เรื่องรอยพระบาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ด้วยรัก30, 9 พฤศจิกายน 2015.

  1. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    เรื่องรอยพระบาท
    โดย
    สุริยเมตตา
    หลวงพ่อใหญ่อภินันโท(จุฬ)จุฬโลกจุฬธรรม วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์ ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี

    ข้าพเจ้าได้คัดลอกมาจากหนังสือเพื่อบันทึกเก็บไว้ให้ลูกหลานได้อ่านและค้นว้าหาความรู้ต่อหรือใช้อ้างอิงได้ (เพราะในหนังสือจะศูนย์หายไปได้จึงบันทึกไว้ในอินเตอร์เน็ตจะได้อยู่นานๆ)หลวงพ่อใหญ่บอกธรรมะของท่านจะอยู่ไปอีก500ปี


    เทวบัญชาเรื่องรอยพระบาท ๕ แห่ง
    พระบาท ๕ แห่งตามที่ได้รับฟังมาจากเจ้าพ่อหลักเมือง (เดี๋ยวนี้เป็นเจ้าพ่อหลักโลก โดยโอภาสีตั้งให้) ซึ่งได้รับเทวบัญชาจากพระอิศวรผู้เป็นเจ้าว่า มีรอยพระบาทที่แท้จริงอยู่ ๕ แห่ง ดังนี้ :-
    ๑. พระบาทเขานางเหม็น (เขาน้ำเหม็นก็เรียก คือ เขาเขมรนั่นเอง เหม็น = เขมร นานมาภาษาเรียกเลือนรางไป กลายเป็นชื่อ “น้ำเหม็น” น้ำแปลเปลี่ยนมาเป็น “นาง” น้ำเหม็น = น้ำใจเขมรก็ได้ เพราะสถานที่นั่นดั้งเดิมเป็นเมืองของเขมร) ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
    ๒. พระบาทเขาสระบาป ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี (สระบาป = สละบาป = ล้างบาป) ถือกันว่า ผู้ที่มีบาปกรรมขึ้นไปนมัสการ อธิษฐานล้างบาปล้างกรรมได้ ตามเทพบัญชามีเนื้อความต่อไปนี้ว่า “เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจากกรุงราชคฤห์ เสด็จมาโดยอากาศวิถี ถึงที่ลานหินบนยอดเขาอันกว้างใหญ่ จึงเสด็จลงมาประทับบนลานหินนั้น เสวยบิณฑบาตในบาตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงทรงล้างบาตร แล้วคว่ำบาตรลงไว้บนลานนั้น ปรากฏการณ์เป็นรูปหินคล้ายบาตรคว่ำอยู่ ให้ผู้ที่ขึ้นไปนมัสการเห็นเป็นสักขีพยานจนถึงทุกวันนี้ ที่นั่นจึงเรียกว่าเขาสระบาป หรือเขาสละบาป สละบาป คว่ำบาปให้หมดไปจากบาตรคือ หัวใจ เหมือพระพุทธองค์คว่ำบาตรไม่มีเมล็ดข้าว และแกงกับเหลืออยู่ในบาตรนั้นเลย ชาวโลกถือเอานิมิตตอนคว่ำบาตรนี้ เป็นเครื่องจูงใจให้เกิดความเลื่อมใส เกิดความอุสาหะพยายามบากบั่น ก้มหน้าก้มตาขึ้นไปบนยอดเขาสระบาปนั้น เพื่อนมัสการ บูชาและอธิษฐาน เพื่อสระบาป สละบาป ละบาปและคว่ำบาปไม่ให้เหลือในจิตใจของตน เหมือนพระพุทธองค์ทรงล้างและคว่ำบาตรแล้ว ไม่มีข้าวและแกงกับเหลือยู่ในบาตรฉันนั้น
    ๓. พระบาทกลางน้ำ ตั้งอยู่บนหินใหญ่หาดทรายแก้ว ริมทะเล เมืองภูเก็ต
    ๔. พระบาทเขาวงพระจันทร์ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงเมืองลพบุรี
    ๕. พระบาทสีรอย ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ รอบพระบาทพระกุกกุสันโธ ยาวประมาณ ๓ วาเศษ ลึกลงไปหน่อย เป็นรอยพระบาทพระโกนาคมโน ยาวประมาณ ๒ วาเศษ ลึกลงไปอีกหน่อย เป็นรอยพระบาทพระพุทธกัสสโป ยาวประมาณ ๗ ศอก ลึกลงไปอีกหน่อย เป็นรอยพระบาทพระสมณโคดมบรมครู ยาวประมาณ ๔ ศอก ต่อไปเบื้องหน้าโน้น พระพุทธศรีอริยเมตไตรยจะเสด็จไปประทับกดรอยพระบาท ซ้อนลึกลงไปอีก ยาวประมาณ ๓ ศอก
    รอยพระบาททั้ง ๕ แห่งนี้ เป็นปูชะนีวัตถุสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะบังเกิดขึ้นด้วยอำนาจพระธรรมบันดาลโดยแท้จริง หรือทวยเทพผู้มีธรรมรักษาศาสนาดลบันดาลให้เป็นไป พระอิศวรผู้เป็นเจ้าเฝ้าดูแลโลกและศาสนามาตลอดกาล จึงมีเทวบัญชามาให้เจ้าพ่อหลักโลก เปิดเผยความจริงไว้ให้ชาวโลกได้รู้ยิ่งเห็นจริง ในเรื่องรอยพระบาทอันแท้จริง ซึ่งเกี่ยวเนื่องอยู่กับพระพุทธเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ อันจัดเป็นบริโภคเจดีย์ และมีรอยพระบาทที่เป็นอุเทสิกเจดีย์ที่เหล่าพระพุทธบุตรสลักไว้ หล่อไว้มากมาย อุทิศให้เป็นพุทธบูชาเพื่อหวังปลูกศรัทธาแก่ชาวโลกมีอยู่ทั่วไป
    ใครไปไหว้สักการบูชาเคารพนับถือ รอยพระบาททั้งสองประเภทนั้น (คือรอยพระบาทที่เป็นบริโภคเจดีย์และอุเทสิกเจดีย์ หรือทั้งของจริงและของจำลอง) ย่อมมีเท่ากันเพราะเป็นพุทธานุสสติ คือ เป็นวัตถุเตือนใจให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า อันได้แก่ปัญญาคุณ บริสุทธิคุณและกรุณาคุณ เท่านั้น
    เพราะฉะนั้น ขอชาวโลกจงอย่างกินแหนงระแวงใจไปอย่างอื่นเลย ในเรื่องรอยพระบาท จะเป็นรอยพระบาทประเภทไหน ไม่สำคัญเท่ากับทำกายวาจาใจไตรบาทประเภทไหน ไม่สำคัญเท่ากับทำกายวาจาใจไตรทวารให้บริสุทธิสะอาดผ่องใส สงบสงัดแน่นิ่งอยู่ภายในเลยอันความสะอาด สว่าง สงบ ระงับอยู่ภายในใจตลอดกาลเป็นนิจนี้ เป็นนิมิตเครื่องหมายการกราบไหว้บูชารอยพระบาทภายใน ดีกว่าการกราบไหว้รอยพระบาทภายนอกร้อยเท่าพันทวีจริง ๆ ขอเตือนชาวโลกอย่าไปติดตังแต่วัตถุภายนอกนัก ให้ปฏิบัติกราบไว้เดินตามรอยพระบาทภายใน จึงจะพบพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ได้โดยไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัย ถ้าเราเมามัวติดตังยางเหนี่ยว ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะไปไหว้รอยพระบาทภายนอกอย่างเดียวทุก ๆ ปี พอถึงปีก็ไปกราบไหว้ ต่อให้แสนโกฏิปี-มีนับชาติไม่ถ้วน ก็ไม่พบพระเลยเป็นแน่แท้ข้าพเจ้าหลวงพ่อได้นำพวกคุณ ๆ ผู้อ่านเรื่องรอยพระบาท ๕ แห่ง ตามนัยแห่งพระอิศวรบัญชาให้ชาวประชากรสากลได้รับรู้เห็นเป็นพยานไว้ พอเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดสติปัญญาบารมีต่อไป
    ต่อจากนี้ขอนำพวกคุณ ๆ ไปเที่ยวชมต่อในเรื่องพระบาท ๕ แห่งตามหลักฐานทางตำนานต่อไปใหม่ เพื่อเป็นแนวทางพิจารณา ดังสำเนาเรื่องมี ณ เบื้องหน้าของคุณดังต่อไปนี้ :-
    รอยพระพุทธบาท ตามหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงกล่าวไว้ว่ามีถึง ๕ ด้วยกัน คือ :-
    ๑. สุวัณณมาลิเก ที่เขาสุวรรณมาลิก
    ๒. สุวัณณปัพพเต ที่เขาสุวรรณบรรพต
    ๓. สุมนกูเฏ ที่ยอดเขาสุมนกูฏ
    ๔. โยนกปุเร ที่ใกล้เมืองโยนก
    ๕. นัมมทายนทิยา ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
    รอยพระพุทธบาทตั้ง ๕ แห่งนี้ ตั้งอยู่เมืองไหน รู้ได้อย่างไร ข้าพเจ้าจะขอแนะนำให้รู้แต่ที่ค้นพบและพิจารณาเทียบเคียงได้เท่านั้น
    ๑. รอยพระพุทธบาทที่สุวรรณมาลิก เข้าใจว่าตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่จะเป็นประเทศ
    ไหนก็เหลือเดา (แต่ได้ทราบจากเทวบัญชา อันเจ้าพ่อหลักโลกรับมาเสนอว่า “ ได้แก่พระบาทเขานางเหม็น จังหวัดนครราชสีมานั้นเอง”
    ๒. รอยพระพุทธบาทที่สุวรรณบรรพตกับสัจจพันธคีรีคงเป็นอย่างเดียวกัน ที่สัจจพันธ
    ฤาษี ขออาราธนาให้พระพุทธองค์ทรงเหยียบรอยไว้ ให้เป็นที่ไหว้สักการบูชา แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ใกล้เมืองสระบุรีอันได้แก่พระบาทใหญ่เดี๋ยวนี้ และมีรูปสัจจพันธฤาษีไว้เป็นพยาน ซึ่งทำตามตำนานที่เขียนไว้
    ๓. รอยพระพุทธบาทที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสุมนกูฏนั้นที่อยู่ในประเทศลังกา “ภูเขา
    สุมนะ” บนยอดมีรอยพระบาท ภูเขาสุมนะดูสูงชะลูดสูงเด่นอยู่เมืองลังกาตามรูปถ่ายและรูปเขียน มีมณฑปสรวมรอยพระบาทตั้งอยู่บนยอดเขา
    ๔. รอยพระพุทธบาท ที่มีอยู่ใกล้แว่นแคว้นแดนเมืองโยนกนั้น ปรากฏว่าอยู่ ณ เมือง
    เชียงใหม่ เข้าใจว่าได้แก่พระบาท ๔ รอย อันมีอยู่จริง ปรากฏขึ้นเองบนแผ่นหิน ไม่ใช่แกะสลัก เป็นขึ้นมีขึ้นด้วยธรรมะบันดาลและเทพบันดาลอย่างแท้จริง และทางตำนานว่า เมืองโยนกได้แก่เมืองเชียงใหม่
    ๕. รอยพระบาท ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งหาดทรายแก้วของแม่น้ำนัมมทา มีฝูงปลา จระเข้ เหรา
    สัตว์น้ำนานาชนิดชาวมนุษย์ และพวกอทิสสมานกาย (คือพวกวิญญาณทุก ๆ ประเภท) มากราบไหว้บูชา มีปรากฏอยู่ที่เมืองภูเก็ต ที่เมืองนี้มีพระบาทปรากฏอยู่บนแผ่นหินชายทะเลมีน้ำเค็มล้อมรอบ มีก้อนหินใหญ่ตั้งอยู่ริมก้อนหินรอยพระบาท มีรูปพัดปรากฏอยู่ที่กลางก้อนหินใหญ่นั้นแสดงเป็นสัญลักษณ์ให้รู้สำนึกว่า ผู้ที่ไปกราบไหว้นมัสการเคารพบูชา จะต้องปฏิบัติทางใน ทำใจให้สงบจึงจะรู้ชัดแจ้งเห็นจริงว่า เป็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์จริง เมื่อหลวงพ่ออยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพระวัตหน้าพระธาตุองค์หนึ่งไปนมัสการพระบาทกลางน้ำที่เมืองภูเก็ต ท่านได้ไปถึงแล้วนมัสการกราบไหว้และอธิษฐานแล้ว จึงนั่งภาวนาทำใจให้สงบพักหนึ่ง เมื่อลืมตาขึ้นเห็นรอยพระบาทนั้นมีรูปมงคล ๑๐๘ ประการปรากฏชัดอยู่ทุก ๆ รูป เพื่อจะสำรวจดูว่าจะครบ ๑๐๘ อย่างตามตำนานกล่าวไว้ไหม จึงเอาดอกไม้วางตามรูปจนครบทุกรูป แล้วเก็บดอกไม้นั้นมานับดูใหม่ ก็ได้ครบจำนวน ๑๐๘ เท่ากับรูปมงคล ๑๐๘ ประการนั้นทุกประการ อันเป็นปรากฏการณ์เห็นชัดด้วยตาเนื้อแท้ ๆ แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติทำใจให้สงบและไม่อธิษฐานดูก็ไม่เห็น จะเห็นแต่รูปรอยเท้าใหญ่ลึกอยู่ในแผ่นหิน มีพื้นอันขรุขระเท่านั้นที่ก้อนหินที่ตั้งอยู่ติดกันมีรูปพัดนั้นเป็นพยาน และเตือนใจให้ผู้ที่ไปไหว้นมัสการ เมื่อปรารถนาอยากจะเห็นของจริงตามความเป็นจริงของรอยพระบาทแล้วจะต้องปฏิบัติทำใจให้สงบและอธิษฐานขอบารมีญาณเปิดให้ดูจึงจะเห็นเป็นของจริงขึ้นมา แต่ถ้าไม่เป็นของมีจริงถึงแม้จะปฏิบัติและอธิบานอย่างไร ๆ ก็ไม่ปรากฏ ของจริงย่อมพิสูจน์ได้เฉพาะคนทำจริงเท่านั้น ของจริงมีอยู่ ผู้ไม่จริงจะรู้เห็นของจริงได้อย่างไร เพราะไฝฝ้ากิเลสหนาบังตาไว้หนาแน่นนัก
    ที่พระบาทกลางน้ำนี้ เป็นอัศจรรย์อย่างหนึ่งคือตั้งอยู่บนแผ่นหินกลางน้ำ มีน้ำเค็มล้อมรอบ ใต้
    น้ำมีทรายขาวใสสะอาด และมีฝูงปลานานาชนิดว่ายแหวกไปมาในระหว่างก้อนหิน มีคลื่นน้ำทะเลชัดดังอยู่ซ่า ๆ แต่น้ำทะเลนั้น ไม่ไหลมาท่วมท้มรอยพระบาทสักที แลดูด้วยสายตามองเห็นน้ำล้อมรอบอยู่สูง ๆ ส่วนที่ก้อนหินรอยพระบาทตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่า น่าจะจมน้ำอยู่ตลอดกาล แต่ตรงกันข้าม กลับลอยอยู่เด่นพ้นอยู่เหนือน้ำทะเลเสียอีก จึงนับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์มิใช่น้อย ลักษณาการของพระบาทกลางน้ำนี้ มีนิมิตตรงกับคำสดุดีในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวงว่า “นัมมทาย นทิยาปุลิเน จ ตีเร” อันแปลความว่า รอยพระบาทตั้งอยู่ริมฝั่งหาดทรายแก้ว แห่งแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา ตัวจริงตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย)
    รอยพระบาทมีมากกว่า ๕ แห่ง

