ปรัชญาภควัทคีตา

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 6 กันยายน 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ปรัชญาภควัทคีตา<o:p></o:p>
    § ภควตฺ = พระผู้เป็นเจ้า คีตา=บทเพลง ** ภควทฺคีตา คือ บทเพลงแห่งพระผู้มีพระภาค<o:p></o:p>
    § เป็นบทร้อยกรอง 701 โศลก รวม 18 อัธยายะ<o:p></o:p>
    § อัธยายะ 1-6 ว่าด้วย มรรควิธีสู่ความหลุดพ้น<o:p></o:p>
    อัธยายะ 7-11 ว่าด้วย การประกฎองค์ของพระเจ้า<o:p></o:p>
    อัธยายะ 12-18 ว่าด้วย ความรักที่พระเจ้ามีต่อมวลมนุษย์ (คำสอนใหม่ ในฮินดู)
    § ช่วงเวลาที่รจนาไม่ชัดเจน สันนิษฐานว่าราว 200 B.C. (Garbe)<o:p></o:p>
    § นักวิชาการเห็นแย้งกัน Dr. Whecler : ราวยุคศาสนาพราหมณ์ (ก่อนพุทธกาล) และต่อเนื่องมาถึงสมัยฮินดูปฏิรูป (หลังค.ศ.1)<o:p></o:p>
    § ภควัทคีตาเป็นส่วนหนึ่งของภีษมบรรพ ในมหาภารตะ ภควัทค่ตาแยกเป็นคัมภีร์ต่างหากเนื้อความ พระกฤษณะสอนปรัชญาแก่อรชุน<o:p></o:p>
    § ภควัทคีตาได้รับอิทธิพลจากอุปนิษัท สรรพอุปนิษัททั้งหลายคือฝูงโค ผู้รีดนมคือ ศรีกฤษณะ ลูกโคคือ อรชุน ซึ่งเป็นผู้เสวยนม และน้ำนมคือคีตา<o:p></o:p>
    § อาตมัน / <o:p></o:p>
    § โยคะ3 <o:p></o:p>
    § พรหมัน / ปรมาตรมัน<o:p></o:p>
    § อวิทยา ข สังสาระ / วิทยา โมกษะ<o:p></o:p>
    § ภควัทคีตาเป็นคัมภีร์ประเภท สมฤติ มนุษย์แต่งขึ้น ตางจาก ศรุติ”<o:p></o:p>
    § นอกจากอุปนัทแล้ว ภควัทคีตายังได้รับอิทธิพลจาก ปรัชญาสางขยะ และโยคะ<o:p></o:p>
    § ประกฤติ และปุรุษะ<o:p></o:p>
    § อิทธิพลกระแสที่ 3 ภควัทคีตาได้รับจาก ภาควตะ(Bhagavata) คัมภีร์ปุราณะที่อยู่ในช่วงก่อนพุทธกาล<o:p></o:p>
    § จุดเด่นของคำสอนในคีตา ให้มนุษย์คลายความสับสน คลายความกลัวหรือความไม่มั่นใจ สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ เมื่อถึงภาวะวิกฤต หรือ คับขัน<o:p></o:p>
    § การประสานความเชื่อระหว่าง สคุณพรหม กับนิรคุณพรหม<o:p></o:p>
    § ความ เชื่อตามคตินิยมพื้นฐาน เช่น ความเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษ การมีผู้สืบทอด การที่ทายาทอุทิศ ส่วนกุศลในชีวิตหลังความตายและระบบวรรณะตามคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์
    จริยศาสตร์แห่งภควัทคีตา<o:p></o:p>
    1. ละกาม ปราศจาก อหังการ มมังการ <o:p></o:p>
    ผู้ใดละกามทั้งปวงเสียได้ ไม่มีความปรารถต่อสิ่งใด ไม่มีมมังการ อหังการ ผู้นั้นย่อมถึงศาสติแน่แท้” <o:p></o:p>
    ผู้ใดไม่มีอหังการ และมีปัญญาไม่ติดอยู่ในสิ่งใดๆ ผู้นั้นแม้จะฆ่าประชาโลกนี้เสีย ก็ชื่อว่าเขาไม่ได้ฆ่าใคร และไม่มีใครฆ่าเขา<o:p></o:p>
    2. ทิพยสมบัติ คุณสมบัติของเทพนิกาย เป็นสิ่งควรบำเพ็ญ / อสุรสมบัติ - คุณสมบัติของอสุรนิกาย เป็นสิ่งพึงห่างไกล<o:p></o:p>
    ความไม่กลัว ความบริสุทธิ์แห่งใจ การปรนนิบัติตามหลักรู้ ทาน ทมะ (การบังคับอินทรีย์ภายนอก) ยัชญะ สาธยาย ตบะ ความซื่อตรง”<o:p></o:p>
    อหิงสา สัตย์ ความไม่โกรธ การบริจาค ศานติ การไม่ส่อเสียด ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย การไม่หวั่นไหวแห่งอินทรีย์เมื่อสัมผัสกับอารมณ์ ความอ่อนโยน ความละอาย ความไม่ล่อกแล่ก”<o:p></o:p>
    เตช(กำลังใจ กษมา(การไม่ถือโทษผู้อื่น) ธฤติ(ความมั่นคง) เศาจะ(ความสะอาด) อัทโรหะ(ความไม่ริษยา) ความไม่ยกตนข่มท่าน ภารตุ! เหล่านี้เป็นสมบัติของผู้เกิดมาเพื่อความเป็นเทพ”<o:p></o:p>
