วิธีการภาวนาของผู้ที่ทำฌานไม่ได้ (สุกขวิปัสสกะ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 1 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]วิธีการภาวนาของผู้ที่ทำฌานไม่ได้ (สุกขวิปัสสกะ)

    หลวงพ่อปราโมทย์ : พวกเราส่วนใหญ่ให้เข้าฌาน เข้าไม่ได้ แล้วทำอย่างไรดีเข้าฌานไม่ได้?
    หัดง่ายๆทีว่าอย่างทีแรกนะ หัดดูจิต พุทโธๆไป แล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน ไม่ได้ฝึกไม่ให้จิตหนี แต่จิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตจะตั้งมั่น แต่ตั้งชั่วขณะ เรียกว่ามี “ขณิกสมาธิ”
    แค่ขณิกสมาธินี้ใช้เดินปัญญาได้แล้ว จิตมันตั้งขึ้นมาเป็นขณะๆต่อไปสติมันเลยระลึกรู้กาย จิตยังตั้งอยู่ได้นะ ระลึกอยู่ ตัวจิตตั้งอยู่แว้บเดียว มันเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่เรา เหมือนที่พวกเราหลายคนอาบน้ำ มีมาเล่าเรื่อยๆนะก่อนนี้ อาบน้ำ ถูสบู่ ถูไปๆรู้สึกแว้บขึ้นมา ไอ้นี่ไม่ใช่ตัวเราแล้ว เป็นท่อนๆอะไรท่อนหนึ่ง นี่จิตมันตั้งชั่วขณะนะ มันเห็นอย่างนั้นเลย
    ถ้าตั้งแบบมีตัวผู้รู้ผ่านการทำฌานมา จะเห็นทั้งวัน ที่ยืนเดินนั่งนอนตลอดวันนั้น ไม่มีเรา แต่พวกขณิกสมาธิก็จะเห็นชั่วเวลาที่มีสมาธิชั่วขณะ ชั่วขณะเห็นแว้บหนึ่ง ไม่มีเรา เห็นบ่อยๆ ค่อยฝึกไป ต่อไปก็จะเห็นบ่อยขึ้น สุดท้ายจิตก็ยอมรับความจริงว่าไม่มีเราได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลนะ ไม่ใช่ทุกคนต้องเข้าฌานให้ได้ ถ้าทุกคนต้องเข้าฌานให้ได้นะ คนสมัยพุทธกาลเขาก็ภาวนาไม่ได้
    มีสถิตินะ คนที่บอกสถิตินี้คือพระพุทธเจ้า วันหนึ่งพระพุทธเจ้าก็บอกกับพระสาวก บอกว่า ภิกษุทั้งหลาย ในบรรดาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ สมัยพุทธกาลชอบเลข ๕๐๐ มากเลย ในพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ มีพระอรหันต์ที่ได้วิชา ๓ นี้ ๖๐ องค์ คนได้วิชา ๓ ต้องได้สมาธินะ มีพระอรหันต์ที่ได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๒๐ แล้วนะ พวกอภิญญาก็ต้องเล่นสมาธิเชี่ยวชาญยิ่งกว่าพวกวิชา ๓ เสียอีก ในพวกนี้ มีทั้งสมาธิและปัญญาอีก ๖๐ องค์ เพราะฉะนั้นได้สมาธิด้วย ได้ปัญญาด้วย อีก ๖๐ องค์ รวมเป็น ๑๘๐ จาก ๕๐๐
    พวกที่เหลือ (๓๒๐ องค์ – ผู้ถอด) คือคนอย่างพวกเรานี่เอง พวกที่ทำสมาธิไม่ได้จริงน่ะ คนธรรมดาๆนี่เอง พวก “สุกขวิปัสสกะ” พวกที่เดินโดยอาศัยปัญญาเป็นหลัก มีสมาธิเป็นตัวประกอบ แต่ว่าไม่ใช่ว่าพวกที่เดินด้วยปัญญาไม่มีสมาธินะ ต้องมีสมาธิ แต่ว่ามีสมาธิเป็นขณะๆนะ ใจไหลไปแล้วรู้ๆ ซ้อมทุกวัน ทำในรูปแบบเข้า แล้วซ้อมดู
