ตัวอย่าง การใช้อิทธิฤทธิ์ และ บุญฤทธิ์ ปราบโจร ๕๐๐ และการใช้สัจจะ โดย สังกิจจะสามเณร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นะโม12, 20 กันยายน 2011.

  1. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘</CENTER> [๑๘] หากว่าวาจาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ไซร้ บทอันเป็นประโยชน์บทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประ- เสริฐกว่า คาถาแม้ตั้งพันประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ ไซร้ คาถาบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบประเสริฐกว่า ก็บุคคลใดพึงกล่าวคาถา ประกอบด้วยบทอันไม่เป็นประโยชน์ ตั้งร้อย บทธรรมบทหนึ่งที่บุคคลฟังแล้วย่อมสงบ ประ เสริฐกว่า บุคคลใดพึงชนะหมู่มนุษย์ตั้งพันคูณด้วยพัน ใน สงคราม บุคคลนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ชนะอย่างสูงในสงคราม ส่วนบุคคลใดพึงชนะตนผู้เดียว บุคคลนั้นแล ชื่อว่าเป็น ผู้ชนะอย่างสูงสุดในสงคราม ตนแลอันบุคคลชนะแล้ว ประเสริฐ ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ๆ อันบุคคลชนะแล้วจัก ประเสริฐอะไร เพราะว่า เทวดา คนธรรพ์ มารกับ ทั้งพรหม พึงทำความชนะของบุรุษผู้มีตนอันฝึกแล้ว มีปกติ ประพฤติสำรวมเป็นนิตย์ ผู้เป็นสัตว์เกิดเห็นปานนั้น ให้กลับแพ้ไม่ได้ ก็การบูชาของผู้ที่บูชาท่านผู้มีตนอันอบรม แล้วคนหนึ่ง แม้เพียงครู่หนึ่ง ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้ที่ บูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งตลอดร้อยปีเสมอทุกเดือนๆ การบูชา ตั้งร้อยปีนั้นจะประเสริฐอะไร ก็การบูชา ของผู้ที่บูชาท่าน ผู้มีตนอันอบรมแล้วคนหนึ่งแล แม้เพียงครู่หนึ่ง ประเสริฐ กว่าผู้บำเรอไฟในป่าตั้งร้อยปี การบำเรอไฟตั้งร้อยปีนั้น จะประเสริฐอะไร บุคคลผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญที่บุคคลเซ่นสรวง แล้ว และยัญที่บุคคลบูชาแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่งในโลก ตลอดปีหนึ่ง ยัญที่บุคคลเซ่นสรวงแล้ว และยัญที่บุคคล บูชาแล้ว [ทาน] นั้น แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงส่วนที่ ๔ แห่งการอภิวาทในท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย การอภิวาทใน ท่านผู้ดำเนินไปตรงทั้งหลาย ประเสริฐกว่า ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการ อภิวาทเป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์ ก็บุคคล ผู้มีศีลเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ทุศีล มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้มีปัญญา เพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไร้ปัญญา มีจิตไม่มั่นคง มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้ปรารภความเพียร มั่น มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคลผู้เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลว มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณา เห็นความเกิดขึ้นและเสื่อมไป มีชีวิตอยู่วันเดียวประเสริฐ กว่าบุคคล ผู้ไม่พิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นอมตบท มีชีวิต อยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าบุคคลผู้ไม่พิจารณาเห็นอมตบท มีชีวิตอยู่ร้อยปี ก็บุคคลผู้พิจารณาเห็นธรรมอันสูงสุด มีชีวิต อยู่วันเดียวประเสริฐกว่าบุคคล ผู้ไม่พิจารณาเห็นธรรมอันสูง สุดมีชีวิตอยู่ร้อยปี<CENTER>จบสหัสสวรรคที่ ๘</CENTER></PRE>
     
  2. นะโม12

    นะโม12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +245
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๙ / ๑๔.
    <CENTER> ๙. เรื่องสังกิจจสามเณร [๘๙]
    ข้อความเบื้องต้น </CENTER> พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสังกิจจสามเณร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสตํ ชีเว" เป็นต้น. <CENTER>
    กุลบุตร ๓๐ คนออกบวช </CENTER> ได้ยินว่า กุลบุตรประมาณ ๓๐ คนในกรุงสาวัตถี ฟังธรรมกถาแล้ว บวชถวายชีวิตในศาสนาของพระศาสดา. ภิกษุเหล่านั้นอุปสมบทได้ ๕ พรรษา<SUP>๑-</SUP> เข้าไปเฝ้าพระศาสดา สดับธุระ ๒ ประการ คือ "คันธธุระ วิปัสสนาธุระ" ไม่ทำอุตสาหะในคันถธุระ เพราะเป็นผู้บวชในเวลาเป็นคนแก่ มีความประสงค์จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัตแล้ว จึงทูลอำลาพระศาสดาว่า "ข้าพระองค์จักไปสู่แดนป่าแห่งหนึ่ง พระเจ้าข้า."
