"ทำบุญอย่างไร? ให้ได้บุญเยอะ เยอะ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Nirvanian, 22 พฤษภาคม 2006.

  1. Nirvanian

    Nirvanian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +184
    คำพูดเหล่านี้ได้ถูกตั้งป็นคำถามตั้งกันมาตั้งกันนมนานแล้ว และยังไม่มีวีแววว่าจะยุติลงได้ เนื่องจากคนรุ่นเก่าทำท่าจะเข้าใจแล้ว แต่คนรุ่นใหม่นะซิยังไปไม่ถึงไหน ยิ่งถ้าคนรุ่นเก่าไม่เคยแนะนำ หรือให้เป็นเชื้ออะไรไว้เลยรับรองได้แน่นอนเหลือเกินต้องตอบคำถามกันยาวเหยียด แต่ไม่ต้องห่วงเป็นหน้าที่ของพระ ขอให้ถามมาเถอะถามอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่ถามเพื่อลองภูมิปัญญากันนะ ถามเพื่อหาความรู้ให้กับตัวตัวเอง และแบ่งปันบุคคลอื่นให้รู้ด้วย ได้บุญตั้งแต่เริ่มคิดแล้วแหละ เพียงแค่นี้ไม่ต้องขนาดมีใบผ่านทางอะไรทำนอง (ใบReceipt)
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    พูดถึงเรื่องการทำบุญบางท่านเน้นไปที่ใบอนุโมทนา ฉันจะต้องเอาให้ได้ถ้าไม่ได้จะเป็นเรื่องใหญ่แถมถูกข้อครหานินทาเข้าไปอีก บางครั้งกลุ้มใจเหมือนกัน ไม่ได้ทันตั้งหลักอะไรเล้ย.. คุณโยมก็ใส่เอา....ใส่เอา...เอาเงินไปไหนไม่มีอะไรใบอนุโมทนา (Receipt) เท่านั้นยังไม่พอบางท่านหายหน้าเงียบไปเลย แต่ไปที่อื่นพร้อมกับนำเอาเรื่องใบอนุโมทนามาคุยกันว่าวัดนั้นไม่ยอมออกใบอนุโมทนาให้ วัดนี้ทำไมไม่ออกใบอนุโมทนา สารพัดที่เจียรไนมาคุยกัน ในฐานะที่เป็นพระสงฆ์ทุกวัดออกใบอนุโมทนาให้ อย่าลืมเขียนที่อยู่ไว้ข้างล่างชื่อด้วยรับรองได้ไม่พลาด บางท่านบอกเขียนแต่ชื่อ ไม่ยอมเขียนที่อยู่ ทางวัดต้องไปเปิดหาที่คอมพิวเตอร์ดูเหมือนจะเป็นเรื่องค่อนข้างยาก และบางทีบุคคลที่ทำหน้าที่ด้านนี้ไม่ว่างเข้าไปอีก
    <O:p></O:p>
    นอกจากนี้ มีการโยกย้ายกันเดือนหนึ่งประมาณเกือบร้อยคน ลองคิดดูเถอะไม่ใช่ธรรมดา คนไทยมีการย้ายออกย้ายเข้าแยอะมาก จดหมายตีกลับมาทีต้องเสียค่าแสตมป์ให้ทางไปรษณีย์ถูกปรับอีกปีหนึ่งก็เป็นร้อยเหรียญ แต่เรื่องนี้ในเมื่อทุกท่านมีน้ำใจต้องการสนับสนุนอุปถัมภ์วัด บำรุงพระพุทธ ศาสนา ทางวัดก็อำนวยความสะดวกให้ทุกเวลา บางครั้งช่วยกระซิบพระคุณเจ้าบ้างด้วย ”ขอใบอนุโมทนาด้วยครับ...” ท่านจะรีบเขียนให้เลย แต่บางวัดได้บอกกับผู้บริจาคว่า " คุณโยมบริจาคทั้งปีเป็นเงินเท่าไร ท่านจะออกเป็นจดหมายรับรองใบเดียวเท่านั้น ได้ผลอยู่ที่นโยบายน่ะถ้าไม่เชื่อลองไปถามท่านพระครูปลัดสิทธิพรเมธงฺกโร วัดพุทธประทีป ซานฟรานซิสโก ดูก็ได้คิดเสียว่าเราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน วัดก็ขาดพุทธศาสนิกชนไม่ได้ พุทธศาสนิกชนก็ขาดวัดไม่ได้ "ถ้าบ้านกับวัดขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง " สุนทรภู่แต่งไว้ดีมาก