    ความดื้อด้านจองหอง(ทัมภะ) ความทะนงตน(ทรรปะ) อติมานะ โกรธ ปารุษยะ (การพูดหยาบกระด้าง) และอัชญาน(ความไม่รู้) เหล่านี้แหละ ปราถ! เป็นสมบัติของผู้เกิดมาเพื่อความเป็นอสูร<o:p></o:p>
    3. การทำงานโดยสลัดความปรารถนาที่เห็นแก่ตัว (นิษกามกรรม) เหนือความดี ความชั่วทั้งปวง<o:p></o:p>
    สิ่งที่ท่านกระทำ สิ่งที่ท่านบริโภค สิ่งที่ท่านบูชา สิ่งที่ท่านถวายและสิ่งที่ท่านกระทำตบะ แนะ เกานฺเตย! สิ่งนั้นท่านจงมอบถวายให้แด่อาตมา”<o:p></o:p>
    ท่าน จะพ้นจากพันธกรรมอันให้ผลดี และไม่ดี ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านผู้มีจิตประกอบแล้วด้วยสันยาสโยคะ (การสละผลทุกๆสิ่งแด่อาตมา) หลุดพ้นแล้ว จักเข้าถึงอาตมาได้<o:p></o:p>
    4. การวางตนเสมอในทวันทวธรรม (Duality)<o:p></o:p>
    ผู้ใดวางตนสม่ำเสมอในศัตรูและมิตร ในการได้รับความนับถือ และถูกดูหมิ่น มีความสม่ำเสมอในหนาว ร้อน สุข ทุกข์ เว้นจากการคลุกคลี”<o:p></o:p>
    คน ที่วางตนให้เท่ากันในนินทา และสรรญเสริญ มีความนิ่ง มีความสันโดษทุกอย่าง ไม่ติดที่อยู่ มีความเห็นหนักแน่น มีความภักดี ย่อมเป็นที่รักแห่งอาตมา”<o:p></o:p>
    ผู้ไม่มีความชิงชัง (ไม่ยินดียินร้าย) ไม่หวังผลใดๆ ท่านถึงทราบเถิดว่า ผู้นั้นเป็นสันยาสี เป็นผู้สละกรรมทุกเมื่อ มหาพาหุ! เพราะว่าผู้ที่ไม่มีทวันทวธรรม ย่อมพ้นจากเครื่องผูกพันได้โดยง่าย”<o:p></o:p>
    อรชุน! ผู้ใดเห็นสุข หรือทุกข์ ในทุกๆ สิ่งเสมอด้วยสุข หรือทุกข์ของตนเอง ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบรมโยคี<o:p></o:p>
    5. ประกอบโยคะ 3 ชญานโยค กรฺมโยค และภักฺตโยค<o:p></o:p>
    § กรรมโยคะ ตั้งอยู่บนฐานของชญานโยคะ สนับสนุนด้วยภักติโยคะ<o:p></o:p>
    § สาระแห่งกรรมโยคะ คือ ยัญ ทาน และตบะ<o:p></o:p>
    ยัญใด อันผู้ไม่หวังผลบูชาอยู่ตามวิธี โดยตั้งใจว่าเป็นสิ่งที่ควรบูชาเท่านั้น ยัญนั้นเป็นของผู้ประกอบด้วย สัตวะ”<o:p></o:p>
    ยัญใด อันถูกบูชาเพื่อมุ่งผลหรือเพื่ออวดตัวเอง ภรตเศรษฐีจงทราบเถิดว่ายัญนั้นเป็นของผู้ประกอบด้วย รชะ”<o:p></o:p>
    ตบะที่ทำด้วยความโง่เขลา ด้วยการเบียดเบียนตนเอง และทำลายผู้อื่น ชื่อว่าเป็นตบะของผู้ประกอบด้วยตมะ”<o:p></o:p>
    § ญาณวิทยาแห่งภควัทคีตา<o:p></o:p>
    § ที่มาของความรู้ ได้รับอิทธิพลจากสางขยะ<o:p></o:p>
    § ความรู้ที่ถูกต้อง ประมา คือ รู้ตามจริง ไม่คลาดเคลื่อน<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    § องค์ประกอบ 3 อย่างของการรับรู้<o:p></o:p>
    1. ประมาตา (subject) ได้แก่ผู้รู้ (ปุรุษะ)<o:p></o:p>
    2. ประเมยะ (object) ได้แก่ อารมณ์ที่รู้ คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์<o:p></o:p>
    3. ประมาณ (source of knowledge) เครื่องมือให้ได้ความรู้<o:p></o:p>
    - ประเภทของความรู้<o:p></o:p>
    1. ประจักษประมาณ (Perception)<o:p></o:p>
    2. อนุมานประมาณ (Inference)<o:p></o:p>
    3. ศัพทประมาณ (Testimony)<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>อนุศาสน์จากมหาภารตะ<o:p></o:p>