    ทุกวันต้องทำในรูปแบบนะ พวกเราไม่ใช่พวกทรงฌาน เพราะฉะนั้นพวกเราถ้าไม่ซ้อมทุกวันนะ วันไหนไม่ซ้อมอีกวันหนึ่งก็ไม่มีแรงแล้ว แรงของพวกเรามีน้อยมากเลย คล้ายๆคนยากคนจนนะ เติมน้ำมันทีหนึ่ง ๕๐ บาท อะไรอย่างนี้ วิ่งได้นิดเดียวแหละ ไม่ใช่เติมทีละพันกว่าแล้ววิ่งไปทั้งวัน เพราะฉะนั้นเราต้องเติมน้ำมันบ่อยๆ เพราะน้ำมันเราน้อย
    เพราะฉะนั้นทุกวันนะ ทำในรูปแบบไว้ วิธีทำในรูปแบบ ไหว้พระสวดมนต์ไป จิตใจหนีไปแล้วรู้ทัน ไหว้พระเสร็จแล้วจะพบว่า กว่าจะสวดมนต์จบ หนีไปเกือบร้อยครั้งแล้ว หนีแว้บๆๆ ตลอดเลย
    พอสวดจบแล้วมานั่งดูจิตดูใจ หรือมาเดินจงกรม ทำในรูปแบบนะ หายใจเข้ารู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัว ใจหนีไปคิดแล้วรู้ทัน หายใจเข้ารู้สึกตัว หายใจออกรู้สึกตัวใจไปเพ่งลมหายใจ ไปเพ่งท้องแล้ว รู้ทันหรือ พุทโธๆไป พุทโธไปรู้สึกตัวไป พุทโธไปแล้วจิตหนีไปคิด รู้ทัน พุทโธแล้วจิตไปเพ่งคำว่าพุทโธ เพ่งจิตเฉยๆ จนจิตนิ่งทื่อๆขึ้นมา ก็รู้ทัน พุทโธแล้วจิตเป็นอย่างไรก็รู้ว่าจิตเป็นอย่างนั้น
    คนไหนถนัดดูท้องพองยุบก็ดูไป ไม่ได้ผิด เหมือนกันหมด เท่าเทียมกันหมดเลย กรรมฐานทั้งหลายนี้ อย่าดูถูกของคนอื่นเขา ว่าของเขาไม่ดี ของเราเท่านั้นที่ดี มันดีสำหรับเรา มันไม่ได้ดีสำหรับคนอื่นเสมอไป เพราะฉะนั้นเราดูท้องพองยุบไป จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ จิตหนีไปคิดก็รู้ เหมือนกันเห็นไหม ใช้หลักเดียวกัน ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ ขยับไปแล้วรู้สึกตัว จิตหนีไปก็รู้ จิตเพ่งใส่มือก็รู้
    รู้ทันจิตไปเรื่อย ในที่สุดจิตขยับนิดเดียวเราเห็น จิตขยับแล้วเห็น จิตจะเริ่มสงบ จิตจะเริ่มตั้งมั่นขึ้นมา ได้สมาธิเหมือนกัน เพราะฉะนั้นดูจิตนี้ ระวังให้ดีนะ บางคนนึกว่าดูจิตแล้วจะเป็นปัญญา ไม่เป็นหรอก ดูจิตแล้วได้สมาธินะ เดินปัญญาต้องทำอีกอย่างหนึ่ง เดินปัญญาต้องแยกธาตุแยกขันธ์
    ถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ ดูกาย ก็เห็นกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่งนะ ดูไปเรื่อย กายนี้ประกอบด้วยก้อนธาตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
    ถ้าดูจิตก็แยกขันธ์ต่อไปอีก เวทนาก็ส่วนหนึ่ง จิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง นี่ต้องแยกขันธ์นะ อย่ามัวแต่หลงตามดูเวทนาจนลืมจิตนะ เช่น ความสุขเกิดขึ้นมัวแต่ดูความสุข ลืมจิตแล้ว จิตมีราคะ พอใจในความสุขแล้วไม่เห็น (ไม่เห็นราคะความพอใจ – ผู้ถอด) นี่เรียกว่าดูจิตไม่เป็น ภาวนาไม่ถึงจิตถึงใจ ใช้ไม่ได้
