เรื่องเด่น พุทธศาสนามุ่งชี้อะไรเป็นอะไร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 มิถุนายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8aae0b899e0b8b2e0b8a1e0b8b8e0b988e0b887e0b88ae0b8b5e0b989e0b8ade0b8b0e0b984e0b8a3e0b980e0b89b.jpg




    คำว่า “พุทธศาสนา” มีความหมายกว้างขวางกว่า “ศีลธรรม” ศีลธรรมหมายถึงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับประโยชน์สุขในขั้นพื้นฐานทั่วไป ; และมีตรงกันแทบทุกศาสนา, ศาสนาหมายถึงระเบียบปฏิบัติในขั้นสูง ผิดแปลกแตกต่างกันไปเฉพาะศาสนาหนึ่ง ๆทีเดียว. ศีลธรรม ทำให้เป็นคนดี มีการปฏิบัติไม่เบียดเบียนตนหรือคนอื่น ตามหลักสังคมทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อได้ปฏิบัติครบถ้วนตามนั้นแล้ว คนก็ยังไม่พ้นทุกข์ที่มาจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย. ยังไม่พ้นทุกข์จากการเบียดเบียนของกิเลส อำนาจของศีลธรรมได้สิ้นสุดลงเสียก่อนที่จะกำจัดโลภะ โทสะ โมหะ ให้สิ้นสุดไปได้และไม่สามารถกำจัดความทุกข์อันเกิดจากการ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้.

    ส่วนขอบเขตของศาสนานั้นยังไปไกลต่อไปอีก โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ย่อมมุ่งหมายโดยตรงที่จะกำจัดกิเลสโดยสิ้นเชิงหรือดับทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้สิ้นไป. นั้นให้เห็นว่า ศาสนากับศีลธรรมนั้นต่างกันอย่างไรพุทธศาสนาไปได้ไกลกว่าศีลธรรมสากลของโลกทั่ว ๆ ไปอย่างไรเมื่อเข้าใจดังนี้ แล้ว เราจะได้สนใจพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

    พุทธศาสนา คือ วิชารวมทั้งระเบียบปฏิบัติ สำหรับจะให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร. ขอให้สนใจในคำจำกัดความนี้ให้มากเป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ที่จะเข้าใจพุทธศาสนาได้โดยเร็วและโดยง่าย.

    ท่านทั้งหลายลองพิจารณาดูว่า ท่านรู้จักอะไรเป็นอะไรกันหรือเปล่า. แม้จะรู้ว่าตัวเองเป็นอะไร ชีวิต หน้าที่การงาน อาชีพ เงินทอง ข้าวของ เกียรติยศ ชื่อเสียง คืออะไรก็ตาม ใครกล้ายืนยันว่ารู้ถึงที่สุดบ้าง ถ้าเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว เราย่อมไม่ปฏิบัติผิตต่อสิ่งทั้งปวง. เมื่อปฏิบัติถูกแล้วนก็เป็นอันแน่นอนว่า ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้. เดี๋ยวนี้เรายังไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรเราจึงปฏิบัติผิดไม่มากก็น้อย ; ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตามส่วน. การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาก็คือปฏิบัติเพื่อใหรู้วาสิ่งทั้งปวงคืออะไร; เมื่อรู้แจ้งแท้จริงก็ย่อมหมายถึงการบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งหรึอถึงขีดสูงสดเพราะความรู้นั่นเองเป็นตัวทำลายกิเลส ไปในตัว.

    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว ความเบื่อหน่ายคลายความอยาก และความหลุดพ้นจากทกข์ ย่อมจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ : เราทำความเพียรปฏิบัติก็แต่ขั้นที่ยังไม่รู้อะไรเป็นอะไรกันเท่านั้น โดยเฉพาะก็ในขั้นที่ยังไม่รู้ว่าสิ่งทั้งหลายนี้ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตน. ขณะนี้เราไม่รู้ว่าชีวิตหรือสิ่งทั้งปวงที่เรากำลังหลงรักใคร่ยินดี เป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา จึงหลงรักยินดีติดพันยึดถือในสิ่งเหล่านั้น. ครั้นรู้จริงตามวิธีของพระพุทธศาสนาคือมองเห็นชัดว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีอะไรน่าผูกมัดตัวเราเข้ากับสิ่งนั้นจริง ๆ แล้ว จิตก็จะเกิดความหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาทันที

    ขอยืนยันในคำจำกัดความข้อนี้ว่า เป็นคำจำกัดความที่เพียงพอและเหมาะสมแก่ท่านทั้งหลายที่จะเอาไปใช้สำหรับการปฏิบัติของตน ; เพราะเหตุว่าหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งพระไตรปิฏก ก็ล้วนแต่เป็นการบ่งระบุให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไร? เท่านั้นเอง เช่นหลักเรื่องอริยสัจจ์ ๔ ประการ ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับคำจำกัดความดังกล่าวเพื่อดูว่าจะลงรอยกันได้เพียงใด.

