ตาขี้เกียจ ภัยเงียบใกล้ตัว เร่งค้นหาสาเหตุและวิธีการรักษาอย่างถูกต้อง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย monkeydluffy, 9 มีนาคม 2023.

  1. monkeydluffy

    monkeydluffy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    eUPLsl.jpg
    โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตา พบได้กับทุกเพศทุกวัย เป็นภาวะการมองเห็นผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 9 ปีบริบูรณ์ วันนี้ Samitivej Chinatown จะมาแนะนำคุณมารู้จักว่าโรคตาขี้เกียจเกิดจากอะไร หากเป็นตาขี้เกียจ รักษาหายไหม เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการสังเกตอาการลูกหลาน และคนในครอบครัวของเราให้ห่างไกลจากโรคตาขี้เกียจซึ่งเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้าม

    ตาขี้เกียจ

    ตาขี้เกียจ (Lazy eyes) หรือ Amblyopia คือ โรคทางสายตาที่ทำให้ดวงตามองเห็นภาพไม่ชัดเจนจนสมองปิดการรับรู้ของตาข้างนั้นไป ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้ใช้ดวงตาข้างที่มีภาวะผิดปกตินั้น เมื่อผู้ป่วยไม่ได้ใช้งานตาข้างที่มีภาวะตาขี้เกียจจะส่งผลให้กล้ามเนื้อดวงตาอ่อนแรงลงเรื่อย ๆ

    โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eyes คือ ภาวะที่ส่งผลต่อความสามารถในการมองเห็นของผู้ป่วย และหากผู้ป่วยไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องอาจนำไปสู่สาเหตุของการตาบอดอย่างถาวรในอนาคตอีกด้วย

    ดังนั้น เราจึงไม่ควรมองข้ามที่จะสังเกตบุตรหลาน รวมถึงคนในครอบครัวของเราว่าเป็นโรคตาขี้เกียจในเด็ก หรือโรคตาขี้เกียจในผู้ใหญ่หรือไม่ เพื่อจะได้ให้จักษุแพทย์ตรวจ วิเคราะห์ วินิจฉัย เพื่อจะได้ทราบแนวทางการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที


    ตาขี้เกียจเกิดจากอะไร

    eUsWNV.png
    โรคตาขี้เกียจเกิดจากสาเหตุหลายประการ โดยมักจะเกิดจากการปัจจัยสภาพแลสุขภาพของดวงตาที่ทำให้ดวงตามีการมองเห็นแย่ลง ดังนี้
    • ตาเข ตาเหล่
    โรคตาขี้เกียจในเด็กมักจะมีสาเหตุมาจากตาเข ตาเหล่ เนื่องจากดวงตาของเด็กทั้งสองข้างไม่ทำงานประสานกัน โดยข้างหนึ่งมองตรง ข้างหนึ่งอาจจะมีการเขหรือเหล่ไปด้านบน ล่าง ทำให้เห็นเป็นภาพซ้อน จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะตาเขตาเหล่ใช้ข้างที่มองตรงหนักเพื่อเลี่ยงการเห็นภาพซ้อน จนกล้ามเนื้อตาที่เขหรือเหล่ไม่ได้ใช้จึงทำให้มองเห็นไม่ชัดกล่าวคือกลายเป็นตาขี้เกียจไปนั่นเอง
    • สายตาทั้งสองข้างมีค่าสายตาที่แตกต่างกันมาก
    โดยทั่วไปแล้วผู้คนจะมีปัญหาค่าสายตาไม่แตกต่างกันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แต่กรณีผู้ที่มีค่าสายตาแตกต่างกันมากก็จะส่งผลทำให้แสงเข้าเลนส์ตาไม่เท่ากัน สมองจึงตอบสนองต่อดวงตาข้างที่รับแสงได้ดีมากกว่า ซึ่งทำให้ดวงตาอีกข้างถูกใช้งานน้อยลงจนกลายเป็นภาวะสายตาขี้เกียจ โดยมีโอกาสเป็นทั้งสองข้าง
    • โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับตาชนิดอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการมองเห็น
    หากเด็กเล็กหรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวข้องกับสายตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจก แผลที่กระจกตา รวมถึงตาตกข้างเดียว และหนังตาจะเป็นตัวการที่ทำให้บดบังการมองเห็น ทำให้เกิดการใช้ตาข้างที่มีปัญหามีการมองเห็นลดลงจนพัฒนาและกลายเป็นตาขี้เกียจ