    เมื่อเรามาใคร่ครวญดูสมัยนี้แล้ว จะเห็นว่ารอยพระบาทมีมากมายหลายแห่ง ครบจำนวน ๘๔,๐๐๐ เท่ากับพระธรรมขันธ์ ฯ ทางภาคอิสานหลวงพ่อได้เคยไปนมัสการกราบไหว้หลายแห่ง เช่น พระบาทบัวบก พระบาทบัวบาน พระบาทคอแจ้ง พระบาทหลังเต่า พระบาทนางโอสา พระบาทเวินปลา ข้ามไปนมัสการฝั่งเวียงจันทร์ที่พระบาทดินเพียง และพระบาทจอมศรี เมืองหลวงพระบาง ทางภาคเหนือไปไหว้พระบาท ๔ รอยเขตเชียงใหม่ ทางภาคกลาง ไปไหว้พระบาทใหญ่ที่สระบุรีพระบาทเขาวงพระจันทร์ พระบาทใหม่เขาเลี้ยว พระบาทใหม่โคกสำโรง ฯลฯ
    เหตุผลพระบาทเกิน ๕ แห่ง

    จะอธิบายเหตุผลที่พระบาทมีเพียง ๕ แห่งในขั้นแรกเสียก่อน แต่ต้องเท้าความถึงเรื่องนิทานอันมีในพระสุตันตปิฎกต่อไปจึงจะเข้าใจเหตุผลได้ผลดี เนื้อความในเรื่องพุทธประวัติของพระองค์มีอยู่ว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดพวกเบญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวันใกล้เมืองพาราณสี เพียง ๕ วัน ได้ตรัสสอนพระเบญจวัคคีย์ ๕ องค์ ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมทั้ง ๕ องค์ ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ รอยพระบาทภายใน อันได้แก่รอยวิมุติ ๕ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณ ทัสสนะ หรือ รอยมรรค ๘ รอยโลกุตตรธรรม ๙ หรือรอยชัยชนะตัณหา ๑๐๘ ได้เหยียบย่ำกดลงเป็นรอยลึกฝั่งไว้ภายในใจ อันเป็นดุจแผ่นหินศิลาแลงอันแข็งแกร่งแห่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์ เป็นรอยฝั่งลึกลงตรงกลางใจทั้ง ๕ ในวันแรม ๕ ค่ำ อย่างสมบูรณ์เรียบร้อย เป็นปฐมฤกษ์แห่งการเอารอยพระบาทภายใน คือ วิมุติ ๕ เหยียบลงไปบนหัวใจทั้ง ๕ ของภิกษุอรหันต์ทั้ง ๕ สำเร็จพร้อมกันในวันแรม ๕ ค่ำ รอยพระบาทฝ่ายธรรมาทิฏฐานปรากฏการณ์พร้อมกันเมื่อครั้งแรกนั้น จึงบันดาลใช้เป็นปรากฏก่อนเพียง ๕ แห่งดังแสดงมา
    เมื่อพระพุทธองค์ เหยียบรอยพระบาทภายในลงไว้กลางใจทั้ง ๕ ของพระเบญจวัคคีย์จนชนะมารทั้ง ๕ ตัณหา ๑๐๘ ได้แล้ว กลับกลายแปรสภาพมาเป็นมงคล ๑๐๘ ประการ เป็นปรากฏการณ์เด่นชัดดีแล้ว ต่อจากนั้นพระพุทธองค์จึงเสด็จไปโดยพระองค์เดียวเที่ยวไปโปรดพวกอื่น ๆ ต่อไปเช่น ไปโปรดพวกภัททวัคคีย์ ชฏิล ๓ พี่น้องพร้อมด้วยบริวาร พระยสพร้อมด้วยสหายและพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารนับหมื่น ฯลฯ และพวกอื่น ๆ เทพอื่น ๆ พรหมอื่น ๆ อีกนับได้ถึง ๒๐ อสงขัย ในระยะกาล ๔๕ ปี จึงปรินิพพาน
    รอยพระบาทภายใน อันได้แก่พระธรรมทำลายอวิชชา จนได้ชัยชนะแก่มารทั้ง ๕ กิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ แล้ว แปรสภาพมาเป็นมงคลคุณแห่งพระรัตนตรัย ๑๐๘ ประการ ปรากฏเป็นรอยลึกอยู่บนกลางแผ่นหินอันแข็งแรงและมั่นคง ณ บนยอดเขา คือยอดหัวใจ หรือยอดกระหม่อมจอมศีรษะของสัตว์โลกทั่วไป จนนับจะประมาณมิได้ จึงเรียกว่าอสงขัยถึง ๒๐ อสงขัย พระบาทภายใน ๘,๔๐๐ พระธรรมขันธ์ เหยียบไว้รอยลึกบนยอดหินยอดผาแห่งนานาจิตสัตว์โลกครั้งกระโน้น และต่อ ๆ มา จึงดลบันดาลให้เป็นปรากฏการณ์ในด้านพระสูตรคลอดออกมาเป็นรูปรอยพระบาทภายนอก เพื่อให้ชาวโลกรู้เห็นด้วยตาเนื้อ และเพื่อปลูกศรัทธาเป็นนาบุญสำหรับกราบไหว้เคารพบูชา เป็นมหากุศล แก่ฝูงชนทุกถ้วนหน้าจะได้มีโอกาสสะสมบุญบารมีไว้สำหรับตนส่งให้พ้นจากความทุกข์ต่อไป เหมือนพระสาวกเจ้าทั้งหลาย รอยพระบาทภายนอกจึงมีปรากฏทั่วไป เหมือนเงาตามตัวฉะนั้น
    รอยพระบาทมี ๒ ประเภท
    รอยพระบาททั้งหลายที่ปรากฏ แก่สายตาของชาวโลกมีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน คือปรากฏบนแผ่นหินโดยธรรมะบันดาล และทวยเทพผู้รักษาศาสนาบันดาลให้ดินฟ้าอากาศฟ้าฝนตกลงมาเซาะหินให้สึกกร่อยร่อยหรอ เป็นรอยลึกเป็นรูปรอยพระบาทอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่นที่รอยพระบาทเขาเลี้ยว พระบาทใหม่โคกสำโรง พระบาทเขาวงพระจันทร์พระจอมศรี เมืองหลวงพระบาท เป็นต้นและอีกอย่างหนึ่ง เป็นรอยที่นายช่างทำจำลองขึ้นให้มีรูปมงคล ๑๐๘ อย่าง ตามตำนานกล่าวไว้
    รอยพระบาทมี ๒ ขนาด