    เพราะฉะนั้นเวทนาเกิดขึ้น เวทนาไม่ใช่จิต แยกไปเลย เวทนาไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่แปลกปลอม มาแล้วก็ไป จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่ แต่ไม่ประคองตัวผู้รู้ผู้ดูนะ ต้องระวัง อย่าประคอง อย่ารักษา มันมีอยู่ก็มี มันหายไปก็หาย ถ้ารักษาอยู่จะเป็นสมถะอีกชนิดหนึ่ง เป็นอรูปฌาน ทางผิดนี่เต็มไปหมดเลยนะ แยกขันธ์ต่อไปอีก เวทนาแยกแล้ว สุขทุกข์เกิดขึ้นทางใจเรารู้ทัน ใจเป็นคนดู
    กุศล-อกุศลเป็นสังขารขันธ์ กุศล-อกุศลเกิดขึ้น กุศล-อกุศลไม่ใช่จิต ความโกรธไม่ใช่จิต ความโลภไม่ใช่จิต ศรัทธา วิริยะ สติ อะไรพวกนี้ไม่ใช่จิตทั้งนั้นเลย จิตเป็นธรรมชาติรู้เท่านั้น องค์ธรรมแต่ละอย่างๆ แยกออกไป มีหน้าที่ของตัวเอง มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น ปีติก็มีลักษณะของปีติ ความโกรธก็มีลักษณะเฉพาะของความโกรธ เราดูไปนะ เราไม่ถลำตามสังขาร ความปรุงแต่งทั้งหลาย
    ไม่ใช่ความโกรธเกิดขึ้น ไปดูความโกรธ ความโกรธหดลงไปอยู่ข้างใน ตามลึกลงไปในข้างใน อย่างนี้ไม่ถูก หรือว่าความปรุงแต่งไหวๆอยู่ตรงนี้ พอไปดูนะ มันเคลื่อนไปอยู่ข้างหน้า เราก็ส่งจิตตามไปอยู่ข้างหน้า พอมันดับไปปุ๊บเรากลับบ้านไม่เป็นแล้ว ใจโล่งว่างอยู่ข้างหน้า อันนี้ก็ผิดอีก
    ประคองตัวผู้รู้ไว้ก็ผิดนะ จิตไหลออกไปก็ผิด ดูสิ ทางผิดเต็มไปหมดเลย ประคองจิตเอาไว้ รักษาจิตเอาไว้ สุดโต่งในข้างบังคับ จิตไหลออกไป จิตหลงออกไป จิตไม่ตั้งมั่นในการดู สุดโต่งในข้างหลงตามกิเลส
    เพราะฉะนั้นตรงกลางนี้ รู้ด้วยความเป็นกลางนะ ไม่ได้ประคองรักษาจิต แต่รู้ทันจิต ไม่รักษาจิตนะ แต่รู้ทันจิต เพราะฉะนั้นราคะเกิดขึ้น จิตยินดีพอใจ รู้ทัน หรือจิตเกลียดกิเลส เห็นกิเลสแล้วเกลียดมันขึ้นมา รู้ว่าเกลียด ความสุขเกิดขึ้น จิตยินดี รู้ทัน ความทุกข์เกิดขึ้น จิตยินร้าย รู้ทัน รู้ทันกลับเข้ามาที่จิตนี่ (หมายถึง รู้ทันความยินดียินร้ายของจิต ไม่ต้องส่งจิตกลับเข้ามา จิตจะกลับมาได้ด้วยจิตเอง – ผู้ถอด) จิตมันยินดี จิตมันยินร้าย อย่างนี้ถึงจะเรียกว่า “ดูจิต” นะ ไม่ใช่เพ่งจิตให้นิ่ง เพ่งจิตให้นิ่งไม่ได้เรียกว่าดูจิต
    แต่ดูกิเลสนี้ ก็ไม่ใช่ดูจิต กิเลสไม่ใช่จิต ความสุขความทุกข์มันไม่ใช่จิต เราอาศัยการแยกขันธ์นะ แยกเวทนา ความสุข ความทุกข์ ความเฉยๆ แยกสังขารที่เป็นกุศล-อกุศล แยกออกไป จิตเป็นคนดู เมื่อจิตไปรู้เวทนา จิตไปรู้สังขารแล้ว จิตเกิดปฏิกิริยายินดียินร้ายอะไรขึ้นมา รู้ทัน อย่างนี้เรียกว่ารู้ทันจิต
    ถ้าประคองอยู่อย่างนี้ จะไม่มียินดียินร้ายเกิดขึ้น จะรู้สึกกูเก่งด้วยซ้ำไป การประคองจิตเป็นการทำอรูปฌานนะ เป็นความปรุงแต่งที่เรียกว่า “อเนญชาภิสังขาร” รากเหง้าของมันคือ “อวิชา” เช่นเดียวกับความปรุงแต่งฝ่ายชั่วทั้งหลาย หรือก็คือความปรุงแต่งฝ่ายดีนั่นเอง ความปรุงแต่งทุกชนิดมีรากเหง้าอันเดียวกัน คืออวิชา เรียนแค่นี้พอแล้ว วันนี้…

    หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
    บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
    แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓
    Dhammada.net หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม : ธรรมะ คือ ธรรมดา, อริยสัจจ์คือคำสอนข
     
  2. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,153
    เอ.......ไม่รู้ว่าจะตั้งใจให้ผมโดยตรงหรือเปล่า (ผมคิดเองนะครับ)

    ขอบคุณมากๆครับ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    วิธีภาวนาของผู้ที่ทำฌาณไม่ได้ ไม่ใช่ สุขวิปัสสกะ

    เพราะว่า สุขวิปัสสกะ ก็ คือ ผู้ที่สงบเรียบไป ไม่ได้ใช้อภิญญา ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จะเป็นผู้ที่ทำฌาณไม่ได้

    ดังนั้น วิธีการภาวนาของผู้ที่ทำฌาณไม่ได้ จึงเป็นการกล่าวเหมือนกับกล่าวว่า

    วิธีเขียนหนังสือของคนที่เขียนหนังสือไม่เป็น

    มันก็ต้องทำให้เป็นเท่านั้นแหละ ไม่ใช่ว่า จะมีวิธีอื่นที่ทำได้ แล้ว เลี่ยงสิ่งที่ควรทำไปเสีย

    เข้าใจคำว่า ฌาณ ก่อน ฌาณ นี้คือ เอาจิตใจไปจรดจ่อกับสิ่งใดๆ จนแนบไปเป็นหนึ่ง ซึ่งมันจะเกิด ปีติ และ สุข ขึ้นมาในจิตนั้น นี่เรียกว่า ปฐมฌาณ ซึ่งเป็น พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องฝึกต้องหัดให้เป็น เมื่อเป็นแล้ว นิวรณ์ จะสงบลงไป ทำให้จิตนั้นควรค่าแก่การทำงาน ควรค่าแก่การเอาไปฝึก ไปใช้งานต่อๆไป

    ส่วน การเจริญ สติ ก็เป็นเรื่องของการฝึกสติ เจริญสติ
    อริยมรรค ต้องนำไปสู่ สัมมาสมาธิ คือ ปฐมฌาณ เป็นต้น
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ก็ไม่เห็นว่า จะพูดเรื่อง "ทำฌาณไม่ได้" ที่แปลว่า "ไม่ต้องทำเลย" ไว้ตรงไหน

    ก็เห็นๆอยู่ว่า พูดว่า "ไม่ใช่พวกทรงฌาณ" แปลว่าอะไร ก็แปลว่า ทำได้นั้น
    แหละเพียง แต่ทรงไม่ได้ ยังไม่มีใครในนี้ พูดเรื่องห้ามทำฌาณเลย หรือแม้แต่พูด
    ผิดว่า ไม่ต้องทำฌาณ

    เขียนหนังสือหนะ ใครก็เขียนเป็น แต่เขียนแล้วอ่านภาษาไทยได้ภาษามนุษย์หรือเปล่า นี้คนละเรื่อง
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ท่านเอกวีร์ ในโลกนี้ คนทำฌาณไม่ได้ มีมากกว่า หรือ น้อยกว่า คนที่ทำฌาณได้
    คงไม่ต้องสาธยาย ว่า คนทำฌาณไม่ได้ นั้นมี ดุจขนโค