    <O:p></O:p>
    ที่ท่านบริจาคไปทุกบาททุกสตางค์ มีค่าใช่จ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าภาษีเสียบางส่วน ค่าผ่อนธนาคาร ค่าโทรศัพท์ ค่าขยะ ค่าอุปกรณ์ เครื่องใช้ไม้สอย ซ่อมแซม ค่าประกันอาคาร ตึก สารพัดบางทีอาจจะเข้าใจว่าทำไมบริจาคไปไม่เห็นไปทำอะไรเลย มีค่าใช่จ่ายตามที่แจ้งข้างบนวัดก็เหมือนกับบ้านของทุกท่านนั่นแหละ..ไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย .. มาถึงตรงนี้ขอตอบคำถามของท่านที่ถามว่ามาว่า " ทำบุญอย่างไรให้ได้บุญเยอะ...เยอะ.เยอะ..ลากเสียงยาว...ยาว.... ไม่จำกัดแค่ไหน..
    <O:p></O:p>
    การทำบุญจะให้ได้บุญนั้นจะต้องถึงพร้อม 3 ลักษณะ คือขณะที่ ตั้งแต่คิด ขณะทำ และหลังจากทำแล้วใจต้องผ่องใสอิ่มใจ, สดชื่น ฯลฯ เรียกว่า ถึงพร้อม 3 ขณะ บุญชนิดนี้จึงจะมีกำลังในการส่งผลอาจจะสงสัยว่าบุญส่งผลอย่างไร และเมื่อไหร่ บุญเริ่มส่งผลตั้งแต่คิด…จนถึงทุกครั้งที่ระลึกได้พร้อมกับความสุขใจ,อิ่มใจ,ผ่องใส ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง บุญแม้เพียงครั้งเดียวเมื่อถึงพร้อม 3 ขณะ บุญนั้นจะให้ผลไม่มีที่สิ้นสุดทุกครั้งที่ระลึกถึงบุญได้ พร้อมกับความรู้สึกสุขใจ ฯลฯ นั่นแสดงว่าบุญให้ผลแล้ว ความสุขใจเป็นผลจากการทำบุญ เป็นบุญที่เกิดจากใจ บุญที่เกิดทางใจส่งผลให้กายกระปี้กระเปร่า ความกระปี้กระเปร่าเกิดจากความสุขใจ เมื่อมีความสุขใจ สุขกาย จิตใจย่อมปลอดโปร่งคิดทำการงานสิ่งใดย่อมสะดวกสบาย ไม่ติดขัด หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ความสุขใจทำให้เกิดความเบาเป็นความเบาของกาย -ใจ ความเบาทำให้เกิดความรู้สึกอยากทำความดี เมื่อมีความคิดที่ดี การแสดงออกกิริยา อาการต่าง ๆ การพูดจาก็ดีไปด้วย เมื่อมีผู้พบเห็นได้พูดคุยก็พลอยได้รับบุญไปด้วย
    <O:p></O:p>
    บุญชนิดนี้เป็นบุญที่มีกำลังแรงมาก ให้ผลไม่มีที่สิ้นสุด เป็นบุญที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งของตนเอง และผู้อยู่ใกล้ได้ เมื่อมีโอกาสเข้าถึงบุญแล้วความปรารถนาต่าง ๆ จะมีกำลังในการส่ง ผลเพราะผลของความดี (กุศล) ต้องอาศัยความเบาช่วยหนุนบุญทำให้จิตเบา ความเบาของจิตง่ายต่อการทำความดี จิตเข้มแข็งไม่ตกต่ำ เมื่อขาดความเบาจึงต้องหาโอกาสทำบุญ เพื่อให้จิตผ่องใสเข้มแข็งความดีต้องอาศัยความเบาของจิตใน ทางตรงกันข้ามผลฝ่ายอกุศล ต้องอาศัยความหนักของจิตช่วยหนุน ความหนักความเบาของจิตจึงเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ความหนักเบาของจิตมีผลต่อพฤติกรรมพฤติกรรมแตกต่างกันมาก เกิดจากความหนักเบาของจิตที่แตกต่างกันมาก เมื่อมีโอกาสเข้าถึงบุญทั้ง3 ขณะจึงควรใช้พฤติกรรมบุญเข้าช่วย ด้วยการสร้างบรรยากาศของบุญให้มีกำลัง จนเกิดเป็นพลังพลังบุญมีลักษณะละเอียดผ่องใส สดชื่น อ่อนโยน อบอุ่น เข้มแข็งฯลฯ ช่วยทำให้บ้านสงบสะอาดน่าอยู่เหมือนได้ พักผ่อนอยู่ตลอดเวลา จิตที่ได้รับการพักผ่อนเต็มที่จะเกิดความเข้มแข็งในการทำความดี