    รอยพระบาทมี ๒ ขนาด คือขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ขนาดเล็กยาวประมาณ ๑ ศอก ชาวประเทศอินเดียต้นศาสนาทำขึ้นให้เท่ากับรอยเท้าคน สลักไว้บนแผ่นหินเคลื่อนที่ได้ ตัวอย่างที่สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ นำมาจากพุทธคยาเอาไปไว้ที่มณฑปเกาะสีชัง ก็ยาวประมาณ ๑ ศอกเหมือนกัน และที่แกะสลักไว้บนก้อนหินบนยอดเขาเคลื่อนที่ไม่ได้ก็มี แล้วแต่ความนิยมของพุทธบุตรแต่ละบุคคล
    ส่วนที่ปรากฏในต่างประเทศ เช่น ประเทศไทย พม่า เขมร ฯลฯ ใหญ่ยาวประมาณ ๓-๔ ศอก ของคนปานกลาง

    เหตุผลที่รอยพระบาทขนาดไม่เท่ากัน

    ประเทศอินเดียเป็นต้นศาสนา เป็นต้นแสงสว่างแห่งพระธรรม คนในต้นศาสนาเมื่อ ๒๕๐๐ ปีเศษ ล่วงเลยมาแล้วกล่าวกันว่า สูง ๘ ศอก และในหลักพระสูตรกล่าวไว้ในเรื่องพุทธประวัติว่า “พระวรกายของพระพุทธองค์ สูง ๘ ศอกเหมือนกัน เมื่อพระวรกายของพระองค์สูง ๘ ศอก พระบาตรก็ต้องยาวประมาณ ๑ ศอก พระพุทธองค์ปรินิพพานสิ้นสูญกายเนื้อไปแล้ว บรรดาเหล่าพวกพุทธบุตรจึงสลักหินเป็นรอยพระบาทไว้สักการบูชาแทนองค์พระศาสดาของตนต่อมา รูปรอยสลักทำให้เท่ากับรอยเท้าจริง ยาวประมาณ ๑ ศอก เท้าภายนอกของกายเนื้อและเท้าภายในของกายใน คือ ธรรมกายเหยียบย่ำฝังรากเหง้าลงมั่นไว้ในมัชฌิมประเทศต้นศาสนาดีแล้ว จึงแผ่ขยายกว้างออกไปทั่วมณฑลภายนอกศาสนาแผ่ซ่านไปทั่วสากลจักวาฬ ประดิษฐานตั้งอยู่ทั่วแคว้นแดนปัจจันตประเทศ เช่น ประเทศไทย พม่า เขมร มอญ ลาว ฯลฯ รอยพระบาทนอกจึงใหญ่กว่า โตกว่า กว้างกว่า และลึกกว่า ส่วนที่ตั้งอยู่ต้นประเทศดั้งเดิมเป็นธรรมดาเปรียบเหมือนแสงสว่างของต้นไฟฉาย ย่อมเล็กกว่าปลายไฟฉาย หรือเหมือนกับความร้อนแรงแผดแสงกล้าแผ่ซ่านออกรอบดวงอาทิตย์ ย่อมมีวงแคบกว่า ความร้อนอ่อนที่แผ่ซ่านไปทั่วรอบขอบเขตแดนสากลพิภพ ความร้อนอ่อนย่อมคลุมรอบครอบไปทั่วสากลจักรวาฬกว้างไพศาลจะนับจะประมาณไม่ถ้วน

    รอยพระบาทมี ๒ ประเภทอีก

    รอยพระบาทที่ปรากฏบนก้อนหินใหญ่บนยอดเขานั้นมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ :-
    ๑. เกิดจากมนุษย์ผู้หวังดี เพื่อให้มีศรัทธาบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์ทั่วโลก จึงเกิดมุมานะบากบั่น เจาะหินให้เป็นรอยลึกลงไปคล้ายรอยเท้าคน แต่ทว่า โตกว่าใหญ่กว่า กว้างกว่า และลึกว่ารอยเท้ามนุษย์ธรรมดาประมาณ ๔ – ๕ ศอก ทั้งนี้ก็เนื่องจาก ธรรมะบันดาล และเทพผู้รักษาศาสนา บันดาลให้เกิดปฏิภาณความรู้ในเรื่องรอยพระบาทมีรูปมงคล ๑๐๘ ประการ ตามตำราทำนายพุทธลักษณะบันทึกไว้ และบันดาลให้โตใหญ่กว่าไว้เมื่อนิมิตเครื่องหมายให้รู้ว่า รอยพระบาทภายในคือ รอยพระธรรม คำสั่งสอนคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ความชนะตัณหา ๑๐๘ นั้น แผ่ไพศาลกว้างใหญ่ ขยายไปทั่วสากลโลกธาตุ ซึ่งเป็นนิมิตบอกให้รู้ชัดแจ้งตามความเป็นจริงว่า ใหญ่โตมากกว่ารอยปฐมต้นเดิมอันมีปรากฏอยู่ประเทศอินเดีย
    ๒. เกิดจากธรรมะบันดาล หรือทวยเทพผู้รักษาศาสนาบันดาลให้ดินฟ้าอากาศ ฟ้าฝนตกลงเซาะแผ่นหินให้เป็นรอยลึกลงทีละน้อย ๆ จนได้ขนาดและคล้ายคลึงกับรอยพระบาทขนาดใหญ่ อันปรากฏในปัจจันตประเทศตีวงขอบเขตไปทั่วนานาประเทศ เช่น ประเทศไทย พม่า เขมร มอญ ลาว เป็นต้น

    รอยพระบาทสระบุรี

    ตามตำนานพระบาทสระบุรี มีปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ :-
    มีในเรื่อง ปุณโณวาทสูตร ในพระไตรปิฎก ถอดใจความย่อว่า “พระพุทธองค์ เสด็จไปกดรอยพระบาทไว้ที่เชิงเขาด้านตะวันออกเฉียงเหนือ แห่งกรุงศรีอยุธยาเดี๋ยวนี้อันเป็นที่อยู่ของสัจจพันธเถระ (เดิมเป็นสัจจพันธฤาษี) ในสมัยแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม มีพระภิกษุไทยหลายรูปไปนมัสการพระบาทที่เขาสุมนกูฏในลังกา พบกับภิกษุลังกา ๆ ถามจึงได้ความว่า ที่เขาสุวรรณบรรพตหรือเขาสัจจพันธคีรีมีรอยพระบาทเหมือนกัน เมื่อทราบถึงพระเจ้าทรงธรรม พระองค์จึงโปรดสั่งหัวเมืองต่าง ๆ สืบหาพระบาท จึงรู้ได้จากนายพรานบุญผู้ไปพบ จึงมีใบบอกเข้ามากราบบังคมทูล เมื่อพระองค์ทรงทราบตามใบบอกนั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเสด็จไปทางแม่น้ำ ไปจอดเรือพระที่นั่ง ซึ่งมีจอดเรือเรียกว่าท่าเรือมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อเสด็จขึ้นเรือแล้วเสด็จเดินทางป่านายพรานบุญเป็นผู้นำ ครั้นไปถึงได้ทอดพระเนตรเห็นรอยพระบาท ก็ทรงเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ทรงยกที่ดินถวายเป็นบริเวณพระบาทโยชน์หนึ่งโดยรอบ และโปรดให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาท และสร้างพระอุโบสถพระวิหารการเปรียญ กุฏีสงฆ์ ตัดทางกว้าง ๑๐ วา ตรงตลอดมาถึงท่าเรือ เพื่อการไปนมัสการพระบาทสะดวกแก่ประชาราษฎร์ตลอดมาถึงทุกวันนี้

