พระผู้ควรอย่างยิ่งแก่สักการะบูชา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rawjue, 22 มีนาคม 2014.

  1. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    พระผู้ควรอย่างยิ่งแก่สักการะบูชา

    ได้แก่

    "พระมารดา และ พระบิดา"

    ธรรมมะในขณะปัจจุบันทันด่วนที่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ศึกษาจากเว็บ พลังจิต ดอทคอม อันมากด้วยทานบารมี นี้ก็ดี จากหนังสือตำรา ก็ดี จากผู้รู้แจ้ง หลายๆท่าน ก็ดี จาก วัดหรือสถานปฎิบัติธรรมก็ดี ล้วนแล้วแต่จะเกิดขึ้นมาไม่ได้เลย หากปราศจากศาสนาแรกของสากลโลกคือ "ศาสนาครอบครัว"

    ...

    ตัวท่านทั้งหลายผู้เจริญในยามเล็กๆแบเบาะนั้น อยู่ในวัยที่จะ "บีบก็ตาย จะคลายก็รอด" หากปราศจากแล้วไซร้ซึ่งความรักและความเอ็นดู ความเอาใจใส่ ของ "พ่อ-แม่ ที่แท้จริงก็ดี" ของ "พ่อ-แม่ บุญธรรม" ก็ดี ก็มิอาจสามารถจะเจริญเติบโตสมวัยขึ้นมาให้สมควรแก่การ รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ขณะปัจจุบัณ ทันด่วนนี้ได้เลย...

    ขออนุโมทนาสาธุแก่ผู้ที่ ปฎิบัติดี ปฎิบัติควร ปฎิบัติชอบ ตามหลักของเหตุและผล ด้วยเทอญ สาธุ.
     
  2. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    ผู้ที่รู้แล้ว กับ ผู้ที่ยังไม่ได้รู้ แตกต่างกันอย่างไรเล่า?

    ผู้ที่รู้แล้ว กับ ผู้ที่ยังไม่ได้รู้ แตกต่างกันอย่างไรเล่า?

    "ผู้ที่ยังไม่ได้รู้ จักกล่าวว่าสิ่งๆนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป โดยความบังเอิญเป็นสิ่งรู้ที่จริงแท้"

    "ส่วนผู้ที่รู้ "

    จักกล่าวว่า...

    "สิ่งๆนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ด้วย การกระทำของเหตุ ที่ส่งต่อมาเป็นผลกระทบ ด้วยสิ่งรู้ที่จริงแท้"
     
  3. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    สุดยอดพระคาถาที่ให้ผลได้จริง!

    สุดยอดพระคาถาที่ให้ผลได้จริง!

    ความโลภ
    ความโกรธ
    ความหลง

    ความโลภเกิดขึ้นแล้ว...เห็นอยู่เนืองๆว่าตั้งอยู่ และจักดับไปในอนาคตไม่ช้าก็เร็วที่แน่นอนแล้ว เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นการเกิดเป็นอย่างนี้ เห็นการตั้งอยู่เป็นอย่างนี้ เห็นการดับเป็นอย่างนี้ เราจักนำการเกิด การตั้งอยู่ การดับไป มา "ใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด" ไม่ได้หรืออย่างไร?

    ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว...เห็นอยู่เนืองๆว่าตั้งอยู่ และจักดับไปในอนาคตไม่ช้าก็เร็วที่แน่นอนแล้ว เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นการเกิดเป็นอย่างนี้ เห็นการตั้งอยู่เป็นอย่างนี้ เห็นการดับเป็นอย่างนี้ เราจักนำการเกิด การตั้งอยู่ การดับไป มา "ใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด" ไม่ได้หรืออย่างไร?

    ความหลงเกิดขึ้นแล้ว...เห็นอยู่เนืองๆว่าตั้งอยู่ และจักดับไปในอนาคตไม่ช้าก็เร็วที่แน่นอนแล้ว เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นการเกิดเป็นอย่างนี้ เห็นการตั้งอยู่เป็นอย่างนี้ เห็นการดับเป็นอย่างนี้ เราจักนำการเกิด การตั้งอยู่ การดับไป มา "ใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด" ไม่ได้หรืออย่างไร?

    ประโยชน์สูงสุดหมายถึงอย่างไร?

    หมายถึง...

    "ประโยชน์อันไม่เกี่ยวเนื่องกับความสุขจอมปลอมของตนเองและผู้อื่น"

    ความสุขที่ไม่จอมปลอมเป็นอย่างไร?

    "จิตที่หลุดพ้นจากความเป็นตัวตน ของเขา-ของเรา"

    อะไรคือตัวตน ของเขา-ของเรา?

    "รูปลักษณ์ และ ชื่อ-นาม" คือตัวตน ของเขา-ของเรา

    ทำไมการหลุดพ้นจากตัวตนของเขา-ของเรา จึงเป็นความสุขแท้กันเล่า?

    "เพราะ ก า ร ก ร ะ ท ำ ของตัวตนของเขา-ของเรา ส่งผลกระทบให้มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อยู่เสมอ เป็นธรรมดา"

    ความตายคือการหลุดพ้นอย่างนั้นหรือ?

    "ถูกส่วนหนึ่ง แต่ต้องเป็นการตายที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ตามกาลเวลาอายุขัย ของหนี้ การกระทำ ครั้งก่อนของตัวตนของเรา และมีของเขา ที่เป็นผู้มาทวงคืนความ ตามวาระของ การเกิด การตั้งอยู่ การดับไป เป็นธรรมดา "

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ของเขา เป็นผู้มาทวงในวาระ การเกิด การตั้งอยู่ การดับไปของอายุขัยตามกาลเวลาของหนี้กรรม เรา?

