ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 13 ธันวาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    [​IMG]
    <CENTER class=n>
    พระไตรปิฎก เล่ม ๔</CENTER>
    มหาวรรค ภาค ๑
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: 6px groove; BORDER-TOP: 6px groove; BORDER-LEFT: 6px groove; BORDER-BOTTOM: 6px groove" cellSpacing=0 borderColorDark=#996600 width=28 align=center borderColorLight=#fdaf31 border=6><TBODY><TR><TD width=16>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER class=n>
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น</CENTER><CENTER>
    มหาขันธกะ
    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ</CENTER> [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น
    อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    (การเกิดขึ้นของทุกข์)
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    (การดับไปแห่งทุกข์)
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๑
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พุทธอุทานคาถาที่ ๓
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น
    ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได
    ดุจพระอาทิตย์อุทัย ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
    <CENTER> จบ. โพธิกถา</CENTER>
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <CENTER>(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒)</CENTER>

    ..............อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพจน์นี้ไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้.
    ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม แล.
    ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕
    เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย.
    การกำจัดความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ
    การละความกำหนัด ด้วยสามารถความพอใจ ใน
    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล.
    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล
    คำสอนของพระผู้มีพระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
    ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
    ชื่นชมยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จาก"พุทธอุทาน"ที่บังเกิดขึ้น ทรงชี้ถึงธรรมหรือสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปีติในญาณหรือการหยั่งรู้ทั้ง ๓ ครั้งดังนี้
    "รู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ" อันคือ รู้ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายล้วนเกิดแต่มีเหตุมาเป็นปัจจัยกัน
    "ได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย" กล่าวคือ เมื่อสิ้นเหตุปัจจัย ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายก็ย่อมดับไป
    "ย่อมกำจัดมารและเสนาเสียได้ ดุจพระอาทิตย์อุทัยทำอากาศให้สว่าง" อันคือย่อมกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทานเสียได้
    ดุจดั่งพระอาทิตย์ที่ย่อมขับไล่ความมืดมัว อันจักทำให้โลกสว่างไสวและอบอุ่น
    หรือพอสรุปกล่าวได้ว่า
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่งหรือธรรมเหล่านั้นก็ดับไปเป็นธรรมดา


    นัตถิ ปัญญาสมา อาภา
    แสงสว่าง เสมอด้วยปัญญาไม่มี
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จาก
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    และ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ

    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นอาสวะกิเลส?