    รอยพระบาทมี ๒ ชนิด

    รอยพระบาทที่ปรากฏแก่สายตามของชาวโลกมีอยู่ ๒ ชนิด คือพระบาทซ้าย กับรอยพระบาทขวา รอยพระบาทซ้ายปรากฏที่เข้าเลี้ยวใกล้เจ้าพ่อเขาตกสระบุรี ที่โคกสำโรง ที่เขาวงพระจันทร์ และพระบาทจอมศรี ที่ประเทศลาวเมืองหลวงพระบาง พระบาทเบื้องขวามีที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเราเรียกว่า พระพุทธบาทมาจนทุกวันนี้
    ๑. พระพุทธบาท กับพระโพธิบาท
    รอยพระบาทเบื้องขวา เป็นสัญลักษณ์แห่งรอยพระบาทของพระพุทธองค์ ส่วนรอยพระ
    บาทเบื้องซ้ายเป็นสัญลักษณ์แห่งรอยพระบาทของพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย แต่ชาวโลกคงเข้าใจว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์ทั้งซ้ายและขวา แต่อย่าลืมว่า ถ้าพระบาทของพระพุทธองค์ทรงประทับยืน ต้องทำคู่กันไว้เหมือนอย่างชาวเมือง อมรวดี ประเทศอินเดียสร้างเป็นพระบาทคู่ในประเทศไทยเช่นที่ใกล้พระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และวัดบวรนิเวศเป็นต้น ดังนี้รับรองได้ว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์ทั้งคู่ แต่หากประดิษฐานปรากฏอยู่คนละแห่ง แสดงว่าไม่ใช่รอยพระบาทของพระพุทธองค์หากเป็นรอยพระบาทของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าต่างหาก
    ๒. พระบาทเบื้องขวาทั้งสอง ๒
    พระบาทเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า ปลายนิ้วพระบาททั้ง ๕ สม่ำเสมอกันเป็นระเบียบอันดี
    งาม ฯ ส่วนนิ้วพระบาททั้ง ๕ ของพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานไว้บนยอดเขาใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างเขาทั้งสองมองดูจากทางเทศบาล จะเห็นเป็นเขา ๓ ลูกที่ตำบลนิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอยู่ทุ ๆ ปีเป็นประจำตามกำลังทรัพย์ นับจำนวนเงินก่อสร้างที่ส่งเสริมพระบารมีโพธิญาณแห่งพระศรีอริยเมตไตยหลายล้านบาท ผู้มีความปรารถนาสร้างบารมีเชิญได้ทุกโอกาส ขอต้อนรับความปิติยินดีทุกเมื่อ
    ๓. รอยพระบาทของพระบรมโพธิสัตว์
    ศรีอริยเมตไตรย
    รอยพระบาทของศรีอารย์ ที่สถิตประดิษฐานอยู่ที่หัวเขาเลี้ยว เทือกเดียวกันกับเขาพระพุทธบาทใหญ่สระบุรีห่างกันประมาณ ๓-๔ กิโลเมตรเท่านั้น ปรากฏอยู่ที่เขาเลี้ยว เพื่อให้เป็นสัญญาลักษณ์แห่งการสืบต่อศาสนาของพี่และน้อง ในหัวเลี้ยวหัวต่อระยะกึ่งพุทธกาลนี้ พระบาทของพระศรีอารย์เหยียบย่ำลงบนรอยโค (โคที่เป็นแม่เลี้ยงของพระสมณโคดม รอยโคนี้เป็นสัญญาลักษณ์ชี้บ่งถึงรอยพระบาทของพระโคดม) ตามเหตุผลนี้ จึงรู้ว่ารอยพระบาทเบื้องที่เหยียบย่ำทับลงไปบนรอยเท้าโค จึงเป็นรอยพระบาทเบื้องซ้ายที่เหยียบทับลงไปบนรอยเท้าโคนั้น ก็เป็นรอยพระบาทเบื้องซ้ายที่เหยียบทับลงไปบนรอยเท้าโคนั้น ก็เป็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์เหมือนกัน ดังนั้น เหตุผลไม่เพียงพอ คือว่าโคแม่เลี้ยงนั้นมาเหยียบไว้เพื่อประโยชน์อันใด ถ้าพระพุทธองค์เหยียบทับรอยของแม่เลี้ยงโคลงไปก็แสดงว่าเป็นอาการส่อถึงความกดขี่ และไม่เคารพนับถือต่อแม่เลี้ยงของพระพุทธองค์เอง ถ้าจะออกตัวว่าเป็นการคารวะ จึงเหยียบทับกันก็ไม่ถูกเหตุผล เพราะความเคารพต่อกันและกันมิให้หมายถึงการทับถมกัน ลักษณะแห่งความเคารพของกันและกัน ต้องอยู่ห่างกันตามเหตุผลที่สมควร รอยจะห่างกันคืบหรือศอกนั่นแหละจึงจะเป็นเครื่องหมายแสดงถึงหลักความเคารพแท้ แต่ที่เป็นปรากฏการณ์ประจักษ์พยานอยู่เฉพาะหน้านี้ หาเป็นดังเช่นกล่าวมานั้นไม่ รอยเท้าโคปรากฏอยู่ตรงกลางระหว่างพระบาทซ้ายจริง ๆ และปลายรอยทั้งสองชี้แทงไปทางทิศตะวันออกทั้งสองรอย
    หากรอยเท้าโคกับรอยพระบาทอยู่ห่างกันคืบหรือศอกหรือยู่ใกล้ ๆ กันกับบริเวณนั้น อันเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความเคารพนับถือของพระพุทธองค์ อันมีต่อมารดาเลี้ยงก็จะรับรองได้ทันทีว่า เป็นรอยพระบาทของพระพุทธองค์แท้แน่นอน แต่นี่หาเป็นดังเช่นว่าไม่ รอยเท้าโคกับปรากฏอยู่ตรงกลางจริง ๆ ระหว่างรอยพระบาทเบื้องซ้ายอันเป็นนิมิตเครื่องหมายแห่งการสืบต่อเนื่องถึงกันในระหว่างท่ามกลางศาสนาของพี่น้องทั้งสอง (คือศาสนาพระโคดมกับพระศรีอารย์) ต่อกันในระยะท่ามกลางหรือกึ่งพุทธกาล และรอยต่อกันที่หัวเขาเลี้ยว อันเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อกันจริง ๆ เป็นปรากฎการณ์พยานหลักฐานบ่งชัดว่า รอยทั้งสองต่อกันนั้น ก็คือศาสนาทั้งสองต่อกันเข้าแล้ว เริ่มแต่ พ.ศ. ๑-๒ เป็นต้นไป พ.ศ. ๒๕๐๑-๒)
    ส่วนพยานหลักฐานภายนอกประกอบยังมีอยู่อีก คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ พระอาจารย์ทองดีทำพิธีหล่อพระรูปของพระโคดม และพระรูปของศรีอารย์ที่เชิงเขาเลี้ยว แล้วเอาขึ้นไปประดิษฐานไว้บนเขาเลี้ยวภายในมณฑป อันสวยงามราคาเกือบสามแสนบาท ทั้งสองพระองค์ พระรูปของพระโคดมตั้งอยู่บนแท่นสูงใหญ่ ต่ำลงมาเบื้องหน้าทำแท่นสูงครึ่งหนึ่งของแท่นใหญ่ ต่ำลงมาเบื้องหน้าทำแท่นสูงครึ่งหนึ่งของแท่นใหญ่ ตั้งพระรูปของพระศรีอารย์บนนั้น อันเป็นนิมิตเครื่องหมายและเป็นเครื่องเตือนใจ สะกิดใจและจูงใจให้รู้ความจริงได้ว่าพอศาสนาของพระโคดมบรมครู ประกาศมาได้ครึ่งหนึ่งหรือกึ่งของศาสนาแล้ว ต้องมีพระโพธิสัตว์พระศรีอารย์ผู้รับตำแหน่งศาสนทายาท มารับช่วงศาสนาประกาศแทนสืบต่อไปจากพระพุทธองค์โดยแน่นอน
    ถ้าคำคัดค้านถูกก็ต้องหล่อพระพุทธรูปโคตัวเมีย อันเป็นเครื่องหมายถึงแม่เลี้ยงไว้เป็นสักขีพยาน ในระยะกึ่งพุทธกาลนี้ใช่ไหม ฯ เพราะไม่เป็นความจริง กล่าวทางด้านธรรมะและทวยเทพที่คุ้มครองปกป้องศาสนาจึงดลบันดาลให้พระอาจารย์ทองดี ลูกศิษย์หลวงพ่อเล็ก วัดใหม่โพธิ์ทอง หล่อพระรูปสองพี่น้องไว้เป็นพยาน ในเวลากาลหัวเลี้ยวหัวต่อ เพื่อต่อศาสนาให้ติดต่อสืบเนื่องกันไว้ ในระยะกึ่งศาสนานี้ เมื่อมีพยานเป็นมาตรฐานรับรองให้เห็นชัดเป็นปัจจุบันทันตาอยู่เช่นนี้ จึงชี้ให้เห็นชัดรับรองเป็นความจริงได้แล้วว่า รอยพระบาทเบื้องซ้ายเป็นนิมิตเครื่องหมายบ่งชี้ให้รู้ว่า เป็นพระบาทของพระศรีอารย์ผู้น้อง ส่วนรอยพระบาทเบื้องขวา จึงเป็นนิมิตเครื่องหมายบ่งชัดไปทางฝ่ายรอยพระโคดมบรมครู ผู้พี่ธรรมดาว่าพี่ต้องใหญ่กว่า โตกว่า ภาคภูมิกว่า จึงใช้ฝ่ายขวาเป็นสัญลักษณ์ เมื่อพี่ใช้ฝ่ายขวาเป็นสัญลักษณ์ของท่านแล้ว ฝ่ายน้องต้องใช้ฝ่ายซ้ายก้าวสืบต่อไปข้างหน้า เป็นสัญลักษณ์ของตน เพื่อมิให้ไขว้เขวเข้าใจผิด ธรรมดาของโลกฝ่ายซ้าย ถือว่าต่ำกว่าฝ่ายขวาอยู่แล้ว เช่นมือซ้ายล้างก้นแต่ใช้มือขวาล้างหน้า ถ้าพระจับด้ายสายสิญจน์ ชักบังสุกุลด้วยมือซ้ายถือว่าไม่เคารพศพ พวกญาติโยมของศพไม่พอใจ ถ้าพระเณรจับด้ายสายสิญจน์มือขวา และหงายมือชักบังสุกุล ถือว่าเคารพต่อศพและพวกญาติของศพด้วย บรรดาผู้รู้ย่อมสรรเสริญเยินยอพอใจแก่ประชุมชนทุกชั้น ถ้าหากว่าน้องใช้ฝ่ายขวาเป็นสัญลักษณ์ต่อแทนก็ไม่รู้ว่า “ใครเป็นใคร และอะไรเป็นของอะไร” และถือว่าไม่เป็นการเคารพด้วย เพราะเกียรติยศศักดิ์ศรีของน้องย่อมด้อยกว่าศักดิ์ศรีของพี่อยู่แล้ว จึงไม่ควรอาจเอื้อมในสิ่งที่ไม่ควรแก่ตนอยู่เอง

