เยือน"กาฬสินธุ์" เบิ่งของดีเมืองน้ำดำ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 10 สิงหาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>9 สิงหาคม 2549 17:38 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระประธานในอุโบสถวัดพุทธนิมิต และภาพแกะสลักพุทธประวัติบนฝ้าเพดาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "จังหวัดกาฬสินธุ์" หรือ"เมืองน้ำดำ" (กาฬ แปลว่า ดำ สินธุ์ แปลว่า น้ำ) เป็นอีกหนึ่งเมืองที่มีชื่อเสียงทางภาคอีสาน และกำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ คน เหตุอาจจะเป็นเพราะด้วยกำลังหลงเสน่ห์การแสดงของ "วงโปงลางสะออน" ที่มีอี๊ด ลูลู่และลาล่า ที่ออกมาวาดลวดลายการแสดงดนตรีโปงลางอย่างสนุกสนาน พร้อมกับการแสดงความเป็นคนอีสานได้อย่างน่าชื่นชม

    ทำให้กาฬสินธุ์เริ่มมีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจอยากจะเดินทางมาศึกษาและเที่ยวชมเมืองให้มากกว่านี้ ซึ่งอันที่จริงแล้วเมืองน้ำดำแห่งนี้ มีศิลปวัฒนธรรมอีสาน แหล่งอารยธรรมโบราณที่น่าศึกษา และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าตื่นตาตื่นใจชวนให้มาสัมผัสมากมาย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หุ่นจำลองไดโนเสาร์ยืนทักทายนักท่องเที่ยวก่อนถึงทางเข้าอาคารหลุมขุดค้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อย่างที่ทริปเที่ยวในครั้งนี้"ผู้จัดการท่องเที่ยว" ก็ขอเลือกที่จะเดินทางเยือนยังเมืองกาฬสินธุ์ เพื่อมาชมของดีที่ซ่อนอยู่ โดยพุ่งตรงไปดูของดีเปิดทริปเที่ยวที่แรกกันที่ "อุทยานโลกไดไนเสาร์ภูกุ้มข้าว" ที่ตั้งอยู่บริเวณ เชิงเขาภูกุ้มข้าว วัดป่าสักกะวัน อ. สหัสขันธ์ ซึ่งที่นี่เป็นแหล่งค้นพบซากกระดูกไดโนเสาร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน

    สำหรับการค้นพบซากไดโนเสาร์นั้นเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2513 เมื่อพระครูวิจิตร สหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ได้พบกระดูกชิ้นใหญ่ในบริเวณวัด แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไรคิดว่าเป็นไม้กลายเป็นหินจึงเก็บรักษาไว้ กระทั่งปีพ.ศ. 2521 เมื่อนักธรณีวิทยาและคณะจากกรมทรัพยากรธรณี ได้เดินทางมาสำรวจธรณีวิทยาบริเวณนี้ และพบตัวอย่างกระดูกไดโนเสาร์ที่เก็บไว้ในวิหารวัดสักกะวัน ต่อมาพ.ศ. 2523 คณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส ได้นำกระดูก 3 ท่อน ไปศึกษาพบว่าเป็นกระดูกส่วนขาหน้าของไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropod) จนกระทั้งปีพ.ศ. 2537 จึงได้ทำการสำรวจขุดค้น และอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภายในอาคารจัดแสดงหลุมขุดค้นที่พบซากไดโนเสาร์</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมื่อนักท่องเที่ยวอย่างเรามาเยือนถึงหลุมขุดค้น ที่สร้างเป็นอาคารโถงใหญ่ครอบไว้แล้วก็ต้องตะลึงกับซากไดโนเสาร์ ที่ถูกค้นพบในชั้นหินทรายหมวดเสาขัว( Sao Khua Formation) ยุคครีเทเชียส ตอนต้น (Early Cretaceous) มีอายุเก่าแก่กว่า 130ล้านปี ซึ่งภายในหลุมขุดค้นนี้มีซากไดโนเสาร์กว่า 700 ชิ้น จากไดโนเสาร์อย่างน้อย 7 ตัว โดยมีโครงกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropod) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่ถือว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่ขุดค้นพบมาในประเทศไทย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพุทธนิมิตเป็นพระนอนตะแคงซ้ายไม่มีเกตุมาลา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ยังพบฟัน และส่วนของหัวกะโหลกหลายชิ้น ทำให้ทราบว่าในแหล่งนี้มีไดโนเสาร์ 4 ชนิดคือ ไดโนเสาร์ซอโรพอด 2 ชนิด ชนิดหนึ่งคือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwianggosaurus sirindhornae) และอีกชนิดหนึ่งกำลังอยู่ในระหว่างวิจัย อีก 2 ชนิด เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ ขนาดใหญ่ โดยพบฟันซึ่งเป็นของไดโนเสาร์ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ และ สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส

    เราใช้เวลาเดินดูซากไดโนเสาร์และเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ที่ทางพิพิธภัณฑ์จัดแสดงไว้ให้ชมจนสมควรแก่เวลา ได้รับทั้งความรู้และความสนุกสนานเกี่ยวกับไดโนเสาร์กลับไปเต็มสมองแล้ว ก็ออกเดินทางไปสงบจิตสงบใจกันที่ "วัดพุทธนิมิต" (ภูค่าว) ซึ่งเมื่อ "ผู้จัดการท่องเที่ยว" มาถึงบริเวณวัดก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศของความร่มรื่น เงียบสงบ ชวนให้จิตใจสงบเอามาก

    จากนั้นเราก็รีบเดินตรงดิ่งไปสักการะ"พระไสยาสน์ภูค่าว" ที่ประดิษฐานยื่นอยู่ใต้เพิงหินผนังถ้ำ ลักษณะเป็นภาพสลักนูนต่ำสูงขึ้นมาจากแผ่นหิน แถมยังมีมีพุทธลักษณะแปลกแตกต่างกับพุทธไสยาสน์ทั่วไปคือ นอนตะแคงซ้ายและไม่มีพระเกตุมาลา ซึ่งสันนิษฐานว่าศิลปินผู้สร้างคงไม่ได้คำนึงว่าการสร้างรูปพระนอนโดยตะแคงขวาหรือซ้ายเป็นเรื่องสำคัญ แต่คำนึงถึงทิศทางหันพระเศียรให้อยู่ค่อนไปทางทิศเหนือซึ่งเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

    และหลังจากที่ไหว้พระขอพรเป็นที่เรียบร้อย เราก็เดินสำรวจดูสิ่งที่น่าสนใจในวัดกันต่อที่"วิหารสังฆนิมิต" ที่พอเดินเข้าไปภายในก็ต้องตกตะลึงกับภาพที่เห็นคือ มีพระพุทธรูปปางต่างๆ พระพิมพ์จากรุต่างๆ จากทั่วประเทศประดับประดาอยู่เต็มบนผนังภายในวิหาร ดูแล้ววิจิตรตระการตาเป็นยิ่งนัก เรียกว่าหากใครที่เป็นเซียนพระเครื่องเมื่อเข้ามายังวิหารแห่งนี้ต้องหูตาร้อนกันเป็นแถว (เพราะอยากได้)

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>การทอผ้าไหมแพรวาที่ยังคงสืบทอดมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พอออกจากวิหารพระเครื่องแล้วเราก็มาสะดุดตากับพระอุโบสถไม้แกะสลักที่ตั้งตระหง่านโดนเด่นสวยงามเชิญชวนให้เข้าไปดูเป็นยิ่งนัก และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ จะเห็นได้ถึงความยิ่งใหญ่ลังการของพระอุโบสถที่สร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ (ที่ได้มาจากใต้เขื่อนลำปาว) ลักษณะเป็นพระอุโบสถแบบเปิด ผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบภาคกลางและภาคเหนือประยุกต์ได้อย่างกลมกลืนสวยงามมาก

    เมื่อเดินเข้าไปภายในพระอุโบสถเรายิ่งได้เห็นถึงความวิจิตรงดงามของภาพการแกะสลักลวยลายไทยเป็นภาพ 3 มิติ อยู่โดยรอบตัวพระอุโบสถ ไม่ว่าจะเป็นหน้าต่าง บานประตู รวมไปถึงตามผนังด้านบนมีการแกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ และตรงกลางพระอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐาน "พระมงคลชัยสิทธิ์ฤทธิ์ประสิทธิ์พร" ไว้ให้ได้กราบไหว้ขอพรกันก่อนที่จะขอตัวออกจากวัด เพื่อเดินทางต่อไปยังบ้านโพนแหล่งท่องเที่ยวที่รอเราอยู่ข้างหน้า

    ที่บ้านโพน อ.คำม่วง แห่งนี้เป็นสถานที่ตั้งของ "ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไท ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน" ที่นี่ถือว่าเป็นสถานที่ที่ทำให้เราได้ศึกษาถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านโพน ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวผู้ไท (ผู้ไทย) ที่เมื่อกว่าร้อยปีก่อนเคยมีถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณสิบสองปันนาและได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในกาฬสินธุ์นานมาแล้ว