    เราไม่ต้องการ ให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติต่อเราเช่นไร เราก็ไม่ควรประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นต่อผู้อื่นด้วย”<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นศาสนา อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นวินัย อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นการปฏิบัติธรรม อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นการเสียสละ อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นความสุข อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นสัตยะ อันสูงสุด<o:p></o:p>
    การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น เป็นย่อมมีคุณค่าสูงกว่าพิธีกรรมทางศาสนาทุกประการ”<o:p></o:p>
    จงอย่าบิดบังความผิด เพราะความผิดที่บิดบังจะทวีประมาณ และ ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น”<o:p></o:p>
    ประกฤติจัดเป็นกรณะ(เหตุ) ในการสร้างการยะ(ผล) ปุรุษะจัดเป็นเหตุในการเสวยสุข และทุกข์”<o:p></o:p>
    § ปุรุษะ เป็นธาตุรู้ เป็นตัวผู้ทำกรรม และเสวยกรรม (เมื่อเกี่ยวข้องกับ ประกฤติ)<o:p></o:p>
    § ประกฤติ เป็นธาตุทางรูปธรรม ที่ไร้สติปัญญา มีแต่กิริยา<o:p></o:p>
    § ส่วนปุรุษะ เป็นธาตุทางนามธรรมที่ไร้กิริยา มีแต่สติปัญญา
    <o:p></o:p><v:line id="_x0000_s1028" style="z-index: 3; left: 0px; position: absolute; text-align: left;" to="3in,14.3pt" from="198pt,14.3pt"><v:stroke endarrow="block"></v:stroke></v:line><v:line id="_x0000_s1027" style="z-index: 2; left: 0px; position: absolute; text-align: left;" to="153pt,14.3pt" from="135pt,14.3pt"><v:stroke endarrow="block"></v:stroke></v:line><v:line id="_x0000_s1026" style="z-index: 1; left: 0px; position: absolute; text-align: left;" to="153pt,14.3pt" from="135pt,14.3pt"><v:stroke endarrow="block"></v:stroke></v:line>§ กรรมเกิดจากคุณในประกฤติทำให้เกิดปฏิกิริยา ก่อเกิดการกระทำ<o:p></o:p>
    § เอกภาพดำรงอยู่ด้วยการกระทำ<o:p></o:p>
    § หน้าที่ของแต่ละคนจะช่วยให้เอกภาพดำรงอยู่ต่อไปได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    § การ เกิดขึ้น มีขึ้นของสรรพสิ่งในจักรวาล เป็นการคลี่คลายตัวออกมาจากต้นเหตุหรือ ปฐมเหตุของมัน การแตกดับก็เป็นเพียงการกลับคืนสู่สภาวะเดิม<o:p></o:p>
    § ผลมีอยู่แล้วในเหตุ (สัตยาการยวาท)<o:p></o:p>
    § ธรรมชาติแท้ที่คู่กับประกฤติ คือ ปุรุษะ เป็นวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นธาตุรู้ เป็นพื้นฐานความรู้ทั้งปวงของมนุษย์<o:p></o:p>
    ท่านจงรู้ว่า ประกฤติ และปรุษะทั้งสองนี้ หาเบื้องต้นไม่ได้ และจงรู้ว่าวิการ และคุณะเกิดจากประกฤติ”<o:p></o:p>
    § สัจทวินิยม (Realistic Dualism)<o:p></o:p>
    § ประกฤติประกอบด้วยคุณ 3 อย่าง คือ สัตวะ รชะ ตมะ <o:p></o:p>
    ไม่มีสัตว์ผู้ใดจะหลุดพ้นไปจากคุณ 3 อย่างนี้ อันเกิดจากประกฤติ ทั้งในโลกนี้หรือในโลกสวรรค์ ในหมู่เทวดา”<o:p></o:p>
    § สัตวะ รชะ ตมะ มีความเปลี่ยนแปลงในสังสาระและจักรวาล<o:p></o:p>
    § หากอยู่ในภาวะปกติจะดำรงอยู่อย่างสมดุล จะไม่มีวิวัฒนาการเรียกว่า เป็นภาวะที่เป็นประกฤติแท้จริง<o:p></o:p>
    § ธาติที่มาจากประกฤติ 2 ระดับ : อปรา ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ มนัส พุทธิ และอหังการ / ปรา ได้แก่ ประธานเหตุแห่งชีวะ ปราประกฤตินี้ธำรงโลกไว้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    <o:p>ที่มาhttp://buddhist.igetweb.com/?mo=3&art=191574</o:p>

