"พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 18 สิงหาคม 2012.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    ศึกษา"อาจารย์ใหญ่"แบบ3มิติ ผ่าน"พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" ไม่จำเป็นต้องนศ.แพทย์ ก็เรียนได้

    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345193520&grpid=01&catid=&subcatid=-


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]





    เรื่อง/ภาพ ปรีชยา ซิงห์



    หากไม่ได้เรียนแพทย์ คงจะไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้ หรือสัมผัส "อาจารย์ใหญ่"


    แต่ตอนนี้ไม่ว่าใครก็ตาม อายุเท่าไหร่ เพศไหน กำลังศึกษาด้านอะไร เรียนจบสาขาใด ก็สามารถศึกษาเรียนรู้ ร่างที่ไร้ลมหายใจ แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ของพวกท่านเหล่านี้ได้แล้ว...


    [​IMG]


    ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วไปไม่ใช่น้อยหลังเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา สำหรับ "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" 1 ใน 11 พิพิธภัณฑ์ของโลก และเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



    จุดเริ่มต้น "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" ในประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นจากการสนับสนุนของของคุณคัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของ ศ.คัชสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้บริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ให้แก่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จำนวน 131 ชิ้น มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท มายังคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


    [​IMG]
    [​IMG]

    "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" จัดแสดงการรักษาสภาพร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่เสียชีวิต โดยใช้พลาสติกเหลวเข้ามาแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อ ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ไม่มีการเน่าสลาย และคงสภาพอยู่ได้นาน ภายใต้เทคนิคที่เรียกว่า Plastinated human bodies ที่เริ่มจากการนำร่างกายที่เสียชีวิตในทันทีไปแช่น้ำยาฟอร์มาลีน ทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อครบกำหนด ก็มีการนำร่างที่เสียชีวิตไปแช่น้ำยา Acetonebath ซึ่งเป็นน้ำยาที่ดูดเอาน้ำต่างๆในร่างกายออกจนหมด จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการแช่ลงในพลาสติกเหลว เพื่อคงสภาพร่างกายไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย


    [​IMG]

    ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนของมนุษย์เป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วย ร่างกายมนุษย์แบบเต็มร่าง จำนวน 13 ชุด ชิ้นส่วนอวัยวะภายใน จำนวน 50 ชิ้น ชิ้นส่วนอวัยวะ จำนวน 27 ชิ้น ชิ้นส่วนกล้ามเนื้อ จำนวน 23 ชิ้น ร่างกายมนุษย์ตัดแบ่งย่อย จำนวน 6 ชุด ชิ้นหล่อแสดงระบบหลอดเลือด จำนวน 5 ชิ้น และร่างกายทารกในครรภ์ จำนวน 7 ชุด

    [​IMG]


    อ.ทญ.ดร.พิไลพร วิวัฒน์บุตรสิริ กรรมการพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ เผยขณะพาเข้าเยี่ยมชมว่า การได้ร่วมศึกษาอาจารย์ใหญ่ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จะทำให้ทุกคนเห็นถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะต่างๆชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนิสิต-นักศึกษาแพทย์ที่จากเดิมศึกษาอาจารย์ใหญ่ (ไดเส็ก) เพียงแค่ร่างกายที่นอนราบไปกับเตียง แต่ในพิพิธภัณฑ์นี้ ร่างกายไร้ลมหายใจที่นำมาจัดแสดง มีการจำแนกชิ้นส่วนอวัยวะ กล้ามเนื้อต่างๆออกมาอย่างเห็นได้ชัด ในลักษณะ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจระบบการทำงานต่างๆ ในอีกแง่ สำหรับคนทั่วไป นอกจากจะได้รับความรู้ระบบการทำงานต่างๆแล้วเมื่อเข้าชมแล้ว หลายคนก็บอกว่า ทำให้รู้สึกปลงว่าชีวิตคนเราก็มีเท่านี้ เมื่อได้เห็นการลอกชิ้นส่วนเนื้อเยื่อต่างๆ ก็จะรู้ว่า กลไกลในร่างกายนั้นทำงานอย่างไร นับเป็นประโยชน์มากๆ ที่จะทำให้ทราบททันที เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ว่าสาเหตุที่แท้จริงต่างๆ เป็นเพราะความผิดปกติจากอวัยวะใด


