หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญพโล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 28 ตุลาคม 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญพโล

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left></TD><TD class=date vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=144 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=144>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญพโล</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เดิมชื่อ ปิ่น บุญโท เป็นน้องชายของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    เกิดปีมะโรง เดือน 4 วันพฤหัสบดี ณ บ้านหนองขอน ตำบลหัวทะเล อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ เพี้ยอัครวงศ์ (อ้วน) ซึ่งเป็นตำแหน่งข้าราชการของเมืองเวียงจันทน์ และนางหล้า บุญโท

    ท่านเกิดมาท่ามกลางวงศ์ตระกูลที่อุดมสมบูรณ์ ท่านมีความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก มีความจำดี จดจำคำสอนของพ่อแม่ได้ขึ้นใจ รู้สิ่งใดควรไม่ควร เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนไม่เคยละเมิด มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง

    พ่อแม่ของท่านมีความเข้าใจพิธีกรรมและหลักปฏิบัติเกี่ยวกับพระสงฆ์ได้อย่างถูกต้อง อยากเห็นอนาคตของลูกก้าวหน้า จึงตั้งใจให้บวชเรียน

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ดังนั้น เพี้ยอัครวงศ์(อ้วน) และ นางหล้า จึงส่งเสริมให้บรรพชา อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ให้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในบวรพุทธศาสนา เป็น พระภิกษุปิ่น ปญฺญพโล

    ท่านขวนขวายสนใจศึกษาเล่าเรียน ด้วยความพากเพียร ได้ออกเดินทางจาก จังหวัดอุบลราชธานี เข้าไปอยู่จำพรรษาตามวัดต่าง ๆ หลายวัดในกรุงเทพฯ เคยจำพรรษาอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนหาความรู้อย่างทุ่มเทชีวิต ความมุมานะอดทนทำให้ท่านสอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก จนกระทั่งได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ตามลำดับ ท่านมีความเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างดี

    ครั้งหนึ่ง ท่านเคยเดินทางติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (พี่ชาย) ซึ่งกำลังศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ไปฟังธรรมและรับคำแนะนำจากพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรราฐาน คือ หลวงปู่มั่น ทำให้ท่านเกิดความสนใจ การศึกษาแบบปฏิบัติมากกว่าการศึกษาแบบปริยัติ ทำให้ตัดสินใจจากการเรียนปริยัติมาเป็นพระธุดงค์ ได้ปฏิญาณว่า จะขอศึกษาปริยัติอีกสัก 5-6 ปี แล้วจะออกปฏิบัติตาม หลังจากนั้น จึงไปจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร

    เมื่อ พระมหาปิ่น สำเร็จการศึกษาตามที่ปฏิญาณไว้แล้ว ก็ได้เดินทางกลับมา จังหวัดอุบลราชธานี มาพักที่วัดสุทัศนาราม ได้เป็นครูสอนนักธรรมบาลีแก่พระภิกษุ สามเณร ตลอดจนชาวบ้าน เพื่อสนองคุณครูบาอาจารย์ 1 พรรษา ต่อมา ท่านได้รับฟังคำย้ำเตือนจาก พระอาจารย์สิงห์ ผู้พี่ ซึ่งไปขอคำปรึกษาอุบายธรรมจาก หลวงปู่ดุลย์ อตุโล มากล่อมใจพระน้องชายว่า หากต้องการพ้นทุกข์ จะมาหลงปริยัติเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะ ปริยัติธรรมนั้น เป็นเพียงแผนที่แนวทางเท่านั้น

    ดังนั้น เมื่อออกพรระษา ท่านจึงชักชวนสหธรรมิกอีก 3 รูป ออกธุดงค์ ประกอบด้วย พระอาจารยคำพวย พระอาจารย์ทอน และพระเทศก์ เทสรํสี รวมกันเป็น 4 รูป พร้อมกันเข้านมัสการพระอุปัชฌาย์ลาออกธุดงค์ จากนั้น ก็เข้านมัสการลา ท่านเจ้าคุณพระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑล

    พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล จึงเป็นพระเปรียญรูปแรกที่ออกเที่ยววิเวกธุดงค์เมื่อท่านมีอายุ 30 ปี ในพรรษาที่ 8 ท่านมุ่งปฏิบัติธรรมอย่างมั่นคง จากวัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และ ดงมูล ดงลิง มาถึงจังหวัดอุดรธานี กินเวลา 3 เดือนเต็ม เมื่อถึงจังหวัดอุดรธานีแล้ว ท่านได้ขอปลีกตัวเข้าเทือกเขาภูพาน อันสงบสงัดจากผู้คนโดยมิใยดีต่อคำปรารภของ ท่านเจ้าคุณพระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑล ที่ต้องการให้ท่านมาเป็นหลัก ตั้งคณะธรรมยุตที่จังหวัดอุดรธานี

    ท่านได้เดินทางต่อไป ผ่านบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พอดีกันกับที่หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และบรรดาพระคณาจารย์ทั้งหลายได้มาร่วมประชุมกันที่นี่ ซึ่งหลวงปู่มั่น ท่านได้วางแผนแนวคำสอนทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ไว้ เพื่อให้คณาจารย์สายของท่านมีการสอนให้เป็นแนวเดียวกัน คือ สำหรับบรรพชิต ให้สอนตรงต่ออริยสัจ มีการพิจารณากายเป็นเบื้องต้น ส่วนฆราวาสนั้น ท่านเน้นให้พยายามแก้ไขความเชื่อแบบงมงายต่าง ๆ เช่น การนับถือภูตผีปีศาจ แนวทางดังกล่าวนี้ ได้ถูกกำหนดให้เป็น แนวทางถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ต่อจากนั้น พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ได้ดำเนินการปฏิบัติธรรมอย่างได้ผล และได้ทราบถึงการที่ หลวงปู่มั่น สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ตลอดจน ปัจจุบันนังสญาณ แล้ว ท่านจึงเลิกทิฐิว่าตนเองรู้มากเรียนมามาก จนถึงขั้น เปรียญ 5 ประโยค หันมาเชื่อฟัง ยอมรับปฏิบัติตามโอวาทของ หลวงปู่มั่น ด้วยดี

    เนื่องจาก พระอาจารย์มหาปิ่น มีความรู้มากด้านปริยัติธรรม ท่านจึงมองเห็นแก่นธรรมด้วยจิตใจ หากมีสิ่งใดสงสัยติดขัด ท่านจะรีบเข้าสอบถามเพื่อแก้ไขโดยเร็วไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นภัย ท่านจึงจดจำคำแนะนำสั่งสอนอุบายธรรมในการปฏิบัติธรรม ของ หลวงปู่มั่น เป็นอย่างดี และได้เคยร่วมเดินธุดงค์ติดตามพระผู้ใหญ่ อันประกอบด้วย หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทศก์ เทสรํสี หลวงปู่สุวรรณ สุจิณฺโณ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ไปที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีสถานที่วิเวกเหมาะแก่การเจริญกรรมฐาน คือ วัดป่าอรัญวาสี ในปัจจุบัน

    พระมหาปิ่น ปญฺญพโล มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างจริงจัง คือ ลุกขึ้นตั้งแต่ 03.00 น. เดินจงกรม 1 ชั่งโมง แล้วนั้งสมาธิจนสว่าง จากนั้นก็จะไป ปรนนิบัติ หลวงปู่มั่น ถวายน้ำบ้วนปาก ไม้สีฟัน ปัดกวาดบริเวณห้องนอน เก็บบาตรจีวรมาที่ศาลา แล้วจากนั้นจึงออกบิณฑบาต ด้วยการ กำหนดสติไม่ให้เผลอ เวลานั่งฉันก็สำรวมสติอยู่แต่ในบาตร และจะพิจารณาปฏิสังขาโยจนสติแน่วแน่จึงฉันจังหัน เมื่อเสร็จกิจวัตรแล้ว ต้องเข้าที่เดินจงกรมอีกประมาณ 1 ชั่งโมงเศษ แล้วจึงพักกลางวันพอสมควร จากนั้นจึงมีการประชุมกวาดลานวัด ทำความสะอาดทั่วบริเวณ ต่อจากนั้นจึงไปถวายน้ำสรงหลวงปู่มั่น อุปัฏฐากท่านตามควร แล้วมาเดินจงกรมรักษาสติ จนถึง 2 ทุ่ม จึงมาประชุมนั่งฟังธรรมรับโอวาทเกี่ยวกับการปฏิบัติ จนถึงเวลา 23.00 น. จึงแยกกันกลับไปปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิ ณ ที่อยู่ของตน