    ประเด็น ของเรื่องนี้ คือ การปลูกฝังความเชื่อ ว่า ไม่ต้องทำฌาณก็ได้

    ซึ่ง คนทั่วไปเขาก็คงจะชอบ เพราะว่า เขาทำฌาณกันไม่ได้

    แต่นั่น คือ การสอนแบบ พ่อรวย แม่รวย อยากให้ลูกสบาย แต่สุดท้าย ลูกทำอะไรไม่เป็น
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อะไรก็ตาม ที่ดูว่ายาก แต่ขอให้เดินตามทางไปตามลำดับ เหมือนคนยกน้ำหนัก คนทั่วไปบอกทำไม่ได้ แต่คนฝึกยกน้ำหนักทำได้
    เพราะว่า เขาได้เดินตามทางการฝึกมา

    พระศาสดา ทรงเป็น ผุ้ฝึก บุรุษและเทวดา ท่านทราบดีว่า ใครจะต้องเจอความยากอย่างไร

    ธรรมชาติของคนนั้นมีกิเลส ไม่สามารถควบคุมจิตได้ และ ดูเหมือนว่า ยาก หากจะทำ แต่ หากว่า เขาได้ฝึกไปตามลำดับ
    ขอเพียงมี ฉันทะ นำหน้าแล้ว เดินไปตามทางที่ค่อยๆ ลึก ลงไปแล้ว
    สิ่งที่ว่ายาก นั้นจะง่าย และ สบาย
     
  7. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    ลองศึกษาอัปนาโกศล 10 ครับ ความฉลาดในการทำฌาณให้เกิดขึ้น
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ท่านลุง ในโลกนี้ คนทำฌาณไม่ได้ มีมากกว่า ท่านก็รู้ แล้วท่าน จะทู้ซี้
    สอนให้เขาทำสิ่งที่เขาทำไม่ได้ กระนั้นหรือ

    คนที่ทำฌาณได้ เกิดจากอะไร เกิดจากอุปนิสัยที่เขาสะสมมาช้านาน คนที่
    สั่งสมอุปนิสัยการทำฌาณมาอย่างช้านาน จึงมีน้อยกว่า ก็เป็นเหตุเป็นผลใน
    ตัวมันเอง และ คนเหล่านี้ ไม่ต้องให้ คุณลุงมากระตุ้นต่อมทำฌาณ เขาก็
    มีอุปนิสัยของเขาอยู่แล้ว

    ดังนั้น เรื่องที่ว่า คนจะละทิ้งการทำฌาณ มันไม่ได้เกิดจากคำพูด ของใคร
    คนใดคนหนึ่ง แต่เกิดจาก อินทรีย์ที่เขามี

    คนที่สอนธรรมะเป็น เขาจะสอนธรรมะตามอินทรีย์ หรือ วาดภาพเอาเองว่า
    คนนั้นคนนี้ทำฌาณได้เดาสุ่มส่งสวด หมายจะขี่ช้างจับตั๊กแตน กันหละหนอ
     
  9. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ผมขอดูจิตตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนใน สติปัฏฐานสี่

    ถ้าผิดแผกจากนี้ เทียบเคียงแล้วเข้ากันไม่ได้ โดยเฉพาะดูจิตผิดตรง

    ( ถ้ารักษาอยู่จะเป็นสมถะอีกชนิดหนึ่ง เป็นอรูปฌาน ทางผิดนี่เต็มไปหมดเลยนะ )