    "ความทุกข์ กาย ทุกข์ ใจ ...คือสิ่งที่ของเขา มาทวงหนี้คืน ทั้งๆที่ของเขา รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยทั้งสิ้น (นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ดังนั้น ความสุขแท้ คือ การไม่มีทุกข์)"

    อ๋อ...หากยังไม่ถึงการตายตามกาลเวลาอายุขัยของหนี้การกระทำ เราก็ต้องมี การกระทำ เป็นของตนเองที่สร้างขึ้นใหม่ "โดยไม่รู้ตัว" อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ด้วยสิ?

    "เป็นความจริงแท้ เมื่อผู้ใดรู้แจ้งแล้ว จักปราถนามี ก า ร ก ร ะ ท ำ ที่ เ กิ ด ป ร ะ โ ย ช น์ สู ง สุ ด ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งอยู่ตลอดทุกเมื่อเชื่อวันและทุกเวลาขณะจิตของ ปั จ จุ บั น..."

    สุดท้ายนี้ ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้แล จึงเป็น "สุดยอดพระคาถา" ตามความเข้าใจของข้าพเจ้าผู้น้อยเอง ที่ได้ศึกษาและอ้างอิงเป็นส่วนมาก จาก คำสอนของ พระพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าโคดม แล้วแปลเนื้อความตามเข้าใจของข้าพเจ้าผู้น้อยเอง มาให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้อ่านเอง และ ข้าพเจ้าผู้น้อย ก็ขอขอบคุณเจ้าของพื้นที่ที่ให้โอกาศเผยแผ่ตัวอักษรทั้งหลายนี้เป็นอย่างสูง พร้อมทั้งขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ที่กรุณาอ่านแล้วทำความเข้าใจ ท่องจำ และ แปลความหมายตามเนื้อหาของข้าพเจ้าผู้น้อยให้ เข้าใจเป็นภาษาของตัวท่านผู้เจริญทั้งหลายเองมาณะที่นี้ด้วย ครับ
     
  4. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    การให้ทานบารมีที่สูงสุด

    การให้ทานบารมีที่สูงสุด

    ทาน เกิดจาก การกระทำภายนอก และ ภายใน
    การกระทำภายนอก เกิดจาก กาย และ วาจา
    การกระทำภายใน เกิดจาก ใจ(ใจ=ความคิด)

    การกระทำทั้งหลายทั้งมวลรวมแล้ว เกิดจาก กาย+ใจ

    มีกาย ไม่มี ใจ ประกอบ การกระทำไม่ได้เลย
    มีใจ ไ่ม่มี กาย ประกอบ การกระทำได้ในภพภูมิอื่น...

    ดังนั้นทานบารมีสูงสุด จึงล้วนมีบ่อเกิดต้นกำเนิดมาจาก "ใจ" โดยทั้งสิ้น

    เมื่อ "คิดไม้ดี" ก็จะ "กระทำไม่ดี" ต่อด้วยเช่นกัน
    เมื่อ "คิดดี" ก็จะ "กระทำดี" ต่อด้วยเช่นกัน
    ฉันใดก็ฉันนั้น.
     
  5. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    พลังที่วิเศษสุดเป็นอย่างไรเล่า?

    พลังที่วิเศษสุดเป็นอย่างไรเล่า?

    พลังที่วิเศษสุด คือการ เหาะเหินเดินอากาศ "แบบนก" ได้อย่างนั้นหรือ?
    พลังที่วิเศษสุด คือการ ดำดินผลุบๆโผล่ๆในที่ลับและที่แจ้ง "แบบแมลง" ได้อย่างนั้นหรือ?
    พลังที่วิเศษสุด คือการ แปลงกาย ล่องหล หายตัว "แบบสัตว์เลื้อยคลาน" ได้อย่างนั้นหรือ?
    พลังที่วิเศษสุด คือการ หยั่งรู้ใจผู้อื่น ทั้งในภพนี้ และ ภพอื่นๆ ได้อย่างนั้นหรือ?

    ...

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ไม่ใช่การ "คิดดี-ทำดี แบบไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น" ของท่านผู้เจริญหรอกหรือ ที่มีคุณวิเศษ อันสูงสุดแล้ว บนสากลโลกทั้งหลายหลากนี้ ตราบทั้งภพภูมินี้ และภพภูมิอื่นๆสืบไป...
     
  6. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    การกระทำต่างๆล้วนมีความพอดี

    การกระทำต่างๆล้วนมีความพอดี

    หากเคร่งครัดเกิดไปก็จะ "เกิดทุกข์"
    หากหย่อนยานเกินไปก็จะ "เกิดทุกข์"

    ท่านผู้เจริญทั้งหลายโปรดดูเถิด มีช่วงห้วงเวลาใดบ้างของเขา-ของเรา ที่ไม่เกิด "การกระทำที่เป็นบ่อเกิดแห่ง สุข-ทุกข์" ขึ้นเลยนั้นไม่มี...

    ดังนั้นการกระทำต่างๆที่มีความพอดี จึงเป็นที่มาของความ "เกิดสุข"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2014
  7. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    ธรรมดา และ ไม่ธรรมดา

    ธรรมดา(ธรรมดา=ธรรมชาติ)

    หมายถึง

    "การเกิดขึ้น-การตั้งอยู่-และการดับไป เป็น ธรรมชาติ"

    ไม่ธรรมดา(ไม่ธรรมดา=ไม่เป็นธรรมชาติ)

    หมายถึง

    "ความยึดติด กับ การเกิดขึ้น-การตั้งอยู่-และการดับไป ไม่เป็น ธรรมชาติ"

    ความยึดติดเกิดจากอะไรเล่า?