    อริยสัจจ์ข้อที่ ๑ แสดงว่าสิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์. นี่คือบอกตรง ๆ ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรนั่นเอง. สิ่งทั้งปวงเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ใจ แต่คนทั้งหลายไม่รู้ไม่เห็นว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความทุกข์จึงได้มีความอยากในสิ่งเหล่านั้น. ถ้ารู้ว่ามันเป็นความทุกข์ ไม่น่าอยากและไม่น่ายึดถือ ไม่น่าผูกพันตัวเองเข้ากับสิ่งใดแล้ว เขาก็คงจะไม่ไปอยาก.

    อริยสัจจ์ข้อที่ ๒

    แสดงว่าความอยากด้วยอวิชชานั้นเป็นต้นเหตุของความทุกข์ คนทั้งหลายก็ยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจว่าความอยากนี่แหละ เป็นตัวต้นเหตุของความทุกข์ใจจึงได้พากันอยากนั่นอยากนี่ร้อยแปดพันประการ เพราะไม่รู้ว่าความอยากด้วยอวิชชานั้นคืออะไร.

    อริยสัจจ์ข้อที่ ๓

    แสดงว่านิโรธหรือนิพพานคือการดับความอยากเสียได้สิ้นเชิง เป็นความไม่มีทุกข์. คนทั้งหลายยิ่งไม่รู้จักกันใหญ่ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ในที่ทั่ว ๆ ไปคือพบได้ตรงที่ความอยากมันดับลงไปนั่นเอง นี่คือไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร จึงไม่มีใครปรารถนาที่จะดับความอยาก ไม่ปรารถนานิพพาน เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือนิพพาน.

    อริยสัจจ์ข้อที่ ๔

    ที่เรียกว่ามรรคอันได้แก่วิธีดับความอยากนั้นๆ เสีย. ไม่มีผู้ไดเข้าใจว่า การทำอย่างนี้เป็นวิธีดับความอยากไม่มีใครสนใจเรื่องอริยมรรคอันมีองค์ ๘ ประการซึ่งดับความอยากเสียได้ ; ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นที่พึงแก่ตนเอง; อะไรควรขวนขวายอย่างยิ่ง ; จึงไม่สนใจกับเรื่องอริยมรรคของพระพทธเจ้าซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศประเสริฐที่สุดในบรรดาวิชาความรู้ของมนุษย์เราในโลกนี้. นี่แหละ คือการไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างน่าหวาดเสียว

    ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า อริยสัจจ์ ๔ ประการ นั้นคือ ความรู้ที่บอกให้เห็นชัดว่า อะไรเป็นอะไรอย่างครบถ้วน นั่นเอง : เรื่องความอยากนั้นบอกให้รู้ว่า เมื่อไปเล่นกับมันจึงเป็นความทุกข์ใจขึ้นมา เราก็ยังขืนไปเล่นกับความอยากจนเต็มไปด้วยความทุกข์นี่ แหละเป็นความโง่เขลาที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามที่เป็นจริงจึงปฏิบัติผิดทุกอย่าง ; จะมีถูกบ้างก็เล็กน้อยเกินไป และมักจะถูกตามความหมายของคนที่มีกิเลสตัณหา ซึ่งถือกันว่าถ้าได้อะไรมาตรงตามความต้องการของตนแล้ว ก็จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูก อย่างนี้ทางธรรมไม่ถือว่าถูกเลย.

