ธรรมทั้งหลาย มิใช่ อัตตา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 3 มิถุนายน 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นตฺถิ อตฺตา เอตสฺส ขนฺธปญฺจกสฺสสาติ วา อนตฺตา

    แปลความว่า ในรูปนามขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีอัตตา = ฉะนั้นจึงเรียกว่า "อนัตตา"
    ก็ หมายความว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    แห่งรูปนาม ขันธ์ ๕ นั้น ไม่มีอัตตา
    ฉะนั้นรูปนาม ขันธ์ ๕ ทั้งหมดเป็น อนัตตา

    นอกจาก รูปนาม ขันธ์ ๕ แล้ว นิพพาน บัญญัติ ก็ไม่มีอัตตาเหมือนกัน
    ดังนั้น สังขารธรรม และ อสังขารธรรมทั้งปวงจึงเป็น อนัตตา

    อนิจฺจา สพฺเพสงฺขตา ทุกฺขาตา จ ลกฺขิตา
    นิพฺพานํ เจว ปญฺญตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉิตา


    สังขารธรรมทั้งปวง เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่อัตตา
    นิพพานก็ดี บัญญัติก็ดี ตัดสินว่าเป็น อนัตตา ดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มิถุนายน 2013
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่า อนตฺตา อสารกฏฺเฐน
    แปลว่า เพราะไม่มีแก่นสาร หรือไม่อยู่ภายใต้อำนาจของใคร ฉะนั้นจึงชื่อว่า อนัตตา
    หมายความว่า ธรรมดารูปธรรมย่อมไม่เป็นสาระ ทุกๆ ขณะย่อมไปสู่ความดับ
    เมื่อปราศจากชีวิต อุสมาเตโชและวิญญานทั้ง ๓ นี้แล้ว จะหารูปที่ใช้การสักอันหนึ่งก็ไม่ได้
    เมื่อจวนจะตายก็ดี จะเอารูปที่เป็นสาระแล้วใช้การสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ ว่าโดยอาการก็มีเกิดดับเสมอ

    ฉะนั้นพระบรมศาสดาเปรียบเทียบอุปมาไว้ว่า เผณปิณฺ ฑูปมํ รูปํ
    แปลว่ารูปเหมือนต่อมน้ำ ส่วนนามกเหมือนกันจะกระทบหรือจับไม่ได้
    เอาเวทนาสัญญาเหล่านี้ไปใช้การกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ไม่ได้ เกิดความดับสูญไป
    ห้ามไม่ให้เกิดหรือดับก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น โดยสภาวะจึงเรียกว่า อนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มิถุนายน 2013
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..อ้าวลุง..ก่อนที่จะอนัตตานะ..มันต้องอัตตาก่อนใช่ไหม อิอิ:mad:
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สภาวปรมัตถ์ของเขาจริงๆก็เป็น "อนัตตา" เพราะถูก สันตติ และ ฆนะ ปิดบังไว้
    จนผู้ขาดปัญญาที่จะมองเห็นความจริงได้ จึงมองเห็นไปว่าเป็น "อัตตา"

    จนมีคำพูดว่า ถ้า "สันตติขาด ฆนะแตก" > อนัตตา ก็จะปรากฏ หรือ บัญญัติหาย ปรมัตถ์ก็ปรากฏ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มิถุนายน 2013
  5. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    อ่านแล้วดูง่ายเน๊าะลุง ..อิอิ:cool:
     
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นึกเอา...บางทีก็นึกว่าง่าย บางที่ก็นึกว่ายาก:cool:
    :'(ทำจริง หรือ ลงมือทำนั่นแหละ จะรู้ว่าง่ายหรือยาก จะเป็นเครื่องชี้วัด
     
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ประเด็นคืออะไรเหรอครับ
     
  8. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419


    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน
    ไม่เที่ยง อนิจจัง (เกิด)
    สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์(ความเสื่อม)
    สิ่งใดเป็นทุกข์(เสื่อม)สิ่งนั้นเป็นอนัตตา(ดับไป)

    สิ่งใดเป็น "อนัตตา". ต้องเห็นว่า นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ฉนั้น คำว่า อนัตตา(ความดับ) พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบเถิดว่า เรียกขันธ์5
    กฏแห่งการเกิดขึ้นก็ดี ตั้งอยู่ ดับไป บัญญัติไว้ในขันธ์5 เท่านั้น

    คนเราจะตายได้(มรณะ) ก็เกิดจากความเสื่อมทั้งสิ้น. ของร่างกาย หรือ ความเเก่(ชรา)
    คนเราจะเเก่ได้ เพราะมี การเกิดขึ้นมา. เพราะมีเหตุๆของมัน