    "ความยึดติดเกิดจาก ใจ(ใจ=ความคิด) ที่ปรุงแต่งให้เกินเลยจาก รูปนั้น รสนั้น กลิ่นนั้น เสียงนั้น สัมผัสนั้น ไปเองเรียกว่าความ ไม่พอดี!"

    จะทำอย่างไรให้ไม่ยึดตึดเล่า?

    "อันนี้สำคัญที่สุด อันนี้บรรลุกิจ พระโสดาบัน(ผู้ละแล้วซึ้งกิเลศเบาบาง) พระสกิทาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศปานกลาง)พระอนาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศอย่างมาก)พระอรหันต์(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศโดยสิ้นเชิงไม่ให้กลับมากำเริบใหม่ได้อีกด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในเหตุและผล)

    *กิเลศ(หมายถึง ความอยากได้เพิ่มหรือลดน้อยลง เกินเลยจากความพอดี หรือธรรมดา,ธรรมชาติ)

    ...ดังนั้นวิธีที่จะละจากความ ยึดติด ได้ก็คือ ความ "พอ" แล้วกับ "ใจที่ปรุงแต่งให้เกินเลยจาก รูปนั้น รสนั้น กลิ่นนั้น เสียงนั้น สัมผัสนั้น ที่เรียกว่าความไม่ พอดี" โดยอาศัย "สติ" ที่รู้ทันกาย รู้ใจ ของตนเองอยู่ ทุกขณะช่วงเวลาแห่งปัจจุบัน ไม่ให้พลั้งเผลอเรอไป ประกอบใจให้ปรุงแต่งเกินเลยไปจาก เรื่อง "ธรรมดา" ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการฝึก "สมาธิ(สมาธิ=ความตั้งมั่นแน่วแน่และจดจ่อ)" ของตัวท่านเองให้ "แกร่งขึ้นจนสามารถที่จะรู้เท่าทันกายใจได้" นั้นเอง

    สมาธิ ฝึกอย่างไรเล่า?

    "รูป รับรู้ได้จาก "ดวงตา" รส รับรู้ได้จาก "ลิ้น" กลิ่น รับรู้ได้จาก"จมูก" เสียง รับรู้ได้จาก "หู" สัมผัส รับรู้ได้จาก "การกระทบกันของ ธาตุทั้ง 4 (คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ประกอบกิจผสมปนเปรกันไปให้เกิด ธาตุ ลูกๆ ต่อมาอีกหลายๆอย่างซึ่งนับไม่ถ้วน)

    ...ดังนั้นการฝึกสมาธิจึง สามารถทำได้อยู่ ตลอดช่วงเวลาขณะปัจจุบันของ ชีวิตท่าน โดยการเฝ้าสำรวจ "ดวงตา ลิ้น จมูก หู ร่างกาย โดยมี ใจ(ใจ=ความคิด)เป็นบ่อเกิดแรกสุดของ การกระทำ และการ รับรู้"

    สำรวจเพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านี้ "กระทำเกินเลย" จาก เรื่องของ "ธรรมดา"(ธรรมดา=ธรรมชาติ)

    *สุดท้ายนี้ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะรู้ได้อย่างไรว่า สำเร็จกิจ แล้วซึ้ง พระโสดาบัน(ผู้ละแล้วซึ้งกิเลศเบาบาง) พระสกิทาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศปานกลาง)พระอนาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศอย่างมาก)พระอรหันต์(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศโดยสิ้นเชิงไม่ให้กลับมากำเริบใหม่ได้อีกด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในเหตุและผล)

    "คำตอบคือ พระโสดาบัน(ผู้ละแล้วซึ้งกิเลศเบาบาง) พระสกิทาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศปานกลาง)พระอนาคามี(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศอย่างมาก)พระอรหันต์(ผู้ละแล้วซึ่งกิเลศโดยสิ้นเชิงไม่ให้กลับมากำเริบใหม่ได้อีกด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในเหตุและผล)

    กิจทั้งหมดทั้งมวลนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น "สภาวะธรรม" (การรู้แจ้งในเรื่องของสถาวะธรรมดา,ธรรมชาติ) โดยทั้งสิ้น ซึ่งท่านอาจจะรู้ตัวท่านเอง หรือไม่รู้ตัวท่านเอง ในขณะปัจุบันนั้นก็ได้ (เพราะใจ=ความคิด มันไวมากไวกว่าความเร็วของแสง) ส่วนผู้ที่มี "สมาธิ(สมาธิ=ความตั้งมั่นแน่วแน่และจดจ่อ)แข็งแกร่งแล้ว" จักเห็นสถาวะธรรมนี้ โผล่ขึ้นมาแล้วไวมากแต่สัมผัสมันได้จริง ขอให้ท่าน "จำไว้ แล้วนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ อยู่ในทุกๆขณะใจ=ความคิด ของท่านสืบเนื่องต่อไปจน สิ้นอายุขัย แล้วตัดกระแสเข้าสู่พระนิพพาน(ความสุขที่ไม่กลับมาทุกข์อีกตลอดไป)เทอญ..."

    *ส่วนเรื่องที่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะรู้ได้อย่างไรว่าตนบรรลุแล้วซึ่ง กิจพระอรหันต์ นั้นเป็นเรื่อง ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ความเข้าใจแบบ มนุษย์ ได้ครับ เพราะว่าเรายังใช้ "ใจ=ความคิด" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ใช้ของเราและไม่เที่ยงแท้ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นทั้งตัวสื่อสาร และ คิดหาคำตอบของมันว่าบรรลุแล้วหรือไม่จึงไม่สามารถทำให้เข้าใจและเข้าถึงถึงสภาวะ นั้นๆได้ด้วย กาย,วาจา,ใจ ได้เลย ทั้งนี้ทั้งนั้น ฉันใด ก็เป็น ฉันนั้น ตัวท่านและพระอรหันต์ด้วยกันเท่านั้นจึงจะรู้ได้ว่าเองว่าบรรลุแล้วหรือไม่...เพราะพระอรหันต์ก็คือท่าน ท่านก็คือพระอรหันต์
     
  8. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    มองมุมกลับแล้วปรับมุมมอง

    ชีวิต ในความคิดของ "ปุถุชน" คนธรรมดาทั่วไปทุกคนจะพบว่า..

