วิธีดับทุกข์เพราะ.....กลัวตาย (คู่มือดับทุกข์)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    ตาย คือ การหมดลมหายใจ ร่างกายกับจิตใจ หรือรูปกับนางแยกออกจากกัน ที่เรียกว่า "ศพ" หรือ "ผี" ซึ่งสิ่งที่มีชีวิต เมื่อมีการเกิดแล้วก็มีการตายเสมอกันหมด ไม่มีการยกเว้น ต่างแต่ว่าเร็วหรือช้ากว่ากันเท่านั้น

    กลัวตาย เป็นธรรมดาของปุถุชน ที่หนาด้วยกิเลสและตัณหาที่ปรารถนาความสุขเกลียดความ ทุกข์ จึงต้องกลัวตายเพราะการตายหมายถึงความสูญสิ้นแล้วทุก สิ่ง แม้แต่ร่างกาย ของตนเอง ก็ต้องสูญสลาย

    แม้ว่าใครจะกลัวตายหรือไม่กลัว ทั้งคนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วก็ต้องตายเหมือนกันหมด

    คนที่ไม่กลัวความตาย มีอยู่ ๓ พวก คือ พระอรหันต์ ผู้ไม่ประมาท และผู้มีกิเลสหนาตัณหาจัด

    พระอรหันต์ เป็นผู้หมดกิเลสแล้ว ความกลัวตายจึงไม่มีแก่ท่าน
    ผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ที่เตรียมตัวเตรียมใจไว้พร้อมแล้ว ทำความดีไว้พร้อมแล้ว มั่นใจในตัวเองว่า ได้ทำที่พึ่งไว้ดีแล้ว ถ้ามีการเกิดอีก ก็เชื่อว่าต้องเกิดในที่ดีแน่ ๆ
    ผู้มีกิเลสหนาตัณหาจัด เช่น โลภจัดกำหนัดกล้า โทสะกำลังแรง หลงจัด คนที่ตกอยู่ในสภาพนี้ จะเกิดอาการ "บ้าบิ่น" หรือ "บ้าระห่ำ" ก็ไม่กลัวตาย แต่เมื่อกิเสสตัณหาลดลง ก็กลัวตายเช่นกัน

    การกลัวตาย เป็นสิ่งที่ดี ทำให้เกิดการแสวงหาที่พึ่งที่ดีกว่าประเสริฐกว่า พึงดูเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทรงกลัวความตายเหมือนกัน แต่เป็นการกลัวที่ถูก

    การกลัวตายที่ไม่ถูก คือ เมื่อรู้ว่าจะต้องตาย ก็รีบหาความสุขทางเนื้อหนังด้วยการเบียดเบียน และคดโกงผู้อื่น ถือว่าตายแล้วก็เลิกกัน ตามหลักพุทธศาสนา หาได้ถือว่าตายแล้วเลิกกันไม่ ถ้าตราบใดที่ยังมีกิเลสตัณหาอยู่ตาย แล้วก็ต้องเกิดอีกอยู่ร่าไป

    ถ้าทำความชั่วไว้ ความชั่วก็ต้องสนอง ทำความดีไว้ ความดีก็ต้องสนอง ไม่มีใครจะหลบหลีกพ้น

    การได้เกิดมาเป็นคน และมีอวัยวะสมบูรณ์ เป็นผลจากความดีควรจะทำความดีต่อเอาไว้ ชาติต่อไปก็จะได้เกิด ในกำเนิดที่ดียิ่งขึ้นไป

    ถ้าทำความชั่ว ก็ต้องไปเกิดในกำเนิดที่ต่ำ เช่น สัตว์ เปรตนรกเป็นต้น หรืออาจมาเกิดเป็นคน (เพราะเศษบุญ)ก็จะพิการ บ้า ใบ้ ปัญญาอ่อน เป็นต้น

    เขียนมาถึงตอนนี้แล้ว บางคนอาจยังมีการกลัวตายอยู่อีก ก็เห็นจะต้องตั้งต้น "ทำใจ" ปรับความคิดกันใหม่

    เราคิดดูด้วยใจเป็นกลาง เราจะกลัวหรือไม่กลัว เราก็ต้องตายหมดทุกคน ไม่ว่าคนดีหรือชั่ว รวยหรือจน ตระกูลสูงหรือต่ำ ล้วนต้องตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ตายแล้ว อะไร ๆ ในโลกนี้ ที่เคยยึดเคยหวงทุกสิ่ง มันก็อยู่ของมันในโลกนี้ ไม่มีมีใครเอาไปได้ นอกจากความดีและความชั่วเท่านั้นที่ต้องติดตามเราไปท ุกหนทุกแห่ง เราจะเอาหรือไม่เอา มันก็ต้องตามเราไป สนองดุจเงา

    ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงไม่ควรประมาท รีบสะสมและกอบโกยเอาแต่ความดี หลีกหนีความชั่วมีผลเป็นความทุกข์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

    การระลึกถึงความตาย จึงมีประโยชน์ ที่ช่วยเหนึ่ยวรั้งไม่ให้คนเราถลำทำชั่ว และกลัวตัวทำความดี เพื่อจะได้พบกับความสุขที่แท้จริงคือสุขที่ไม่เบียดเ บียน ทั้งตนเองและผู้อื่น

    พระพุทธองค์จึงทรงให้ทุกคน หมั่นระลึกถึงความตาย มิใช่จะช่วยแช่งให้ตาย มิใช่จะช่วยแช่งให้ตายเร็ว ๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะคนเราจะตาย มิใช่จะช่วยแช่งให้ตายเร็ว ๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะคนเราจะตายช้าหรือเร็ว มิได้เกิดจาการแช่งหรือคำให้พรของใครแต่ขึ้นอยู่กับก รรม คือ การกระทำของตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน เป็นเครื่องบ่งชี้ยุติธรรมยิ่ง

    เมื่อพูดถึงความตาย คนที่ใจห่างธรรมะและกายห่างวัดก็มักจะไม่อยากได้ยิน ถ้าห้ามได้ก็จะห้ามพูด หนีได้ก็จะหนีไปเลย เพราะยังไม่อยากตาย เมื่อยังไม่อยากตาย ก็พลอยไม่อยากได้ยินเรื่องตาย ๆ ไปด้วย

    ทั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องทีแปลกประหลาด หรือมหัศจรรย์ อะไรหรอกขึ้นชื่อว่าปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสตัณหา มันก็กลัวตายด้วยกันทุกคน แม่แต่ผู้เขียนเองก็เคยกลัว และกลัวเอามาก ๆ เสียด้วย

    ก็เพราะเหตุที่กลัวนี่แหละ จึงต้องรีบตั้งหน้าทำแต่ความดี กลัวว่าชาติหน้ามันจะไปเกิดเลวกว่านี้ จะรอเอาไว้ให้แก่หง่อมมาก ๆ ก่อนแล้วค่อยมาบวชมาปฏิบัติ ก็ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันที่ให้ความมั่นใจได้ว่ามัน จะไม่เท่งทึง ไปเสียก่อนแก่

    เพราะเจ้าความตายนี่ มันไม่มีใครเรียงคิวตายเสียด้วย มันอาจจะตายพรุ่งนี้ วันนี้ เดี๋ยวนี้ ก็ไม่มีมครบอกได้ จึงคิดว่าเพื่อความไม่ประมาทรีบบวชมาปฏิบัติ ก็ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันที่ให้ความมั่นใจได้ว่ามัน จะไม่เท่งทึงไปเสียก่อนแก่

    เพราะเจ้าความตายนี่ มันไม่มีใครเรียงคิวตายเสียด้วย มันอาจจะตายพรุ่งนี้ วันนี้ เดี๋ยวนี้ ก็ไม่มีใครบอกได้ จึงคิดว่าเพื่อความไม่ประมาทรีบบวชทำความดีอะไร ๆ ไว้ก่อนดีกว่า ถ้ามันเกิดลัดคิวตาย เราก็พร้อมที่จะไป เพราะมีทุนอยู่บ้างแล้ว

    ถ้ามันเกิดเรียงคิวตาย คือตายเมื่อแก่มาก ๆ หรือตายตามอายุขัยเราก็ถือว่าได้กำไร เพราะได้ทำความดีไว้มากแล้ว คิดและทำอย่างนี้ ก็ไม่รู้ว่าผิดหรือถูก แต่ผลที่ได้และเห็นกันชัด ๆ ก็คือ ทุกวันนี้ ถ้าไม่มีเผลอสติก็ไม่กลัวตาย บางครั้งแถมอยากให้ตายเร็ว ๆ เสียด้วย

    ทั้งนี้ด้วยพิจารณาเห็น โดยปราศจากความสงสัยใด ๆ ว่า เพราะมีร่างกายนี่แหละ ทุกข์ โทษ ภัย โรคสารพัดจึงเกิดมี ถ้าไม่เกิดเสียอย่างเดียว ปัญหาทั้งหลายก็สิ้นสุด