    ตาขี้เกียจ อาการเป็นอย่างไร

    ในการใช้ชีวิตประจำวัน เราไม่อาจจะทราบได้ว่า ลูกหลานหรือคนในครอบครัวของเราเป็น โรคตาขี้เกียจ หรือไม่ และตาขี้เกียจ อาการอย่างไร จนกว่าจะเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจค้นหาสาเหตุอย่างจริงจังแต่ในเบื้องต้น เราสามารถสังเกตอาการที่อาจนำไปสู่การเป็นตาขี้เกียจได้ดังนี้

    • มีความผิดปกติในการกะระยะ เช่น ความห่างของวัตถุ สิ่งของ
    • มีการมองเห็นแย่ลง เช่น เมื่ออ่านหนังสือ จะมีท่าทางการอ่านเพ่งใกล้ ๆ แต่ก็ยังมองไม่ชัด
    • มีอาการตาเหล่ ดวงตาเบนเข้าด้านใน หรือออกด้านนอก หรือมีอาการปวดศีรษะร่วม
    • มีสายตาสั้นหรือสายตายาวรุนแรง หรือ สั้น ยาว 2 ข้างไม่เท่ากัน
    • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคตาเข ตาเหล่ หรือโรคตาขี้เกียจ
    การวินิจฉัยตาขี้เกียจ

    การตรวจวินิจฉัยภาวะตาขี้เกียจ แพทย์จะทำการตรวจตาและวัดสายตาอย่างละเอียดเพื่อเช็คว่าดวงตาทั้งสองข้างมีการมองเห็นและการเคลื่อนไหวปกติหรือไม่ ถ้าสายตาปกติแต่ถ้าต้องการตรวจเพื่อสืบว่ามีโรคเกี่ยวกับตาเพิ่มเติมหรือไม่ก็จะใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการตรวจต่อไป

    โดยในการตรวจจะขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ซึ่งกรณีที่เด็กมีอาการตาเหล่หรือตาเขก็จะให้จักษุแพทย์เด็กทำการดูแลรักษาเด็กอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันตาขี้เกียจรุนแรงมากขึ้น