    พระมหาปิ่น ได้ติดตาม พระอาจารย์สิงห์ (พี่ชาย) พร้อมด้วยหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรม อีกทั้งก่อสร้างเสนาสนะเพื่อปฏิบัติธรรม เฉพาะที่จังหวัดขอนแก่นรวมได้ถึง 60 แห่งเศษ โดยเฉพาะที่ ป่าช้าบ้านพระ ได้กลายเป็นที่ชุมนุมฟังธรรม และปฏิบัติธรรมของบรรดาชาวบ้าน ทั้งจากที่ใกล้และไกล ด้วยชื่นชอบศรัทธาว่าท่านเป็นพระที่มีความสามารถทั้งทางด้านปริยัติและปฏิบัติ

    ธรรมโอวาท โดยสรุป ของ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ความธรรมจะเกิดขึ้นกับจิตใจได้จริง ถ้าเราตั้งใจ แต่จิตใจของบุคคลปกตินั้น มีกำลังอ่อน จึงไม่สามารถจะกำจัดความชั่วอันเป็นมารที่มีอารมณ์เป็นอาวุธ ซึ่งเข้ามา รบกวนจิตใจได้

    ผู้ปรารถนาจะต่อสู้กับกิเลสมารภายใน จำต้องทำศรัทธาความเชื่อให้เกิดขึ้น ด้วยการพิจารณาจับเหตุจับผลสอดส่องแสวงหาความจริง แล้วกำจัดความไม่เชื่อให้เสื่อมสูญไป คือ

    1. ความเชื่อเมื่อเกิดขึ้น เป็นกำลังกล้า ก็ได้ชื่อว่า เป็น ศรัทธาพละ
    2. ทำความเพียรให้เกิดขึ้น กำจัดความเกียจคร้านเสียได้ เมื่อความเกียจคร้านไม่มีเข้ามาครอบงำใจ ก็เป็นวิริยะ ความบากบั่น หรือ ความเพียรนี้ เมื่อมีกำลังกล้าก็เป็นวิริยะพละ
    3. ทำสติความระลึกได้ให้เกิดมีขึ้น กำจัดความหลงลืมสติให้เสื่อมไป เมื่อมีกำลังแก่กล้า ก็เป็น สติพละ
    4. ทำใจให้มั่นคงไม่คลอนแคลน กำจัดความฟุ้งซ่านเสียได้ เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็นสมาธิพละ
    5. ทำความพิจารณาตามความเป็นจริงในอารมณ์ที่ได้ประสบพบเห็น เป็นเครื่องกำจัด ความรู้ผิดเห็นผิดให้เสื่อมหายไป เมื่อมีกำลังกล้า ก็เป็น ปัญญาพละ

    ฉะนั้น ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา จึงเป็นธรรมดาที่มีอุปการะเป็นเครื่อง อุดหนุนใจ เพื่อเป็นกำลังเข้าต่อสู้กับข้าศึกภายในใจของตนเสียได้ ก็ถึงความเป็นใหญ่เป็นไทแก่จิตใจของบุคคลนั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ กิเลสมารย่อมสงบไม่เกิดขึ้นครอบงำ จิตใจอีก ผู้ปฏิบัติเท่านั้น จะได้ชื่อว่า เป็นผู้รู้

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ เพราะทรงทำความเป็นผู้รู้ให้เกิดมีขึ้นด้วยอาศัยพละ ตลอดจนถึงอินทรีย์เป็นลำดับ ด้วยประการฉะนี้

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงสั่งสอนโปรดเวไนยสัตว์ว่า

    อคติ แปลว่า ความลำเอียง พระพุทธองค์ทรงจัดเป็นสิ่งที่เป็นบาปทางใจ คือ

    1. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความพอใจ
    2. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความโกรธเคือง
    3. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความหลง
    4. ท่านไม่ลุอำนาจด้วยความกลัว

    เพราะ บาปทางใจนี้ คือ อคติทั้ง 4 ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ธรรมบทนี้ เมื่อไม่ลุอำนาจด้วยอคติ ทั้ง 4 แล้ว ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องสำรวมระวัง พยายามปรารภความเพียร ชำระสิ่งที่เป็นบาปเหล่าน ี้มิให้ครอบงำจิตใจของท่าน