    <o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    [SIZE=-1]

    [/SIZE] <center>[SIZE=-1][​IMG]

    หนังสือภควัทคีตาฉบับภาษาสันสกฤต คัดลอกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19



    [​IMG]
    พระกฤษณะสำแดงร่างเป็นพระนารายณ์ ขณะสอนอนุศาสน์ภควัทคีตาแก่อรชุน[/SIZE]</center> [SIZE=-1]


    ภควัท คีตา เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า" นำเรื่องราวส่วนหนึ่งมาจากมหากาพย์มหาภารตะ ประกอบด้วยบทกวี 700 บท

    การดำเนินเรื่อง

    คัมภีร์ นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะ เหมือนดังคัมภีร์พระเวทแต่ละเล่ม แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล 2 คน ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่งมหากาพย์มหาภารตะ

    ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระ จากฝ่ายเการพแห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน

    ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และ กองทัพพันธมิตรมากมาย เป็นศัตรูคู่สงครามด้วย ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบายตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์ สาขายาทพ

    ในขณะที่ตอบปัญหา อันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสญชัย ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ

    โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษี กฤษณไทวปายน เป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ

    เพราะฉะนั้นข้อความสนทนา ระหว่างบุคคลทั้งสอง ในสนามรบก่อนจะเริ่มมหาสงครามจึงเป็นถ้อยคำที่ สญชัยเรียบเรียงทูลถวายพระเจ้าธฤตราษฎร์ และมาให้ชื่อกันในภายหลังว่า ภควัทคีตา ทั้ง ๆ ที่ชื่อเดิมในมหาภารตะเรียกข้อความตอนนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท (ภควตฺ + คีตา + อุปนิษทฺ)

    ด้วยเหตุที่มีข้อความ หลายตอนคัดลอกมาจาก คัมภีร์อุปนิษัท ฉบับต่างๆ อันเป็นหมู่คัมภีร์รุ่นสุดท้ายในสมัยพระเวท ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (ที่สุดแห่งพระเวท) ตลอดจนความคิดเรื่องอาตมัน ปรมาตมัน พรหมัน

    อัน เป็นแก่นหรือสาระสำคัญที่สุดในคำสอนของอุปนิษัททุกเล่ม ก็มีกล่าวถึงหลายต่อหลายครั้งในภควัทคีตา จะแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ว่าข้อความในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นแต่งเป็นภาษา ร้อยแก้ว แต่ในคัมภีร์ภควัทคีตาแต่งเป็นบทร้อยกรอง

    ถ้าจะกล่าวโดยแท้ จริงแล้ว คำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา เกือบครึ่งเล่มเป็นคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท และอีกกว่าครึ่งเล่มเป็นคำสอนแบบของพวกภาควตะ ซึ่งบูชาพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดในนิกายของตน

    และคำสอนแบบดังกล่าว นี้มีมานานแล้ว ในหมู่พวกภาควตะอันเป็นชนอารยันอินเดียเผ่าหนึ่ง ต่อมาพวกนิกายไวษณพ หรือพวกที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุด ได้ผนวกเอาพระกฤษณะเข้าไปเป็นพระวิษณุอวตาร หรือนารายณ์อวตารปางที่ 8

    คำ สอนของพวกภาควตะซึ่งเน้นในเรื่องความนับถือพระกฤษณะ เป็นเทพสูงสุดก็ถูกกลืนเข้าไปผสมผสาน กับแนวความคิดของพวกไวษณพที่มีส่วนในการแต่งมหากาพย์มหาภารตะ อยู่มากมายหลายตอน

    จึงปรากฏออกมาในรูปภควัทคีตาดังที่ปรากฏ เป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้ และการที่จะเรียกหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท หรือ ภควัทคีตา หรือ คีตา เฉย ๆ ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของคนอินเดียนิกาย ไวษณพ ในรูปแบบของบทสนทนาที่มีข้อความเกือบทั้งหมด

    เป็นคำอธิบาย เรื่องวิถีทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด ส่วนบทที่เป็นคำถามของพระอรชุนในเรื่องความลึกลับ และวิถีทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กน้อยเหลือเกิน

    คล้าย ๆ กับเป็นบทเชื่อมต่อระหว่างคำอธิบายอันยืดยาว แต่ละตอนของพระเจ้าในร่างมนุษย์คือพระกฤษณะเท่านั้นเอง

    คัมภีร์ภควัทคีตา แบ่งออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า อัธยายะ รวมทั้งสิ้น 18 อัธยายะด้วยกัน


    ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=05-2010&date=24&group=62&gblog=3[/SIZE][SIZE=-1] [/SIZE]
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]
    ภาพสงครามการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และ ฝ่ายอธรรม ส่วนหนึ่งจากมหากาพย์มหาภารตะ : wikipedia