    สิ่งใดเกิดขึ้นมาสิ่งนั่นย่อมดับเป็นอนัตตา(ความดับ)
    อนิจจัง. เกิดขึ้น
    ทุกขัง ตั้งอยู่
    อนัตตา ดับไป
    เฉพาะขันธ์5เท่านั้น.
    เพราะระบบขันธ์ สังขตธรรม(ระบบปรุงเเต่ง)
    มีการเกิดปรากฏ๑ ตั้งอยู่ต้องเสื่อม๑ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ๑

    ถ้าเกิดเราเรียกนิพพานว่า อนัตตา.
    เเสดงว่า นิพพานมันต้องเป็นทุกขังก่อน๑ นิพพานมันต้องเกิดปรากฏก่อน๑
    มันถึงเป็นอนัตตา

    เเต่นิพพาน จริงๆ ไม่เกิดปรากฏ๑ ไม่เสื่อมปรากฏ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ๑
    เป็นสภาวะเที่ยงเเท้ ไม่เกิด เมื่อไม่เกิดก็ไม่เสื่อม เมื่อไม่เสื่อม ก็ไม่ดับ (อนัตตาจะไม่มีในนิพพาน)

    สรุป นิพพานไม่ควรเรียกว่า เป็น อัตตา อนิจจัง. ทุกขัง อนัตตา. อัตถิตา. นัตถิตา ทั่งสิ้น
     
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท.! รูป เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นรูปนั้น ด้วยปัญ ญ า
    อันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า "นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา, นั่น
    ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

    ภิกษุ ท.! เวทนา เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นเวทนานั้น ด้วย
    ปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจิรงอย่างนี้ว่า "นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา,
    นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้ ;

    ภิกษุ ท.! สัญญา เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นสัญญานั้น ด้วย
    ปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า "นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่ใช่เรา,
    นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้ ;

    ภิกษุ ท.! สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นสังขาร
    ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า "นั่น ไม่ใช่ของ
    เรา. นั่น ไม่ใช่เรา, นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้;

    ภิกษุ ท.! วิญ ญ าณ เป็นอนัตตา, บุคคล พึงเห็นวิญ ญ าณ นั้น
    ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า "นั่น ไม่ใช่ของเรา, นั่น ไม่
    ใช่เรา, นั่น ไม่ใช่ตัวตนของเรา" ดังนี้แล.

    ภิกษุ ท .! รูป เป็นอนัตตา. ภิกษุ ท.! ถ้ารูป จักเป็น อัตตา
    แล้วไซร้ รูปนี้ ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ (ความถูกเบียดเบียนด้วยโรคเป็นต้น);
    อนึ่ง สัตว์ จะพึงได้ในรูปตามปรารถนาว่า 'รูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด,
    รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย' ดังนี้. ภิกษุ ท.! แต่เพราะเหตุที่ รูป
    เป็นอนัตตา รูป จึงเป็นไปเพื่ออาพ าธ;
    อนึ่ง สัตว์ย่อมไม่ได้ในรูปตาม
    ปรารถนาว่า 'รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด. รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้น
    เลย' ดังนี้.
    (ในกรณีของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน)
     
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สิ่งใดเกิดขึ้นมาสิ่งนั่นย่อมดับเป็นอนัตตา(ความดับ)
    อนิจจัง. เกิดขึ้น
    ทุกขัง ตั้งอยู่
    อนัตตา ดับไป
    เฉพาะขันธ์5เท่านั้น.
    เพราะระบบขันธ์ สังขตธรรม(ระบบปรุงเเต่ง)
    มีการเกิดปรากฏ๑ ตั้งอยู่ต้องเสื่อม๑ มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ๑
    --------------------------------------------------
    เขาไม่ได้แปลอย่างนั้น...

    อนิจจัง = ไม่เที่ยง
    ทุกขัง = ทนอยู่ไม่ได้
    อนัตตา = ไม่มีตัวตน
    ทั้ง ๓ เป็นสภาพของไตรลักษณ์

    แต่นิพพานนั้นพ้นสภาพของไตรลักษณ์
    นิจจัง = เที่ยง
    สุขัง = เป็นสุข
    อนัตตา = ไม่มีตัวตน
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ความจริงแล้ว ในโลกนี้มีนามกับรูปเท่านั้น
    มิได้มีสัตว์และมนุษย์แต่ประการใดเลย
    นามและรูปเป็นของว่างเปล่า ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้นเหมือนตัวหุ่น
    เป็นกองทุกข์เช่นเดียวกับกองหญ้าและกองไม้

