บำเพ็ญภาวนาควบคุมจิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย newhatyai, 29 กันยายน 2007.

แท็ก: แก้ไข
  1. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    พวกเราก็ได้เสียสละกันมาแล้ว มุ่งหวังที่จะมาทำความดี ก็ขอให้พวกเราตั้งใจทำความดีกันเท่าที่พวกเราจะทำได้อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ได้นั่งสงบจิต สงบใจ ฟังอุบายวิธีที่จะแนะนำให้ ในปฏิปทาที่พวกเราจะดำเนินต่อไป คือว่าอุบายการบำเพ็ญ อาตมาก็เคยอธิบายมาหลายปี ตั้งแต่การให้ ทาน รักษา ศีล และเจริญเมตตาภาวนาก็ได้อธิบายสู่กันฟังเสมอมา เรื่องทานการบริจาค รู้สึกเข้าใจกันดีมาก เรื่องการรักษาศีล พวกเราก็รักษากันอยู่เสมอ ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี พวกเราก็รักษากันเท่าที่พวกเราจะกระทำได้ แต่สำหรับอุบายการดำเนินทางด้านสมาธิจิต หรือภาวนานี้ รู้สึกว่าบางท่านบางคนก็ยังไม่เข้าใจดี แต่บางคนผู้ที่เข้าใจในทางภาวนาก็อาจจะเข้าใจแต่ว่าผลของการภาวนานี่มันดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ ความจริงแล้วพูดถึงเรื่องการบำเพ็ญภาวนา มันเป็นของดีมาก จะยกรูปเปรียบเอามาเล่าสู่ฟังง่ายๆ ควาย.ซึ่งมีเจ้าของต้องตามเลี้ยงดูกับควายที่ไม่มีเจ้าของต้องตามดูแล หากในเมื่อปล่อยออกไปแล้วมันจะผิดกัน ควายที่ไม่มีเจ้าของตามดูนะ มันอาจไปกินข้าวของๆ คนอื่น หรือเจ้าของๆ ข้าวอาจจะทุบตีมัน หรืออาจจะฆ่ามันเสียให้ตายก็ได้ หรือควายที่ไม่มีเจ้าของตามดูแล อาจจะไปเป็นอันตรายเช่น สัตว์ร้ายอาจจะกัดตาย คือ งูและเสือ เป็นต้น อย่างนี้ก็อาจจะเป็นได้ หรือควายที่ไม่มีเจ้าของตามดูแล โจรอาจจะลักขโมยไปก็ได้ นี่หมายความว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีการบำเพ็ญภาวนา ก็คล้ายกันกับควายที่ไม่มีเจ้าของตามดูแล ย่อมจะเป็นอันตราได้หลายอย่าง แต่สำหรับคนที่บำเพ็ญภาวนา ก็คล้ายกันกับว่าควายที่มีเจ้าของตามดูแล หากในเมื่อมันจะเข้าไปใกล้ข้าวของๆ คน เจ้าของก็จะต้อนหรือไล่ออกเสีย หรือหากในเมื่อมันจะเข้าไปใกล้ในสถานที่อันตราบ เช่น สัตว์ร้ายจะกัดก็ดี เจ้าของก็อาจจะต้อนหรือป้องกันให้ได้ หรือโจรจะมาลักขโมย หากในเมื่อเจ้าของเขาเห็นเข้าวูบวาบ หรือขโมยมาเห็นเจ้าของซะ มันก็ไม่อาจที่จะขโมยไปได้ ฉันใด บุคคลที่มีการบำเพ็ญภาวนาก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือว่าพูดง่ายๆ จิตใจของเรานี่ถ้าหากไม่มีสิ่งใดตามรักษาดูแลแล้ว ปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของจิตใจแล้ว มันจะเต็มไปด้วยภัยอันตราย เช่น อย่างไร จะอธิบายหลักให้ฟังว่า ผู้ใดที่ไม่บำเพ็ญภาวนา ไม่ได้สร้างกำลังตัว ตะปะธรรม หรืออริยมัคคุเทศก์หรือตัวนำพานี่ขึ้นมา เพื่อจะนำพาจิตใจของเราโน้มเข้าสู่ธรรมแล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดา อย่างที่พวกเราเคยปล่อยมาแล้ว มันจะเป็นไปด้วยภัยอันตราย เช่น มีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น เขาด่าเราก็ดี ถ้าเราไม่มีกำลังยับยั้งแล้ว มันก็จะเป็นไปตามอำนาจของเหตุการณ์ บางทีก็ต้องชวนทะเลาะกันถึงต่อยตีกัน หรือบางทีอาจจะฆ่ากันตายก็ได้ หรือหากมีผู้ใดมาชวนไปในทางที่ผิด ก็ย่อมจะเป็นไปตามความต้องการของจิตได้ นั่นเป็นอย่างนั้น แต่สำหรับผู้บำเพ็ญภาวนานี่ อาศัยกำลังของตะปะธรรมตัวนำพา ซึ่งต้องพิจารณาก่อนเมื่อไปเห็นเหตุซึ่งแสดงบทบาทหรือเหตุการณ์ที่จะชวนให้เราโกรธ ควรหรือไม่ควร สำหรับผู้บำเพ็ญภาวนา ซึ่งสามารถสร้างกำลังของตะปะธรรมขึ้นมาได้แล้ว ย่อมเอากำลังส่วนนี้มาพิจารณาก่อนว่า