เรื่องเด่น บรรยายธรรมแก่ชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราด

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 27 พฤศจิกายน 2024 at 19:42.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,534
    ค่าพลัง:
    +26,371


    บรรยายธรรมแก่ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราด

    วันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น.
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน รองเจ้าคณะอำเภอทองผาภูมิ (๒) ประธานชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลท่าขนุน ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอทองผาภูมิ บรรยายธรรมแก่ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราด
    ณ ศาลา ๑๐๐ ปีหลวงปู่สาย วัดท่าขนุน หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2024 at 19:48
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,534
    ค่าพลัง:
    +26,371
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๗ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ ยินดีต้อนรับชาวชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลเกาะช้าง จังหวัดตราดทุกคนนะจ๊ะ

    อาตมภาพเพิ่งจะไปตรวจยกหมู่บ้านศีล ๕ ต้นแบบที่จังหวัดตราดมา แล้วก็ชื่นชมกันมากว่า จังหวัดตราดจัดโครงการหมู่บ้านศีล ๕ ได้กระชับ ไม่สิ้นเปลืองและตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แล้วท้ายที่สุด จังหวัดตราดก็ได้ที่ ๑ ของภาค ๑๓ จริง ๆ แสดงว่าคนตราดอยู่ในศีลกินในธรรมกันเป็นปกติ

    สถานที่นี้ก็คือวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองเก่าเมืองโบราณมาแต่ดั้งแต่เดิม ก่อนหน้านี้ชื่อเมืองท่าขนุน ปี ๒๔๘๒ กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอำเภอทองผาภูมิ เพราะว่ามีภูเขาเยอะ แล้วก็มีคนเจอทองด้วย เขาไปขุดทองกันบริเวณห้วยปากคอกที่ตำบลห้วยเขย่ง ปัจจุบันนี้ก็ยังมีชาวบ้านร่อนทองกันอยู่เรื่อย ๆ

    คราวนี้วัดท่าขนุนแห่งนี้น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยตั้งเมืองท่าขนุนแล้ว เพราะว่าธรรมเนียมคนไทยของเรา "มีบ้านที่ไหนมีวัดที่นั่น" แต่ด้วยความที่ว่าไม่มีประวัติที่ชัดเจน ประวัติมาปรากฏในสมัยปี ๒๔๗๒ สมัยรัชกาลที่ ๗ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธรำไพ กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ แต่ท่านอยู่มาถึงรัชกาลที่ ๗ สองท่านนี้ชอบเที่ยวป่า มาประพาสป่าทองผาภูมิ ๒ ครั้ง เกิดความเลื่อมใสในหลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน ก็เลยไปขอพระราชทานธรรมาสน์ทรงบุษบกฝีมือช่างหลวง แล้วก็พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์อีก ๒ องค์จากในหลวงรัชกาลที่ ๗ มาถวายให้กับหลวงปู่พุกในยุคนั้น

    ในยุคนั้นการเดินทางลำบากมาก เพราะว่าจะสุดทางรถไฟตรงวังโพ ซึ่งเลยเขตอำเภอเมืองมานิดเดียว แล้วต้องลงเรือ ก็ต้องขนของขึ้นเรือมา แล้วถึงจะมาขึ้นที่ท่าขนุนที่นี่ คำว่า "ท่าขนุน" ก็คือ "ท่าน้ำที่มีต้นขนุน" ถ้าหากเป็นทางบ้านโยมอาจจะเป็นท่าทุเรียน หรือไม่ก็อาจจะเป็นท่าสละ ท่าลองกอง แต่ที่นี่เป็นท่าขนุน

    เมื่อปรากฏประวัติศาสตร์ขึ้นมาในช่วงนั้น เขาก็เลยนับหลวงปู่พุกเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ซึ่งเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว..ใช่ไหม ? อยู่ ๆ วัดจะงอกมาจากไหน ? หลวงปู่พุกจะงอกมาจากไหน ? ต้องมีมาก่อนนั้นแล้ว แต่ในเมื่อมีประวัติชัดเจนตรงนั้น เขาก็เริ่มนับหลวงปู่พุกเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ ท่านเป็นพระมอญ เป็นชาวมอญโพธาราม จังหวัดราชบุรี
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,534
    ค่าพลัง:
    +26,371
    พอหลวงปู่พุกมรณภาพไป ชาวบ้านก็นิมนต์หลวงปู่เต๊อะเน็ง โอภาโส ท่านเป็นชาวกะเหรี่ยง ธุดงค์ข้ามมาจากฝั่งพม่า มาเป็นเจ้าอาวาสบริหารวัดอยู่ ๕ ปี แล้วท่านก็ธุดงค์กลับประเทศพม่าไป

    วัดท่าขนุนก็ร้างอยู่หลายปี จนปี ๒๔๙๕ หลวงปู่สาย อคฺควํโส อดีตเจ้าอาวาส สังขารท่านอยู่ทางโน้น มรณภาพมา ๓๐ กว่าปีแล้ว ยังไม่เน่าไม่เปื่อย ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่เดิม วัดหนองโพธิ์ ท่านธุดงค์มาถึงที่นี่ เห็นว่า "เออ..เป็นวัดร้าง เงียบสงบดี ไม่มีใครรบกวน" ท่านก็เลยมาปักกลด ปฏิบัติภาวนาอยู่ ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติแล้วก็ชอบใจ นิมนต์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านไม่รับปาก ท่านบอกว่าจะไปไหว้พระเจดีย์ชเวดากองที่ทางฝั่งพม่าโน้น

