พันธุกรรมกับมะเร็ง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 มิถุนายน 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    “มะเร็ง” คือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเซลล์ในร่างกาย จนทำให้เซลล์มีการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

    <table style="width: 467px; height: 407px;" border="1" cellpadding="2" cellspacing="1" width="467"><tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td>
    เซลล์มะเร็ง ...เซลล์อมตะ

    เมื่อเซลล์ปกติเสียหาย หรือแก่ตัวลง เซลล์จะผ่านนกระบวนการทำงายตัวเอง หรือ อะพอทโทซิส (Apoptosis) แต่เซลล์มะเร็งไม่ผ่านกระบวนการนี้
    </td></tr></tbody></table>​

    ในปี ค.ศ. 1978 โรเบิร์ต เอ. ไวน์เบิร์ก (Robert A. Weinberg) และทีมวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสสาชูเซ็ต หรือ เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology, MIT) ระบุว่า “ยีนมะเร็ง หรือ อองโคยีน (Oncogene)” เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง


    <table style="width: 376px; height: 249px;" border="1" cellpadding="2" cellspacing="1" width="376"><tbody> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td></tr> <tr> <td>
    ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ไวน์เบิร์ก
    </td> <td>
    หนังสือ "ชีววิทยาของมะเร็ง"
    เขียนโดย ศ.โรเบิร์ต ไวน์เบิร์ก
    </td></tr></tbody></table>​

    เซลล์ปกติในร่างกายมีสายดีเอ็นเอซึ่งประกอบด้วยยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีน [การดำรงชีวิตของคนเราให้เกิดความสมดุล ต้องอาศัยโปรตีนชนิดต่างๆ ถึง 50,000 ชนิดทำงานเป็นเครือข่ายอย่างเหมาะสม]

    แต่เมื่อร่างกายได้รับสารเคมี รังสี หรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของเบสในสายดีเอ็นเอ หรือทำให้เกิดการจับคู่เบสผิด ทำให้มีการย้ายตำแหน่งของยีน (translocation) มีการเพิ่มจำนวนชุดของยีน (amplification) มีการเปลี่ยนแปลงเบสบางตำแหน่ง (point mutation)...เราเรียกปรากฎการณ์เช่นนี้ว่า “การกลายพันธุ์ (Mutation)”

    [​IMG]

    การกลายพันธุ์อาจทำให้สายดีเอ็นเอในร่างกายเรามียีนมะเร็ง หรือ อองโคยีน (Oncogene) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชนิดของโปรตีนไปจากเดิม (ที่ควรจะเป็น) ให้กลายเป็นโปรตีนมะเร็ง (Oncoprotein) เช่น โปรตีนไทโรซีนไคเนส (tyrosine kinase) โปรตีนพี 53 (P53 protein) เป็นต้น โปรตีนดังกล่าวกระตุ้นเซลล์ตัวเอง หรือเซลล์เพื่อนบ้าน ให้แบ่งตัว และขยายตัวอย่างไม่หยุดยั้ง

    [​IMG]

    ผลจากการศึกษาของ ศ. ไวน์เบิร์ก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันเข้าใจว่ามะเร็งเกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ ซึ่งปกติแล้วเซลล์ของร่างกายจะไม่แบ่งตัว แต่ถ้ายีนเหล่านี้เกิดผิดปกติจะทำให้เซลล์เพิ่มจำนวนทวีคูณโดยไม่สามารถควบคุมได้ จึงเกิดโรคมะเร็งขึ้น นักวิทยาศาสตร์ค้นพบยีนมะเร็งแล้วมากกว่า 100 ยีน และพบยีนใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


    ความก้าวหน้าล่าสุดของการวิจัยยีนมะเร็ง คืองานวิจัยของทีมนักวิจัยจากโครงการศึกษาจีโนมมะเร็ง (The Cancer Genome Project, CGP) แห่งสถาบันเวลล์คัม ทรัสต์ แซงเกอร์ (The Wellcome Trust Sanger Institute) ในประเทศอังกฤษ

    [​IMG]

    ทีมวิจัยใช้ฐานข้อมูลของโครงการศึกษาจีโนมมนุษย์ซึ่งประสบความสำเร็จไปเมื่อ 2546 มาใช้ในการศึกษายีนมะเร็ง โดยการนำฐานข้อมูลยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ไคเนส (Kinase gene) จำนวน 518 ยีน มาเปรียบเทียบเข้ากับยีนไคเนสของผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆ ทำให้ค้นพบยีนมะเร็งเพิ่มเติม 120 ชนิด โดยข้อมูลที่ค้นพบนี้ ยังไม่เคยมีรายงานที่ไหนมาก่อน ซึ่งเมื่อรวมกับยีนมะเร็งเดิมแล้ว คิดเป็นประมาณ 350 ยีน ทีเดียว


    <table style="width: 436px; height: 265px;" align="center" border="1" cellpadding="2" cellspacing="1" width="436"><tbody> <tr> <td>
    "

    นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยเพื่อแบ่งกลุ่มของโรคมะเร็งตามความผิดปกติของยีน แล้วเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับโรคกลุ่มนั้น เช่น มีการวิจัยโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งลักษณะของโรคและของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยแต่ละคนแล้วไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อศึกษาในระดับยีนกลับพบว่า ผู้ป่วยแต่ละคนมีลัษณะของยีนที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไป ซึ่งตอบสนองต่อยาแตกต่างกัน ใช้ชนิดยาและปริมาณยาต่างกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้วิธีตรวจวิเคราะห์ทางพันธุกรรม เพื่อแบ่งกลุ่มมะเร็งในผู้ป่วยแต่ละรายว่าเป็นแบบใด แล้วเลือกวิธีการรักษาทั้งชนิดและปริมาณของยาที่เหมาะสมที่สุดในรายนั้น

    "
    </td></tr> <tr> <td> ดร.มาร์ก วาลพอร์ต
    เวลล์คัม ทรัสต์
    </td></tr></tbody></table>

    นอกจากโครงการของสถาบันแซงเกอร์อันโด่งดังของอังกฤษแล้ว โครงการยักษ์ที่เราควรรู้จักอีกโครงการคือ โครงการแผนที่จีโนมมะเร็ง (The Cancer Genome Atlas, TCGA) ที่สนับสนุนงบประมาณโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ของสหรัฐอเมริกา ทีมนี้ก็กำลังศึกษาวิจัยยีนมะเร็งอย่างขะมักเขม้น




    <maquee>[​IMG]</maquee>


    [​IMG]

    [​IMG]




    นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่า ความก้าวหน้าทางจีโนมมะเร็ง จะทำให้เข้าใจกลไกการเกิดโรคมะเร็งดีขึ้น ช่วยให้ป้องกันและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...ในอนาคตโรคมะเร็งจะไม่น่ากลัวอีกต่อไป



    มาลินี อัศวดิษฐเลิศ
    หน่วยบริหารจัดการความรู้
    ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
    ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสาร @ll Biotech และ วิชาการ.คอม
    http://www.biotec.or.th/Guru/
     
  2. อุดรเทวะ

    อุดรเทวะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,925
    ค่าพลัง:
    +130
    ถ้าพัฒนาได้ก็ถือเป็นข่าวดีระดับโลกเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...