    ดูจิตไปดูจิตมาได้อรูปฌาน ง่ายแบบนี้เลยหรือ แถมผิดทางของการ ดูจิตอีก

    ถ้าได้อรูปฌานง่ายแบบนี้ ผมก็ขอดูผิดทางละครับ



    ผมขอดูจิตตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนใน สติปัฏฐานสี่

    จิตตานุปัสสนา
    <DL><DD>[ ๒๘๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย <DD>ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ <DD> <DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ <DD>อนึ่ง จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ <DD>หรือจิตไม่มีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีราคะ <DD> <DD>หรือจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ <DD>หรือจิตไม่มีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโทสะ <DD> <DD>หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ <DD>หรือจิตไม่มีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีโมหะ <DD> <DD>หรือจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ <DD>หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน <DD> <DD>หรือจิตเป็นมหรคต (คือ มหัคคตะจิต คือถึงความเป็นใหญ่ <DD>หมายเอาจิตที่เป็นฌาน หรือเป็นอัปปมัญญาพรหมวิหาร ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต <DD>หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต <DD> <DD>หรือจิตเป็นสอุตตระ (คือ กามาวจรจิต ซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่า <DD>ไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นสอุตตระ <DD>หรือจิตเป็นอนุตตระ (จิตที่เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร ) ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นอนุตตระ <DD> <DD>หรือจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น <DD>หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น <DD> <DD>หรือจิตวิมุตติ (คือ หลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่า จิตวิมุตติ <DD>หรือจิตยังไม่วิมุตติ ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่วิมุตติ ดังนี้ <DD> <DD>ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นภายในบ้าง <DD>ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นภายนอกบ้าง <DD>ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง <DD>ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในจิตบ้าง <DD>ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในจิตบ้าง <DD>ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในจิตบ้าง <DD>ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าจิตมีอยู่ <DD>แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก <DD>เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย <DD>ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย <DD> <DD><BIG>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย </BIG><DD><BIG>ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่อย่างนี้ </BIG></DD></DL>​
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ท่าน เอกวีร์ ตรรกะพร่อง ที่กระผมพูด หมายความว่า โดยทั่วไปแล้ว คนเขาทำฌาณไม่เป็น แล้วท่านจะปล่อยให้เขาไม่เป็นอยู่อย่างนั้นหรือ ก็เพราะว่า ทำไม่เป็น ไม่ฝึกจิต จึงต้องวนเวียน วกวน อยู่ในสังสารวัฎ

    แล้ว ท่านยังจะให้เขาเลี่ยงไปทางอื่นอีกหรือ

    กำลังจิต ต้องใช้ในทาง

    1 หักห้ามใจ ในทุกข์ที่เกิด เมื่อจิตใจยังไม่มีปัญญาตัด
    2 เป็นแรงผลักดัน การสร้างกุศลให้ถึงพร้อม
    3 เป็นหลักใจ เพื่อพัก ระหว่างเดินทาง
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขอแชร์หน่อย ทุกวันนี้สำหรับผม ไม่ได้แยกแล้ว ว่านี่เป็นฌาน ว่านี่เป็นญาณ มันหล่อหลอมรวมลงเป็นสมาธิเลย สมาธิก็เป็นสมาธิ มีทั้งฌาณ ทั้งญาณ ปล่อยให้มันเกื้อกูลกันไป ไม่ได้สนใจหมายว่าตนเอาญาณ เอาฌาน ในสมาธิแต่ละรอบ แต่ละครั้ง ปล่อยมัน

    ปล. ไม่ได้ให้ใครเอาเป็นตัวอย่างนะครับ เป็นเพียงเรื่องส่วนตัว และยังจัดว่าเป้าหมายตัวเองอยู่ในสุขวิปัสสโกพอ ไม่เอามาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2011
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ไม่มีใครเขาปฏิเสธหรอกลุง ในเรื่อง การทำ "กำลังจิต"

    แต่อย่าเอาไปปนกับ "กำลังปัญญา"

    คนไม่มีกำลังจิต แต่เขาเป็นคนมีกำลังปัญญา มันก็พาข้ามได้

    คนเราล่วงทุกข์ได้ด้วยปัญญานะ ไม่ใช่ด้วย "พลังจิต"

    ระหว่างเดินทาง จะมัวมานั่งพักทำไม ทำไมไม่ลุล่วงกิจด้วยปัญญา
    พอไปหละ กุศลให้ถึงพร้อมมันก็มีศีลกับทาน วิปัสสนาเองก็ชื่อว่า
    มีกุศลมากกว่าสมาธิ ทำไมมันมากกว่า ก็เพราะว่า

    มันครอบคลุมไง สมาธิโดดๆมันไม่ใช่เหตุปัจจัยให้เกิด ศีล และ ทาน

    ปัญญาต่างหาก ที่ครอบคลุมทั้ง "ศีล" ครอบคลุมทั้ง "ทาน" และ
    ยังครอบคลุม "สมาธิ" ด้วย เหตุเพราะมันครอบคลุม ศีลและทาน
    มาก่อนหน้า