    บทนำก่อนเข้าสู่ "ภควัทคีตา"
    -------------------------------------------------------------

    การนำเนื้อหาในหน้านี้ไปเผยแพร่ยังเว็บไซต์อื่น สามารถทำได้
    โดยต้องมีข้อความให้ความขอบคุณแก่เว็บไซต์สยามคเณศ
    และให้ทำ Link กลับมายังเว็บไซต์ http://www.siamganesh.com ด้วยทุกครั้ง
    ห้ามนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ใดๆโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    [​IMG]

    บทสรรเสริญองค์กฤษณะและองค์รามะ

    ฮะเร คริชณะ ฮะเร คริชณะ
    คริชณะ คริชณะ ฮะเร ฮะเร
    ฮะเร รามะ ฮะเร รามะ
    รามะ รามะ ฮะเร ฮะเร

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    เนื้อหาใน ภควัทคีตา คือ วรรณกรรมทิพย์ ที่อยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งมวลในโลกและจักรวาลนี้
    เราควรอ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วน
    เมื่อเราได้ปฏิบัติตามหลักแห่งชีวิตที่นำเสนอใน ภควัทคีตา อย่างถูกต้องแล้ว
    เราจะเป็นผู้มีอิสระ หลุดพ้นจากความทรมานและความทุกข์ยากในชีวิตทั้งปวง
    บทโศลกแต่ละบรรทัด แต่ละบท จะช่วยขับกล่อมและปลอบประโลมจิตใจที่เหนื่อยล้า
    ให้กลับมามีความสดใสและชื่นบานได้อย่างน่าอัศจรรย์!!!

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    องค์กฤษณะจะรับผิดชอบต่อสรรพชีวิตที่น้อมคารวะแด่พระองค์
    และจะทรงอภัยต่อบาปทั้งมวลที่มนุษย์ได้สั่งสมไว้..


    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึง องค์กฤษณะ ได้ แม้จะเป็นพ่อค้า แม่ค้า หญิงที่ตกต่ำ ชนชั้นแรงงาน
    แม้จะเป็นผู้ที่มีชีวิตที่ด้อยค่าที่สุด หากยอมรับและภักดีต่อองค์กฤษณะและทวยเทพทั้งหลายในศาสนาพราหมณ์
    ยอมรับว่าชีวิตของตนนั้นได้ถูกสร้างมาจากน้ำมือของพระเป็นเจ้า
    ยอมรับว่าชีวิตของตนนั้นสามารถถูกทำลายโดยน้ำมือของพระเป็นเจ้า
    ยอมรับว่าองค์กฤษณะและทวยเทพต่างๆนั้นเป็นผู้อยู่เหนือชะตากรรมของตน

    และตั้งมั่นให้พระองค์เป็น เป้าหมายสูงสุดในชีวิต ก็ย่อมได้รับการอภัยโทษ ได้รับความสุขอันเป็นนิรันดร์
    ปัญหาในชีวิตทั้งมวลย่อมถูกขจัดปัดเป่าให้มลายหายสิ้น ชีวิตที่สมบูรณ์และสิริมงคลก็จะเกิดแก่ตนตราบจนสิ้นลมหายใจ..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    มนุษย์เราอาจจะชำระล้างร่างกายด้วยน้ำสะอาดทุกๆวัน ก็เพียงเพื่อความสะอาดทางกายเท่านั้น

    แต่การได้อาบน้ำในแม่น้ำอันศักดิ์สิทธิ์แห่ง ภควัทคีตา เพียงครั้งเดียว
    ความสกปรกทางด้านจิตวิญญาณของเราก็จะถูกชำระจนหมดสิ้น..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    ภควัทคีตา
    ได้สอนเราว่า เมื่อมนุษย์ทำบาป ย่อมได้รับผลจากบาปที่ตนกระทำ
    เมื่อมนุษย์ทำดี ย่อมได้รับผลดีจากการกระทำของตนเช่นกัน ทั้งสองสิ่งนี้คือข้อกำหนดจาก พระเจ้าสูงสุด
    แต่ทั้ง กรรมดี และ กรรมชั่ว นี้ จะก่อให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิด
    ซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดนี้ก็ก่อให้เกิด ความทุกข์
    ปรัชญาใน ภควัทคีตา จึงสอนให้มุ่งเน้นไปสู่องค์พระผู้เป็นเจ้า (ซึ่งไม่จำเป็นต้องคือพระกฤษณะเท่านั้น)
    การมุ่งสู่องค์พระเป็นเจ้า ก็เพื่อการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    มีกายและจิตที่เป็นทิพย์และจะพบกับความสุขตลอดกาล..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ภควัทคีตา คือคัมภีร์ที่เรียกได้ว่าเป็นบทสรุปแห่งคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั้งปวง
    ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์พระเวท ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท อาถรรพ์เวท
    คัมภีร์สังหิตา พราหมณะ อารัณยกะ คัมภีร์อุปนิษัท เวทานตะ ปุราณะ ฯลฯ
    ปรัชญาใน ภควัทคีตา เป็นการรวบยอดเอาคำสอนที่กระจัดกระจายในคัมภีร์ต่างๆดังกล่าว มารวมไว้ในเล่มเดียว
    ภควัทคีตา จึงเปรียบได้ว่าเป็น หัวใจ แห่งคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูก็ไม่ผิดนัก..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    เนื่องด้วย ภควัทคีตา นี้เป็นส่วนหนึ่งใน มหากาพย์มหาภารตะ
    เมื่ออ่านจบแล้ว เราก็ควรอ่านและศึกษาเรื่อง มหาภารตะ เพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจในปรัชญาของชีวิตอย่างเข้มข้น
    มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ชั้นเยี่ยม เป็นวรรณกรรมอมตะที่อ่านสนุกน่าติดตาม
    ทั้งนี้ การอ่าน ภควัทคีตา ให้จบก่อน มหาภารตะ ก็ไม่เป็นการผิดขั้นตอนแต่อย่างใด..
    (มหาภารตะ จะถูกแปลและเรียบเรียงให้อ่านในเว็บไซต์สยามคเณศแห่งนี้ต่อไปเมื่อจบโครงการแปล ภควัทคีตา นี้แล้ว)

