พระอรหันต์ที่เกิดภายนอก พระพุทธศาสนาจะมีมั้ยคับ ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มหาพรหมราชา, 25 มกราคม 2013.

  1. มหาพรหมราชา

    มหาพรหมราชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +903
    นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จนกระทั้งสิ้นอายุพระพุทธศานา 5,000 ปี ในช่วงเวลา ตั้งแต่พระองค์ตรัสรู้จนถึงสิ้นอายุพระศาสนา 5,000 ปี ถ้าหากมีผู้ บรรลุพระอรหันต์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกศาสนาพุทธ บุคคลนั้นก็จะกลายเป็น พระปัจเจกพุทธเจ้า ถ้าหากสั่งสอนผู้อื่นหรือประกาศธรรมด้วยก้จะกลายเป็นพระพุทธเจ้า ซึ้ง ไม่ใช่ฐานะ ที่จะเป็นไปได้ แม้กระทั้งพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องเกิดในยุคหลังพระพุทธศาสนาหรือเกิดขึ้นเมื่อหมดยุคพระศาสนาแล้วหลัง 5,000ปี


    บุคคลที่จะเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้นต้องมี สิ่งเหล่านี้เป็นต้น คือ
    1,มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
    2,พระทศพลญาณ 10 ประการ
    3,พระสัพพัญญุตญาณ


    1, มหาปุริสลักษณะ
    หมายถึง ลักษณะพิเศษของมหาบุรุษ ซึ่งผู้ที่จะมีมหาปุริสลักษณะนั้น จะมีคติเป็น ๒ คือ พระเจ้าจักรพรรดิ หรือ พระพุทธเจ้า มหาปุริสลักษณะนั้น มี ๓๒ ประการ คือ

    ๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
    ๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปรอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
    ๓. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
    ๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
    ๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
    ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
    ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
    ๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
    ๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
    ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
    ๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
    ๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
    ๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
    ๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
    ๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
    ๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
    ๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
    ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
    ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
    ๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
    ๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
    ๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง)
    ๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
    ๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
    ๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
    ๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธ์
    ๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
    ๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
    ๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
    ๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
    ๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
    ๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)


    2,พระทศพลญาณ 10 ประการ
    ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)


    1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)


    2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)


    3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)


    4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)


    5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)


    6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)


    7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)


    8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)


    9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)


    10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)