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> อุปสมฺปทาย ปญฺจวสฺสา หุตฺวา เป็นผู้มีพรรษา ๕ โดยการอุปสมบท.

    พระศาสดาตรัสถามว่า "พวกเธอจักไปยังที่ไหน?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "สถานชื่อโน้น", ได้ทรงทราบว่า "ภัยจักเกิดขึ้นในที่นั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น เพราะอาศัยคนกินเดนคนหนึ่ง ก็แต่ว่าเมื่อสังกิจจสามเณรไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ, เมื่อเป็นเช่นนั้นกิจบรรพชิตของภิกษุเหล่านั้นจักถึงความบริบูรณ์." <CENTER>
    ประวัติของสังกิจจสามเณร </CENTER> สามเณรของพระสารีบุตรเถระชื่อสังกิจจสามเณร มีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด.
    ได้ยินว่า มารดาของสังกิจจสามเณรนั้น เป็นธิดาของตระกูลมั่งคั่งในกรุงสาวัตถี. เมื่อสามเณรนั้นยังอยู่ในท้อง มารดานั้นได้ทำกาละในขณะนั้นนั่นเอง ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนึ่ง. เมื่อมารดานั้นถูกเผาอยู่ เนื้อส่วนที่เหลือไหม้ไป เว้นแต่เนื้อท้อง. ลำดับนั้น พวกสัปเหร่อยกเนื้อท้องของนางลงจากเชิงตะกอน แทงด้วยหลาวเหล็กในที่ ๒-๓ แห่ง. ปลายหลาวเหล็กกระทบหางตาของทารก. พวกสัปเหร่อแทงเนื้อท้องอย่างนั้นแล้ว จึงโยนไปบนกองถ่าน ปกปิดด้วยถ่านนั่นแลแล้วหลีกไป. เนื้อท้องไหม้แล้ว ส่วนทารกได้เป็นเช่นกับรูปทองคำบนกองถ่าน เหมือนนอนอยู่ในกลีบแห่งดอกบัว.
    แท้จริง สัตว์ผู้มีในภพเป็นที่สุด แม้ถูกภูเขาสิเนรุทับอยู่ ชื่อว่ายังไม่บรรลุพระอรหัต แล้วสิ้นชีวิตไม่มี. ในวันรุ่งขึ้น พวกสัปเหร่อมาด้วยคิดว่า "จักดับเชิงตะกอน" เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์และแปลกใจ คิดว่า "ชื่ออย่างไรกัน? เมื่อสรีระทั้งสิ้นถูกเผาอยู่บนฟืนเท่านี้ ทารกไม่ไหม้แล้ว จักมีเหตุอะไรกันหนอ?" จึงอุ้มเด็กนั้นนำไปภายในบ้านแล้ว ถามพวกหมอทายนิมิต. พวกหมอทายนิมิตพูดว่า "ถ้าทารกนี้จักอยู่ครองเรือน พวกญาติตลอด ๗ เครือสกุลจักไม่ยากจน, ถ้าจักบวช จักเป็นผู้อันสมณะ ๕๐๐ รูปแวดล้อมเที่ยวไป." พวกญาติขนานนามว่า สังกิจจะ เพราะหางตาของเขาแตกด้วยขอเหล็ก.
    สมัยอื่น เด็กนั้นปรากฏว่า "สังกิจจะ" ครั้งนั้น พวกญาติเลี้ยงเขาไว้ ด้วยปรึกษากันว่า "ช่างเถิด, ในเวลาที่เขาเติบโตแล้วพวกเราจะให้เขาบวชในสำนักพระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าของเรา.
