เหตุแห่งความเจริญ (3)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สังขารไม่เที่ยง, 21 มกราคม 2008.

  1. สังขารไม่เที่ยง

    สังขารไม่เที่ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,943
    ค่าพลัง:
    +24,697
    เหตุแห่งความเจริญ (3)

    ธรรมะใต้ธรรมาสน์

    ไต้ ตามทาง



    7.ควรตั้งใจเสมอว่า การสนทนาแต่ละครั้งเป็นการเพิ่มความรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ หรือที่รู้แล้วจะได้แจ่มกระจ่างขึ้น

    ข้อสุดท้ายสำหรับวันนี้ การเห็นสมณะผู้สงบ เป็นเหตุแห่งความเจริญ สมณะในที่นี้อย่างต่ำหมายเอาผู้สงบกาย สงบวาจา สงบใจ อย่างสูงหมายเอาพระอรหันต์ผู้ละบาปละความชั่วโดยสิ้นเชิง ประเภทหลังนี้คงหาไม่ได้ เห็นมีแต่ "อรหันต์ตั้ง" (คืออรหันต์ที่ชาวบ้านตั้งให้)

    การเห็นมีสองลักษณะคือ เห็นด้วยตาเปล่า กับการเห็นด้วยวิญญาณ คือการรู้แจ้งเห็นแจ้งในธรรม ในที่นี้น่าจะหมายเอาการเห็นด้วยตาเปล่า เช่น การเห็นสมณะผู้สงบสำรวม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น "มงคล" เพราะเป็นที่มาแห่งความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่จะตามมาภายหลัง ดูการเห็นพระอัสสชิของอุปติสสมาณพเป็นตัวอย่าง

    อุปติสสะ ศิษย์ของสัญชัยเวลัฏฐบุตร เห็นพระอัสสชิกำลังเดินบิณฑบาตด้วยอาการสงบสำรวม ประทับใจในความสงบสำรวมของท่าน จึงเข้าไปสนทนาธรรม ท่านกล่าวสอนธรรมสั้นๆ เกี่ยวกับหลักแห่งเหตุผล อันเป็นบทสรุปของอริยสัจสี่ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ความประทับใจจากการเห็นสมณะผู้สงบครั้งนั้น ทำให้ท่านมาบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จนได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระองค์

    อีกตัวอย่างหนึ่ง อุปกรชีวก เป็นนักบวชนอกศาสนาพุทธพบพระพุทธเจ้า ประทับใจในพระอิริยาบถอันสง่า สำรวมของพระองค์ ก็เลื่อมใส ทูลถามว่าใครเป็นศาสดาของท่าน เมื่อได้ฟังพระโอวาทของพระองค์ก็เดินหลีกไป แต่ภาพความประทับใจยังติดตาอยู่ ต่อมาเมื่อเขาประสบปัญหาชีวิตหาทางออกไม่ได้ก็นึกถึงพระองค์ขึ้นมา และตามไปบวชเป็นสาวกของพระองค์ในที่สุด

    ท่านว่า การสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งคือการสอนโดยไม่สอน ไม่ต้องสอนด้วยปากให้ปากเปียกปากแฉะ พ่อแม่ที่บ่นนักบ่นหนาว่าลูกเต้าไม่ค่อยเชื่อฟังน่ะ เพียงแต่แสดงอาการอันสงบสำรวมให้ประทับใจก็นับว่าเป็นการสอนที่ดีที่ สุดแล้ว

    ท่านอุปกรชีวกมีความสงบเสงี่ยมสำรวม ชอบนั่งเข้าฌานเงียบๆ ในป่า นานๆ จะเข้าเมืองสักที พวกเทพยดาทั้งหลายสรรเสริญว่าท่านเทศน์ได้ไพเราะน่าเลื่อมใสเหลือเกิน ครั้นท่านถามวันหนึ่งว่าอาตมาเทศน์หรือ อาตมาไม่ได้เทศน์เลย นั่งเข้าสมาธิแท้ๆ เทพยดายืนยันว่า "ใช่ ท่านเทศน์ เทศน์ได้ไพเราะยิ่ง"

    "อาตมาเทศน์เรื่องอะไรหรือ"

    "ท่านเทศน์เรื่องความเงียบ"

    ครับ...ลองเงียบเสียบ้าง อาจได้ผลกว่าพูดปาวๆ ก็ได้

    เหตุแห่งความเจริญ (4)

    สาเหตุแห่งความเจริญตอนสุดท้าย ว่าด้วย ตบะ (ความเพียรเผากิเลส = ข้อ 31), พรหมจรรย์ (การประพฤติพรหมจรรย์ = ข้อ 32), การเห็นอริยสัจ (ข้อ 33), ทำพระนิพพานให้แจ้ง (ข้อ 34), จิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม (ข้อ 35), จิตไม่เศร้าโศก (ข้อ 36), จิตปราศจากกิเลส (ข้อ 37), จิตเกษมปลอดภัย (ข้อ 38)

    ดูเหมือนจะเป็นยอดสูงสุดของความเจริญแล้วละครับ ใครทำได้ก็เรียกว่าเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ก็สามารถพูด "ลดเพดาน" ลงมาพอให้สามัญชนคนมีกิเลสนำไปปรับใช้ได้ ว่าอย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ

    ตบะ ในความหมายที่สูงสุดคือความเพียรระดับเผากิเลส มิใช่ความเพียรธรรมดา หมายเอาความเพียรที่เรียกว่าปธานะ (ความเพียรที่เป็นใหญ่เป็นประธาน) อันมีลักษณะ 4 มิติ คือ

