ระวัง ! "Side Effect" ครีมกันแดด อาบแสงเพลินเสี่ยง "มะเร็ง"

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492


    [​IMG]

    คุณเป็นอีกคนหนึ่งหรือเปล่าที่เชื่ออย่างสนิทใจว่า การทาครีมกันแดดที่มี SPF มากๆ ก่อนจะไปเดินชายหาด หรือว่ายน้ำในสระ จะช่วยลดการเกิดมะเร็งผิวหนัง และริ้วรอยเหี่ยวย่นที่จะมาถึงก่อนวัยอันควร

    หากคุณเคยเชื่อเช่นนั้น คงต้องมาทำความเข้าใจเสียใหม่ จะได้ไม่ชะล่าใจจนกลายเป็นเหยื่อของรังสีอัลตราไวโอเลตโดยไม่รู้ตัว

    เพราะความจริงแล้ว "ครีมกันแดด" ที่เรายอมควักเงินซื้อมาในราคาแพงนั้นไม่ได้เป็นยาขนานวิเศษที่จะป้องกันเราจากรังสีดังกล่าวได้ทั้งหมด แต่สามารถปกป้องคุณได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

    สำนักข่าวเอพีรายงานว่า แม้ครีมกันแดดที่วางขายกันอยู่จะเป็นเครื่องป้องกันผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดที่เรียกว่า "UVB" ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการผิวไหม้ได้ แต่ด้วยคุณสมบัติข้อนี้ ทำให้คนส่วนมากเข้าใจผิดว่า ครีมเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาอยู่ใต้แสงแดดที่ร้อนแรงได้ยาวนานขึ้นกว่าปกติ

    เท่ากับว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังให้กับตัวเองอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ยิ่งกว่านั้น ครีมกันแดดส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ไม่ได้ช่วยป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "UVA" ซึ่งสามารถลอดทะลุลึกเข้าไปในผิวหนัง และเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง และริ้วรอยเหี่ยวย่นได้

    ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า ครีมกันแดดที่จะสามารถป้องกันรังสี UVA ได้อย่างชะงัดนั้นจะต้องมีส่วนผสมของสังกะสีและออกซิเจน (zinc oxide) ไทเทเนียม ไดออกไซด์ หรือสารอาโวเบนโซน (avobenzone)

    นอกจากนี้ ยังจะต้องกันน้ำได้ และมี SPF (sun protection factor) 30 หรือมากกว่านั้น เพื่อจะได้ปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งจะต้องทาในปริมาณมากพอและบ่อยครั้งด้วย

    แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ควรจำกัดเวลาในการสัมผัสกับแสงแดด โดยเฉพาะในช่วง 10 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรงกล้าที่สุด และจะต้องปกปิดร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาทิ การสวมหมวก และใส่แว่นกันแดด

    จะว่าไปแล้ว ฉลากบนผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดก็มีส่วนทำให้ผู้ใช้เกิดความเข้าใจผิดด้วย เพราะ SPF ของบางบริษัทก็หมายถึงเฉพาะการป้องกันรังสี UVB ซึ่งมีอันตรายน้อยกว่า UVA

    ดร.แซนดร้า รี้ด โฆษกของสถาบันโรคผิวหนังแห่งอเมริกา กล่าวว่า เธอไม่เชื่อว่าผู้บริโภคจะเข้าใจว่าครีมกันแดดที่ใช้กันอยู่นั้นสามารถป้องกันรังสีได้เพียงบางชนิดเท่านั้น และการตากแดดนานๆ เพราะถือว่าทาครีมแล้ว เท่ากับคุณกำลังเสี่ยงอันตรายอย่างไม่รู้ตัว

    ขณะที่ ดร.มาร์ติน เอ. ไวน์สต็อก ประธานสมาคมโรคมะเร็งแห่งอเมริกา และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยบราวน์ กล่าวว่า คนส่วนใหญ่ที่ใช้ครีมกันแดดที่มี SPF 15 จะได้รับการปกป้องเท่ากับ SPF 5 เท่านั้น เพราะครีมทั้งสองแบบนี้บางเกินไป

    แม้ตัวเลข SPF ในครีมที่เพิ่มขึ้นจะหมายถึงการปกป้องที่มากขึ้น แต่แตกต่างกันไม่มาก เพราะ SPF 15 สามารถป้องกันรังสี UVB ได้ 93% ขณะที่ SPF 50 ที่มีราคาแพงกว่าหลายเท่านั้น สามารถป้องกันรังสีได้ 98%

    อย่างไรก็ตาม ครีมกันแดดยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย แต่ควรจะใช้ให้ถูกต้องมากขึ้น เพราะสามารถช่วยปกป้องผิวจากมะเร็งได้

    เพราะจากการวิจัย พบว่าการใช้ครีมกันแดดช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเซลล์ผิวหนัง และยังช่วยลดการเกิดกระบนผิวหนังของเด็ก ซึ่งจะพัฒนาเป็นมะเร็งได้ในภายหลัง

    ด้านสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ระบุว่า บริษัทผู้ผลิตครีมมักจะอ้างสรรพคุณแบบเกินจริง อาทิ การใช้คำว่า waterproof และ sunblock ที่ให้ความรู้สึกว่าสามารถกันน้ำและป้องกันแสงแดดได้ทั้งหมด ทั้งที่ควรจะเปลี่ยนมาใช้ให้ถูกต้องว่า water resistant และ sunscreen แต่บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายก็ยังไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้

    อย่าลืมนะว่า ครีมกันแดดส่วนมากจะทำปฏิกิริยากับผิวได้ก็ต้องอาศัยเวลา ไม่ใช่ทาครีมแล้วจะป้องกันแสงแดดได้ทันที ต้องทาไว้อย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนจะออกไปข้างนอก

    เดี๋ยวจะงงว่า อุตส่าห์ทาครีมหมดไปหลายขวดแล้วทำไมยังได้มะเร็งผิวหนังเป็นของแถมอีก



    ที่มา
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...