    ในเวลาที่ตนมีอายุได้ ๗ ขวบ สังกิจจะนั้นได้ยินคำพูดของพวกเด็กๆ ว่า "ในเวลาที่เจ้าอยู่ในท้อง มารดาของเจ้าได้กระทำกาละแล้ว, เมื่อสรีระมารดาของเจ้านั้นแม้ถูกเผาอยู่ เจ้าก็ไม่ไหม้" จึงบอกแก่พวกญาติว่า "เขาว่า ฉันพ้นภัยเห็นปานนั้น, ประโยชน์อะไรของฉันด้วยเรือน ฉันจักบวช." ญาติเหล่านั้นรับว่า "ดีละพ่อ" แล้วนำไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ ได้ถวายด้วยกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงให้เด็กนี้บวช." พระเถระให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้วก็ให้บวช สามเณรนั้นบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง ชื่อว่าสังกิจจสามเณรเพียงเท่านี้. <CENTER>
    รับสั่งให้ภิกษุไปลาพระสารีบุตร </CENTER> พระศาสดาทรงทราบว่า "เมื่อสามเณรนี้ไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ, เมื่อเป็นเช่นนั้น กิจแห่งบรรพชิตของภิกษุเหล่านั้น จักถึงความบริบูรณ์" ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอำลาสารีบุตรพี่ชายของพวกเธอแล้วจึงไป." ภิกษุเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" แล้วไปยังสำนักของพระเถระ เมื่อพระเถระถามว่า "อะไร? ผู้มีอายุ" จึงกล่าวว่า "พวกกระผมเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว มีประสงค์จะเข้าไปป่าจึงทูลอำลา, เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้แก่พวกกระผมว่า ‘พวกเธออำลาพี่ชายของพวกเธอแล้วจึงไป’ ด้วยเหตุนั้น พวกกระผมจึงมาในที่นี้."
    พระเถระ คิดว่า "ภิกษุเหล่านี้ จักเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงเห็นเหตุอย่างหนึ่งแล้วส่งมาที่นี่, นี่อะไรกันหนอแล? รู้เรื่องนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ ก็สามเณรของพวกท่านมีหรือ?"
    พวกภิกษุ. ไม่มี ท่านผู้มีอายุ.
    พระเถระ. ถ้าไม่มี, พวกท่านจงพาสังกิจจสามเณรนี้ไป.
    พวกภิกษุ. อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ, เพราะอาศัยสามเณร ความกังวลจักมีแก่พวกกระผม, ประโยชน์อะไรด้วยสามเณร สำหรับพวกภิกษุผู้ที่อยู่ในป่า.
    พระเถระ. ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยสามเณรนี้ ความกังวลจักไม่มีแก่พวกท่าน, ก็แต่ว่าเพราะอาศัยพวกท่าน ความกังวลจักมีแก่สามเณรนี้. ถึงพระศาสดา เมื่อจะทรงส่งพวกท่านมายังสำนักเรา ทรงหวังจะส่งสามเณรไปกับพวกท่านจึงทรงส่งมา พวกท่านจงพาสามเณรนี้ ไปเถิด. <CENTER>
    ภิกษุ ๓๐ รูปไปทำสมณธรรม </CENTER> ภิกษุเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" รวมเป็น ๓๑ รูปพร้อมทั้งสามเณร อำลาพระเถระออกจากวิหารเที่ยวจาริกไป บรรลุถึงบ้านหนึ่ง ซึ่งมีพันสกุลในที่สุด ๑๒๐ โยชน์. พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้น มีจิตเลื่อมใส อังคาสโดยเคารพแล้ว ถามว่า "ท่านเจ้าข้า พวก<WBR>ท่าน<WBR>จะไปไหน?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า "จะไปตามสถานที่ผาสุก ผู้มีอายุ" จึงหมอบลงแทบเท้าอ้อนวอนว่า "ท่านเจ้าข้า เมื่อ<WBR>พวก<WBR>พระ<WBR>ผู้<WBR>เป็นเจ้าอาศัยบ้านนี้อยู่ตลอดภายในพรรษา, พวกกระผมจะสมาทานศีลห้า ทำอุโบสถ<WBR>กรรม." พระเถระทั้งหลายรับแล้ว.