    <O:p></O:p>
    แล้วบุญเริ่มต้นได้อย่างไร... ก่อนทำบุญต้องตั้งจิตมีความศรัทธาศรัทธาในพระพุทธศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรัทธา ในคำสั่งสอนของพระองค์พระองค์ ทรงสอนให้เป็นคนดีมีสัมมาคารวะ รู้จักแยกแยะ ผิดชอบ ชั่วดี รู้จักครองตน รู้จักเสียสละเ สียสละความสุขส่วนตัวเ สียสละปัจจัย เสียสละกิเลสที่อยู่ในใจเพราะรู้จักเสียสละ(ทำบุญ) พระศาสนาพุทธจึงยังคงตั้งอยู่จนถึงทุกวันนี้คำสอนของพระองค์จึงยังมีอยู่ ทำให้มีโอกาสได้ฟังธรรมะตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด เมื่อมีความเข้าใจแล้วคิดจะทำบุญเมื่อไรบุญจึงเกิดในทันที เมื่อบุญเกิดขึ้นแล้วต้องรักษาบุญเอาไว้ด้วย<O:p></O:p>
    เหตุที่ทำบุญแล้วไม่เกิดความรู้สึกได้บุญ เป็นเพราะขาดความเข้าใจอย่างหนึ่ง อยากเห็นเป็นรูปธรรมเร็ว ๆ อีกอย่างหนึ่ง ต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า รูปธรรมเป็นของหนัก เพราะฉะนั้นบุญจึงต้องอาศัยนามธรรมซึ่งเป็นของเบา เมื่อบุญที่เกิดจากจิตมีกำลังมาก หรือที่เรียกว่า" พลังจิต"ยังส่งผลให้เป็นรูปธรรมทั้งชาตินี้ และชาติต่อ ๆไปเ มื่อต้องการตั้งจิตให้ตั้งจิตอยู่ในบรรยากาศ บุญบุญจะมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของวัตถุสิ่งของ แต่ขึ้นอยู่กับกำลังความผ่องใสความเบาของจิต “จงสะสมบุญและทำความดีในชีวิตที่เหลือนะครับ” ให้สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์มีโอกาสได้รับรู้และปฏิบัติธรรม พบกับพระพุทธศาสนา เรามีพระสงฆ์เป็นเนื้อหาบุญของโลกช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในชีวิต ใช่ว่าทุกท่านจะมีแต่ความสุขสถานเดียว ต้องมีความทุกข์กันบ้างแหละ ใครจะมีมากน้อยนั้น อยู่ทีการสะสม และบุญบารมี ส่วนใครเมื่อทำบุญแล้วจะได้มาก หรือน้อยอยู่ที่เจตนาเป็นหลักโดยเฉพาะเรื่องใจต้องสะอาดสงบร่มเย็นใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ<O:p></O:p>
    เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะได้บุญตั้งแต่เริ่มคิดดีนั่นแหละ...ยิ่งคิดดีมากเท่าไรบุญกุศลก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น..เป็นเงาตามตัวเหมือนดังล้อเกวียนติดตามรอยเท้าโคฉันใดก็ฉันนั้น.....

    ภิกษุเล่าเรื่อง/นสพ.ดิ เอเชี่ยนแปซิฟิคนิวส์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 พฤษภาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...