    โดยเมื่อเราเข้ามาที่ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไทนี้ เราจะได้เห็นถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวผู้ไทบ้านโพน ตั้งแต่การได้ดูที่อยู่อาศัยของเรือนผู้ไทแท้ ปลูกสร้างด้วยไม้ หลังคามุงแป้นเกล็ดหรือกระเบื้องไม้ ตัวเรือนยกพื้นสูง มีบริเวณใต้ถุนเรือนเป็นที่พักผ่อน ทำกิจกรรมอย่างการทอผ้า ทำหัตถกรรมสานไม้ไผ่เป็นของใช้ ส่วนชั้นบนแบ่งเป็นเรือนย่อยคล้ายเรือนไทยภาคกลางและมีนอกชาน สำหรับเรือนผู้ไทนี้นอกจากหจะเป็นเรือนสาธิตวิถีชีวิตชาวผู้ไทยในลักษณะพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าพักค้างคืนได้อีกด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ลักษณะเรือนผู้ไท ปลูกสร้างด้วยไม้ ใต้ทุนสูง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> และอีกหนึ่งสิ่งที่ถือว่าเป็นไฮไลต์ของที่ศูนย์แห่งนี้ก็คือ การที่เราได้ชมการทอ "ผ้าไหมแพรวา" ซึ่งเป็นผ้าไหมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวกาฬสินธุ์และสร้างชื่อเสียงให้เป็นอย่างมาก เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับเอากลุ่มทอผ้าไหมแพรวาไว้ในโครงการศิลปาชีพ และทรงส่งเสริมสนับสนุนจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในไทยและต่างประเทศ

    คำว่า "แพรวา" นั้น แพร หมายถึงผ้าผืนที่ยังไม่ได้ตัดเย็บ วา หมายถึง ความยาว 1 วา "ผ้าไหมแพรวา" จึงหมายถึง ผ้าไหมผืนที่มีความยาวขนาด 1 วา ลักษณะเป็นผ้าผืนสีแดงครั่ง ทอลวดลายหรือขิดต่าง ๆ ไว้ในผืนเดียวกันได้หลายลาย ส่วนมากเป็นลายสัตว์ ดอกไม้ ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านผู้ไทบ้านโพน ทอผ้าแพรวาไว้ใช้เป็นผ้าสไบเฉียง ใช้คลุมไหล่ และคลุมผม ในโอกาสงานเทศกาล งานประเพณี หรืองานสำคัญต่างๆ

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=230 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=230>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ความวิจิตรงดงามของผ้าไหมแพรวาอันเป็นเอกลักษณ์ของจ. กาฬสินธุ์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กระทั่งปัจจุบันนี้มีการเพิ่มสีสันให้กับผ้าและประยุกต์ลวดลายให้สวยงามมากยิ่งขึ้น เพื่อทอขายเป็นสินค้าโอทอปให้กับนักท่องเที่ยว แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความประณีตและสวยงามของผ้าไหมแพรวา ฉะนั้นการซื้อผ้าไหมแพรวาไปสักผืนจึงไม่ใช่แต่เพียงการช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายผ้า แต่ยังถือว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์งานศิลปหัตกรรมการทอผ้าไหมแพรวา ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านที่สืบทอดต่อมากันจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลานให้ดำรงสืบต่อไปตราบนานเท่านาน

    แล้วการเดินทางท่องเที่ยวชมของดีที่จ. กาฬสินธุ์ของ "ผู้จัดการท่องเที่ยว" ก็สิ้นสุดลงแต่เพียงเท่านี้ ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเป็นที่สุดเพราะได้รับทั้งความรู้ ความสนุก และประสบการณ์แปลกใหม่ ที่หาไม่ได้จากการดูทีวี หรือนั่งชมแผ่นสารดีวีซีดีอยู่ที่บ้าน เพราะว่าการเดินทางมาเที่ยวมาชมด้วยด้วยเองนั้นมีสีสันสวยงาม และเกิดความประทับใจมากกว่าเป็นไหนๆ นะจะบอกให้

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    การเดินทางไปจ.กาฬสินธุ์ ใช้เส้นทาง กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา (ทางหลวงหมายเลข 2) ถึงอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 23 และทางหลวงหมายเลข 213 มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ ระยะทาง 519 กม.

    "ภูกุ้มข้าว" เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.30 น. โทร. 0-4387-1014 "วัดพุทธนิมิต" (ภูค่าว) เปิดทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น. "ศูนย์วัฒนธรรมผู้ไท (ผู้ไทย) ผ้าไหมแพรวาบ้านโพน" โทร. 0-4385-6204 สอบถามรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวจ. กาฬสินธุ์เพิ่มเติมได้ที่ สนง. ททท. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 3 โทร. 0- 4324-4498-9
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000101409
     

แชร์หน้านี้

Loading...