    [​IMG]

    ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" ได้ ที่ห้อง 909-910 ชั้น 9 อาคารทันตแพทยศาสตร์ เฉลิมนวมราช 80 คณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ และศุกร์ ระหว่างเวลา 12.30 -18.30 น. โดยจะเปิดให้เข้าชมฟรีถึงวันที่ 30 กันยายนนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-8635

    [​IMG]

    แต่หากใครเข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์" และ อยากจะกดชัตเตอร์บันทึกภาพต่างๆ ทางคณะทันตแพทย์ฯ เขาขอสงวนสิทธิในการบันทึกภาพทุกชนิด เพื่อเป็นการเคารพและให้เกียรติอาจารย์ใหญ่ทุกท่านที่จัดแสดงภายในนี้

    ถ้าอย่างนั้น ดูภาพจากมติชนออนไลน์ ไปพลางๆ ก่อนก็แล้วกัน


    [​IMG]
    [​IMG]




    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .
    ชม “พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์” ที่จุฬาฯ เรียนรู้ชิ้นส่วนอวัยวะแบบ 3 มิติ
    -http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099938-
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 สิงหาคม 2555 16:47 น.</td> <td align="left" valign="middle">


    </td></tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="333"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="333"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ จัดแสดงชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่เสียชีวิตแบบ 3 มิติ เพื่อส่งเสริมนิสิตแพทย์ และทันตแพทย์ได้ศึกษาเรียนรู้อย่างเห็นภาพชัดเจน ทั้งเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟรีถึง 30 ก.ย. นี้ ที่อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    วันนี้ (14 สิงหาคม 2555) ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.ทญ.วัชราภรณ์ ทัศจันทร์ คณบดีคณะทันตแพทย์ จุฬาฯ และนายคัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ศ.คัชสุฮิโร เอโตะ อดีตคณบดีคณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว ร่วมกันเปิดพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ ณ อาคารทันตแพทยศาสตร์เฉลิมนวมราช 80 ชั้น 9 ห้อง 909-910 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯกล่าวว่า "พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์” แห่งนี้เป็น 1 ใน 11 พิพิธภัณฑ์ของโลก และเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จัดแสดงด้วยเทคนิค plastinated human bodies ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ในการรักษาสภาพร่างกายหรือชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ที่ เสียชีวิต โดยใช้พลาสติกเหลวเข้ามาแทนที่น้ำและไขมันในเนื้อเยื่อ ทำให้ไม่มีกลิ่นเหม็นของน้ำยา ไม่มีการเน่าสลาย และคงสภาพอยู่ได้นาน

    "การจัดแสดงร่างกายและชิ้นส่วนของ มนุษย์ของพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้นิสิตแพทย์และทันตแพทย์ได้ศึกษาร่างกายมนุษย์ในแบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นส่วนเสริมของการศึกษาจากร่างอาจารย์ใหญ่ที่นิสิตได้เรียนรู้อยู่ ซึ่งจะทำให้นิสิตมีความเข้าใจร่างกายมนุษย์มากขึ้นเพราะเห็นภาพชัดเจน โดยจะจัดแสดงเป็นหมวดหมู่ คือ มนุษย์แบบเต็มร่าง 13 ชุด ชิ้นส่วนอวัยวะภายใน 50 ชิ้น ชิ้นส่วนอวัยวะอื่นๆ 27 ชิ้น ชิ้นส่วนกล้ามเนื้อ 23 ชิ้น ร่างกายมนุษย์ตัดแบ่งย่อย 6 ชุด ชิ้นหล่อแสดงระบบหลอดเลือด 5 ชิ้น ร่างกายทารกในครรภ์ 7 ชุด รวม 131 ชิ้น มูลค่า 100 กว่าล้านบาท" ศ.นพ.ภิรมย์กล่าว

    อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต่อว่า ขณะนี้จำนวนร่างอาจารย์ใหญ่ที่ใช้ในการศึกษานั้น ถือว่าไม่เพียงพอต่อการศึกษาทางการแพทย์ เพราะคนบริจาคร่างกายน้อย เนื่องจากความเชื่อทางศาสนา ซึ่งอาจารย์ใหญ่ 1 ท่าน สามารถให้การศึกษากับนิสิตแพทย์ 5-6 คน ดังนั้นทุกฝ่ายจึงต้องช่วยกันรณรงค์ทำความเข้าใจให้กับประชาชนว่า การบริจาคร่างกายนั้น ถือเป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ เพราะร่างอาจารย์ใหญ่เป็นบุคคลที่ทรงคุณค่าสูงสุด เป็นผู้ให้ความรู้แก่นิสิตแพทย์ เพื่อที่จะได้จบออกไปเป็นแพทย์ที่รักษาชีวิตคนอื่นต่อไป

    “พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีจุดเริ่มต้นจากการบริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ของ คุณคัทสุมิ คาตามูระ ประธานบริษัทเมดิคัลด็อกเตอร์ซอฟท์เฮาส์ จำกัด ภายใต้การแนะนำของ ศ.คัชสุฮิโร เอะโตะ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทย์และทันตแพทย์แห่งโตเกียว ซึ่งได้บริจาคร่างกายและชิ้นส่วนอวัยวะของมนุษย์ให้แก่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย" อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="330"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="330"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ขณะเดียวกัน รศ.ทญ.วัชราภรณ์ ทัศจันทร์ คณบดีคณะทันตแพทย์ จุฬาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันได้เริ่มให้นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะทันตแพทย์เข้ามาศึกษาร่างกายมนุษย์ในพิพิธภัณฑ์แล้ว ซึ่งเห็นได้ว่าทุกคนให้ความสนใจ และตนเชื่อว่าจะช่วยเสริมด้านการศึกษาเรียนรู้ให้กับนิสิตมากขึ้น เพราะการจัดแสดงสามารถมองเห็นภาพในรูปแบบ 3 มิติ

    "ในการศึกษาทางการแพทย์จากร่าง อาจารย์ใหญ่ที่ผ่านมาอาจพบว่า กว่าจะผ่าตัดหาเส้นเลือดพบก็ค่อนข้างยาก แต่ร่างกายมนุษย์ และชิ้นส่วนอวัยวะที่ถูกจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์เหล่านี้ จะทำให้เห็นภาพรวมของร่างกาย ไม่ใช่แค่ภาพที่เห็นในหนังสือเท่านั้น" คณบดีคณะทันตแพทย์ จุฬาฯกล่าว

    ทั้งนี้ “พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์” ยังเปิดให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าชมฟรี ทุกวันพุธ เวลา 12.30-15.30 น. ณ ชั้น 9 อาคารทันตแพทยศาสตรเฉลิมนวมราช 80 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-8635 </td></tr></tbody></table>

    .
     
  3. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับท่านทั้งหลายที่ได้ร่วมกัน
    ทำบุญสร้างกุศลทุกอย่างในกาลนี้ด้วยครับ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ

    [​IMG]

    สั่งบูรณะด่วน'พระปรางค์วัดอรุณ'<!-- google_ad_section_end -->
    ทั้งนี้หากประชาชนอยากที่จะมีส่วนร่วมบูรณะโบราณสถาน
    สามารถสมทบทุนเข้า กองทุนเพื่อการบูรณะโบราณสถาน
    เลขที่บัญชี 081-0-09603-6 ธนาคารกรุงไทย สาขาราชดำเนินได้"
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->__________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    เมื่อก่อน เขาก็เคยมีชีวิตเหมือนกันเราในตอนนี้.....
     
  5. พริ้วไหว

    พริ้วไหว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +334
    ร่างกายนี้มิใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย
    ขอทุกท่านจงเจริญในธรรม..สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...