เรื่องเด่น สติปัฏฐานภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 18 พฤษภาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    15-2b-2b1-jpg.jpg





    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606



    ๑๐. สติปัฏฐานสูตร


    [๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ.



    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209 ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้งทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔ อย่าง. สติปัฏฐาน ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสตินำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆอยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ.

    พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
    (พระอาจารย์ เทสก์ เทสรังสี)
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    ผู้จะลงมือเจริญสติปัฏฐานสี่แต่ละข้อ นอกจากเป็นผู้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่าย คลายความยินดีเพลิดเพลินติดอยู่ในกามคุณห้า แลทำความเลื่อมใสพอใจในการที่จะปฏิบัติตามสติปัฏฐาน เพราะเชื่อมั่นตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า เป็นทางที่จะให้พ้นจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริงแล้ว อย่าได้ลังเลสงสัยในสติปัฏฐานข้ออื่นอีก ที่เรายังมิได้เจริญ เพราะสติปัฏฐานทั้งสี่เมื่อเจริญข้อใดข้อหนึ่งให้เป็นไปแล้ว ข้ออื่นๆ ก็จะมาปรากฏชัดแจ้งให้หายสงสัยในข้อนั้นเอง



    แล้วก็อย่าไปหวังหรือปรารถนาอะไรๆ ไว้ล่วงหน้าให้มาเป็นอารมณ์ จะเป็นอุปสรรคแก่การเจริญสติปัฏฐาน



    อนึ่งความคิดปรุงแต่งว่า เราเจริญสติปัฏฐานแล้วจะได้จะเห็นจะเป็นอย่างนั้นๆ ก็อย่าให้มีอยู่ในจิตแม้แต่นิดเดียว



    แล้วพึงตั้งสติคุมจิตให้อยู่เป็นปัจจุบันอยู่เฉพาะสติปัฏฐานที่เรากำลังเจริญอยู่นั้น โดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งจะได้อธิบายต่อไปข้างหน้า

    นัย ๑-๑ เมื่อเอาสติไปตั้งลงที่กาย โดยแยกสติกับใจออกจากกายดังได้อธิบายมาแล้ว แล้วให้เพ่งดูเฉพาะกายเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะกายให้เป็นธาตุ-อสุภ อันใดทั้งหมด แม้แต่คำว่ากายหรือว่าคนก็ไม่ต้องไปคำนึงถึง ให้ตั้งสติเพ่งอยู่อย่างนั้น เมื่อจิตแน่วแน่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ว อารมณ์อื่นนอกนั้นมันก็จะหายไปเอง ในขณะนั้นจิตจะไม่ส่งส่ายไปในอดีต-อนาคต แม้แต่จะสมมุติบัญญัติว่าอันนั้นเป็นนั่น อันนี้เป็นนี่ก็จะไม่มี

    กายที่จิตไปเพ่งดูอยู่นั้น ก็จะเห็นเป็นแต่สักว่าวัตถุธาตุอันหนึ่งเท่านั้น มิใช่เรามิใช่เขา หรือสัตว์ตัวตนบุคคลอะไรทั้งหมด นี่เรียกว่าจิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ นั่นจึงจะถึงสติปัฏฐานภาวนาโดยแท้ เมื่อจิตไปเพ่งวัตถุอันนั้นอยู่โดยไม่ถอนสักพักหนึ่งแล้ว วัตถุอันนั้นก็หายวับไป เมื่อสติไม่มีที่หมายสติก็หมดหน้าที่ สติก็จะหายไปพร้อมๆ กัน แล้วจิตกับวัตถุภาพนั้นก็จะรวมเข้าเป็นจิตอันเดียว ซึ่งลักษณะคล้ายๆ กับคนนอนหลับ แต่มิใช่หลับเพราะมันยังมีความรู้เฉพาะตัวมันอยู่ต่างหาก แต่จะเรียกว่าความรู้ก็ยังเรียกไม่ถูก เพราะมันนอกเหนือจากความรู้ทั่วไป นี่เรียกว่า เอกัคคตาจิต



    การเจริญสติปัฏฐานถึงที่สุดเพียงเท่านี้ สติปัฏฐานข้ออื่นๆ ก็ทำนองเดียวกันนี้ ฉะนั้นข้ออื่นๆ ผู้สนใจพึงให้เข้าใจตามนี้ แล้วผู้เขียนก็จะไม่อธิบายซ้ำอีก


    ผู้ไม่เข้าใจหรือยังไม่เคยเจริญสติปัฏฐานอาจเข้าใจไปว่าตนนั่งหลับหรือเดินผิดทางไปเสียแล้ว บางท่านที่ปรารถนาจะเอาแต่ปัญญาอย่างเดียว ก็จะหาว่าโง่ไม่เกิดปัญญาอะไร พอจิตจะปล่อยวางอารมณ์คือวัตถุที่เพ่งอยู่นั้น ถ้าเกิดวิตกหรือลังเลอะไรขึ้นมาสักนิดเดียวในขณะนั้นแล้วจิตก็จะไม่รวมเป็นหนึ่งได้ เพราะมีอาการก็เลยเป็นสองขึ้นมา ต่อนั้นจิตก็จะถอนมาวุ่นส่งส่ายอะไรต่อมิอะไรอยู่ตามเดิม จิตที่เป็นเอกัคคตารมณ์จะหายไปตามกัน เอกัคคตาจิตที่ว่านี้จะตั้งอยู่ได้ก็ไม่นาน อย่างมากก็ราว ๒-๓ ชั่วโมง แล้วก็ถอนออกมา

    เมื่อถอนออกมาก็ไม่ได้มาตั้งอยู่ที่เอกัคคตารมณ์อันอับถอยออกมาจากเอกัคคตาจิตนั้น แต่มันจะถอนออกมาสู่ตามสภาพเดิม เหมือนเมื่อเรายังไม่ได้ฝึกอบรมสติปัฏฐาน แต่ที่ดีวิเศษกว่าเดิมก็คืออารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ นั้นเราไม่ต้องรักษา แต่มันจะรู้เท่าเข้าใจเห็นตามสภาพความเป็นจริงแล้ว มีแต่จะปลงธรรมสังเวชสลดใจแล้วให้เกิดความเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นๆ เป็นเครื่องอยู่

    พูดกันง่ายๆ เรียกว่า การเจริญสติปัฏฐานเบื้องต้นก่อนจิตจะเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เอกัคคตาจิตนั้น เป็นอาการของจิตทำงาน จะเรียกว่าต่อสู้หรือผจญ หรือเพ่งพิจารณาอะไรก็แล้วแต่ เมื่อการงานของจิตสำเร็จแล้วจิตก็พักผ่อน (คือรวมเข้าเป็นเอกัคคตาจิต) เมื่อพักผ่อนพอควรแก่เวลาแล้ว จิตก็ออกตรวจ-จัดระเบียบ-ชมผลงานของตน พร้อมๆ กับเกิดความปราโมทย์ร่าเริงบันเทิงในผลของงานนั้นๆ

    ผลของการเจริญสติปัฏฐานทุกๆ ข้อ จะมีอาการคล้ายๆ กันนี้ทั้งนั้น อาจมีผิดกันบ้างบางคนซึ่งเป็นเพราะบุญบารมีนิสัยไม่เหมือนกัน หากได้อยู่ใกล้ผู้ที่ท่านฉลาดชำนาญในการนี้แล้ว ขอให้ท่านชี้ช่องทางให้ก็จะเจริญก้าวหน้าไปได้ด้วยดี ฉะนั้นเรื่งอนี้ข้ออื่นๆ ผู้เขียนจะไม่นำมาอธิบายซ้ำอีก

    ความจริงการงานของกายกับงานของจิตก็คล้ายๆ กัน ผิดที่งานของกายทำด้วยวัตถุที่ยังไม่สำเร็จ ให้สำเร็จแล้วก็พัก งานของจิตทำด้วยนามธรรม (ปัญญา) ที่ยังหลงไปยึดไม่รู้เท่าเข้าใจตามเป็นจริง เมื่อชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันชอบ หมดหน้าที่แล้วก็ปล่อยว่างพักเอง

    อนึ่งภาพนิมิตและความรู้ต่างๆ อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่กำลังเจริญอย่างนี้โดยมิได้ตั้งใจจะให้มันเกิด แต่มันหากเกิดขึ้นมาเองด้วยอำนาจของสมาธิก็ได้ ตามจังหวะๆ ที่กำลังเจริญอยู่นั้นเอง นี่มิได้หมายความว่าทุกคนเมื่อมาเจริญแล้วจะต้องเกิดภาพนิมิตอย่างนั้นทุกคนไปก็หาไม่ แต่ละบุคคลต่างหาก เรื่องเหล่านี้มันเป็นของพิเศษ ผู้เจริญสติปัฏฐานที่จะได้ประสบการณ์ด้วยตนเอง มิใช่แต่ภาพนิมิตเท่านั้น เรื่องอื่นๆ นอกนี้ยังมีอีกแยะ ฉะนั้นผู้สนใจเจริญสติปัฏฐานควรอยู่ใกล้กับอาจารย์ผู้ที่ท่านฉลาดแลชำนาญในการเจริญสติปัฏฐาน มีเรื่องแลขัดข้องตรงไหนท่านจะได้แนะแลชี้ช่องทางให้ อันจะเป็นทางเจริญก้าวหน้าไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้องแลรวดเร็ว

    ผู้เขียนไม่มีโอกาสแลไม่สามารถจะนำมาอธิบายให้หมดถี่ถ้วนได้ แล้วก็ไม่ประสงค์จะอธิบายในเรื่องนี้ด้วย เพราะแต่ละบุคคลเป็นไปย่อมไม่เหมือนกัน ผู้ขียนมีความประสงค์จะแนะแนวฝึกอบรม เฉาพะสติปัฏฐานสี่เท่านั้น ฉะนั้นเมื่อเจริญสติปัฏฐานข้ออื่นๆ เมื่อมันเกิดมีอาการดังกล่าวมาแล้วนี้ ให้พึงเข้าใจโดยนัยดังกล่าวมาข้างต้นก็แล้วกัน ผู้เขียนจะไม่นำมาอธิบายอีกเช่นเดียวกัน

    นัยที่ ๑-๒ เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่เวทนา (โดยมากเป็นทุกขเวทนา) โดยแยกสติกับใจออกจากเวทนา ดังได้อธิบายมาแล้ว แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะเวทนาเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดค้นว่า เวทนาเกิดตรงนั้นจากนั้นแลอยู่ ณ ที่นั้นๆ อะไรทั้งหมด แม้คำที่เรียกว่าเวทนาๆ นั้นก็อย่าได้มีในที่นั้น เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตก็จะปล่อยวางควารมยึดหถือสมมุติบัญญัติเดิมเสีย แล้วจะมีความรู้สึกสักแต่ว่าเป็นอาการของความรู้สึกอันหนึ่ง ซึ่งมิใช่อยู่นอกกายแลในกายของเรา แล้วอารมณ์อื่นๆ ก็จะหายไปหมด เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในลักษณะนั้นดีแล้ว บางทีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้าที่เกิดอยู่ในขณะนั้น จะหายวับไปเลยหากยังไม่หายเด็ดขาดจะปรากฏอยู่บ้าง อันนั้นก็มิใช่เวทนาเสียแล้ว มันเป็นสักแต่ว่อาการอันหนึ่งเพียงเพื่อเป็นที่เพ่งหรือที่ตั้งของสติเท่านั้น เรียกว่าจิตเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดลงโดยลำดับแล้ว อาการอันหนึ่งซึ่งสติไปตั้งมั่นอนู่นั้นก็จะหายไป เมื่อสติไม่มีที่หมายแล้ว สติก็จะหมดหน้าที่ แล้วก็หายไปตามกันคงยังเหลือแต่เอกัคคตาจิต จิตที่บริสุทธิ์ผ่องใสดวงเดียว เมื่ออยู่สักพักหนึ่งแล้วก็จะถอนออกมา ต่อจากนั้นก็จะเดินตามวิถีเดิม ดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อแรก
    นัยที่ ๑-๓ เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาผู้รู้สึกนึกคิด) แล้วก็ให้เพ่งดูเฉพาะแต่จิตเฉยๆ ไม่ต้องไปคิดว่าจิตเป็นบุญจิตเป็นบาปอย่างนั้นๆ จิตดี จิตชั่ว จิตหยาบ จิตละเอียด อย่างนั้นๆ แม้แต่ชื่อแลบัญญัติของจิตอื่นนอกนี้ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้น ให้ยังเหลือแต่สติที่เข้าไปเพ่งอาการอันหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะให้วับๆ แวมๆ แต่มิได้ออกไปยึดแลไปปรุงแต่งอะไรๆ

    หากจะมีปัญหาถามว่า สติก็อาการของจิตดังกล่าวแล้ว จิตก็ผู้แสดงอาการออกมาในลักษณะรู้สึกนึกคิด หรือจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็ว่า สติกับจิตก็อันเดียวกัน แล้วจะไปฝึกอบรมกันได้อย่างไร หรือว่าใครเป็นผู้ฝึกอบรมใครกันแน่ จึงขอเฉลยไว้ ณ ที่นี้เสียเลยเพื่อผู้ต้องการจะเจริญสติปัฏฐานจะได้ปฏิบัติให้ถูก ผิดถูกอย่างไรหากไม่ตรงตามมติของท่านผู้อ่านก็ขอโปรดได้ยกไว้เสียก่อน แล้วมายอมทำตามแนวมติของผู้เขียนดูก่อนว่า จิตจะมีมากหรือจิตอะไรๆ ก็ช่าง เราไม่ต้องคำนึงถึงมันละไว้ ณ ที่แห่งเดียว แล้วมาเพ่งดูเฉพาะจิตผู้รู้สึกนั่นนี่ และคิดถึงนั่นนี่จนสติกับจิตก็จะรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายอีกทีก็ว่า สติกับจิตที่ยังไม่ได้ฝึกอบรมให้เป็นจิตที่ฝึกอบรมดีแล้ว แลสงบอยู่ในบังคับของสติ

    เมื่อจิตกับสติรวมเข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว สติตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะที่จิตนั้นอย่างเดียว เรียกว่า เอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตไม่ถอน ละเอียดเข้าแล้ว จิตคือ อารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายไป สติก็จะหายไปตรมกันดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น แล้วเปลี่ยนสภาพไปเป็นเอกัคคตาจิต นอกนี้มีอาการดังได้อธิบายมาในข้างต้นแล้วทุกประการ

    นัยที่ ๑-๔ เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง ๖ ) แล้วให้เพ่งดูก่อนอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉยๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้นๆ แลเกิดดับอย่างนั้นๆ แม้แต่คำที่ว่าธรรมดาๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั่นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่งซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกิริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น

    หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรมแปลกต่างกันตรงไหนก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้หมายถึงเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง๖ มีตาเป็นต้น เมือตาเห็นรูปที่สวยน่าชอบใจแล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยว อยากได้ รักใคร่ ชอบใจ ยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่าธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหละที่เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ จะให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา ส่วนจิตนั้นหมายเอาเฉพาะผู้รู้สึกนึกคิดเฉยๆ ยังไม่ทันเป็นอารมณ์ให้เกิดเป็นกิเลสขึ้นมา

    เมื่อสติตั้งมั่นแน่วแน่อยู่เฉพาะในธัมมารมณ์ อันนั้นมั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่าเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน จะคงยังเหลือแต่จิตอันหนึ่งซึ่งไม่มีอาการเป็นสอง เมื่อจิตพักอยู่ในลักษณะเช่นนั้นพอควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอยออกตาเดินตามวิธีเดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้นๆ

    หากจะตั้งปัญหาถามขึ้นมาอีกว่า การฝึกอบรมสติปัฏฐานสี่เบื้องต้นจิตก็ละเอียดลงไปโดยลำดับๆ จนเป็นเอกัคคตารมณ์แลเอกัคคตาจิต แต่แล้วทำไมจึงต้องถอนออกมาเดินอยู่ตามวิถีเดิม (คืออารมณ์ทั้งหก) จะไม่เรียกว่าจิตเสื่อมหรือ เฉลยว่า มนุษย์คนเราเกิดมาในกามภพใช้วัตถุกาม (คืออายตนะ) เป็นเครื่องอยู่ หลงแลมัวเมา คลุกกรุ่นเป็นทุกข์เดือดร้อนนานัปปการอยู่ด้วยกามกิเลสด้วยเหตุที่มิได้ฝึกอบรมสติของตนให้มั่นคงจนให้รู้แลเห็นจิตเห็นตัวกิเลสแลที่เกิดของกิเลสตามเป็นจริง จนจิตแยกตัวออกจากกิเลสได้ ผู้มีปัญญามาเห็นโทษแลเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของกิเลสเหล่านั้นแล้ว จึงมาตั้งใจฝึกอบรมในสติปัฏฐานสี่จนได้ผลดังได้อธิบายมาแล้ว ถึงกระนั้นก็ดี เมื่ออายตนะคือตัวของเรา มันเป็นวัตถุกามอยู่แล้ว ก็อยู่ในกามภพรับอารมณ์ที่เป็นของกามกิเลสอยู่เช่นนี้ เมื่อจิตถอนออกมาจากเอกัคคตาจิต ซึ่งในที่นั้นถือว่าจิตบริสุทธิ์ไม่มีอะไรแล้ว จิตก็จะมาจับเอาเครื่องมือเก่าใช้ต่อไปอีกจนกว่าจะดับแตก เมื่อจิตที่ได้ฝึกอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วไว้ดีแล้ว จิตนั้นจะประกอบด้วยปัญญาฉลาดสามารถใช้วัตถุกามโดยมิให้เกิดกามกิเลส พูดกันง่ายๆ ว่า รูปกายแลจิตเกิดในกามภูมิ จึงต้องหลงแลมัวเมาประมาทเดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่ด้วยกามกิเลส ผู้มีปัญญาเห็นโทษแล้วมาฝึกอบรมสติสัมปัฏฐานจนพ้นจากเป็นทาสของกามกิเลสแล้ว ใช้วัตถุกามเพื่อความเป็นอยู่จนกว่าจะแตกดับ

    สติปัฏฐานสี่ตามแนวนัยที่ ๑ ดังได้อธิบายมาแล้วนี้ ท่านที่มีจิตฟุ้งซ่านมากเพราะธุระภารกิจมากก็ตาม หรือจะเพราะมีการศึกษาตำรามากไม่มาลงสนามก็ตาม ควรจะลองลงในสนามเล็กๆ นี้ดูบ้าง ต่างพักผ่อนเติมน้ำมัน หากจะบินตอไปก็จะได้ทางไกลเพื่มขึ้นอีกก็ได้

    ความจริงพุทธศาสนิกชนผู้เคารพแลเลื่อมใสเชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว คำว่าเราจะทดลองหรือฝึกอบรมเจริญสติปัฏฐานเพื่อทดสอบหาความจริงดู ไม่น่าจะมีในหมู่ชาวพุทธเลย เพราะสติปัฏฐานที่พระองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างเด็ดขาดแล้วว่า ผู้ใดมาเจริญซึ่งสติปัฏฐานสี่ ทำให้มาเจริญให้ยิ่งจนชำนาญแล้ว อย่างช้าเจ็ดปีอย่างเร็วเจ็ดวัน ต้องได้สำเร็จเป็นอรหันต์ ถ้าไม่ถึงอรหันต์ก็ต้องได้พระอนาคามี ฉะนั้นเมื่อถือว่าเราเชื่อต่อคำสอนของพระองค์แล้ว จะมาลังเลใจทำไมกันอยู่ จงได้ตัดสินใจลงมือเจริญกันเสียเถิด อนึ่งการเจริญสติมิใช่เป็นของเสียหายอะไร มีแต่จะทำผู้เจริญให้ดีขึ้น เพราะสติเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา เมื่อได้สติแล้วแต่ยังไม่ดีพอก็จะทำให้ดีขึ้น เมื่อสติดีอยู่แล้วก็จะทำให้ดียิ่งๆ ขึ้น “คนที่พลั้งๆ เผลอๆ จดจำอะไรไม่ค่อยจะได้ เขาเรียกว่าคนสติไม่ดี คนไม่มีสติเสียเลยเขาถือว่าบ้า”


    ----------------------------------------------------------------------------------

    แนวฝึกอบรมสติปัฏฐานสี่โดยนัยที่ ๒ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปนี้ บุพพภาคเบื้องต้นก่อนจะลงมือฝึกอบรม พึงทำมนสิการไว้ในใจก่อน เช่นให้เห็นโทษทุกข์เบื่อหน่ายในกามคุณทั้งห้า แล้วมีความเชื่อมั่นในการเจริญสติปัฏฐานสี่ไม่มีลังเลสงสัย ยอมสละกังวลใดๆ ทั้งหมดแล้วตั้งสติลงในปัจจุบันธรรม เป็นต้น ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วจึงเจริญเป็นข้อๆ ไป

    นัยที่ ๒ นี้ผิดแผกจากนัยที่ ๑ ตรงที่ เมื่อตั้งสติปักมั่นลงในสติปัฏฐานใดแล้ว แทนที่จะไปจ้องอยู่เฉยๆ ไม่ต้องพิจารณาอะไรๆ ทั้งนั้น เหมือนนัยที่ ๑ แต่ตรงกันข้าม นัยที่ ๒ นี้ ต้องเข้าไปตรวจค้นวิพากษ์วิจารณ์ว่าอะไรเป็นอะไร ในสติปัฏฐานนั้นๆ จนให้เห็นความจริงละถอนสมมุติบัญญัติผิดๆ นั้นเสียแล้ว จิตก็จะเข้าถึงเอกัคคตาจิต แช่นเดียวกันกับนัยที่ ๑ ดังได้อธิบายมาแล้ว

    นัยที่ ๒-๑ ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่กาย แล้วให้เพ่งพิจารณาโดยจะแยกกายนี้ออกให้เป็นชิ้นๆ เช่นกำหนดแนก ผม-ขน-เล็บ-ฟัน-หนัง หรือจะถนัดส่วนใดก็ได้ เอาออกไว้เป็นกองๆ หรือจะเพ่งพิจารณาให้เห็นเป็นธาตุสี่หรืออสุภก็แล้วแต่จะชัดด้วยใจของตนเอง มิฉะนั้นจะเพ่งพิจารณาให้เห็นเป็นพระไตรลักษณญาณก็ได้ แต่เมื่อจะเพ่งพิจารณาอย่างใดแล้ว ขอให้ทำความเชื่อมั่นในกรรมฐานอุบายนั้นๆ โดยเฉพาะว่า กรรมฐานอุบายอันนี้เป็นของดีถูกต้องแล้ว อย่าได้ลังเลแลส่งส่ายไปหยิบเอากรรมฐานอุบายโน่นบ้างนี่บ้างมาพิจารณา แลการฝึกอบรมนั้นก็มิใช่ว่าทำประเดี๋ยวประด๋าว เมื่อไม่ได้ผลแล้วก็ทิ้งต้องยอมสละทอดธุระกันจริงๆ แม้แต่ชีวิตเลือดเนื้อของเราก็จะต้องยอมสละ เพื่อบูชาพระกรรมฐานอันเป็นของประเสริฐหาได้ยากนี้