    มีการเกิด(เป็นความสุข),มีการแก่(เป็นความทุกข์เบาบาง),มีการเจ็บ(เป็นความทุกข์ปานกลาง),มีการตาย(เป็นความทุกข์โดยมาก)

    หากลองมองมุมกลับแล้วปรับมุมมองดูจะค้นพบอีกแบบว่า

    มีการเกิด(เป็นความทุกข์โดยมาก),มีการแก่(เป็นความสุขเบาบาง),มีการเจ็บ(เป็นความสุขปานกลาง),มีความตาย(เป็นความสุขโดยมาก)

    *หากลองมองดูดีๆแล้ว "การเกิด" จะมีขึ้นมาไม่ได้เลยหากไม่ได้มาจาก "การกระทำของเขา+กับของเรา"(ยกตัวอย่างได้เห็นอย่างชัดเจนคือ บุรุษ+สตรี=บุตรหญิง,บุตรชาย เป็นต้น) ดังนั้นไม่ใช่การหยุด "การกระทำของเขา+ของเรา" หรอกหรือที่เป็นตัวทำให้ "ไม่มีการเกิด"

    *หากลองมองดูดีๆแล้ว "หนี้ของการกระทำ(ที่เป็นตัวกระทำให้มีการเกิด)" จะมีขึ้นมาไม่ได้เลยหากไม่ได้มาจาก "การทวงคืนของเขาซึ่งเป็นเจ้าหนี้" ดังนั้นไม่ใช่การ "อโหสิกรรม(ขอเลิกแล้วยอมความต่อกัน)" หรอกหรือที่เป็นตัวทำให้ "เกิดโมฆะการกระทำของเขา+ของเราขึ้น" (ก็เหมือนๆกับการตัดสินคดีความเมื่อผู้เสียหายไม่ถือสาหาความเอาเรื่องแล้วย่อมเกิดการโมฆะคดี)

    *หากลองมองดูดีๆแล้ว "เมื่อท่านกระทำการอโหสิกรรมเจ้าหนี้ทั้งหมดทั้งมวลอยู่เนืองๆแล้ว" แต่ท่านยังเผลอเรอก่อร่างสร้าง "การกระทำที่ติดหนี้ใหม่" ขึ้นมาอีกเรื่อยๆโดยสาเหตุมาจากความ "ประมาท" และขาด "สติและสัมปชัญญะโดยมาก" แล้วเมื่อท่าน สิ้นอายุขัย(ตาย)ลง ท่านคิดว่าท่านจัก หนีพ้นได้อย่างนั้นหรือ กับ"การเกิด(เป็นความทุกข์โดยมาก)" นี้อีกรอบเพื่อเริ่มต้นค้นหาคำตอบของ "หนี้ของการกระทำ" นี้อีกครั้งไม่รู้ว่ามันจะนานอีกเท่าไหร่กันเชียว...


    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตาม "การกระทำ"
    ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงใช้ชีวิตตั้งมั่นอยู่บน "ความไม่ประมาท" เถิด
    ความ "สุขที่แท้จริง" ก็คือ "การไม่เกิดทุกข์" นั้นแล
    ฉันใด ก็ ฉันนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2014
  9. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

    เมื่อ(จิต)ใจ=(ความคิด) หลุดพ้นจาก (อาสวะ)สันดาน=(อารมณ์กาม,ความอยากเป็นโน่นนี่นั่น,มีทิฏฐิ ความดื้อ และ หัวรั้น,ความไม่รู้จริง โง่ หลงงมงาย)

    ย่อมหลุดพ้นแล้วจาก...
    (อุปาทาน)ความเพ้อเจ้อ=(ความยึดติดในใจ=ความคิดของเรา ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา)

    ย่อมเกิดปัญญารู้แจ้งในการบำเพ็ญ=(ทำให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน)ขั้นสูงสุดคือ...

    "สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ"

    นิโรธสมาบัติ=การเข้าถึงความดับ

    สัญญา=ความจำ

    เวทนา=ความรับอารมณ์

    หมายถึงการเข้าถึงความดับ สัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด

    ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน

    *ถือกันมาว่าผู้ได้ถวายอาหารแด่พระสงฆ์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมื้อแรกจะได้รับอานิสงส์ในปัจจุบันทันตา
     
  10. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    สภาวะธรรม+ภาพประกอบ

    สภาวะธรรม+ภาพประกอบ

    P1.jpg

    ตามรูปภาพที่แนบไฟล์มาดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าผู้น้อยเปรียบเทียบการปฎิบัติธรรมของ ปุถุชน ทั่วไป และ พระสงฆ์ สามเณร=(ผู้ไม่ถือครองเรือน) ดั่ง "พิณ สาม สาย"

    ตามรูปภาพที่แนบไฟล์มาดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าผู้น้อยเปรียบ "สายพิณเส้นบนสุดดั่ง ความยึดมั่นถือมั่นหรือพึงพอใจในการปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดเป็นอย่างมากกว่าอย่างอื่น ของ ปุถุชนทั่วไป และ พระสงฆ์ สามเณร=(ู้ไม่ถือครองเรือนแล้ว)"