    3,พระสัพพัญญุตญาณ

    สัพพัญญุตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
    ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สังขตธรรมและอสังขตธรรม
    ทั้งปวง มิได้มีส่วนเหลือ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี
    เครื่องกั้น ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้ธรรมส่วนอนาคตทั้งหมด ...
    รู้ธรรมส่วนอดีตทั้งหมด ... รู้ธรรมส่วนปัจจุบันทั้งหมด ... รู้จักษุและรูปทั้งหมดว่า
    อย่างนี้ ... รู้หูและเสียง ฯลฯ จมูกและกลิ่น ลิ้นและรส กายและโผฏฐัพพะ
    ใจและธรรมารมณ์ทั้งหมดว่าอย่างนี้ ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณ
    นั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    [๒๘๗] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพ
    เป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า
    ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา
    แห่งรูป ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพเป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตา
    แห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพไม่เที่ยง สภาพ
    เป็นทุกข์ สภาพเป็นอนัตตาแห่งจักษุ ฯลฯ แห่งชราและมรณะ ตลอดทั้งหมด
    ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    [๒๘๘] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
    ด้วยอภิญญาทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น
    ... รู้สภาพที่ควรกำหนดรู้ด้วยปริญญา ... รู้สภาพที่ควรละด้วยปหานะ ... รู้สภาพ
    ที่ควรเจริญด้วยภาวนา ... รู้สภาพที่ควรทำให้แจ้งด้วยสัจฉิกิริยาตลอดทั้งหมด ... รู้
    สภาพที่เป็นกองแห่งขันธ์ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุตลอดทั้งหมด
    ... รู้สภาพเป็นที่ต่อแห่งอายตนะตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง
    แห่งสังขตธรรมตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรมตลอด
    ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    [๒๘๙] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้กุศลธรรมตลอดทั้งหมด
    ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น ไม่มีเครื่องกั้น ... รู้อกุศลธรรม
    อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตตรธรรม
    ตลอดทั้งหมด ... รู้สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย
    สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ตลอดทั้งหมด ชื่อว่า
    อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    [๒๙๐] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้สภาพปัญญาอัน
    แตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด ฯลฯ รู้สภาพปัญญา
    อันแตกฉานดีในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทาสภาพปัญญาอันแตกฉานดีในนิรุตติแห่ง
    นิรุตติปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณปฏิสัมภิทา ตลอดทั้งหมด
    ... รู้อินทรียปโรปยัตตญาณ รู้ญาณในฉันทะอันมานอน และกิเลสอันนอน
    เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย รู้ยมกปาฏิหาริยญาณ รู้มหากรุณาสมาปัตติญาณ ตลอด
    ทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    [๒๙๑] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า รู้อารมณ์ที่ได้เห็น ที่
    ได้ฟัง ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ
    แห่งโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ
    พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดทั้งหมด ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า
    ในญาณนั้นไม่มีเครื่องกั้น ฯ
    บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง
    บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคตไม่ทรงรู้แล้ว ไม่มี
    พระตถาคตทรงทราบยิ่ง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง
    เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ (ผู้ทรง
    เห็นทั่ว) ฯ
    [๒๙๒] คำว่า สมนฺตจกฺขุ ความว่า ชื่อว่าสมันตจักษุ เพราะอรรถ
    ว่ากระไร ฯ
    พระพุทธญาณ ๑๔ คือ ญาณในทุกข์ ๑ ญาณในทุกขสมุทัย ๑ ญาณ
    ในทุกขนิโรธ ๑ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ ญาณในอรรถปฏิสัมภิทา ๑
    ญาณในธรรมปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในปฏิภาณ
    ปฏิสัมภิทา ๑ ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ๑ ญาณในฉันทะเป็นที่
    มานอนและกิเลสอันนอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๑
    ญาณในมหากรุณาสมาบัติ ๑ สัพพัญญุตญาณ ๑ อนาวรณญาณ ๑ บรรดา
    พระพุทธญาณ ๑๔ ประการนี้ พระญาณ ๘ ข้างต้น เป็นญาณทั่วไปด้วย
    พระสาวก พระญาณ ๖ ไม่ทั่วไปด้วยพระสาวก ฯ
    [๒๙๓] ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า สภาพที่ทนได้ยาก
    แห่งทุกข์ พระตถาคตทรงทราบแล้วตลอดทั้งหมด ที่มิได้ทรงทราบไม่มี ชื่อว่า
    อนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้น ไม่มีเครื่องกั้น สภาพที่ทนได้ยาก
    แห่งทุกข์ พระตถาคตทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้อง
    แล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี ...
    สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย สภาพเป็นที่ดับแห่งนิโรธ สภาพเป็นทางแห่งมรรค
    สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดี
    ในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในนิรุตติแห่งนิรุตติ
    ปฏิสัมภิทา สภาพปัญญาอันแตกฉานดีในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา พระ-
    *ตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้ว
    ตลอดทั้งหมดด้วยด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้วด้วยพระปัญญาไม่มี ...
    ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอันนอน
    เนื่องของสัตว์ทั้งหลาย ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ญาณในมหากรุณาสมาบัติ
    พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำให้แจ้งแล้ว
    ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องด้วยพระปัญญา
    ไม่มี ... ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะอรรถว่า อารมณ์ที่ได้เห็น ที่ได้ฟัง
    ที่ได้ทราบ ที่ได้รู้แจ้ง ที่ได้ถึง ที่แสวงหา ที่เที่ยวตามหาด้วยใจ แห่งโลก
    พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แห่งหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
    เทวดาและมนุษย์ พระตถาคตทรงทราบแล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงรู้แจ้งแล้ว ทรงทำ
    ให้แจ้งแล้ว ทรงถูกต้องแล้วตลอดทั้งหมดด้วยพระปัญญา ที่มิได้ทรงถูกต้องแล้ว
    ด้วยพระปัญญาไม่มี ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะอรรถว่า ในญาณนั้นไม่มี
    เครื่องกั้น ฯ
    บทธรรมที่พระตถาคตไม่ทรงเห็นแล้ว ไม่มีในโลกนี้ อนึ่ง
    บทธรรมน้อยหนึ่งที่ควรรู้ พระตถาคตไม่ทรงรู้แล้วไม่มี
    พระตถาคตทรงทราบยิ่งซึ่งธรรมเป็นเครื่องนำไปทั้งปวง เพราะ
    ฉะนั้น พระตถาคตจึงเป็นพระสมันตจักษุ ฉะนี้แล ฯ
     
  2. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    กระทู้ของท่านละเอียดลออดีครับ แต่ยังไม่ตรงประเด็น หัวข้อกระทู้ที่ท่านตั้ง นี่ปัจจุบัน นั่นในอนาคต หนทางอีกยาวไกลครับ ความหมายในหัวข้อ มันหมายเอา ปัจจุบัน แต่คุณอธิบายในอนาคต อันยาว เกินเป็นแสนๆปีครับ ผมอ่านหัวข้อทีแรก แต่ได้อ่าน ในกระทู้ มัน ยังไงไม่รู้ มันค้านตะหงิดๆในหัวใจอันแท้จริงของผมครับ แต่ก็อนุโมทนาสาธุด้วย ที่เจตนาดีครับในกุศลจิต:cool:
     
  3. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ครับเป็นหัวข้อธรรมและธรรมไม่ราบรื่น หัวข้อเป็นการตั้งถาม เนื้อในบรรยายธรรม อนุโมทนาด้วยครับ ส่วนคำตอบ คุณก็คงรู้แล้วเพราะบบรยายมาซะแบบอัจฉริยะธรรมเลย ส่วนความคิดผม ผมว่าไม่มีครับ เพราะบุคคลที่เข้าถึงแก่นแท้ของชีวิตและได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็มีอยู่สิ่งเดียวครับคือธรรมที่น้อนนำไปนิพพานเพราะไม่ได้เป็นอย่างอื่น จึงไม่มีอยู่ในศาสนาอื่น ขึ้นชื่อว่านิพพานมีอยู่เพียงหนึ่งเดียว คำว่าพุทธศาสนาก็เป็นเพียงคำและภาษาที่ใช้ในการสมมุติเท่านั้นครับ
     