จะประกอบด้วยโทษหรือประกอบด้วยคุณจะเป็นไปเพื่อผลดีหรือผลเสีย จะต้องมาทบทวนก่อน หากในเมื่อไม่ควร จะต้องอาศัยกำลังของธรรม หรือตะปะธรรม หรือ ตัวอริยมัคคุเทศก์ ที่สร้างขึ้นมานี่ มาหักห้ามจิตของเรา ไม่ให้เป็นไปตามอำนาจของเหตุการณ์หรือไม่ให้เป็นไปด้วยความต้องการของจิตที่ผิดอีก ย่อมมีกำลังยับยั้งได้ หรือบุคคลใดใครผู้หนึ่งจะชวนเราไปในทางที่ถูก หากในเมื่อเรากำลังของ ตะปะธรรมที่เราสร้างขึ้นมา คอยยับยั้งจิตของเราคอยพิสูจน์ถึงผลดีและผลเสีย หากในเมื่อเราดำเนินไปแล้วจะเกิดผลดีหรือผลเสียนั้น จะต้องมาพิสูจน์และยับยั้ง หากในเมื่อบุคคลที่มาชวนเรานั้น จะชวนไปในทางที่ผิด ประกอบด้วยโทษ กำลังของตะปะธรรมที่เราสร้างขึ้นมา ต้องยับยั้งจิตของเราทันที หากในเมื่อไม่ควรแล้ว ก็ตัดออก นี่เป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้น สำหรับบุคคลที่มีการบำเพ็ญภาวนา สร้างกำลังของตะปะธรรมขึ้นมาได้แล้ว ก็ย่อมมีประโยชน์อย่างนี้ แต่สำหรับบุคคลผู้ไม่บำเพ็ญภาวนา ไม่มีกำลังส่วนยับยั้งแล้ว ก็ย่อมเป็นไปตามอำนาจของเหตุการณ์หรือย่อมเป็นไปตามอำนาจของโลก แล้วแต่เหตุการณ์จะชวนไป เหตุการณ์จะชวนให้รักหรือเหตุการณ์จะชวนให้ชัง เหตุการณ์ที่จะนำพาเข้าไปสู่ความทุกข์ความเดือดร้อน ก็แล้วแต่เหตุการณ์จะนำพา ก็เป็นอันว่าลุอำนาจและเป็นไปตามเหตุการณ์ เมื่อเหตุการณ์ชวนเป็นไปในทางที่ประกอบทุกข์ ก็เป็นอันว่าเผชิญความทุกข์ไปตามกำลังของกรรมที่กระทำ ย่อมเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีการบำเพ็ญภาวนามีกำลังตัวนำพา มีกำลังตัวยับยั้งมีอริยมัคคุเทศก์นำพานั้น ย่อมจะเป็นไปเพื่อผลประโยชน์อันดีงาม ปราศจากสิ่งที่เป็นทุกข์ปราศจากสิ่งที่เป็นเวร ปราศจากสิ่งที่จะนำพาให้เป็นไปเพื่อความเดือดร้อน ให้กำลังส่วนนำพายับยั้ง คล้ายกันอย่างที่ว่า ควาย.ที่มีเจ้าของตามรักษากับไม่มีเจ้าของตามรักษา ควายที่ไม่มีเจ้าของตามรักษา มันไปด้วยอำนาจของมันเอง มันย่อมมีภัยอันตรายอยู่รอบด้าน ดังกล่าว อาจจะไปกินข้าวของๆ คนอื่น หรืออาจสัตว์มันจะกัดซะ หรือโจรอาจจะขโมยไปซะ อย่างนี้อาจจะเป็นไปได้ แต่สำหรับ ควาย.ที่เจ้าของตามดูแลรักษานั้น ย่อมปลอดภัย จะไปกินข้าวของๆ คนอื่น เจ้าของควายก็จะต้อนหรือว่ากางกั้นเอาไว้ หรือจะเข้าไปหาสัตว์ ที่มันจะกัดหรือเป็นอันตราย เจ้าของก็จะคอยป้องกัน หรือไม้ให้โจรขโมยไปได้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญภาวนา ก็ย่อมมีประโยชน์ดีอย่างนี้ เราก็มองเห็นได้ ดังเหตุผลหรือรูปเปรียบที่ยกมาเล่าสู่ฟังว่า ควาย.มีเจ้าของตามดูแลรักษา กับควายที่ไม่มีเจ้าของตามดูแลรักษา ก็เหมือนกัน ฉันนั้น เพราะฉะนั้นพวกเราผู้ต้องการความดี ก็ขอให้ดำเนินให้เป็นไปในทางด้านสมาธิจิต สร้างกำลังของตะปะธรรมนี้ขึ้นมา ให้ได้ให้พอกับความต้องการ แล้วเอามายับยั้งใจของเรา อย่าให้เป็นไปตามอำนาจของเหตุการณ์ พยายามคอยป้องกันเอาไว้แลอย่าให้เป็นไปในทางที่ประกอบด้วยโทษ เป็นไปเพื่อความทุกข์ความเดือดร้อน เป็นไปเพื่อประกอบด้วยเวรขอให้กำลังของตะปะธรรมที่เราสร้างขึ้นมานี่ คอยยับยั้งหรือป้องกันเอาไว้เสมอ ถ้าพวกเราทำได้อย่างนี้ การดำเนินของพวกเราก็ไม่ขาดทุน นี่อาตมาอธิบายเหตุผลให้ฟัง ในอุบายถึงวิธีการบำเพ็ญ และยกรูปเปรียบมาเล่าสู่ฟัง พวกเราก็ว่าอย่างนั้นแหละ ฝนมันก็ตก ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง บางคนที่อยู่ไกลๆ ก็รำคาญ เพราะฉะนั้น อาตมาก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรดี เพราะฉะนั้นอาตมาเองก็อยากจะยุติการบรรยายธรรมลงเพียงแค่นี้ เอวังฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...