    ตามรูปภาพที่แนบไฟล์มาดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าผู้น้อยเปรียบ "สายพิณเส้นตรงกลางดั่ง ความยึดมั่นถือมั่นหรือพึงพอใจในการปฎิบัติธรรมอย่างปานกลางเป็นอย่างมากกว่าอย่างอื่น ของ ปุถุชนทั่วไป และ พระสงฆ์ สามเณร=(ู้ไม่ถือครองเรือนแล้ว)"

    ตามรูปภาพที่แนบไฟล์มาดังกล่าวแล้วข้าพเจ้าผู้น้อยเปรียบ "สายพิณเส้นล่างสุดดั่ง ความยึดมั่นถือมันหรือพึงพอใจในการปฎิบัติธรรมอย่างหย่อนยานเป็นอย่างมากกว่าอย่างอื่น ของ ปุถุชนทั่วไป และ พระสงฆ์ สามเณร=(ู้ไม่ถือครองเรือนแล้ว)"

    *ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าการ"ตั้งสายของพิณสายใดสายหนึ่ง เคร่งครัด,เป็นกลาง หรือ อ่อนหย่อนยาน จนเกินไปจักทำให้เกิดความหยาบกระด้าง ไม่ทำให้เสียงนั้นไพเราะเลย และ จักต้องขาดไปในสักวันใดวันหนึ่ง (ทำให้เกิดทุกข์) เป็น ธรรมดา"

    *ส่วนผู้ใดที่กระทำให้แจ้งแล้วใน"ทางสายกลางของเรื่องธรรมดา"จักมีความพึงพอใจในทุกๆสายของพิณ แม้ว่า"ผู้ ดีดพิณนี้(เปรียบเทียบได้ดั่งกฏของธรรมชาติ)"จะเลือกบังคับให้ตัวนักปฏิบัตินั้นไปโลดแล่นในเส้นทางสายไหนก็จักมีความตระหนัก"รู้เท่าทัน"และปล่อยตามสภาวะธรรมดา ของมันในที่สุด จึงเป็นเส้นทางแห่งความ "เกิดสุขที่ได้ปล่อยวางทุกข์" ไปในที่สุด

    ...

    เกรดความรู้เพื่มเติม
    ข้าพเจ้าผู้น้อยได้เปรียบเทียบ พิณ สาม สาย ดั่ง "สันดานที่ซุกซ่อนอยู่ในหลืบของคน" แต่ละคนจะมีความชื่นชอบส่วนตัวไม่เหมือนกัน และแน่นอน เมื่อชื่นชอบอย่างใดอย่างหนึ่งเอนเอียงไปทางนั้นมากกว่า จึงจะ ไม่ชื่นชอบในอีกเส้นทางหนึ่งดั่งที่เห็นได้ชัดเจนสุด

    ...แต่เมื่อลองคิดใหม่เปิดใจให้กว้างใหญ่อิสระ และ "ยอมรับในตัวตนของธรรมชาติ" มากขึ้นแล้วท่านก็จักได้ชื่อว่า "เป็นผู้ที่บรรลุสถาวะธรรม" แล้วโดยแท้

    สรุป
    "ยอมรับในชะตากรรมของตน จะสุข หรือ ทุกข์ ก็ให้มองแค่เป็นเรื่อง ธรรมดา และ ยิ้มด้วยความเบิกบานให้กับมันซะ"

    นี้คือความหมายของ
    "ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
     
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    สัญญาวิตยิตนิโรธคือฌานที่๙ ในฌานสมาบัติ เทียบเท่ากับญาณที่๙ ในวิปัสสนาญาณ๙ เช่นเดียวกันทุกประการ
    อรรถธิบายว่าพุทธองค์แสดงไว้หลายนัย หากว่าโดยผลก็เช่นกัน ดับสมุทัยเข้าถึงนิโรธธรรมครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  12. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    "ผู้ใดเห็นการเกิด-ดับอยู่ในปัจจุบัน ผู้นั้นย่อมเห็นธรรมโดยแท้"

    "ผู้ใดเห็นการเกิด-ดับอยู่ในปัจจุบัน ผู้นั้นย่อมเห็นธรรมโดยแท้"

    หากลองมองดูดีๆ ทุกสรรพสิ่งบนสากลโลก ล้วนมีการแปรเปลี่ยน(=ไม่เที่ยง) มีการ เกิด-ดับ อยู่ในปัจจุบัน เสมอ เป็นธรรมดา

    "ใจ=ความคิด" ย่อมเกิด-ดับ อยู่ในปัจจุบัน ซ้ำไปซ้ำมาไม่มีที่สิ้นสุด(ใจ=ความคิด=คือตัวที่ทำให้เกิดภพเกิดชาติ)

    "ร่างกาย และทุกสรรพสิ่งบนสากลโลก" ย่อมเกิด-ดับ อยู่ในปัจจุบัน ซ้ำไปซ้ำมาไม่มีที่สิ้นสุด(ยกตัวอย่างร่างกายของคนเราย่อมแก่ชราไปในทุกๆวินาที และตายไปเป็นซากศพ(ปุ๋ย)ให้แก่ผืนแผ่นดิน อยู่เสมอ (และห้ามไม่ได้) เป็นธรรมดา(สรรพสิ่งบนสากลโกล=ธาตุทั้ง4 คือดิน,น้ำ,ลม,ไฟ ที่มาผสมเล่นแร่แปรธาตุ กันจนเกิดเป็น ธาตุลูกๆ อื่นๆตามมาอีกนับไม่ถ้วนและหาที่สุดประมาณไม่ได้)

    เมื่อผู้ใดเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามจริงได้ว่าเป็นของ ไม่เที่ยง แล้ว ย่อมละไปได้จากความ ยึดมั่นถือมั่น ว่ามีตัวตนเป็น ของเรา-ของเขา

