เรื่องเด่น หนุ่มสาวตั้งโจทย์!พุทธต้องไม่น่าเบื่อ-ฝึกกรรมฐานทางมือถือได้

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    112869_th.jpg

    หนุ่มสาวตั้งโจทย์!พุทธต้องไม่น่าเบื่อ-ฝึกกรรมฐานทางมือถือได้


    “TED TALK”วิสาขบูชาโลก ประจำปี 2561 ที่ “มจร”

    วันที่ 26 พฤษภาคม 2561 ผู้สื่อข่่าวรายงานว่า การประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2561 และเนื่องในโอกาสสดุดีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในฐานะพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม ภายใต้หัวข้อ “พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์” โดยมีผู้นำชาวพุทธ นักวิชาการ เข้าร่วม 85 ประเทศ กว่า 3,000 รูป/คน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีการจัดรูปแบบการจัดกิจกรรมต่างจากการจัดงานที่ผ่านที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงการกล่าวสุนทรพจน์และช่วงที่นักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกนำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ แบบ “TED TALK” โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 กลุ่ม คือ

    (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare)


    ทั้งนี้พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้ถอดความถ่ายทอดทางเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat ความว่า ได้ ร่วมฟังการศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชนในงานของพระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชนโดยยกการพัฒนาสามเณรช่อสะอาดความว่า ไม่มีอื่นใดยิ่งไปกว่าความสงบสุข เราต้องกระตุ้นให้เยาวชนเราพัฒนาภายในใจ ซึ่งวิศวกรสร้างวัตถุมีเยอะแต่เราไม่มีการสร้างวิศวกรสันติภาพด้วยการเยาวชนช่อสะอาด จึงมีโอกาสไปลงพื้นที่ด้วยการพัฒนากาย พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา ตามแนวทางภาวนา ๔ ด้วยการสร้างสติให้เยาวชน ด้านทางกาย เป็นการพัฒนาสติ ด้วยเครื่องมือในการส่งเสริมสติ ฝึกให้เยาวชนวางตัวให้เหมาะสม และฝึกการเดินธุดงค์ด้วยการฝึกความอดทน เมื่อเด็กผ่านการพัฒนาทำให้แม่ได้ของขวัญชิ้นใหม่ในชีวิต การทำงานครั้งนี้ถือว่าฉันเกิดมาเพื่อรับใช้มนุษยชาติ เพื่ออุทิศชีวิตให้พระพุทธศาสนา เราจึงต้องไม่มีตัวตัวในการทำงาน ทำเพื่อให้คนอื่น การพัฒนาสติถือเป็นการพัฒนาเยาวชนผ่านกระบวนการพระพุทธศาสนาที่ดีที่สุด

    เยาวชนมีความคิดสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน การใช้เวลากับเทคโนโลยีเพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลง เราจึงไม่ควรมองเยาวชนในแง่ลบ แต่เราสร้างความเข้าใจและสนับสนับสนุนในความต้องการเหมือนพระพุทธเจ้าให้พลังกับโลกใบนี้เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนของเราเป็นคนทีมีความสุขและและประสบความสำเร็จเช่นสติปจ๊อป เปลี่ยนแปลงโลกใบนี้เราจะช่วยให้เยาวชนบรรลุความฝันได้อย่างไร? ด้วยการให้เยาวชนลงทำด้วยตัวของเขาเอง ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่าเขาควรกตัญญูกับสังคมสิ่งแวดล้อม เราจึงให้เยาวชนมีค่ายการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อสร้างความเป็นผู้นำการมีสติ สติจึงเป็นเครื่องมือสำหรับเยาวชนเราจึงสร้างminsetให้เยาวชนของเราให้ใช้มิติพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิต เราจึงควรสนับสนุนมิใช่ไปบังคับเยาวชน

    เราจะทำให้เยาวชนมีพลังในการศึกษาอย่างไร? เพราะปัจจุบันมีสิ่งยั่วยวนมากมาย เราต้องใช้คำสอนพระพุทธเจ้าไปบูรณาการทุกกิจกรรมให้เยาวชนตระหนัก เราจึงต้องมีโครงการสร้างสรรค์เยาวชนผ่านพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเยาวชนที่มีปัญหาเราต้องดึงเขาขึ้นมาเป็นเยาวชนที่ดี ส่วนเยาวชนที่ดีเราก็สนับสนุนเสริมสร้างให้เขาเป็นคนมีแรงบันดาลใจเครื่องป้องกันเยาวชนคือการตระหนักในศีล ๕ เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เราจึงต้องทำให้พระพุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต มีเยาวชนคนหนึ่งเดินทางไปรอบโลกเพื่อเรียนรู้โลก ไปขอพักจากบ้านต่างๆ ทำให้ได้รับฟังบุคคลต่างๆ เครื่องมือคือการฟังคนอื่น แต่ละคนมีเรื่องราวมากมายเราต้องที่จะฝึกคนอื่น ทำให้เรียนรู้ชีวิตผ่านการฟัง ทั่วโลกเปิดประตูต้อนรับเราเสมอตอบโจทย์ การสอนเยาวชนต้องให้เขาได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เป็นการฝึกความอ่อนน้อมของตนเอง ด้วยผ่านการล้างจาน