    ทีนี้ลองเอาหลักทางบาลี ที่เรียกว่าหัวใจของพระพุทธศาสนาหรือคาถาของพระอัสสชิมาพิจารณากัน; เมื่อพระอัสสชิได้มาพบกับพระสารีบุตรก่อนได้บวช; พระสารีบุตรได้ถามถึงใจความของพระพุทธศาสนาว่า มีอยู่อย่างไรโดยย่อที่สุด. พระอัสสชิได้ตอบว่า “สิ่งเหล่าใดเกิดมาเพราะมีเหตุ ทำให้เกิด พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุของสิ่งเหล่านั้น พร้อมทั้งแสดงความดับสิ้นเชิงของสิ่งเหล่านั้นเพราะหมดเหตุ : พระมหาสมณเจ้าตรัสอย่างนี้.” นี่คือการบอกว่าสิ่งทั้งปวงมีเหตุปรุงแต่งขึ้นมา มันดับไม่ได้จนกว่าจะดับเหตุเสียก่อน นี้เป็นการชี้ให้รู้ว่า อย่าไปเห็นอะไรเป็นตัวตนที่ถาวร เพราะมีแต่สิ่งที่เกิดจากเหตุและงอกงามต่อไปตามอำนาจของเหตุและจะดับไปเพราะสิ้นเหตุ เพราะฉะนั้น ปรากฏการณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นผลิตผลของสิ่งที่เป็นเหตุ เป็นความเลื่อนไหลไปไม่มีหยุด เพราะอำนาจของธรรมชาติ ที่มีลักษณะไม่หยุดปรุง สิ่งต่าง ๆ จึงปรุงแต่งกันไม่หยุด และเปลี่ยนแปลงไม่หยุด.

    พระพุทธศาสนาบอกให้เรารู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน มีแต่การปรุงแต่งกันไป และมีความทุกข์รวมอยู่ในนั้นด้วย เพราะความไม่มีอิสระ จึงต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ. จะไม่มีความทุกข์ก็ต่อเมื่อหยุด. จะหมดได้ก็เมื่อดับเหตุ เพื่อไม่ให้มีการปรุง. ข้อนี้เป็นการบอกให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างลึกซึ้งที่สุดเท่าที่ผู้มีสติปัญญาจะบอกได้ นับว่าเป็นหัวใจพุทธศาสนาจริง ๆ. การบอกนี้คือบอกให้รู้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นแต่เรื่องของมายา อย่าไปหลงยึดถือจนชอบหรือชังมันเข้า. เมื่อทำจิตใจให้เป็นอิสระได้จริง ๆ แล้วนั่นแหละ คือการออกมาเสียได้จากอำนาจของเหตุ เป็นการดับเหตุเสียได้ เราก็จะไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะความชอบหรือความชังอีกต่อไป .

    อีกทางหนึ่งนั้น อยากจะ ให้สังเกตดูถึง วัตถุประสงค์แห่งการออกผนวชของพระพุทธเจ้า ว่าท่านออกผนวชโดยความประสงค์อันใด. พระพุทธภาษิตที่ตรัสถึงข้อนี้มีอยู่อย่างชัดเจนว่าพระองค์ออกผนวชเพื่อแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล คำ “กุศล” ของพระองค์ ในที่นี้ หมายถึงความฉลาด หมายถึงความรู้ที่ถูกต้องถึงที่สุด โดยเฉพาะก็คือรู้ว่าอะไรเป็นความทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อะไรเป็นความไม่มีทุกข์ อะไรเป็นวิธีให้ถึงความไม่มีทุกชข์ เพราะถ้ารู้อย่างถูกต้องสิ้นเชิงจริง ๆแล้วก็คือความฉลาดหรือความรู้ถึงที่สุด; ฉะนั้น ความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรอย่างบริสทธิ์บริบูรณ์นั่นแหละคือ ตัวพุทธศาสนา.

    เรื่อง ไตรลักษณ์ ก็เป็นหลักสำคัญอีกแนวหนึ่งมีหัวข้อสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นหลักที่เราต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็เรียกว่าไม่รู้จักพุทธศาสนา. อนิจจัง ทกขัง อนัตตานี้คือ การประกาศความจริงออกไปว่า “สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงเป็นทุกข์ สิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน.”

    ที่ว่าเป็น อนิจจัง ก็คืสิ่งทั้งปวงเปลี่ยนแปลงเรื่อยไม่มีอะไรเป็นตัวเองที่หยุดอยู่แม้ชั่วขณะ. ที่ว่าเป็น ทุกขัง นั้นหมายถึงว่าสิ่งทั้งปวงมีลักษณะเป็นความทนทุกข์ทรมานอยู่ในตัวของตัวเองมีลักษณะดูแ ล้วน่าชังน่าเบื่อหน่าย น่าระอาอยู่ในตัวของมันเองทั้งนั้นและที่ว่าเป็น อนัตตา นั้นก็คือ การบอกให้รู้ว่า บรรดาสิ่งทั้งปวงไม่มีอะไรที่เราควรจะเข้าไปยึดมั่นด้วยจิตใจว่า เป็นตัวเราหรือเป็นของเรา ถ้าไปยึดถือก็ต้องเป็นทกข์ ; และบอกใหรู้ว่าสิ่งทั้งปวงนั้นยิ่งกว่าไฟ เพราะว่าไฟลุกโพลง ๆ อยู่เราเห็นเราก็ไม่เข้าใกล้แต่สิ่งทั้งปวงนั้นมันเป็นไฟที่มองไม่เห็น เราจึงเข้าไปกอดกองไฟกันด้วยความสมัครใจ แล้วก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดกาล. นี่คือการบอกให้รู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร โดยนัยแห่งไตรลักษณ์เป็นการชี้ให้เห็นชัดว่า พุทธศาสนาคือ วิชาและระเบียบปฏิบัติที่ทำให้เรารู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้นเอง.

