เรื่องเด่น ศึกษาพระเครื่องเพื่อให้รู้ว่า พระเครื่อง แท้หรือไม่

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b8a3e0b8b0e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8ade0b887-e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b2e0b89ee0b8a3.jpg

    “แทน ท่าพระจันทร์”

    สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องการศึกษาพระเครื่องเพื่อให้รู้ว่าพระเครื่องนั้นๆ แท้หรือไม่ จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาเรื่องของรายละเอียดของพิมพ์พระ รายละเอียดของเนื้อวัสดุของพระนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องศึกษาถึงธรรมชาติของพระที่เกิดจากการผลิต และธรรมชาติความเก่าของวัสดุที่นำมาสร้างพระตามอายุของพระนั้นๆ

    พระเครื่องส่วนใหญ่เป็นพระที่สร้างขึ้นจากแม่พิมพ์ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่สร้างขึ้นมาโดยมีแม่พิมพ์ สิ่งเหล่านั้นถ้าออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกันก็ต้องมีรายละเอียดของแม่พิมพ์เหมือนกัน และถ้าเป็นพระที่สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกัน ธรรมชาติการสร้างก็จะออกมาเหมือนๆ กัน เช่นเหรียญสตางค์หรือธนบัตร ถ้าผลิตในรุ่นเดียวกันแม่พิมพ์อันเดียวกันเหรียญนั้นก็จะเหมือนกันทั้งรายละเอียด กรรมวิธีการ ผลิตก็จะเหมือนๆ กัน พระเครื่องก็เหมือนกันครับหลักการเดียวกันที่จะใช้ในการพิจารณาว่าใช่หรือไม่

    ในวันนี้ผมจะมาคุยถึงเรื่องรายละเอียดของแม่พิมพ์และธรรมชาติของการผลิตก่อน และขอนำพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) สร้าง มาเป็นตัวอย่างที่จะมาคุยกันครับ พระสมเด็จวัดระฆังฯ ตามที่ผู้หลักผู้ใหญ่รวบรวมถ่ายทอดส่งต่อๆ กันมานั้น ถ้าจะแยกโดยละเอียดก็จะสามารถแยกออกได้เป็นตัวแม่พิมพ์ได้ถึง 4 แม่พิมพ์ แต่รายละเอียดของแม่พิมพ์โดยรวมนั้นจะคล้ายๆ กัน เพียงแต่มีส่วนปลีกย่อยที่แตกต่างกัน การแยกแม่พิมพ์นี้ก็เพื่อสะดวกในการศึกษาเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน เอาล่ะเราค่อยมาว่ากันทีหลัง

    ในวันนี้จะขอนำรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์อกวี ซึ่งชื่อของแม่พิมพ์ผมขอเรียกตามครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนผมมานะครับ ซึ่งก็อาจจะเรียกแตกต่างกันไปบ้าง แต่การพิจารณาของความถูกต้องก็เข้ามาหาความถูกต้องที่เหมือนกันครับ รูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 2 องค์ที่ผมนำรูปมาแสดงนั้นเป็นพระที่มีแม่พิมพ์เดียวกัน

    และพระทั้ง 2 องค์ เป็นพระที่ตัดแม่พิมพ์เหลือขอบข้าง จึงเป็นพระที่จะนำมาเพื่อการศึกษาได้ดีมากครับ เรื่องการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ก็เป็นอีกข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ตัวแม่พิมพ์ช่างที่แกะแม่พิมพ์นั้น แกะเพียงกรอบของแม่พิมพ์เท่านั้น เพื่อที่จะได้เป็นเส้นกำหนดที่จะให้ตัดขอบอีกทีหนึ่ง

    จึงต้องมีการตัดขอบของพระทีหลังเมื่อกดพิมพ์พระสำเร็จแล้ว มิได้แกะออกมาเป็นขอบสำเร็จ (ดังเช่นพระในปัจจุบัน) ดังนั้นการตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงมีขอบนอกไม่เท่ากัน ตัดพอดีกรอบบ้าง เหลือขอบข้างบ้าง ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของการผลิต

    [​IMG] [​IMG]

    กลับมาดูรูปพระสมเด็จฯ ทั้ง 2 องค์ ที่ตัดขอบเหลือขอบข้าง เราจะมองเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์เป็นเส้นทิวบางๆ รอบพระทั้ง 4 ด้าน แต่ส่วนมากจะเห็น 3 ด้านค่อนข้างชัด ส่วนที่เหลือเลยออกไปนั้นก็เป็นเนื้อเหลือจากการตัดขอบ และเนื้อที่เป็นส่วนเกินนี้จะมีระดับต่ำกว่าเนื้อที่อยู่ภายในกรอบแม่พิมพ์ เราได้อะไรจากการสังเกตนี้

    ประการแรกเราก็จะรู้ได้ว่าการแกะแม่พิมพ์ของช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น แกะแม่พิมพ์มาแค่กรอบพระ และต้องมีการตัดขอบทีหลัง ก็เป็นธรรมชาติของการผลิตอย่างหนึ่ง เรามาพิจารณากันต่อ เราก็จะเห็นว่า เส้นกรอบด้านข้างซ้าย-ขวานั้นกรอบของแม่พิมพ์ไม่เท่ากัน พื้นที่จากกรอบแม่พิมพ์ทั้งซ้าย-ขวาด้านบน จากกรอบแม่พิมพ์ไปถึงซุ้มครอบแก้วนั้นมีเนื้อที่ไม่เท่ากัน

    ทำให้เรารู้จากการสังเกตได้ว่าเส้นของกรอบแม่พิมพ์ซ้าย-ขวาก็ไม่เหมือนกัน เส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายมือเรานั้นจะวิ่งยาวลงมาจนถึงขอบของฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง ส่วนเส้นกรอบแม่พิมพ์ด้านขวามือเรานั้น วิ่งลงมาไม่ตลอดจนจรดขอบฐานซุ้มครอบแก้วด้านล่าง

    แต่มาจรดซุ้มครอบแก้วก่อนจะถึงด้านล่างของซุ้มครอบแก้ว ก็ทำให้เราใช้เป็นข้อสังเกตของแม่พิมพ์พระได้ เรื่องของกรอบแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ทั้ง 4 แม่พิมพ์จะเหมือนกันหมด ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยในด้านอื่นๆ แตกต่างกันเล็กน้อย เช่น พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีเส้นแซมใต้ตัก แม่พิมพ์เกศทะลุซุ้ม แม่พิมพ์อกกระบอก แม่พิมพ์อกวี เป็นต้น

    เรื่องของกรอบแม่พิมพ์และธรรมชาติการผลิตข้อเดียวก็หมดเนื้อที่แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก ทั้งองค์เลยครับ แต่ถ้าเราศึกษาอย่างถูกต้องเราก็จะสามารถแยกแยะได้ครับ ค่อยๆ ศึกษาหารายละเอียดไปเรื่อยๆ ก็จะพบไปเรื่อยๆ เช่นกันครับ ที่ผมนำมาเล่านั้นผมเองก็ได้รับการสั่งสอนมาจากครูบาอาจารย์ รุ่นเก่าๆ ที่เขาได้เก็บรวบรวมส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่น ที่ได้รับผลการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องจากการเปรียบเทียบกับพระแม่พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ครับ

    ด้วยความจริงใจ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_930064
     
  2. ต้องตรา

    ต้องตรา เก๊ แท้ คือ ความว่างเปล่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2016
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +85
    สวัสดีครับ ดูแล้วงง เส้นซุ้มแข็งเหมือนไม้บรรทัด แต่แปลกดีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...