WBR>คำว่า Buddhist Scriptures Information Retrieval สำหรับ<WBR>ประวัติ<WBR>ของ BUDSIR นั้น BUDSIR I สามารถ<WBR>ค้นหา<WBR>คำทุกคำ ศัพท์<WBR>ทุกศัพท์ ทุก<WBR>วลี ทุก<WBR>พุทธวจนะ ที่<WBR>มี<WBR>ปรากฏ<WBR>ใน<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก จำนวน ๔๕ เล่ม หรือ<WBR>ข้อมูล<WBR>มากกว่า ๒๔.๓ ล้าน<WBR>ตัวอักษร ที่<WBR>ได้รับ<WBR>การบันทึก<WBR>ใน<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ได้<WBR>อย่าง<WBR>รวดเร็ว ถูกต้อง และ<WBR>ครบถ้วน<WBR>สมบูรณ์ BUDSIR II พัฒนา<WBR>แล้วเสร็จ<WBR>ใน<WBR>เดือน<WBR>กันยายน ๒๕๓๒ ซึ่งเป็น<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>อักษร<WBR>โรมัน สำหรับ<WBR>การเผยแผ่<WBR>ไปยัง<WBR>ต่างประเทศ BUDSIR III ได้รับ<WBR>การพัฒนา<WBR>ขึ้นอีก<WBR>ใน<WBR>เดือน<WBR>เมษายน ๒๕๓๓ เพื่อ<WBR>งาน<WBR>สืบค้น<WBR>ที่<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>ซับซ้อน สำหรับ BUDSIR IV นี้ ได้<WBR>รวบรวม<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>อรรถกถา/ฎีกา รวมทั้ง<WBR>คัมภีร์<WBR>ทุกเล่ม<WBR>ที่<WBR>ใช้<WBR>ศึกษา<WBR>หลักสูตร<WBR>เปรียญธรรม นอกจากนี้<WBR>ยัง<WBR>รวม version ที่เป็น<WBR>อักษร<WBR>โรมัน<WBR>เข้าไว้<WBR>ด้วยกัน

    ซึ่งมี<WBR>ขนาด<WBR>ข้อมูล<WBR>รวม ๑๑๕ เล่ม หรือ<WBR>ประมาณ ๔๕๐ ล้าน<WBR>ตัวอักษร นับเป็น<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>อรรถกถา ฉบับ<WBR>คอมพิวเตอร์<WBR>ที่<WBR>สมบูรณ์<WBR>ที่สุด<WBR>ใน<WBR>ปัจจุบัน และ<WBR>มหาวิทยาลัย<WBR>มหิดล ยังได้<WBR>พัฒนา<WBR>โครงการ<WBR>ดังกล่าว<WBR>เพิ่มเติม โดย<WBR>บันทึก<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>และ<WBR>อรรถกถา ลงบน<WBR>แผ่น CD-ROM แล้วเสร็จ<WBR>ใน<WBR>เดือน<WBR>กรกฎาคม ๒๕๓๗ ซึ่งจะ<WBR>อำนวย<WBR>ความสะดวก<WBR>อย่างมาก<WBR>ต่อผู้ที่<WBR>ต้องการ<WBR>จะ<WBR>ศึกษา<WBR>ค้นคว้า<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก ไม่ว่า<WBR>จะเป็น<WBR>ชาวไทย หรือ<WBR>ชาวต่างประเทศ ซึ่ง<WBR>มหาวิทยาลัย<WBR>ได้<WBR>ทูลเกล้าฯ ถวายแด่<WBR>พระบาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระปรมินทรมหา<WBR>ภูมิพลอดุลยเดช<WBR>มหาราช และ<WBR>สมเด็จ<WBR>พระเทพ<WBR>รัตนราชสุดาฯ สยาม<WBR>บรมราชกุมารี ใน<WBR>วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๘ และ<WBR>ใน<WBR>ปัจจุบัน<WBR>สำนัก<WBR>คอมพิวเตอร์ ได้<WBR>เริ่ม<WBR>โครงการ<WBR>พัฒนา<WBR>โปรแกรม<WBR>พระ<WBR>ไตรปิฎก<WBR>คอมพิวเตอร์ ฉบับ<WBR>ภาษาไทย เพื่อ<WBR>ให้<WBR>พุทธศาสนิกชน<WBR>ทั่วไป<WBR>ได้<WBR>ศึกษา อันจะเป็น<WBR>การ<WBR>ส่งเสริม<WBR>ให้มี<WBR>การใช้งาน<WBR>โปรแกรม<WBR>นี้<WBR>ให้<WBR>แพร่หลาย<WBR>ยิ่งขึ้น


    ในหลวงในด้าน IT
    [​IMG]


    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    [​IMG] <A onclick="pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_prdnorth_in_th_king60_king_it_01_php');pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_prdnorth_in_th_king60_king_it_01_php');pageTracker._trackPageview ('/outgoing/http_www_prdnorth_in_th_king60_king_it_01_php');" href="http://www.prdnorth.in.th/king60/king_it_01.php">[SIZE=+1]พระราชกรณียกิจในด้าน IT[/SIZE]

    [​IMG][SIZE=+1]ในหลวงกับคอมพิวเตอร์[/SIZE]

    [​IMG] [SIZE=+1]ในหลวงกับการสื่อสารในด้านต่าง ๆ[/SIZE]


    <HR SIZE=1>รวบรวม<WBR>และ<WBR>เรียบเรียง<WBR>จาก <TABLE width=469 border=0><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD>๑.</TD><TD>จุฬาลงกรณ์<WBR>มหาวิทยาลัย.วารสาร<WBR>ภาษา<WBR>ปริทัศน์.ปี<WBR>ที่ ๘ ฉบับ<WBR>ที่ ๒ ภาคปลาย<WBR>การศึกษา ๒๕๓๐. </TD></TR><TR><TD>๒. </TD><TD>ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์.ในหลวง<WBR>กับ<WBR>งาน<WBR>พระไตรปิฎก<WBR>ฉบับ คอมพิวเตอร์.เอกสาร<WBR>สำเนา. </TD></TR><TR><TD>๓. </TD><TD>องค์การ<WBR>ส่งเสริม<WBR>การท่องเที่ยว<WBR>แห่ง<WBR>ประเทศไทย.อนุสาร อ.ส.ท.ธันวาคม ๒๕๓๑. </TD></TR><TR><TD>๔. </TD><TD>ออฟฟิซ เทคโนโลยี.ในหลวง<WBR>กับ<WBR>งาน<WBR>ไอที.ธันวาคม ๒๕๓๗. </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลาย สมดังความปราถนาเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...