    อาสวะกิเลส เหล่านี้อันมี
    ๑. โสกะ ความโศก โศรกเศร้า แห้งใจ หดหู่ใจ โศรกเศร้าจากการเสื่อมหรือสูญเสียต่างๆเช่น โศกเศร้าของผู้ที่เสื่อมสุข เสื่อมญาติ เสื่อมทรัพย์ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค เสื่อมศีล เสื่อมทิฏฐิ เสื่อมยศ ฯลฯ.
    ๒. ปริเทวะ ความครํ่าครวญ โหยหา รํ่าไรรําพัน พิรี้พิไรรําพัน อาการของความอาลัยอาวรณ์คิดคํานึงถึงในสุขหรือทุกข์ในอดีตที่เสื่อมหรือสูญเสียไปแล้ว เช่นโหยหา, อาลัย, ครํ่าครวญถึงสุข, ความสนุก, ญาติ, ทรัพย์, เกียรติ ฯลฯ.ที่เสื่อมหรือดับไปแล้วแต่อดีต อันอยากให้เกิดหรือไม่อยากเกิดขึ้นอีก
    ๓. ทุกข์ ความทุกข์ทางกาย ความไม่สบายกายทั้งหลาย ความจดจําได้ ความกลัว ในความเจ็บปวด ความป่วยไข้ การบาดเจ็บ
    ๔. โทมนัส เศร้าใจ เสียใจ ความทุกข์ทางจิต ความไม่สําราญทางจิต อารมณ์ไม่ดีเป็นทุกข์ หดหู่ เศร้าหมอง เกิดแต่ไม่ได้ตามใจปรารถนา
    ๕. อุปายาส ความขุ่นเคือง คับแค้นใจ ขุ่นข้อง เช่น ความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ขุ่นเคือง หรือเกิดจากความคับแค้นใจหรือถูกเบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ หรือไม่ได้ดังใจปรารถนา
    อาสวะกิเลสที่เกิดจากความทุกข์เหล่านี้ที่หมักหมม นอนเนื่อง ซึมซ่าน ย้อมจิต เป็นตัวกระตุ้น เร่งเร้า ขับไส ผลักดันเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง กระตุ้นสังขารให้ผุดขึ้นหรือเจตนาขึ้นมาอันเป็นเหตุปัจจัยอันก่อให้เป็นทุกข์ ปล่อยให้เป็นไปจนเป็นทุกข์ตามขบวนการเกิดของทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท(ดูภาพการเป็นเหตุปัจจัยร่วมกัน) อันจักหมุนดําเนินต่อไปไม่รู้จักจบ จักสิ้น เนื่องจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจจึงหยุดวงจรแห่งทุกข์นั้นไม่ได้, และเหล่าอาสวะกิเลสเหล่านี้จะหมักหมม นอนเนื่องอยู่ในจิต ตามปกติจะมองไม่เห็นเช่น โกรธเกลียดใครอยู่คนหนึ่ง และไม่พบกันเป็นเวลานานๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปเป็นเวลาหลายปีเมื่อมาเจอกันอีก อาสวะกิเลส(อุปายาส-ความขุ่นข้อง คับแค้นใจ)ที่นอนเนื่องสงบอยู่ จนไม่เคยคิดว่ายังมีอยู่ จะเกิดขึ้นทันที เปรียบได้ดั่งนํ้าที่แลดูใสสะอาดแต่มีตะกอนนอนก้นอยู่ เมื่อมีสิ่งใดมากวนก็จะฟุ้งกระจายขึ้นมาแสดงความไม่บริสุทธิ์ให้เห็นทันที แต่มันไม่จบแค่นั้น มันร่วมเป็นปัจจัยกับอวิชชาความไม่รู้ให้ทํางานเริ่มวงจรของทุกข์...เริ่มสังขารในปฏิจจสมุปบาท เช่นความคิดที่เป็นทุกข์ ก่อทุกข์ใหม่ขึ้นอีกครั้ง ให้เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอีก, นอกจากตกตะกอนนอนเนื่องแล้วยังมีแขวนลอยเป็นเชื้อโรคอยู่ในจิตเฉกเช่นเดียวกับนํ้า ที่มีทั้งแขวนลอยและตกตะกอน อาการพวกแขวนลอยได้แก่มีอาการหดหู่ หงุดหงิดมีโทสะกรุ่นๆโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ขุ่นมัว เศร้าหมอง มักไม่เห็นเหตุที่เกิด นอกจากใช้ตาปัญญาเท่านั้น อาการอย่างนี้เป็นได้นานๆมาก ล้วนเป็นผลมาจากพิษภัยอันร้ายกาจของอาสวะกิเลส และเพราะอาสวะกิเลสนั้นก็เป็นสภาวะธรรมชาติที่เกิดจากความจํา(สัญญา)ดังนั้นจึงคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรม(ชาติ), เราจึงจําเป็นต้องมีวิชชาไม่ปล่อยไปตามอาสวะกิเลสนั้นๆ จนกว่าจักสิ้นอาสวะกิเลส(หมายถึงดับกิเลสโดยสัญญาจํายังมีอยู่ แต่ไม่มีผลใดๆต่อสภาวะจิตใจเนื่องจากเข้าใจสภาวะธรรมระดับสูงสุดแล้ว)เป็นการถาวร ดั่งนี้ท่านคงเห็นแล้วอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ชาติ)นั้นเป็นตัวสําคัญที่สุด เข้าใจยาก กําจัดยาก พระพุทธองค์จึงทรงจัดไว้ลําดับสุดท้ายใน สังโยชน์ ๑๐ (ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์)ที่ต้องกําจัดก่อนถึงนิโรธ
    แล้วธรรมอันใดเล่าที่เราจักนําไปใช้ในการปราบพญามารนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้อย่างชัดเจนแล้วในอริยสัจ๔ คือ มรรค๘ ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์(ดูอริยสัจ) อันจักต้องปฏิบัติเพื่อให้เกิดมรรค ๑๐ ในที่สุด (มรรคเพื่อการปฏิบัติมี๘ เพื่อยังให้เกิดมรรคมีองค์๑๐ของพระอริยเจ้า) ซึ่งจะขอเน้นองค์ธรรมที่สําคัญที่ใช้เป็นหัวกระบวนรบนี้ "โลกุตรสัมมาทิฏฐิ หรือ สัมมาญาณ อันเป็นมรรคองค์ที่๙ ซึ่งจะยังให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือ สัมมาวิมุตติอันคือสุขจากการหลุดพ้น(นิโรธ,นิพพาน)ของเหล่าพระอริยเจ้า" นั่นเอง ก่อนอื่นต้องขอกล่าวซํ้ากับเรื่องที่พูดในขันธ์๕เรื่องเวทนาไปแล้ว องค์ธรรมนี้ไม่ใช่องค์ธรรมในระดับศีล และธรรม หรือทางโลกทั่วๆไป(โลกียธรรม) เพราะอวิชชานั้นกล้าแกร่ง ต้องเป็นระดับโลกุตตระคือระดับเหนือโลก(มิได้หมายถึงอิทธิฤทธิ์)อันหมายถึงรู้เข้าใจตามสภาวะเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ ชึ่งจักบังเกิดขึ้นได้โดยวิธีโยนิโสมนสิการ หรือธรรมะวิจยะเท่านั้น คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายอันมีสติและสมาธิเป็นเครื่องสนับสนุน ไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการอ่าน การฟัง หรือเชื่อตามโดยศรัทธาฝ่ายเดียว ต้องเอาธรรม(ธรรมชาติ)เป็นข้อพิจารณาโดยตรงจนเชื่อมั่นชนิดถึงใจ กระแทกใจ เข้าไปอย่างลึกซึ้งถึงที่สุด กล่าวคือ จนเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นและเป็นไปเยี่ยงนั้นด้วยเหตุด้วยผลจริงด้วยตนเองเท่านั้น จึงจักกําหราบอวิชชาพญามารนี้ได้ เพราะในภาวะนี้เท่านั้นที่จะสามารถเปลี่ยนทัศนะคติ ความเชื่อ ความยึดถือ อุดมคติเดิมๆ ดังเช่น ทิฏฐปุาทานความยึดมั่นตามความเชื่อความเข้าใจของตัวของตน หรือสีลัพพตปาทานการเชื่อการปฏิบัติตามที่ยึดถือสืบต่อๆกันมา ที่มีและสั่งสมมาตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน หรือนานเสียจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้นให้คลายดับไป เป็นการเชื่อหรือเข้าใจอย่างถูกต้องดีงามตามธรรมนั้นๆ จึงจักสามารถปราบอวิชชานี้ได้อย่างเด็ดขาด มิใช่ใช้การกด,ข่มไว้ อย่างการใช้กำลังสมาธิกดข่มไว้ ซึ่งไม่เป็นการถาวร อันอุปมาดั่งหินทับหญ้า เมื่อยกหินออกเมื่อใดก็จักงอกงามขึ้นมาใหม่ ไม่เป็นไปเพื่อการกําจัดไปอย่างถาวรสิ้นเชิง, ดั่งนี้จึงจักเกิดความมั่นคงดุจหินผาในคุณธรรม เป็นนิรันดร์ตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2009
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