    จากการที่ได้เจริญมรณัสสติ ตามหลักมรณัสสติสูตร (๒๒/๓๑๕) มาเป็นเวลา ๖ ปี จึงได้พบภาวะเช่นนี้ และยังทำให้โรคเส้นประสาทหายไปได้อย่างเด็ดขาดด้วย (ท่านที่สนใจจะอ่านมรณัสสติสูตร เชิญอ่านได้จากหนักสือ " พระไตรปิฎก ฉบับปฎิบัติ" โดย ธรรมรักษา)

    เอาเป็นว่า ผู้ที่เจริญมรณัสสติให้ถูกต้องและติดต่อกัน เพียงระยะไม่นานนัก (แล้วแต่บารมี) ก็จะเกิดการไม่กลัวตายและมีกำลังใจในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป และทำได้ดีเสียด้วย เพราะทำแล้วไม่เอาความดีคือไม่มีตัวตนเข้าไปหุ้น มีแต่สติคอยเตือนอยู่เสมอ ๆ ว่า "ใกล้จะตายแล้ว ๆ ๆ"

    โบราณ "เสือดุ ให้เข้าใกล้เสือ" แล้วมันจะหายกลัวเสือไปเองได้ฟังมาแต่เล็ก ๆ ก็ไม่เชื่อ มีอย่างที่ไหนกัน เสือดุน่าจะให้อยู่ห่างๆ มันกลับไปสอนให้เข้าใกล้มัน ?

    เมื่อมาเจริญมรณัสสติเข้ากลับเห็นจริง โดยปราศจากข้อกังขาใด ๆ ทั้งสิ้น นี่แหละเขาว่า "โง่แล้วอยากอวดฉลาด" แต่ก่อนเคยกลัว แม้แต่ภาพถ่ายของคนตายก็ไม่อยากเห็น ไม่อยากดู ไม่อยากแม้แต่จะเก็บเอาไว้

    แต่เดี๋ยวนี้ กลับตรงกันข้าม อยากเห็นอยากดู ยิ่งศพสด ๆ หรือเปื่อยเน่า ก็ยิ่งอยากดูมากขึ้น ตอนก่อนดูรู้สึกว่าตัวมันหนัก คือมันหนาแน่นไปด้วยด้วยกิเลสตัณหานานาชนิด หลังจากดูแล้วเที่ยวกลับตัวเบาหวิวอย่างไรชอบกล ราคะ โลภะ โทสะ และโมหะ ไม่รู้ว่ามันหายหัวไปไหนกันหมด แปลกประหลาดจริ ๆ

    เมื่อมาอยู่ถ้ำสติใหม่ ๆ ได้ไปขอคุณหมอประเวศ วะสี ดูศพที่โรงพยาบารศิริราช คุณหมอได้เอื้อเฟื้อให้ดูหลายแห่ง ภาพศพเหล่านั้นยังประทับติดตาไม่จางเลยจนทุกวันนี้ เมื่อเกิดราคะตัณหารบกวนจิตเมื่อไหร่ ก็น้อมใจเตือนสติ เอาภาพศพเหล่านั้นมาพิจารณา กิเลสตัณหาก็หนีหายไปอย่างรวดเร็ว ขอขอบคุณและขอจารึกพระคุณของนายแพทย์ประเวศ วะสี ไว้ในที่นี้ด้วย

    รายละเอียดเห้นจะนำเอามาพูดกันหมดไม่ได้ เพราะจะทำให้หนังสือหนาเกินไป เอาเป็นว่า ท่านที่สนใจอยากเจริญมรณัสสติ แต่ยังมีความกลัวตายอยู่ ขอให้ดูรูปภาพไปก่อน เมื่อเคยชินแล้วควรจะดูศพสด ๆ ที่ตายวันหนึ่งเรื่อยไป จนถึงเน่าเฟะ

    ถ้ายังมีความกลัวอยู่ก็ดูเฉพาะกลางวัน และนาน ๆ ดูหนหนึ่งพอความกลัวลดลงก็ดูให้มากขึ้นจนติดตา และน้อมเอาภาพนั้น ๆ มาเทียบตัวเอง ดูตัวเอง ดูให้บ่อย ๆ จนเห็นชัด จนเกิดใจหายและสลดจิตแสดงว่ามีภูมิมรณัสสติค้มกันแล้ ว