    เมื่อผู้ใดกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งความไม่มีตัวตนที่เป็น ของเรา-ของเขา ย่อมมองเห็นหนทางสู่ความดับที่ไม่กลับมาเกิดซ้ำอีกแล้ว(นิพพาน) อยู่ที่ การ "ดับใจ(=ความคิด) ให้พร้อมกันกับ การสิ้นอายุขัยของร่างกาย(ธาตุทั้ง4ที่มาประชุมกัน) ในขณะปัจจุบัน แห่งการดับ! ทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันให้ได้ เป็นธรรมดา"

    *หลทางแห่งการ ดับใจ=ความคิด อยู่ที่สมาธิ รู้เท่าทัน และยอมรับสภาพตามความเป็นจริงนั้นตามจริง (ยอมแล้ว,ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในตัวเขา-ตัวเรา แล้ว) เป็นธรรมดา
     
  13. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    สาธุ ท่านผู้เจริญที่ตอบกระทู้ของข้าพเจ้าผู้น้อย ท่านเป็นผู้มีปัญญา ผู้มีความรู้ในธรรม จริงแท้ แทงทะลุตลอด เป็นดังตามที่ท่านว่า ทุกประการ

    ธรรม = ธรรมดา มี สุขบ้าง,ทุกข์บ้าง ผันแปรเลี่ยนไม่นิ่งเป็นสิ่งแน่นอน
    สิ่งที่ไม่ประกอบในธรรม(ไม่ใช่เรื่องธรรมดา)ได้แก่ "กิเลศตัญหา" ซึ่งเป็นบ่อเกิดของ "โลภะ(คามโลภเกินพอดี)โทสะ(ความคิดประทุษร้ายเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น)โมหะ(ความหลงในความเป็นตัวตนของสรรพสิ่งที่ไม่เที่ยงไม่แน่นอนว่าเป็นสิ่งแน่นอนแล้ว)"

    สามอย่างนี้แลที่เป็นบ่อเกิดของความ "ไม่เป็นธรรม(ไม่ใช่เรื่องธรรมดา) ทั้งหลายทั้งปวง เป็นสิ่งที่ทำให้ เกิดภพ เกิดชาติ ต่อไปด้วยความไม่รู้แจ้งที่ไม่สิ้นสุด

    ขอขอบพระคุณท่านผู้เจริญในธรรม ที่เข้ามาสนทนาธรรม กับข้าพเจ้าผู้น้อย ให้เกิดความเลื่อมใส ใน "ธรรม" มากยิ่งๆขึ้นไปมาณะที่นี้ด้วยเทอญ
     
  14. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    ข้าพเจ้าผู้น้อยมองไมเห็นเลยว่า...

    ข้าพเจ้าผู้น้อยมองไมเห็นเลยว่า...

    ใจ=ความคิด ของท่าน จะล่องลอยไปผูกติด อยู่กับสรรพสิ่งใดๆทั้งปวงบนสากลโลก ได้อย่างไร?
    ในเมื่อ...

    ใจ=ความคิด ของท่าน เพ่งมองพิจารณาด้วย "สติรู้เท่าทันลมหายใจเข้า-ออก(อานาปานสติ)อยู่ที่ "การกระทำ" ของ "ร่างกาย" ตนเอง ซึ่ง ข้าพเจ้าผู้น้อยได้มองเห็นตามความจริงว่า มิได้มี "การกระทำ" ใดๆเลยของ "ร่างกาย" ตนเอง ที่เกินเลยไปจาก การ "ยืน" เดิน" นอน"นั่ง" เป็นหลักทั้งสิ้นทั้งปวงเลยเทียว...

    ใจ=ความคิด ของท่าน จะล่องลอยไปผูกติด อยู่กับสรรพสิ่งใดๆทั้งปวงบนสากลโลก ได้อย่างไร?
    ในเมื่อ...

    ใจ=ความคิด ของท่าน เพ่งมองพิจารณาด้วย "สติรู้เท่าทันลมหายใจเข้า-ออก(อานาปานสติ)อยู่กับ "การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย" ของ "ร่างกาย" ตนเอง ว่าเป็นสิ่งที่สมควรแล้ว "ยอมรับแล้ว" เป็นสิ่ง "จริงแท้" ที่สุดแล้ว เป็น "ธรรมดาที่สุด" แล้ว...
     
  15. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    อะไรที่ไม่ใช่่ บุญ,บาป

    อะไรที่ไม่ใช่่ บุญ,บาป

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุญ(ความดี=เป็นธรรม=กุศลกรรม=เรื่องธรรมดา=การไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น),บาป(ความชั่ว=ไม่เป็นธรรม=อกุศลกรรม=ไม่ใช่เรื่องธรรมดา=การเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น)

    *กรรม=การกระทำ ถ้ามองดูดีๆแล้วมันก็ไม่มีจุดกึ่งกลาง นั่นเป็นเพราะว่า "บุญ เกิดขึ้นมาได้จากการ ไม่ทำบาป(=การกระทำในขณะปัจจุบันทุกๆวินาทีในขณะจิตที่ไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น)" และ "บาป เกิดขึ้นมาจากการไม่ทำ บุญ(=การกระทำในขณะปัจจุบันอยู่ทุกๆวินาทีในขณะจิตที่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น)

    ย่อมจะเกิดขึ้นมามิได้เลยถ้าไม่มีการเสวยภพ,เสวยชาติ(=กำเนิดมาเป็นสิ่งมีชีวิต)

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดังนั้น สิ่งที่ ไม่ใช่ "บุญ,บาป" ก็คือการไม่เสวยภพ,เสวยชาติ

    ฉันใดก็ฉันนั้น.