    สรุปพระบาททั้งหมดมีอยู่ ๕

    พระบาทที่มีลักษณะโตใหญ่เล็กกว้างยาวลึก อันเกิดจากธรรมมะบันดาลและทวยเทพบันดาลก็ดี และเกิดจากพุทธบุตรผู้มองกาลไกลสลักไว้บนแผ่นหินบ้าง หล่อด้วยโลหะบ้างก็ดี อย่างนี้จัดเป็นรอยพระบาทภายนอกซึ่งประชาชนคนทั้งปวงภายในและภายนอกประเทศหลั่งไหลไปนมัสการกราบไหว้เป็นประจำทุก ๆ ปี เช่นพระบาทสระบุรี พระบาทเข้าเลี้ยวและพระบาทเขาวงพระจันทร์เป็นต้น ประชาชนนิยมไปนมัสการกราบไหว้รอยพระบาทภายนอกกัน นับจำนวนไม่ถ้วนปีหนึ่ง ๆ ซึ่งพาให้เกิดประโยชน์และได้รับสมบัติ ๒ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ และสวรรค์สมบัติเท่านั้น เราจะเกิด ๆ ตาย ๆ นับชาติไม่ถ้วนวนเวียนไป ๆ มา ๆ กราบไหว้รอยพระบาทภายนอก นับโกฏิครั้งหรือนับครั้งไม่ถ้วน ก็ไม่ทำให้เราดีขึ้น เจริญขึ้น มากขึ้น และเกินเลยไปจากสมบัติทั้งสองนั้นเลย เพราะฉะนั้นชาวโลกทั้งหลาย จงพยายามก้าวไปข้างหน้าอีกเพียงก้าวเดียว ก็จะได้ประสบพบผลประโยชน์สูงสุดกว่านั้นไปอีกได้อีกอย่างหนึ่งได้แก่พระบาทภายใน อันได้แก่ ศิลสมาธิปัญญา, อันเป็นอริยมรรคา พาให้สัตว์โลกผู้ดำเนินตาม ได้สำเร็จประโยชน์และสมบัติทั้ง ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ควรที่สัตว์โลกทั้งหลายใฝ่หานิพพานกันให้มาก ๆ เพราะพาให้ตนพ้นจากทุกข์ได้จริง ๆ ถ้าหากยังหลงใหลใฝ่หาแต่สมบัติต่ำ ๆ ทั้งสองนั้นจะมีมากมายหลายโกฏิอสงขัย ก็ไม่นำตนให้พ้นจากทุกข์ภัยได้ เหตุผลดังกล่าวมาโดยย่อนี้ ขอให้ปวงสัตว์โลกจงยินดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปสนใจแสวงหาแต่ในทางนิพพานให้มากขึ้นเถิดจะเกิดนาบุญภายใน ได้ดวงตาเห็นธรรม นำตนให้พ้นจากสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลหลวงได้
    หลวงพ่อได้อธิบายเหตุผลเรื่องรอยพระพุทธบาท และรอยพระโพธิบาท อันเป็นดุจแสงเทียนส่องให้เกิดปัญญาตกใจมีญาณอันผ่องใส่ พิจารณาใคร่ครวญตามแนวทางที่ชี้แจงนี้ จะเกิดมีความรู้ และความเข้าใจ กันความเข้าใจไขว้เขวยุ่งเหยิงได้ และเป็นบ่อเกิดปลูกความเชื่อเลื่อมใสในองค์พระบรมโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรยต่อไป ซึ่งให้สมกับความตั้งใจของประชาชนที่ปรารถนาพบประสบพักตร์ให้เห็นประจักษ์ในระยะกึ่งศาสนานี้ และจะรู้ว่าพระศรีอารย์อันเป็นองค์จริงองค์แท้นั้นอยู่ที่ไหน รู้ได้อย่างไร
    ถ้าใคร่ครวญดูให้ดี ก็พอจะมีความรู้ความเข้าใจได้ถ้าหากยังโง่เขลาเบาปัญญาบารมียังอ่อนอยู่ ถึงจะชี้แจงแนะนำสั่งสอนก็คงเข้าใจยาก และเชื่อยากด้วย อาจเชื่อในองค์จริงว่า เป็นองค์ไม่จริงได้ และอาจเชื่อขนองค์ที่เป็นจริงว่าไม่จริงองค์แท้แน่นอนได้ เมื่อเรารู้ว่าเป็นองค์จริง แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามโอวาทคำสั่งสอนของพระองค์ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรนัก สำคัญที่เรารู้แล้วว่า “เป็นองค์จริงองค์แท้แน่ แก่ใจตนจริง ๆ แล้ว” ต้องเข้าไปใกล้นั่งกราบไหว้เคารพบูชาสักการะ แล้วขอคำแนะนำสั่งสอนจากพระองค์ เมื่อตนพิจารณาใคร่ครวญตามเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วปฏิบัติตาม จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ตนอย่างใหญ่หลวงขอให้ประชาชนคน ทั้งปวงจงอุส่าห์พาตนให้เข้าใกล้ ให้ได้รับพระพรชัยและพระโอวาท แล้วประกาศตนเป็นโพธิบุตรทุก ๆ คนเถิด จะเกิดประโยชน์ โสตถิผลแก่ตน ทั้งชาตินี้และ ชาติหน้าต่อไปตลอดกาลนาน.
     
  2. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    เทวบัญชาเรื่องรอยพระบาท ๕ แห่ง น่าสนใจจดจำไป
    พระบาท ๕ แห่งตามที่ได้รับฟังมาจากเจ้าพ่อหลักเมือง (เดี๋ยวนี้เป็นเจ้าพ่อหลักโลก โดยโอภาสีตั้งให้) ซึ่งได้รับเทวบัญชาจากพระอิศวรผู้เป็นเจ้าว่า มีรอยพระบาทที่แท้จริงอยู่ ๕ แห่ง ดังนี้ :-
    ๑. พระบาทเขานางเหม็น (เขาน้ำเหม็นก็เรียก คือ เขาเขมรนั่นเอง เหม็น = เขมร นานมาภาษาเรียกเลือนรางไป กลายเป็นชื่อ “น้ำเหม็น” น้ำแปลเปลี่ยนมาเป็น “นาง” น้ำเหม็น = น้ำใจเขมรก็ได้ เพราะสถานที่นั่นดั้งเดิมเป็นเมืองของเขมร) ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา
    ๒. พระบาทเขาสระบาป ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดจันทบุรี (สระบาป = สละบาป = ล้างบาป) ถือกันว่า ผู้ที่มีบาปกรรมขึ้นไปนมัสการ อธิษฐานล้างบาปล้างกรรมได้ ตามเทพบัญชามีเนื้อความต่อไปนี้ว่า “เมื่อพระพุทธองค์เสด็จจากกรุงราชคฤห์ เสด็จมาโดยอากาศวิถี ถึงที่ลานหินบนยอดเขาอันกว้างใหญ่ จึงเสด็จลงมาประทับบนลานหินนั้น เสวยบิณฑบาตในบาตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์จึงทรงล้างบาตร แล้วคว่ำบาตรลงไว้บนลานนั้น ปรากฏการณ์เป็นรูปหินคล้ายบาตรคว่ำอยู่ ให้ผู้ที่ขึ้นไปนมัสการเห็นเป็นสักขีพยานจนถึงทุกวันนี้ ที่นั่นจึงเรียกว่าเขาสระบาป หรือเขาสละบาป สละบาป คว่ำบาปให้หมดไปจากบาตรคือ หัวใจ เหมือพระพุทธองค์คว่ำบาตรไม่มีเมล็ดข้าว และแกงกับเหลืออยู่ในบาตรนั้นเลย ชาวโลกถือเอานิมิตตอนคว่ำบาตรนี้ เป็นเครื่องจูงใจให้เกิดความเลื่อมใส เกิดความอุสาหะพยายามบากบั่น ก้มหน้าก้มตาขึ้นไปบนยอดเขาสระบาปนั้น เพื่อนมัสการ บูชาและอธิษฐาน เพื่อสระบาป สละบาป ละบาปและคว่ำบาปไม่ให้เหลือในจิตใจของตน เหมือนพระพุทธองค์ทรงล้างและคว่ำบาตรแล้ว ไม่มีข้าวและแกงกับเหลือยู่ในบาตรฉันนั้น
    ๓. พระบาทกลางน้ำ ตั้งอยู่บนหินใหญ่หาดทรายแก้ว ริมทะเล เมืองภูเก็ต
    ๔. พระบาทเขาวงพระจันทร์ ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงเมืองลพบุรี
    ๕. พระบาทสีรอย ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่

    น่าสนใจพระบาทนี้นะ
    1พระบาทเขานางเหม็น(เขาน้ำเหม็นก็เรียก คือเขาเขมรนั้นเอง เหม็น คือ เขมร ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา)
    ใครอยู่จังหวัดนครราชสีมา บ้างหรือผู้รอบรู้ช่วยนำมาบอกพวกด้วยเทอญ รู้ว่ามีพระบาทในจังหวัดนี้ มีอยู่ ภูเขาลูกไหนชื่อเขาเขมรหรือเขาน้ำเหม็นบ้างอยู่วัดไหน ขอให้นำมาบอกด้วย
    พวกเราน่าจะรวมตัวกันนะแล้ว จัดรถไปกราบพระกันนะตลอดจนได้ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ไปนอนค้างซัก 1 คืน ก็คงจะดีไม่น้อยนะ


    หรือจะที่นี้ก็น่าสนใจหรือ ที่นี้หรือนะ
    รอยพระพุทธบาทเขายาย “หอม” เดิมชื่อ รอยพระพุทธบาทเขายาย “เหม็น” ได้เปลี่ยนชื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่ใน ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2592