    วิธีรักษาตาขี้เกียจ

    eUsfjy.png
    เมื่อตรวจพบว่าเป็นตาขี้เกียจแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีความกังวลใจว่า ตาขี้เกียจ รักษาหายไหม รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ หรือว่าจะมีวิธีรักษาโรคตาขี้เกียจในเด็กวิธีการรักษาตาขี้เกียจ ผู้ใหญ่ได้อย่างไรและโรคตาขี้เกียจ ตัดแว่นอย่างไร วันนี้ Samitivej Chinatown จะมาแนะนำวิธีการรักษาตาขี้เกียจอย่างถูกต้องดังนี้
    • โรคตาขี้เกียจ หากพบในเด็กจะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูงกว่าพบในวัยผู้ใหญ่ และหากได้รับการรักษาก่อนที่จะมีอายุครบ 7 ปี จะส่งผลดีต่อการรักษามากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการด้านดวงตา แต่อย่างไรก็ตามหากอายุยังไม่พ้นช่วงวัยรุ่น (อายุ 17 ปี) ก็ยังคงสามารถตอบสนองต่อการรักษาได้ดีเช่นกัน
    • โรคตาขี้เกียจ ตัดแว่นอย่างไร การสวมใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ เป็นหนึ่งในวิธีรักษาโรค
      ตาขี้เกียจ ช่วยส่งผลให้อาการของโรคตาขี้เกียจดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีค่าสายตาสองข้าง
      แตกต่างกันมาก ๆ แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์จะช่วยให้มองเห็นชัดเจนขึ้น ส่งผลให้สมอง
      สั่งการและประสานการทำงานกับดวงตามากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อดวงตาที่อ่อนแอ มีแรงมากขึ้นและทำงานเป็นปกติ
    • การปิดตาข้างที่ดี ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยกรณีที่เริ่มมีตาขี้เกียจ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการรักษาโดย
      ปิดตาข้างปกติเพื่อให้ตาขี้เกียจได้ใช้งานมากขึ้นส่งผลต่อการทำงานและกล้ามเนื้อดวงตาที่จะกลับมาเป็นปกติ
    • การผ่าตัดเพื่อรักษาตาขี้เกียจ ในหลายกรณี ตาขี้เกียจมีสาเหตุมาจากต้อกระจก ตาเข ตาเหล่
      หรือมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา หรือมีภาวะหนังตาตก ดังนั้น การผ่าตัดกล้ามเนื้อดวงตาจึงเป็น
      อีกหนึ่งวิธีการรักษาที่ช่วยทำให้ดวงตากลับสู่ตำแหน่งปกติ และเพื่อให้กล้ามเนื้อดวงตาทำงานเป็นปกติ

    ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตาขี้เกียจ

    โรคตาขี้เกียจ หากได้รับการรักษารวมถึงการดูแลที่ถูกต้องและถูกเวลา ก็จะทำให้สามารถรักษาอาการของโรคให้ดีขึ้นได้ แต่ในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรักษาช้าไป ก็จะทำให้ดวงตาค่อย ๆ มองเห็นภาพน้อยลงจนมีโอกาสที่จะสูญเสียการมองเห็นหรือว่าตาบอดอย่างถาวร

    วิธีป้องกันโรคตาขี้เกียจ

    ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคตาขี้เกียจที่แน่ชัด เนื่องจากในบางครั้ง สาเหตุการเกิดโรคตาขี้เกียจจักษุแพทย์ยังไม่พบสาเหตุของสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ห่างไกลความรุนแรงของโรคตาขี้เกียจ คือ
    • พาบุตรหลานไปตรวจดวงตา เช่น วัดสายตา ตั้งแต่ที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีเป็นต้นไป
    • สังเกตพฤติกรรมการใช้สายตาของเด็ก หากมีพฤติกรรมบางอย่างที่อาจบ่งชี้ได้ว่าเป็นตาขี้เกียจให้รีบพาไปตรวจสายตา เช่น เพ่งมองหนังสือใกล้ ๆ เอียงคอดูรูปภาพในหนังสือ เป็นต้น
    • แนะนำบุตรหลาน และสอนให้บุตรหลานเห็นความสำคัญของดวงตา การมองเห็น และการดูแลรักษาดวงตาของตนเอง
    • สำหรับโรคตาขี้เกียจ ผู้ใหญ่ รักษา ในผู้ใหญ่ควรสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากรู้สึก
      ถึงความผิดปกติในการมองเห็นของตนเองหรือลองปิดตาทีละข้างเพื่อพิสูจน์ความปกติในการ
      มองเห็น ทั้งนี้ หากพบว่าตาข้างใดข้างหนึ่งมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์

    ข้อสรุป

    ตาขี้เกียจ เป็นโรคร้ายเกี่ยวกับดวงตาที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบผู้ป่วยโรคนี้ได้บ่อยในกลุ่มเด็กแรกเกิดจนถึงช่วงอายุ 6-7 ขวบ ซึ่งถ้าไม่เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ก็จะทำให้การมองเห็นแย่ลงจนกระทั่งสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตร่างกายรวมถึงพฤติกรรมของลูกน้อยตั้งแต่ยังเล็กเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างมีความสุขและแข็งแรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2024

แชร์หน้านี้

Loading...