    ครั้งนั้น พวกภิกษุจัดแจงที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน ที่จงกรมและบรรณศาลา ถึงความอุตสาหะว่า "วันนี้ พวกเรา, พรุ่งนี้ พวกเรา" ได้ทำการบำรุงภิกษุเหล่านั้น. <CENTER>
    พวกภิกษุตั้งกติกากันอยู่จำพรรษา </CENTER> ในวันเข้าจำพรรษา พระเถระทั้งหลายทำกติกวัตรกันว่า "ผู้มีอายุ พวกเราเรียน<WBR>กัมมัฏ<WBR>ฐาน<WBR>ใน<WBR>สำนักของพระพุทธ<WBR>เจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่, แต่เว้นความถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ พวกเราไม่อาจยังพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้ยินดีได้ อนึ่ง ประตูอบายก็เปิดแล้วสำหรับพวกเราทีเดียว เพราะฉะนั้น เว้นเวลาภิกษาจารในตอนเช้า และเวลาบำรุงพระเถระตอนเย็น ในกาลที่เหลือ พวกเราจักไม่อยู่ในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป, ความไม่ผาสุกจักมีแก่ท่านผู้ใด เมื่อท่านผู้นั้นตีระฆัง พวกเราจักไปสำนักท่านผู้นั้น ทำยา, ในส่วนกลางคืนหรือส่วนกลางวันอื่นจากนี้ พวกเราจักไม่ประมาทประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆ." <CENTER>
    ทุคตบุรุษมาอาศัยอยู่กับพวกภิกษุ </CENTER> เมื่อภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาอย่างนั้นอยู่, บุรุษเข็ญใจคนหนึ่งอาศัยธิดาเป็นอยู่, เมื่อทุพภิกขภัยเกิดขึ้นในที่นั้น มีความประสงค์จะอาศัยธิดาคนอื่นเป็นอยู่ จึงเดินทางไป, แม้พระเถระทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน มา<WBR>ถึง<WBR>ที่<WBR>อยู่ อาบ<WBR>น้ำในแม่น้ำแห่งหนึ่งในระหว่างทางนั่งบนหาดทราย ทำภัตกิจ. ในขณะนั้น บุรุษนั้นถึงที่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุดส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลายถามเขาว่า "จะไปไหน?" บุรุษนั้นบอกเนื้อความนั้นแล้ว. พระเถระทั้งหลายเกิดความกรุณาในบุรุษนั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านหิวจัด จงไปนำใบไม้มา พวกเราจักให้ก้อนภัตแก่ท่านรูปละก้อน" เมื่อเขานำใบไม้มาแล้ว จึงคลุกด้วยแกงและกับ โดยทำนองที่จะฉันด้วยตนๆ ได้ให้ก้อนภัตรูปละก้อน. ทราบว่า ธรรมเนียมมีดังนี้ ภิกษุผู้จะให้ภัตแก่ผู้มาถึงในเวลาฉัน ไม่ให้ภัตตอนยอด<SUP>๑-</SUP> พึงให้น้อยบ้าง มากบ้าง โดยทำนองที่จะฉันด้วยตนนั่นแล เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้เหล่านั้น จึงได้ให้อย่างนั้น. บุรุษนั้นทำภัตกิจแล้วไหว้พระเถระทั้งหลาย ถามว่า "ท่านขอรับ พวกพระผู้เป็นเจ้า ใครๆ นิมนต์ไว้หรือ?"
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> อนามัฏฐบิณฑบาต ภิกษุละเมิดธรรมเนียมนี้ ท่านปรับอาบัติทุกกฏ.

    พวกภิกษุ. ไม่มีการนิมนต์ดอก อุบาสก, พวกมนุษย์ถวายอาหารเช่นนี้แหละทุกวันๆ.
    ทุคตบุรุษคิดว่า "เราแม้ขยันขันแข็งทำงานตลอดกาลเป็นนิตย์ ก็ไม่อาจได้อาหารเช่นนั้น, ประโยชน์อะไรของเราด้วยการไปที่อื่น เราจักเป็นอยู่ในสำนักของภิกษุเหล่านี้นี่แหละ." ลำดับนั้น จึงกล่าวกะภิกษุเหล่านี้ว่า "กระผมปรารถนาจะทำวัตรปฏิบัติอยู่ในสำนักของพวกพระผู้เป็นเจ้า."
    พวกภิกษุ. ดีละ อุบาสก. <CENTER>
    ทุคตบุรุษหนีพวกภิกษุไปเยี่ยมธิดา </CENTER> เขาไปที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นกับภิกษุเหล่านั้น ทำวัตรปฏิบัติเป็นอันดี ยังพวกภิกษุให้รักใคร่อย่างยิ่ง โดยล่วงไป ๒ เดือน ปรารถนาจะไปเยี่ยมธิดา คิดว่า "ถ้าเราจักอำลาพวกพระผู้เป็นเจ้า, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักไม่ปล่อยเรา, เราจักไม่อำลาไปละ" ดังนี้แล้ว ก็ไม่บอกแก่ภิกษุเหล่านั้นเลยออกไปแล้ว. ทราบว่า ข้อที่เขาไม่บอกพวกภิกษุหลีกไปเท่านั้น ได้เป็นความพลั้งพลาดอย่างขนาดใหญ่, ก็ในหนทางไปของบุรุษนั้น มีดงอยู่แห่งหนึ่ง. วันที่ ๗ เป็นวันของโจร ๕๐๐ คน ผู้ทำการบนบานเทวดาว่า "ผู้ใดจักเข้าสู่ดงนี้, พวกเราจักฆ่าผู้นั้นแล้ว ทำพลีกรรมแด่ท่าน ด้วยเนื้อและเลือดของผู้นั้นแหละ" แล้วอยู่ในดงนั้น. <CENTER>
    เขาถูกโจรจับในกลางดง </CENTER> เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๗ หัวหน้าโจรขึ้นต้นไม้ตรวจดูพวกมนุษย์ เห็นบุรุษนั้นเดินมา จึงได้ให้สัญญาแก่พวกโจร. โจรเหล่านั้นรู้ความที่บุรุษนั้นเข้าสู่กลางดง จึงล้อมจับเขา ทำการผูกอย่างมั่นคง สีไฟด้วยไม้สีไฟ ขนฟืนมาก่อเป็นกองไฟใหญ่ เสี้ยมหลาวไว้. บุรุษนั้นเห็นกิริยาของโจรเหล่านั้น ถึงถามว่า "นาย ในที่นี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นหมูและเนื้อเป็นต้นเลย, เหตุไร พวกท่านจึงทำหลาวนี้?"