    เมื่อจิตไปเพ่งพิจารณารวมอยู่ในจุดเดียวอย่างนั้นแล้ว กรรมฐานที่เราเพ่งพิจารณาอยู่นั้นจะจะปรากฏชัดขึ้นมากกว่าที่เราเห็นด้วยตาธรรมดา บางทีอาจเป็นเหมือนกายกับจิตเป็นคนละคนกันไป จิตเป็นผู้มองดูกายแล้วก็เห็นชิ้นส่วนในกายชัดทุกอย่าง เห็นกายนี้เป็นอนัตตาอย่างไม่มีลังเลเลย แล้วก็จะเห็นสภาพของกายนี้เปลี่ยนแปลงยักย้ายอยู่เป็นนิตย์ อย่างน่าสงสารสลดสังเวชยิ่ง เมื่อมองดูความหลงมัวเมาของตนเองที่ไปหลงยึดเอาว่าของๆ กู ก็ยิ่งน่าละอายแก่ใจยิ่งนัก ร่างกายอันนี้เกิดมาเพื่อต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมมีเย็นร้อนอ่อนแข็ง แลความตรากตรำต่อการงานหรือโรคภัยนานัปปการแท้ๆ

    แล้วจิตจะไปปักมั่นแน่วแน่อยู่ในความชัดที่ไปเห็นไปรู้อย่างมหัศจรรย์นั้น จนจิตเกิดเป็เอกัคคตารมณ์ขึ้นมา เมื่อจิตนั้นไม่ถอนละเอียดลงไป ภาพที่เป็นอารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายวับไปพร้อมกับสติ แล้วเข้ามารวมเป็นจิตอันหนึ่งดังได้อธิบายมาแล้วตามนัยที่ ๑ พออยู่ได้สักพักหนึ่งล้สนก็ถอดออกเดินตามวิธีเดิมดังได้อธิบายแล้วทุกประการ

    นัยที่ ๒-๒ ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่เวทนา (โดยมากมักเป็นทุกขเวทนาเพราะเป็นเรื่องต่อสู้) เมื่อแยกจืตออกจากเวทนาแล้ว จนได้ตรวจดูเวทนาว่า เวทนามันเป็นอะไรกันแน่ แลคำว่าทุกขเวทนานั้นมันเป็นตัวตนมีจริงหรือเปล่า แล้วเวทนามันเกิดจากอะไรใครเป็นผู้ว่า แลใครเป็นผู้ไปยึดเอาเวทนานั้นมาไว้ที่จิต ถ้าเวทนากับจิตเป็นอันอันเดียวกันแล้วไซร้ จิตนี้ก็จะพ้นทุกข์ไม่ได้เลย นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ บางทีจิตอยู่เฉยๆ ก็หามีเวทนาไม่ เมื่อพิจารณาค้นคว้หาข้อเท็จจริงไปๆ จิตก็จะหยุดฟุ้งซ่านส่งส่ายแล้วเข้ามารวมอยู่ที่เวทนา แล้วคำว่าทุกขเวทนาก็จะหายไป คงยังเหลือแต่สติความระลึกได้ กับอาการของจิตอันหนึ่งอันมีลักษณะให้เกิดขึ้นแล้วดับไปๆ อยู่เท่านั้น เรียกว่าจิตมีอารมณ์อันเดียวเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนั้นจิตก็จะละเอียดเข้าๆ แล้วอารมณ์ของจิตนั้นก็จะหายวับไป เข้าไปรวมเป็นเอกัคคตาจิต พออยู่ได้สักพักหนึ่งแล้วก็จะถอนออกมาเดินตามวิถีเดิม ดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้น

    นัยที่ ๒-๓ ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่จิต (จิตในที่นี้หมายเอาจิตที่ยังไม่ได้อบรมให้ถึงความสงบดังกล่าวแล้วข้างต้น) แล้วให้เพ่งพิจารณาจิตผู้ยังดิ้นรนกระสับกระส่ายอยู่ว่า เป็นของไม่มีตัวตนส่งส่ายหาสาระไม่ได้เป็นอนันตาพาให้เป็นทุกข์ จิตเป็นของเราแต่เราก็บังคับมันไม่ได้มีเหมือนไม่มี ทำให้เบื่อหน่ายน่าสลดสังเวชตัวเอง จิตเป็นแต่เพียงอาการเกิดดับๆ มิใช่อะไรทั้งนั้น เมื่อพิจารณาจิตเห็นจิตเป็นอนันตาแล้ว จิตกับสติก็รวมเข้ามาอยู่ ณ ที่เดียวกัน คราวนี้สติไม่ต้องตามไปจับจิตจะกำหนดรู้อยู่ที่จิตแห่งเดียว เอาจิตผู้สักแต่ว่าคิดเกิดดับๆ อยู่นั้นเป็นอารมณ์จนเป็นเอกัคคตารมณ์ เมื่อเพ่งพิจารณากำหนดอยู่อย่างนั้นละเอียดเข้าโดยลำดับแล้ว จิตเกิดดับๆ ที่เป็นเป้าหมายของสตินั้นก็จะดับวูบหายไป พร้อมด้วยสติผู้ตามระลึกจิตอยู่นั้นด้วย แล้วจะมารวมเป็นสภาพอันหนึ่งพออยู่ได้สักพักหนึ่งแล้ว ก็จะถอนออกมาเดินตามวิถีเดิมของมันดังได้แสดงมาแล้วแต่ข้างต้น

    นัยที่ ๒-๔ ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่ธรรม หมายเอาธัมมารมณ์อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหกแล้วจิตไปยึดถือเอามาเป็นตัวเป็นตน แล้วให้เพ่งพิจารณาธัมมารมณ์นั้นว่า มันเกิดขึ้นจากอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกกระทบกัน หาได้มีสาระแก่นสารอะไรไม่เป็นอนันตา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไปๆ ติดต่อกันอยู่อย่างนั้น ไม่เพียงทำผู้เข้าไปยึกเป็นทุกข์เปล่า อุปมาเปรียบเหมือนเหล็กไปกระทบกับหินแล้วก็เกิดแสงประกายขึ้นวูบหนึ่งแล้วดับไป ผู้ที่ไปชอบแลติดใจในอารมณ์นั้นๆ อยากได้แลอยากเห็นประกายอันนั้นก็เอาเหล็กมาตีกับหินอีก สัญญาความจำในอารมณ์นั้นๆ ก็เป็นอนันตาไม่เที่ยง เกิดดับเหมือนสังขารความปรุงแต่งในอารมณ์นั้นๆ ก็เป็นอนันตาไม่เที่ยงเหมือนกัน เมื่อจิตรักใครชอบใจปรารถนาอยากได้ แต่อารมณ์นั้นๆ ไม่เที่ยงหายไป จิตใช้สัญญาเก่านั้นไปยึดเอาอารมณ์นั้นๆ มาให้สังขารปรุงแต่งใหม่อีกแล้วก็หลงว่าเป็นของใหม่ทำให้ติดอกติดใจยิ่งๆ ขึ้น เมื่อชอบใจรักใคร่มากขึ้น ความปรารถนาก็มีมากขึ้น สัญญาความจำแลสังขารปรุงแต่งก็ถี่ยิบขึ้น จนปรากฏเห็นเป็นว่าของเที่ยงตั้งอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ที่เรียกว่าธัมมารมณ์ เมื่อเอาสติมาตั้งให้มั่งลงที่ธรรมดังได้อธิบายมาแล้วนั้น แล้วมาพิจารณาแยกแยะออกจนเห็นเนื้อแท้ของจริงดังได้อธิบายมาแล้วนั้น จิตก็จะคลายจากความหลงรักใครชอบใจแลปรารถนา เห็นธัมมารมณ์แลสัญญาสังขาร เป็นแต่สักว่าสภวธรรมอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะอายตนะผัสสะยังมีอยู่มันก็ต้องเกิดมีขึ้นตามธรรมดาของมัน สติก็จะตั้งแน่วแน่อยู่เฉพาะในธัมมารมณ์แต่อย่างเดียว จนเป็นเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ความปล่อยวางในธรรมทั้งหลายก็ค่อยหมดไปๆ อันทำให้จิตละเอียดลงโดยลำดับ ที่สุดธัมมารมณ์ของสตินั้นก็จะหายวูบไป แล้วไปรวมเป็น อกัคคตาจิตมีจิตดวงเดียว เมื่อพักอยู่อย่างนั้นพอควรแก่กาลแล้ว ก็จะถอนออกมาเดินตามวิถีเดิม ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้นทุกประการ ถ้าผู้มาฝึกอบรมสติปัฏฐานสี่ดังได้อธิบายมาแล้วโดยนันที่ ๑ นั้น เมื่อไม่สว่างแจ่มแจ้งมึนเซ่อไม่เอาการเอางานอะไร มีแต่จะสัปหงกร่ำไปแล้ว เชิญมาฝึกอบรมตามแนวนัยที่ ๒ นี้ดูก็จะดี

    สติปัฏฐานภาวนาที่ได้อธิบายมาแล้วนี้ เป็นเพียงสังเขปย่นย่อ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ตั้งใจจะปฏิบัติเท่านั้นหากจะอธิบายให้กว้างขวางแลละเอียดมานัก อาจทำให้ผู้อ่านเบื่อเอือมระอาแล้วก็ไม่มีแก่ใจอยากจะปฏิบัติอีกด้วย เช่นตัวอย่างที่อธิบายเรื่องเจริญสติปัฏฐานแต่ละข้อ ก็ยกมาอธิบายเพียงเอกเทศส่วนหนึ่งของอุบายหลายๆ อย่างเท่านั้น


    ส่วนอารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหกที่ยกเอาเพียงเรื่องตาอย่างเดียวเท่านั้นมาเป็นตัวอย่าง แต่ก็ไม่เป็นไรเมื่อผู้มาตั้งใจจะปฏิบัติ เป็นผู้ยอมเสียสละทุกๆ อย่างดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้น ลงมือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น จนให้เข้าถึงสติปัฏฐานภาวนาอันแท้จริงแล้ว อุบายอื่นแลอารมณ์อื่นนอกจากที่ได้อธิบายมาแล้วนั้น จะมาปรากฏชัดแจ้งขึ้น ณ ที่นั้นเองตามตำราที่ท่านแสดงไว้ว่า ให้พิจารณาภายในกายหรือภายนอก ภายในก็ดี กายหยาบกายละเอียดเป็นต้นก็ดี เมื่อเรามาฝึกอบรมให้เข้าถึงสติปัฏฐานอย่างแท้จริง ดังได้อธิบานมาแล้วนั้น เรื่องที่ท่านแสดงไว้ในตำราไม่เป็นของยากเลย เราสามารถพิจารณาให้เป็นไปได้ทั้งนั้น


    ยิ่งปฏิบัติให้ละเอียดแลชำนาญเข้าเท่าไร ความรู้แลความฉลาดสามารถจะเกิดขึ้นได้เป็นอเนกอนันต์ ทั้งก่อนจิตจะเป็นเอกัคคตารมณ์ หรือหลังจากจิตถอนออกจากเอกัคคตาจิตแล้ว เป็นสิ่งที่น่าพึงใจแลน่าสนใจแก่ผู้ปฏิบัติยิ่งนัก

    ถึงแม้ผู้เขียนจะนำมาบรรยาย ก็ไม่สามารถจะให้สิ้นสุดได้ แล้วความซาบซึ้งอันนั้นเป็นภาษาของใจ รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้นยากยิ่งนักที่จะพูดออกมาเป็นภาษาธรรมดาให้เข้าใจได้ง่าย

    สิกขาฉบับเต็มได้ที่
    http://www.dhammasavana.or.th/article.php?a=226
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15%2B-%2B1.jpg
      15%2B-%2B1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.2 KB
      เปิดดู:
      1,162
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ผู้ปฏิบัติเบื้องต้นโดยตั้งสติ
    กำหนดจิต พิจารณาอารมณ์อันใด
    อันหนึ่งเพื่อให้จิตเข้าถึงฌาน สมาธิ
    ชื่อว่า ปฏิบัติชอบด้วยเหตุผลแท้
    แต่ถ้ามาทำเช่นนั้นด้วยคิดว่า จะให้
    จิตรวมสนิทจนไม่มีความรู้สึกอะไร
    เสียเลยเพราะกลัวต่ออารมณ์
    อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้ว
    ชักจะเลยขอบเขตไปสักหน่อย
    ถ้าคิดว่าเราทำเช่นนั้นได้แล้ว
    จนได้ความรู้ และเกิดวิชชา (อภิญญา)
    ในสรรพสิ่งทั้งปวงแล้ว อย่าไปว่า
    แต่ความรู้สึกเช่นนั้นจะเกิดเลย
    แม้แต่ฌานสมาธิที่กำลังทำอยู่นั้น
    ก็จะไม่ปรากฏเสียซ้ำไป แลได้ชื่อว่า
    ปฏิบัติเอาสังขารออกนอกหน้า และ
    เป็นการออกนอกกรอบเสียแล้ว
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    temp_hash-eddab9f76f331d32afca5a7c900ab707-jpg.jpg







    มหาสติปัฏฐาน

    มหาสติปัฏฐานสูตร ที่ยากจริง ๆ ก็คือ อานาปานุสติกรรมฐานเท่านั้น
    ที่ต้องทำกันซ้ำหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน
    ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด
    ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง
    ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ
    โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน
    ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น
    ทำแล้วปล่อยให้จิตสบาย จึงค่อยใช้อารมณ์คิด ปัญญาจะเกิด
    นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้ว จิตใจมันฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง
    ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่
    จนกระทั่งจิตสบายแล้ว ก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป
    นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ
    นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้
    แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน
    เขาปฏิบัติกันอย่างนี้ จึงได้ผลตามกำหนด
    ที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้


    บารมี ๑๐

    บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด
    ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ

    ๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

    ๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต

    ๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช
    พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย

    ๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์
    ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง

    ๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

    ๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

    ๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ

    ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์
    ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “เราจะไปพระนิพพาน”

    ๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา

    ๑๐. อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค
    เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย

    ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด
    บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย
    แต่ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบัน มันยังครบถ้วนไม่ได้
    ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์
    เท่านี้แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท
    ถ้ากำลังใจในบารมี ๑๐ บริบูรณ์เพียงใด
    คำว่าพระโสดาบัน ท่านพุทธบริษัททั้งหลายจะรู้สึกว่าง่ายเกินไป

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    1. เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน คำเวทนานี้แปลว่า การเสวยอารมณ์ พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้ กถญฺจ ภิกฺขเวภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอื่นยังมีอยู่อีก เวทฺนาสุ เวทฺนานุปสฺสี วิหรติ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา คำว่าเวทนานี้ ท่านแปลว่าอย่างนั้น ท่านแปลว่า ความเสวยอารมณ์ ถ้าพูดกันแบบไทยๆ ไอ้คำว่าเสวยนี่ ก็แปลว่ากิน คนก็เลยกินอารมณ์เข้าไป ไม่ต้องกินข้าวแล้ว คำว่าเสวยอารมณ์ ก็หมายความว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจเรา มันมีอยู่เป็นปกติ

      ท่านบอกว่าย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ คือว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ท่านว่ายังไง ดูตามของท่านไป ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนาก็รู้ชัดอยู่ว่าบัดนี้เราเสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนาก็รู้ชัดอยู่ว่าบัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา เมื่อเสวย อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน เพื่อนก็เลยแปลบอกว่า เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา เป็นอันว่า เมื่อเราไม่ได้เสวยทุกข์หรือเสวยสุขเวทนา อันเป็นอุเบกขา คืออารมณ์เฉยเราก็รู้ชัดอยู่ว่าเวลานี้อารมณ์ของเราเฉยๆ ไม่มีสุขหรือมีทุกข์ใดๆ

      ต่อไป เมื่อเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส คำว่า อามิส แปลว่าสิ่งของ คือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาเจือ เช่น กามคุณ ก็รู้ชัดว่า เวลานี้เราเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส หรือว่าเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดอยู่ว่า เวลานี้เราเสวยสุขเวทนาที่มีอามิส หรือว่าเสวยสุขเวทนาที่ไม่มีอามิส หรือว่าเมื่อเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส ก็รู้ชัดอยู่ว่าเราเสวยทุกขเวทนาที่มีอามิส หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็หมายความว่า จิตใจมันเฉยๆ ไม่มีสุขหรือไม่มีทุกข์ เพราะมีอามิสหรือว่าไม่มีอามิส ก็รู้อยู่ว่า เวลานี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาที่มีอามิสหรือว่าไม่มีอามิส ท่านว่ายังงั้น

      ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาทั้งภายในและภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง นี่พอบอกว่าเห็นเวทนาเป็นธรรมดา นี่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ ตอนต้นเป็นสมถะ อันนี้มหาสติปัฏฐาน นี่พระพุทธเจ้าควบวิปัสสนาญาณอยู่ตลอดเวลา ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบ้าง ก็หรือว่าสติมีเวทนา มีอยู่ ก็ไปตั้งอยู่เฉพาะหน้า แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักแต่ว่าเป็นที่อาศัยระลึก ย่อมไม่ติดอยู่ ย่อมไม่ยึดถืออะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ นี้แล้ว

      คือตามใจความตามมหาสติปัฏฐานสูตรในเวทนานุปัสสนานี้ พระพุทธเจ้าให้ทรงพิจารณาว่า เวลานี้จิตของเรามีความสุขหรือว่ามีความทุกข์ เวทนานี้ก็คืออารมณ์ตามบาลีท่านแปลว่า ความเสวยอารมณ์ คำว่าเสวยอารมณ์นี่มันฟังไม่ชัด นี้คำว่าอารมณ์ หมายถึงอะไร คำว่าอารมณ์นี่ก็หมายถึงว่า ความรู้สึกของใจ คือความรู้สึกของเรานี้ มันมีความสุข หรือว่ามีความทุกข์ หรือว่าเวลานี้ใจของเราหดหู่ประกอบไปด้วยความทุกข์ หมายความว่า มีความปรารถนาไม่สมหวังบ้าง สิ่งที่ตั้งใจไว้ไม่ปรากฏบ้าง สิ่งที่ตั้งใจไว้ไม่เป็นไปตามตั้งใจบ้าง อย่างนี้เป็นอาการของความทุกข์ อย่างนี้เรียกกันว่า ทุกขเวทนา

      ทีนี้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ท่านบอกชัดไว้ว่ามหาสติปัฏฐาน คือ ให้พยายามเอาจิตของเราเข้าไปตั้งในสติสัมปชัญญะตลอดเวลา นี้เรียกว่าตามนึกรู้อารมณ์ จงรู้อารมณ์ของเราว่าเวลานี้อารมณ์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าอารมณ์มีความสุขก็รู้อยู่ว่าอารมณ์เรามีความสุข อารมณ์ของเรามีความสุขเพราะอาศัยอะไรเป็นปัจจัย อารมณ์ของเรามีความสุขเพราะมีอามิสเป็นปัจจัย คำว่าอามิส หมายว่าสิ่งของ เราจะเรียกกันว่าวัตถุก็ได้ จะเป็นสิ่งที่มีชีวิตก็ตาม หรือว่าไม่มีชีวิตก็ตาม ถ้ามันมีสิ่งใดปรากฏขึ้น เป็นอะไรก็ตามเป็นเครื่องปรากฏเฉพาะหน้า และเป็นเหตุให้เราได้สุข เราได้ทุกข์ อย่างนั้นเราเรียกว่าอามิส อย่างพบคนที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็เริ่มไม่สบาย นี้ถือว่าคนเป็นอามิส เป็นเหตุให้เราเกิดความทุกข์ เพราะไม่สบายแปลว่าทุกข์ ความไม่สบายกายก็ดี ความไม่สบายใจก็ดี จัดเป็นทุกข์ อันนี้เราต้องรู้ตัวทุกข์ด้วยนะ

      หรือว่าพบสิ่งของสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ตามที่เป็นที่ไม่ชอบใจของเรา จิตมันก็เป็นทุกข์ หรือว่าพบคนที่หน้าตา ไม่เกลียด ไม่โกรธ ไม่เป็นศัตรู แต่กลับมาพูดในสิ่งที่เราไม่ปรารถนา เราไม่ต้องการจะฟัง ใจเราไม่ชอบใจ อย่างนี้ก็ทุกข์ เรียกว่าทุกขเวทนา ทีนี้พระพุทธเจ้าให้พิจารณาจิตของตนว่าเวลานี้จิตของเรามีอารมณ์เป็นอย่างไร มีอารมณ์เป็นสุขหรือทุกข์ มาอีกตอนหนึ่งท่านพูดถึงสุขเวทนา เวลานี้จิตของเราเป็นสุข มันเป็นสุขเพราะว่าอะไร เป็นสุขเพราะว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบ หรือว่าเป็นสุขอยู่เฉยๆ ไม่มีสิ่งอื่นเข้ามากระทบ

      คำว่าสิ่งอื่นก็คืออามิส จะเป็นคนหรือเป็นวัตถุก็ตาม หรือว่าหาคนไม่ได้ หาวัตถุไม่ได้ แต่ปรากฏเป็นเสียงหรือเป็นแสง ถ้าเป็นแสงก็เป็นวัตถุ ถ้าเป็นเสียงก็เป็นวัตถุเหมือนกัน จัดเป็นกาย แต่ว่าเป็นอนุปาทายรูป ทีนี้เรากระทบกับเสียง กระทบกับแสง กระทบวัตถุ กระทบกับคน ทำให้เราเกิดความสุขหรือว่าความทุกข์

      แต่ความสุขหรือความทุกข์นี้ พระพุทธเจ้าท่านขมวดท้ายไว้ว่า เนื่องด้วยกามารมณ์ ไอ้คำว่ากามารมณ์นี่ไม่ใช่อามรณ์อยากมีผัวมีเมียเฉยๆ ตีความแบบนั้นไม่ถูก คือ กามารมณ์ กามะแปลว่า ความใคร่ อารมณ์คือความรู้สึกของเรา เกิดความใคร่อยากจะได้สิ่งนั้น อยากจะได้สิ่งนี้ หรือว่าเราไม่อยากได้สิ่งนั้น ไม่อยากได้สิ่งนี้ เพราะเราไม่ชอบใจ สิ่งที่เราอยากได้เป็นอาการของความชอบใจ อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ท่านเรียกว่า กามารมณ์ คืออารมณ์ที่มีความอยากเกิดขึ้น