    (1) เพียรระวังมิให้ความชั่วที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด

    (2) เพียรระวังความชั่วที่เกิดขึ้นมาแล้ว

    (3) เพียรพัฒนาความดีที่ยังไม่มี และ

    (4) เพียรรักษาความดีที่มีอยู่แล้วและพัฒนาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

    ถ้าหมายเอาความเพียรลักษณะอย่างนี้ สามัญชนก็สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ใครมีความเพียร 4 ลักษณะนี้ รับประกันว่าชีวิตจะประสบความก้าวหน้าแน่นอน

    สรรพกิจย่อมเสร็จด้วย ความเพียร

    ไป่เกลื่อนกล่นอาเกียรณ์ ทอดไว้

    กิจหลายไป่เสถียร ด้วยสัก นึกแล

    นึกบ่ทำบ่ได้ เสร็จสิ้นสมประสงค์

    ความนี้ว่าด้วยความประพฤติพรหมจรรย์ คำนี้มีความหมายหลายประการ เช่น การไม่ยุ่งเกี่ยวกับกามารมณ์ คืองดเว้นจากเพศสัมพันธ์ ก็เรียกว่าพรหมจรรย์ การให้ทานก็เรียกว่าพรหมจรรย์ การขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ ของสังคมก็เรียกว่าพรหมจรรย์ ศีลห้าก็เรียกพรหมจรรย์ การเจริญเมตตาอย่างไม่มีขอบเขตก็พรหมจรรย์ การยินดีในภรรยาของตนก็พรหมจรรย์ ความพาก เพียรก็พรหมจรรย์ การถืออุโบสถ์ศีลก็พรหมจรรย์ อริยมรรคมีองค์แปดก็พรหมจรรย์ การแสดงธรรมก็พรหมจรรย์ อัธยาศัยอันอีงามก็พรหมจรรย์ สมณธรรมก็พรหมจรรย์

    ในที่นี้พระอรรถกถาจารย์ท่านว่าหมายเอาการงดเว้นจากเมถุนวิรัติ คือ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ อย่างสูงก็หมายเอาขนาดโน้นแหละครับ ใครปรารถนาความเจริญก้าวหน้าในชีวิตควรละเว้นกามเสีย ใครหมกมุ่นในสิ่งเหล่านี้ โอกาสจะเจริญก้าวหน้าอย่างปลอดภัยนั้นหายาก อย่างต่ำ (คือลดเพดานลงมา เพื่อให้คนธรรมดาอย่างเราทำได้) ก็หมายเอาแค่การควบคุมการแสดงออกทางกามารมณ์ รู้ว่าลูกเขาเมียใคร ไม่หน้ามืดตามัวบำเพ็ญตนเป็น aging Lothario (เฒ่าหัวงู) เท่านี้ก็นับว่าดีถมไปแล้ว ในยุคศีลธรรมเรียวลงอย่างปัจจุบัน

    ข้อต่อไปการเห็นแจ้งอริยสัจ อันนี้อธิบายได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐานที่พอกระทำได้ทั่วไปจนถึงขั้นสูงสุง คนที่เข้าใจอริยสัจคือคนที่รู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาของชีวิตนั้นเอง คนเช่นนี้ย่อมรู้ว่าปัญหาคืออะไร สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร มีทางแก้ไขไหม และวิธีจะแก้ไขจะต้องทำอย่างไร

    ว่ากันว่าถ้าเราไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยปัญญา ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยิ่งพยายามแก้ ยิ่งผูกปมปัญหายุ่งขึ้นทุกที ไม่ต่างอะไรกับลิงติดตัง ไอ้จ๋อ ไม่รู้ว่าเขาเองตังไปดัดไว้ เอามือไปจับเล่น ตังติดมือแกะไม่ออก แกก็เอามือขวาจับเพื่อแกะมือซ้าย มือขวาก็ติดอีก ด้วยความตกใจจึงเอาเท้าขวาถีบออก เท้าขวาก็ติดอีก เอาเท้าซ้ายยัน เท้าซ้ายก็ติดอีก ด้วยความตกใจ มันจึงเอาปากกัด ปากเจ้ากรรมก็ติดอีก คราวนี้มันร้องเจี๊ยกๆ ดิ้นทุรนทุรายกลิ้งหลุนๆ ยังกับลูกบอลถูกเตะ น่าสงสารไอ้จ๋อมันเนาะ

    แต่คนที่ไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญาน่าสงสารกว่าได้จ๋อหลายร้อยเท่าครับ

    ข้อต่อไปทำพระนิพพานให้แจ้ง เล็งเป้าไปที่การหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง บรรลุพระอรหัตผล แน่นอน พระอริยบุคคลระดับนี้ นับว่าถึงเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิตแล้ว เรียกว่าความเจริญเต็มที่แล้ว แต่คนทั่วไปยังไม่ถึงขั้นนั้น ก็ลดเพดานลงมาหมายเอาคนที่รู้จักทำจิตใจให้สงบ ว่าง ปราศจากกิเลสได้ชั่วครั้งชั่วคราวก็ยังดี

    http://matichon.co.th/khaosod/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOVEl4TURFMU1RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHdNUzB5TVE9PQ==
     
  2. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    ใครเทศน์กั๊บ
     

แชร์หน้านี้

Loading...