    สมัยนั้นไปยากมาก สมัยอาตมานี่ยังไปยากเลย เพราะว่าทางจากช่วงด่านเจดีย์สามองค์ วิ่งไปถึงเมืองแรกของพม่า ชื่อเมืองตันบวยเซียด ถ้าออกเสียงช้า ๆ ออกเสียงว่าตันบูซายัด ซึ่งเป็นที่สุดทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายมรณะสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สร้างจากบ้านหนองปลาดุกที่ราชบุรี ขึ้นมาผ่านเมืองกาญจน์ ไทรโยค ทองผาภูมิ สังขละบุรี ทะลุไปถึงเมืองตันบวยเซียดของพม่า

    จากด่านเจดีย์สามองค์ไปถึงตันบวยเซียดเป็นระยะทาง ๑๐๗ กิโลเมตร โยมลองเดาดูสิว่า สมัยอาตมาใช้เวลานั่งรถกี่วันกว่าจะถึง ? ถ้าหากว่าถนนแห้ง รถดี ระยะทาง ๑๐๗ กิโลเมตรต้องค้างกลางทาง ๑ คืน ระยะทาง ๑๐๗ กิโลเมตรถ้าค้าง ๑ คืน อาตมาเดินยังถึงเลย แต่ของทางฝั่งพม่านี่เขาต้องทั้งขุดทั้งเข็นไปเรื่อย พม่าไม่ยอมให้ทำถนน เขากลัวว่าถ้าถนนดี ๆ แล้วชาวบ้านมาเห็นความเจริญฝั่งไทย แล้วจะไปประท้วงรัฐบาล เขาก็เลยไม่ยอมให้ทำถนน ดังนั้น..สมัยอาตมายังลำบากขนาดนี้ สมัยหลวงปู่สายไม่ต้องห่วง ป่าเสือป่าช้างทั้งนั้นเลย..!

    พอมาปี ๒๔๙๖ ท่านกลับมาปักกลดที่นีอีกครั้งหนึ่ง ก็คือกลับจากฝั่งพม่ามา ชาวบ้านก็นิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้ง ท่านบอกว่า "ครูบาอาจารย์ยังอยู่" ก็คือหลวงปู่น้อย เตชปุญฺโญ (พระครูนิพันธ์ธรรมคุต) วัดหนองโพธิ์ ท่านเป็นอาจารย์คู่สวด และเป็นเจ้าอาวาส ท่านบอกว่า "ต้องไปขอกับท่านอาจารย์ ถ้าพระอาจารย์อนุญาตถึงจะมา"
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,461
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,534
    ค่าพลัง:
    +26,371
    แต่ด้วยความที่ว่าสมัยก่อนนั่งรถลำบากมาก นั่งเรือลำบากมาก จนกระทั่งปี ๒๔๙๗ กำนันบุญธรรม นกเล็ก ถึงได้พาชาวบ้านลงเรือ ไปขึ้นรถไฟที่วังโพ เข้าไปต่อรถที่หัวลำโพง ขึ้นไปนครสวรรค์ ไปจนกระทั่งถึงวัดหนองโพธิ์ที่ตาคลี นครสวรรค์ แล้วก็ไปขอกับหลวงปู่น้อย หลวงปู่น้อยก็อนุญาต หลวงปู่สายถึงมาเป็นเจ้าอาวาสที่นี่ เขาก็เลยนับหลวงปู่พุกเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ หลวงปู่เต๊อะเน็งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ หลวงปู่สายเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๓

    หลวงปู่สายท่านอยู่มาเป็นเจ้าอาวาส เป็นเจ้าคณะตำบล เป็นเจ้าคณะอำเภอ เจริญรุ่งเรืองมาเรื่อย ๆ ได้รับพระราชทานพระครูสัญญาบัตรจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ ปี ๒๕๑๑ ที่พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ พระครูสมัยนั้นด้ามพัดยังเป็นงาอยู่เลย สมัยนี้ต่อให้เป็นเจ้าคุณใหญ่แค่ไหนก็ด้ามพลาสติก..! แล้วท่านมรณภาพปี ๒๕๓๕ ผ่านมา ๓๒ ปีแล้ว สังขารยังไม่เน่าไม่เปื่อย ยังอยู่ให้ลูกหลานได้กราบ เดี๋ยวญาติโยมก็จะได้ไปกราบกัน

    คราวนี้มาพูดถึงเรื่องมรณภาพ เรื่องของความตาย ถัดจากหลวงปู่สายมา เจ้าอาวาสสองรูป ก็คือพระอธิการสมเด็จ วราสโย กับาพระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต ด้วยความที่ท่านยังหนุ่มอยู่ ท่านจึงสึกไป แล้วก็มาถึงอาตมภาพที่เขาถือว่าเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๖ เป็นเจ้าอาวาสมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ จนป่านนี้ ก็ราว ๆ ๑๖ ปีแล้ว

    พวกเราทั้งหมดส่วนใหญ่อายุมาก เดินทางไกลก็ลำบาก ทำอะไรก็ไม่คล่องตัวเหมือนสมัยหนุ่ม ๆ สาว ๆ แล้ว เราทั้งหลายก็เดินทางหาประสบการณ์ หาความรู้เพิ่มเติม เพราะว่าคนแก่มีดีที่คนอื่นไม่มี ก็คือเห็นโลกมาเยอะ เราสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกให้หลานได้ แต่ว่าการที่เราจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกให้หลานได้ เราต้องเป็นตัวอย่างในด้านดี ก็คือในด้านของศีลของธรรม ยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาให้มากไว้ ส่วนอื่นเราทำเพื่อโลกมาเยอะแล้ว ทำเพื่อครอบครัวมาเยอะแล้ว ทำเพื่อสังคมมาเยอะแล้ว ท้าย ๆ นี่ต้องทำเพื่อตัวเองบ้าง คนเราเกิดมาเท่าไรตายหมด อาตมภาพก็เหลืออีกไม่กี่วันก็น่าจะไปเหมือนกัน..!
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...