    พวกโจร. พวกเราจักฆ่าเจ้า ทำพลีกรรมแก่เทวดา ด้วยเนื้อและเลือดของเจ้า.
    บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม มิได้ติดถึงอุปการะนั้นของพวกภิกษุ เมื่อจะรักษาชีวิตของตนอย่างเดียวเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "นาย ข้าพเจ้าเป็นคนกินเดน กินภัตที่เป็นเดนเติบโต ขึ้นชื่อว่าคนกินเดน เป็นคนกาลกิณี, ก็พวกพระผู้เป็นเจ้า แม้ออกบวชจากสกุลใดสกุลหนึ่ง เป็นกษัตริย์ทีเดียว ภิกษุ ๓๑ รูปอยู่ในที่โน้น พวกท่านจงฆ่าภิกษุเหล่านั้นแล้วทำกรรม เทวดาของพวกท่านจักยินดีเป็นอย่างยิ่ง." <CENTER>
    พวกโจรไปจับภิกษุเพื่อทำพลีกรรม </CENTER> พวกโจรฟังคำนั้นแล้วคิดว่า "คนนี้พูดดี ประโยชน์อะไรด้วยคนกาลกิณีนี้, พวกเราจักฆ่าพวกกษัตริย์ทำพลีกรรม" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "มาเถิด จงแสดงที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น" แล้วให้เขานั่นแลเป็นผู้นำทาง ถึงที่นั้นแล้ว ไม่เห็นพวกภิกษุในท่ามกลางวิหาร จึงถามเขาว่า "พวกภิกษุไปไหน?" เขารู้กติกวัตรของภิกษุเหล่านั้น เพราะอยู่ถึง ๒ เดือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน จงตีระฆังนั่น พวกภิกษุจักประชุมกันด้วยเสียงระฆัง."
    หัวหน้าโจรตีระฆังแล้ว. พวกภิกษุได้ยินเสียงระฆัง คิดว่า "ใครตีระฆังผิดเวลา ความไม่ผาสุกจักมีแก่ใคร" ดังนี้แล้ว จึงมานั่งบนแผ่นหินที่เขาแต่งตั้งไว้ โดยลำดับตรงกลางวิหาร พระสังฆ- เถระแลดูพวกโจรแล้ว ถามว่า "อุบาสก ใครตีระฆังนี้." หัวหน้าโจรตอบว่า "ข้าพเจ้าเองขอรับ."
    พระสังฆเถระ. เพราะเหตุไร?
    หัวหน้าโจร. พวกข้าพเจ้าบนบานเทพยดาประจำดงไว้ จักจับภิกษุรูปหนึ่งไป เพื่อต้องการทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น. <CENTER>
    พวกภิกษุยอมตัวให้โจรจับ </CENTER> พระมหาเถระฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะพวกภิกษุว่า "ผู้มีอายุ ธรรดากิจเกิดแก่พวกน้องๆ ผู้เป็นพี่ชายต้องช่วยเหลือ ผมจักสละชีวิตของตนเพื่อพวกท่าน ไปกับโจรเหล่านี้ ขออันตรายจงอย่ามีแก่ทุกๆ ท่าน พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาททำสมณธรรมเถิด." พระอนุเถระกล่าวว่า "ท่านขอรับ ธรรมดากิจของพี่ชายย่อมเป็นภาระของน้องชาย, กระผมจักไป ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด." โดยอุบายนี้ ชนแม้ทั้ง ๓๐ ลุกขึ้นพูดเป็นลำดับว่า "ผมเอง ผมเอง." ด้วยประการฉะนี้
    ภิกษุทั้งหมดไม่เป็นบุตรของมารดาเดียวกันเลย ไม่เป็นบุตรของบิดาเดียวกัน ทั้งยังไม่สิ้นราคะ แต่<WBR>กระ<WBR>นั้น<WBR>ก็ยอมเสียสละชีวิตตามลำดับ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุที่เหลือ บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าสามารถกล่าวว่า "ท่านไปเถิด" มิได้มีเลย. <CENTER>
    สังกิจจสามเณรยอมมอบตัวให้แก่โจร </CENTER> สังกิจจสามเณรได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า "หยุดเถิด ท่านขอรับ, กระผมจักสละชีวิตเพื่อพวกท่านไปเอง."
    พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เราทั้งหมดแม้จักถูกฆ่ารวมกัน ก็จักไม่ยอมสละเธอผู้เดียว.
    สามเณร. เพราะเหตุไร? ขอรับ.
    พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เธอเป็นสามเณรของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ถ้าเราจักสละเธอ พระเถระจักติว่า ‘พวกภิกษุพาสามเณรของเราไปมอบให้แก่พวกโจร’, เราไม่อาจจะสลัดคำติเตียนนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น เราจักไม่สละเธอ.
    สามเณร. ท่านขอรับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงส่งพวกท่านไปยังสำนักพระอุปัชฌายะของกระผมก็ดี พระอุปัชฌายะของกระผม ส่งกระผมมากับพวกท่านก็ดี ได้ทรงเห็นเหตุอันนี้แล้วทั้งนั้น จึงส่งมา หยุดเถิด ขอรับ กระผม<WBR>นี่<WBR>แหละ<WBR>จัก<WBR>ไปเอง.
    สามเณรนั้นไหว้ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปแล้ว กล่าวว่า "ท่านขอรับ ถ้าโทษของกระผมมีอยู่ ขอท่านจงอดโทษ" ดังนี้ แล้วก็ออกไป. ความสลดใจอย่างใหญ่เกิดขึ้นแก่พวกภิกษุแล้ว, ตาเต็มไปด้วยน้ำตา เนื้อหัวใจสั่นแล้ว. พระมหาเถระพูดกะพวกโจรว่า "อุบาสก เด็กนี้เห็นพวกท่านก่อไฟ เสี้ยมหลาว ลาดใบไม้จักกลัว ท่านทั้งหลายพักสามเณรนี้ไว้ในที่ส่วนหนึ่ง พึงทำกิจเหล่านั้น." พวกโจรพาสามเณรไปพักไว้ในที่ส่วนหนึ่ง แล้วทำกิจทั้งปวง. <CENTER>
    นายโจรลงมือฆ่าสามเณร </CENTER> ในเวลาเสร็จกิจ หัวหน้าโจรชักดาบเดินเข้าไปหาสามเณร. สามเณร เมื่อนั่ง นั่งเข้าฌานมั่น, หัวหน้าโจรแกว่งดาบฟันลงที่คอสามเณร. ดาบงอเอาคมกระทบคม. หัวหน้าโจรนั้นสำคัญว่า "เราประหารไม่ดี" จึงดัดดาบนั้นให้ตรงแล้วประหารอีก. ดาบเป็นดังใบตาลที่ม้วน ได้ร่นถึงโคนดาบ.
    แท้จริง บุคคลแม้จะเอาภูเขาสิเนรุทับสามเณรในเวลานั้น ชื่อว่าสามารถจะให้สามเณรตายไม่มีเลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงว่าจะเอาดาบฟันให้ตาย.
    หัวหน้าโจรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้วคิดว่า "เมื่อก่อนดาบของเรา ย่อมตัดเสาหินหรือตอไม้ตะเคียนเหมือนหยวกกล้วย บัดนี้ ดาบของเรางอคราวหนึ่ง อีกคราวหนึ่งเกิดเป็นดังใบตาลม้วน ดาบชื่อนี้แม้ไม่มีเจตนา ยังรู้คุณของสามเณรนี้ เรามีเจตนายังไม่รู้." <CENTER>
    นายโจรเลื่อมใสในปาฏิหาริย์ของสามเณร </CENTER> นายโจรนั้นทิ้งดาบลงที่พื้นดิน เอาอกหมอบแทบใกล้เท้าของสามเณร แม้จะถามว่า "ท่านเจ้าข้า พวกผมเข้ามาในดงนี้ เพราะเหตุต้องการทรัพย์ บุรุษแม้มีประมาณพันคน เห็นพวกเราแต่ที่ไกลเทียวยังสั่น ไม่อาจพูด ๒-๓ คำได้, ส่วนสำหรับท่านแม้เพียงความหวาดสะดุ้งแห่งจิต ก็มิได้มี, หน้าของท่านผ่องใสดังทองคำในปากเบ้า และดังดอกกรรณิการ์ที่บานดี เหตุอะไรกันหนอ?"
    จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
    ความหวาดเสียวไม่มีแก่ท่าน, ความกลัวก็ไม่มี,
    วรรณะผ่องใสยิ่งนัก, เหตุไร ท่านจึงไม่คร่ำครวญ ใน
    เพราะภัยใหญ่หลวงเห็นปานนี้เล่า?
    สามเณรออกจากฌาน เมื่อจะแสดงธรรมแก่หัวหน้าโจรนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เป็นนายบ้าน ขึ้นชื่อว่า<WBR>อัตภาพ<WBR>ของ<WBR>พระ<WBR>ขีณาสพ ย่อม<WBR>เป็นเหมือนภาระ (ของหนัก) ซึ่งวางไว้บนศีรษะ พระขีณาสพนั้น เมื่ออัตภาพนั้นแตกไป ย่อมยินดีทีเดียว ย่อมไม่กลัวเลย" ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-
    "ท่านผู้เป็นนายบ้าน ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ท่านผู้
    ไม่มีความห่วงใย, ท่านผู้แสวงหาคุณ สิ้นสัญโญชน์แล้ว ก้าว
    ล่วงภัยทุกอย่างได้, ตัณหาอันนำไปสู่ภพของพระขีณาสพนั้น
    สิ้นแล้ว, ท่านเห็นธรรมแล้วตามเป็นจริง หรือโดยถ่องแท้,
    ความตาย [ของท่าน] หมดภัยดังปลงภาระลงฉะนั้น." <CENTER>
    นายโจรขอบรรพชากะสามเณร </CENTER> หัวหน้าโจรนั้นฟังคำสามเณรนั้นแล้ว แลดูโจร ๕๐๐ คนพูดว่า "พวกท่านจักทำอย่างไร?"
    พวกโจร. ก็ท่านเล่า? นาย.
    นายโจร. กิจในท่ามกลางเรือนของฉันไม่มี เพราะเห็นปาฏิหาริย์ เห็นปานนี้ก่อน ฉันจักบวชในสำนักพระผู้เป็นเจ้า.
    พวกโจร. แม้เราจักทำอย่างนั้นเหมือนกัน.
    นายโจร. ดีละ พ่อ.
    ลำดับนั้น โจรทั้ง ๕๐๐ คนไหว้สามเณรแล้ว จึงขอบรรพชา. สามเณรนั้นตัดผมและชายผ้าด้วยคมดาบของโจรเหล่านั้นเอง ย้อมด้วยดินแดง ให้ครองผ้ากาสายะเหล่านั้น ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ เมื่อพาสามเณรเหล่านั้นไป คิดว่า "ถ้าเราจักไม่เยี่ยมพระเถระทั้งหลายไปเสีย, พระเถระเหล่านั้นจักไม่อาจทำสมณธรรมได้, จำเดิมแต่กาลที่พวกโจรจับเราออกไป บรรดาพระเถระเหล่านั้น แม้รูปหนึ่งก็มิได้อาจอดกลั้นน้ำตาไว้ได้, เมื่อพระเถระเหล่านั้น คิดอยู่ว่า 'สามเณรถูกโจรฆ่าตายแล้ว หรือยังหนอ' กัมมัฏฐานจักไม่มุ่งหน้าได้<SUP>๑-</SUP> เพราะฉะนั้น เราเยี่ยมท่านแล้วนั่นแหละ จึงจักไป."
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> ถือเอาความว่า ไม่เป็นอันตั้งหน้าทำกัมมัฏฐานได้. <CENTER>
    สามเณรกลับไปเยี่ยมพวกภิกษุ </CENTER> สามเณรนั้นมีสามเณร ๕๐๐ รูปเป็นบริวารไปในที่นั้น, เมื่อภิกษุเหล่านั้นกลับได้ความเบาใจเพราะเห็นตนแล้ว กล่าวว่า "สังกิจจะผู้สัตบุรุษ เธอได้ชีวิตแล้วหรือ?" จึงตอบว่า "อย่างนั้นขอรับ, โจรเหล่านี้ใคร่จะฆ่ากระผมให้ตาย ก็ไม่อาจฆ่าได้ เลื่อมใสในคุณธรรมของกระผม ฟังธรรมแล้วบวช: กระผมมาด้วยหวังว่า ‘เยี่ยมท่านแล้วจักไป’, ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาททำสมณธรรมเถิด, กระผมจักไปสำนักพระศาสดา" แล้วไหว้ภิกษุเหล่านั้น พาสามเณรนอกนี้ไปยังสำนักพระอุปัชฌายะ, เมื่อท่านถามว่า "สังกิจจะ เธอได้อันเตวาสิกแล้วหรือ?" จึงตอบว่า "ถูกแล้ว ขอรับ" ดังนี้แล้วก็เล่าเรื่องนั้น, ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า ‘สังกิจจะ เธอจงไป เฝ้าเยี่ยมพระศาสดา’ เธอรับว่า "ดีละ" แล้วไหว้พระเถระพาสามเณรเหล่านั้นไปยังสำนักพระศาสดา, แม้เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า "สังกิจจะ เธอได้อันเตวาสิกแล้วหรือ?" จึงกราบทูลเรื่องนั้น. <CENTER>