      นี่อารมณ์ที่มีความอยากเกิดขึ้นมันเป็นอารมณ์ที่ทำให้เราสุขใจ หรือว่าทุกข์ใจ อันนี้พระพุทธเจ้าให้ใช้สติคิดไว้เสมอ สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่เป็นธรรมดา แต่เราจะมานั่งคิดดูว่าพระพุทธเจ้านี่มานั่งสอนเราทำไม ไอ้เรื่องนี้มันเป็นเรื่องธรรมดาของใจ แต่ความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเราก็เพราะว่า พวกเราลืมคิด ไม่ได้ใช้สติเข้าไปควบคุมอารมณ์ เราปล่อยไปตามเรื่อง มันจะสุขหรือมันจะทุกข์ก็ไม่ได้หาเหตุ ไม่ได้หาผล ไม่ได้ค้นคว้าตามความเป็นจริง

      ทีนี้การที่พระพุทธเจ้าให้รู้อารมณ์ของเรา ว่าอารมณ์ของเรานี่มันเป็นสุขหรือว่ามันเป็นทุกข์ เวลาที่มันมีความสุขหรือว่ามีความทุกข์ มีอะไรที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยหรือเปล่า คือมีอามิส วัตถุ หรือบุคคลเป็นเหตุหรือเปล่า หรือว่าไม่มีอามิส วัตถุ หรือบุคคล เป็นเหตุ จึงเกิดความสุขหรือความทุกข์ ให้ใคร่ครวญ อย่างนี้เรียกว่า พิจารณาเวทนาในเวทนา กำหนดรู้เวทนาในเวทนา หมายความว่า อารมณ์ความสุข หรือความทุกข์น่ะเป็นเวทนา ถ้าตัวสุขเป็นสุขเวทนา ที่เราชอบใจนะ ความทุกข์เป็นทุกขเวทนา เป็นเวทนาตัวนอก ตอนนี้เราก็ไปหาเวทนาในเวทนาอีกทีหนึ่ง คืออารมณ์ในอารมณ์อีกทีหนึ่งว่าอะไรนี่มันสร้างความสุขความทุกข์ใจให้เกิดแก่เรา

      เมื่อเราคิดไปเราก็คิดได้ว่า นี่เราไม่สบายใจ นี่แสดงว่าท่านให้หาเหตุหาผล มีความสุขและความทุกข์เพราะอะไร ท่านให้คิดแบบนี้ทำไม จะได้รู้ว่าแม้แต่อารมณ์ใจของเรานี่ที่เราเกิดมานี่ ความจริงความสุขความทุกข์มันเกิดจากกายก็จริง แต่ทว่าไอ้ทุกข์จริงๆ ใจเป็นตัวรับ

      จะว่ากายมันเกิด แล้วมันแก่ มันเจ็บ มันตาย และไอ้เจ้าใจนี่ล่ะ กายเกิดมาแล้วมันเกิดแก่ลงมา เราไม่ชอบแก่ มันเกิดป่วยไข้ไม่สบาย เราไม่ชอบป่วยไข้ไม่สบาย มันตายเราไม่ปรารถนาให้มันตาย เรานึกว่ากายเป็นทุกข์ แต่ความจริงกายไม่ได้เป็นทุกข์ ใจมันทุกข์ เพราะกายมันมีสภาพเป็นปกติ ถ้ามันทุกข์จริงๆ มันก็ไม่แก่

      อย่างตาเรานี่ถ้ามันรู้ว่ามองอะไรไม่ถนัด ก็จะต้องซื้อแว่นมาใส่ ถ้ามันรู้มันจะต้องเป็นทุกข์อย่างนี้ มันไม่ฝ้า มันไม่ฟาง นี่ความจริงอาการของตามันไม่รู้เรื่อง มันถือกฎธรรมดาของมัน เมื่ออายุมากเข้าแล้วประสาทมันก็เสื่อมโทรมลงไป ไอ้การต้องการในการเห็น การต้องการในการได้ยินจากหู เห็นจากตา รับการสัมผัสจากกาย ได้กลิ่นจากจมูก รู้รสจากกลิ่น อย่างนี้เป็นต้น นี่มันเป็นเรื่องของใจ ไอ้ความสุขความทุกข์นี่มันอยู่ที่ใจ ความจริงมันไม่มีอยู่ในกาย ตามลำพังกายอย่างเดียวตัวนั้นมันไม่ได้สุข มันไม่ได้ทุกข์

      เราจะเห็นว่าคนถ้าตายแล้วนี่ ใครจะเอาไฟไปเผา จะเอามีดไปสับไปฟันก็ไม่เคยโกรธ แต่ทว่าเวลาที่ยังไม่ตาย อย่าว่าแต่เอามีดมาฟันเลย เอาเล็บมาสะกิดหน่อยเดียว บอกว่าเจ็บฉันไม่ชอบใจ ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะใจมันเป็นเครื่องรับรู้ นี้ถ้ากายเราเจ็บเพราะเล็บจิก ไอ้อย่างนี้เรียกว่า ทุกขเวทนา เกิดจากอามิส อามิสคือของ ของคือเล็บที่มาหยิกเรา หรือว่าวัตถุอะไรเข้ามากระทบ ตานี้ความสุขที่เกิดขึ้นมา กำลังใจอยากได้ขนม อยากกินขนม อยากนี่ได้ขนมแบบนี้เรามีความสุข เราชอบใจ หรือว่าต้องการวัตถุแบบนี้ เราชอบใจ เกิดความสุข อย่างนี้เขาก็เรียกว่าเกิดความสุขเกิดจากอามิสเหมือนกัน นี่พระพุทธเจ้าให้พิจารณาว่า กำลังใจของเรานี่ ความจริงมันไม่ใช่แม้แต่อารมณ์ ไม่ใช่กาย เพราะอารมณ์นี่ก็ไม่มีสภาพคงที่ มันก็เป็นสุขเป็นทุกข์เหมือนกัน

      ทีนี้มาอีกบทหนึ่งท่านบอกว่า หรือว่ามีความรู้สึกว่าอทุกขมสุข หรือว่าจิตของเราเสวยอารมณ์ที่ไม่มีสุขและไม่มีทุกข์ ไอ้การไม่มีสุขหรือไม่มีทุกข์มันอาศัยอามิสเป็นต้นเหตุ หรือว่าไม่มีอามิสเป็นต้นเหตุ คำว่าอามิสเป็นต้นเหตุ ก็สมมติว่าเราไปนั่งดูพระพุทธรูป เห็นพระพุทธรูปมีความสดสวยงาม ยิ้มอยู่ตลอดเวลา ลักษณะท่าทางของท่านน่าเคารพนับถือ น่าไหว้ น่าบูชา

      แล้วก็พิจารณาไว้ พระพุทธรูปนี้ ความจริงเป็นรูปเปรียบของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีความดีมาก เวลานี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงเสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานไปแล้ว ความจริงองค์สมเด็จพระประทีปแก้วมีพระองค์เดียว แต่เมื่อพระองค์ทรงนิพพานไปแล้ว กลับหล่อรูปขึ้นมามากทั้งนี้เพราะอะไร เพราะความดีของพระองค์ ความดีสูงสุดที่พระองค์ทรงมีก็คืออะไร คือ พระองค์สามารถตัดกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน

      ในเมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารพระองค์ทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงสั่งสอนเราโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อย ความยาก ความลำบากอะไรทั้งสิ้น จะต้องนอนกลางดินกินกลางทราย นอนกลางเขา กลางป่า เปียกปอนไปด้วยฝนและน้ำค้าง ฝ่าอันตรายทุกอย่าง ความจริงพระองค์เป็นลูกของพระมหากษัตริย์ และก็จะทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิภายใน ๗ วัน แต่ถึงกระนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมก็ยังทรงสละความสุขมาสอนพวกเรา

      เมื่อเห็นรูปของพระพุทธเจ้า ท่านมีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงยิ้มแย้มแจ่มใส ก็คิดในใจ ว่าการทำใจให้มีจิตสงบอย่างนี้เป็นของดี รูปขององค์สมเด็จพระชินสีห์นี่ ใครจะจับไปโยนน้ำ ไปเผาไฟ ไปจมดิน จมทราย สักเท่าใดก็ตาม เมื่อกลับขึ้นมา ก็ปรากฏว่าหน้าของพระองค์นี้ยิ้มอยู่ตลอดเวลา น่าชื่นใจ ทีนี้อารมณ์ใจเห็นพระพุทธเจ้าก็นึกถึงความดีของพระองค์ นึกถึงพระมหากรุณาของพระองค์ ความสุขเกิดขึ้น เหล่านี้เรียกว่าสุขเวทนา เกิดจากอามิส

      ตอนนี้เราก็คิดต่อไปว่า องค์สมเด็จพระจอมไตร เดิมทีพระองค์มีชีวิตอย่างเรา แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยึดถือในโลกธรรมทั้ง ๘ ประการ ใครจะนินทา ใครจะด่า จะว่า จะสรรเสริญ เป็นประการใด จะมีลาภสักการมากน้อยเพียงใด ลาภไม่มีเพียงใด พระองค์ไม่เคยวิตก เรื่องยศบรรดาศักดิ์เพียงใดพระองค์ไม่เคยปรารถนา เป็นอันว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดามีขนตกอยู่เสมอ คำว่าขนตก ถ้าไปอ่านในบาลีจะมี ขนตกอยู่เสมอ เป็นอันว่าไม่มีขนลุก ขนชัน ไปไหนก็มีจิตใจเป็นปกติ ไม่มีอาการหวาดหวั่นหรือยินดียินร้ายอะไร เราก็ชอบทำใจแบบพระพุทธรูปเสียบ้าง

      เมื่อมีใจก็ทำเหมือนคนไม่มีใจ มีความรู้สึกก็แกล้งทำเหมือนคนไม่มีความรู้สึก มันจะหนาว มันจะร้อน มันจะหิว มันจะกระหาย มันจะมีทุกขเวทนา จะมีสุขเวทนา อย่างไรก็ตาม ถือว่าช่างมัน มันไม่ปรารถนา ชื่อว่าร่างกายไม่มีความสำคัญ ร่างกายนี้มีแล้วก็ไม่มีประโยชน์ มีแต่โทษอย่างเดียว ใจก็เกิดอารมณ์สบาย ไม่ยึดถือวัตถุ หรือว่าอามิส เรียกว่า สี เสียง แสง ใดๆ ทั้งหมด ทำจิตตกมีอารมณ์ปลอดโปร่ง เพราะว่ามีสุขที่ไม่จริง อามิส หรือว่าไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ คำว่าไม่มีทั้งสุขและก็ไม่มีทั้งทุกข์ คำว่าสุขกายเพราะอาศัยกามคุณ คือว่าวัตถุที่เราพึงปรารถนาหรือว่าอารมณ์ที่เราพึงปรารถนา

      อย่าคิดว่านี่เป็นพระนี่ได้เปรียบนะ ไม่ต้องทำมาหากินอะไรมาก เช้าก็ถือหม้อออกจากวัดชาวบ้านก็ใส่มาให้ กลับมาแล้วก็สบาย กินแล้วก็นอน นี่คิดอย่างพระนรกนะ ไม่ใช่พระสวรรค์ แต่คิดอย่างนี้ ใจเกิดสบายขึ้นมา อย่างนี้กล่าวว่าจิตตกอยู่มีความสุข เพราะอาศัยกามคุณ คืออารมณ์มีความใคร่ ความทุกข์ใจเพราะอาศัยวัตถุก็เหมือนกัน ทีนี้ความสุขใจที่ไม่ประกอบด้วยวัตถุก็เหมือนกัน ทีนี้ความสุขใจที่ไม่ประกอบด้วยวัตถุหรือไม่ประกอบด้วยอารมณ์อื่นมันเกิดมีความแช่มชื่น มีอารมณ์โปร่งเฉยๆ อะไรจะไป อะไรจะมาก็มีความรู้สึกอย่างเดียวว่า ช่างมัน

      ใครเขาจะด่า ใครเขาจะว่าก็ช่างมัน เราดีของเราเอง เราไม่ได้ดี หรือเราไม่ได้ชั่วเพราะวาจาของเขาพูด มันจะมีของใช้มาก มันจะมีของใช้น้อย ก็ช่างมัน มีมากก็ใช้มาก มีน้อยก็ใช้น้อย ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะเราไม่สนใจกับมัน มันก็ไม่มีประโยชน์ ร่างกายของเรามันจะสวยไม่สวยก็ช่างมัน เสียงจะเพราะหรือไม่เพราะก็ช่างมัน มันจะแก่หรือมันจะป่วยอะไรก็ช่างหัวมัน เพราะธรรมดาของมันเป็นอย่างนั้น ในที่สุดถึงแม้ว่ามันจะตายก็ช่างมัน เรียกว่าไม่ยอมยึดทั้งอารมณ์ซ้ายและอารมณ์ขวา อารมณ์ความสุข หรืออารมณ์ความทุกข์ เราก็ไม่ยึด ปล่อยใจสบาย อย่างนี้ท่านเรียกว่า อทุกขมสุข คือจิตทรงอุเบกขา

      นี่ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาให้กำหนดไว้อย่างนี้เพื่อให้อารมณ์ของเราเวลานี้มีความสุขหรือมีความทุกข์ ถ้ามีความสุขเราก็รู้อยู่ว่ามีความสุข มีความทุกข์เราก็รู้อยู่ว่ามีความทุกข์ มีความสุขเพราะว่าอาศัยสิ่งอื่นเป็นปัจจัย หรือไม่ได้อาศัยสิ่งอื่นเป็นปัจจัยเราก็รู้อยู่ อาการของความทุกข์ก็เหมือนกัน ตานี้อาการวางเฉยก็เหมือนกัน วางเฉยเพราะว่าเราห้ามสิ่งนั้นเราห้ามสิ่งนี้ไม่ได้ เมื่อห้ามมันไม่ได้ก็เลยไม่ห้าม ปล่อยตามใจมัน อันนี้ว่าวางเฉยเพราะมีอามิส หรือว่าวางเฉยเพราะไม่มีอามิส เฉยขึ้นมาเฉยๆ หรือว่าวางเฉยเพราะจิตตั้งอยู่ในอุเบกขา คือกฎธรรมดาเป็นสำคัญ

      นี่องค์สมเด็จพระทรงธรรมให้รู้ตอนนี้เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา นี่รู้ไว้ด้วยนะ ว่าตอนนี้เป็นอารมณ์ของสมถภาวนา รู้ทำไม การตั้งสติเข้าไว้ การรู้ตัวเข้าไว้มันจะได้รู้ว่า เวลานี้มีสุขหรือมีทุกข์ จะได้รู้ชัดว่าคนเราเกิดมานี่ไม่ใช่ว่ามันจะอยู่เฉยๆ ได้ มันจะต้องมีสุขและจะต้องมีทุกข์ และมีอารมณ์เฉยๆ ในบางขณะ เป็นอันว่าแม้แต่อารมณ์ก็หาความแน่นอนไม่ได้
    2. ในตอนท้ายองค์สมเด็จพระจอมไตรให้ถือว่า ความสุขหรือความทุกข์นี่เป็นธรรมดา ธรรมดาของคนที่เกิดมา เราจะไปยอมยึดถือมันเพื่อประโยชน์อะไร อารมณ์ใจที่มีความสุขก็ดี อารมณ์ใจที่มีความทุกข์ก็ดี มันไม่มีสภาวะที่ทรงความแน่นอนได้เลย เราจะมาสุขจริงๆ ก็ไม่ได้ เดี๋ยวมันก็กลับทุกข์ เวลามันทุกข์คิดว่าจะหาความสุขไม่ได้ มันก็ไม่แน่นอนเดี๋ยวมันก็กลับมามีความสุขใหม่ เป็นอันว่าเอาอะไรแน่นอนไม่ได้
    3. เหตุฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงเตือนว่า เมื่อเราพิจารณาแล้ว จงพิจารณาสักแต่เพียงว่ารู้ ที่เรารู้แล้ว คำว่ารู้แล้วนี่ สักแต่เพียงว่ารู้ ก็เพียงว่ารู้แล้ว จงอย่ายึดถือว่านี่เป็นความสุข หรือว่าเป็นความทุกข์ที่เราควรจะยึดถือเข้าไว้ แล้วเธอทั้งหลายจงเห็นอาการเหล่านี้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของบุคคลที่เกิดมาแล้วย่อมมีอารมณ์อย่างนี้ เมื่อมันหาสภาวะความแน่นอนไม่ได้อย่างนี้ เราก็ไม่ควรยึดถือมันไว้เลย

      คำว่าไม่ยึดถือมันไว้เลยก็หมายความว่าไม่ควรจะยึดถือว่าเราจะทรงมันไว้ต่อไป และเมื่อไม่ยึดถืออารมณ์ แล้วท่านก็เลยสั่งต่อไปว่า ไม่ว่าอะไรทั้งหมดในโลกจงอย่ายึดถือเอา จงอย่าถือแม้แต่อารมณ์นี้ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา เรามีในอารมณ์ อารมณ์มีในเรา

      ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้มันมีแล้วไม่นานเพียงไม่สักกี่วัน มันก็ถึงอาการดับชีพของมัน คือความตายของร่างกาย เมื่อร่างกายตายเมื่อไรแล้ว อารมณ์เหล่านี้มันก็สลายตัวไป

      นี่เป็นอันว่าการเจริญเวทนานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตร องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ใช้สติสัมปชัญญะเข้าคุมอารมณ์ ความจริงมันต้องใช้อารมณ์เอาสติสัมปชัญญะหนักหน่อยนะ ที่หนักก็ไม่เห็นว่าเป็นของแปลก มันเป็นสิ่งที่เราควรจะรู้ ถ้าเราคุมอารมณ์ของเราได้ โดยใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอารมณ์ของเราตลอดเวลา เป็นอันว่า ชาตินี้พวกเราทุกองค์ มีหวังได้ในฐานะความเป็นอรหัตผล เพราะอะไรเพราะพระอริยบุคคลขั้นพระอรหันต์นี่ไม่มีอารมณ์เผลอในเรื่องขันธ์ ๕ เป็นอันว่าการพูดเรื่องเวทนาก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
      จบเวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน
      จากหนังสือ ธรรมะปกิณกะ ๒ (แนวมหาสติปัฏฐานสูตรโดยละเอียด) พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2019
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า


    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือ จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือ จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง

    ย่อมอยู่อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ

    จบจิตตานุปัสสนา ๛



    ๏ ตอนนี้พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้รู้อารมณ์ของจิต ให้รู้อยู่ว่าจิตเป็นยังไงกำหนดรู้ไว้ ท่านตั้งรู้ไว้ถึง ๑๖ ข้อด้วยกัน ไม่ต้องท่องจำ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีสัมปชัญญะ ว่าขณะนี้เรามีอารมณ์เป็นยังไง คือรู้อารมณ์ คุมอารมณ์เท่านั้น ว่าเรามีอารมณ์เป็นยังไง ถ้าจิตมีอารมณ์ราคะ ก็พยายามแก้ราคะเสีย จิตมีโทสะก็แก้โทสะเสีย จิตมีโมหะก็แก้โมหะเสีย ถ้าจิตหดหู่ ก็สร้างจิตให้มันเบิกบานตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เป็นต้น คือว่าถ้ารู้มันมีจิตชั่ว รวมความว่าไอ้จิตน่ะมันมี ๒ จิต ที่พูดมาแล้วทั้งหมดมันมีอยู่ ๒ อย่าง คือว่าจิตมีอารมณ์ดี หรือว่าจิตมีอารมณ์ชั่ว

    ถ้าจิตมีอารมณ์ดีเนื่องในกุศลส่วนใดส่วนหนึ่ง อันนั้นควรส่งเสริมพยายามทำให้มากขึ้น รักษาอารมณ์นั้นให้แจ่มใส

    ถ้าอารมณ์ชั่วของจิตเกิดขึ้นเมื่อใด พยายามแก้ทันที

    นี่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแนะนำ เตือนให้รู้อยู่เสมอว่าขณะนี้อารมณ์จิตของเราเป็นยังไง

    เรื่องอารมณ์ของจิต เรามักจะเผลอกัน เราไม่ค่อยได้สนใจกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของตัวเอง ไม่ค่อยมีใครสนใจ มักจะไปสนใจกับเรื่องของบุคคลอื่น

    อันนี้มันเป็นอุปกิเลสนะขอรับ

    รวมความว่าเข้าถึงความชั่ว อุป แปลว่าเข้าไป กิเลส แปลว่าความเศร้าหมอง ไอ้ความเศร้าหมองก็ความชั่วน่ะเอง

    จากหนังสือมหาสติปัฏฐานสี่ พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    pl_lee.jpg
    อธิบายสติปัฏฐาน อันเป็นเครื่องบรรเทากิเลสของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ดังนี้


    สติปัฏฐาน ๔

    ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงกายนี้หนึ่ง



    ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงเวทนานี้หนึ่ง



    ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงจิตนี้หนึ่ง



    ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ ให้ระลึกถึงธรรมนี้หนึ่ง
    ผู้เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ให้เกิดเป็นสมาธินั้น ต้องรู้จักคุณธรรม ๓ อย่างนี้เสียก่อน มิฉะนั้นไม่เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานเลย เพราะว่าความเข้าใจนั้นแคบไป แต่แท้ที่จริงนั้น มีแต่สติเท่านั้นไม่พอในการทำสติปัฏฐานเลย เมื่อไม่พอเช่นนี้ ขืนระลึกถึงรูปกายอยู่แล้ว ก็จะเกิดแต่ความยินดียินร้าย เพราะหน้าที่ของสตินั้นได้แค่ระลึกถึงเท่านั้น ฉะนั้นในการเจริญสติปัฏฐานนั้น จำต้องให้รู้เครื่องประกอบของผู้ระลึกดังนี้ คือ



    ๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ไว้ประจำใจก่อน ใช้สติแล่นติดต่อกับอารมณ์ มีรูปกายเป็นต้น แล้วให้แล่นเข้ามาสู่ภายใน คือ ใจของตน ๓. อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาขยายอาการของกายออกเป็นส่วน
    อุปมาอีกว่า กายเราเปรียบเหมือนโรงเลื่อยจักร จิตเปรียบเหมือนเหล็กเพลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนมู่เล่ที่หมุนรอบตัวเพลาอยู่ในสถานที่แห่งเดียว สติเหมือนสายพานคอยผูกอารมณ์กับจิตไว้ไม่ให้เคลื่อนคลาดไปสู่อารมณ์อื่น อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เหมือนตัวเลื่อยจักร คอยตัดหั่นท่อนซุงนั้นให้กระจายออกเป็นชิ้นๆ จึงจะสำเร็จประโยชน์ คุณธรรม ๓ อย่างนี้ จำต้องมีประจำตัวอยู่เสมอในการทำสมาธิ จึงจะสำเร็จได้


