ปฐมนิเทศ มงคลชีวิต 38 ประการ หามาให้อ่านกันค่ะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เสาวนีย์, 10 พฤศจิกายน 2004.

  1. เสาวนีย์

    เสาวนีย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +251
    ปฐมนิเทศมงคลชีวิต แนะนำที่มาของมงคล ๓๘ ประการ

    ม ง ค ล คื อ อ ะ ไ ร ?

    มีผู้รู้หลายท่านกล่าวว่า มงคล คือทางก้าวหน้า ความสุข ความเจริ_

    สำหรับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้ความหมายไว้ว่า มงคล คือเหตุที่นำมาซึ่งความเจริ_

    คำว่า มงคลชีวิต จึงรวมความได้ว่า คือเหตุแห่งความสุขและความเจริ_ก้าวหน้าของชีวิต เป็นสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นข้อควรประพฤติปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่ ๓๘ ประการด้วยกัน

    ม ง ค ล : เ ห ตุ แ ห่ ง ค ว า ม เ จ ริ _ ก้ า ว ห น้ า

    ความเจริ_ก้าวหน้าแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ

    ๑. ความเจริ_ก้าวหน้าในโลกนี้ เช่น เมื่อเป็นเด็กก็ประสบความสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียน เมื่อเติบโตขึ้นก็สามารถตั้งฐานะได้ มีทรัพย์สมบัติมาก มีชื่อเสียง มีตำแหน่งหน้าที่การงานดี มีครอบครัวดี เป็นต้น

    ๒. ความเจริ_ก้าวหน้าในโลกหน้า หมายถึง เป็นผู้สั่งสมบุ_กุศลไว้ดี เมื่อละจากโลกนี้ ก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

    ๓. การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นความเจริ_ก้าวหน้าในระดับสูงสุด

    การปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต จะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเจริ_ก้าวหน้าทั้ง ๓ ระดับนี้ เพราะผู้ปฏิบัติตามหลักมงคลชีวิต โดยเนื้อหาก็คือ เป็นการหลีกเลี่ยงเหตุแห่งความเสื่อมทั้งหลาย และทำความดีด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องสูง ทำให้เกิดสติและปั__า อันเป็นเครื่องทำลายอุปสรรคของชีวิต ตลอดจนความชั่วความบาปต่างๆ จึงส่งผลเป็นความเจริ_ก้าวหน้าทั้งชาตินี้ ชาติหน้า จนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

    ม ง ค ล สู ต ร : คู่ มื อ ก า ร เ ท ศ น์

    การเทศนาสั่งสอนของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในด้านการอบรมสั่งสอนประชาชน ท่านจะนิยมใช้มงคลสูตรเป็นแม่บทในการเทศน์ เพราะไม่ยากและไม่ง่ายเกินไป ยกตัวอย่างเช่น

    พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริ_ ก็ใช้มงคลสูตร เป็นแนวทางในการเทศน์สอนอบรมประชาชน

    สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) ก็ได้แต่งตำรามงคลสูตร เพื่อใช้อบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร และประชาชน

    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากด้านการเทศนาสั่งสอน ก็อาศัยมงคลสูตรเป็นแม่บทเช่นกัน

    นอกจากนี้ก็ยังมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่ใช้มงคลสูตรเป็นแม่บท ทั้งในการเทศน์และการแต่งตำรา

    ย้อนหลังไปสมัยพระเจ้าเม็งรายมหาราช มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระสิริมังคลาจารย์ ได้แต่งตำรามงคลสูตรเป็นภาษาบาลี ซึ่งต่อมาได้ใช้สำหรับเป็นคู่มือในการเทศน์สอน และใช้เป็นแบบเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในปัจจุบัน

    แสดงว่ามงคลสูตรนี้ เหมาะสมแก่การศึกษาด้วยประการทั้งปวง คือ

    ประการที่ ๑ สะดวกในการทำความเข้าใจ เพราะคนไทยมีพื้นฐานธรรมะอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ทราบว่า เรื่องที่เรียนรู้มาอยู่ในหมวดไหน เมื่อมาศึกษาอย่างเป็นระบบตามมงคลสูตร จึงง่ายต่อการที่จะเข้าใจ

    ประการที่ ๒ เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ เพราะเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ผู้ศึกษามงคลสูตรนี้ สามารถนำไปปฏิบัติได้เป็นลำดับๆ เหมือนขึ้นบันไดทีละขั้นจนถึงจุดสูงสุดได้

    เ ห ตุ ที่ ต้ อ ง เ รี ย น ม ง ค ล สู ต ร

    มีสิ่งที่น่าคิดอยู่ประการหนึ่งคือ การเกิดมาเป็นคน เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูงๆ เพื่อให้มีสติปั__า ที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายโดยไม่ติดขัด เท่านี้ยังไม่พอ ยังไม่แน่ว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่มีอยู่ในโลกทั่วไปเป็นความรู้เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง คือเลี้ยงส่วนที่เป็นกายเท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นใจยังไม่มีอะไรไปเลี้ยง

    เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคั_อยู่ ๒ ส่วน คือกายและใจ ในเมื่อกายต้องการอาหารไปเลี้ยง เพื่อให้พ้นจากโรคคือความหิว และให้ร่างกายเกิดความเจริ_เติบโตขึ้น ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหาร คือธรรมะมาหล่อเลี้ยง เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง และเพื่อยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น จะได้พบกับความสุข ควบคู่ไปกับการประกอบอาชีพทำมาหากิน

    ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องมาเรียนธรรมะโดยเฉพาะเรื่องมงคลสูตร เพราะ ไม่เพียงมีความสำคั_ดังกล่าวแล้ว ยังง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปฏิบัติตามอีกด้วย

    ที่ ม า ข อ ง ม ง ค ล

    ย้อนหลังไป ๒๖ ศตวรรษ ประชาชนชาวชมพูทวีป สมัยนั้นกำลังตื่นตัว ในการค้นคว้าปั_หา เกี่ยวกับชีวิตจิตใจ เช่น คนเราเกิดมาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขในชีวิต ทำอย่างไรจึงจะมีความสำเร็จในการทำงาน ฯลฯ มีการชุมนุมกันตามสวนสาธารณะบ้าง ประตูเมืองบ้าง จตุรัสต่างๆ บ้าง เพื่ออภิปรายในปั_หาเหล่านี้กันอย่างกว้างขวาง

    เมื่อมีผู้อภิปรายมากเข้า หลายคนก็หลายความคิด และต่างก็โฆษณาเผยแพร่ความคิดของตัว ใครมีคนเชื่อตามมาก ก็กลายเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ ลูกหากันคนละมากๆ

    ขณะที่การชุมนุมสาธารณะกำลังเฟื่อง การอภิปรายกำลังเป็นไปอย่างครึกครื้น ปั_หาต่างๆ ได้ถูกฟาดฟันด้วยวาทะคมคายเรื่องแล้วเรื่องเล่า

    โดยไม่มีใครคาดฝัน ได้มีผู้เสนอ_ัตติสำคั_เข้าสู่วงอภิปรายว่า

    "อะไรคือมงคลของชีวิต"

    ดูรูปปั_หาแล้วก็ไม่น่าจะหนักหนาอะไร แต่เมื่อมีผู้เสนอตัวขึ้นกล่าวแก้ กลับถูกผู้อื่นกล่าววาทะหักล้างอย่างไม่เป็นท่า

    "ท่านทั้งหลาย โปรดฟังทางนี้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล"

    นักอภิปรายผู้หนึ่งนามว่า ทิฏฐมังคลิกะ เสนอตัวขึ้นในที่ชุมนุม

    "รูปที่ตาเห็นนี้แหละเป็นมงคล ลองสังเกตดูซิ เมื่อเราตื่นแต่เช้าตรู่ ได้เห็นนกบินเป็นฝูงๆ พระอาทิตย์ขึ้น ต้นไม้เขียวๆ เด็กเล็กๆ น่ารัก สิ่งที่เราเห็นนี้แหละเป็นมงคล"

    พอทิฏฐมังคลิกะกล่าวจบลง นักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ สุตมังคลิกะก็กล่าวหักล้างทันทีว่า "ช้าก่อน ท่านทั้งหลายอย่าเพิ่งเชื่อ ที่นายทิฏฐมังคลิกะกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ ถ้าสิ่งที่ตาเห็นเป็นมงคลแล้ว เวลาเรามองเห็นอุจจาระ ปัสสาวะ คนเป็นโรค สิ่งเหล่านี้ก็ต้องเป็นมงคลด้วยซิ มันจะเป็นไปได้อย่างไร"

    "ต้องหูซิท่าน เสียงที่หูฟังนี่แหละเป็นมงคล ตื่นเช้าเราก็ได้ฟังเสียงนกร้องบ้าง เสียงเพลงบ้าง เสียงแม่หยอกล้อเล่นกับลูกบ้าง เสียงพูดเพราะๆ บ้าง เสียงลมพัดยอดไม้บ้าง ฯลฯ เสียงที่หูได้ฟังจึงเป็นมงคล" สุตมังคลิกะกล่าว

    ไม่ทันขาดคำ ก็มีนักอภิปรายอีกคนหนึ่งชื่อ มุตมังคลิกะกล่าวแย้งทันที ว่า "เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเสียงที่หูได้ยินเป็นมงคล อย่างนั้นเวลาเราได้ยินคนด่ากัน คนขู่ตะคอก คนโกหกมดเท็จ เสียงเหล่านี้จะเป็นมงคลด้วยหรือ"