    เมื่อได้กล่าวถึงหลักที่ว่า เราต้องรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรและต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะตรงต่อกฏธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงดังนี้แล้ว หลักในพระบาลีก็มีอีกพวกหนึ่งเรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ แปลว่า คำสอนที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหมด; มีอยู่ ๓ ข้อสั้น ๆ คือ ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ทำความดีให้เต็มที่ และทำจิตใจให้สะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง นี้เป็นหลักสำหรับปฏิบัติ.

    เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดถือไมได้และไปหลงใหลด้วยไม่ได้. เราก็ต้องปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงให้ถูกต้องด้วยความระมัดระวัง คือเว้นจากการทำชั่ว หมายถึงการละโมบโลภลาภด้วยกิเลส ไม่ลงทุนด้วยการฝืนศีลธรรมขนบธรรมเนียมต่าง ๆ เพื่อไปทำความชั่ว อีกทางหนึ่งนั้นให้ทำแต่ความดีตามที่บัณฑิตสมมุติตกลงกันว่าเป็นคนดี. แต่ทั้งสองข้อนี้เป็นเพียงขั้นศีลธรรม. ข้อที่สามที่ว่า ทำจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองโดยประการทั้งปวงนั้นนั่นแหละ เป็นตัวพุทธศาสนาโดยตรง หมายความว่าทำจิตใจให้เป็นอิสระ ถ้ายังไม่เป็นอิสระจากอำนาจครอบงำของสิ่งทั้งปวงแล้ว จะเป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ไปไม่ได้ จิตจะเป็นอิสระก็ต้องมาจากความรู้ว่า อะไรเป็นอะไรถึงที่สุด ถ้ายังไม่รู้จะไปหลงรักหรือหลงชังอย่างใดอย่างหนึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วจะเรียกว่าเป็นอิสระแท้จริงได้อย่างไร คนเรามีความรู้สึกอยู่สองอย่างเท่านั้น คือความพอใจกับไม่พอใจ (อภิชฌาและโทมนัส).

    คนเราตกเป็นทาสของอารมณ์ ไม่เป็นอิสระแก่ตัวเองเลยเพราะไม่รู้ว่าอารมณ์หรือสิ่งทั้งปวงนั้นคืออะไรนั่นเอง. ความพอใจมีลักษณะที่จะรวบรัดอะไร ๆ เข้ามาหาตัว: ความไม่พอใจมีลักษณะที่จะผลักไสอะไร ๆ ออกไปเสียจากตัว: ถ้ายังมีความรู้สึกสองอย่างนี้อยู่ ก็หมายความว่าจิตใจยังไม่เป็นอิสระ เพราะยังหลงรักหลงชังอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ จึงไม่มีทางที่จะบริสุทธิ์ปราศจากการครอบงำของสิ่งทั้งปวงได้. โดยเหตุนี้เองหลักพระพุทธคาสนาในขั้นสูงสุดนี้ จึงปฏิเสธการยึดถือสิ่งที่น่ารักน่าชัง: ปฏิเสธเลยขึ้นไปถึงกับไม่หลงติดทั้งในความดีและความชั่ว จิตจึงจะเป็นอิสระจากสิ่งทั้งปวงและบริสุทธิ์อยู่เหนืออารมณ์ต่าง ๆ.

