เรื่องเด่น รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง หลักธรรมเติมพลังชีวิตสว.

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    เป็นคำพูดที่อาจทำให้ผู้สูงอายุที่ได้ฟังรู้สึกหมดกำลังใจ หรือแม้แต่คนวัยเก๋าหลายคน ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะคำกล่าวที่สะท้อนว่าคนแก่เปรียบเสมือนไม้ใกล้ฝั่ง จึงไม่จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกต่อไป รอเพียงวาระสุดท้ายมาถึง ต่างจากคนหนุ่มสาวที่ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตามทันโลก แต่อย่าลืมว่าอันที่จริงแล้ว คนทุกเพศทุกวัยจำเป็นต้องมีความพากเพียร และเรียนรู้ทั้งอุปสรรครวมถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว เหมือนกับคนหนุ่มสาว เพื่อให้กำลังใจคนวัยเก๋าใช้ชีวิต ในช่วงบั้นปลายอย่างมีความสุข ไร้ซึ่งความกังวลจากสิ่งเร้าภายนอกที่มากระทบใจ พระราชญาณกวี (ท่านปิยะโสภณ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก มาให้หลักธรรมะเติมพลังใจแก่คนวัยเกษียณไว้น่าสนใจ

    e0b8b2e0b897e0b8b1e0b899e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b89be0b8a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899e0b981.jpg

    (พระราชญาณกวี)

    พระราชญาณกวี บอกว่า “ในทางธรรมะแล้ว ผู้สูงอายุไม่ใช่ผู้ที่เป็นไม้ใกล้ฝั่ง เพราะอันที่จริงแล้วคนวัยนี้ก็จำเป็นต้องมีความพากเพียร และเรียนรู้อุปสรรคเหมือนกับคนวัยหนุ่มสาว เพียงแต่ว่าวิธีในการเรียนรู้และทำความเข้าใจชีวิตอาจจะแตกต่างกับเด็กหรือคนรุ่นลูกหลาน โดยใช้หลักชีวิต 3 ประการ คือ “เรียนรู้อารมณ์” อันที่สองคือ “เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง” สุดท้ายคือ “เรียนรู้การปล่อยวาง”
    “หลวงพ่ออยากแนะนำคนสูงวัยที่เมื่ออายุมาก และไม่ได้อยู่กับลูกหลาน หรือบุตรหลานอยู่ต่างประเทศ ต้องอยู่ตามลำพังกับเครือญาติ หรือแม้แต่ผู้สูงอายุที่ต้องอยู่กับผู้อื่นในสถานรับดูแล เป็นต้น ส่วนมากก็มักคาดหวังว่าลูกจะมาหา ทำให้ท่านต้องเฝ้านั่งรอนอนรอ ตรงนี้ต้องปรับวิธีคิดใหม่ว่า แทนที่เราจะน้อยใจลูกหลาน แต่การใช้คนที่อยู่รอบข้างเราเป็นเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนวัยเดียวกัน, เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง หรือญาติสนิท ตรงนี้เราก็จะมีความสุข ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะรอลูกหลานมาหา นั่นจึงเท่ากับการที่เรา “เรียนรู้การปล่อยวาง” ที่ถูกต้อง

    b8b2e0b897e0b8b1e0b899e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b89be0b8a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899e0b981-1.jpg

    (การมีชีวิตอยู่กับสิ่งรอบตัว เช่น เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในสถานรับเลี้ยงดูแล ถือเป็นการเรียนรู้อารมณ์ และเรียนรู้การปล่อยวาง โดยที่ไม่ต้องรอคอยลูกหลานมาเยี่ยมอยู่ตลอดเวลา)

    ในส่วนของ “การเรียนรู้อารมณ์” ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะอายุมากขึ้นอาจทำให้ยิ่งเป็นคนอารมณ์ร้อนขี้หงุดหงิด ถ้าลองปรับมุมมองใหม่ว่า หากเราอารมณ์เย็น หรือเป็นคนแก่ที่อารมณ์ดี ใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้ ที่สำคัญเมื่ออยู่ใกล้กับใครก็ให้ผูกมิตรกับคนคนนั้น คิดในทางตรงกันข้าม หากอยู่ร่วมกับคนอื่น และผู้สูงอายุไปดุด่า หรือแสดงความเอาแต่ใจ นั่นยิ่งทำให้คนรอบข้างเบื่อเรา สุดท้ายแล้วผู้สูงวัยก็จะไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และนั่นจะทำให้ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองนั้นเหมือนขอนไม้ที่ใกล้จมน้ำ แต่ถ้าเราเรียนรู้การมีที่พึ่งทางใจ โดยไม่เอาคนเป็นที่ตั้ง แต่มีความสุขกับสิ่งที่อยู่รอบตัว จึงนับเป็นการสิ่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้ก็ให้เอาบุญกุศลเป็นที่พึ่งทางใจ

    b8b2e0b897e0b8b1e0b899e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b89be0b8a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899e0b981-2.jpg

    (การเรียนรู้อารมณ์ที่สำคัญของคนสูงวัย หรือการเป็นคนที่มีอารมณ์เย็น ย่อมทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงมีความรู้สึกที่ดี ซึ่งเริ่มได้ง่ายๆ จากการผูกมิตรกับคนใกล้เคียง)

    สุดท้ายคือการที่ผู้สูงอายุจำเป็นต้อง “เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงของชีวิต” เพราะในทุกๆ วันนั้นมีคนแก่ คนเจ็บ และคนตายทุกวัน ดังนั้นถ้าพรุ่งนี้เรายังลืมตาตื่นขึ้นมาได้ก็ถือว่าเป็นกำไรชีวิตแล้ว ในมุมกลับกันเวลาที่เราเข้านอน และคิดในหัวอยู่ตลอดเวลาว่าพรุ่งนี้ต้องตายแน่ ก็จะทำให้รู้สึกหดหู่ ท้อแท้ ไม่มีพลังชีวิต แต่ถ้าคิดว่าแค่เราได้ลืมตาขึ้นมาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นกำไรชีวิต แน่นอนว่าย่อมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่ไม่ใช่ภาระ ไม่ใช่เวรกรรม แต่เป็นเพราะสิ่งดีงามที่เราได้สั่งสมไว้ นั่นจึงให้เรามีชีวิตอยู่แบบยืนยาว แต่ถ้าหากวันสุดท้ายมาถึง เราก็จะสามารถรับมือกับมันได้โดยไม่ยึดติด สิ่งที่หลวงพ่อแนะนำมา ก็เป็นไกด์ไลน์ชีวิต ที่ขึ้นอยู่กับว่าใครเลือกที่จะมีชีวิตอยู่อย่างไร”.

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thaipost.net/main/detail/29924
     

แชร์หน้านี้

Loading...