บุกต้นน้ำน่าน-ปิดทองหลังพระ

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 1 พฤศจิกายน 2010.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    บุกต้นน้ำน่าน ปิดทองหลังพระ

    นุเทพ สารภิรมย์



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ชาวนาลงแขกเกี่ยวข้าว


    </TD></TR></TBODY></TABLE>น่าน จังหวัดทางภาคเหนือที่มีภูมิประเทศสวยงาม อดีตเคยเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางธรรมชาติ ทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์ และภูมิสังคม รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาขาต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงภาคกลาง

    ปัจจุบัน น่าน ประสบปัญหาอย่างรุนแรง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าต้นน้ำน่านกำลังถูกบุกรุกแผ้วถางทำลายเป็นจำนวนมาก

    เพื่อปรับเป็นพื้นที่ทำกิน จึงตามมาด้วยปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ผลที่ตามมาคือ เกษตรกรไม่มีกิน เป็นหนี้ และยากจนลง

    มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้นำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาขยายผลสู่การปฏิบัติงานจัดโครงการนำร่องแบบบูรณาการ

    เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นย้ำให้ประชาชนได้นำแนวพระราชดำริกลับไปพัฒนาตัวเอง และท้องถิ่นให้ดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

    โดยการนำเอาหลักการองค์ความรู้ 6 มิติ ทั้ง มิติน้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า สิ่งแวดล้อม และหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องการ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ซึ่งเป็นบันได 3 ขั้น ในการนำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

    เดือนมิถุนายน 2552 มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ จึงเดินหน้าประกาศภารกิจโครงการ "ปิดทองหลังพระ ณ ต้นน้ำน่าน" เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับดีขึ้น โดยนำเอาหลักแนวพระราชดำริแนวทางการปลูกข้าวนาขั้นบันไดมาใช้

    ล่าสุดช่วงเดือนก.ย.ที่ผ่านมา มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้จัดกิจ กรรมเยี่ยมชมการเก็บเกี่ยวข้าวนาแรกของฤดูกาล ภายหลังจากที่ได้ดำเนินโครงการมา 1 ปีกว่า พร้อมทั้งศึกษาประเพณีวัฒนธรรมพิธีทำขวัญข้าวของชาวนาบ้านป้าก อ.ท่าวังผา

    บรรยากาศที่บ้านป้าก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา ผืนนาข้าวกำลังตั้งท้องออกรวงสีทองเต็มทุ่งนา ไล่ เลียงลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้นบันได

    โดยช่วงแรกพ่อหมอสู่ขวัญประจำหมู่บ้านได้ทำพิธี สู่ขวัญเรียกขวัญข้าว เพื่อขอขมาลาโทษต่อพระแม่โพสพ และพระแม่ธรณี <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.นาขั้นบันได

    2.ทุ่งข้าวออกรวงสีทอง

    3.นาข้าว

    4.ลงแขกเกี่ยวข้าว

    5.เครื่องบวงสรวง

    6.ทำขวัญข้าว


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    บวงสรวงถวายข้าวใหม่ให้เจ้าที่เจ้าป่าเจ้าเขา ให้ช่วยปกป้องผืนนาของชาวบ้าน หลังจากนั้นชาวบ้านต่างช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ก่อนนำขึ้นไปไว้ยังลานกว้าง เพื่อบุบข้าวหรือฟาดเมล็ดข้าวออกจากรวง ก่อนนำไปจัดเก็บในยุ้งฉาง

    นายธนกร รัชตานนท์ ผู้จัดการสำนักงานโครงการปิดทองหลังพระจังหวัดน่าน กล่าวว่า โครงการได้เริ่มดำเนินการนำร่องในพื้นที่ 3 อำเภอ 21 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อ.สองแคว 3 หมู่บ้าน อยู่บนพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำยาว อ.ท่าวังผามี 3 หมู่บ้าน ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มน้ำจิ๋วสบสาย อ.เฉลิมพระเกียรติ ต.ขุนน่าน ทั้ง 15 หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำแม่น้ำน่าน รวมพื้นที่ 240,266 ไร่ 1,793 ครัวเรือน 8,588 คน

    บ้านป้ากมี 68 ครัวเรือน 221 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาบนที่ราบเชิงเขา และช่วง 5 ปีที่ผ่านมาในช่วงฤดูฝนเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าทำลายที่นาจนข้าวล่มสลายไม่มีเหลือให้เก็บเกี่ยว ฝายที่รัฐสร้างตามลำน้ำสบสายจำนวน 22 ฝายนั้น ถูกน้ำทำลายเหลือเพียง 4 ฝาย ส่วนในฤดูแล้วก็ไม่มีน้ำเหลือไว้ให้เพราะปลูก