    "ต้องอารมณ์ที่ใจเราทราบซิท่านจึงจะเป็นมงคล พึงสังเกตว่า ตื่นเช้าเราได้ดมกลิ่นดอกไม้หอมๆ จับต้องสวมใส่เสื้อผ้าสะอาดๆ รับประทานอาหารอร่อยๆ เป็นอารมณ์ที่ใจเรารับรู้ รับทราบ นี่แหละจึงเป็นมงคล"

    ทันควันอีกเหมือนกัน นักอภิปรายอีกคนก็แย้งทันทีว่า "เป็นไปไม่ได้ ถ้าอารมณ์ที่ใจเรารับรู้เป็นมงคลแล้ว อย่างนั้นเวลาเราได้กลิ่นเหม็นๆ จับของ สกปรก คิดเรื่องชั่วร้าย อารมณ์ตอนนั้นจะเป็นมงคลไปด้วยหรือ"

    ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องมงคล ได้แผ่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางทั่วแคว้น ในบ้าน ในสภา ในสโมสร ในหมู่คนเดินทาง ฯลฯ ปั_หาเรื่องมงคลได้ถูกนำขึ้นมาถกเถียงกันอยู่ทั่วไป

    ไม่เฉพาะมนุษย์ แม้พวกเทวดาได้ยินมนุษย์ถกเถียงกันก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกันบ้าง ตั้งแต่เทวดารักษามนุษย์ ภุมมเทวา อากาศเทวา ตลอดจนเทวดาบนสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น จนถึงพรหมโลก ต่างก็นำเรื่องมงคลมาถกเถียงกัน ปั_หามงคลนี้ได้กลายเป็นมงคลโกลาหล ร่ำลือกันกระฉ่อนไปหมด ทั่วทั้งมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก แต่ก็ไม่มีใครชี้ขาดได้ว่าอะไรเป็นมงคลของชีวิต

    แต่มีพรหมอยู่พวกหนึ่ง คือพรหมชั้นสุทธาวาส พรหมชั้นนี้เมื่อสมัยเป็น มนุษย์ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จึงทราบดีว่าอะไรเป็นมงคล แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ ได้แต่ป่าวประกาศให้เทวดาทั้งหลายทราบว่าอีก ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นในโลก ให้คอยถามปั_หามงคลนี้กับพระองค์

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ_าณแล้ว คืนหนึ่งขณะที่ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถี ท้าวสักกเทวราชได้นำหมู่เทวดาเข้าเฝ้า และบั_ชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งทูลถามพระองค์ว่า อะไรคือมงคลของชีวิต

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดงหลักมงคล ซึ่งมีทั้งหมด ๓๘ ประการ มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยึดถือวัตถุ แต่ยึดถือการปฏิบัติฝึกฝนตนเอง

    แม้หลักมงคลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะประกอบไปด้วย เหตุผลอย่างสมบูรณ์ ไม่มีใครสามารถหักล้างได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า คณาจารย์ นักคิด เจ้าลัทธิทั้งหลายจะล้มเลิกความคิดเดิม หันมาเชื่อพระองค์ทุกคน เพราะล้วนแต่หนาแน่นด้วยทิฏฐิกันทั้งนั้น แม้จะรู้ตัวว่าผิด แต่ยังยืนยันวาทะของตนอยู่ และสานุศิษย์ของแต่ละสำนักก็ยังทำการเผยแพร่อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง ประกอบกับนิสัยของคนเรามีความขลาดประจำตัวอยู่แล้ว ชอบทำอะไรเผื่อเหนียว ไว้ก่อน จึงมีผู้ยอมรับนับถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เกิดเป็นมงคล ๒ สาย พัวพันกันมาจนถึงปัจจุบันคือ

    ๑. มงคลของนักคิด เรียกว่า มงคลมี ยึดถือเอาว่า การมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นมงคล ซึ่งแต่ละที่แต่ละสมัยก็ยึดถือต่างๆ กันไป ไม่มีอะไรแน่นอน ของบางอย่าง บางที่ถือเป็นมงคล บางที่อาจถือว่าเป็นอัปมงคลก็ได้

    ๒. มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรียกว่า มงคลทำ ยึดถือเอาการปฏิบัติฝึกฝนตนเองเป็นเกณฑ์ เป็นสัจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลง ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วย่อมได้ผลแน่นอน

    มงคลของนักคิดนั้น มีผู้เสนอขึ้นมาแล้ว ก็มีผู้โต้แย้งลบล้างไป แล้วก็มีผู้เสนอขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อยๆ จนหาข้อยุติไม่ได้ แต่มงคลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงแล้ว ก็ไม่มีใครสามารถหาเหตุผลมาลบล้างได้ แม้ พระองค์จะทรงเปิดโอกาส ให้คัดค้านวิพากษ์วิจารณ์ได้ตลอดเวลา ดังความในบทสรรเสริ_พระธรรมคุณ ที่ว่า "เอหิปัสสิโก เชิ_มาพิสูจน์เถิด"

    จบปฐมนิเทศมงคลชีวิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...