  4. Asvel

    Asvel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +822
    ก็คงจะมีแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นในกาลที่ว่างเว้นจากศาสนาของพระพุทธเจ้ามั๊งครับ
     
  5. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    ขออภัย ขอรวมถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยครับ.สาธุ
     
  6. AYACOOSHA

    AYACOOSHA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ถ้าศาสนาใดนั้นมี มรรค ครบทั้งแปดแล้วไซร้ พระอรหันต์ก็พึงตั้งอยู่ในศาสนานั้น...ถ้าศาสนาใดไม่ประกอบด้วย มรรค มีองค์แปดแล้วฉันใด ก็ไม่มีพระอรหันต์ในศาสนานั้น...สวัสดี
     
  7. bestsu

    bestsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    277
    ค่าพลัง:
    +617
    นอกศาสนา...ถ้ารวมทั้งช่วงที่ว่างจากพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว
    ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ตรัสรู้ธรรม เป็นพระอรหันต์ อ่ะ ครับ

    แต่ถ้านอกศาสนา...หมายถึงช่วงที่มีพระพุทธศาสนาแล้ว ศาสนาอื่นๆจะมีพระอรหันต์ไหม ถ้าปราศจากคำสอนของพระพุทธเจ้า(ธรรมะ) แล้วตรัสรู้ได้ นี่เรียกว่าตรัสรู้เองก็คือพระปัจเจกฯ ซึ่งพระปัจเจกจะไม่เกิดในสมัยที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนา อ่ะ ครับ
    ฮ่าๆ
     
  8. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    ผมว่าไม่น่ามีนะ เพราะ ผู้ที่ค้นพบวิธีหลุดจากกองทุกข์หลุดพ้นจากสงสารได้ก็มีพระพุทธองค์องค์เดียว และถ้าคนศาสนาอื่นจะหลุดพ้นจากกองทุกข์จนพ้นวัฏสงสารได้ก็ต้องใช้วิธีปฏิบัติของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
     
  9. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    พระพุทธเจ้า เป็นพระที่ตรัสรู้แล้วค้นพบ แล้วเอาของยาก (ธรรมนี่แหละ) มาสอนให้ง่ายขึ้น ทํางของยากเป็นของง่ายแล้วสอนบรรลุได้ ครับ

    ส่วนพระปักเจกพระพุทธเจ้า ตรัสรู้เองเหมือนกันแต่สอนมรรคผลไม่ได้ แต่สอนอภิญญาสมาบัตติได้ แล้วความดีระดับหนึ่งได้ แล้วเป็นพระที่ ชอบเข้านิโรธสมาบัติ แล้วไปโปรดคนอื่นๆครับ

    ส่วนพระสาวก เป็นผู้ตามพระพุทธเจ้า


    ส่วนพระอรหันต์นอกศาสนาพุทธมีไหม อันนี้ พระพุทธเจ้าก็บอก ถ้ามีมรรค8 ก็ได้หมด (ตอนนั้นมีคนมาถามพระพุทธเจ้า(ตอนนั้นพระองค์จะปริรินิพพาน) ว่าอาจารย์ไหนดีคําสั่งสอนไหนดี) พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ยกย่องตัวเอง บอกว่า อาตามานี่แหละเก่งสุด กับสอน ว่า ถ้ามรรคมีองค์แปด โลกนี้ก็ไม่เว้นจากพระอรหันต์เลย แล้วคนนั้นก็ออกบวช แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ทันสมัยก่อนพระพุทธเจ้า ปริรินิพพานครับ)
     
  10. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    อยากทราบว่า จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระอรหันต์ ผู้บรรลุธรรม ที่ไม่ใช่คนไทยบ้างไหม
    ยกเว้น พระอรหันต์ที่ท่านเกิดในสมัยพุทธการน่ะครับ

    ที่สงสัย เพราะเข้าใจว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือทั่วโลก. มีผู้บวชเป็นพระสงฆ์ ในพระศาสนาอยู่ในหลักล้านแน่ๆ. ถ้าจะเจาะจงให้แคบลง ในประเทศ ลาว พม่า จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เนปาล เคยมีพระอรหันต์บ้างไหม.
     
  11. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154


    :( ถ้าจะตอบแบบตามตำราก็ต้องว่า

    ที่ไหนมีผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘

    ที่นั้นก็จะไม่สิ้นจากการมีพระอรหันต์

    แต่เชื่อว่าไม่มีใครรู้ แต่ถ้ามีใครที่รู้จริง

    ตอนนี้คงไม่มีมานั่งตอบครับว่ามีหรือไม่มี ;aa10
     

แชร์หน้านี้

Loading...