    นามและรูปในปัญจโวการภพต่างก็อาศัยซึ่งกันและกัน
    สิ่งหนึ่งเป็นผู้ค้ำจุนอีกสิ่งหนึ่งไว้ เมื่อสิ่งหนึ่งล้มลงไปด้วยการแตกทำลาย
    อีกสิ่งหนึ่งก็ล้มลงด้วย การแตกทำลายลงด้วย เช่นกับฟ่อนต้นอ้อ ๒ มัด พิงกันไว้
    ฟ่อนอ้อมัดหนึ่งก็ค้ำฟ่อนต้นอ้อ อีกมัดหนึ่งไว้ เมื่อฟ่อนต้นอ้อมัดหนึ่งล้มลง
    ฟ่อนต้นอ้ออีกมัดหนึ่งก็ล้มลงด้วย นามและรูปนั้นเป็นของคู่กัน

    ทั้งสองต่างอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่ออย่างหนึ่งแตกทำลายไป
    สิ่งทั้งสองที่อาศัยกันก็แตกทำลายไปด้วย ตัวหุ่นเป็นของว่าเปล่า ไม่มีชีวิต
    เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่เพราะการประกอบกัน ของไม้และเส้นเชือกที่ชัก ตัวหุ่นจึงเคลื่อนไหวได้
    ปรากฏคล้ายกับสิ่งมีชีวิต ฉันใด นามและรูปก็เช่นกัน ว่างเปล่า ไม่มีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว
    แต่เพราะอิงอาศัยซึ่งกันและกัน นามรูปจึงเคลื่อนไหวได้ ปรากฏมีชีวิตชีวาขึ้น ฉันนั้น
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    สิ่งใดเป็น อนัตตา
    นั่นไม่ใช่เรา! ไม่ใช่ของเรา!

    พอขึ้นประโยชน์นี้ยังจะเห็นว่านิพพาน เป็นอนัตตา อยู่หรือไม่
    ก็เพราะ นิพพาน ไม่ใช่อนัตตา.
    จึงเรียกว่าเป็นสภาวะนั้น เป็นของเราก็ว่าได้. เป็นของเเท้. เป็นของจริง


    พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
    จริงว่า นามรูปนั่นเป็นของเท็จ นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เล็งเห็นว่า นิพพานนี้เป็นของเท็จ
    พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น
    จริงว่า นิพพานนั้นเป็นของจริง นี้เป็นอนุปัสสนาข้อที่ ๒
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" นั่น สงบจริง นึ่นประณีตจริง ที่นี่เองเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำนัด เป็นที่ดับกิเลส นี่คือนิพพานแล---นวก.อํ.23/439/240...:cool: พระวจนะ" ความไม่กังวล ความไม่ถือมั่น นั่นแล คือ ธรรมอันเป้นเกาะ ไม่มีธรรมอื่นอีก เรากล่าวธรรมนั้นว่า นิพพาน เป้นที่หมดสิ้น แห่ง ชรา มรณะ แล--สุตต.25/544/434..:cool: พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ซี่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น ภิกษุทั้งหลาย นิพพานเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ อันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน----สฬา.สํ.18/452/741...:cool:
     
  14. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ถามว่า. มีเเก้วอยู่1ใบ เเก้วมันเเตกได้ยังไง?

    เพราะมีเเก้ว ใช่ไหม ถึงมีเเก้วเเตก
    เนี่ย ถ้าไม่มีเเก้ว(การเกิด). ก็จะไม่มีเเก้วเเตก
    มีเกิด ก็ต้องมีดับ

    อนิจจัง ไม่เที่ยงอย่างที่คุณบอก จะเรียกว่า เกิด ก็ได้
    คุณหมานก็ต้องสาวหาต้นตอสิ เพราะมีการเกิด(ชาติ)ใช่ไหม เเก่ เเละ ตายจึงมี
    สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

    เมื่อมีเเก้วปรากฏขึ้นมา เเก้วก็ต้องเสื่อม(ทุกขัง). ที่มันเป็นเสื่อมได้ เพราะการเกิด ไม่เที่ยง
    เมื่อเสื่อม ย่อมเป็นอนัตตา. เพราะ ความเสื่อมนั้นเอง ทำให้เกิดความแปรปรวน ความดับตามมา
    เเตกทำลาย ตามสภาวะของมัน
    อนิจจัง ทุกขัง. อนัตตา


    ทีนี้. ถ้าการเกิด. ไม่มีโดยประการทั้งปวง เเก่ ตาย จะมีได้ไหม
    ถ้าเเก้วมันไม่เกิดปรากฏ ทุกขัง(เสื่อม). อนัตตา(แปรปรวน). ย่อมไม่มี
    สมมุติบ้านคุณไม่มีเเก้ว คุณจะเห็นเเก้วเเตกมั้ย?