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    ผู้ที่เชื่อในคำสอนของคัมภีร์ ภควัทคีตา ไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาฮินดู หรือศาสนาพุทธแต่อย่างใด
    คำสอนในภควัทคีตาถือเป็น "ความจริง" ที่อยู่เหนือการนับถือศาสนาทุกศาสนา
    แต่อยู่ภายใต้การนับถือ "องค์พระผู้เป็นเจ้า" ซึ่งอาจจะเรียกว่า พระกฤษณะ พระตรีมูรติ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ
    เพราะเราเชื่อในความจริงอันสูงสุด ซึ่งความจริงอันสูงสุดนี้ก็หมายถึงว่า...
    ชีวิตของมนุษย์ทุกคนล้วนเกิดจากพระผู้เป็นเจ้า
    ซึ่งพระเจ้านั้นอาจจะเป็น พระยะโฮวาห์ (ศาสนาคริสต์) พระอัลเลาะห์ (ศาสนาอิสลาม)
    พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระตรีมูรติ พระกฤษณะ ฯลฯ (ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู)
    และการศิโรราบต่อองค์พระเป็นเจ้าที่ตนนับถือนั้น คือสิ่งที่ควรทำ
    การได้เป็นผู้รับใช้พระเจ้าในศาสนาของตน คือหนทางไปสู่ความสุขอันสูงสุด ดังที่ทุกศาสนาได้สอนไว้ในแง่เดียวกัน

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    เนื้อหาใน ภควัทคีตา คือความจริง คือข้อควรปฏิบัติ คือกฏแห่งการใช้ชีวิต คือระเบียบที่ควรยึดถือปฏิบัติอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้
    ทั้งนี้ การนำแต่ละบท แต่ละบรรทัด ใน ภควัทคีตา มาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
    ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลเวลา
    การศึกษา ภควัทคีตา โดยดึงเอามาประยุกต์ใช้ทีละส่วน จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่เครียดเกินไปนัก..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    ควรสร้างความรู้สึก สำนึก ในพระกรุณาของพระผู้เป็นเจ้าหรือเทพเจ้าที่ตนนับถือ
    แต่ไม่จำเป็นต้องเป็น องค์พระกฤษณะ เท่านั้น อาจจะเป็น พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระแม่สรัสวดี ฯลฯ ก็ได้
    เนื่องจากพระเป็นเจ้าทุกพระองค์ที่ปรากฎพระนามในโลกนี้ ล้วนเป็นหนึ่งเดียว
    เพียงแต่พระองค์ปรากฎมาในภาคที่แตกต่างกันเพื่อแสดงปาฏิหาริย์โน้มน้าวให้ มนุษย์หันหน้าเข้าหาพระองค์มากขึ้น
    ความรู้สึกสำนึกในพระกรุณาของพระเป็นเจ้าที่ตนนับถือ จะส่งผลให้การศึกษา พระคัมภีร์ภควัทคีตา ดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด
    ความศรัทธาที่เรามีจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในความสุขที่จะได้รับจากการศึกษาคัมภีร์นี้..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    การที่เรามีคนดีอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง
    การที่เรามีคนชั่วอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง
    การที่มีคนที่มีความสุขอยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง
    การที่มีคนที่มีความทุกข์อยู่ในโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง
    การที่มีการเกิดชีวิตใหม่ๆขึ้นบนโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง
    การที่มีการดับสูญไปของแต่ละชีวิตบนโลกนี้ เป็นข้อพิสูจน์ว่า พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่จริง..