    ผู้มีศีลประเสริฐกว่าผู้ทุศีล </CENTER> พระศาสดาตรัสถามว่า "ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ? ภิกษุทั้งหลาย" เมื่อพวกภิกษุทูลรับว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "ความตั้งอยู่ในศีลแล้วเป็นอยู่แม้วันเดียวในบัดนี้ ประเสริฐกว่าการที่ท่านทำโจรกรรมตั้งอยู่ในทุศีลเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ดังนี้แล้ว
    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    <TABLE class=D border=0 cellSpacing=0><TBODY><TR vAlign=top><TD> ๙. <TD>โย จ วสฺสสตํ ชีเว <TD>ทุสฺสีโล อสมาหิโต <TR vAlign=top><TD> <TD>เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย <TD>สีลวนฺตสฺส ฌายิโน. <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2> ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี, <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน ประเสริฐ <TR vAlign=top><TD> <TD colSpan=2>กว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).</TD></TR></TBODY></TABLE><CENTER>
    แก้อรรถ </CENTER> บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺสีโล คือ ไม่มีศีล.
    บทว่า สีลวนฺตสฺส ความว่า ความเป็นอยู่แม้วันเดียว คือ แม้ครู่เดียวของผู้มีศีล มีฌาน ด้วยฌาน ๒ ประการ ประเสริฐ คือสูงสุดกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปีของผู้ทุศีล.
    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุแม้ ๕๐๐ นั้นบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย, ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกัน. <CENTER>
    ประวัติอธิมุตตกสามเณร </CENTER> โดยสมัยอื่นอีก สังกิจจะได้อุปสมบทแล้วมีพรรษา ๑๐ จึงรับสามเณรไว้. ก็สามเณร<WBR>นั้น<WBR>เป็น<WBR>หลาน<WBR>ของ<WBR>ท่าน<WBR>เอง ชื่ออธิ<WBR>มุตตก<WBR>สามเณร.
    ครั้งนั้น พระเถระเรียกสามเณรนั้นมาในเวลามีอายุครบส่งไปด้วยคำว่า "เราจักทำการอุปสมบทเธอ, จงไปถามจำนวนอายุในสำนักพวกญาติแล้วจงมา." อธิมุตตกสามเณรนั้น เมื่อไปสำนักของมารดาบิดา ถูกพวกโจร ๕๐๐ คนจะฆ่าให้ตาย เพื่อต้องการทำพลีกรรมในระหว่างทาง แสดงธรรมแก่โจรเหล่านั้นเป็นผู้อันพวกโจรมีจิตเลื่อมใส ปล่อยไปด้วยคำว่า "ท่านไม่พึงบอกความที่พวกผมมีอยู่ในที่นี้แก่ใครๆ" เห็นมารดาบิดาเดินสวนทางมา ก็รักษาสัจจะไม่บอกแก่มารดาบิดาเหล่านั้น แม้เดินไปทางนั้นนั่นแหละ.
    เมื่อมารดาบิดานั้นถูกพวกโจรเบียดเบียน คร่ำครวญพูดว่า "ชะรอยว่าแม้ท่านก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกโจรจึงไม่บอกแก่เรา"
    โจรเหล่านั้นได้ยินเสียงแล้ว รู้ความที่สามเณรไม่บอกแก่มารดาบิดา ก็มีจิตเลื่อมใส ขอบรรพชา. แม้อธิมุตตกสามเณรนั้นก็ยังโจรเหล่านั้นทั้งหมดให้บวชแล้ว เหมือนสังกิจจสามเณร นำมายังสำนักพระอุปัชฌาย์ ผู้อันพระอุปัชฌาย์นั้น ส่งไปยังสำนักพระศาสดา พาภิกษุเหล่านั้นไป กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดาแล้ว.
    พระศาสดาตรัสถามว่า "เขาว่าอย่างนั้นหรือ? ภิกษุทั้งหลาย" เมื่อพวกภิกษุทูลว่า "ถูกแล้วพระเจ้าข้า"
    เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมโดยนัยก่อนนั้นแล จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี,
    ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน ประเสริฐ
    กว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).

    (ชื่อเรื่องอธิมุตตกสามเณร) แม้นี้ ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วด้วยพระคาถานี้เหมือนกัน. <CENTER>
    เรื่องสังกิจจสามเณร จบ.
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...