    นั้นแหละ นิพพาน ไม่มีการเกิดปรากฏ เมื่อไม่มีการเกิด ความเสื่อมก็ไม่มี
    ความเสื่อมไม่มี ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น อนัตตา ก็จะไม่มี
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .......................น่าจะยก อริยสัจสี่มาดีกว่าครับ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค....:cool:
     
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    พระโสดาบัน

    ผู้ใดปฏิบัติตามนี้
    1.มีปรกติไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
    2.มีปรกติไม่ลักทรัพย์
    3.มีปรกติประพฤติพรหมจรรย์
    4.มีปรกติไม่พูดเท็จ
    5.มีปรกติไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่
    6.มีความเคารพและยึดพระไตรสรณะคมน์เป็นสรณะที่ยึดเหนี่ยวจิตใจตลอดชีวิต
    7.มีจิตใจงดงาม ท่านจะได้ชื่อว่า เป็นพระโสดาบัน...
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .....ระวังอธิบายอย่างนี้ จะเป็นตายแล้วสูญ นะจ้ะ...ถ้าไปทบทวน อริยสัจสี่ ทุกข์ควรกำหนดรู้ และ ทุกข์สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรเจริญ....ใหนบอก เคารพพระวจนะ:cool: ทุกข์ควรกำหนดรู้คือปัญจุปาทานักขันธิ์ ส่วนทุกข์สมุทัยควรละ คือ ตัณหา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มิถุนายน 2013
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ฟางว่าน คงเข้าผิดกระทู้
     
  19. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ครั้งที่3

    ภิกษุ ท.; รูป เป็นสิ่งที่ ไม่เที่ยง, สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์,
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา, สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของ
    เรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา
    :

    เธอทั้งหลาย พึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ)
     
  20. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    รู้ชัดอัตตา จึงเริ่มเห็นอนัตตา

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


    ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร (๑๔๐)​
    [๖๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด
    นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว
    ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด ฯ

    [๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคด้วยศรัทธา
    ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว ครั้งนั้นแล
    พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด
    ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด ฯ
    .
    .
    .
    [๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา
    พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นเราอาศัยอะไรแล้วกล่าว
    ดูกรภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา
    ดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ฯ

    [๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน
    ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
    ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
    หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน
    ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น
    พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ

    [๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน
    ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
    เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน
    ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น
    พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้ ฯ

    [๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน
    ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม
    ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี
    หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน
    ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น
    พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ

    [๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน
    ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนคือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้
    ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
    หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน
    ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น
    พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ

    [๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน
    ได้แก่สิ่งที่ว่างปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก
    ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม
    เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม (ช่องว่างในกระเพาะอาหาร)
    และ เป็นทางระบาย ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง
    หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายใน
    ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น
    พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
    นั่นไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเราครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้

    ______________________________________________________________________________________________

    ธาตุวิภังคสูตร นี้มีเนื้อหา ประมาณ 11หน้ากระดาษ A4
    จบพระกถานี้ ท่านปุกกุสาติ ดำรง อยู่ในอนาคามิผล

    เพราะเห็นชัดอัตตา จึงเริ่มเห็นอนัตตา
    ปุกกุสาติผู้นี้เคย บำเพ็ญสมณธรรม ร่วมกับ ท่านพาหิยะ ท่านทัพพมัลลบุตร ท่านกุมารกัสสปะ และ สภิยปริพาชก ในสมัยปลายศาสนา ของ พระกัสสปพุทธเจ้า
    ในสมัยนั้น ทั้ง๕มิ ได้บรรลุมรรคผลใดๆ และ จบชีวิตท่ามกลางการบำเพ็ญด้วยความบริสุทธิ์แห่งศีล

    ความบริสุทธิ์แห่งศีล และ ความมั่นคงในพระรัตนตรัย ของ ปุกกุสาติ ในพุทธันดรก่อน
    จึงส่งเป็นมรรคเป็นผล ตามความเป็นจริงได้ ในศาสนาของพุทธโคดม ในพุทธันดรนี้

    นิพพิทา วิราคะ วิมุตติ ขยญาณ นิพพาน

    กว่า นิพพิทาญาน(ความเบื่อหน่ายในอัตตา)จะเกิดได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

    เบื่อจริง เพราะเห็นจริง!
    ไม่ใช่เบื่อเอาเอง เพราะคิดเอาเอง!
     

แชร์หน้านี้

Loading...