    ต่อไปนี้ จะแสดงถึงงานที่จะต้องทำ อันเป็นหน้าที่ของอาตาปี ที่เรียกว่าความเพียรเพ่ง และสัมปชัญญะความรู้ดี สติความระลึกได้ จะต้องให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตนๆ หน้าที่ของตนที่จะต้องทำนั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ



    ๑. กาย อันเป็นที่ประชุมของธาตุทั้ง ๔
    ๒. เวทนา ความเสวยอารมณ์ มีสุข ทุกข์ อุเบกขา เป็นต้น
    ๓. จิต ผู้สะสมไว้ซึ่งความดีและความชั่วทั้งหลาย
    ๔. ธรรม สภาพที่ทรงไว้ในตน เป็นต้นว่า กุศลธรรม และอกุศลธรรม อันระคนปนกันอยู่
    ๔ อย่างนี้ เป็นหน้าที่ของผู้จะทำต่อไป



    ข้อ ๑ อธิบายในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    อธิบายคำที่ว่า กาย นี้ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ประชุมกันเข้า มีจิตวิญญาณครอบครองอยู่ก็ดี ที่ปราศจากจิตวิญญาณครอบครองแล้วก็ดี แต่ปรากฏแก่ตาได้อยู่ เรียกว่า รูปกาย รูปกายนี้แยกออกเป็น ๓ ประเภท คือ

    ๑. กายใน ได้แก่ กายของตนเอง
    ๒. กายนอก ได้แก่ กายคนอื่น
    ๓. กายในกาย ได้แก่ ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของอวัยวะเป็นต้นว่า ลมหายใจ อันเป็นส่วนหนึ่งของธาตุทั้ง ๔ นี้เรียกว่า กายในกาย
    เรื่องของกายจะเป็น ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี ก็มีอยู่ว่า ธาตุทั้ง ๔ เท่านั้น เมื่อรู้จักหน้าที่ของตนแล้ว จำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้อง เป็นต้นว่า

    ๑. สัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่กับที่ คือทำความรู้สึกอยู่กับจิตอันเป็นส่วนภายใน ไม่ต้องไปใช้ที่อื่น
    ๒. สติ ความระลึก จะต้องใช้ทั่วไป เป็นต้นว่า ใช้แล่นเข้าสู่จิตอันเป็นส่วนภายใน แล้วใช้แล่นเข้าไประลึกถึงอารมณ์ มีรูปกายเป็นต้น แล้วคอยประคองอารมณ์กับจิตไว้ไม่ให้เคลื่อนคลาดจากกัน
    ๓. อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณารูปกาย ขยายออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

    หน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณานั้นมีอยู่ ๕ อย่าง คือ


    ให้ตรวจตราพิจารณาเพ่งดูอาการ ๓๒ มี



    เกสา ผม
    โลมา ขน
    นขา เล็บ
    ทันตา ฟัน
    ตโจ หนัง เป็นอาทิ
    ให้ตรวจตราพิจารณาดูจนถี่ถ้วน เมื่อไม่เกิดความสงบในวิธีนี้ ให้เจริญต่อไปในวาระที่ ๒ คือ




    ให้เพียรเพ่งพิจารณาอสุภกรรมฐานโดยประการต่าง ๆ ของร่างกาย เป็นต้นว่า ร่างกายก้อนนี้เป็นที่ประชุมซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลาย คือ หน้าที่บรรจุไว้แห่งซากศพ เป็นสุสานประเทศ เช่น ซากโค ซากกระบือ ซากหมู เป็ด ไก่ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม อันเข้าไปผสมบ่มไว้ในกระเพาะ แล้วกรองกลั่นเป็นน้ำเลือด น้ำหนอง เปื่อยเน่า พุพอง ซาบซ่านออกมาตามทวารต่าง ๆ อันมนุษย์ทั้งหลายพากันเยียวยามิได้หยุด เป็นต้นว่า การอาบน้ำขัดสี ซักฟอก กลบกลิ่นมิให้ปรากฏแต่ถึงกระนั้น อ้ายความโสโครกของร่างกายก็ยังแสดงตัวออกอยู่เสมอ เป็นต้นว่า ขี้หู ขี้ตา ขี้มูก ขี้ฟัน ขี้เหงื่อ ขี้ไคล ย่อมไหลซาบซ่านอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่โสโครกโสมมด้วยประการต่างๆ เป็นต้นว่า ที่เกิดก็เกิดที่โสโครก ที่อยู่ก็อยู่ที่โสโครก คืออยู่ในป่าช้าผีดิบ หรือยิ่งกว่าป่าช้า ซากผีที่ฝังไว้ในตนแล้ว ดูเป็นร้อยๆ อย่างเสียอีก ตัวคนเราถ้าจะดูตามลักษณะ ก็มีอาการต่างๆ ไม่สม่ำเสมอกัน มีกลิ่นก็เหม็น เป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่าชังหนักหนา




    เมื่อพิจารณาอย่างนี้ ถ้าไม่เกิดความสลดสังเวช ก็ให้พิจารณาในวาระที่ ๓ คือ




    ให้เพ่งพิจารณาลมหายใจเข้าออก ลมเข้ายาวก็ให้รู้ตัว ลมออกยาวก็ให้รู้ตัว ทีแรกการทำลมให้ปล่อยใจออกมาตามลมก่อน แล้วให้หายใจเข้าเอาใจเข้ามาตามลมอีก ทำอยู่อย่างนี้สักสองสามครั้ง แล้วจึงตั้งใจไว้เป็นกลาง อย่าออกตามลม อย่าเข้าตามลม จนจิตนิ่งอยู่ รับรู้แต่ลมเข้าลมออกเท่านั้น ทำใจว่างๆ สบายๆ ไว้เฉยๆ จะวางใจไว้ที่จมูกก็ได้ เพดานก็ได้ ถ้าวางไว้ในหทัยวัตถุได้ยิ่งดี แล้วทำจิตให้นิ่งจะเป็นที่สบาย เกิดปัญญาแสงสว่างดับความคิดต่างๆ ให้น้อยลง แล้วเพ่งพิจารณาสังเกตกำหนดอาการของลม ที่มีอาการพองตัวเข้าออกอยู่นั้น เป็นต้นว่า เข้ายาวออกยาว เข้าสั้นออกสั้น เข้ายาวออกสั้น เข้าหยาบออกละเอียด เข้าละเอียดออกหยาบ เข้าละเอียดออกละเอียด ให้เพ่งพิจารณาอาการของลมทั้งหลายเหล่านี้ให้ถี่ถ้วน และอย่าให้จิตเคลื่อนไหลไปตามลม ทำอย่างนี้จนกว่าจะเกิดสงบ
    ถ้าไม่สงบด้วยวิธีนี้ให้เปลี่ยนไปใน วาระที่ ๔ คือ


    ให้เพ่งพิจารณาดูธาตุทั้ง ๔ มีธาตุดิน-น้ำ-ลม-ไฟ เป็นต้น ส่วนใดที่แข็งเรียกว่าธาตุดิน ส่วนใดที่เหลวเรียกว่าธาตุน้ำ ส่วนใดที่พัดไปพัดมาเรียกว่าธาตุลม ส่วนใดที่อบอุ่นเรียกว่าธาตุไฟ แยกธาตุดินออกเป็นกองหนึ่งตั้งไว้ข้างหน้า แยกธาตุน้ำเป็นกองหนึ่งไว้ข้างหลัง แยกธาตุลมเป็นกองหนึ่งวางไว้ข้างซ้าย แยกธาตุไฟกองหนึ่งวางไว้ข้างขวา ตัวเราตั้งตนไว้ตรงกลางแล้วเพ่งพิจารณาดูว่า ร่างกายนี้ เมื่อแยกออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้แล้ว ก็เห็นความแตกดับทำลายหายสูญไปเป็นเถ้าที่เรียกว่าตาย โดยอาการเช่นนี้แล้วเกิดความสลดสังเวช


    เมื่อไม่เห็นผลปรากฏขึ้นแล้ว ให้เพ่งพิจารณาในวาระที่ ๕ คือ


    ให้พิจารณาดูว่า ร่างกายนี้เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องมีความแก่รุกรานเข้ามาหาตนทุกวิถีทาง ความเจ็บก็จะมีมา ความตายก็จะมีมา ความพลัดพรากจากสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ก็จะมีมาถึงตนจนได้ ร่างกายก้อนนี้ย่อมมีลักษณะปรากฏอยู่เสมอ เป็นต้นว่า อนิจจัง เป็นของไม่เที่ยงมั่นคงถาวร คอยโยกคลอนอยู่เสมอ ทุกขัง เป็นของที่ทนอยู่ได้ลำบาก อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนเราเขา เอามาไม่ได้ เอาไปไม่รอด ตายแล้วย่อมทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้และท่อนฟืน หาเป็นสาระแก่นสารมิได้ เมื่อเพ่งพิจารณาด้วยอาการเช่นนี้แล้ว ก็จะเกิดความสลดสังเวชเป็นเหตุจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ


    อาการทั้งหลาย ๕ อย่างที่กล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี คือได้แก่ความเพียรเพ่งพิจารณา ต่อสู้ดูสภาพความจริงของรูปกายนี้



    ส่วนตัวสติ ต้องให้ทำงานตามหน้าที่ของตน คือ ให้ระลึกถึงอารมณ์ของกรรมฐาน และระลึกถึงจิตใจของตนอันเป็นส่วนภายใน อย่าได้ส่งไปในสถานที่อื่นนอกจากนี้ ว่าเวลานี้เรามีความรู้สึกตัวอยู่หรือไม่



    ที่เรียกว่าสัมปชัญญะความรู้ดี ให้ตั้งคอยกำหนดสังเกตความรู้สึกตัวว่า เวลานี้จิตใจของเรามีความเคลื่อนไหวพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปโดยอาการอย่างไรบ้าง ก็ให้ทำความรู้ตัวอยู่กับที่ประจำใจ


    อาการทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นการกระทำในส่วนกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    กายนี้จะเป็นกายภายนอกก็ตามภายในก็ตาม จำเป็นต้องใช้คุณธรรมทั้ง ๓ อย่างดังว่ามาแล้ว เมื่อทำได้โดยสมบูรณ์นี้แล้ว จึงเรียกว่า เจริญมหาสติปัฏฐาน


    ธรรมดาคนเราสติย่อมมีกันทั่วไป แต่ไม่มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สตินั้นจึงตกไปในทางที่ผิด ที่เรียกว่ามิจฉาสติ เมื่อใครทำได้โดยอาการดังกล่าวมานี้ จะต้องเกิดความตั้งมั่นแห่งจิตอย่างไม่ได้อะไรเสียเลย ต้องได้รับความสลดสังเวชอันเป็นเหตุแห่งความสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เป็นบันไดแห่งวิปัสสนาญาณอันเป็นหนทางพระนิพพาน ที่นักปราชญ์และบัณฑิตทรงภาษิตรับรองว่า นิพพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง อธิบายมาในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยประการดังนี้


    ข้อ ๒ อธิบายในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อไป


    คำที่ว่าเวทนานั้น ได้แก่ ความเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากอาการกระทำของตัวที่เรียกว่ากรรม ถ้าจะกล่าวโดยประเภทนั้น มี ๓ อย่างคือ


    ๑. เวทนาภายใน
    ๒. เวทนาภายนอก
    ๓. เวทนาในเวทนา
    เวทนาภายในนั้น ถ้าจำแนกตามความรู้สึกที่เป็นอยู่มี ๓ อย่างคือ



    ๑. สุขเวทนา ความสบายปลอดโปร่ง ในจิตใจของตน
    ๒. ทุกข์เวทนา ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความหงุดหงิด ดวงจิตเหี่ยวแห้งไม่เบิกบาน
    ๓. อุเปกขาเวทนา ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ในระหว่างสุข ในระหว่างทุกข์ ที่ยังไม่เกิดขึ้น
    เวทนาทั้ง ๓ อย่างนี้เรียก เวทนาภายใน


    ส่วนเวทนาภายนอกนั้นก็มี ๓ อย่างเหมือนกันคือ


    ๑. โสมนัสสเวทนา ความยินดีปรีดา ร่าเริงอยู่ในอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ ที่เกิดจากอายตนะทั้ง ๖ เป็นต้น เมื่อใจได้ถูกต้องดูดดื่มยินดีอยู่ในอารมณ์อันนั้นเรียกว่า โสมนัสสาเวทนา
    ๒. โทมนัสสเวทนา ความคับแค้นน้อยใจ ได้เกิดขึ้นจากอาการที่ได้ประจวบกับอารมณ์ภายนอก เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอาทิ เมื่อปรากฏแก่ตา หู จมูก ลิ้น เป็นต้นแล้ว สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าเป็นที่ไม่พอใจของตน เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา จึงได้เกิดโทมนัสสเวทนาประการหนึ่ง
    ๓. อุเปกขาเวทนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส เป็นอาทิทั้งหลายเหล่านั้น ได้ผ่านมากระทบถูกต้องอายตนะภายใน ก็มิได้ยินดียินร้าย ใจเป็นกลางวางเฉยอยู่ เรียกว่า อุเปกขาเวทนา
    ที่เรียกว่า เวทนาภายนอก เพราะเหตุว่า เนื่องด้วยการเกิดจากอายตนะภายนอก


    ส่วนข้อ ๓ เวทนาในเวทนานั้น คือหมายเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของเวทนาทั้งหลายที่กล่าวมานั้น คือ ไม่ต้องเลือก เป็นต้นว่า มีสุขปรากฏแก่ตนเมื่อไร ให้จิตพิจารณาอยู่ในเวทนาอันนั้น เช่นว่า มีสุข ก็ให้ตั้งสติกำหนดระลึกอยู่ในที่นั้น ประคองสุขอันนั้นให้อยู่ในตน ประคองตนให้อยู่ในสุข อย่าให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นอื่น และอย่าให้ความปรารถนาใด ๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วค่อยใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาดูความจริงของเขา สัมปชัญญะความรู้ดีให้คอยสังเกตจิตใจให้รู้ตัวอยู่กับที่ อย่าให้กระแสของสมุทัยเกิดขึ้น สมุทัยที่จะเกิดขึ้นในครั้งแรกนั้น เกิดจากความไม่รู้สึกตัวดีแล้วก็มีจิตหวั่นไหว ลักษณะที่ไหวตัวนั่นแหละเรียกว่าตัววิภวตัณหา เมื่อไหวแรงขึ้นมีกระแสจิตเกิดขึ้นแล่นส่ายออกไป กระแสที่ส่ายอยู่นั้นเป็นตัวภวตัณหา เมื่อเจอะสิ่งใดอันเป็นส่วนอายตนะภายนอกแล้วเข้ายึดเอา นั่นเรียกว่าตัวกามตัณหา ฉะนั้นจึงให้ประคองจิตของตนอยู่ในอารมณ์หนึ่ง เรียกว่า สุขเวทนา อย่าเอาอารมณ์อื่นเข้าปะปน ให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ประจำตน แล้วให้เพียรเพ่งพิจารณา ให้ดูจนรู้ความจริงของเวทนานั้น ๆ ที่เรียกว่าอาตาปี เมื่อทำได้เช่นนี้จึงจะเรียกว่า เป็นผู้เจริญในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    ข้อนี้โดยมาก คนเราเมื่อมีเวทนาอันใดเกิดขึ้นแล้ว มักทำความปรารถนาต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น สุขเวทนาได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็อยากให้สุขนั้นเป็นอยู่คงที่ หรืออยากให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เลยกลายเป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ที่เรียกว่าสมุทัย เลยได้รับผลตรงข้ามกับความต้องการของตน บางทีก็มีทุกข์เวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องการ ดิ้นรนหาความสุขต่อไปเลยกลายเป็นเพิ่มทุกข์ บางขณะใจก็เฉย ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดียินร้าย เป็นกลางวางเฉยอยู่เช่นนั้น แล้วก็อยากให้เป็นอยู่เช่นนั้นเป็นนิจ บางทีก็เห็นว่าตนไม่ฉลาด เป็นเหตุให้เกิดความปรารถนาขึ้นอีกได้ แล้วก็ดิ้นรนขวนขวายอยากให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าตนที่เป็นอยู่นั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จะเรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในสติปัฏฐานไม่ได้ ถึงแม้มีสติระลึกได้อยู่ว่าสุขหรือทุกข์ หรืออุเปกขาก็ตาม แต่ก็ไม่พ้นไปจากความเป็นเช่นนั้น นี่ก็ส่อให้เห็นว่าขาดคุณธรรม ๓ อย่าง ทะนุบำรุงช่วยสนับสนุนสติอันนั้นให้เป็นองค์มรรคขึ้น คือให้มีสัมปชัญญะความรู้ดี ประจำใจไว้เป็นเบื้องต้นนี้หนึ่ง แล้วใช้สติแล่นติดต่ออารมณ์กับจิต อย่าให้จิตเคลื่อนคลาดจากอารมณ์ทั้งนั้น อย่าให้อารมณ์นั้นคลาดเคลื่อนจากจิต ตั้งสติกับอารมณ์นั้น ประคองจิตไว้ในอารมณ์เดียวให้แน่วแน่อยู่ ส่วนอารมณ์นี้เป็นหน้าที่ของอาตาปี คือความเพียงเพ่งพิจารณาตามอาการของเวทนาทั้งหลายที่เป็นภายในและภายนอก สุข ทุกข์ อุเปกขา อาการใดอาการหนึ่ง เช่น ทุกข์เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เป็นหน้าที่ของความเพียรเพ่งพิจารณา ดูจนกว่าจะรู้จริงนี้หนึ่ง จะเป็นเวทนานอกก็ตาม ในก็ตาม เป็นหน้าที่ของอาตาปี เวทนาทั้งหลายเหล่านั้นปรากฏอยู่ในที่แห่งใด จำจะต้องใช้ความเพียรเพ่งพิจารณาแผดเผาเร่าร้อนอยู่ในที่นั้น นี่เป็นวาระที่ ๑ ของความเพียรเพ่งพิจารณา


    ๒. ให้ดูความเกิดขึ้นแห่งเวทนาอันมีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ต้องสาวไปในที่อื่น ทำความเห็นว่า จะเกิดมาจากเหตุอะไรก็ตาม ให้กำหนดจดจ้องดูอยู่แต่ปัจจุบัน


    ๓. ให้พิจารณาความเสื่อมไปของเวทนานั้น


    ๔. ให้เพ่งดูความดับของเวทนานั้น


    ๕. ทำความรู้ไว้ว่า เวทนานี้มีแต่ความเกิดและความดับ ความทำลายถ่ายเทกันไปด้วยประการต่าง ๆ หาเป็นแก่นสารไม่



    เมื่อใครทำได้ด้วยอาการเช่นนี้ จึงเรียกว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมเป็นองค์มรรคสมังคีอยู่ในที่นั้น ถ้าจะย่นให้เป็นองค์มรรค ต้องย่นอย่างนี้ คือ


    สัมปชัญญะความรู้ดีคอยประคองจิตอยู่ ทำความรู้ตัวอยู่ ไม่ปล่อยจิตของตนให้แล่นไปสู่อกุศล ทำจิตของตนให้เป็นปรกติอยู่ นี้เรียกว่าศีล


    สติคอยประสานจิตกับอารมณ์ไม่ให้คลาดเคลื่อนไปสู่อารมณ์อื่น นี้เรียกว่าสมาธิ


    อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณาในอารมณ์นั้น ๆ ให้รู้แจ้ง เห็นจริง รู้ได้ทั้งความเกิดความดับ นี้เรียกว่าปัญญา


    คุณธรรม ๓ ประการนี้ต้องให้มีให้เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันในขณะจิตอันใดอันหนึ่ง จึงเรียกว่า มรรคสมังคี แล้วมรรคเหล่านั้นทำงานตามหน้าที่แห่งตน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริง โดยไม่ต้องละโน่นทำนี่ ละนี่ทำโน่น ละนอกทำใน ละในทำนอก


    เมื่ออาศัยคุณธรรม ๓ ประการนี้พร้อมแล้ว จะไปทำในอารมณ์ใดก็ตาม อดีต อนาคต ปัจจุบัน สุข ทุกข์ อุเบกขา อาการใดก็แล้วแต่ เมื่อสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมแล้ว ย่อมแล่นเข้าไปถึงกันหมด จึงได้เปรียบไว้ในเบื้องต้นว่า จิตเปรียบเหมือนเหล็กเพลาจักร สัมปชัญญะเปรียบเหมือนมู่เล่หมุนตัวอยู่ประจำที่ของตน สติเหมือนสายพานคอยประสานอารมณ์กับจิตมิให้คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลง อาตาปีเหมือนเลื่อยจักรชักไปคอยมาตัดรอนอารมณ์นั้น ๆ ให้กระจายออกเป็นส่วน ๆ นี้เรียกว่า ภควา ผู้มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงเช่นนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการทำสติปัฏฐานในข้อนี้


    ข้อ ๓ อธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    คำที่ว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น จำแนกออกโดยอาการ ๓ อย่างดังนี้

    ๑. จิตภายใน
    ๒. จิตภายนอก
    ๓. จิตในจิต
    จิตภายในนั้น ได้แก่ลักษณะที่มีความเป็นอยู่เฉพาะมโนทวาร ไม่ประสานติดต่อกับอารมณ์ภายนอก


    จิตภายนอกนั้นได้แก่ ความเกี่ยวข้องสัมปยุตกันด้วยอารมณ์ภายนอก มีรูปเป็นต้น


    จิตในจิตนั้น ได้แก่การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งตามอาการของจิตที่เป็นอยู่ ทั้งภายในและภายนอกก็ได้


    ส่วนลักษณะของจิตที่เป็นอยู่ภายในนั้นมี ๓ อย่างคือ


    ๑. ราคะจิต จิตประกอบด้วยราคะความกำหนัดยินดี


    ๒. โทสะจิต ได้แก่ความหงุดหงิดเกิดขึ้น อันเป็นส่วนภายใน




    ๓. โมหะจิต จิตที่มืดมนกลุ้มอกกลุ้มใจอยู่ จะพิจารณาเอาเรื่องอะไรก็ไม่ได้ โดยย่อก็คือได้แก่ความหลงนั่นเอง


    ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่าจิตภายใน


    จิตภายนอก นั้นท่านก็แยกออกเป็น ๓ อย่างเหมือนกัน คือ


    ๑. ราคะจิต
    ๒. โทสะจิต


    ๓. โมหะจิต


    แต่ที่เรียกว่าภายนอกนั้น เพราะสิ่งทั้งสามเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมแล่นออกไปสู่อารมณ์ทั้งหลายภายนอก อันเป็นบ่อเกิดแห่งความกำเริบของจิตทั้งหลายเหล่านั้น มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น มิได้รู้แจ้งเห็นจริงในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น รู้ไปต่าง ๆ อันผิดจากความเป็นจริง เป็นต้นว่า ไม่งามเห็นว่างาม ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง เป็นทุกข์เห็นว่าสุข ไม่ใช่ของของตนเห็นว่าเป็นของตน เหล่านี้เรียกว่าจิตภายนอก


    จิตในจิต คือได้แก่การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิตทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ตัวอย่างเช่น บางครั้งก็มีราคะ บางครั้งก็มีโทสะ บางครั้งก็มีโมหะ


    ในคราวใดสมัยใด จิตทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็ตั้งใจหยิบยกเอาจิตดวงนั้น ๆ เข้าไว้ แล้วให้ตั้งสัมปชัญญะความรู้สึกตัวประจำใจไว้ ตั้งสติแล่นติดต่อในอารมณ์นั้น ๆ ให้มั่นคง อย่าส่งไปในอารมณ์อื่น และอย่าให้ความปรารถนาใด ๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วใช้ อาตาปี คือความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์นั้น อย่าหวั่นไหวจนกว่าจะรู้ความเป็นจริงของเขา


    ความจริงของนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยิ่งกำเริบก็มี เสื่อมน้อยถอยไปก็มี เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา หาเป็นแก่นสารมิได้ ตั้งใจเพ่งพิจารณากันอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงแม้ว่ากิเลสเหล่านั้นจะมีปรากฏอยู่ ถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติความระลึกได้ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เมื่อคุณธรรม ๓ ประการนี้มีประจำอยู่ในตนเอง อกุศลจิตทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินที่ถูกครอบเสียด้วยภาชนะ เป็นต้นว่าหม้อหรือกะลาที่เขาครอบไว้ซึ่งพันธุ์ผักกาดที่กำลังงอกขึ้นใหม่ ถ้ามนุษย์ไม่หยิบยกกะลานั้นออกแล้ว พืชพันธุ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีทางเจริญเติบโตขึ้นได้ มีแต่ที่จะเหี่ยวแห้งตายไปถ่ายเดียวเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรที่จำต้องใช้สัมปชัญญะความรู้ตัวประจำจิตนั้น ๆ ไว้ สติค่อยแล่นระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น อาตาปีเพียรเพ่งแผดเผา กิเลสเหล่านั้นก็จะเบาบางห่างไกลไปจากใจของตนทุกเมื่อ


    จิตทั้งหลายที่กล่าวมา เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดและถั่วเขียว สติเปรียบเหมือนกะลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนบุคคลผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา อุปมาเหมือนแดดอันเป็นเครื่องเผาผลาญให้พืชพันธุ์ย่อยยับดับสูญ


    ที่กล่าวมานี้พูดถึงจิตฝ่ายชั่ว


    ส่วนจิตฝ่ายดีนั้นก็มีตรงกันข้าม เช่น


    วิราคจิต จิตที่คลี่คลายออกมาจากความกำหนัดยินดี


    อโทสะ คือจิตปราศจากความหงุดหงิดงุ่นง่าน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย


    อโมหจิต จิตที่ปราศจากความลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิดไปต่าง ๆ


    นี้เป็นส่วนกุศลจิตอันเป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดมีแก่ตนแล้วก็ให้รักษาไว้ แล้วคอยกำหนดไว้จะตรวจดูภูมิภาคของตน จะได้รู้ว่าจิตใจของตนนั้นอยู่ในภูมิอันใด ถ้าจะกล่าวตามภูมิของจิตแล้วก็มีอยู่ ๔ อย่าง อันเป็นภูมิภาคแห่งความดีคือ

    ๑. กามาวจรภูมิ
    ๒. รูปาวจรภูมิ
    ๓. อรูปาวจรภูมิ
    ๔. โลกุตตรภูมิ
    ๑. กามาวจรภูมินั้น มีจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้น แล้วแล่นเข้าไปติดต่ออารมณ์ทั้งหลายอันเป็นกุศล เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งกุศล เมื่อตนได้ประสบอารมณ์นั้น ๆ แล้วก็เกิดโสมนัสยินดีปรีดาร่าเริงอยู่ด้วยอารมณ์เหล่านั้น มีรูปเป็นต้น แต่รูปในที่นี้ หมายเอารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมอย่างเดียว จึงเรียกว่า กามาวจรกุศล ถ้าย่นย่อภูมิชั้นแห่งกามาวจรสวรรค์มาไว้ในตนแล้ว ดังนี้ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลนั้น เป็นสวรรค์ชั้นหนึ่ง เสียงที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง กลิ่นที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง รสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง สัมผัสที่เป็นกุศลชั้นหนึ่ง ธรรมารมณ์ภายในที่เกิดกับใจชั้นหนึ่ง รวมลงเป็นสวรรค์ ๖ ชั้น นี้เรียกว่า กามาวจรภูมิ


    ๒. รูปาวจรภูมิ คือจิตนั้นเกิดจากความวิตก เกิดขึ้นในรูปอันเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐานอันใดอันหนึ่ง แล้วขยายอาการของรูปอันนั้นออกไปเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่าวิจาร และคอยระวังจิตของตน อย่าให้เคลื่อนคลาดจากอารมณ์อันนั้น จึงเรียกว่า เอกคตารมณ์ เมื่ออารมณ์และจิตเป็นหนึ่งเช่นนี้แล้ว อารมณ์นั้นก็กลายเป็นของเบาใจ มีภาระน้อย ปล่อยความกังวลเสียได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ปีติความอิ่มใจ ความสุขสบายใจอันเป็นผลย่อมเกิดขึ้น เมื่อจิตประกอบด้วยองค์เช่นนี้เรียกว่า ปฐมฌาน รูปาวจรจิตในเบื้องต้น


    ๓. อรูปาวจรภูมิ คือจิตปล่อยจากรูปอันเป็นส่วนรูปารมณ์นั้นแล้ว แต่ยึดถือในส่วนอารมณ์ที่ละเอียด อันเป็นประเภทแห่งนามธรรม เป็นต้นว่า อากาสานัญจายตนฌาน คือความเพ่งในที่ว่าง ๆ โล่ง ๆ รู้ ๆ อยู่ว่าไม่มีรูปใดรูปหนึ่งผ่านเข้ามาปรากฏ ฉะนั้นจึงไม่สามารถรู้ได้ทั่วถึง เป็นแต่เข้าไปรู้หลบตัวอยู่ภายใน ไม่ใช่เข้าไปรู้อยู่ด้วยทำงานสำเร็จ เข้าไปรู้อยู่ด้วยอาการหลบหลีก คือ เห็นแก่โทษที่เกิดขึ้นแต่ส่วนภายนอก ไม่เห็นว่าโทษนั้นฝังอยู่ภายใน จึงเข้าไปหลบอยู่ทำความรู้ แต่ส่วนตัวก็สำคัญว่าตนหมดกิเลสไปบ้าง เพราะสำคัญที่ว่างนั้นเป็นพระนิพพาน นี้เรียกว่า อรูปาวจร ภูมิในเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งโลกีย์


    ถ้าใครต้องการที่จะรู้ดีรู้ชอบแล้ว จิตดวงนี้เป็นโลกีย์หรือโลกุตตระนั้นอย่างนี้ คือ ให้สังเกตเมื่อทำความรู้เข้าไปสงบอยู่แล้วก็มีความสุขสบายคล้ายกับว่าไม่มีกิเลสเจือปน ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นให้เป็นอยู่ตามธรรมดาแล้วก็เกิดกิเลสกำเริบขึ้นได้อยู่ตามธรรมดา เหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็นแต่โลกีย์ บางทีก็ทรงตัวอยู่ได้ไม่เสื่อม ด้วยอำนาจแห่งความเพียร บางทีก็เกิดความสงสัยลังเลขึ้นในความรู้ของตนนั้นอีก เป็นต้นว่า ลูบคลำคร่ำครวญอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าพึงเข้าใจว่าเป็นความรู้อันแท้จริง


    ถ้าจะพูดถึงความรู้อันมีมากอย่างเช่น มโนใจก็รู้ จิตก็รู้ วิญญาณก็รู้ ปัญญาก็รู้ สัมปชัญญะก็รู้ วิชชาก็รู้ อวิชชาก็รู้ รวมลงที่ว่ามานี้ ล้วนแต่หมายเอาความรู้เป็นฐานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแต่ลักษณะที่รู้ เมื่อไม่รู้จักแยกอาการของรู้แล้ว รู้นั้นก็สับกันได้ บางทีก็อาจจะเอาความรู้ผิดมาเป็นความรู้ถูก บางทีก็อาจจะเอาความรู้ที่เป็นอวิชชามาเป็นวิชชา บางทีก็เอาความรู้ที่ติดสมมติมาเป็นวิมุตติ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติควรไตร่ตรองพลิกแพลงให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ว่าความรู้อันใดเป็นความรู้อันแท้จริง ความรู้อันใดเป็นความรู้ที่ไม่จริง ความรู้ที่ไม่จริงนั้นสักแต่ว่ารู้ แต่ละไม่ได้ ความรู้ที่จริงนั้น เมื่อเข้าไปรู้ในสิ่งใดย่อมละได้


    นี้พูดมาในส่วนภูมิภาคแห่งจิตทั้งหลาย ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า โลกียภูมิ


    ๔. โลกุตตรภูมินั้น นับแต่ขั้นแรก คือ ได้แก่


    โสดาปตฺติผล โสดาปตฺติผลในเบื้องต้นท่านก็ดำเนินมาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นส่วนโลกีย์ อันเป็นภาคพื้นเหมือนกัน แต่ท่านเป็นผู้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔ ในครั้งแรก จึงจะได้ละสังโยชน์ ๓ ประการออกจากตนเสีย ดวงใจของท่านนั้นจึงได้หลุดเข้าไปในกระแสของนิพพาน


    ที่เรียกว่าสังโยชน์ทั้ง ๓ นั้นคือ


    ๑. สกฺกายทิฏฺฐิ ความเห็นเป็นเหตุให้ถือว่าก้อนกายนี้เป็นของตน


    ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลเป็นเหตุให้ไม่แน่ใจในความดีที่เราเชื่อถือกันคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความจริงหรือไม่


    ๓. สีลพฺพตปรามาส ความลูบคลำอยู่ในสิ่งที่ตนประพฤติปฏิบัติอยู่นั้น


    ถ้าจะกล่าวให้สั้น ก็ได้แก่การที่ยึดถือความดีทั้งหลายอันเป็นส่วนของกิริยาภายนอก เป็นต้นว่า รักษาศีล หรือทำข้อวัตรปฏิบัติ ก็ยึดถือเอาแต่อาการของกายของวาจาเท่านั้น เป็นต้นว่า ศีลก็รักษากันแต่สิกขาบท สมาธิก็ได้แต่กิริยานั่งโด่อยู่เท่านั้น ไม่สามารถที่จะปลดเปลื้องกิริยาทั้งหลายเหล่านั้นออกจากตนได้ ยังคอยยึดเอาความดีอันเกิดจากกิริยานั้นอยู่ ถ้าได้ทำกิริยาเช่นนั้นแล้วก็ดีใจ ถ้าพลาดพลั้งไม่ได้ทำตามกิริยานั้นแล้วใจก็เสีย เป็นต้นว่า ศีลก็จะเอาจากพระ ศีลแปดหรืออุโบสถก็ยึดถือกันอยู่แต่วัน คืน ปี เดือน ยึดเอาความได้ความเสียอยู่แค่กิริยาภายนอกอันเป็นลัทธิเคยชิน หาเข้าถึงศีลธรรมไม่ อย่างปฏิบัติได้ก็แค่สีลพฺพตุปาทาน ถือกันแต่ลัทธิ ถือประเพณี ถือสมมติว่าดี เหล่านั้น ยึดมั่นมิได้ปล่อยวางลูบคลำอยู่เสมอ จึงเรียกว่า สีลพฺพตปรามาส เป็นเครื่องกั้นแห่งความดี เป็นต้นว่า ทาน ศีล ภาวนา ที่เคยถือกันมาว่า วัน ๘ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ นั้นแหละเป็นบุญ


    ส่วนโสดาที่ท่านได้ละขาดแล้วหาถือเช่นนั้นไม่ คือใจท่านไม่ข้องอยู่ในลัทธิประเพณี คือศีลของท่านไม่มีสิกขาบทเสียแล้ว คือเข้าถึงตัวจริงของศีลเสียแล้ว ศีลก็ปราศจากกาลเวลา ไม่เหมือนปุถุชน ปุถุชนนั้น จะต้องมอบหมายความดีให้กิริยาภายนอกอยู่ เป็นต้นว่าศีลอยู่กับวัน ๘ ค่ำ อยู่กับวัน ๑๕ ค่ำ อยู่ในพรรษา อยู่ในเดือนปีเช่นนี้แล้วก็ยึดถือกันอย่างมั่นคง ถ้าใครทำไม่ถูกตามประเพณีลัทธินั้นๆ แล้วก็หาว่าไม่เป็นศีลเป็นธรรม ในที่สุดก็เลยหาโอกาสทำความดีได้ยาก นี่แหละจึงเรียกว่า ไม่รู้จักหลักเกณฑ์แห่งความดีทั้งหลาย


    ส่วนโสดานั้นศีลธรรมได้แล่นเข้าไปบรรจุอยู่ในกายใจทั้งหมด ปลดเปลื้องออกเสียได้ซึ่งลัทธิที่โลกเขานิยมว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ ดีจริงนั้นท่านได้เห็นปรากฏอยู่ในใจของท่านเอง ดีก็อยู่ที่ตรงนี้ ชั่วก็อยู่ที่ตรงนี้ หามีอยู่ตามกิริยาภายนอกไม่ สมได้กับพุทธภาษิตว่า "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจทั้งสิ้น"


    นี้แลชื่อว่าโสดา อุปมาเปรียบเหมือนบุคคลที่แจวเรือถูกร่องลงแหล่งแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีแต่ที่จะลอยไปสู่ปากน้ำสมุทรสาคร กล่าวคือ อมตนฤพานนั้นถ่ายเดียว กิริยาที่จะต้องไหลไปสู่มหาสมุทรนั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ


    ๑. โสดาชั้นต่ำ เปรียบเหมือนคนที่นอนถ่ายเกกจับตะกูดเรือไว้เฉย ๆ เรือนั้นก็แล่นไปถึงช้า นี้จำพวกหนึ่ง


    ๒. มือจับแจว ขาเกาะตะกูดแล้วก็แจวไป นี้พวกหนึ่ง


    ๓. เรือนั้นใส่เครื่องยนต์ มีคนถือพวงมาลัยแล่นไปถึงจุดหมายอย่างเร็วนี้ อุปมาฉันใด พระอริยโสดาเหมือนบุคคลที่แจวเรืออยู่ ๓ จำพวกนั้นนี้แหละ เรียกว่าบุคคลที่เข้าถึงกระแสแห่งพระนิพพานที่เรียกว่าโลกุตตรภูมิในเบื้องต้น


    ถ้าจะย่นย่อหัวข้อแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ ก็ดังนี้ ยึดถือก้อนกายเป็นของของตนเรียกว่า สกฺกายทิฏฐิ คือ กิริยาของกายนี้หนึ่ง


    เรียกว่า สีลพฺพตปรามาส ไม่รู้จักแยกกายออกจากจิต ไม่รู้จักแยกจิตออกจากกิริยานี้หนึ่ง


    จึงเป็นเหตุไม่รู้แจ้งเห็นจริง จึงเกิดความลังเลใจไม่แน่นอน เรียกว่า วิจิกิจฺฉา



    ที่แสดงออกมานี้เป็นส่วนความเห็น ฉะนั้นผู้ฟังทั้งหลายให้ไตร่ตรองดูอีก



    นี้แสดงมาในส่วนโลกุตตรภูมิของจิตทั้งหลายที่เป็นฝ่ายอกุศลจิต เมื่อรู้จักจิตทั้งหลายที่เป็นไปด้วยอาการเช่นนี้แล้ว การใช้คุณธรรม ๓ อย่างมาเป็นเครื่องมือ คือ ทำสติและสัมปชัญญะ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณาทั้ง ๓ ประการนี้เข้าประจำจิตนั้นไว้ ที่จะรู้ได้ต้องใช้อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาอันเป็นส่วนปัญญา คือ ให้รู้จักความเกิดขึ้นดับไป ถอนออกและตั้งอยู่และสงบเข้าไป ต้องใช้การกำหนดพิจารณาอยู่เป็นนิจจึงจะรู้ได้ในความเกิดและความดับของจิต และธรรมชาติของจิตที่ไม่เกิดไม่ดับก็จะรู้ได้


    รู้ความเกิดและความดับของจิตอันเป็นส่วนอดีตนี้ก็เรียกเป็นวิชาชั้นหนึ่ง น่าจะเรียกได้ว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติญาณ


    รู้จักความเคลื่อนเลื่อนไปแห่งภูมิจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ น่าจะเรียกได้ว่า จุตูปปาตญาณ


    รู้จักแยกจิตออกจากอารมณ์ แยกอารมณ์ไว้ส่วนหนึ่ง แยกกระแสจิตที่แล่นไปไว้ส่วนหนึ่ง แยกสภาพของจิตไว้ส่วนหนึ่ง ที่รู้ได้เช่นนี้น่าจะเรียกได้ว่า อาสวกฺขยญาณ


    อารมณ์เป็นกามาสวะ กระแสจิตที่แล่นไปเรียกว่าภวาสวะ ที่ไม่รู้จักสภาพของจิตเรียกว่าอวิชชาสวะ


    ถ้าจะพูดในส่วนอริยสัจจ์ ๔ แล้วต้องพูดได้ดังนี้ คือ



    อารมณ์เป็นส่วน ทุกข์สัจจ์


    จิตที่แล่นเข้าไปหลงอารมณ์เป็น สมุทัยสัจจ์


    จิตที่เข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในอารมณ์ทั้งหลาย และกระแสจิตที่แล่นอยู่และสภาพจริงของจิตเดิมรู้ได้เช่นนี้เรียกว่า มรรคจิต



    ปล่อยวางสภาพของอารมณ์และกระแสจิต และสภาพจิตอันนี้ ปล่อยได้ไม่ยึดถือนี่แหละเรียกว่า นิโรธสัจจ์



    จิตประกอบด้วยคุณธรรม ๓ อย่างมี



    สัมปชัญญะ ความรู้ตัวดี



    อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา



    สติ ความระลึกได้



    เมื่อคุณธรรมเหล่านี้แก่กล้ามีกำลังมากขึ้นแล้ว สัมปชัญญะกล้าเป็นตัว วิชชาวิมุตติ สติกล้าเรียก ญาณ อาตาปีกล้าเรียกว่า วิปัสสนาญาณ ตัวปัญญากำหนดรู้ทุกข์สัจจ์ คอยห้ามความยินดียินร้ายในอารมณ์ญาณหยั่งรู้สมุทัย วิชาความรู้แจ้งแทงตลอดแห่งจิตเมื่อรู้ได้โดยอาการเช่นนี้เรียกว่า รู้ถูก


    ต่อไปนี้จะย้อนกล่าวในเรื่องจิตอีกสักหน่อย คำที่ว่าจิต ๆ นั้นแยกออกโดยอาการ ๓ อย่างคือ


    ๑. สภาพจิตเดิม


    ๒. จิต


    ๓. จิตประสมด้วยอารมณ์


    อาการทั้งหลายเหล่านี้รวมเรียกว่าจิต ถ้าใครไม่รู้เช่นนี้ไม่เรียกว่าเป็นผู้รู้จิตได้ มีแต่จะพูดกันว่าจิตเกิดจิตดับ จิตไม่เกิดไม่ดับ จิตดี จิตชั่ว จิตสูญ จิตไม่สูญ จิตเป็นธรรม จิตไม่ใช่ธรรม จิตพ้น จิตไม่พ้น จิตเป็นนิพพาน จิตไม่ใช่นิพพาน จิตเป็นวิญญาณ จิตไม่ใช่วิญญาณ จิตเป็นใจ ใจไม่ใช่จิต



    ตามพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ แนวทางปฏิบัติมีอยู่สองทางเท่านั้น คือ กายวาจาใจนี้หนึ่ง กายวาจาจิตนี้หนึ่ง สองจุดนี้ในที่สุดก็ไปรวมจุดเดียวกัน จุดที่ประสงค์แท้จริงนั้นก็คือความหลุดพ้น



    ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายต้องการทราบความจริงนั้น ๆ จำเป็นอยู่ที่จะต้องปฏิบัติให้เข้าถึงด้วยตนเอง มิฉะนั้นก็จะต้องทุ่มเถียงกันอยู่ไม่เว้นวาย ปัญหาอันนี้ถ้าผู้ใดปฏิบัติไม่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว นักปราชญ์ท่านกล่าวว่า "เสทโมจนคาถา" แปลว่าคำพูดที่เหงื่อไหลขี้ไคลแตก ฉะนั้นจึงมีความประสงค์จะอธิบายสักหน่อยว่า



    สภาพจิตนั้นเป็นสภาพที่รู้อยู่อย่างเดียวนี้หนึ่ง


    กระแสที่คิดแล่นออกมาจากรู้ไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ นั้นเรียกว่า จิตนี้หนึ่ง



    เมื่อเข้าไปสัมปยุตกับอารมณ์แล้วหลงอารมณ์นั้น ๆ กลายตัวเป็นกิเลส เป็นเหตุแห่งความเศร้าหมองเรียกว่าจิตผสมนี้หนึ่ง


    ๑.จิต ๒.จิตผสม จิตสองดวงนี้ จะดีก็ตามจะชั่วก็ตาม ต้องเกิด ต้องดับ ต้องทำลายอยู่เป็นธรรมดา ต้นของจิตทั้งสองนี้เป็นสภาพจิตเดิม ย่อมไม่เกิดไม่ดับ เป็นฐิติธรรมประจำอยู่ด้วยอาการเช่นนั้น สภาพจิตเดิมนั้นที่เรียกว่าปภัสสร ผู้แต่งหมายเอาสภาพจิตอันเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เป็นอยู่ตามธรรมดานี้เอง แต่ไม่มีใครสามารถเข้าไปล่วงรู้ เมื่อไม่รู้ย่อมไม่ให้ผลดี ตัวอย่างเช่น พูดกันว่าลิงได้แก้ว ฉะนั้นจึงสมควรแท้ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าอวิชชา แปลว่า ความรู้มืด ความรู้ไม่จริง สมกับว่า "ปพฺพนฺเต อญาณํ" แปลว่า ไม่รู้เบื้องต้น ได้แก่ ไม่รู้ในสภาพจิตเดิม "ปรนฺเต อญาณํ" แปลว่าไม่รู้เบื้องปลาย คือ ไม่รู้จิตที่ผสมกับอารมณ์แล้ว "มชฺฌนฺติก อญาณํ" แปลว่าไม่รู้ในท่ามกลาง คือ ไม่รู้จักกระแสจิตที่แล่นออกจากสภาพที่รู้เดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จิตก็กลายเป็นสังขาร ย่อมปรุงแต่งเสกสรรค์ฟั่นเฟือนไปด้วยประการต่าง ๆ ดังมีอธิบายในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยประการฉะนี้