    มีสติชัดในกาย ในผัสสะ ในเวทนา ใด้ส่วนหนึ่ง

    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

    มีสติชัดใน สังขาร วิญญาน ชัดในอีกส่วนหนึ่ง

    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

    มีสติชัดในสัญญา ชัดในอีกส่วนหนึ่ง

    รู้ถ้วนทั่ว รู้ใน ขันธ์ รู้ในเหตุ รู้ในปัจจัย รู้ใน ทุข สมุทัย นิโรธ มรรค
    เมื่อเริ่มละลึกรู้ หรือมีสติ ใน ขันธ์ จึงเริ่มหนีจาก จึงเริ่มปล่อยวาง จึง..
    พุทธอุทานคาถาที่ ๒
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะได้รู้ความสิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
    [๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
    เป็นอนุโลมและปฏิโลมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    (ข้อความเหมือนดังเดิม)
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:<!-- google_ad_section_end -->

    และเพราะด้วยเหตุปัจจัยนี้

    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ


    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


    ส่วนสีน้ำเงินเกิดจากกานสานต่อของการทำงานของสัญญาขันธ์ ที่เราไม่สามารถวางมันลงได้เพราะด้วยความที่เรายังไม่รู้ มันจึงยังคงสานต่อและส่งต่อไปอีกเรื่อยๆจึงมี ชาติ
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    วิถีแห่งจิตใครเล่าจะอธิบายแยกแยะออกมาได้ดีละเอียดเท่าพระพุทธเจ้าอีก อันเป็นพุทธวิสัยออกมาสั่งสอนชาวโลก
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เราก้ได้เข้ามารับรู้ตามมาศึกษาตามคำสอน ท่าได้เห็นตามก้นับว่าดีมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...