    ชาวบ้านจึงต้องบุกรุกป่าปลูกข้าวโพดขาย เพื่อนำเงินมาซื้อข้าวกิน จนเกิดหนี้สินท่วมท้นเพราะไม่มีเงินไปคืน ปัจจุบันชาวบ้านป้ากมีหนี้รวมกันกว่า 10 ล้านบาท

    "ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เราส่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามเข้ามาสำรวจและพูดคุยกับชาวบ้าน เข้าไปฝังตัวเรียนรู้และศึกษาปัญหาร่วมชาวบ้านจนเกิดความเข้าใจตรงกัน หลังจากนั้นจึงกำหนดแผนงาน ระดมชาวบ้านมาร่วมกันจัดทำฝายเกเบรียลที่มั่นคงแข็งแรง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี ซึ่งฝายเกเบรียล เป็นฝายที่ทำจากตาข่ายลวด ลายรังผึ้งนำมาขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม ขนาดยาว 6.50 เมตร สูง 1.50 เมตร จากนั้นนำหินขนาดใหญ่ใส่เข้าไปภายใน นำไปยึดติดกับตลิ่งและบริเวณที่จะติดตั้งฝาย ก่อนนำท่อพีวีซีวางระบบส่งน้ำตามท่อเข้าไปยังพื้นที่การเกษตรของชาวบ้าน โดยทุกขั้นตอนจะเป็นการร่วมมือของชาวบ้านทั้งหมด"นายธนกรบรรยาย

    นายธนกร เปิดเผยว่า เดือนมิถุนายน 2553 เรานำเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวสันป่าตอง 1 ไปให้ชาวบ้านได้ปลูก เพราะมีคุณสมบัติรับแสงได้ดี ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตมาก พร้อมทั้งสอนขั้นตอนในการปรับผืนดินให้เป็นนาขั้นบันได <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.บ้านป้าครึกครื้น

    2.ฟาดเมล็ดข้าว

    3.ยุ้งฉาง

    4.โรงผลิตสารชีวภัณฑ์

    5.ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล

    6.ธนกร รัชตานนท์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้ ยังนำพืชเศรษฐกิจประจำถิ่น เช่น หวาย แหย่ง ต๋าวหรือลูกชิด และมะม่วงป่า ไปให้ชาวบ้าน เพื่อเอาไปเพาะปลูกทดแทนบนเขา เมื่อชาวบ้านมีนา ในนามีข้าว ชาวบ้านก็จะมีกิน สุดท้ายเขาก็จะหยุดไม่ขึ้นไปบุกรุกถางป่า ไม่เกิน 5 ปี ป่าจะฟื้นคืนกลับสู่สภาพดังเดิมตามธรรมชาติ

    "ฤดูเก็บข้าวปีนี้ชาวนาบ้านป้าก จะได้เกี่ยวข้าวนาแรก บนผืนนากว่า 382 ไร่ หลังจากที่ไม่ได้ทำนามานานกว่า 2 ปี ตรงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทำให้ชาวบ้านมีกิน ไม่ต้องกู้เงินไปซื้อข้าวกิน หลังจากนี้ไปชาวบ้านจะมีทั้งที่ทำกิน มีน้ำ มีนา มีข้าว มีกิน และเพื่อเพิ่มความมั่นคงเรายังส่งเสริมให้เลี้ยงหมูเหมยซาน เป็ดไก่พันธุ์ดี หลังจากนี้ชีวิตของชาวนาจะดีขึ้น ไม่มีหนี้สิน อยู่รอดอย่างพอเพียงและยั่งยืนต่อไป" นายธนกรสรุปปิดท้าย

    ด้าน ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และประธานมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ อธิบายว่า โครง การปิดทองหลังพระฯ กำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 84 พรรษา ในปี 2554 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี 2555 เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริ และน้อมนำเอาโครงการพระราชดำริของทั้งสองพระองค์ท่าน มาประยุกต์ปรับใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นของตัวเอง

    ม.ร.ว.ดิศนัดดา เล่าว่า โครงการปิดทองหลังพระฯ ที่ จ.น่าน ช่วงแรกเราเข้าไปศึกษาเรียนรู้ในแต่ละพื้นที่ของหมู่บ้าน ซึ่งเบื้องต้นเราจะเข้าไปดูความพร้อมของชาวบ้านว่า ชาวบ้านพร้อมจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาความยากจน ลุกขึ้นมาทำนาทำไร่ด้วยตัวเองหรือไม่ เพราะการจะแก้ปัญหาให้กับคนต้องดูความพร้อมของคนเป็นที่ตั้ง และเมื่อศึกษาเรียนรู้กับชาวบ้านแล้ว เราจะทราบว่าเขาต้องการอะไร

