พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย Holmes, 18 ตุลาคม 2004.

  1. Holmes

    Holmes บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์

    พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก

    ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ

    1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
    อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
    อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
    อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
    (พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

    2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

    3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    (คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

    4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

    5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    (มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

    6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    (ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

    7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

    8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    (วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

    9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

    10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    (โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

    11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

    12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    (กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

    13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

    14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    (จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

    15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

    16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

    17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)



    --------------------------------------------------------------------------------

    อานิสงส์อาการวัตตาสูตร

    ......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
    ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
    ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
     
  2. casy99

    casy99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    310
    ค่าพลัง:
    +449
    สวดไว้จะได้ห่างจากนรก
     
  3. คำแปล

    คำแปล บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า



    คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์


    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์


    คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ


    คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง


    คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส


    คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้


    คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต


    คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า


    คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่ พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ


    คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล


    คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์ พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้


    คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ


    คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้


    คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์ พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี


    คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป


    คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์


    คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

    **************************************

    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง
    วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่ ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้ มีอานุภาพดี
    พิมพ์ตัวโตๆ นะ พิมพ์สีอะไร แบบไหนก็ดีทั้งนั้น สำหรับเราไม่มีอะไรไม่ดี ทุกอย่างดีหมด

    **************************************
     
  4. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,403
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
    ขอบคุณมากครับ ดีมากเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...