    ข้อ ๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นแยกออกเป็น ๓ ประเภทคือ

    ๑. ธรรมภายใน
    ๒. ธรรมภายนอก
    ๓. ธรรมในธรรม
    ๑. ธรรมภายใน อธิบายธรรมภายใน ในที่นี้หมายเอาฝ่ายชั่วก็มี ฝ่ายดีก็มี แต่ในที่นี้หมายเอานิวรณธรรมอันเป็นฝ่ายชั่วมี ๕ อย่างคือ

    ๑. กามฉนฺท ความพอใจรักใคร่
    ๒. พยาบาท ความพยาบาท
    ๓. ถีนมิทฺธ ความหงุดหงิดโงกง่วง
    ๔. อุทฺธจฺจ กุกฺกุจฺจ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
    ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลใจ
    นิวรณธรรม ๕ ประการนี้ เป็นได้ทั้งส่วนภายในและภายนอก ตัวอย่างเช่น

    ๑. จิตประกอบด้วยกามฉันทะแล้ว คือ เกิดความรักใคร่ ยินดีอยู่แต่ในจิตใจ ยังไม่ได้แล่นเข้าไปกำหนดหมายสัมปยุต (ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง)
    ๒. จิตประกอบไปด้วยความหงุดหงิดไม่ชอบแล้ว แต่มิได้เข้าไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    ๓. จิตหดหู่หงุดหงิดโงกง่วง เมื่อเกิดขึ้นในทางจิตใจ ยังมิได้แล่นเข้าไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    ๔. จิตฟุ้งซ่านรำคาญคิดกลุ้มโดยลำพัง ยังมิได้ไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    ๕. จิตสงสัยลังเลไม่แน่ใจ คิดอะไรไม่ตลอดเรื่อง แต่ยังไม่ได้เข้าไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง เป็นอยู่โดยลำพังตนเองเท่านั้น

    ถ้านิวรณธรรมทั้งหลาย ๕ ประการนี้ มีกำลังยังอ่อนอยู่ ยังไม่ได้แล่นไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ภายนอกแล้ว ฉะนั้นจึงเรียกว่า ธรรมภายในนี้หนึ่ง
    ๒. ธรรมภายนอก ธรรมภายนอกก็แล่นออกมาจากภายในนั้นเอง คือ

    ๑. จิตคิดชอบใจรักใคร่ได้เกิดขึ้นแล้ว แล่นเข้าไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้นนี้หนึ่ง
    ๒. จิตหงุดหงิดไม่ชอบเกิดขึ้น แล้วแล่นไปกำหนดจดจำไว้ในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นอาทิ แล้วเกิดความไม่ปรารถนาในสิ่งเหล่านั้น อยากให้สิ่งเหล่านั้นวิบัติไป
    ๓. จิตหดหู่โงกง่วงได้เกิดขึ้นแล้ว ก็แล่นไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ภายนอก เมื่อกำหนดจดจำได้แล้วก็ยิ่งให้เป็นเหตุเกิดความง่วงหนักขึ้น
    ๔. จิตหงุดหงิดฟุ้งซ่านได้เกิดขึ้นแล้ว ก็แล่นเข้าไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เหมือนกัน
    ๕. จิตลังเลไม่ตกลงสงสัยอยู่ได้เกิดขึ้นในใจแล้วปล่อยให้แล่นไปกำหนดหมายเอาในอารมณ์ภายนอก มีรูปารมณ์ เป็นต้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า ธรรมภายนอก
    ธรรมเหล่าใดเมื่อเกิดขึ้นในมโนทวารในครั้งแรกเรียกว่าธรรมภายใน เมื่อกำเริบแรงกล้าขึ้นแล้วก็แล่นไปสู่อายตนะภายนอก เรียกว่า ธรรมภายนอก


    ๓. ธรรมในธรรม คำที่ว่าธรรมในธรรมนั้นหมายเอา ส่วนใดส่วนหนึ่งของนิวรณธรรมทั้งหลาย ๕ ประการนั้น เพราะนิวรณ์ทั้งหลาย ๕ ประการนั้นมิได้เกิดขึ้นในขณะจิตอันเดียวกัน ฉะนั้นให้หยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของนิวรณ์มากำหนดพิจารณาก็ได้ เป็นต้นว่า กามฉันทะได้เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งสัมปชัญญะประจำจิตใจ ตั้งสติประคองจิตกับธรรมนั้น ๆ อย่าหวั่นไหว อย่าให้ความปรารถนาใด ๆ เกิดขึ้น ทำจิตของตนให้เข้มแข็งอยู่ในสถานที่แห่งเดียว อย่าไปเหนี่ยวอารมณ์อื่นมาแทรกแซง อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณา ก็ให้ใช้เพ่งลงไปเฉพาะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เมื่อไม่รู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งนั้นแล้วอย่าละเลิกซึ่งความเพียรของตน เมื่อทำได้เช่นนี้เรียกว่าเป็นผู้เจริญธรรมในธรรม


    ธรรมทั้งหลายที่กล่าวมานี้เป็นฝักใฝ่อกุศลธรรม เป็นเครื่องกีดกั้นเสียซึ่งคุณธรรมอย่างอื่น เป็นต้นว่า ญาณ หรือวิปัสสนาญาณและโลกุตตระเป็นเบื้องหน้า ฉะนั้น ผู้ต้องการความหลุดพ้นไปจากธรรมทั้งหลายนั้นแล้ว จำเป็นจะต้องทำจิตของตนให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อน ที่จะทำจิตให้ตั้งมั่นได้นั้นจะต้องสร้างคุณธรรม ๓ อย่าง ให้เกิดขึ้นในตน คือ


    ๑. สัมปชัญญะ ความรู้ดี ให้มีไว้ประจำใจของตน


    ๒. สติ ความระลึกได้ ให้ประคองไว้ซึ่งจิตของตนกับอารมณ์นั้นๆ ที่เกิดกับตนอย่างใดอย่างหนึ่ง ประคองอารมณ์นั้นให้อยู่กับจิต ประคองจิตไว้อย่าให้เคลื่อนคลาดไปสู่อารมณ์อื่น


    เมื่อเห็นว่าจิตกับอารมณ์เหล่านั้นเชื่องช้า แล้วก็ให้ใช้อาตาปี อันเป็นข้อที่ ๓ ต่อไป คือ ความเพียรเพ่งพิจารณาความเท็จจริงของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น



    ถ้ายังไม่รู้แจ้งเห็นจริง อย่าพึ่งละทิ้งซึ่งความเพียรของตน เพ่งพิจารณาจนกำลังปัญญานั้นแก่กล้าก็จะได้รู้ว่าธรรมทั้งหลายเหล่านั้น จะเป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม ธรรมในธรรมก็ตาม ก็จะมีแต่ความเกิดขึ้นและเสื่อมไป ความดับไป หาเป็นสาระแก่นสารมิได้ เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นสังขตธรรมทั้งสิ้น


    ขึ้นชื่อว่า สังขตธรรมแล้ว ก็ตกอยู่ในสภาพแห่งความจริงคือ อนิจฺจตา เป็นของไม่เที่ยง ทุกฺขตา เป็นทุกข์ ทนอยู่ได้ยาก อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ย่อมเปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามธรรมดาธรรมชาติ นักปราชญ์ที่มีปัญญาหายึดเป็นแก่นสารตัวตนไม่ ท่านแลเห็นได้ราวกะว่ากงจักรหรือล้อรถ คนใดเข้าไปเกาะอยู่กงจักรนั้น กงจักรนั้นก็เหยียบบี้บีฑา เพราะฉะนั้น กัลยาณชนผู้หวังความสุขในพระพุทธศาสนาอันแท้จริง ควรเอาคุณธรรมทั้ง ๓ ประการดังกล่าวแล้วนั้น มาไว้ประจำใจของตน ก็จะรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ปราศจากสังขารที่เรียกว่า อสังขตธรรม คือ เป็นธรรมที่แท้ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอยู่โดยธรรมชาติ ไม่มีอาการหมุนเวียนเกิดดับ ธรรมอันเป็นอสังขตะนี้ย่อมมีอยู่ตามธรรมดาธรรมชาติ แต่ไม่มีนักปราชญ์ใดในโลกที่จะรู้ได้ นอกจากผู้ที่ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา



    ฉะนั้นผู้ประสงค์พ้นทุกข์อันแท้จริงควรที่จะปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงเกิดขึ้นด้วยความเพียรของตนเอง เมื่อผู้ปฏิบัติได้ใช้สัมปชัญญะประจำใจแล้วก็จะรู้ได้ถึงสภาพแห่งจิต สติ มีประจำตนอยู่ อาตาปี ความเพียรเพ่งพิจารณาให้มีประจำไว้ในตน จึงจะเป็นผู้ไม่ลุ่มหลงอารมณ์



    ธรรมดาคนเราไม่ค่อยจะรู้สึกสภาพแห่งตน จึงไม่รู้ได้ในธรรมารมณ์อันเป็นส่วนที่เกิดกับตน แล้วก็แล่นเข้าไปยึดอารมณ์ทั้งหลาย จึงกลายเป็นวัฏฏสงสาร เวียนวนอยู่อันไม่มีที่สิ้นสุด จุดหมายวัฏสงสารในที่นี้ จะย่นย่อได้มาไว้เฉพาะตัวตน เป็นต้นว่า ความไม่รู้สภาพแห่งจิตเดิมนั้นเป็นกิเลสวัฏฏ จัดเป็นอวิชชาข้อแรก จึงเป็นเหตุให้เกิดกรรมวัฏฏ ได้แก่สังขาร วิปากวัฏฏเข้าไปเสวยอารมณ์ทั้งหลายกลายเป็นวัฏฏะ ๓ ดังนี้



    จะอุปมาวัฏฏะ ๓ ดังนี้คือ อวิชชาเป็นดุมเกวียน สังขารเป็นกำเกวียน อารมณ์เป็นกงเกวียน อายตนะภายนอกเปรียบเหมือนวัด อายตนะภายในเป็นเครื่องสัมภาระ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เปรียบเหมือนคนขับ ต่อจากนั้นก็ขนของขึ้นใส่ กล่าวคือกิเลสทั้งหลาย แล้วก็จะตีกันไปปฏักจี้เข้าไป วัวก็จะวิ่งแล่นลากกันไป ขึ้นเขาไปด้วย ลงห้วยไปตาม ในที่สุดก็จะกระจายไปคนละแห่ง ที่เรียกว่าตาย เหตุนั้นจำเป็นต้องให้รู้เข้าถึงสภาพแห่งจิตอันเป็นเพลาที่ไม่หมุนไปตามเครื่องสัมภาระทั้งหลายนั้นเรียกว่าวิวัฏฏะ เมื่อใครทำได้เช่นนี้ เป็นหนทางกระชั้นกะทัดรัดไม่เนิ่นช้า



    ตัวอย่างในสมัยโบราณพระภิกษุและอุบาสิกาทั้งหลาย บางทีนั่งเทศน์อยู่ บางทีเที่ยวบิณฑบาตอยู่ บางองค์ก็ดูซากศพอยู่ แต่ทำไมท่านจึงสำเร็จได้ เหตุนี้ก็สันนิษฐานได้ว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ประกอบขึ้นแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้เพียรเพ่งพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงขึ้นในที่นั้น โดยไม่ต้องถอยไปถอยมา ถอยออกถอยเข้า วางไว้โดยธรรมดาธรรมชาติ บางเหล่าก็เข้าใจกันเสียว่า ต้องให้ละอารมณ์ทั้งหมดจึงจะทำจิตได้ แต่แท้ที่จริง จิตก็หลงอารมณ์นั้นแหละส่วนมาก เมื่อหลงที่ตรงไหน ให้พิจารณาที่ตรงนั้น ถ้าไม่แก้ตรงหลงนั้นจะให้ละโดยหลบหนีนั้นเป็นไปไม่ได้ ถึงเป็นไปก็จะกลับมาหลงอารมณ์เก่านั้นอีก


    เหตุนั้นผู้มีปัญญาจะทำภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม ย่อมทำให้ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติได้ทุกสถาน ไม่มีอาการว่านอกผิดในถูก นอกถูกในผิด ในละเอียดนอกหยาบ ความเห็นเหล่านี้ย่อมไม่มีแก่ท่านที่มีปัญญา ปัญญาแปลว่าความรอบรู้หรือความรู้รอบ จึงเรียกว่า ปัญญาสมบูรณ์ รู้รอบนั้น รู้ในก่อนแล้วไปรู้นอก รอบรู้นั้นรู้นอกก่อนแล้วแล่นเข้าถึงใน จึงเรียกว่าผู้มีปัญญา ข้างนอกทำให้เข้าถึงในได้ หยาบทำให้ละเอียดได้ อดีตอนาคตทำให้เข้าถึงปัจจุบันได้ เพราะท่านเป็นผู้ประสมส่วนของมรรคให้เสมอกัน คือ สติ สัมปชัญญะ อาตาปี ทำหน้าที่แห่งตนอันเป็นหนทางพ้นซึ่งทุกข์ทั้งปวง เมื่อใครปฏิบัติได้โดยอาการเช่นนี้ ก็สามารถบรรลุคุณธรรมได้ทุกอิริยาบถ จะมีปรากฏได้แต่สภาวทุกข์ สภาวธรรม เห็นได้เช่นนี้เรียกว่า ยถาภูตญาณ เห็นจริงตามสภาพแห่งความจริงดังนี้


    สรุปใจความย่อหัวข้อแห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ นั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ รูปหนึ่ง นามหนึ่ง อีกสำนวนหนึ่งเรียกว่า กาย ใจ ถึงจะแยกเป็น ๔ ประเภทก็ตาม สักแต่ว่ากระแสจิตที่แบ่งไปเท่านั้น ถ้าจะกล่าวถึงความประสงค์ในการประพฤติปฏิบัติแล้วก็มีอยู่เท่ากับกายหนึ่ง ใจหนึ่ง


    เมื่อต้องการปฏิบัติให้รวบรัดจริงๆ แล้ว ให้กำหนดกาย พิจารณากายนี้หนึ่ง กำหนดใจ พิจารณาใจนี้หนึ่ง


    กำหนดกายพิจารณากาย ดังนี้ คือให้ทำความรู้สึกไว้ ในกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นต้นว่า ลมหายใจ เมื่อกำหนดไว้แม่นยำเช่นนี้แล้ว จึงให้ขยายไปดูในส่วนอื่น ได้แก่การพิจารณาส่วนของร่างกายโดยอาการต่างๆ เวลาพิจารณา จนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในส่วนของร่างกาย จนจิตนั้นนิ่งสงบนิ่งละเอียดเข้าไปยิ่งกว่าเก่า จะมีอะไรเกิดขึ้นในขณะจิตพิจารณาอยู่นั้น อย่ายึดถือเอาเป็นอันขาด


    ประการที่ ๒ กำหนดใจพิจารณาใจ นั้นคือ ทำความรู้สึกไว้ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ทำความรู้นั้นให้นิ่งอยู่ เมื่อใจนิ่งพอสมควรแล้ว ให้พิจารณาความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของเขาจนรู้ขึ้นได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงของเขาจะดีก็ตาม ชั่วก็ตามเป็นสักว่าประเภทสังขาร จะมีความรู้ ความคิด ความเห็นอันใดเกิดขึ้นอย่ายึดถือเป็นอารมณ์ ทำความรู้สึกอยู่ในปัจจุบัน เมื่อทำด้วยอาการเช่นนี้ จิตใจของตนก็จะเป็นไปเพื่อความสงบและความรู้แจ้งเห็นจริงได้ในการปฏิบัติ นี้เรียกว่า ดำเนินตามแนวทางสติปัฏฐานทั้ง ๔



    เมื่อทำได้เช่นนี้ก็เป็นหนทางให้เกิดมรรคจิต ถ้ากำลังองค์มรรคสมบูรณ์เกิดขึ้นในขณะใดแล้ว ก็จะปล่อยกันได้ในขณะนั้น การปล่อยนั้นมีอยู่ ๒ สถานคือ


    ๑. ปล่อยอารมณ์ได้ แต่ปล่อยจิตใจของตนไม่ได้


    ๒. ปล่อยอารมณ์ได้ ปล่อยตนได้


    การปล่อยตนได้กับปล่อยอารมณ์ได้ นี้เป็นความรู้จริง ปล่อยอารมณ์ได้ แต่ปล่อยตนเองไม่ได้ นี้เรียกว่าไม่รู้จริง ความรู้ที่แท้จริงนั้นย่อมปล่อยได้ทั้ง ๒ เงื่อน คือวางจิตใจตามสภาพของจิต วางอารมณ์ตามสภาพของอารมณ์ คือธรรมชาติรักษาธรรมชาติ อารมณ์ในที่นี้หมายเอากาย ตนหมายเอาใจ ต้องปล่อยวางไว้ทั้ง ๒ ประการนี้



    เมื่อรู้เข้าถึงโดยอาการเช่นนี้แล้วก็ไม่ใคร่จะวิตกถึงศีล สมาธิ ปัญญาเท่าไรนัก ศีล สมาธิ ปัญญานั้นไม่ใช่สภาพของจิต สภาพจิตไม่ใช่ศีล สมาธิ ปัญญา



    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสภาพสังขารธรรมเท่านั้น เป็นเครื่องปราบกิเลสให้ดับเมื่อใด ศีล สมาธิ ปัญญาก็ดับลงไปเมื่อนั้น ศีล สมาธิ ปัญญาเปรียบด้วยน้ำ กิเลสเปรียบเหมือนด้วยไฟ จิตใจเปรียบด้วยคนผู้เอาน้ำไปดับไฟ เมื่อน้ำดับไฟมอดไปแล้ว น้ำก็หายไปในที่นั้นเอง แต่ผู้เอาน้ำไปดับไฟนั้นไม่สูญ ไฟไม่ใช่น้ำ น้ำไม่ใช่ไฟ คนไม่ใช่น้ำ น้ำไม่ใช่คน คนไม่ใช่ไฟ ไฟไม่ใช่คน สภาพจิตที่แท้จริงนั้นไม่ใช่กิเลส ไม่ใช่ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอยู่ตามสภาพแห่งตน คนที่ไม่รู้สภาพแห่งความจริงก็เห็นว่าตายสูญ หรือนิพพานสูญไปต่าง ๆ เป็นความเข้าใจผิดของบุคคลผู้นั้น ถึงแม้จิตยังไม่ถึงธรรมชั้นสูงเสมอโสดาบันเท่านั้น ท่านก็ย่อมรู้สภาพจิตได้ว่าไม่สูญ เหตุนั้นจึงเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าเชื่อมรรค เชื่อผล แต่ยังไม่พ้นไปจากกิเลสเครื่องเจือปน ถึงจะเจือปนได้ ก็ไม่สามารถที่จะลบล้างสภาพจิตใจของท่านได้ เปรียบเหมือนทองคำตกหล่นอยู่ในธุลีมีเขม่ามลทินเข้าเกาะอยู่ แต่เขม่ามลทินนั้นก็ไม่สามารถกระทำให้ทองคำนั้นกลายเป็นอื่นได้ ผิดจากปุถุชนธรรมดา



    ส่วนปุถุชนธรรมดานั้นจะมีจิตใจผ่องใสอยู่บ้าง บางขณะก็ไม่ค่อยจะตายตัว ไม่พ้นไปจากความเศร้าหมองอีก เปรียบเหมือนมีดที่ลับคมแล้วจะทรงตัวอยู่ได้ ก็อาศัยอาบน้ำมันไว้ ถ้าเอาน้ำมันใช้ในกิจการ หรือทิ้งไว้ มีดนั้นอาจกลายเป็นอื่นไปได้



    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติควรกระตือรือร้นขวนขวายช่วยตนให้เข้าถึงกระแสธรรมชั้นต่ำจนได้ เพราะว่าคุณธรรมทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นส่วนสังขตธรรมก็ตาม อสังขตธรรมก็ตาม ย่อมมีปนกันอยู่ทุกรูปทุกนาม แต่ไม่ประเสริฐเหมือนวิราคธรรม วิราคธรรมนั้นได้แก่กิริยาที่แยกสังขตะและอสังขตะออกจากกัน เหมือนแยกแร่ทองคำออกจากก้อนหิน


    ฉะนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นของลึกซึ้งละเอียดสุขุม ถ้าใครไม่ตั้งใจปฏิบัติจริงแล้ว ย่อมไม่รู้รสเสียเลย จะเปรียบได้เหมือนนายโคบาลที่รับจ้างเลี้ยงโคไม่ได้ดื่มรสแห่งนมโค ฉะนั้นพระพุทธศาสนาท่านก็ชี้ไว้ว่า ปริยัติเรียนรู้คัมภีร์ ปฏิบัติดีรู้ทันกิเลส ปฏิเวธรู้แล้วละวาง ดังนี้

    ******************************


    https://sites.google.com/site/smartdhamma/sati_lp_lee
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    สติปัฏฐานสี่
    พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

    เทศน์เช้า วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๓
    ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี





    จะพูดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ นะ สติปัฏฐาน ๔ ในภาคปฏิบัติ สติปัฏฐาน ๔ ในภาคปริยัติ เขามาถามกันบ่อย เวลาเขาไปปฏิบัติมากันน่ะ เขาบอกว่า อย่างวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ว่านี่เขาได้ขั้นอะไร เวลาเขาเข้าใจว่าวิตก วิจารนี่ เห็นไหม พุทโธ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ อันนี้เป็นปฐมฌาน เวลาปฐมฌานนี่ ถ้าคิดเอาเอง เราคิดเอาว่า วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เราคิดเอาเอง แล้วเราจะไม่ได้อะไรเลย

    คนที่ปฏิบัติอย่างนี้เขาเคยเหมือนกัน เวลาจิตของเขา เวลาลงนะ เวลาจิตเขาเป็นสมาธิจริง เป็นสมถะจริง ๆ เขาอธิบายไม่ได้ เขาบอกเวลาเขาลงไปนี่ ขนาดว่าฟ้าผ่าเขายังไม่รู้เรื่องเลย เขาเคยนั่งได้ แต่เสร็จแล้วตอนนั้นทำไม่ได้ เขาก็เลยมาทำแบบว่าไปตามปริยัติไง วิตกวิจารขึ้นมา นึกพุทโธขึ้นมา แล้วก็ให้พุทโธมันหายไป พุทโธ วิตกวิจารนี่หายไป เกิดปีติ ปีติแล้วก็สุข พอปีติหายไป เกิดสุข สุขหายไป เกิดเอกัคคตารมณ์ มันเป็นการน้อมนึกไป