    ศาสนาอื่นนิยมกันเพียงให้เว้นจากความชั่วและให้ยึดถีอในความดี ให้หลงยึดผูกพันในความดี จนถึงยอดของความดี คือพระผู้เป็นเจ้า. พระพุทธศาสนายังไปไกลกว่านั้นมาก คือไม่ยอมผูกพันตัวเองกับสิ่งใดเลย. การผูกพันในความดีนั้น ก็จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูกในระยะต้นหรือระยะกลาง เมื่อเรายังทำอะไรให้สูงไปกว่านั้นไม่ได้เท่านั้นเอง. ในระยะ แรกเราเว้นจากความชั่ว ในระยะถัดมาเราก็ทำความดีให้เต็มที่: ส่วนในระยะสูงนั้น เราทำจิตใจให้ลอยสูงเหนือการครอบงำของทั้งความดีและความชั่ว.

    การที่ผูกพันตัวอยู่ภายใต้ผลของความดี ยังไม่ใช่การพ้นจากความทุกข์โดยส้นเชิง: เพราะคนชั่วก็จะมีความทุกข์ไปตามประสาคนชั่ว คนดีก็จะต้องมีความทุกข์ไปตามประสาของคนดี. ถึงเป็นมนุษย์ที่ดีก็มีความทุกข์อย่างมนุษย์ที่ดี จะดีอย่างเทวดาก็มีความทุกข์อย่างเทวดา แม้จะเป็นพรหมก็มีความทุกข์อย่างพรหม จะไม่มีความทุกข์เลยก็ต่อเมื่อขึ้นไปให้พ้น สูงเหนือจากสิ่งที่เรียกว่าความดีกลายเป็นโลกุตตระ (โลกของพระอริยเจ้า) คือเป็นพระอริยเจ้าเสียเอง. ถ้าขึ้นสูงถึงที่สดก็เรียกว่าเป็นพระอรหันต์.

    ทีนี้ คำว่าพระพุทธศาสนานั้น แปลว่าอะไร? พุทธแปลว่าพระพุทธเจ้า พระพทธเจ้าแปลว่าผู้รู้. พุทธศาสนาก็แปลว่า ศาสนาของผู้รู้. พุทธศาสนิกก็แปลว่าผู้ปฏิบัติตามศาสนาของผู้รู้. ที่ว่ารู้นั้นหมายถึงรู้อะไร? ก็คือรู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงนั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาก็คือ ศาสนาที่ทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เป็นศาสนาเกี่ยวกับความรู้จริง เราจึงต้องปฏิบัติจนเรารู้ได้เอง. เมื่อรู้ถึงที่สุดแล้วไม่ต้องกลัว กิเลสตัณหาต่างๆ ดูจะถูกความรู้นั้นทำลายให้สิ้นไป ความไม่รู้ (อวิชชา) ก็จะดับไปทันที ในเมื่อความรู้ได้เกิดขึ้นมาฉะนั้น ข้อปฏิบัติต่าง ๆ จึงมีไว้เพื่อให้วิชชาเกิด.

    ท่านทั้งหลายจงปักใจมั่นในทางที่จะเข้าถึงพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น ขอแต่ให้เป็นความรู้ที่ถูกต้อง รู้ด้วยความเห็นแจ้งจริง ๆ. อย่ารู้อย่างโลก ๆ รู้ครึ่ง ๆกลาง ๆ จึงไปหลงสิ่งที่ไม่ดีว่าดี หลงสิ่งซึ่งเป็นที่เกิดของความทุกข์ว่าเป็นความสุขดังนี้ ก็จะค่อย ๆรู้ไปตามลำดับ นั่นแหละจะเป็นการรู้จักพุทธศาสนาที่ถูกตัวพุทธศาสนาแท้ ๆ.

    ถ้าศึกษาพุทธศาสนาโดยวิธีนี้แล้ว แม้คนตัดฟืนขายที่ไม่รู้หนังสือก็จะเข้าถึงตัวพุทธศาสนาได้ ในขณะที่มหาเปรียญหลายประโยคที่กำลังง่วนอยู่กับพระไตรปิฎกไม่อาจเข้าถึงพุทธศาสนาได้เลย. พวกเราที่มีสติปัญญาอยู่บ้าง น่าจะสามารถพินิจพิจารณาสิ่งทั้งปวง ให้รู้ตามที่เป็นจริงได้ ฉะนั้น เมื่อถูกความทุกข์อะไรเข้าแก่ตัวเองแล้ว ก็จะต้องศึกษาสิ่งนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่. ความทุกข์ที่เกิดขึ้น และกำลังเผาลนเราให้เร่าร้อนอยู่นั้นมันคืออะไร เป็นอย่างไร มาจากไหน.