    เยาวชนมีความฝันผมพูดในนามเยาวชนทั่วโลกว่าเยาวชนมีพลังมีแรงบันดาลใจ ผมเป็นเยาวชนพระพุทธศาสนา ที่ใช้คำสอนพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ คนในสังคมมองเยาวชนว่าติดเทคโนโลยี หรือ EQ ต่ำ พระพุทธศาสนาพุทธพัฒนาเยาวชนได้ดีที่สุด ศาสนาพุทธมิใช่สำหรับคนแก่แต่ความจริงไม่ใช่ ศาสนาพุทธเหมาะสำหรับเยาวชน แต่กระบวนการวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมกับเยาวชน เราต้องให้เยาวชนมีวิธีคิดเองมิใช่การขู่บังคับหรือการลงโทษทางศาสนา เราต้องเข้าใจเยาวชน เราต้องสร้างพื้นที่ให้เยาวชนเขาเติบโตเราจะดีคนเดียวไม่ได้แต่เราต้องมีพื้นที่ร่วมกัน เราต้องฝึกสมาธิในรูปแบบต่างๆ มิใช่เพียงนั่งสมาธิเท่านั้น เราต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชน เราต้องสร้างความเป็นภายในจิตใจเยาวชน ให้เยาวชนมาทำกิจกรรมร่วมกันเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ” เยาวชนต้องการที่ยืนในสังคม ”

    จากนั้น พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร กล่าวสรุปว่า อะไรคือสิ่งที่เยาวชนต้องการ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งสนใจแต่โลกของตนเองเท่านั้น ทำให้เกิดการเชื่อมั่นในตนเองสูง จึงตัดสินใจผิดพลาด ซึ่งต่างจากเยาวชนสมัยก่อน เยาวชนปัจจุบันมองว่าตนเองรู้มีความรู้มาก เพราะเข้าถึงสื่ออย่างรวดเร็ว ทำให้พระพุทธศาสนาเสนอทางออกปัญหาของเยาวชนจึงทำให้เรายกให้การศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ เรายกเยาวชนให้โรงเรียนแต่โรงเรียนสอนได้เพียง IQ เท่านั้น แต่พระพุทธศาสนาสอนด้านEQ ในการควบคุมความรู้สึกตนเอง เยาวชนจึงต้องศึกษาด้านพระพุทธศาสนา แม้แต่นายกภูฏานยังขอวิธีการสอนพระพุทธศาสนาของประเทศไทยว่าเรามีกระบวนการสอนอย่างไร ? ทำไมเยาวชนจึงต้องเข้ามาหาพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาต้องสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งเด็กเยาวชนกำลังแสวงหาพระพุทธศาสนาแสวงหาคำตอบด้วยการมีวิธีต่างๆในการสอนเยาวชนด้วยวิธีการและกระบวนการฝึกสติถือว่ามีความน่าสนใจมากมีเด็กเยาวชนคนหนึ่งไปอ่านหนังสือเห็นพระทิเบตกราบไปตามถนน จึงมีแรงบันดาลใจปั่นจักรยานไปทั่วโลก ค่ำไหนนอนที่นั่น ซึ่งขอนอนบ้านคนอื่นไปเรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่เขาทำคือการรับฟังเจ้าของบ้าน พร้อมล้างจานให้เจ้าของบ้าน เป็นการทำให้คนอื่น จากเด็กที่มีฐานะแต่มาเรียนรู้ชีวิตจริงทำให้เขาเปลี่ยนแปลงพ่อของตนเอง

    สุดท้ายเยาวชนมาจากยุโรป สะท้อนว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของคนแก่ไม่เหมาะกับคนหนุ่มสาว เราจะทำอย่างไรให้พระพุทธศาสนาเรียนรู้แบบมีความสุข อย่าทำให้พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องน่าเบื่อ เราควรมีการฝึกกรรมฐานผ่านโทรศัพท์พระพุทธศาสนาต้องสนุกสนาน มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่าเน้นขู่บังคับ เราจึงควรเชื่อมโยงหลักคำสอนพระพุทธศาสนา โดยผู้นำเสนอมีภูมิหลังที่แตกต่างกัน



    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/112869
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 พฤษภาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...