ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หลบภัย, 26 กันยายน 2013.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ฐานที่ตั้งแห่งความมีสัมปชัญญะ ๑๙ ฐาน

    อานนท์ ! อย่างไรเล่า ชื่อว่า ภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น ?

    อานนท์ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ เพราะสงัดจากกามสงัด จากอกุศลธรรมจึง เข้าถึงปฐมฌาน .... ทุติยฌาน .... ตติยฌาน .... จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. อานนท์! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุกระทำจิตในภายในนั่นแหละ ให้เป็นจิตตั้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้เป็นจิตหยุดพัก ให้เป็นจิตมีอารมณ์เดียว ให้เป็นจิตตั้งมั่น. ภิกษุนั้น ย่อมกระทำในใจซึ่ง สุญญตาอันเป็นภายใน.

    เมื่อเธอกระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่, จิตไม่แล่นไปเพื่อ สุญญตาอันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป. อานนท์ ! เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า “เมื่อเรากระทำในใจซึ่งสุญญตาอันเป็นภายในอยู่, จิตไม่แล่นไปเพื่อสุญญตาอันเป็นภายใน ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ไม่น้อมไป” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อม (สมฺปชาน) ในกรณีที่จิตไม่น้อมไปสู่สุญญตาอันเป็นภายในนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่หนึ่ง)....

    ...

    อานนท์ ! กามคุณ ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่าง อย่างไรเล่า ?

    ห้าอย่างคือ รูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ .... เสียงทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ.... กลิ่นทั้งหลาย อันพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ .... รสทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ....โผฏฐัพพะทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยกายะ อันเป็นสิ่งที่ปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด : เหล่านี้แล คือ กามคุณ ๕ อย่าง; ซึ่งในกามคุณเหล่านั้นภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนอยู่เนืองๆว่า “มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ที่ความกำเริบแห่งจิตเกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้. อานนท์ ! ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “มีอยู่แก่เราแล ที่ความกำเริบแห่งจิต เกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้; อานนท์ ! เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “ฉันทราคะในกามคุณทั้งห้า เหล่านี้ เรายังละไม่ได” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ในกรณีแห่งฉันทะราคะในกามคุณที่ตนยังละมันไม่ได้นั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเจ็ด)

    อานนท์ ! แต่ถ้าว่าภิกษุ เมื่อพิจารณาอยู่ ย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “ไม่มีอยู่แก่เราเลย ที่ความกำเริบแห่งจิตเกิดขึ้นในกามคุณทั้งห้า หรือว่าในอายตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้; อานนท์ ! เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “ฉันทราคะในกามคุณทั้งห้าเหล่านี้ เราละได้แล้ว” ดังนี้; ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งฉันทราคะในกามคุณห้าที่ตนละได้แล้วนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบแปด).

    อานนท์ ! อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้แล มีอยู่; ซึ่งในอุปาทานขันธ์ห้า เหล่านั้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปอยู่ ดังนี้ ว่า “รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความเกิดขึ้นแห่ง รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้, ความดับแห่ง รูป .... เวทนา .... สัญญา .... สังขาร .... วิญญาณ เป็นอย่างนี้, ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้น มีปกติตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าเหล่านี้อยู่, อัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า อันเธอย่อมละได้ อานนท์ ! เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม รู้ชัดอย่างนี้ว่า “อัสมิมานะของเราในอุปาทานขันธ์ทั้งห้า, อันเราละได้แล้ว” ดังนี้ : ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งอัสมิมานะในปัญจุปาทานขันธ์อันตนละได้แล้วนั้น. (นี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ฐานที่สิบเก้า)

    อานนท์ ! ธรรมทั้งหลาย (อันเป็นที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ ๑๙ อย่าง) เหล่านี้แล เป็นไปเพื่อกุศลโดยส่วนเดียว เป็นของพระอริยเจ้า เป็นโลกุตตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้.

    การจัดงานศพ ตามพุทธวจน ทำอย่างไร

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๑๙๐

    (ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๘๖-๑๙๐/๓๔๗-๓๕๐ : คลิกดูพระสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...