    ข้อมูลจากนี้ขอขอบคุณ
    http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta15.html
    นครราชสีมา มีประมาณ 31-32 แห่ง (เรายังไม่ทราบว่าจะเป็นที่ไหน)
    32 วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก วัดเขาพริก พระพุทธบาทวัดเขาพริก หมู่7 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
    1 พระพุทธบาทกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2 อุทยานพระพุทธบาทป่าหิน บ.ถ้ำเต่า ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    3 พระพุทธบาทเขาสรรพยา (ถ้ำศรีวิไล) บ.หัวโกรก ต.ดงพญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    4 พระพุทธบาทน้ำตกหินเพิง บ.คลองม่วง ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    5 พระพุทธบาทเขาสีสด ต.คลองม่วง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    6 วัดมอจะบก(เขาเหิบ)ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    7 แหล่งหินตัด(อยู่ริมถนน) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    8 วัดวังกระสวย บ.วังกระสวย ต.กฤษรา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    9 วัดเขาพระนั่ง บ.ซับเจริญ ต.หนองหญ้าขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    10 วัดเสมาคีรีวนาราม ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    11 สำนักสงฆ์ถ้ำแม่กุหลาบ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    12 วัดถ้ำจำปา ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    13 พระพุทธบาทบ้านถ้ำมังกร ต.วังโรงใหญ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    14 พระพุทธบาทวัดโกรกเดือนห้า บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    15 พระพุทธบาทวัดเขาตะกรุดลัง ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    16 พระพุทธบาทที่พักสงฆ์เขาเทพบุตร ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    17 พระพุทธบาทวัดป่าเซตวัน บ้านโคก ต.สระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    18 พระพุทธบาทวัดภูวังทองศลาอาสน์ บ้านซับคุ้ม ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    19 พระพุทธบาทวัดเสาเดี๋ยว(เขาภูหลวง)ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    20 พระพุทธบาทวัดซับยาง ต.ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    21 พระพุทธบาทวัดป่ามหาวัน ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    22 พระพุทธบาทวัดเขาน้อยมูลบน บ้านมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    23 พระพุทธบาทจอมทอง บ้านตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    24 พระพุทธบาทวัดสุวรรณบรรพต(ถ้ำวัวแดง)บ้านเฉลี่ยงโคก ต.เฉลียง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    25 พระพุทธบาทวัดถ้ำเขาแกลบ ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    26 พระพุทธบาทวัดป่าเขาคงคา บ้านโนนระเวียง ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    27 พระพุทธบาทสำนักสงฆ์ถ้ำพระ-เขาเต่า ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    28 พระพุทธบาทวัดเขาชาด ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    29 พระพุทธบาทวัดใหม่สันติ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    30 น้ำตกวะภูแก้ว บ.วะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    31 พระพุทธบาท 4 รอย หน้าปั้มน้ำมันพี.ที.(บ.คลังเจริญโคราช) ถ.มิตรภาพ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

    ขออนุญาตินำมาลงไว้ คิดว่าต้องมีไช่ ถึงถ้าได้กราบและร่วมทำทานบุญกุศลทุกที่ก็ถือว่ามีบุญบารมีไม่น้อย
    วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก ต.คลองไผ่ จ.นครรราชสีมา
    เส้นทางไม่ซับซ้อน ไม่ไกลจากถนนมิตรภาพ มีป้ายบอกตลอดทาง
    เรียกสั้นๆ ว่า วัดเขาพริก หรือวัดถ้ำหมู ตั้งอยู่บนเชิงเขาพริก
    แต่มีรอยพระพุทธบาทตั้งอยู่บนกลางเขาพริก และด้านบนยอดเขาพริก
    นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นไปด้านบนรอยพระพุทธบาทได้ หรือสามารถขับรถขึ้นเขาพริกได้อีกทางหนึ่ง โดยจุดนี้จะอยู่บริเวณครึ่งทางขึ้นเขาพริก ส่วนด้านบนเขาพริกกำลังอยู่ระหว่างการจัดสร้างบันได 1,000 ขั้น
    โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธฉายประดิษฐานอยู่ตรงหน้าผาเขาพริก แกะสลักไว้ประมาณ
    ปีพ.ศ. 2490 โดยอธิบดีกรมราชทัณฑ์พานักโทษขึ้นมาแกะสลักไว้ ด้านบนยังมีเจดีย์เก่าแก่
    คือเจดีย์ชัยสิทธิองค์สถูปบรรจุองค์พระอรหันธาตุ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2493 นอกจากนั้นยังมีของเก่าแก่อาทิ
    ถังคอนกรีตโบราณ สำหรับบรรจุน้ำไว้ดื่ม บนเขาพริกยังมีถ้ำกายสิทธิ์ที่ถูกค้นพบบนยอดเขาพริก
    ด้านบนยังมีรอยพระพุทธบาทที่เกิดขึ้นบนหินอีกแห่งหนึ่งบนยอดเขาพริก (วัดเขาพริก พระพุทธบาทวัดเขาพริก วัดถ้ำหมู สี่คิ้ว)

    https://www.faiththaistory.com/buddhabat/
    เรื่องรอยพระบาทจากข้อมูลแหล่งอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2018
  3. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    น่าจะเป็นที่นี้ มีความเป็นได้เท่าที่หาข้อมูลมา
    รอยพระพุทธบาทเขายาย “หอม” เดิมชื่อ รอยพระพุทธบาทเขายาย “เหม็น” ได้เปลี่ยนชื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่ใน ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2592 ท่านพระครูมนูญชยกิจ ได้พาพระภิกษุสามเณรออกเดินธุดงค์มาทางตำบลนายางกลัก และได้พบตาขำ อายุ 70 กับนายหมี อายุ 35 ปี คนบ้านวังตาท้าว มากราบนมัสการ ตาขำ เล่าถวายว่า บนยอดเขายายเหม็น มีรอยเท้าคนใหญ่ปรากฏอยู่ ส่วนนายหมีก็เล่ายืนยันว่ามารดาของตนเคยเล่าว่าให้ฟังว่า ตอนที่ยายของนายหมียังเล็กอยู่ ได้ติดตามผู้ใหญ่ขึ้นไปบนยอดเขายายเหม็น ได้เห็นรอยเท้าคนใหญ่อยู่พลาญหิน ข้างบ่อตาทอง รอยใหญ่มาก ต่อมาได้มาชาวบ้าน (ชาวมอญโบราณ) ที่มาทำกิน ขึ้น-ลงบนเขาอยู่เนืองๆ ได้เห็นช้างเก็บดอกไม้มาวางบริเวณนี้บ่อยๆ จึงพากันค้นหา จนพบรอยเท้าคนใหญ่เข้าก็เกิดความกลัวว่าถ้าทางหน่วยงานราชการมาพบเข้าจะทำให้พวกตนเข้ามาทำมาหากินที่นี่ลำบาก จึงพากันทุบต่อยรอยเท้าให้แตก จุดไฟเผา และนำต้นสลักไดมาปลูกเพื่อปกปิดไม่ให้ใครพบเห็น
    ต่อมาปี พ.ศ.2493 พระครูมนูญชยกิจ ทราบเรื่องราวรอยพระพุทธบาทบนเขายายเหม็น จึงได้มีหนังสือเรียนไปยังท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ วัดเพ็ชรภูมิสุวรรณ ในสมัยนั้น และได้เรียกประชุมญาติโยมบ้านชวน บ้านวังเสมา และอำเภอจัตุรัส ออกสำรวจค้นหาจนพบรอยพระพุทธบาท นิ้วเบื้องซ้ายพระบาทและปลายนิ้วเรียบเสมอกัน หันปลายนิ้วพระบาทไปทางอาคเนย์ ท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) ลงมือวัดตรวจสอบความยาว 180 เซนติเมตร ความกว้าง 75 เซนติเมตร ความลึก 45 เซนติเมตร ลักษณะหินรอยพระบาทมีสีแดง ด้านซ้ายแตกตามง่ามนิ้วพระบาท

    พระครูพินิจสมณวัตรฯ จึงได้ร่วมกับญาติโยมในอำเภอจัตุรัสและกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ ทำทางพอเป็นถนนให้ขึ้น-ลงได้ และยกที่นี่เป็นวัดพระพุทธบาทเขายายเหม็น สงวนอาณาเขตกว้าง 100 เส้น ยาว 100 เส้น มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงร่วมบอกบุญกับญาติโยม จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้นเป็นงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกๆ ปี
    หลวงพ่อทอง สุทธสีโล
    เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขายายหอม



    ประวัติความเป็นมา

    หลวงพ่อทอง สุทธสีโล วัดพระพุทธบาทเขายายหอม จ.ชัยภูมิ ศิษย์เอก “พ่อคูณ” แห่งวัดบ้านไร่

    ประวัติหลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล

    เด็กชายทองเกิดเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๙๒ บิดาชื่อนายบัว กล้าหาญ มารดาชื่อ นางภู กล่าหาญ บ้านเดิมอยู่บ้านโนนสูง ต.วังหิน อ.ประทาย จ.นครราชสีมา อุปสมบทที่วัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา พ.ศ. ๒๕๑๔ ในขณะบวชเรียนที่วัดสระแก้ว ก็ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อคูณ โดยหลวงพ่อคุณได้เห็นว่าพระทอง เป็นพระที่เงียบขรึม ไม่ค่อยพูด ค่อยจา และเป็นพระที่เรียบร้อย ว่าง่าย สอนง่าย และมีความตั้งใจฟังเมื่อหลวงพ่อกล่าวสอน เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และปฏิบัติตามได้อย่างสม่ำเสมอ จึงได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อคูณ ในการถ่ายทอดวิชา และพระคาถา รวมไปถึงการจารอักขระต่างๆ ในตะกรุด และเหรียญ หลวงพ่อคุณเห็นความตั้งใจเรียนของพระทอง พร้อมการหมั่นสาธยายมนต์ต่างๆ ที่หลวงพ่อเคยสอนไว้ เมื่อหลวงพ่อคุณเห็นว่า พระทองควรแล้วที่จะได้รับการถ่ายทอดในเรื่องการปลุกเสกพระหลวงพ่อคุณท่านก็ สอนให้หมดทุกอย่าง รวมไปถึงการนั่งสมาธิ เพื่อให้จิตรมีกำลังแน่วแน่ ก่อให้เกิดอนุภาพต่อสิ่งที่ท่านกำลังอธิษฐานจิต ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงพ่อคุณท่านเห็นว่า พระทอง ควรแล้วที่จะต้องนำวิชาทีมีออกมาใช้บำเพ็ญประโยชน์ จึงได้ให้ร่วมปลุกเสกเหรียญ หลวงพ่อคุณ ปี ๒๕๑๗ ด้วย หลวงพ่อทองจัดได้ว่าเป็นพระที่ไกล่ชิดหลวงพ่อคุณ และถือว่าเป็นพระอุปฐากรูปหนึ่ง ที่มีความไกล่ชิดหลวงพ่อคุณเป็นอย่างมาก ไม่ว่าหลวงพ่อคุณท่านจะเดินทางไปไหน จะย้ายไปจำพรรษาที่ใด ก็จะมีหลวงพ่อทองติดตามไปด้วยทุกที่ เรื่อยไป มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ท่านไมตรี บุญสูง ได้นิมนต์หลวงพ่อคุณให้ไปจำพรรษาที่วัด หาดราไวท์ จ.ภูเก็ต หลวงพ่อทองก็ได้ติดตามไปจำพรรษาอยู่ด้วย เป็นเวลา หนึ่งพรรษา และก็ได้เดินทางกลับมาที่วัดสระแก้ว อีกครั้ง พร้อมหลวงพ่อคุณ และหลังจากนั้นก็ได้ติดตามหลวงพ่อคูณไปทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดชลบุรี จังหวัดลพบุรี อ.ชัยบาดาล จ.เชียงใหม่ และสุดท้ายก็มาจำพรรษาอยู่ทีวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา และได้ช่วยพัฒนาวัดบ้านไร่ จนถึงปี ๒๕๓๓ หลวงพ่อคุณเห็นว่า พระดีๆอย่างนี้ ควรที่จะอยู่ช่วยงานศาสนา ในที่ห่างไกล และยังไม่พัฒนา จึงได้ส่งให้หลวงพ่อทองไปจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขายายหอม อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ซึ่งก็เป็นวัดที่เงียบสงบ ร่มเย็น เหมาะอย่างยิ่ง ที่จะฝึกสมาธิและเจริญภาวนาพระคาถาต่างๆ ที่ได้ร่ำเรียนมา และหลวงพ่อคุณ ก็ยังให้ลูกศิษย์ นำตะกรุดทองคำฝังแขน ตะกรุดโทน รวมไปถึงตะกรุดชายจีวร นำไปให้หลวงพ่อทอง ลงเหล็กจารอักขระให้ถึงบนวัดพระพุทธบาทเขายายหอม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานส่วนนี้น้อยนักที่จะมีท่านใดทำแทนหลวงพ่อได้ จึงนับได้ว่าหลวงพ่อทองเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อคูณรูปหนึ่ง ที่ได้รับความไว้วางใจจากหลวงพ่อคูณเป็นอย่างมาก โดยศิษย์ยานุศิษย์สายหลวงพ่อคุณทั้งหลายต่างยอมรับเช่นกันว่า หลวงพ่อทองคือพระที่หลวงพ่อคุณไว้วางใจมากที่สุด โดยเหรียญรุ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเก่ารุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะมีลายมือหลวงพ่อทองเป็นผู้ลงเหล็ก จาร ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ ๒๕๑๗ ๒๕๑๙ ๒๕๒๐ ๒๕๒๑ รวมไปจนถึงเหรียญยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเหรียญที่ออกวัดบึง วัดพายัพ วัดปรก วัดแจ้งนอก และวัดใหม่อัมพวัน ต่างก็นำไปให้หลวงพ่อทองเป็นผู้ลงเหล็กจารให้ทั้งนั้น และวัตถุมงคล ของทุกวัดที่กล่าวมานี้ จะต้องมีหลวงพ่อทอง ร่วมในพิธี พุทธาภิเษก ด้วยทุกวัด และรวมไปถึงวัตถุมงคล ของวัดบ้านไร่รุ่นล่าสุด คือกริ่งเทพวิทยาคม ที่ได้มีพิธีพุทธาภิเษกผ่านไปด้วยไม่นานมานี้ หลวงพ่อทองก็ได้ร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษกด้วยตลอด ๙ วัน.... และปัจจุบันหลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขายายหอม เมื่อปลายปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานี้เอง สิริอายุ ๖๔ พรรษา ปีนี้ ๒๕๕๖



    5%E0%B8%9E.%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87+%20%E0%B8%A5%E0%B8%9E.%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B8%93DSCF2624.jpg



    หลวงพ่อทอง สุทธสีโล ศิษย์เอก หลวงพ่อคูณ ปริสุทธ
     
  4. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    รอยพระพุทธบาทเขายาย “หอม” เดิมชื่อ รอยพระพุทธบาทเขายาย “เหม็น” ได้เปลี่ยนชื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่ใน ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2592 ท่านพระครูมนูญชยกิจ ได้พาพระภิกษุสามเณรออกเดินธุดงค์มาทางตำบลนายางกลัก และได้พบตาขำ อายุ 70 กับนายหมี อายุ 35 ปี คนบ้านวังตาท้าว มากราบนมัสการ ตาขำ เล่าถวายว่า บนยอดเขายายเหม็น มีรอยเท้าคนใหญ่ปรากฏอยู่ ส่วนนายหมีก็เล่ายืนยันว่ามารดาของตนเคยเล่าว่าให้ฟังว่า ตอนที่ยายของนายหมียังเล็กอยู่ ได้ติดตามผู้ใหญ่ขึ้นไปบนยอดเขายายเหม็น ได้เห็นรอยเท้าคนใหญ่อยู่พลาญหิน ข้างบ่อตาทอง รอยใหญ่มาก

    ต่อมาได้มาชาวบ้าน (ชาวมอญโบราณ) ที่มาทำกิน ขึ้น-ลงบนเขาอยู่เนืองๆ ได้เห็นช้างเก็บดอกไม้มาวางบริเวณนี้บ่อยๆ จึงพากันค้นหา จนพบรอยเท้าคนใหญ่เข้าก็เกิดความกลัวว่าถ้าทางหน่วยงานราชการมาพบเข้าจะทำให้พวกตนเข้ามาทำมาหากินที่นี่ลำบาก จึงพากันทุบต่อยรอยเท้าให้แตก จุดไฟเผา และนำต้นสลักไดมาปลูกเพื่อปกปิดไม่ให้ใครพบเห็น

    ต่อมาปี พ.ศ.2493 พระครูมนูญชยกิจ ทราบเรื่องราวรอยพระพุทธบาทบนเขายายเหม็น จึงได้มีหนังสือเรียนไปยังท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ วัดเพ็ชรภูมิสุวรรณ ในสมัยนั้น และได้เรียกประชุมญาติโยมบ้านชวน บ้านวังเสมา และอำเภอจัตุรัส ออกสำรวจค้นหาจนพบรอยพระพุทธบาท นิ้วเบื้องซ้ายพระบาทและปลายนิ้วเรียบเสมอกัน หันปลายนิ้วพระบาทไปทางอาคเนย์ ท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) ลงมือวัดตรวจสอบความยาว 180 เซนติเมตร ความกว้าง 75 เซนติเมตร ความลึก 45 เซนติเมตร ลักษณะหินรอยพระบาทมีสีแดง ด้านซ้ายแตกตามง่ามนิ้วพระบาท

    พระครูพินิจสมณวัตรฯ จึงได้ร่วมกับญาติโยมในอำเภอจัตุรัสและกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ ทำทางพอเป็นถนนให้ขึ้น-ลงได้ และยกที่นี่เป็นวัดพระพุทธบาทเขายายเหม็น สงวนอาณาเขตกว้าง 100 เส้น ยาว 100 เส้น มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงร่วมบอกบุญกับญาติโยม จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้นเป็นงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกๆ ปี
     
  5. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    รอยพระพุทธบาทเขายาย “หอม” เดิมชื่อ รอยพระพุทธบาทเขายาย “เหม็น” ได้เปลี่ยนชื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่ใน ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2592 ท่านพระครูมนูญชยกิจ ได้พาพระภิกษุสามเณรออกเดินธุดงค์มาทางตำบลนายางกลัก และได้พบตาขำ อายุ 70 กับนายหมี อายุ 35 ปี คนบ้านวังตาท้าว มากราบนมัสการ ตาขำ เล่าถวายว่า บนยอดเขายายเหม็น มีรอยเท้าคนใหญ่ปรากฏอยู่ ส่วนนายหมีก็เล่ายืนยันว่ามารดาของตนเคยเล่าว่าให้ฟังว่า ตอนที่ยายของนายหมียังเล็กอยู่ ได้ติดตามผู้ใหญ่ขึ้นไปบนยอดเขายายเหม็น ได้เห็นรอยเท้าคนใหญ่อยู่พลาญหิน ข้างบ่อตาทอง รอยใหญ่มาก ต่อมาได้มาชาวบ้าน (ชาวมอญโบราณ) ที่มาทำกิน ขึ้น-ลงบนเขาอยู่เนืองๆ ได้เห็นช้างเก็บดอกไม้มาวางบริเวณนี้บ่อยๆ จึงพากันค้นหา จนพบรอยเท้าคนใหญ่เข้าก็เกิดความกลัวว่าถ้าทางหน่วยงานราชการมาพบเข้าจะทำให้พวกตนเข้ามาทำมาหากินที่นี่ลำบาก จึงพากันทุบต่อยรอยเท้าให้แตก จุดไฟเผา และนำต้นสลักไดมาปลูกเพื่อปกปิดไม่ให้ใครพบเห็น ต่อมาปี พ.ศ.2493 พระครูมนูญชยกิจ ทราบเรื่องราวรอยพระพุทธบาทบนเขายายเหม็น จึงได้มีหนังสือเรียนไปยังท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) เจ้าคณะกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ วัดเพ็ชรภูมิสุวรรณ ในสมัยนั้น และได้เรียกประชุมญาติโยมบ้านชวน บ้านวังเสมา และอำเภอจัตุรัส ออกสำรวจค้นหาจนพบรอยพระพุทธบาท นิ้วเบื้องซ้ายพระบาทและปลายนิ้วเรียบเสมอกัน หันปลายนิ้วพระบาทไปทางอาคเนย์ ท่านพระครูพินิจสมณวัตร (คง ชาลีวรรณ) ลงมือวัดตรวจสอบความยาว 180 เซนติเมตร ความกว้าง 75 เซนติเมตร ความลึก 45 เซนติเมตร ลักษณะหินรอยพระบาทมีสีแดง ด้านซ้ายแตกตามง่ามนิ้วพระบาท พระครูพินิจสมณวัตรฯ จึงได้ร่วมกับญาติโยมในอำเภอจัตุรัสและกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ ทำทางพอเป็นถนนให้ขึ้น-ลงได้ และยกที่นี่เป็นวัดพระพุทธบาทเขายายเหม็น สงวนอาณาเขตกว้าง 100 เส้น ยาว 100 เส้น มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ เมื่อทำถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงร่วมบอกบุญกับญาติโยม จัดงานนมัสการรอยพระพุทธบาทขึ้นเป็นงานประจำปี ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ จนถึงวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชาของทุกๆ ปี
     