    นอกจากนี้แล้ว พระพุทธเจ้ายังทรงชี้ เหตุแห่งความฉิบหายของโภคสมบัติอีก 6 ประการ คือ

    1. ไม่ให้ดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทและความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์สมบัติ
    2. ไม่ให้เที่ยวกลางคืน
    3. ไม่ให้เที่ยวดูการเล่น
    4. ไม่ให้ประกอบการเล่นการพนัน
    5. ไม่ให้คบคนชั่วเป็นมิตร
    6. ไม่ให้ประกอบไว้ซึ่งความเกียจคร้านเนือง ๆ

    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีว่า ผู้มีศีล มีธรรม แม้จะใช้ชีวิตเป็นฆราวาสก็อยู่ด้วยความสันติสุข ไม่มีกิเลสเครื่องหยาบ ๆ ทะเลาะเบาะแว้งกัน ย่อมตั้งอยู่ใน สังคหวัตถุ 4 ประการ คือ

    1. ทาน การให้
    2. ปิยวาจา วาจาอันไพเราะ
    3. อัตถจริยา ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่โลก
    4. สมนัตตตา ความมีตนเสมอในบุคคลนั้น ในธรรมนั้น ๆ ไม่เป็นผู้ถือตัว

    ดังที่ท่านได้แสดงไว้ใน ทิศ 6 นั้นเอง คือ

    1. อาจารย์กับศิษย์ ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
    2. มารดาบิดากับบุตร ก็เคารพบำรุงซึ่งกันและกัน
    3. สามีภรรยา ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
    4. เพื่อนกับมิตร ก็สงเคราะห์บำรุงซึ่งกันและกัน
    5. นายกับบ่าว ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน
    6. สมณพราหมณ์กับกุลบุตร คือ อุบาสก อุบาสิกา ก็บำรุงสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน

    ท่านอริยะย่อมอยู่เป็นสุขก็เพราะมีธรรมเป็นที่พึ่งและที่อาศัย ดังต่อไปนี้

    1. สักกายทิฐิ ไม่เห็นกายเป็นตน ไม่เห็นตนเป็นกาย ไม่เห็นกายมีในตน ไม่เห็นตนมีในกาย เหล่านี้เป็นต้น เช่น ใน เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็เหมือนกัน
    2. วิจิกิจฉา ท่านข้ามทิฐิทั้ง 2 ได้แล้ว เชื่อต่อกรรม และ ผลของกรรม
    3. สีลัพพตปรามาส ท่านเป็นผู้ไม่ถอยหลัง มีแต่เจริญก้าวหน้าไปจนถึงที่สุด

    ท่านพิจารณาเห็นแล้วในสัจธรรมตามเป็นจริงว่านี่ทุกข์ นี่เหตุให้เกิดทุกข์ นี่คือธรรม เป็นที่ดับทุกข์ นี่คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรม อันเป็นที่ดับทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ดังนี้

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญพโล เป็นพระมหาเปรียญรูปแรก ที่มีการศึกษา ปริยัติธรรม ทรงจำไว้มาก แล้วหันมาสนใจปฏิบัติธรรมออกธุดงค์รอนแรมไปยังถิ่น ธุรกันดาร เพื่อแสวงหาความหลุดพ้น อย่างไม่สนใจใยดีต่อ ลาภ ยศ สักการะ แม้ท่านสามารถที่จะสามารถตักตวงได้ แต่กลับไม่แยแส จนกลายมาเป็น พระนักปฏิบัติ นักแสดงธรรม สู่เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา จนเป็นที่ยอมรับเคารพนับถือของท่านผู้ใฝ่ในการปฏิบัติธรรม

    ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มี ศีลาจารวัตรที่ดีงาม ท่านได้ปฏิบัติตนสมกับคำสวดพรรณนาคุณของพระสงฆ์ หรือ สังฆคุณ ที่ว่า

    สุปฏิปนฺโน อุชุปฏิปนฺโน ญายปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน อาหุเนยฺโย
    ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺต โลกสฺส โดยแท้


    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2545 16:13 น.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=6000000054095
     

แชร์หน้านี้

Loading...