    สติปัฏฐาน ๔ ในภาคปริยัติก็เหมือนกัน ในภาคปริยัตินะสติปัฏฐาน ๔ นี่เขาบอกว่า พิจารณากาย รู้เท่าทันกาย รู้กายผ่านกายไปรู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม เห็นไหม อันนี้มันเป็นการพูดภาคปริยัติ ในภาคปริยัตินี่เราเอาใจกัน เราปล่อยกันคือว่า ในกำหนดกายนี่ แม้แต่ลมหายใจกระทบกับปลายจมูกเราก็ว่าเป็นกายานุสติปัฏฐาน เป็นการสติปัฏฐานในเรื่องของกาย

    อันนี้มันเป็นภาคปริยัติ มันเป็นการเอาใจกันเฉย ๆ ในการกำหนดให้รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ถ้าลองก้าวเดินไปอย่างนี้ มันก็เหมือนกับวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ นี่มันเดินตามเข้าไป ๆ ในความเห็นของเราตามเข้าไป พอตามเข้าไปมันก็จะเห็นตามเข้าไป มันเป็นความเห็นในภาคปริยัติ เพราะมันมีแบบแผนอยู่ เราต้องทำตามแบบแผนนั้น

    เหมือนกับเราเข้าครัวนี่ มีมีด มีดทำครัว เห็นไหม มีดทำครัวมันต้องเล็ก มันมีดบาง มีดทำครัว มีดผ่าฟืน เห็นไหม มีดผ่าฟืนต้องเป็นมีดที่ใหญ่ขึ้นมาเพื่อจะผ่าฟืนได้ เราเอามีดทำครัวเข้าไปในป่าเพื่อจะล้มต้นไม้นี่ มันก็ฟันได้ยาก มีดเหมือนกัน

    ในปริยัติก็เหมือนกัน ตำราว่า “กาย เวทนา จิต ธรรม” นี่บอกว่ามันเป็นวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ แต่เริ่มต้นนี่ต้องหามีดก่อน แต่ในภาคปริยัติบอกว่า ต้องทำวิปัสสนาไปเลย ในกาย เวทนา จิต ธรรม พอทำวิปัสสนาไปเลยนี่ มันก็บอก ทุกอย่างต้องเอามาไว้บนโต๊ะ ทุกอย่างต้องเล่นกันบนโต๊ะหมด มันไม่มีกรณีพลิกแพลงทั้งสิ้น

    แต่เรื่องของกิเลสมันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก เรื่องของกิเลสมันเป็นอีกแบบหนึ่ง มันมีการพลิกแพลงในการต่อสู้ของกิเลส ฉะนั้นว่าถ้าเป็นสติปัฏฐาน ๔ ในภาคปฏิบัติ มันไม่เป็นอย่างนั้น สติปัฏฐาน ๔ ในภาคปฏิบัตินะ เวลาจิตเราสงบเข้าไป ความจิตสงบนั่นน่ะมันมีมีดขึ้นมา มันต้องทำความสงบขึ้นมาก่อน ทำความสงบเข้ามาแล้ว พอวิปัสสนาเข้าไป ไม่ต้องเดินไป กาย เวทนา จิต ธรรมนี่เอาชิ้นเดียว เอาอันเดียว

    พอเอาอันเดียวนี่ วิปัสสนาไป เห็นไหม จิตมันสงบเข้ามาแล้ววิปัสสนา พอวิปัสสนาในกาย ในกายก็ดูความแปรสภาพของกาย พอแปรสภาพของกายนี่มันเป็นไตรลักษณ์ขึ้นมา มันเป็นวิปัสสนาขึ้นมา มันจะปล่อยกายนั้น พอปล่อยกายนั้นปั๊บ ถ้าปล่อยกายนั้นนะ ความปล่อยนี่ มันรู้ถึงความสุข นั่นคือเวทนา จิตที่มันปล่อยนั่นคือตัวของจิต ธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นน่ะ กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะที่เราทำอย่างเดียว เราทำงานเสร็จ

    อย่างเช่นเราทำอาหาร เห็นไหม อยู่ในครัวน่ะ ทุกอย่างรวมลง ถ้ามันสุกขึ้นมาแล้วนี่ มันเป็นแกงขึ้นมาหม้อเดียวนั้น แต่มันมีทุกอย่างอยู่ในนั้น แต่มันเป็นแกงหม้อเดียวกันมา ถ้าพิจารณากายต้องพิจารณากายเข้าไป มันสะเทือนกันหมด มันปล่อยไปหมด ถ้ามันปล่อยมันปล่อยหมด

    นี่เวลาถ้าเป็นความถูกของฝ่ายปฏิบัติ มันจะว่ากาย เวทนา จิต ธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า “อย่างใดอย่างหนึ่ง” อย่างครูบาอาจารย์น่ะ เริ่มต้นเป็นบางองค์นะ พิจารณากายก่อน ๆ พอพิจารณากายขึ้นมาเป็นชั้น ๆ เข้ามานี่ เป็นสเต็ปขึ้นไป สเต็ปขึ้นไปหมายถึงเป็นอริยบุคคลเป็นขั้น ๆ ขึ้นไป พอมันพิจารณากายแล้วมันจะย้อนกลับเข้ามาพิจารณาจิตก็ได้ จิตคือว่า พิจารณากายแล้วพิจารณาจิต แต่พิจารณากายพิจารณาจิตนี้ มันคนละขั้นตอน หมายถึงว่า ขั้นตอนหนึ่งพิจารณากายจนปล่อยวางพิจารณากาย ขั้นตอนต่อไป เห็นไหม เป็นขั้นตอนต่อไป ไม่ใช่ว่าในขั้นตอนเดียวนะ

    เราพิจารณากาย พิจารณากายเข้าใจกายแล้วต้องไปพิจารณาเวทนา พิจารณาเวทนาแล้วเข้าใจเวทนาแล้วก็ไปพิจารณาจิต เข้าใจจิตแล้วเข้าไปพิจารณาธรรม อันนี้เพราะเรากลัวไง เรากลัวว่าเราจะไม่รู้อริยสัจตามความเป็นจริง ถ้าเราคิดอย่างนี้ ในภาคปริยัติทำอย่างนี้ เพราะว่าต้องเอาภาคทฤษฎี คือปริยัตินี่คลุมไว้ในภาคปฏิบัติหมด แล้วต้องเดินตามทฤษฎีนั้นไป ถ้าผิดจากทฤษฎีนั้นกลัวตัวเองผิดไง นี้ความเข้าใจจริงถึงไม่มี

    อย่างเช่นเราฝึกทหารนี่ เราฝึกทหารมาทั้งหมด ในทฤษฎีรู้หมด การยิงปืนภาคสนาม แต่เวลาออกไปยิงจริง เสียงของปืนที่มันดังขึ้นมา เสียงของดินปืนระเบิดขึ้นมา ความสะบัดของปืน ความจะเข้าเป้าไม่เข้าเป้า แต่ในการที่เราศึกษาอยู่ในปริยัติมันก็เป็นปริยัติ เป็นจินตนาการ พอเข้าไปเจอสภาพความเป็นจริงมันจะต่างกับความที่เราศึกษามา มันต้องมีพลิกแพลง มีเทคนิคต่าง ๆ

    ในภาคปฏิบัติก็เหมือนกัน จิตนี้มันจะพลิกแพลงมาก มันจะพลิกแพลงไป แล้วมันจะทำอย่างที่ว่านั่นน่ะ ทำอย่างปริยัตินั่นน่ะ คือว่าให้จับสิ่งนี้ ให้พิจารณากายไป แล้วต้องไปรู้เวทนา เพราะมันจะเบี่ยงเบนไง นี่มันสะบัดไปให้เราเปลี่ยนจากที่ไป

    เราปลูกต้นไม้ ต้นไม้ถ้าเราปลูกอยู่ตรงไหนนะ แล้วเราพยายามบำรุงต้นไม้ขึ้นมา ต้นไม้นั้นจะออกดอกออกผลมาให้เรา ต้นไม้เราปลูกในกาย แล้วเราก็ย้ายไปปลูกในเวทนา แล้วเราก็ย้ายไปปลูกในจิต แล้วก็ย้ายไปปลูกในธรรม ย้ายไปย้ายมาเพื่อจะเข้าใจ เพื่อศึกษาให้รู้ขึ้นมาจากในอริยสัจนั้น ให้รู้ขึ้นมาในอริยสัจไง

    เห็นไหม บอกว่า “ความเข้าใจ” ความเข้าใจไม่ใช่ความจริง ความจริงนั้นมันต้องแสดงออกรู้แจ้ง ความรู้แจ้งนี่มันจะปล่อยวางทั้งหมด นี่มันต่างกันตรงนั้น ต่างกันในสัจจะ ในสัจจะคือว่าในภาคเข้าไปเห็น นี้ในทฤษฎีมันเป็นอย่างหนึ่ง ถึงว่ามันเป็นการพูดกันเพื่อจะไม่ให้มันบาดหมางกันนะ ถ้าบอกว่าผิดมันจะผิดตรงไหน? มันจะผิดตรงที่ว่ามันเป็นสมถะ เห็นไหม ความเป็นสมถะ

    อย่างเช่นที่ว่า เวลาลมหายใจเข้าออก กำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ อันนี้ก็เป็นกายานุสติปัฏฐาน...ยอมรับ ยอมรับที่ว่าอะไร? เพราะว่ากายมันกระทบ ลมหายใจมันกระทบปลายจมูก กายนี้รู้สึกตัวขึ้น มันสะเทือนถึงกาย แต่มันเป็นทำความสงบเฉย ๆ แต่ในเมื่อว่ากายานุสติปัฏฐานก็ยอมรับ เพราะยอมรับว่ามันสะเทือนถึงกาย มันเข้าใจถึงกาย แต่มันเป็นการเข้าใจถึงกายเรื่องเพียงแต่หามีดไปทำครัว ถ้าหามีดไปทำครัว ทำความสงบเข้ามาอันนี้

    แต่ถ้าเราเข้าใจว่าอันนี้เป็นกายานุสติปัฏฐานแล้ว มันเป็นวิปัสสนาไปพร้อมกับวิปัสสนาไปเลย แล้วพอจิตมันสงบ มันลอยตัว ไอ้อย่างนั้นน่ะมันเป็นปีติ ความเป็นปีติในปฐมฌานมันก็มีอยู่แล้ว ถ้าปีติอันนั้นมันเกิดขึ้นนี่ มันเป็นสิ่งที่ว่า มันเป็นเรื่องสุดวิสัย สุดวิสัยเหมือนกับจิตทุกดวงนี่ มันสร้างบารมีไม่เหมือนกัน มันไม่ใช่ว่าจะลอยหรือจะพองตัวทุกคน แต่มันจะเป็นอย่างนั้นเพราะมันเป็นทางผ่าน เหมือนที่ว่าปืนมันสะบัดน่ะ

    ในเทคนิคของจิตที่มันเป็นไป มันจะมีเทคนิคข้างในมันเป็นไปอีก ความเป็นไปอันนั้น มันต้องพยายามบังคับเข้ามาให้ถึงความสงบ เห็นไหม ในสติปัฏฐาน ๔ ที่ว่ากำหนดลมหายใจเข้าออกนี่ พิจารณาไปมันจะพิจารณาแล้วปล่อยวาง ๆ นี่คือความเข้าใจ พิจารณาปล่อยวาง แต่ถ้าเป็นภาคปฏิบัติให้กำหนดตรงนั้น ไม่ให้ปล่อยวาง ซ้ำอยู่ตรงนั้น ๆ ๆ ปลูกต้นไม้แล้วไม่ย้ายที่ ซ้ำอยู่ตรงนั้น

    ความสงบมันเกิดขึ้น อาการของใจมันไปเอง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจับตรงไหนแล้วจับตรงนั้น ไม่ต้องก้าวเดินตามไป แล้วจิตมันจะพัฒนาขึ้นไป ความพัฒนาของจิตขึ้นไปอันนั้นมันเป็นผลของจิตที่มันพัฒนาขึ้นไป มันพัฒนาขึ้นไปเอง แต่นี่เราคาดหมาย เราเลื่อนจิตของเราไป กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นสิ่งใดแล้วให้ดู ดูความเข้าใจว่า ให้มันปล่อยวาง ๆ ให้มันปล่อยวางทีเดียว เห็นไหม มันเป็นการปล่อยวาง มันมีอารมณ์ของโลกเข้าไปเจือปน พอเจือปนเข้าไปมันจินตนาการได้เพราะเรื่องของใจ

    แต่ถ้าเป็นภาคปฏิบัติ อารมณ์ของโลกมันสงบตั้งแต่สมถะ พอทำสมถะสงบเข้ามาแล้ว พอมันไปเห็นเข้า ความเห็นเข้านี่ มันเห็นอย่างนั้นแล้วมันปล่อย ถึงว่าอธิบายไม่ได้ เหมือนกับผลไม้บนต้นตกลงดิน ทีเดียวเราจะอธิบายว่าขั้นตอนช่วงไหนเขาจะอยู่ตรงไหนไม่ได้ มันจะตกจากขั้วก็หล่นลงดินปุ๊บ แต่ถ้าเป็นภาคปริยัติ ต้องเอาเชือกขึงไว้ แล้วพยายามหย่อนลงมา ชั้นนั้น ๆ ๆ ๆ

    นี่มันต่างกัน มันไม่เป็นความจริง มันเป็นความจริงไม่ได้เพราะว่าสัจจะความจริง ถึงบอกว่าเวลาจิตมันสงบนี่ ส่วนใหญ่จะบอกว่ามันสงบ มันเป็นสักแต่ว่า มันไม่รู้ นี่คนพูดจริง แต่ถ้ามันอธิบายเป็นขั้นตอนเข้าไปนะ มันจะไม่มีการเผลอไผลเลย นี่ความสงบ นี่ความสงบนะ

    แต่ในรู้อริยสัจในภาคปฏิบัติ มันไม่ใช่ความสงบ มันเห็นความแปรสภาพ เพราะถ้ากาย เวทนา จิต ธรรมนี่ อย่างพิจารณาเวทนานี่ง่ายมากเพราะเวลานั่งไปแล้วมันจะปวด นี่ต่อสู้ตรงนั้น เวลาเวทนาหายไปจะอธิบายอย่างไร เวทนาเริ่มชา ชาปั๊บ เข้าใจเวทนา เวทนาจะหายไป พอเวทนาหายไปจิตเด่นขึ้นมา นี่มันรู้หมด เพราะเวทนาเกิดที่กาย จิตนี้อยู่ในกาย มันรู้เข้าใจเวทนา พอมันปล่อยวางตามความเป็นจริง พอมันปล่อยตรงนี้สังโยชน์มันขาด พอสังโยชน์มันขาดมันรู้อริยสัจ นี่รู้อริยสัจออกมาตามความเป็นจริง รู้อันหนึ่ง แต่รู้ตามที่ว่า รู้ทุกข์ รู้สติปัฏฐาน รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม นี่มันย้ายมา ๆ ๆ ย้ายมาแล้วมันไม่ขาด

    แต่ถ้าสมมุติเราพิจารณากาย กายานุสติปัฏฐาน กายมันขาดปั๊บนี่ มันหมดเลย เวทนามันก็ไม่มี จิตมันเด่นออกไปอีกส่วนหนึ่ง ธรรมนี่เกิดขึ้นมา มันไม่ต้องย้ายมาที่เวทนาเพราะมันไม่มี มันขาดออกไป มันพร้อมกัน คือว่ากาย เวทนา จิต ธรรมนี่ มันเป็นอันเดียวกัน แต่ว่าเวลาแยกมานี่ เป็นพุทธวิสัยนะ แยกออกมาเพื่อจะให้เราทำสิ่งใดก็ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่ไปก้าวเดินอย่างนั้น ถ้าก้าวเดินอย่างนั้นมันเป็นปริยัติไป หมุนไปตามอย่างนั้น ก้าวเดินไป ๆ พอก้าวเดินไปแล้วมันรู้ไง

    เหมือนกับเครื่องยนต์ เห็นไหม ในอริยสัจนี่ เราต้องแยกแยะออก เครื่องยนต์นี้มันกำลังทำงานอยู่นี่มันออกมาไม่ได้ แต่พลังงานที่ออกมาจากเครื่องยนต์นั้น นี่พลังงานที่ออกมาจากอริยสัจ พลังงานที่ออกมาจากกาย เวทนา จิต ธรรม กาย เวทนา จิต ธรรมนี้มันเป็นวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนากับสมถกรรมฐาน แต่การทำกรรมฐานนี่ทำความสงบเข้ามา โดยไม่ต้องใช้ปัญญามาก ใช้คำกำหนดเพ่งพินิจ เห็นไหม

    ความเพ่งอยู่เพื่อทำความสงบเข้ามา อันนั้นเป็นสมถะ แต่เอาอารมณ์ของกาย เวทนา จิต ธรรมนี่เป็นคำบริกรรมแทน ตามดูกาย เวทนา จิต ธรรม นี่เหมือนกับคำบริกรรม มันไม่ใช่ปัญญา ถ้ามันเป็นปัญญามันจะแยกแยะวิปัสสนาไป พอวิปัสสนาในกาย เวทนา จิต ธรรมนั้น มันเป็นวิปัสสนานั้นมันต้องเป็นวิปัสสนา มันถึงไม่เหมือนกันที่ว่า อย่างคำบริกรรมนี่ คำบริกรรมในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เห็นไหม กายสักแต่ว่าเคลื่อนไป ๆ ตามกายไป ตามเวทนาไป ตามจิตไป ตามทันมันก็หยุด

    นี่เวลาตามกายทัน ตามเวทนาทัน ตามจิตทัน มันหยุดหมด มันหยุดเข้าไปเฉย ๆ มันถึงต้องว่า เวลากายจบ มันมีเวทนา เวทนาจบ มีธรรม หมุนไป จะตามให้ทันอย่างนั้นออกไป อันนี้รู้ในภาคปริยัติ แต่ในภาคปฏิบัติไม่รู้อย่างนั้น ในภาคปฏิบัติมันมีความรู้สึกอีกอันหนึ่ง จิตนี้เป็นผู้ใคร่ครวญไง อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ จิตนี้ใคร่ครวญแล้วจิตนี้มันถึงปล่อยวางใช่ไหม? มันมีผู้ทำงานใช่ไหม?

    ผู้ที่ไปทำงานนี่ พอเริ่ม เห็นไหมนี่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิยกขึ้นทำงาน พอยกขึ้นทำงานมันถึงมรรคไม่สามัคคี มันไม่รู้เท่า เพราะว่าจิตนี้มันยังโคลงเคลงอยู่ มันไม่ชำนาญการ พอวิปัสสนาไป ชำนาญการเข้า ๆ นี่จิตมันปล่อย ตัวจิตมันปล่อยมันถึงเข้าใจตามความเป็นจริง เข้าใจสิ่งนั้นตามความเป็นจริงแล้วปล่อยหมด อันนั้นถึงว่าเป็นภาคปฏิบัติ มันปล่อยมันปล่อยไปเอง

    อันนี้ถึงเป็นว่า ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม มันเป็นขั้นของในสติปัฏฐาน ๔ ปล่อยก็ปล่อย ๔ ปล่อย ๔ ครั้งคือว่า ปล่อยข้างใน ๆ มันไม่ใช่ปล่อยแล้วเดินตามในสติปัฏฐาน ๔ นั้น มันปล่อยแล้วมันปล่อยสังโยชน์เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา มรรค ๔ ผล ๔ ไง มันปล่อยเป็นชั้นเข้ามา ถึงว่าจับพลัดจับผลูขึ้นมานี่ มันผูกมัดกันไปหมด แล้วเราก็งงไปหมด พองงไปหมดนี่ เราจะเอาตรงไหนในสติปัฏฐาน ๔ ในการที่ว่าใช้สัญญาอันที่เขาสัญญากัน เขาเดินตามกันไปนั้นเป็นสัญญา แต่ถ้าสติปัฏฐาน ๔ ในการปฏิบัตินั้น มันต้องฝึกขึ้นมา (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    c_oc=AQl74zrhlaxNaKCvFERY1xra__wj-RzkMj-GQoO-bOI6FC8ZeLBW7lSAu7-Y7_Hdck8&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ?temp_hash=c89b9c28c50f3cdadf13457f60f1e003.jpg






    เบื้องหน้าแต่นี้เป็นต้นไปเป็นเวลานั่งสมาธิภาวนา ให้พากันนั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือข้างขวาวางทับมือข้างซ้าย ตั้งกายให้เที่ยงตรง หลับตานึกภาวนาพุทโธพร้อมกับลมหายใจเข้าหายใจออก ในขณะที่เรานั่งสมาธิภาวนานี้จงรวมจิตใจเข้ามาในบริกรรมภาวนานี้หรือในการได้ยินได้ฟังอุบายธรรมต่าง ๆ เมื่อเสียงเข้าไปถึงที่ไหนรู้สึกในใจที่ไหน ก็ให้รวมจิตใจลงไปที่นั้น ที่นี้แหละที่เป็นปัจจุบัน ปัจจุบันธรรม เป็นธรรมที่ปฏิบัติ ผู้ใดรวมใจของตนเข้าไปภายในปัจจุบันย่อมถึงซึ่งความไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน จิตใจที่อ่อนแอท้อแท้จะได้แข็งแรงขึ้นด้วยสติความระลึกได้ในการบริกรรมในการฟังธรรมสตินี้ก็เกิดขึ้นจากใจเหมือนกัน เกิดขึ้นจากดวงจิตดวงใจดวงที่รู้อยู่ฟังอยู่เจริญอยู่บริกรรมอยู่ เกิดขึ้นจากที่นี้เองเรียกว่าสติความระลึกได้ เมื่อสติความระลึกได้มีความรู้สึกอยู่ในใจในตัว ดวงสตินี้ก็ยังให้จิตในที่รู้อยู่นี้แหละตั่งมั่นสงบระงับไม่แส่ส่ายไปกับสังขารวิญญาณกริยาอาการของจิต