    ขั้นต่อไป ไม่ต้องดูภาพบ่อย ๆ ก็ได้ข้อสำคัญเมื่อระลึกถึงศพจะต้องเห็นชัดเจน ถ้าเป็นภาพศพผ่าท้อง ก็ต้องเห็นตับไตไส้พุงชิ้นส่วนในท้องอย่างชัดเจนจึงจ ะได้ผล

    เมื่อถึงขั้นนี้ความกลัวตายจะหายไปหมดสิ้น ยกเว้นแต่เผลอสติเมื่อไหร่ ความกลัวตายก็จะแทรกเข้ามาได้ สติจึงเป็นด่านหน้าที่จำเป็นต้องฝึกไว้ให้รวดเร็ว มิฉะนั้น ปิยรูปและสาตรูป มันจะดึงเอาไปกินเสียก่อน

    การปฏิบัติที่ถือว่าได้ผลนั้น เมื่อมีสติเห็นหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่น่ารัก สามารถมองเห็นทุลุปรุโปร่ง เข้าถึงภายในหมดมีแต่สิ่งปฏิกูล อสุภะเห็นทุกชีวิตมีความเป็นทุกข์แท้ แปรผัน เน่าเหม็น และแตกดับ อยู่ตลอดเวลา

    พร้อมกันนั้นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอันตตา ก็ปรากฏผสมกลมกลืน เป้นอันเดียวกันด้วย รับรองว่าราคะ ดลภะ โทสะ หายไปสิ้น (ในขณะนั้น)

    ผู้ที่มีราคะจริต ขอเชิญให้ปฏบัติเถิด ได้รับผลแน่ไม่มากก็น้อยขึ้นอยู่กับความเพียร บารมี หรือการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง เป็นสำคัญ


    ทางแก้

    ๑. อย่าประมาท รับทำความดีไว้ให้มาก ๆ จะเกิดความ "อุ่นใจ" จะไปเมื่อไหร่ก็ได้ พร้อมแล้วและพร้อมอยู่เสมอ

    ๒. หัด "ตายเทียม" คือ เมื่อเห็นคนอื่นตาย ก็ให้น้อมเข้ามาเทียบกับตนเอง ถ้าตนเองเป็นเช่นนั้น จะรู้สึกอย่างไร ? ทุกครั้งที่ไปเผาศพหรือเห็นศพ ให้ทำอุปมาเป็นศพเรา ให้เกิดความเคยชิน ความกลัวตายจะน้อยลง จนถึงอยากตาย

    ๓. พูดถึงความตายบ่อย ๆ ทำพินัยกรรมเตรียมไว้ บอกลาตายเตรียมไว้บังสุสุลตายเตรียมไว้ ทำบุญอุทิศให้ตนเองไว้ก่อน บางคนถึงกับต่อโลงเตรียมไว้ก่อน..

    ๔. เลิกความเชื่อถือผิด ๆ ที่ว่า เมื่อพูดถึงความตายบ่อย ๆ แล้วจะเป็นลางให้ตายเร็ว ไม่เป็นความจริงเด็ดขาด เพราะผู้เขียนได้ทดลองมาแล้วทุกวิธี เช่น นิมนต์พระ ๔ องค์มาฉัน ลาตายกับญาติๆ และคนที่คุ้นเคยกัน บังสุกุลตาย ทำบุญอุทิศให้ตนเอง พิมพ์หนังสืองานศพให้ตนเองอัดเสียงลาตาย ทำมากว่าสิบปีแล้ว ก็ยังไม่เห็นตายเลย ตรงข้ามกลับทำให้จิตใจสบายยิ่งขึ้น เพราะมองเห็นอะไร ๆ มันก็ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นไปหมด จิตก็เลยว่าง โปร่ง และสงบ

    ๕. เจริญมรณัสสติ เป็นวิธีดีที่สุด คือ มีสติระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทำให้ติดต่อ อุปมาเหมือนไฟไหม้อยู่บนศีรษะ

    ถ้าทำถูกวิธีแล้ว โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหา มานะ ทิฐิและอุปาทาน มันจะเบาบาง เหมือนกับหมดไปหรือไม่มีเป็นบางครั้ง เป็นเรื่องแปลกแต่จริง จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ที่ไม่เคยทำ ได้ลองทำดู ท่านอาจจะพบความสุขที่ไม่เคยพบมาก่อน



    http://www.wattiabsilaram.net/upload/showthread.php?t=2524
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...