    ------

    ข้อความระวัง !
    สำหรับผูที่บรรลุกิจ เป็น "พระโสดาบัน,พระสกิทาคามี" แล้ว

    หากท่านเพ่งใจ=ความคิด(=ทำสมาธิ) ไปพิจารณาอยู่ใน "ความว่าง" เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ และ หลงคิดว่าเป็นหนทางแห่งการดับที่สุดแห่งทุกข์(การไม่มาเกิด=นิพพาน) แล้วล่ะก็โปรดละวางความพึงพอใจในความ "ว่างที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง" นั้นเสียเดี๋ยวนี้
    เพราะว่าถ้าหากขณะใจ=ความคิด ในปัจจุบัน สุดท้ายของการดับ ลมหายใจสุดท้ายของชีวิต(ความตาย) ไปเพ่งพิจารณา(=ทำสมาธิ) และ "เกิดความพึ่งพอใจในความว่างที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง" แล้วละก็ "ใจ=ความคิด" ของท่านจะทำพาให้ไป เสวยภพ,เสวยชาติ(=การเกิดเป็นสิ่งมีชีวิต)
    อยู่ใน "อรูปพรหม์(=ไม่ใช่พรหม์และเสวยสุขอยู่ในความ ว่างเปล่า ที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง) อยู่อย่างนั้นจนหมดอายุขัยของ "ผลบุญ(=ค่าตอบแทนสำหรับการไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น,หรือ การพักร้อน ตามภาษา วัยทำงานออฟฟิศ ทั่วไป)"
    ลงไปแล้วต้องกลับมา เสวยภพ,เสวยชาติ(=กำเนิดมาเป็นสิ่งมีชีวิต)อยู่ในโลก มนุษย์ ใหม่อีกครั้ง และอีก ๆลๆ ภพ,ชาติ ที่ไม่สิ้นสุดอีกหาค่าประเมินมิได้ว่า จะได้มาศึกษา "ธรรมะ=ธรรมดา,ธรรมชาติ" อีกเมื่อไหร่?

    สำหรับผู้ที่บรรลุกิจ เป็น "พระอนาคามี,พระอรหันต์" แล้ว

    ย่อมมีความตระหนักรู้ดีว่า "การพิจารณาดูลมหายใจเข้า-ออก อยู่ในขณะปัจจุนันของใจ(อนาปานสติ)(ลมหายใจ=สิ่งที่คนตายไม่มี)" เป็นสิ่งที่สมควรแล้วอย่างยิ่งแก่การตั้งไว้ให้พิจารณาดูอยู่บนความไม่ประมาทสูงสุดในชีวิต

    *เกรดความรู้เล็กๆน้อยๆเพิ่มเติม สำหรับผู้ปฎิบติธรรม ผู้ใดที่สามารถเพ่งสมาธิไปพิจารณาดูอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก การนอนหลับของตนเองในทุกๆขณะปัจจุบันใจ=ความคิด โดยที่ฝันก็รู้ตัวอยู่ว่าได้,โดยที่ไม่ฝันก็รู้ตัวอยู่ว่าไม่ฝันได้ ผู้นั้นย่อมละจากความไม่ประมาทส่วนหนึ่งในชีวิตได้แล้ว

    -----

    สุดท้ายนี้ สำหรับท่านผู้ที่ยังไม่เคยได้ศึกษาธรรมมะ(=ธรรมชาติ,ธรรมดา) ได้อ่าน,ทำความเข้าใจ และมองเห็น "ความผันแปรไม่แน่นอนที่เป็นสิ่งแน่นอนแล้วของทุกสรรพสิ่งบนสากลโลกและจักรวาล(=ความไม่เที่ยง=อนัตตา)"
    ย่อมสมควรแล้วอย่างยิ่งแก่การกระทำตนอย่างนี้อยู่เนืองๆคือ

    ความปล่อยวาง=ปล่อยว่างแล้วจากความคิดที่ว่่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็น ของเขา-ของเรา เที่ยงแท้แน่นอนที่สุดแล้ว
    ความเป็นกลาง=มองทุกสรรพสิ่งบนโลกอย่างเป็นกลางว่าเท่าเทียมกันโดยทั้งสิ้นว่า มีการเกิด,การแก่่,การเจ็บ,การตาย (การเกิดสุข-ทุกข์,สังขาร)เป็นธรรมดาเหมือนกันหมดไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
    ความวางเฉย =เมื่อกระทำให้รู้แจ้งแล้วในหนทางแห่งการดับทุกข์(นิโรธ)และการดับที่สุดแห่งทุกข์(นิพพาน) อยู่ใน "ปั จ จุ บั น ข อ ง ใ จ" ได้แล้วย่อมมีความคิด "วางเฉย" แล้วกับทุกสรรพสิ่ง โดย "ธรรมมะ=ธรรมดา,ธรรมชาติ"

    เพราะ "ดวงตาทำได้แค่มองเห็นเท่านั้น" "หูทำได้แค่ได้ยินเสียงเท่านั้น" "ลิ้นทำได้แค่รู้รสเท่านั้น""ร่างกายทำได้แค่กระทบ,สัมผัสเท่านั้น" และสุดท้าย "ใจ=ความคิดทำได้แค่รับรู้เท่านั้น" เป็นธรรมมะ(=ธรรมดา.ธรรมชาติ) จะมีก็เพียงแต่ "ความจำ(=สัญญา) เท่านั้นที่เป็นตัวหลอกลวงให้เราหลงยึดติดอยู่กับ การเสวย ภพ.ชาติ

    สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2014
  16. ผู้ตามธรรม

    ผู้ตามธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +33
    ยังกิญจิสมุทยธัมมัง สัพพันตังนิโรธะธัมมันติ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลย่อมดับไปเป็นธรรมดา
     
  17. rawjue

    rawjue Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +79
    นิพพาน

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    อดีต และ อนาคต ดูว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้,แน่นอน หรือไม่?
    (กรุณาเพ่งมองดูเข็มวินาทีของนาฬิกาประกอบกับการอ่านข้อความไปด้วยจะดีมาก)