    ดวงจิตดวงใจจะได้รวมได้สงบเข้ามาอยู่ในจิตใจของตนจริง มีสติทุกเวลา สตินี้สำคัญมาก ในมหาสติปัฏฐานท่านให้เอาสตินี้แหละระลึกอยู่ในกาย กายมี ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก อาอาร ๓๒ เรียกว่า กาย เนื้อตัว ตัวตนคนเราให้ระลึกอยู่ในร่างกาย คือ ร่างกายนี้กำหนดพิจารณาให้เห็นตามภาวะความเป็นจริงอยู่ ร่างกายนี้กำหนดลงไปในหลักอสุภะคือ ว่าไม่งามในร่างกายของคนเรานี้เราดูผิวเผินก็เป็นของสวยสดงดงาม แต่ว่าให้ดูถี่ถ้วนเข้าไปทางนอกทางในแล้ว ดูทวารทั้ง ๙ ที่มันไหลเข้าเทออกอยู่แล้ว ย่อมแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของคนเรานี้เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ เต็มไปด้วยบุพโพโลหิต เมื่อผู้ใดมากำหนดภาวนาเพียรเพ่งดูให้รู้ว่าเป็นของปฏิกูลโสโครกจริง ๆ จิตของผู้นั้นย่อมมีความสงบระงับ ย่อมเห็นได้ว่ากายนี้ก็สักแต่ว่ากาย จะว่าเป็นสัตว์ก็ไม่ได้ เป็นบุคคลก็ไม่ได้ จะว่าเป็นตัวเราของเราอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้น เรียกว่าไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา

    จงกำหนดให้เห็นว่ากายนี้ก็สักแต่ว่ากาย โดยสมมุติบัญญัติก็ว่ากาย ที่จริงมันก็ตั้งชั่วระยะเวลาภายใน ๑๐๐ ปีนี้ก็จะเข้าถึงความแตกความดับความทำลายตามสภาพของกาย เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านให้กำหนดให้เห็นว่าร่างกายก็สักแต่ว่ากายเท่านั้น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานเอาสติมาระลึกเวทนา สุขเวทนาได้แก่ความสบาย ทุกขเวทนาได้แก่ความไม่สบาย เฉย ๆ เวทนา เวทนานี้สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาเหมือนกัน การที่จิตมายึดเอาถือเอา สบายก็มายึดว่าเราสบาย แท้จริงแล้วกายเขาสบายเขาไม่สบาย เวทนาก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วระยะเวลา สุขก็ดีทุกข์ก็ดี มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน อาศัยสติเป็นผู้ระลึกดู ระลึกอยู่ไม่ให้จิตใจหลงใหลไปที่อื่นเรียกว่า สติปัฏฐาน

    จิตความคิดความนึกที่เกิดขึ้นจากดวงจิตดวงใจ แล้วก็แส่ส่ายไปตามอารมณ์ดีอารมณ์ร้ายอารมณ์สบายไม่สบาย จิตนี้ก็สักแต่ว่าจิตเหมือนกัน ไม่ใช่ตัวบุคคลตัวตนเราเขา ให้สตินี้แหละเป็นผู้ระลึกอยู่ทุกความคิดที่เกิดขึ้น เมื่อมีสติอยู่ก็จะเห็นว่าความคิดนึกเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมันก็ดับไป เกิดขึ้นก็ดับไปเท่านั้นเอง ไม่ให้จิตใจหลงใหลไปกับความคิดความนึกของดวงจิตอันนั้นเรียกว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนของเราเหมือนกัน เมื่อรู้เข้าใจจิตใจจะได้ปล่อยวาง จะได้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ภายในจิตใจดวงที่รู้อยู่นี้ พร้อมด้วยสติปัฏฐาน ธรรมารมณ์อันเกิดกับในจิตใจนี้เหมือนกัน อารมณ์ของจิตที่มันปรุงไปแต่งไปตามอารมณ์ดีอารมณ์ร้าย อารมณ์ทุกอย่างที่มากระทบตากระเทือนหู ก็เป็นธรรมารมณ์อยู่ในจิตอันนี้ ก็ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่ตัวตนของบุคคลผู้ใดเหมือนกัน จงเป็นผู้มีสติระลึกอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม ท่านให้ชื่อว่า สติปัฏฐาน

    เมื่อระลึกได้ธรรมดาเรียกว่าสติปัฏฐาน เมื่อระลึกได้จนเป็นมหาสติปัฏฐานเรียกว่า สติใหญ่ ใหญ่จนไม่หลง อะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นในกายเวทนาจิตธรรม ย่อมรู้ได้เข้าใจว่า จิตยึดถือหรือไม่ยึดถือ จิตใจเลิกได้ละได้หรือเลิกไม่ได้ละไม่ได้ เห็นแจ้งตามความเป็นจริงหรือไม่ สติอันนี้ต้องระลึกให้มากที่สุด ในทางมหาสติปัฎฐาน ท่านให้นึกอยู่จนกระทั่งว่าไม่พลั้งไม่เผลอ ไม่หลงไม่ลืม แม้ร่างกายจะยืนจะเดินจะนั่งจะนอน ท่านก็ให้มีสติอยู่ทุกเวลา หลับตาลืมตา มือ เท้า เดินไปก็มีสติ มือจะแตะต้องที่ไหนก็มีสติระลึกอยู่ทุกเวลาเรียกว่าเป็นมหาสติปัฏฐาน เมื่อการระลึกได้อยู่ทั้งกายวาจาจิตทุกขณะ กายเวทนาจิตธรรมจะเคลื่อนไหวไปมาสงบระงับ ก็ระลึกได้อยู่ทุกเวลา ไม่หลงใหลไปอยู่ใต้อำนาจกิเลส มีสติอยู่ทุกขณะทุกเวลา ไม่ใช่เวลาพูดออกมาจึงมีสติ ไม่ว่าพร้อมทุกอย่างจะพูดจาปราศรัยก็มีสติ ก่อนจะพูดก็มีสติ พูดอยู่ก็มีสติ พูดจบไปแล้วก็มีสติ ก่อนที่เราจะทำอะไรร่างกายจะทำการงานใด ๆ ก็เรียกว่ามีสติความระลึกได้ เวลาทำอยู่ก็มีสติ เวลาทำแล้วไปก็มีสติระลึกอยู่ในตัวในกายจิตนี้ ในกายเวทนาจิตธรรมได้อยู่เสมอ

    อะไรผิดอะไรถูกก็ให้มีสติระลึกดูพิจารณาดู จนให้จิตใจนี้เข้าใจในสติปัฏฐาน ในมหาสติปัฏฐาน แล้วทำให้ปฏิบัติได้ไม่ต้องให้เผลอทีเดียว มันคิดอะไรอยู่ในจิตนั้น คิดภาวนาหรือคิดนอกภาวนา คิดภายในกายในจิตหรือว่าคิดนอกกายนอกจิต มันคิดอิจฉาพยาบาทคนโน้นคนนี้ เกลียดคนโน้นชังคนนี้ไหม ในจิตนี้ก็ให้ระลึกดูให้ได้ ผู้มีสติแล้วจิตจะวางเฉยได้ อย่างว่าความเกลียดความกลัว ความหวาดสะดุ้งขนพองสยองเกล้าอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้น ถ้ามีสติความระลึกอยู่ไม่หลงใหลออกไปก็ไม่โกรธ ไม่ไปพยาบาทอาฆาตจองเวรใครในจิตใจที่มีสติปัฏฐานอยู่นั้นไม่ไปรักใคร ไม่ไปชังใคร ไม่ไปดุด่าว่าร้ายให้แก่ใคร ไม่ไปทำร้ายให้แก่บุคคลผู้ใด ไม่อิจฉาตาร้อนใคร เรียกว่ามีสติภาวนาเรื่องของตัวเองอยู่ คนอื่นผู้อื่นนั้นให้ยกไว้เป็นเรื่องของเขา เขาเกิดมาเองไม่ใช่เราทำให้เกิด เขาแก่ไปเองไม่ใช่เราทำให้แก่ เขาเจ็บไข้ได้ป่วยไปเองไม่ใช่เราทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย เขาตายไปเอง เราก็เหมือนกัน เราเกิดมาเองแก่ไปเอง เจ็บไปเอง ตายไปเอง ทำไมจึงมาอิจฉาพยาบาทแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อิจฉาพยาบาทแล้วดีอย่างไรเกิดประโยชน์อะไร

    คิดดูให้ดีในจิตใจของคนเรานี้เมื่อคิดดูให้ดี มีสติดี มีสมาธิดี มีปัญญาดี เมื่อภายในดี ภายนอกไม่ต้องว่า มันต้องดีไปเพราะมันดีภายใน แต่ว่าถ้าภายในนี้แหละขาดสติปัฏฐาน ไม่ระลึกอยู่ในกายเวทนาจิตธรรมอันเป็นภายในของตัวเอง มัวแต่ไปคิดไปปรุงไปข้องใจอิจฉาพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ ไม่ชื่อว่าเป็นนักภาวนา ไม่ชื่อว่าเป็นผู้มีมหาสติปัฎฐาน เมื่อสติภายในไม่มี ฉะนั้นต้องเจริญระลึกอยู่ในดวงจิตดวงใจของตัวเอง การภาวนาละกิเลสนั้นต้องเป็นผู้มีสติตั้งจิตตั้งใจอยู่ทุกเวลา จะยืนก็มีสติ ก่อนยืน ยีนอยู่จะเคลื่อนไปจากเวลายืนก็มีสติ ก่อนจะเดินก็มีสติ คำว่ามีสติ ความระลึกในใจนั้นพร้อมทุกอย่าง ตาดูหูฟังอะไรมันจะเกิดขึ้น คนที่เอาเท้าไปตำตอ เอาศีรษะไปตำไม้หรือทำอะไรผิด ๆ หัก ๆ จับอะไร พลัดตกหกล้มเพราะอะไร ก็เพราะขาดสตินั้นเอง แล้วถ้าขาดสติ สติไม่มี ความขี้เซาเหงานอน มักง่าย ท้อถอยเกียจคร้านก็ย่อมเกิดมีขึ้น เพราะว่าไม่มีสติหรือมีสติแต่น้อยไม่พร้อมมูลบริบูรณ์

    ถ้าสติความระลึกได้ใจที่ตั้งมั่นขึ้นมาระลึกอยู่เสมอในทางร่างกาย เรียกว่าก่อนจะทำอะไรหรือไม่ทำอะไรก็มีสติ ทำอะไรอยู่จะทำอะไรก็มีสติความระลึกได้ ถึงเวลาทำทำอยู่ก็มีสติให้พร้อมมูลอยู่เสมอ คำว่าสติปัฏฐาน สติเป็นฐานที่ตั้ง ฐานที่ตั้งของสติความระลึกได้อยู่ทุกเวลา เมื่อทำอะไรจบลงไปก็มีสติทำงานทางนอก คนที่ทำงานแล้วไม่รู้จักเก็บไม่รู้จักรักษา ทิ้งเกลื่อนกลาดไปก็คือว่าไม่มีสติ เวลาทำก็ไม่มีสติ ทำแล้วไม่รู้จักเก็บรู้จักรักษา ก็คือว่าขาดสตินั้นเอง การงานสิ่งนั้นมันก็ขาดตกบกพร่องเกิดความเสียหายขึ้นมาไม่ว่าอย่างหยาบอย่างกลางอย่างละเอียด ไม่ว่าทางโลกและทางธรรมต้องอาศัยสติอันนี้แหละ คนดีก็เรียกว่าคนมีสติ คนไม่ดีก็คนไม่มีสตินั้นเอง

    ส่วนสตินี้เรียกว่าระลึกได้อยู่ทุกเวลา ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ศีลรักษากายให้เป็นปกติ ระวังวาจาให้เป็นปกติ กายวาจาใจให้เป็นปกติท่านให้ชื่อว่า ศีล ข้อห้ามก็คือว่าให้เว้นจากฆ่าสัตว์และให้เว้นจากความอิจฉาพยาบาทแก่สัตว์ทั้งหลาย ไม่ให้มีโกรธจนฆ่าสัตว์ ไม่ให้มีอิจฉาพยาบาทเกลียดชังทั้งสัตว์และคนทั่ว ๆ ไปด้วย เรียกว่าเว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์สิ่งของผู้อื่น เว้นจากประพฤติผิดในกาม เว้นจากกล่าวมุสาวาจา เว้นจากดื่มกินสุราเมรัย เรียกว่าศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็ข้อห้ามเพื่อให้บุคคลเรามีสติระมัดระวังกายวาจาจิตของตนเพื่อจะได้มีสติอันสมบูรณ์บริบูรณ์ เมื่อมีสติอันสมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่าศีลสมาธิปัญญา ศีลก็ปกติ มีสติก็มีปกติ เมื่อมีปกติจิตก็ตั้งมั่นไม่มีวิตกวิจารไปไหน เรียกว่าสมาธิจิตมั่นคง คำว่าจิตมั่นคงก็คือว่ามีสติจิตจึงจะมั่นคง คำว่ามั่นคง เราทำอะไร ก็ตั้งอกตั้งใจประกอบกระทำในสิ่งนั้น ๆ

    เราบรรพชาอุปสมบทในทางพุทธศาสนาต้องมีสติให้มีความยินดีพอใจในสมณะเพศวิสัยของตัวเองและให้รู้ว่าสมณะเพศ สมณะวิสัยนี้มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นอย่างไร เลิกละทำชั่วด้วยกายวาจาจิต อย่างไรก็ต้องอาศัยสติความระลึกได้ ความรวมจิตใจของตนเรียกว่าให้มั่นคง คำว่าสมาธิโดยจิตตั้งมั่น ทำอะไรให้มีความตั้งมั่นให้มีความจริงใจทั้งกายทั้งวาจาทั้งจิตทั้งใจพร้อมด้วยหมดทุกอย่างเรียกว่ามีสติ ทำอันใดก็เป็นหลักเป็นฐานไม่ใช่ทำเล่น ๆ ทำเลอะเทอะ ไม่ใช่ทำทิ้งขว้างไปไม่เอาจริงเอาจัง อย่างนั้นใช้ไม่ได้เรียกว่าต้องทำจริง ๆ ประกอบอยู่ทุกเวลา หลับก็มีสติลืมตาก็มีสติ ฟังเสียงก็มีสติ ก่อนฟังก็มีสติ ฟังอยู่ก็มีสติ ฟังจบไปแล้วก็มีสติอยู่ ระมัดระวังอยู่ในอายตนะทั้งหลายมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในมันติดอยู่ภายในติดอยู่ในตัวของคนเรา อายตนะภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันอยู่ข้างนอก บางคราวก็เกิดขึ้นมากบางคราวก็เกิดขึ้นน้อย ตามแต่อารมณ์ที่ผ่านเข้ามา ตาดูหูฟังมีสติอยู่ทุกเวลา เราฟังธรรมอยู่ก็มีสติ สตินั้นแหละระลึกจนความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามาแทรกซึมไม่ได้ เมื่อเข้ามาแทรกซึมต้องมีสติว่าจะแก้ไขอย่างไร เมื่อเราระลึกก็แล้วภาวนาก็แล้วยังง่วงเหงาหาวนอน ท่านก็ให้ยืนขึ้น เมื่อยืนขึ้นยังไม่หายท่านก็ให้เดินเรียกว่าเดินจงกรม เดินจงกรมกลับไปกลับมา ทำให้รูปขันธ์ร่างกายมันเคลื่อนไหวไปมาจิตจะได้มีสติสม่ำเสมอ จิตใจจะได้ตั้งมั่นในธรรมปฏิบัติทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก

    ผู้ที่จะระลึกบริกรรมภาวนาพุทโธได้ติดต่ออยู่ทุกลมหายใจเข้าหายใจออกก็ต้องมีสติ สติต้องมีพร้อมอยู่เสมอ เดินจงกรมก็มีสติ ก่อนจะเดินก็มีสติ เดินอยู่ก็มีสติ เดินจบเดินหยุดไปแล้วก็มีสติอยู่ นั่งก็มีสติ ก่อนนั่งก็มีสติ นั่งแล้วก็มีสติ ก่อนนอนก็มีสติ นอนอยู่ก็มีสติ ตื่นมาก็มีสติระลึกอยู่เสมอ ในดวงจิตดวงใจอันนี้ไม่ให้ความง่วงเหงาหาวนอนเข้ามาทับถม หรือว่ากามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไม่ให้มีในกายวาจาจิตของเรา มีในกายวาจาจิตของบุคคลอื่นช่างเขา ไม่ต้องไปกังวล ในกายวาจาจิตตัวของเราปริมณฑลหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบนี้ ต้องมีสติทุกเวลา เรียกว่ามีสติ ลมหายใจเข้ามีสติ ลมหายใจออกมีสติ ในเวลากายวาจาจิตสบายมีสติ ในเวลากายวาจาจิตไม่สบาย ควรทำอย่างไร ควรพูดอย่างไร ควรวางตัวอย่างไร จึงจะเหมาะสมกาลเทศะ

    ปุคคลัญญรู้จักบุคคล ปริสัญญรู้จักบริษัท ควรอย่างไร ไม่ควรอย่างไร แสดงออกอย่างไร ไม่แสดงออกอย่างไร สติทั้งนั้นต้องระลึกอยู่ทุกเวลาจนเป็นมหาสติปัฏฐาน มหาสติปัฏฐานก็คือว่ามหาใหญ่ปัฏฐานที่ตั้งของสติมีอยู่ในนักภาวนาจิตใจของผู้ปฏิบัติ ไม่ใช่คำพูดที่พูดที่ว่าเป็นสติดวงจิตดวงใจที่ตั้งขึ้นมาระลึกขึ้นมาเป็นองค์สติ สติสัมโพชฌงค์ระลึกอยู่ เป็นผู้มีเพียรเพ่งอยู่ กายวาจาจิตนี้ท่านเปรียบอุปมาเหมือนพายเรือข้ามฝั่ง สมัยโบราณนั่นเรือยนต์กลไกไม่ค่อยมี เขาก็เอาไม้มาต่อมาแกะลงไปให้เป็นเรือแล้วก็มีไม้พายมีคนพาย ทีนี้เรือนั้นจะข้ามฝั่งได้หรือไปถูกช่องทางไปตามต้องการล่องน้ำขึ้นน้ำได้นั้นต้องอาศัยผู้พายผู้ถ่อให้เรือนั้นไป หรือเอาไม้พายจุ่มน้ำลงไปก็พายไปนั้นแหละสตินั้นคือว่าคนพายเรือดัดแปลงเรือของตนไม่ให้ล่มไม่ให้จม ตัวคนพายเรือไม่เป็นก็ไปตามกระแสน้ำข้ามน้ำไม่ได้ สตินี้ท่านเปรียบเหมือนคนพายเรือผู้พายเรือนายท้ายผู้นำเรือไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ผู้นั่งสมาธิภาวนา ปฏิบัติบูชาในทางพุทธศาสนาขาดสติไม่ได้ แม้แต่วินาทีก็ไม่ได้ คำว่าไม่ได้นั้นก็คือเมื่อขาดสติมันก็ขาดสมาธิ จิตตั้งมั่นไม่เต็มที เมื่อจิตตั้งมั่นไม่เต็มที่มันก็ขาดปัญญา ความรอบรู้ในกองสังขาร ในอะไรต่อมิอะไรที่มันเกิดมันดับมันเป็นมันมีอยู่ในเรื่องกานวาจาจิตของเรานั้นแหละ เมื่อมันขาดปัญญามันก็ไม่เต็มที่ เมื่อขาดสติขาดสมาธิขาดศีล ขาดศีลสมาธิปัญญาก็พาให้จิตใจนี้แหละย่อหย่อนท้อถอยมักง่ายไม่สงบระงับ

    เมื่อพร้อมด้วยสติสมาธิปัญญา ทานศีลภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา วิชา วิมุติก็ย่อมเกิดขึ้น จิตย่อมหลุดจากกิเลส หลุดพ้นออกจากกิเลส ราคะ โทสะ หรือว่าละกิเลสราคะโทสะในจิตใจของตนเองให้หมดไปให้สิ้นไปได้ด้วยสติปัฏฐาน มีสติทุกเวลาไม่ว่า นั่ง ยืน เดิน นอน ทุกอิริยาบถ

    เมื่อมีสติมีสมาธิมีปัญญามีความรอบรู้ทุกอย่างทุกประการ สิ่งใดควรละก็ละ สิ่งใดควรเจริญก็เจริญ สิ่งใดควรทิ้งแล้วควรปล่อยแล้วก็ปล่อยวางไป ไม่ต้องเอามายึดมาถือในหน้าในตา ในตัวในตน ในชาติในตระกูล ในตัวเราของเรา ตัวทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดเลิกละออกไป พระพุทธเจ้า พระองค์ให้เจริญอยู่ในสัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบก็ในสตินั้นเอง ในใจนี้แหละไม่ใช่ในที่อื่นไม่ใช่เรื่องภายนอกอย่างเดียว ส่วนมากเป็นเรื่องภายใน เมื่อภายในมีสติ จิตก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ จิตก็มีปัญญา

    เมื่อจิตมีปัญญาก็ย่อมเห็นได้ว่ารูปนามกายใจของเราของเขา ภายนอกภายใน ทั้งหยาบทั้งละเอียดอะไรต่อมิอะไรเหล่านี้ ก็ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญาด้วยญาณ หยั่งรู้หยั่งเห็นแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นมาในจิตใจนั้นว่าไม่เป็นอย่างอื่น มันต้องเป็นไปอย่างนี้อย่างว่า ฟองน้ำเจริญขึ้นเดี๋ยว ๆ มันก็แตกไป เวลามันเจริญขึ้น มันเกิดขึ้นจิตใจก็ยินดี พอใจว่าตัวเราของเรา ครั้นเวลามันจะแตกดับจะตาย เอาละวุ่นวายทีนี้ ไม่ให้มันตาย จะแก้ไว้รักษาไว้ ถ้ามันถึงเวลามันเจ็บแก้อย่างไรก็แก้ไม่ได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • geji-069.jpg
      geji-069.jpg
      ขนาดไฟล์:
      24.7 KB
      เปิดดู:
      151
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    ?temp_hash=e0554a11d8dba4fdf09c95d5955b5e5b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พ37.jpg
      พ37.jpg
      ขนาดไฟล์:
      174.8 KB
      เปิดดู:
      79
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,120
    ค่าพลัง:
    +70,465
    " ผู้เจริญวิปัสสนาทั้งหลาย
    เมื่ออายตนะภายใน และภายนอกมากระทบกันเข้า
    มีความรู้สึก เกิดขึ้น...
    ย่อมพิจารณา เป็นไตรลักษณญาณ อย่างนี้
    ทุกขณะ...
    ไม่ว่าอิริยาบถ ใดๆทั้งหมด
    ถ้าพิจารณา...
    จนชำนิ-ชำนาญแล้ว มันจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ
    ของมันเอง
    มีความรู้เท่า ตลอด...เวลา
    จนเห็นว่า...
    อารมณ์ทั้งปวง สักแต่ว่า อารมณ์
    เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ ดับไป
    ดับไป...
    ตาม...สภาพของมัน."
    _____________________________________________
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...