    ถ้าทุกคนทั้งสติ คอยเฝ้ากำหนคพิจารณาความทุกข์ที่เกิคขึ้นแก่ตน ในลักษณะดังกล่าวนี้แล้ว ก็จะเป็นทางให้เข้าถึงพุทธศาสนาได้ดีที่สุด ดีกว่าการที่จะเรียนเอาจากพระไตรปิฎกอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้ทีเดียว. การที่ใครจะมัวแต่ศึกษาพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ในแง่ของภาษาหรือวรรณคดีนั้น จะไม่มีทางรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ทั้ง ๆ ที่พระไตรปิฎกก็เต็มไปด้วยคำบรรยายว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างนี้ เขาฟังอย่างนนกแก้วนกขุนทอง พูดตามที่จำไว้ได้แต่ไม่สามารถที่จะเข้าถึงความจริงของสิ่งทั้งหลาย เว้นไว้แต่เขาจะได้ทำการพิจารณาให้เห็นเป็นเรื่องจริงของชีวิตจิตใจ เข้าถึงตัวจริงของกิเลส ของความทุกข์ของธรรมชาติ หรือของสิ่งทั้งปวงซึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเขานั่นแหละ จึงจะเข้าถึงตัวพระพุทธศาสนาที่แท้ได้.

    คนที่ไม่เคยอ่านเคยฟังพระไตรปิฎกเลย แต่เคยพิจารณาอย่างละเอียดลออทุกครั้ง ที่ความทุกข์เกิดขึ้นแผดเผาจิตใจของตน นี้แหละเรียกว่าเขากำลังเรียนพระไตรปิฎกโดยตรงและอย่าถูกต้องดียิ่งกว่ากำลังเปิดเล่มพระไตรปิฎกออกอ่าน เพราะว่าพวกที่กำลังลูบคลำเล่มพระไตรปิฎกอยู่ทุก ๆ วันแต่แล้วไม่รู้จักอมฤตธรรมคำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก เขาก็คล้ายกับการที่เรามีตัวเอง ใช้ตัวเอง ปฏิบัติตัวเอง ไม่สามารถแก้ป้ญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตัวเองให้ลุล่วงไปได้ ยังคงมีความทุกข์ ยังคงมีตัณหาที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์เพิ่มมากขึ้นทุก ๆ วันตามอายุที่เพิ่มขึ้น นี่เพราะไม่รู้จักตัวเราอย่างเดียวเท่านั้น.

    ชีวิตจิตใจที่สวมอยู่กับเรา เราก็ยังไม่รู้จัก การที่จะไปรู้สิ่งลึกลับที่ซ่อนอยู่ในพระไตรปิฎกนั้นมันยิ่งยากไปกว่าเป็นไหน ๆเพราะฉะนั้นจงหันมาศึกษาพุทธศาสนาหรือรู้จักตัวพุทธศาสนาด้วยการศึกษาจากตัวจริง คือจากสิ่งทั้งปวงซึ่งรวมทั้งร่างกายและจิตใจนี้เอง จากชีวิตซึงกำลังหมุนอยู่ในวงกลมของความอยาก-กระทำตามความอยากแล้วก็เกิดผลอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นมาหล่อเลี้ยงเจตนาที่อยากจึงทำสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด-ต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร หรือทะเลแห่งความทุกข์ เพราะความที่ไม่รู้ว่า อะไรเป็นอะไร ข้อเดียวเท่านั้น.

    สรุปความว่า พุทธศาสนา คือวิชาและระเบียบปฏิบัติเพื่อให้รู้ว่า อะไรเป็นอะไรเมื่อเรารู้ว่า อะไรเป็นอะไรถูกต้องจริง ๆแล้ว ไม่ต้องมีใครมาสอนเราหรือมา แนะนำเรา เราก็ปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆถูกต้องได้ด้วยตนเอง แล้วกิเลสก็จะหมดไปเอง เราเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งขึ้นมาทันที เราจะปฏิบัติอะไรไม่ผิดขึ้นมาทันที เราจะลุถึงสิ่งที่ดีสุดที่มนุษย์ควรจะได้ หรือที่ชอบเรียกกันว่ามรรคผลนิพพาน นี้ได้ด้วยตนเอง เพราะการที่เรามีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไรโดยถูกต้องถึงที่สุดอย่างแท้จริงเท่านั้น.

    >>>>>>>>
    ถ้าชอบเนื้อหานี้ คลิ๊กที่นี่เพื่อดูมากกว่านี้จ้า https://goo.gl/iTBXJx
    ในช่องyoutube ddinside



    ขอขอบคุณที่มา
    http://variety.teenee.com/saladharm/77814.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มิถุนายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...