    สมาธิมันจะมาแต่ไหน จะไปเอาสมาธิมาแต่ไหน หากขาดปัญญาใน
    การเจริญศีล และเจริญทาน

    สมาธิมันจะเอามาแต่ไหน หากขาดซึ่งปัญญาพิจารณาไม่ว่างเว้น

    อะไรมีประโยชน์มาก สิ่งนั้น ควรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ หรือว่า
    จะเห็นว่า ควรเอาสิ่งที่ต้องอาศัยปัญญาอย่างสมาธิมายกเป็น
    หลักเป็นเกณฑ์แทนสิ่งที่ครอบคลุมตัวมันเล่า

    เอา หางมาเป็นหัว มันก็มั่ว รั่วสังขารไป

    สังขารรั่ว ก็อยู่ไม่ได้ใช่ไหม ท่านลุง!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2011
  13. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เข้ามาสาธุ ท่านขันธ์ครับ..!
    พี่เอกวีร์..สติ2 วิ ใจไหลไป2 วิ ใจกลับมา2 วิ ..วนเวียน นี่เขาเรียกสมาธิธรรมชาติแบบโลกๆสติที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน...ปราโมทย์..นี่เข้าใจสติปัฏฐาน..ไหม อ้างสมาธิแบบไหนมั่วไปหมด ไม่เข้าใจขัดกันเองไปในตัวตลอด..ยังกล้าาสอนคนอื่นอีก
     
  14. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    แล้วสติโลกๆที่ตนเองเทศน์ออกมานี่..มันมีกำลังทำลายกิเลสได้หรือ มันเกิดญาณ ฌานได้หรือ ..มันต้องใช้กำลังในสติปัฏฐานหรือกำลังสมาธิชั้นไหนจึงจะฆ่ากิเลสได้ เช่น โสดาบัน สกิทาคา อนาคา ใช้สมาธิแต่ละขั้นต่างกันออกไปใช่ไหม..!
    แล้วปราโมทย์..เอาสมาธิโลกๆมาเทศน์แล้วอ้างสุขขะวิปัสโกหรือ..เวรกรรม สาทุด
     
  15. ไม่ยึด

    ไม่ยึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +263
    ต้องไปดูความหมายของคำว่า ฌาน และ คำว่า ญาณ ใหม่กัน
    สุขวิปัสโกนี่แหละ นับ 1 2 3 จิตรวมก็เคยเห็นมาแล้ว
    สมาธิ และ วิปัสนา มักมาด้วยกัน

    ส่วนมากมักพูด ผมทำสมถะ ไม่ได้วิปัสนา
    บางคนก็พูดว่า ผมทำวิปัสนาไม่ได้ทำสมถะ

    แต่ที่ดูๆเอาเข้าจริงๆแล้ว สมาธิเกิด วิปัสนา สมาธิเกิด วิปัสนา
    กล่าวให้ดูอีกทีก็คือ สมถะเกิดแว๊บ วิปัสนาแว๊บๆๆๆๆ สลับกันไป
    พอนานเข้าก็จะมาบ่น ฉันทำแต่วิปัสนาเดินปัญญาอย่างเดียว ไม่ได้ทำสมถะเลย อูย เป็นงั้นไป แล้วที่เกิดด่อนจะยกจิตวิปัสนา มันก็คือสมถะไม่ใช่รึเนี่ย งง
    อยากพบคุณสับสนจัง คิดถึง......(k)
     
  16. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    ผมว่าสมาธิ เป็นบาตรฐานขอวิปัสสนานะ อาจจะเข้าใจผิดก็ได้
    เท่าที่ฟังครูบาอาจารย์หลายคนพูดก็จะบอกทำนองว่า
    กำลังสมาธิหรือฌาน จะเป็นเครื่องทำให้เกิดญาน หรือความรู้
    รู้ด้วยใจ ไม่ใช่ท่อง
    ผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้
     
  17. kongkiatm

    kongkiatm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +1,263
    ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ

    อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานเป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน + อรูปฌาน )

    ลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหามัคกุศลจิต คจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม
     
  18. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    เรื่อง ฌาณ กับ เรื่องสมาธิ นี้จะเรียกแตกต่างกันอย่างไร ก็ช่างมัน