    คำตอบคือ=อดีต(=ความตายจากปัจจุบัน) "รู้ได้ด้วยใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้)" ว่าเป็นสิ่งที่ "ระรึกถึงได้(=เพ่ง,ฌาน)" แต่ "ไม่สามารถย้อนกลับไปดำเนินชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้นได้อีก" เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    คำตอบคือ=อนาคต(=สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน) "รู้ได้ด้วยใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้)"ว่าเป็นสิ่งที่ "ระรึกถึงได้(=เพ่ง,ฌาน)" แต่ "ไม่สามารถเดินทางเข้าไปดำเนินชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้นได้เลย" เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    ปัจจุบัน ดูว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้,แน่นอน หรือไม่?
    (ปัจจุบัน=เข็มวินาทีของนาฬิกาที่หยุดเป็นภาพให้เรารับรู้ได้ที่ตัวเลขใดเลขหนึ่งในช่วงอึดใจเดียวของการรับรู้ทางใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้)

    คำตอบคือ=ปจจุบัน(=สิ่งที่เกิดขึ้น,ตั้งอยู่,และดับไป เป็น ธรรมดา ในช่วงเวลาอึดใจเดียว)"ว่าเป็นสิ่งที่ "ระรึกถึงได้(=เพ่ง,ฌาน)" และสามารถ "ดำเนินชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้นได้" เป็นเรื่อง ธรรมดา,เที่ยงแท้

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    การรับรู้ทาง"โลก(=การเรียนรู้วิธีเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น,อกุศลธรรม)",การรับรู้ทาง"ธรรม(=การเรียนรู้วิธีไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น,กุศลธรรม)"
    มีความแตกต่างกัน,ไม่แตกต่างกัน อย่างไรบ้าง?

    คำตอบคือ=การรับรู้ทางโลก มี ความจำได้,หมายรู้(=สัญญา),อารม์ณ(=เวทนา) และ การกระทำ(=กรรม) ประกอบไปด้วย เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    คำตอบคือ=การรับรู้ทางธรรม มี ร่างกายของเรา(=ขันธ์๕),การตั้งมั่นจดจ่อ,ไม่วอกแวก(=สมาธิ) และ การกระทำ(=กรรม) ประกอบไปด้วย เป็นเรื่อง ธรรมดา,เที่ยงแท้

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    คนเป็น,คนตาย มีความแตกต่างกัน,ไม่แตกต่างกัน อย่างไรบ้าง?

    คำตอบ=คนเป็น มี ใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้),ร่างกาย(=ขันธ์๕) เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    คำตอบ=คนตาย มี ร่างกาย(=ขันธ์๕) เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    สิ่งใด มี=ไม่มี,สิ่งใด ไม่มี=มี มีความหมายว่าอย่างไร?

    คำตอบคือ=สิ่งใด มี=ไม่มี หมายถึง ทุกสรรพสิ่งบนจักรวาล,สากลโลก นั้น "มี" อยู่ และ สามารถ "รับรู้" ได้ แต่ "ความเที่ยงแท้(=สิ่งที่ไม่ เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย)" นั้น "ไม่มี" เป็นเรื่อง ธรรมดา,เที่ยงแท้

    คำตอบคือ=สิ่งใด ไม่มี=มี หมายถึง "นิพพาน(=สิ่งที่ไม่เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย)" นั้น "ไม่มี" อยู่ใน จักรวาล,สากลโลก แต่ "มี" อยู่ในความ "ไม่มีใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้)" เป็นเรื่อง ธรรมดา,เที่ยงแท้

    *ดูก่อน(สุดท้าย)ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าผู้น้อยใคร่อยากให้ท่านพิจารณาถึง...

    การเกิด(=จุติ),การดับเกิด(=การดับขันธ์ปรินิพพาน) ว่ามีความแตกต่างกัน อย่างไรบ้าง?

    คำตอบ=การเกิด(=จุติ) มี ใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้),การตายของร่างกายตนเอง(=การดับของขันธ์๕) เป็นเรื่อง ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้

    คำตอบ=การดับเกิด(=การดับขันธ์ปรินิพพาน) มี ใจ(=ความนึกคิด,ตัวรับรู้),การตั้งมั่นจดจ่อ,ไม่วอกแวก(=สมาธิ)อยู่กับการตายของร่างกายตนเอง(=การดับของขันธ์๕)
    ว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา,เที่ยงแท้

    ---------------------------

    สรุป
    การเกิด=ความสุข(ของปลอม)+ทุกข์=ไม่ธรรมดา,ไม่เที่ยงแท้
    การไม่เกิด=ความสุขของแท้ล้วนๆ+ไมมีทุกข์เจือปนอยู่เลยแม้แต่น้อย=ธรรมดา,เที่ยงแท้

    "ความไม่ประมาทเป็นหนทางสู่การดับทุกข์"

    ฉันใดก็ฉันนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มีนาคม 2014
  18. ผู้ตามธรรม

    ผู้ตามธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +33
    นิพพานนังปรมังสูญญัง
    พระนิพพานสูญอย่างยิ่ง
    นิพพานนังปรมังสุขขัง
    พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
    มหาสุญญตาหรือพระนิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่งนิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเะอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น ภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็นอย่่างไรเล่า ภิกษุ ทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน---สฬา.สํ.18/452/741:cool:
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงซึ่ง อสังขตะ (สิ่งไม่ถูกปรุงแต่ง)แก่ พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น ภิกาุทั้งหลาย อสังขตะ เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่ง ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะอันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เราเรียกว่า อสังขตะ---สฬา.สํ.18/441/674:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...