เรื่องเด่น ปาฏิหาริย์พระลามะ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 17 ตุลาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b8b2e0b88fe0b8b4e0b8abe0b8b2e0b8a3e0b8b4e0b8a2e0b98ce0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a5e0b8b2e0b8a1e0b8b0.jpg

    พุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้ากุปไลข่าน ผู้นำมองโกลปกครองประเทศจีน (ต้นราชวงศ์หยวน) ทรงดำริ จะนำศาสนามาใช้ในการปกครอง และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างชนชาติป่าเถื่อนต่างๆในพระราชอาณาจักร

    (พุทธปฏิมา ฝ่ายมหายาน รศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ โรงพิมพ์อักษรสมัยพ.ศ.2543)

    ช่วงเวลานั้น ลัทธิลามะ รุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.1749 เมื่อเจงกิสข่าน ผู้นำมองโกล บรรพบุรุษของพระองค์มาตีทิเบตได้ ราชสำนักมองโกล คุ้นเคยกับลัทธิลามะกว่าลัทธิศาสนาอื่น

    ขณะที่ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ ก็มีศาสนิกอยู่แล้วไม่น้อย

    พระเจ้ากุปไลข่าน เชิญผู้นำสามศาสนา แสดงหลักคำสอน และหลักปฏิบัติทางศาสนา หน้าพระที่นั่ง

    แต่คำสอนจากทั้งสามผู้นำศาสนา ก็ล้วนแต่มีข้อดี ที่ปฏิเสธได้ยาก จะทรงตัดสินให้ศาสนาใดเป็นเลิศกว่า เหมาะสมกว่า ก็ไม่ถนัด

    จึงทรงประกาศว่า ถ้าผู้นำศาสนาแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ให้ทรงเห็นกับตาว่า เก่งกว่าดีกว่า ก็จะทรงยอมรับนับถือศาสนานั้น เป็นศาสนาประจำชาติ

    อาจารย์ผาสุข อินทราวุธ ไม่ได้บอกว่า ผู้นำศาสนาอื่น แสดงอิทธิฤทธิ์อะไร เล่าแต่เพียงหัวหน้าพระลามะ ชื่อสัสกยะ ได้ใช้อำนาจจิต เสกให้ถ้วยสุราที่ตั้งอยู่บนโต๊ะลอยขึ้นไปสู่พระโอษฐ์พระเจ้ากุปไลข่าน

    ปาฏิหาริย์นี้ พระเจ้ากุปไลข่าน ประกาศให้ลัทธิลามะ เป็นศาสนาที่เหมาะกับพระราชอาณาจักรจีน

    ทรงแต่งตั้งให้ลามะสัสกยะ เป็นประมุขของลัทธิลามะ ประทานอำนาจให้เป็นผู้ปกครองทิเบต อย่างเมืองออกของจีน อีกตำแหน่งหนึ่ง

    ได้องค์จักรพรรดิศรัทธาและอุปถัมภ์ ลัทธิลามะจึงรุ่งเรืองเฟื่องฟูมากในจีน ไปจนสิ้นราชวงศ์หยวน

    อาจารย์ผาสุขบอกเหตุผลว่า เหตุที่พระเจ้ากุปไลข่าน เลือกลัทธิลามะ ไม่ใช่แค่เพราะพระเจ้าเจงกิสข่าน บรรพบุรุษของพระองค์ ทรงนับถืออยู่ก่อนแล้วประการเดียว

    แต่เพราะลัทธิลามะ มีหลักปฏิบัติคล้ายคลึงลัทธิบอนปะ ลัทธิดั้งเดิมของคนส่วนใหญ่ในจีน และโกเลีย

    นักประวัติศาสตร์ลงความเห็นว่า พระพุทธศาสนาจากอินเดีย เข้าสู่ทิเบต ในสมัยพระเจ้าสรองตะสันคัมโป (พ.ศ.1172) ก่อนหน้านั้น ชาวทิเบตเป็นชนชาติป่าเถื่อน กินเนื้อมนุษย์ ไม่มีภาษาเขียน

    ลัทธิที่นับถือ เรียกว่า “ษมัณ” หรือ “บอนปะ” เป็นไปในทางนับถือผีสางเทวดา

    พระเจ้าสรองตะสันคัมโป ทรงรวบรวมชนชาติทิเบตเป็นปึกแผ่น ขยายอาณาเขตออกไปทางประเทศเนปาล และจีนตอนเหนือ

    ทรงทำสงครามกับประเทศจีน จนพระเจ้าถังไทจง ประทานราชธิดาให้เป็นมเหสี ขณะพระเจ้าอังศวร กษัตริย์เนปาล ก็ประทานพระราชธิดาให้เป็นมเหสีก่อนแล้ว

    ชาวทิเบตยกย่องพระเจ้าสรองตะสันคัมโป เป็นพระอวโลกิเตศวร (พุทธมหายาน) ยกย่องสองพระมเหสี เป็นนางดาราขาว และนางดาราเขียว

    จุดเริ่มของการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายาน ตันตระ กับลัทธิบอนปะ ก่อเกิดเป็นลัทธิ “ลามะ”

    เป็นที่มาของพระลามะขลัง…เสกถ้วยสุราลอยเข้าปากองค์จักรพรรดิ

    ยกฐานะทิเบตประเทศเล็กๆเป็นมหาอำนาจรบกับอินเดียและจีนได้อย่างองอาจหาญกล้า

    มีคนไม่ชอบประโยค ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ อ่านเรื่องนี้แล้ว ผมว่าจะต้องเชื่อเอาไว้บ้าง ประโยชน์ของความเชื่อ ใช้ปกครองประเทศให้ยิ่งใหญ่ได้ อย่างน้อยก็ในยุคสมัยหนึ่ง.

    กิเลน ประลองเชิง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1397497
     

แชร์หน้านี้

Loading...