    แต่ว่า ให้หมั่นทำ ให้ใจแนบสนิทได้ไปกับ คำบริกรรม ก็จะทำให้จิตใจนี้เบิกบานขึ้นมา เป็นสุข

    ไม่คิดสรตะ

    ทีนี้ เรื่องของฌาณ บางคนอาจจะเข้าใจไปในทำนองที่ว่า ฌาณ เป็นของขลังเป็นอำนาจจิต

    แต่จริงๆ แล้ว ฌาณ คือ สมาธิ ที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิด สุข กับจิตได้ ทำให้จิตนี้มั่นคง ไม่แปรเปลี่ยนไปตาม สิ่งต่างๆที่เข้ามากระทบ จิตก็จะทรงเอกคตาจิตได้


    ทีนี้ ที่บอกว่า ให้ทำฌาณ นั้นก็คือ ทำสมาธิ นั้นแหละ จะหลับตา จะทำบริกรรม อะไรต่างๆ มันจะเกิด สภาวะฌาณ ขึ้นมาเอง เป็นปฐมฌาณ เป็น สมาธิที่ถูกต้อง ควรค่าแก่การเอาไปใช้งาน ในชีวิตประจำวัน

    ซึ่ง สมาธิที่ถูกต้องนี้แหละ จะทำให้เรา สังเกตุ สิ่งต่างๆ ที่เกิดกับตนได้ อย่างไม่เอา กิเลสไปเจือปน ไม่เอานิวรณ์ไปเจือปน จึงว่า ปัญญาอันเกิดจากสมาธิ เป็นปัญญามีผลมาก

    แต่ทีนี้ สมาธิ จากเริ่มเดิมทีเป็นสมาธิอ่อนๆ ไม่แนบแน่น ถ้าไม่ฝึก ก็จะเป็นสมาธิที่ไม่ก้าวหน้า

    แต่ ถ้าฝึกสมาธิไป ฝึกสติไป ฝึกปัญญาไป วางตนในศีล ให้เป็นปกติ จะทำให้ รู้ว่า สมาธินั้นมีอะไรเป็นเครื่องขวาง เพราะมีสติ มีปัญญา มองเห็นเครื่องขวางสมาธินั้น ก็ละเครื่องขวางนั้น เกิดเป็นสมาธิ ที่นิ่งขึ้นไป
    จึงเรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ

    จากนั้นจึงจะค่อยๆ อบรมเกื้อกูลกันไป

    แต่หากว่า ไม่ฝึกสมาธิ รอให้สตินำแต่อย่างเดียว อำนาจแห่งนิวรณ์มีมาก อำนาจของการปรุงแต่งมีมาก

    จิตจะหมุนไปแต่ในทิศทาง ที่มีนิวรณ์ แฝงอยู่ในจิตตลอดเวลา แต่เราไม่รู้ตัว เราจะตามจับแต่ตัวนิวรณ์ ละตัวนี้ผุดตัวนั้น เป็นการมองที่ปลายเหตุ แต่ว่า ต้นเหตุนั้น คือ ใจยังไม่นิ่งพอ จิตจึงสอดส่ายออกไปได้ตลอดเวลา เมื่อกระทบกับสิ่งภายนอก

    ไม่ต้องคำนึง เรื่อง สุขวิปัสสโก หรือ อภิญญา เพราะสิ่งเหล่านั้นจะมีจะเป็นไปเอง
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
    ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึง
    พร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ

    ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา ไม่เป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
    จบสูตรที่ ๙
    ๑๐. หิตสูตรที่ ๔
    [๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมชื่อว่าปฏิบัติ
    เพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึง
    พร้อมด้วยศีล
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา
    เป็นผู้ถึง
    พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเอง
    และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ฯ
    จบสูตรที่ ๑๐
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔ อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    ๘. อังคิกสูตร
    [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อัน
    ประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
    อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกาย
    นี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่ง
    กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน
    หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว พรมด้วยน้ำหมักไว้
    ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล
    ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ
    แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
    การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
    ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิด
    แต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบ
    เหมือนห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก
    ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้วจะพึงทำ
    ห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้น
    ทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
    เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
    ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่
    ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...