    หากชาวบ้านต้องการน้ำเราก็จัดหาน้ำให้ หากชาวบ้านต้องการฝาย เราก็จะหาฝายมาให้ แต่ทุกอย่างชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาทำกันเอง ส่วนโครงการจะวางแผนการบริหารจัดการให้อย่างเป็นระบบ

    "ปัญหาในพื้นที่ จ.น่านที่ผ่านมา คือการตัดไม้ทำลายป่าของชาวบ้าน แต่เพราะเป็นความอัตคัดต้องการที่จะหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว เพราะหากหนึ่งครอบครัวมี 5 คน เขาต้องใช้ ที่ดินในการเพาะปลูกประมาณ 100 ไร่ ถามว่า คนที่อยู่บนดอยบนเขามีกี่ครอบครัว นี่คือสาเหตุที่เขาบุกรุกป่า ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม‰ก็ไมˆกล้าที่จะเข้าไปจับกุม" คุณชายดิศนัดดากล่าว

    ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวอีกว่า ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาคือ การนำเอาโครงการพระราช ดำริเรื่องการทำนาขั้นบันได เข้าไปสอนให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ ทำให้ชาวบ้านมีหลักแหล่งทำกินที่มั่นคง เมื่อนั้นชาวบ้านก็จะไม่บุกรุกป่า

    ขณะนี้โครงการได้ดำเนินการไปแล้ว 240,000 ไร่ และการันตีได้ว่า อีกไม่นานเราจะได้พื้นป่าที่ จ.น่าน คืนมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เราจะพิสูจน์ให้เห็น แต่การดำเนินการดังกล่าวต้องค่อยเป็นค่อยไป

    ม.ร.ว.ดิศนัดดา บรรยาต่อว่า ความมุ่งหวังของโครงการมี 3 ขั้นตอน



    ขั้นตอนแรกต้องทำให้คนอยู่รอด สิ่งแรกปากกับท้องต้องมีกินโดยไม่ต้องกู้หนี้ ซึ่งเราสามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรมได้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี ส่วนปีที่ 3-4 ชาวบ้านจะเริ่มผ่อนชำระหนี้ได้หมด

    ขั้นตอนที่สองคือ การอยู่อย่างพอเพียงและเพียงพอ และเมื่ออยู่อย่างพอเพียงได้ชาวบ้านก็จะมีเงินเหลือพอเก็บ

    ในช่วงปีที่ 5-8 เข้าสู่ขั้นตอนที่สาม เรื่องระบบการพัฒนาแบบบูรณาการ ช่วงนี้เราจะส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มีการลงทุนอย่างเป็นระบบ ชาวบ้านจะมีโรงสีข‰าว มีโรงงานผลิตสินค้า และมีผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน เมื่อนั้นจ.น่านจะกลับมาพัฒนาแบบพอเพียง ยั่งยืน และมีความสุข ลูกหลานคนน่านก็จะไม่เข้าไปหางานในกรุงเทพฯ

    "เมื่อถึงวันที่ 5 ธ.ค.54 และวันที่ 12 ส.ค.55 ซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของทั้งสองพระองค์ท่าน เราคงไม่มีของขวัญอะไรที่จะทูล เกล‰า ฯ ถวายให้พระองค์ได้ดีไปกว่าการที่เราเข้าไปสัมผัสเรียนรู้โครงการพระราชดำริ และนำไปแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน และชาวบ้านหมดหนี้หมดสิน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งสองพระองค์คงมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง"

    "ส่วนโครงการปิดทองหลังพระฯ ยังจะเร่งทำภารกิจสำคัญ 2 โครงการให้สำเร็จ ภายใต้โครงการพัฒนาในถิ่นทุรกันดารให้ได้ล้านจุด และโครงการปลูกป่า 80 แสนไร่ เพื่อ 80 พรรษาพระราชินี" ม.ร.ว.ดิศนัดดากล่าว


    -----------
    col01011153p1.jpg
    col01011153p2.jpg
    col01011153p3.jpg



    -------------
    ข่าวสดออนไลน์
    �ء�鹹�ӹ�ҹ �Դ�ͧ��ѧ��� : ����ʴ�͹�Ź�==
     
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอให้สำเร็จด้วยดีนะค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...