    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    มหาตมะคานธี
    คือผู้มองโลกอย่างเป็นกลางที่สุด...เขาเชื่อในพระเจ้าทุกพระองค์ และ อ่านคัมภีร์มาแล้วทุกศาสนา
    คานธีเคยกล่าวไว้ว่า ศาสนาทุกๆศาสนามีอยู่จริง
    พระเจ้าทุกๆพระองค์มีอยู่จริง...ทุกๆศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นความจริงทั้งสิ้น
    ผู้ใดจะนับถือศาสนาใด ก็ควรนำเอาหลักของศาสนานั้นๆมาปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิต
    ควรหันหน้าเข้าหาพระเจ้า มีความสำนึกในพระเจ้าของตน และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนา
    รวมถึงไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้ใครมาอยู่ในศาสนาของตน เพราะแต่ละคนย่อมมีชะตาที่เข้ากับแต่ละศาสนาไม่เหมือนกัน
    ถ้าทำได้ดังนี้ ความสุขในแต่ละศาสนาก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน และสงครามทางศาสนาก็คงจะไม่อุบัติขึ้นแน่นอน..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ภควัทคีตา เป็นได้ทั้งคัมภีร์ มหากาพย์ บทความ เรียงความ
    บทกลอน บทเพลง วรรณกรรม สุดแล้วแต่จะเรียกและเปรียบเทียบ
    เนื้อหาในภควัทคีตาสะท้อนปรัชญาแห่งชีวิตออกมาได้อย่างลึกล้ำ และยากที่จะมีผู้ใดเขียนขึ้นได้อีก
    สิ่งใดไม่มีกล่าวไว้ใน มหาภารตะ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
    ธรรมใดไม่มีกล่าวไว้ใน ภควัทคีตา ธรรมนั้นไม่มีในโลก!!


    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    ชีวิตคือการต่อสู้..ภควัทคีตาคือคู่มือเพื่อการต่อสู้

    นักรบ กษัตริย์ แม่ทัพ และผู้นำทุกคนควรอ่านและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้เพื่อประโยชน์ในการต่อสู้กับสิ่งเลวร้าย
    มนุษย์ผู้แสวงหาทางรอดและความพ้นจากวงเวียนของบาปกรรมทุกคนควรศึกษาคัมภีร์ภควัทคีตา..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    โศลกทุกบทใน ภควัทคีตา สามารถตอบคำถามทางจริยธรรม คุณธรรม และบาปกรรมได้อย่างถ่องแท้
    ปรัชญาในภควัทคีตาจึงเป็นความสุขที่ลึกซึ้ง
    และเป็นความปรารถนาที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคน..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ศัมการา (Shamkara) คือผู้ที่มองว่า คัมภีร์ภควัทคีตา นั้นสอนให้เรารู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม
    สอนว่าสิ่งที่บังตาเราทั้งหลายอยู่นั้นคือ บาป
    และการหลุดพ้นจากบาปนั้นต้อง มุ่งตรงต่อพระผู้เป็นเจ้า (มหาเทพ-มหาเทวี)
    อวิชชา และ อวิทยา คือสิ่งที่ขัดต่อการปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากบาป
    การขจัดอวิชชาและอวิทยาได้ก็จะเข้าสู่ พรหมมัน เข้าสู่ ปรมาตมัน
    ปรมาตมัน ก็คือความจริงอันสูงสุด นั่นคือ ความสุขอันเป็นนิรันดร์ นั่นเอง..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    รามนุจา (Ramanuja) คือผู้ที่มองว่า คัมภีร์ภควัทคีตา คือบทเพลงที่ขับกล่อมจิตวิญญาณให้เข้าใจถึงพื้นฐานแห่งปรัชญา
    ภควัทคีตา ได้พูดถึงความรักแห่งพระเป็นเจ้า ทั้งความรักที่พระเป็นเจ้ามีต่อเรา และความรักที่เราควรมีต่อพระองค์
    การได้พึ่งพา ภควัทคีตา ก็คือการพึ่งพาความรักจากองค์พระเป็นเจ้า และไม่ต้องพึ่งคัมภีร์เล่มใดอีกเลย..

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    พระกฤษณะ
    คือ บุคลิกภาพแห่งพระเจ้าสูงสุด
    คือ ตัวแทน แห่งองค์พระเป็นเจ้าทุกพระองค์ในจักรวาล
    คือผู้มอบความสุขอันสูงสุดและเป็นนิรันดร์แก่มนุษย์
    การมอบความภักดีแด่ พระกฤษณะ ก็คือการมอบความภักดีแก่ พระผู้เป็นเจ้า
    พระผู้เป็นเจ้าจะประทานความรัก ความเมตตา และคำพรอันประเสริฐทั้งมวลผ่าน องค์พระกฤษณะ มาสู่มนุษย์
    ผู้ที่น้อมคารวะและปฏิบัติ โยคะ หรือ ภักดี ต่อ องค์พระกฤษณะ ก็ย่อมได้รับคำพรตามคำอธิษฐานจากพระผู้เป็นเจ้า
    สิ่งนี้คือความจริงที่หลีกเลี่ยงและปฏิเสธไม่ได้..