  6. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223

    สำคัญมากลูกหลานฟัง เปิดโลกเปิดธรรม จะได้เตรียมรู้ทางหนีทีไล่ เตรียมจิตเตรียมใจปฏษัติธรรม เริ่มวันไปตั้งแต่วันนี้ยังไม่สาย
     
  7. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,990
    ค่าพลัง:
    +1,223
    หลวงพ่อได้อธิบายเหตุผลเรื่องรอยพระพุทธบาทและรอยพระโพธิบาท อันเป็นดุจแสงเทียนส่องให้เกิดปัญญาตกใจมีญาณอันผ่องใส พิจารณาใคร่ครวญตามแนวทางที่ชี้แจงมานี้จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ กันความเข้าใจไขว้เขว ยุ่งเหยิงได้ และเป็นบ่อเกิดปลูกความเชื่อเลื่อมใสในองค์พระบรมโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรยต่อไป ซึ่งให้สมกับความตั้งใจของประชาชนที่ปราถนาพบประสบพักตร์ให้เห็นประจักษ์ในระยะกึ่งศาสนานี้ และจะรู้ว่าพระศรีอารย์อันเป็นองค์จริงองค์แท้นั้นอยู่ที่ไหน รู้ได้อย่างไร
    ถ้าใคร่ครวญดูให้ดี ก็พอจะมีความรู้ความเข้าใจได้ถ้าหากยังโง่เขลาเบาปัญญาบารมียังอ่อนอยู่ถึงจะชี้แจงแนะนำสั่งสอนก็คงเข้าใจยาก และเชื่อยากด้วย อาจเชื่อในองค์จริงว่าเป็นองค์ไม่จริงได้ และอาจเชื่อในองค์ที่ไม่จริงว่าเป็นจริงองค์แท้แน่นอนได้ เมื่อเรารู้ว่าเป็นองค์จริง แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามโอวาทคำสั่งสอนของพระองค์ก็ไม่ได้รับประผลประโยชน์อะไรนัก สำคัญที่เรารู้แล้วว่า “เป็นองค์จริงองค์แท้แน่แก่ใจตนจริงๆแล้ว”ต้องเข้าไปใกล้นั่งกราบไหว้เคราพบูชาสักการะ แล้วขอคำแนะนำสั่งสอนจากพระองค์ เมื่อตนพิจารณาใคร่ครวญตามเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วปฏิบัติตาม จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ตนอย่างใหญ่หลวงขอให้ประชาชนคน ทั้งปวงจงอุส่าห์พาตนให้เข้าใกล้ ให้ได้รับพระพรชัยและพระโอวาท แล้วประกาศตนเป็นโพธิบุตรทุกๆคนเถิด จงเกิดประโยชน์ โสตถิผลแก่ตน ทั้งชาตินี้และชาติหน้าต่อไปตลอดกาลนาน.
    น่าสนใจพระบาทนี้นะ
    1พระบาทเขานางเหม็น(เขาน้ำเหม็นก็เรียก คือเขาเขมรนั้นเอง เหม็น คือ เขมร ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา)
    ใครอยู่จังหวัดนครราชสีมา บ้างหรือผู้รอบรู้ช่วยนำมาบอกพวกเราด้วยเทอญ รู้ว่ามีพระบาทในจังหวัดนี้ มีอยู่ ภูเขาลูกไหนชื่อเขาเขมรหรือเขาน้ำเหม็นบ้างอยู่วัดไหน ขอให้นำมาบอกด้วย
    พวกเราน่าจะรวมตัวกันแล้วจัดรถไปกราบพระบาทกันตลอดจน ได้ไปท่องเที่ยว จ.ลพบุรี วัดถ้ำใหญ่คูหาสวรรค์ ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี บนเขาทางทิศตะวันออกจากถังน้ำใหญ่เป็นกุฏิที่พัก ถ้าจำไม่ผิดนะมีต้นกากะทิงที่พระโพธิสัตว์ศรีอารย์จะไปสำเร็จใต้ต้นไม้ชื่อนี้ปลูกอยู่หรือเรียกต้นโพธิ์เวลาสมัยนั้น และบนยอดเขามีรอยพระบาทเบื้องซ้ายถ้าจำไม่ผิดนะรอยพระโพธิบาทของพระโพธิสัตว์ ไปกราบไหว้ชมบุญบารมีและหาที่พักนอนค้างซัก 1 คืน 2 คืน ก็คงจะดีไม่น้อย
    1สุวัณณมาลิเก ที่เขาสุวรรณมาลึก
    2สุวัณณปัพพเต ที่เขาสุวรรณบรรพต
    3สุมนกูเฏ ที่ยอดเขาสุมมกูฏ
    4โยนกปุเร ที่ใกล้เมืองโยนก
    5นัมมทายนทิยา ที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา
    1รอยพระพุทธบาทที่สุวรรณมาลิก เข้าใจว่าตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่จะเป็นประเทศไหนก็เหลือเดา(แต่ทราบจากเทวบัญชา อันเจ้าพ่อหลักโลกรับมาเสนอว่าได้แก่พระบาทเขานางเหม็น จังหวัดนครราชสีมานั้นเอง)

    หรือจะที่นี้ก็น่าสนใจหรือ ที่นี้หรือนะ
    รอยพระพุทธบาทเขายาย “หอม” เดิมชื่อ รอยพระพุทธบาทเขายาย “เหม็น” ได้เปลี่ยนชื่อนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา รอยพระพุทธบาทเขายายหอม ตั้งอยู่ใน ต.นายางกลัก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ เมื่อปี พ.ศ. 2592

    ข้อมูลจากนี้ขอขอบคุณ
    http://www.danpranipparn.com/web/pratttas/pratta15.html
    นครราชสีมา มีประมาณ 31-32 แห่ง (เรายังไม่ทราบว่าจะเป็นที่ไหน)
    1 พระพุทธบาทกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    2 อุทยานพระพุทธบาทป่าหิน บ.ถ้ำเต่า ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    3 พระพุทธบาทเขาสรรพยา (ถ้ำศรีวิไล) บ.หัวโกรก ต.ดงพญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    4 พระพุทธบาทน้ำตกหินเพิง บ.คลองม่วง ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    5 พระพุทธบาทเขาสีสด ต.คลองม่วง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
    6 วัดมอจะบก(เขาเหิบ)ต.มิตรภาพ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    7 แหล่งหินตัด(อยู่ริมถนน) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    8 วัดวังกระสวย บ.วังกระสวย ต.กฤษรา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    9 วัดเขาพระนั่ง บ.ซับเจริญ ต.หนองหญ้าขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    10 วัดเสมาคีรีวนาราม ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    11 สำนักสงฆ์ถ้ำแม่กุหลาบ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    12 วัดถ้ำจำปา ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    13 พระพุทธบาทบ้านถ้ำมังกร ต.วังโรงใหญ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
    14 พระพุทธบาทวัดโกรกเดือนห้า บ้านโกรกเดือนห้า ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    15 พระพุทธบาทวัดเขาตะกรุดลัง ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    16 พระพุทธบาทที่พักสงฆ์เขาเทพบุตร ต.อุดมทรัพย์ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
    17 พระพุทธบาทวัดป่าเซตวัน บ้านโคก ต.สระแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    18 พระพุทธบาทวัดภูวังทองศลาอาสน์ บ้านซับคุ้ม ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    19 พระพุทธบาทวัดเสาเดี๋ยว(เขาภูหลวง)ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
    20 พระพุทธบาทวัดซับยาง ต.ครบุรี อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    21 พระพุทธบาทวัดป่ามหาวัน ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    22 พระพุทธบาทวัดเขาน้อยมูลบน บ้านมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    23 พระพุทธบาทจอมทอง บ้านตลิ่งชัน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    24 พระพุทธบาทวัดสุวรรณบรรพต(ถ้ำวัวแดง)บ้านเฉลี่ยงโคก ต.เฉลียง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    25 พระพุทธบาทวัดถ้ำเขาแกลบ ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    26 พระพุทธบาทวัดป่าเขาคงคา บ้านโนนระเวียง ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    27 พระพุทธบาทสำนักสงฆ์ถ้ำพระ-เขาเต่า ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา
    28 พระพุทธบาทวัดเขาชาด ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    29 พระพุทธบาทวัดใหม่สันติ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    30 น้ำตกวะภูแก้ว บ.วะภูแก้ว ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    31 พระพุทธบาท 4 รอย หน้าปั้มน้ำมันพี.ที.(บ.คลังเจริญโคราช) ถ.มิตรภาพ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    32 วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก วัดเขาพริก พระพุทธบาทวัดเขาพริก หมู่7 ตำบลบ้านไผ่ อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
     
  8. แว่นธรรม

    แว่นธรรม สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +11
    รอยพระพุทธบาท ถือเป็นพุทธานุสติ ระลึกนึกถึงตถาคต :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...