    ที่มา http://www.siamganesh.com/BhagavadGita-00.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 กันยายน 2010
  3. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    ปรัชญาภควัทคีตา ๒

    ปรัชญาภควัทคีตา ๒
    จาก ปรัชญาภควัทคีตา ๑ ซึ่งผู้เขียนนำเสนอวัฎฎจักรแห่งความสมดุล ก็อ่านย้อนกลับมาจากโศลกเดิมในบทที่ ๓ เจอบางโศลกบอกว่า
    เมื่อแรกที่พระประชาบดีพรหมทรงเนรมิตโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ขึ้นพร้อมกับทรงบัญญัติพิธีให้เป็นแบบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ว่า
    "ด้วยยัญกรรมนี้ สูเจ้าทั้งหลายจะรุ่งเรืองและสมบูรณ์พูนสุขด้วยสิ่งอันตนปรารถนาทุกประการ"
    เพราะ เหตุนี้แล มนุษย์จึงควรเกื้อหนุนเหล่าเทพยดาด้วยยัญพิธี ด้วยว่าเทพทั้งหลายเมื่อได้รับการบำรุงอุปถัมภ์จากมนุษย์เช่นนั้นแล้วก็จัก อำนาวยผลตอบแทนแก่ผู้ที่เซ่นไหว้ตน เมื่อต่างฝ่ายต่างก็จุนเจือกันและกันเช่นนั้น ทั้งสองฝ่ายย่อมจะประสบสิ่งดีงามร่วมกัน
    ตามแนวคิดอินเดียโบราณบอกว่าโลกนี้มีกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนวางไว้ เพื่อการดำเนินไปตามความสมดุล เรียกกันว่า ฤตะ .... และกฎระเบียบนี้ จะมีเทพเจ้าคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามความเหมาะสม เพราะถ้ามีแต่เพียงกฎ แต่ไม่มีผู้ควบคุมกฎแล้ว กฎนั้นๆ ก็จะไร้ความหมาย (ทำนองว่า เมื่อมีกฎจราจรแล้ว ก็ต้องมีตำรวจจราจรคอยควบคุมด้วย ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีใครปฏิบัติตาม)
    ตามโศลกที่ยกมา นั่นคือ มนุษย์จะต้องคล้อยตามกฎและผู้ควบคุมกฏซึ่งเรียกว่า การประกอบยัญพิธี... ครั้นแล้วเทพยตาก็จะควบคุมกฎระเบียบให้เป็นไปตามความเหมาะสมตามความต้องการ ของมนุษย์ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกื้อหนุนซึ่งกันและกันนั่นเอง....
    .....
    แต่โศลกต่อมาบอกไว้ว่า....
    ผู้ใดได้รับการหนุนส่งจากเทพยดาแล้วลืมตนไม่ตอบแทนการเกื้อกูลจากสวรรค์นั้น ผู้นั้นนับว่าเป็นมหาโจรแท้
    นั่น คือ เมื่อมนุษย์ลืมตนไม่ประกอบยัญพิธีตามความเหมาะสม ปฏิบัติตนเองคล้ายกับจอมโจรผู้ปล้นชิงและทำลายล้าง ก็จะทำให้สวรรค์หรือเทพยดาจะต้องปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อความเหมาะสมต่อ ไป.....
    ............
    ดังได้เล่ามาแล้วใน ปรัชญาภควัทคีตา ๑ ว่า ยํญพิธี อาจแปลความหมายเป็นการปฏิบัติตามหลักธรรมชาติ หรือการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับธรรมชาติก็ได้... การที่โลกปัจจุบันมีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นมากมายเพราะมนุษย์ประกอบยัญพีิธี หรือดำเนินชีวิตผิดแผกไปจากธรรมชาติ ทำให้ธรรมชาติต้องปรับตัวเองเพื่อความสมดุล....
    ประเด็น นี้ อาจมองได้ว่า มนุษย์ไม่เคารพเทพยดาด้วยการปฏิบัติผิดตามกฎธรรมชาติ เป็นการไม่เกื้อกูลต่อเทพยดา ทำให้เทพยดาเดือดร้อน ดังนั้น สวรรค์หรือเทพยดาจึงต้องพยายามวางกฎระเบียบใหม่ให้เกิดความเหมาะสม....
    นั้น คือ เมื่อมนุษย์ไม่เกื้อกูลต่อเทพยดาแล้ว เทพยดาก็จะไม่เกื้อกูลมนุษย์ี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อมนุษย์ปฏิบัติผิดต่อธรรมชาติแล้ว ธรรมชาติก็ย่อมปฏิบัติผิดต่อมนุษย์ ทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งสองฝ่าย.... ประมาณนี้



    ที่มาBM.chaiwut - ปรัชญาและศาสนา - ปรัชญาภควัทคีตา ๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...